Smells Like DURIAN Spirit >> นี่แหละรสชาติทุเรียนกวน <<
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2563
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
10 พฤษภาคม 2563
 
All Blogs
 

ภาพวาดประวัติ “ท่านปัญญานันทภิกขุ” ปากกาลูกลื่น >>> Panyanandha Bhikkhu’s Drawings

The Biography of Panyanandha Bhikkhu with Ball-point Pen Art





[ca-01] Cover
(see TAGs “Ballpoint Pen”)




(English section) . . . "อัญชลี วันทา พฤษภาคม" เข้าสู่โครงการ "สานต่อโปรเจกต์เก่า" อีกครั้ง ครั้งนี้เป็นโปรเจกต์เก่ามาก เก่าจนเจ้าของบล็อกก็จำไม่ได้เหมือนกันมาเริ่มทำเมื่อไหร่ ต้องเอารูปถ่ายมาเปิดดูปรากฏว่าถ่ายตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 หรืออย่างน้อยก็เมื่อ 9 ปีที่แล้วนู่นแน่ะ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ “พระพรหมมังคลาจารย์” หรือชื่อที่ใคร ๆ เรียกขานว่า “ท่านปัญญานันทะภิกขุ” หรือ “หลวงพ่อปัญญานันทะ” นั่นเอง

. . . โปรเจกต์ "วาดภาพประวัติหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุด้วยปากกาลูกลื่น"
(Lancer Spiral สีดำ) เป็นโปรเจกต์ส่วนตัวของ จขบ. เอง วาดไปได้เยอะแล้วล่ะแต่ต้องหยุดกลางคันด้วยสาเหตุเบสิค ๆ คือ "ปากกาหมึกหมด!" แล้วไม่ได้ไปซื้อแท่งใหม่ (เบสิคมั้ย ^^”) พอทิ้งช่วงนาน ๆ ฝีมือไม่คงที่แล้วก็ไม่มีอารมณ์วาดต่อ จขบ. ดูท่า…คงไม่มีโอกาสวาดต่อแน่ ๆ เลยรวบรวมผลงานเท่าที่มีมานำเสนอในบล็อกนี้ น่าจะมีประโยชน์กว่าเก็บไว้ดูเองคนเดียวเนอะ เชิญชมกันได้




[ca-02] a drawing with tools



.

.

.

.

.

.

.

.

.

.















ประวัติท่านปัญญานันทภิกขุ

The Biography of Panyanandha Bhikkhu

(พ.ศ. 2454 - 2550)














.




ช่วงต้นของชีวิต
พ.ศ. 2454 – 2490 (โดยประมาณ)




[cb-p01-b] Picture 01




[cb-p01-c1] ถ่ายกับโยมแม่และหลวงลุงพุ่ม พัทลุง - พ.ศ. 2500




[cb-p01-c2] ถ่ายภาพกับบ้านเกิดที่เคยอยู่มาจนโต - พ.ศ. 2528
. . . ท่านปัญญานันทภิกขุ เกิดที่ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เดิมมีนามว่า ปั่น เสน่ห์เจริญ พออายุได้ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอุปนันทนาราม จังหวัดระนอง เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเป็นภิกษุที่วัดนางลาด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยมีพระจรูญกรณีย์เป็นอุปัชฌาย์เมื่อปี พ.ศ. 2474 ได้รับนามฉายาว่า “ปทุมุตฺตโร” แปลว่า “ดอกบัวประเสริฐ หรือ ผู้ประเสริฐดุจดอกบัว”

. . . ท่านศึกษาธรรมะจนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกที่ จ.นครศรีธรรมราช จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาด้านภาษาบาลีจนสามารถสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค ที่วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ต้องหยุดการศึกษาเพียงเท่านั้นแล้วกลับพัทลุงภูมิลำเนาเดิม และได้เริ่มแสดงธรรมในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคใต้ รวมทั้งเดินทางไปจำพรรษาที่วัดในรัฐปีนังประเทศมาเลเซีย ในระหว่างที่จำพรรษาอยู่ได้ศึกษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเผยแพร่ธรรมะต่อไป

source:
+ https://th.wikipedia.org (พระพรหมมังคลาจารย์)
+ https://www.bhikkhupanyananda.org (ประวัติและปฏิปทา พระพรหมมังคลาจารย์ - หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)






.

.

.

.




ผู้ร่วมอุดมการณ์ทางธรรม
พ.ศ. 2480 (อายุ 26 ปี)




[cb-p02-b] Picture 02




[cb-p02-c1] ท่านปัญญานันทะ และ ท่านพุทธทาส (วัยหนุ่ม)




[cb-p02-c2] ท่านปัญญานันทะ และ ท่านพุทธทาส (วัยชรา)
. . . ย้อนกลับไปปี พ.ศ. 2480 มีเหตุการณ์สำคัญอย่างหนึ่ง ท่านปัญญานันทะ ไปจำพรรษาที่สวนโมกขพลาราม ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับท่านพุทธทาสภิกขุ และท่านบุญชวน เขมาภิรัต หรือท่าน บ.ช.เขมาภิรัต (พระราชญาณกวี อดีตเจ้าคณะจังหวัดชุมพร อดีตเจ้าอาวาสวัดขันเงิน ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร) เป็น “สามสหายธรรม” ร่วมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา และหลักธรรมที่แท้จริงตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

. . . อย่างไรก็ดี ท่านพุทธทาสและท่าน บ.ช.เขมาภิรัต ได้ชี้แนะให้ท่านเรียน “เปรียญธรรม” เพื่อให้สามารถค้นคว้าเรียนรู้และเข้าใจพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ทำให้ท่านต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาในระดับที่สูงขึ้น จนกระทั่งสอบได้ศึกษาบาลีที่วัดสามพระยานั่นเอง

source: //www.bhikkhupanyananda.org (สหายธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ)





.

