Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
4 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 
การคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ชีวภาพกับองค์การการค้าโลก

มองมุมใหม่ : การคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ชีวภาพกับองค์การการค้าโลก

21 ธันวาคม 2548 17:14 น.


รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 ขององค์การการค้าโลก ที่เกาะฮ่องกง ระหว่างวันที่ 13-18 ธันวาคม 2005 ดึงความสนใจของทั่วโลกไปที่ความขัดแย้งเรื่องลดเลิกการให้เงินอุดหนุนภาคเกษตร และการเร่งเปิดเสรีการค้าบริการและลงทุน

แต่ยังความขัดแย้งที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งในการประชุมที่ฮ่องกง และมีกล่าวถึงเพียงสั้นๆ ในคำประกาศรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม คือ ประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา และการคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ชีวภาพ

เมื่อองค์การการค้าโลก (WTO) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1995 ประเทศสมาชิกได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า (TRIPS) ซึ่งระบุมาตรฐานขั้นต่ำที่ประเทศภาคีจะต้องให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และหัวข้อหนึ่งคือ สิ่งประดิษฐ์ชีวภาพ ซึ่งระบุให้ประเทศภาคีต้องออกกฎหมายให้ความคุ้มครอง

ปัจจุบัน สมาชิก WTO ได้แตกออกเป็นสองค่ายในประเด็นการคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ชีวภาพ โดยประเทศพัฒนาแล้วประมาณ 20 ประเทศร่วมกันเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ปี 1991 (UPOV91) ที่เน้นส่งเสริมการวิจัยและคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ชีวภาพอย่างเข้มงวด

ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาประมาณ 30 ประเทศเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) ซึ่งเน้นสิทธิของรัฐบาลในการควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ ทั้งระบุให้นักวิจัยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลหรือชุมชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากร และต้องมีสัญญาแบ่งปันผลประโยชน์หากสิ่งประดิษฐ์ชีวภาพก่อให้เกิดกำไรเชิงพาณิชย์ ตลอดจนต้องระบุแหล่งกำเนิดของสิ่งประดิษฐ์อีกด้วย

ประเทศกำลังพัฒนาในค่าย CBD อ้างว่า ข้อกำหนดเหล่านี้มีขึ้นเพื่อป้องกัน "โจรสลัดชีวภาพ" ซึ่งก็คือ บรรษัทข้ามชาติของประเทศพัฒนาแล้วที่เข้ามาปล้นชิงทรัพยากรชีวภาพในประเทศกำลังพัฒนาไปหาประโยชน์เชิงพาณิชย์

ปัญหาคือ TRIPS ไม่มีข้อกำหนดในประเด็นเหล่านี้แต่อย่างใด ยิ่งกว่านั้นคือ ข้อกำหนด CBD อาจขัดแย้งกับ TRIPS อีกด้วยเพราะ TRIPS ระบุว่า หลักเกณฑ์ในการให้สิทธิคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์มีเพียง 3 ข้อคือ เป็นสิ่งใหม่ มีการประดิษฐ์คิดค้นเพิ่ม และมีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งกระบวนการให้สิทธิคุ้มครองต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่สมเหตุผล เช่น การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งประดิษฐ์อย่างครบถ้วนเท่านั้น

แต่การที่ CBD ระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลหรือชุมชน และต้องมีสัญญาแบ่งปันผลประโยชน์ จึงเป็นการเพิ่มเงื่อนไขบังคับแก่ผู้ขอสิทธิคุ้มครองซึ่งอยู่นอกเหนือ TRIPS

กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาใน CBD จึงได้ต่อสู้เรียกร้องภายใน WTO ให้มีการแก้ไข TRIPS โดยผนวกเอาเงื่อนไขที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลหรือชุมชน และต้องมีสัญญาแบ่งปันผลประโยชน์เข้าไว้ด้วย แต่ข้อเสนอดังกล่าวถูกต่อต้านจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วตลอดมา

ความจริง ทุกฝ่ายต่างเห็นพ้องกันในหลักการว่า ประเทศเจ้าของทรัพยากรชีวภาพควรมีสิทธิควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรในประเทศของตน และถ้าบรรษัทข้ามชาติหรือนักวิจัยได้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากทรัพยากรนั้น ก็ควรจะแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับประเทศเจ้าของ เฉกเช่นในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ซึ่งบรรษัทข้ามชาติเข้าไปขุดเจาะทำเหมืองแสวงประโยชน์ในประเทศอื่น ก็ต้องขออนุญาต จ่ายภาษี ค่าธรรมเนียมและค่าภาคหลวงให้กับรัฐบาลประเทศนั้น