.

.

.




วัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. 2492 (อายุ 38 ปี)




[cb-p03-b] Picure 03




[cb-p03-c1] กับ อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ (สวมแว่น) และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ - 13 เม.ย.




[cb-p03-c2] ท่านปัญญานันทะที่วัดอุโมงค์
. . . แรงบันดาลใจจากภิกษุนามพุทธทาสกลายเป็นพลังผลักดันให้ เจ้าชื่น สิโรรส ออกตามหาพื้นที่ในเมืองเชียงใหม่ที่เหมาะสมเพียงพอสำหรับสร้างสถานปฏิบัติธรรมโดยมีสวนโมกข์ไชยาเป็นต้นแบบ จนกระทั่งได้มาพบกับวัดอุโมงค์ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงวัดร้าง “พอเริ่มต้นมาหาวัดร้าง มาเจอวัดอุโมงค์ ก็แผ้วถางทำกุฏิเล็กๆ ท่านก็เล่าว่าท่านทำอะไรบ้าง อยากให้ท่านอาจารย์พุทธทาสมาดู...ท่านอาจารย์ก็มาดู มาดูก็ปรึกษาหารือกันแล้วคุณพ่อก็ขอให้ท่านอาจารย์มาทำงานเผยแผ่ทางเชียงใหม่ ท่านบอกว่าท่านมาไม่ได้ จะหาพระมา

. . . คุณพ่ออ่านหนังสือพุทธสาสนาเจอบทความที่ท่านอาจารย์ปัญญานันทภิกขุ เขียนลงในพุทธสาสนา ก็บอกชอบพระรูปนี้ จะขอให้ท่านอาจารย์ติดต่อให้เพื่อจะมาทำงานที่เชียงใหม่ ท่านอาจารย์ปัญญามาถึงเชียงใหม่วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๔๙๒ คุณพ่อคุณแม่ไปรับท่านที่สถานีรถไฟ หลวงพ่อปัญญาก็แนะนำตัวว่า ท่านคือปัญญานันทะ ที่ท่านอาจารย์พุทธทาสส่งมา ให้มาทำงานที่เชียงใหม่ ก็เป็นการเริ่มต้นของท่านอาจารย์ปัญญาที่เชียงใหม่ ท่านอยู่ทำงานที่นี่ ๑๐ ปี” เพ็ญฉาย สิโรรส บอกเล่าสายสัมพันธ์ในทางธรรมระหว่างเจ้าชื่น สิโรรส, พุทธทาสภิกขุ และ ปัญญานันทภิกขุ ผ่านจุดเริ่มต้นกิจการของวัดอุโมงค์หรือสวนพุทธธรรม

source: https://www.bia.or.th (พุทธทาสภิกขุ ในความทรงจำ เพ็ญฉาย สิโรรส ทายาทเจ้าชื่น สิโรรส)





.

.

.

.




ประกาศธรรมที่เชียงใหม่
พ.ศ. 2492 – 2502




[cb-p04-b] Picure 04




[cb-p04-c1] ท่านปัญญาฯ ปาฐกถาธรรมที่โรงมุงใบตอง (พุทธสถานเชียงใหม่ในปัจจุบัน)




[cb-p04-c2] ไม่มีใครลุกหนีฝน แม้ว่าฝนจะตกอย่างหนัก แต่คนยังหนาแน่นมากกว่าเดิม ทุกคนกลัวไม่ได้ฟังหลวงพ่อปัญญานันทะ พูดเท่านั้น
. . . เมื่อไปถึงเชียงใหม่ ท่านปัญญานันทะเริ่มเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการปาฐกถาธรรม โดยสร้างโรงมุงใบตองขึ้นในที่ของชาวบ้านซึ่งเรียกว่าศาลาธรรมทาน (พุทธสถานเชียงใหม่ในปัจจุบัน) เทศน์ทุกวันอาทิตย์ ส่วนวันพระออกเทศน์ตามหมู่บ้านโดยรถยนต์ติดเครื่องขยายเสียง ในระหว่างนี้ หลวงพ่อได้ไปปักหลักแสดงปาฐกถาธรรมแข่งกับโรงหนัง แรก ๆ ก็มีผู้มายืนฟังสี่ห้าคน แล้วก็เพิ่มขึ้นๆ เป็นร้อย จนกระทั่ง “โรงหนังแทบต้องปิด” เพราะคนมาฟังพระเทศน์หมด พร้อมทั้งได้เขียนเรื่องลงในหนังสือพิมพ์ชาวเหนือ โดยใช้ฉายาและนามปากกาว่า “ปัญญานันทะ” ซึ่งความจริงแล้วนามปากกา “ปัญญานันทะ” ก็ไม่ไกลจากความหมายของนามเดิม (ปทุมุตฺตโร) แต่อย่างใด เรียกว่าเป็นแก่นหรือสาระของนามเดิมนั้นเอง เพราะพระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมเจริญงอกงามด้วยปัญญา เป็นดอกบัวบานที่ไม่ยอมหุบ ชูช่อชูก้านไสวตลอดกาล

. . . จนกระทั่งท่านมีชื่อเสียงขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในนาม “ภิกขุปัญญานันทะ” ผู้สนับสนุนคนสำคัญคือ เจ้าชื่น สิโรรส ทั้งนี้ ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นเวลานานถึง ๑๐ พรรษา (พ.ศ.๒๔๙๒-๒๕๐๒)

source: //www.bhikkhupanyananda.org (ประกาศธรรมแก่ชาวบ้านที่เชียงใหม่)





.

.

.

.




วัดชลประทานรังสฤษฎ์ - นนทบุรี
พ.ศ. 2503 (อายุ 49 ปี)




[cb-p05-b] Picure 05




[cb-p05-c1] อุโบสถ วัดชลประทานรังสฤษฎ์




[cb-p05-c2] ลานไผ่
. . . ปี พ.ศ. 2502 ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ในสมัยนั้น ระหว่างที่ไปเยือนเชียงใหม่มีความประทับใจ ในลีลาการสอนธรรมะแนวใหม่ของหลวงพ่อ จึงเกิดความศรัทธาปสาทะในหลวงพ่อ และในขณะนั้นกรมชลประทานได้สร้างวัดใหม่ขึ้น ชื่อ "วัดชลประทานรังสฤษฎ์" ที่ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จึงได้อาราธนาหลวงพ่อไปเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา

source: https://www.bhikkhupanyananda.org (ประวัติและปฏิปทา พระพรหมมังคลาจารย์ - หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)


. . . เมื่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานฯ แล้ว ท่านก็เริ่มวางรากฐานวัดให้มั่นคงด้วยการวางหลักการของวัดชลประทานรังสฤษฏ์ ไว้ดังนี้
1) สร้างวัดให้เป็นสถานที่พักผ่อนกายและจิต หว่านโปรยความสงบสุขแก่สาธุชนทั่วไป
2) แก้ไขประเพณีที่ไม่เกิดความรู้ความฉลาด ชำระล้างความเชื่ออันไร้เหตุผลให้หมดสิ้นไป
3) ชักจูงประชาชนให้ใช้ธรรมะเป็นประทีปส่องทางดำเนินชีวิต
4) ไม่สนับสนุนการศึกษาและปฏิบัตินอกแนวพุทธธรรม ไม่ส่งเสริมไสยศาสตร์
5) ไม่แสวงหาเงินบำรุงวัดจากความโง่หลงของชาวบ้าน

source: https://mgronline.com/dhamma (อุดมการณ์อันแน่วแน่ ของ ‘ปัญญานันทภิกขุ’)





.

.

.

.




เผยแผ่ธรรมะขจรขจาย
พ.ศ. 2503 – 2550




[cb-p06-b] Picure 06



[cb-p06-c1] เผยแผ่ธรรมะทั้งในประเทศและต่างประเทศ




[cb-p06-c2] เผยแผ่ธรรมะตามสื่อต่าง ๆ

. . . ท่านปัญญานันทภิกขุ ได้ปฏิวัติรูปแบบการเทศนาแบบดั้งเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรมแบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งในช่วงแรก ๆ ได้รับการต่อต้านอยู่บ้าง แต่ต่อมาภายหลังการปาฐกถาธรรมแบบนี้กลับเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจนถึงบัดนี้ เมื่อพุทธศาสนิกชนทราบข่าวว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุจะไปปาฐกถาธรรมที่ใดก็จะติดตามไปฟังกันเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดหลวงพ่อได้รับอาราธนาให้เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมในสถานที่ต่าง ๆ และเทศนาออกอากาศทั้งทางสถานีวิทยุ และสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ มากมาย

. . . นอกจากนี้ ท่านยังได้รับอาราธนาไปแสดงธรรมในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น และยังได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมและกล่าวคำปราศรัยในการประชุมองค์กรศาสนาของโลกเป็นประจำอีกด้วย

source: https://www.bhikkhupanyananda.org (ประวัติและปฏิปทา พระพรหมมังคลาจารย์ - หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)





.

.

.

.




ธรรมสร้างคน คนสร้างธรรม
พ.ศ. 2503 – 2550




[cb-p07-b] Picure 07




[cb-p07-c1] ให้โอวาทพระบวชใหม่




[cb-p07-c2] ให้โอวาทสามเณร
. . . นอกจากการแสดงธรรมะแล้ว สิ่งที่ท่านปัญญานันทะทำมาตลอดคือ "การสร้างพระดี" พระในที่นี้ไม่ใช่พระที่เป็นวัตถุ แต่หมายถึงพระที่เป็นมนุษย์คือ "ภิกษุสงฆ์" ผู้เป็นกำลังในการสืบทอดพระพุทธศาสนา

. . . หลักการการบวชที่วัดชลประทานฯ ของท่านปัญญานันทะคือ "บวชแบบเรียบง่าย ประหยัด ได้สาระ" ภาพงานบวชที่เราคุ้นเคยกันมักจะมีการทำขวัญนาค แห่รอบโบสถ์ โปรยทาน มีดนตรีเฉลิมฉลอง แต่งานบวชที่วัดชลประทานฯ ไม่มีสิ่งเหล่านี้ ซึ่งหลวงพ่ออธิบายว่า
“ไม่ต้องทำขวัญนาค เปลี่ยนเอาพระเทศน์ทำขวัญโยมดีกว่า พุ่งเข้าจุดที่ต้องการ ประหยัด" . "การแห่รอบโบสถ์ก็ไม่จำเป็น เพราะเราจะไปหาพระพุทธเจ้า จะไปเที่ยวเดินเวียนอยู่ทำไม พุ่งเข้าไปหาเลย ไม่เสียเวลา..”