แต่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาใน CBD ต้องการผลักดันระบบกฎหมายที่ควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและหลักเกณฑ์การให้สิทธิคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ที่เข้มงวดยิ่ง รวมถึงการขออนุญาต การตรวจสอบ การเปิดเผยข้อมูล การถ่ายทอดเทคโนโลยี ข้อบังคับการลงทุน และเงื่อนไขยกเว้นที่ให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงได้โดยง่าย

ประเทศไทยก็เดินตามกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาใน CBD ดังจะเห็นได้ว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ระบุเงื่อนไขการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ว่า ต้องมีข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์หากมีการใช้พันธุ์พืชพื้นเมืองหรือพันธุ์พืชป่า รวมทั้งผู้ใดจะทำการวิจัยพันธุ์พืชพื้นเมืองหรือพันธุ์พืชป่า ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐ และทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ก่อน

คำถามคือ ข้อกำหนดเหล่านี้สามารถป้องกัน "โจรสลัดชีวภาพ" ได้จริงหรือ? และมีผลไปส่งเสริมหรือทำลายแรงจูงใจในการวิจัยพัฒนาทรัพยากรชีวภาพกันแน่?

งานวิจัยหลายชิ้นให้ผลตรงกันคือ กรณี "โจรสลัดชีวภาพ" ในความเป็นจริงมีน้อย และเกิดขึ้นได้ยาก แต่การออกกฎหมายควบคุมการเข้าถึงและวิจัยทรัพยากรชีวภาพอย่างเข้มงวดในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศกลับมีผลไปทำลายแรงจูงใจที่จะวิจัยและพัฒนาทรัพยากรชีวภาพของประเทศนั้น เพราะทั้งบรรษัทข้ามชาติและนักวิจัยท้องถิ่นประสบอุปสรรค และมีค่าใช้จ่ายสูงมากในการเข้าถึงและศึกษาวิจัย

ผลก็คือ ไม่มีการวิจัย ไม่มีการพัฒนา รัฐบาลไม่ได้ประโยชน์ใดๆ ทั้งภาษี ค่าธรรมเนียม ชุมชนท้องถิ่นก็ยังคงยากจนอยู่กับทรัพยากรท้องถิ่นที่ไม่ได้รับการพัฒนาให้เกิดประโยชน์ใดๆ

ข้อนี้ดูได้จากประสบการณ์ของประเทศไทยเองซึ่งมี พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชมา 6 ปีแล้ว แต่มีการขอจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่น้อยมาก ชุมชนเจ้าของทรัพยากรไม่ได้ประโยชน์ใดๆ จากกฎหมายและทรัพยากรของตน และรัฐบาลเองก็ไม่ได้อะไรไม่ว่าจะเป็นภาษี ค่าธรรมเนียมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนคุ้มครองพันธุ์พืชของรัฐบาล ขณะที่วงการวิจัยพันธุ์พืชไทยก็ยังคงไม่ได้รับการพัฒนาอยู่เหมือนเดิม

ฉะนั้น ทางออกของประเทศกำลังพัฒนาในกลุ่ม CBD รวมทั้งประเทศไทยคือ ต้องแสวงหาแนวทางควบคุมการเข้าถึงและพัฒนาทรัพยากรชีวภาพที่ยืดหยุ่น เปิดกว้าง ไม่เน้นการห้ามหรือควบคุมด้วยกฎหมายที่ตายตัว แต่เน้นการส่งเสริมให้ร่วมมือวิจัยระหว่างภาครัฐ บรรษัทข้ามชาติ และนักวิจัยท้องถิ่น โดยเน้นการตกลงต่อรองกันอย่างสมัครใจ และแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างสมเหตุสมผล



Create Date : 04 สิงหาคม 2549
Last Update : 4 สิงหาคม 2549 19:58:38 น. 0 comments
Counter : 192 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

eaglenews
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






[ ลงสมุดเยี่ยม ]
eaglenews's blog

" ข่าวเด่นวันนี้ "


"แจ้งเว็บไซต์ไม่เหมาะสม"


Friends' blogs
[Add eaglenews's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.