การบวชที่วัดชลประทานฯ ไม่มีฤกษ์ยาม ผู้มาบวชที่นี่จึงมีเพียงแต่การเตรียมใจให้พร้อม งดเหล้าบุหรี่ ต้องท่องคำอุปสมบทให้ผ่านจึงจะบวชได้ ขณะบวชต้องศึกษาเรียนรู้พระธรรมวินัย เข้ารับการอบรมทั้งภาคเช้า-บ่าย ส่วนกลางคืนต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐาน พร้อมทำวัตรเช้า-เย็นไม่ให้ขาด และต้องฟังพระปาฏิโมกข์ในวันอุโบสถด้วย

ส่วนวันสึกนั้นก็ไม่จำเป็นต้องมีฤกษ์สึก แต่ส่วนมากท่านมักจะสึกให้ตอนตีห้าครึ่งเพราะเป็นช่วงเวลาที่ท่านจะได้มีโอกาสสอนลูกศิษย์อีกครั้งก่อนจะก้าวออกจากอาราม
“ฤกษ์ของอาตมาวิเศษกว่าใคร ๆ อาตมานี่ใช้ตำราพระพุทธเจ้า...ตำราพระพุทธเจ้าว่า ทำดีเวลาไหน มันก็ดีเวลานั้นแหละ ทำชั่วเวลาไหน มันก็ชั่วเวลานั้นแหละ เวลา..มันไม่ดีไม่ชั่ว ดี-ชั่วมันอยู่ที่การกระทำ”

source: https://mgronline.com/dhamma (อุดมการณ์อันแน่วแน่ ของ ‘ปัญญานันทภิกขุ’)




.

.

.

.




ปัจฉิมวัย
พ.ศ. 2550 (อายุ 96 ปี)




[cb-p08-b] Picure 08




[cb-p08-c1] รูปปั้นท่านปัญญานันทะ วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)
(source: th.wikipedia.org – วัดอุโมงค์)




[cb-p08-c2] รูปปั้นท่านปัญญานันทะ วัดชลประทานรังสฤษฎ์
. . . รูปทางด้านซ้ายมือคือรูปปั้น ท่านปัญญานันทภิกขุ ที่วัดทั้งสองแห่งที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสผู้บุกเบิกวัดรูปแรก อันที่จริงถึงแม้ไม่มีการสร้างอนุสรณ์ที่เป็นวัตถุให้ท่าน ตลอดชีวิตท่านก็สร้างผลงานไว้มากมายให้ระลึกถึงอยู่แล้ว ทั้งด้านศาสนา สังคมสงเคราะห์ตลอดจนงานด้านวิชาการ และเป็นประธานในการดำเนินกิจกรรมทั้งที่เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและสังคมมากมายหลายโครงการ ทั้งการจัดหาทุนสร้างวัด โรงเรียน โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย รวมทั้งภารกิจสุดท้ายคือ อุโบสถกลางน้ำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . ท่านเป็นคนที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา แม้ในวัยชราที่อายุ 90 กว่า ๆ ท่านก็ยังให้ลูกศิษย์เข็นรถพาไปดูงานอยู่เสมอเท่าที่สังขารจะอำนวย ตามคติที่ท่านเคยกล่าวเอาไว้


"คิดดูให้ดี คิดดูให้ดี!
ร่างกายนี้เปลี่ยนแปลง
ไปสู่ความแตกดับทุกนาที
ถ้าไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์
แล้วจะมีค่าที่ตรงไหน!"


. . . พระพรหมังคลาจารย์ ปัญญานันทภิกขุ ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550 สิริรวมอายุได้ 96 ปี 5 เดือน

source: https://th.wikipedia.org (พระพรหมมังคลาจารย์)





.

.

.

.






[cb-p08-c3] Consciousness






บรรณานุกรม

[1]กองทุนศูนย์สืบอายุพระพุทธศาสนา วัดชลประทานรังสฤษฎ์. เตือนตน เพ่งพินิจเรื่องชีวิตกับหลวงพ่อปัญญานันทะ - ๙๒ ปี ปัญญานันทภิกขุ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง, 2546.

[2]กองทุนศูนย์สืบอายุพระพุทธศาสนา วัดชลประทานรังสฤษฎ์. ชีวิตเพื่อธรรมะ ธรรมะเพื่อชีวิต – ธรรมสมโภช ๙๐ ปี พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี, 2544.

[3]พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ). อัตตชีวประวัติ การงาน หลักธรรม ปัญญานันทะอนุสรณ์ / พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : มูลนิธิภิกขุปัญญานันทะ, 2555.

[4]หลวงพ่อปัญญานันทเถระ : พระผู้กล้าพูดความจริงกับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, 254-.







.

.

.

.

.

.

.

.

.

.















ภาพวาดเก่า ๆ บอกเล่าเรื่องราว
These Old Drawings Are Telling a Story














.






[cc-01] My drawings



(English section) . . . จบโครงการ "สานต่อโปรเจกต์เก่า" ไปอีกหนึ่งโครงการ จขบ. รู้สึกพอใจกับงานชิ้นนี้นะ คือพอใจกับการตั้งวัตถุประสงค์โครงการที่ดี เริ่มต้นทำสิ่งที่ดี และในขณะที่ทำก็มีเจตนาที่ดีด้วย ถึงแม้จะไม่สามารถวาดภาพให้ครบตามที่หวังไว้ตั้งแต่แรก แต่สิ่งที่มีอยู่ก็มีเพียงพอที่จะเอามาประกอบเนื้อหาให้ครบจบลงด้วยดีได้ ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ จขบ. รู้สึกยินดีมาก ๆ ที่ได้มีโอกาสถ่ายทอดประวัติบุคคลที่ทำคุณประโยชน์อเนกอนันต์ต่อสังคมอย่าง "หลวงพ่อปัญญานันทะ" ในโครงการของตัวเอง ถ้าใครบังเอิญผ่านมาเห็นแล้วชอบหรือคิดว่าบล็อกนี้นี้เป็นประโยชน์ จขบ. ก็ยินดีและขอบคุณอย่างยิ่ง

. . . บล็อกนี้ตั้งใจอัพให้ใกล้เคียงวันที่ 11 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อปัญญานันทะ จขบ. ก็ขอทิ้งท้ายด้วยคติธรรมที่หลวงพ่อเคยเขียนไว้ในวันคล้ายวันเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2529 แล้วกัน คติที่ว่านี้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ถ้อยคำสวย ๆ แต่หลวงพ่อพิสูจน์ให้เราได้เห็นจริง ๆ เพราะเป็นสิ่งที่ท่านปฏิบัติมาโดยตลอด…ตราบลมหายใจสุดท้ายของท่าน




.

.

.

.



งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน บันดาลสุข

ทำงานให้สนุก เป็นสุขเมื่อทำงาน








[cd-01] หลวงพ่อปัญญานันทะ ที่วัดอุโมงค์ เชียงใหม่







 

Create Date : 10 พฤษภาคม 2563
29 comments
Last Update : 25 มิถุนายน 2563 9:32:54 น.
Counter : 3662 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณmultiple, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณSleepless Sea, คุณtoor36, คุณhaiku, คุณอุ้มสี, คุณกะว่าก๋า, คุณThe Kop Civil, คุณชีริว, คุณnewyorknurse, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณเริงฤดีนะ, คุณนกสีเทา, คุณ**mp5**, คุณกาบริเอล, คุณจันทราน็อคเทิร์น

 




 

โดย: ทุเรียนกวน ป่วนรัก 10 พฤษภาคม 2563 3:07:28 น.  

 

ภาพปากกาลูกลื่นนี่ เขียนให้สวย ต้องอดทน และใช้ความตั้งใจมากเลยนะครับ
แล้วก้มีเทคนิคการดูด้วย ดูใกล้ๆไม่ได้ ต้องถอยห่างไปดูไกลๆ อย่างของคุณทุเรียนก็ซัก 100เมตร กำลังดี อิอิ

คุณทุเรียนร้องจ๊าก เดี๋ยวเอาปากกาทิ่มตาบอดเลย ของข้าต้อง 300เมตรโว้ย เย้ย ไอ้บร้าเดี๊ยะๆ555

จริงๆ ลายเส้นเหมือนจะยุ่งเหยิง แต่มีสไตล์ของตัวเอง พอรวมdetail แสงเงาแล้วก็ สวยงามเลย ชอบนะครับ แถม ภาพคนสูงอายุนี่ วาดยากมาก เพราะdetailแยะ กล้าวเนื้อเหี่ยวย่น ผิวตกกระ วาดยากกว่าสาวๆแยะเลยนะครับ

ปล.ท่านปัญญานี่ เป็นพระนักปฏิบัติ ที่มี วัตรปฏิบัติดีงามน่าเลื่อมใส และยกย่องมากเลยนะครับ

 

โดย: multiple 10 พฤษภาคม 2563 4:57:34 น.  

 

เริ่ดมากค่ะน้อง
ลายเส้นสวยงาม

 

โดย: อุ้มสี 10 พฤษภาคม 2563 9:30:32 น.  

 

ใช้ปากกาลูกลื่นนี่ไม่ธรรมดาครับ ยิ่งเป็นการวาดคนด้วย ถ้าวาดการ์ตูนค่อยว่าไปอย่าง ถ้าเป็นการวาดการ์ตูนผมชอบใช้ปากกาเคมีวาด มันวาดสนุก

งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน แต่ถ้าไม่มีเงินก็ลำบากนะครับ จริงๆ ชีวิตคนเราไม่ได้ต้องการเงินหรอก แต่ต้องการสิ่งที่เงินสามารถแลกเปลี่ยนมันมาได้ ก็เท่านั้นเอง

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 10 พฤษภาคม 2563 20:12:46 น.  

 

ชอบภาพลายเส้นหลวงพ่อที่วัดอุโมงค์
สวยๆๆๆๆจ้า

 

โดย: อุ้มสี 11 พฤษภาคม 2563 9:21:46 น.  

 

ลายเส้นสวยงามมากเลยครับคุณทุเรียน
เป็นงานที่ประกอบด้วยความเพียรและความศรัทธาในตัวหลวงพ่อปัญญาเลยนะครับ

ปากกาลูกลื่นวาดยากพอสมควรเลย
เพราะผิดแล้วแก้ไขไม่ได้ด้วย

ปล. เด็กยุคนี้แค่พูดถึง mp 3 ก็ทำหน้างงแล้วล่ะครับ 555

 

โดย: กะว่าก๋า 11 พฤษภาคม 2563 10:25:20 น.  

 

อนุโมทนาสาธุครับ คุณทุเรียนฝีมือการวาดนี่ใช่ย่อยเลยครับ
ผมศรัทธาท่านทั้งสองมากเลยครับ ที่เชียงใหม่ผมไม่ค่อยรู้จัก พอมาอ่านแล้วน่าจะสุดยอดเหมือนกัน
วัดชลประทานฯ เป็นวัดประจำกรมชลประทานที่ทำงานผมเองครับ เหมือนที่คุณทุเรียนเขียนเป๊ะเลยครับ หลวงพ่อที่วัดนี้เทศน์สนุกมาก ๆ ยิ่งตอนงานศพฟังเทศน์ ใครไม่ตั้งใจฟัง นั่งคุย แกเทศน์ด่าเลยครับ
ท่านพุทธทาส คำสอนยังใช้ได้ตลอดกาลเลยนะครับ
วันนี้ฝนตกพอดี วันเกิดหลวงพ่อปัญญา วันพืชมงคลด้วยครับ

 

โดย: The Kop Civil 11 พฤษภาคม 2563 12:09:22 น.  

 

สวัสดีครับ

ขอบคุณที่แวะไปนะครับ
ชอบภาพลายเส้นครับ ทั้งดินสอ ถ่าน และปากกา
คล้ายกับว่าภาพนั้นทำให้เราได้จินตนาการต่อได้ครับ

 

โดย: Sleepless Sea 11 พฤษภาคม 2563 12:15:29 น.  

 

ตอนนี้เล่นจบทั้งสามเกมแล้วครับ นอกจาก FF7R กับ The Last of Us ที่เขียนบล็อกไปแล้วก็มี God of War 4 อีกเกม แต่อันนี้ไม่รู้จะเขียนอะไร
ช่วงนี้ติดโควิด นึกมุกอัพบล็อกไม่ออกเลยครับ มีที่เที่ยวดองไว้เยอะ แต่อัพไปเพื่อนๆก้เทีย่วตามไม่ได้
หนังที่อยากหยิบมารีวิวแผ่นก็อยู่อีกบ้าน คงไม่ได้เข้าไปเอาจนกว่าจะพ้นช่วงโควิด

ช่ายเลยครับ เนื้อเรื่องเกมเนี่ย ยิ่งผ่านเรื่องราวมากมายมันยิ่งอินกับตัวละคร อินกับเพลง
ส่วนสปอยล์ที่ออกมานี่คือมาเป็นคลิปเป็นชั่วโมงเลยอะ ลีคแน่แท้
FF6 เล่นบนเครื่องไหนครับเนี่ย? ผมเล่นครั้งแรกเป็นอีมูมั้ง

...

บล็อกนี้น่าจะโปรเจ็คต์เก่าจริงๆ ผมจำได้ว่าคุณทุเรียนเขียนภาพพระไว้บ่อยๆ ตอนอัพบล็อกใหม่ๆ
ใช้หมึกปากกวาดนี่คือมั่นใจฝีมือมากอะ เขียนผิดแล้วแก้ลำบาก
ประวัติท่านปัญญาเป็นพระดังภาคใต้เหมือนกัน พอมาถึงช่วงวัดสวนโมกข์ก็นึกถึงท่านพุทธทาสขึ้นมาเลยครับ
ผมเพิ่งเคยไปพัทลุงเป็นครั้งแรกสัก 3-4 ปีก่อน มีรูปปั้นพระสงฆ์องค์ใหญ่หน้าทะเลสาบสงขลาฝั่งพัทลุง เป็นหลวงปู่ทวดซะงั้น
ตามที่เที่ยวหลักๆที่แวะไปไม่มีอนุสรณ์หลวงพ่อปัญญาเลยไม่รู้ว่าท่านมาจากพัทลุงนี่เอง
แต่พอมาถึงวัดอุโมงค์นี่คุ้นละ ว่ามีโรงภาพปริศนาธรรมของท่านปัญญาอยู่ที่วัด
ท่านมีชื่อเสียงขึ้นที่เชียงใหม่ และวัดชลประทานฯ นี่เอง
วัดนี้ผมไปบ่อยมากครับ งานศพพ่อแม่คนที่ทำงานชอบจัดที่นี่ เป็นวัดที่บริหารจัดการดีมากเลยนะ
หลังจากทำอาคารจอดรถ เดินทางสะดวกขึ้นเยอะ

ทรงคุณค่าอีกแล้วครับบล็อกนี้

 

โดย: ชีริว 11 พฤษภาคม 2563 21:38:34 น.  

 

สวัสดีครับ...
ดีใจที่คุณทุเรียน แฮ่..ไปเยี่ยมที่บล๊อกนาน ๆ เจอกันที

ฝีมือจริง ๆ เลยเรื่องเขียนภาพด้วยปากกาลูกลื่น.. ขนาดผม
ใช้ถ่านชาร์โควาดเพื่อกลบเกลือนยังไม่เป็นภาพเลย 555
...
หลวงพ่อปัญญานั้น ผมจำได้ว่าเป็นภิกษุที่ผมไปฟังท่านเทศน์
ครั้งแรกของชีวิตก็ว่าได้ ผมยังเด็กมาก ๆ แต่ชอบท่านเทศน์
ต่อมาท่านสร้างพุทธสถานใกล้สะพานนวรัฐ.. แล้วก็มิได้เจอ
ท่านอีกเลย

จนกระทั่งพี่ชายไปบวชที่วัดชลประทาน.. รู้เลยว่าถึงเวลา
บวชท่านจะสั่งให้ปิดประตูโบสถ์ พิธีบวชเรียบง่าย ไม่ต้องเตรียมอะไรไปมากดอกไม้ไม่ต้อง...
พี่ชายเล่าว่า เช้าออกบิณฯ กลางวันนอนไม่ได้เด็ดต้องอ่าน
หนังสือ ทำกิจวัตรของสงฆ์ เคร่งมาก

...
เคยไปร่วมฟังสวดศพ ไม่ใช่สวดครับ ภิกษุท่านเทศน์ภาษา
ไทยให้ฟัง ไม่ต้องเสิร์ฟอาหาร บริการน้ำดื่มได้.. สวดเสร็จ
ปิดไฟปิดศาลาทันที.... น่าทึ่งมาก

....

สรุปคือ ชอบแนวคิดวิธีการสอนพุทธศาสนาจากท่านปัญญา
มาก เป็นพุทธที่แท้่จริงก็ว่าได้

....

ภาพหญิงสาวประกอบการร้องเพลงที่บล๊อกผม ใช่ครับผม
สะดุดตา สาว แสงสาดมาต้องกับดอกหญ้า งดงามอ่อนโยน
เลยนำมาเป็นภาพประกอบ... ให้เพื่อน ๆ บล๊อกเกอร์ว่า
เดี๋ยวนี้ การทำบล๊อกต้องปัตตะนา 555 มีสิ่งใหม่ ๆ มา
เสริม.. คนไม่อ่านบล๊อกยาว ๆ แบบที่ผมเขียนอีกแล้วเขียนแต่ละครั้ง 80 บรรทัด.. เขานำภาพเด่นประกอบ
แล้วใช้วิดิโอสั้น ๆ เสียงเข้าช่วย เพราะคนขี้เกียจอ่านหนังสือ ส่วนใหญ่จะดูฟังสั้น ๆ ในมือถือ

ถ้าเป็นวิดิโอต้องคัดสรร คล้ายกับหนังโฆษณาสั้นกระชับ
สวยได้ใจความ.

พอคุณทุุเรียนสะกิดผมเลย แวะเข้าไปดูใน Blockdit อีก
ครั้งเข้าดูภาพหญิงสาวกับดอกหญ้า ลองคลิ๊กฟังเพลง
ก็พอฟังได้ครับ ฮ่า...เขา cover นี่นา

เขียนยาวไปแล้ว วันหลังมาใหม่ จะออกไปปั่นจักรยานที่
สวนน้ำบึงหนองบอนครับ

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 12 พฤษภาคม 2563 5:58:44 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับคุณทุเรียน

 

โดย: กะว่าก๋า 12 พฤษภาคม 2563 7:37:26 น.  

 


สาธุ สาธุ สาธุ
โชคดีที่ได้เกิดมาร่วมสมัยท่าน
ได้เห็นตัว
ได้ฟังธรรม ครั้นไปงานพระราชทานเพลิงศพ
ญาติผู้ใหญ่ หรือ เจ้านายที่เคารพ
ณ วัดชลประทานฯ



อนุโมทนาบุญกับ คุณทุเรียนกวนฯ
ในโครงการ "สานต่อโปรเจกต์เก่า" นี้

จนจบ
แหมไม่บอกว่าปากกาหมึกหมด
พี่อ้อ จะได้ร่วมบุญบริจาค
ไม่ต้องรอมาเป็น 8-9 years project



ละเดียดสวยงามเชียว
ดีกว่าเก็บไว้ดูคนเดียวจริงๆ
ใส่บลฌอกไว้เหมือนใส่ Diary หาก bloggang ไม่ได้ถึงการณ์ล่มสลายไปซะ
(No way แน่นอน)

สุดท้าย ขอบคุณที่แบ่งปันผลงานดีๆนะคะ

มีProjectอะไรค้างๆ
ให้ใส่ตู้บุญ ตู้น้ำใจ อนุญาติให้หลังไมค์ แจ้งได้ค่ะ

 

โดย: เริงฤดีนะ 12 พฤษภาคม 2563 12:12:22 น.  

 

ฝีมือละเอียด
เป้นงานศิลปะที่เลอค่าสุดสุด

 

โดย: นกสีเทา 14 พฤษภาคม 2563 11:29:47 น.  

 

แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ

 

โดย: **mp5** 20 พฤษภาคม 2563 14:06:01 น.  

 

ชวนไปเที่ยวอุทยานราชภักดิ์ก่อนเปลี่ยนบล็อกพรุ่งนี้ครับ
(ค้างไว้นานไม่ดี หวาดเสียว)

 

โดย: ชีริว 23 พฤษภาคม 2563 10:47:34 น.  

 

Lancer Spiral ปากกาในตำนานนะนั่น 55
ได้ข่าวว่าปิดกิจการแล้วเมื่อเดือนเมษาฯ
แบบนี้ทุเรียนไม่น่าจะวาดต่อได้ทันแล้วมั้ง

ตอนแรกแวะมาโหวตก่อน ก็ลงศิลปะนะ
พอกลับมาอ่านคิดว่าควรโหวต ธรรมะ ให้ซะมากกว่า
ชื่อ ปัญญานันทะภิกขุ มีที่มาจากนามปากกาท่านนี่เอง
ดูแล้วถือว่าเป็นพระนักเคลื่อนไหว หมายถึงบุกเบิกใน
เชิงประกาศเผยแพร่ธรรมะที่ดีเหมือนกัน

อยากวาดลายเส้นแบบนี้มั่ง ก็เคยคิดว่าเผื่อไปไหนไกล ๆ แล้ว
กล้องพัง ก็วาดเก็บเอาแทนก็คงดี...คือเห็นพวกนักบันทึกสมัย
ก่อนเขาทำกันน่ะ

 

โดย: กาบริเอล 23 พฤษภาคม 2563 23:29:08 น.  

 

จากบล็อก
นั่นสิครับ ไปขูดรีดเอาก็ได้เนอะ

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 23 พฤษภาคม 2563 23:55:13 น.  

 

ผมศรัทธาท่านปัญญาครับ เพราะที่บ้านพาไปวัดชลฯบ่อยครับ
ท่านพุทธธาตุนี่คุณแม่เคยไปวัดที่คลอง 6 หรือคลอง 8 รังสิต แต่ผมไม่ได้ไปครับ
แม่บอกว่าเค้าไม่ให้ใช้มือถือตอนนั้นติดมาก ปล่อยไม่ได้เลย 55555

แต่รู้ว่าสายท่านทั้ง 2 องค์เป็นพระนักปฏิบัติที่คำสอนเป็นอมตะ เลยละครับ

 

โดย: จันทราน็อคเทิร์น 24 พฤษภาคม 2563 8:42:24 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับคุณทุเรียน

 

โดย: กะว่าก๋า 25 พฤษภาคม 2563 7:26:07 น.  

 

อาจารย์เต๊ะก็ขอเพลง เจน-นุ่น-โบว์ เอาไว้
ผมร้องไม่เป็นนนนนนนนนนนน 5555

มารู้จักก็เพราะโควิดนี่ล่ะครับ
เจ้าตัวก็คงงงนะครับ
อยู่ดีดีเพลงกลับมาดังเฉยเลย 555

 

โดย: กะว่าก๋า 25 พฤษภาคม 2563 20:26:16 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับคุณทุเรียน

 

โดย: กะว่าก๋า 26 พฤษภาคม 2563 7:44:23 น.  

 

ผมก็เพิ่งรู้ว่า ร.4 เป็นมหาราชแล้วตอนทำบล็อกนี้แหละครับ
อนุสาวรีย์ในสถานที่ราชการไม่นับ! ต้องโอเพ่นอินพับลิคแอเรียอย่างยิ่งใหญ่!
นี่รอชมอนุสาวรีย์ ร.9 ที่สนามม้านางเลิ้งครับ

ป.ล. เปลี่ยนบล็อกแล้วจ้า อันนี้เข้ามาแต่เนิ่นๆได้ไม่มีพิษภัย

 

โดย: ชีริว 26 พฤษภาคม 2563 22:00:25 น.  

 

อย่าเพิ่งเบื่อเน็ตครับ ยังไม่ได้อัพบล็อกหนังสือดลใจจิบลิตอนสองเลย

 

โดย: ชีริว 31 พฤษภาคม 2563 19:31:13 น.  

 

มาชวนไปกินกุ้งกันครับ ^^

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 31 พฤษภาคม 2563 19:51:17 น.  

 


อรุณสวัสดิ์ครับคุณทุเรียน

 

โดย: กะว่าก๋า 1 มิถุนายน 2563 6:25:32 น.  

 

จากบล็อก
กุ้งแม่น้ำครับ หนูหมึกกินกุ้งผมเคยเล่นมุกนี้แล้วครับในถนนสายนี้มีตะพาบ น่าจะช่วงแรกๆ เลยมั้ง มีกินปลาหมึกกล้วยด้วยนะ!!

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 1 มิถุนายน 2563 20:42:31 น.  

 


อรุณสวัสดิ์ครับคุณทุเรียน

ผมเองก็เคยไปเดินดูงานศิลปะในหอศิลป์
สมัยเป็นนักศึกษา
พอเจอภาพวาดของท่าน
เหมือนขาถูกตรึงให้อยู่กับที่เลยครับ
งานของท่านทรงพลังมากๆ
โดยเฉพาะงานภาคสัตว์ต่างๆ
เช่น อินทรีย์ ม้า วัวกระทิง
ท่านเขียนได้มีชีวิตชีวาจริงๆครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 3 มิถุนายน 2563 6:05:58 น.  

 

แวะมาทักทายครับ พรุ่งนี้ก็ต้องไปทำงานกันอีกแล้ว

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 14 มิถุนายน 2563 23:46:18 น.  

 

Happy Solstice!
จะปลายเดือนอีกไม่ช้า
มาอัพบล็อกบัดเดี๋ยวนี้

 

โดย: กาบริเอล 21 มิถุนายน 2563 17:11:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุเรียนกวน ป่วนรัก
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]




สวัสดี…นี่คือบล็อก “ทุเรียนกวนฯ”
Hello all. You can call me “Durianguan”.





Group Blog แบบที่ 2
Category 2

+ สารบัญทั้งหมด [All Contents]
--+ Blog 1-100
--+ Blog 101-200
--+ Blog 201-300


+ สารบัญ Classify Contents by Group Blog
.
-- A + Guest Book
-- B + Cartoon
-- C + Fine Arts
-- D + Talking
-- E + Contents
.
.
.
.
TAG
Category 3

+ เพลงของฉัน [My Music]
--+ เพลง & ภาพประกอบ [Music & illust]
--+ แนะนำอัลบั้มเพลง [Music Albums]
--+ วงเกิร์ลกรุ๊ป [Perfume]

+ งานศิลป์ของฉัน [My Art]
--+ ภาพปากกาลูกลื่น [Ballpoint Pen]
--+ ดินสอ+สี & พาสเทล [Colored Pencil]
--+ ละเลงสีด้วยคอมฯ [CG Paint]

+ สตูดิโอจิบลิ [My Studio Ghibli]
--+ เรียงตาม (Sort by) Blogs' Written
--+ เรียงตาม (Sort by) Movies Released

+ อื่น ๆ [My etc. Blog]
--+ ถนนสายนี้..มีตะพาบ [TaPaab]
--+ พุทราฯ แนะนำหนังสือ [Pudsa-Books]




Friends' blogs
[Add ทุเรียนกวน ป่วนรัก's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.