<<
กรกฏาคม 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
21 กรกฏาคม 2553

ผ้าไตร ผ้าอาบน้ำฝน สิ่งที่ควรรู้

คัดมาจากกระทู้ในลานธรรม ของ คุณ วีระวงศ์
//bit.ly/aq8HpL

"พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จะซื้อผ้าอาบสำเร็จรูป
ซึ่งมักจะจัดมาพร้อมกับถังสังฆทาน หรืออาจซื้อแยกมา
ซึ่งผ้าอาบลักษณะนี้มีขายทั่วไป ผ้าชนิดนี้เรียกว่า “ผ้าริมเขียว”
ลักษณะของผ้าจะบางเบา ซับน้ำได้ดีพอสมควร มีการย้อมทั้งที่เป็นสีกรักทอง
คือ สีเหลืองๆ แบบสีจีวรที่พระมหานิกาย สีนี้มีหาได้ง่ายสุด
กับ สักกรักแก่นขนุน คือสีน้ำตาลเข้มๆ ไหม้ๆ
แต่ปัญหาที่พบก็ คือ ด้วยความบางมากนี้เอง
การนุ่งเพื่อใช้สรงน้ำ ยิ่งถ้าอาบกลางแจ้ง
เมื่อใช้ไปนานก็ยิ่งบาง และยังฉีกขาดได้ง่ายอีกด้วย
จะเป็นไปไม่ได้เลย ยิ่งผ้าที่จัดมาพร้อมกับถังสังฆทานยิ่งแล้วใหญ่
มักจะไม่ได้ขนาดมาตรฐาน หรือความต้องการกำไรมากๆ
ผู้จัดถังก็มักใส่เพียงผ้าผืนเล็กๆ หลอกตาไว้ ถ้าแกะออกมาดู จะพบเป็นเพียงเศษผ้า
ห่อกับกระดาษแข็งให้ดูโปร่งๆ เท่านั้น
ดังนั้นท่านใดที่ซื้อผ้าแบบนี้มาถวายพระ คงต้องพิจารณาดูให้ดี ไว้ได้ขนาดหรือไม่
และควรจะซื้อแยกออกจากถังสังฆทาน เพื่อจะตรวจสอบได้
การใช้ประโยชน์จากผ้าอาบชนิดนี้ อาจใช้ได้เพียงนุ่งห่มในที่มุงบัง
หรือเป็นผ้าเช็ดตัวเท่านั้น ผมจึงขอแนะนำ ผ้าอาบชนิดหนึ่งซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของวัดป่ากรรมฐาน
และถูกต้องตามพระวินัยผมขอขนานนามผ้าอาบชนิดนี้ว่า
“ผ้าอาบแดงกรรมฐาน สารพัดประโยชน์”
ผ้าอาบแบบนี้จะทำมาจากผ้าดิบ มาย้อมด้วยสีดินแดง
ซึ่งตามพระวินัยแล้วจะไม่ให้ย้อมเป็นสีจีวร
ซึ่งข้อดีของผ้าชนิดนี้ก็คือ มีความทนทาน เนื้อผ้าไม่บาง
นุ่งห่มแล้วไม่โป๊ นอกจากพระป่าจะใช้ผ้าชนิดนี้นุ่งสรงน้ำแล้ว
ก็ยังใช้นุ่งในเวลาทำข้อวัตรแทนสบง เพราะเป็นการรักษาสบง
เพราะการทำข้อวัตร ได้แก่ การกวาดลานวัด ตักน้ำ
ทำความสะอาดวัด ผ่าฟืน จนไปถึงการทำงานก่อสร้าง
ซึ่งเป็นงานที่ต้องเสี่ยงกับความสกปรก อาจเลอะสบง ซึ่งเป็นหนึ่งในผ้าสามผืน
( สบง จีวร สังฆาฏิ) ซึ่งพระสงฆ์จะต้องดูแลรักษาอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ก็ยังไว้ใช้ปูจำวัด การนุ่งซ้อนกับสบงเพื่อไว้เป็นซับใน
คลุมตักในเวลาฉันกันจีวรเลอะ เป็นผ้าเช็ดบาตร เป็นต้น
ซึ่งผ้าอาบน้ำนอกจากพระจะใช้ในช่วงเข้าพรรษาแล้ว
ภายหลังจากออกพรรษาแล้ว พระท่านถอนผ้าให้เป็นผ้าบังสุกุลก่อน
แล้วจึงอธิษฐานผ้าใหม่ให้เป็นผ้าบริขาร เพื่อจะใช้ผ้านั้นได้ตลอดไป
ถ้าหากท่านใดจะถวายนอกฤดูถวายผ้าอาบน้ำฝน ก็พึงถวายเป็นผ้าบังสุกุล นะครับ
ปัจจุบันยังพบว่า แหล่งที่จำหน่ายผ้าอาบชนิดนี้ยังมีน้อย
ส่วนใหญ่พระจะตัดเย็นใช้กันเอง
โยมที่รู้เรื่องนี้ก็มีน้อย ถ้าหากพระหาไม่ได้ ก็ไม่ได้ใช้
นอกจากพระป่ากรรมฐานจะใช้ผ้าแบบนี้แล้ว
พระสงฆ์ในกรุงเทพเองท่านก็มีไว้ใช้เป็นส่วนตัว
ยังมีเรื่องเล่าจากพี่ท่านหนึ่งที่นำผ้าอาบแดงนี้ไปถวาย
พระราชาคณะผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง
ท่านเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงกลางกรุงนี้เอง
พอนำไปถวายท่าน ท่านดีใจและกล่าวสรรเสริญว่า
โยมถวายได้ถูกต้อง ยิ่งการเป็นพระในเมืองยิ่งขาดผ้าแบบนี้
ผ้าอาบแบบนี้ที่ท่านใช้อยู่ก็คร่ำคร่าเต็มที เพราะใช้มาหลายปีแล้ว
ยังไม่เคยมีโยมมาถวายอีกเลย
นี่ขนาดพระผู้ใหญ่ยังขาดแคลน แล้วพระเล็กพระน้อยจะขนาดไหน

ส่วนพระในฝ่ายมหานิกาย อาจไม่คุ้นเคยกับผ้าอาบชนิดนี้
แต่จากการสอบถามจากพระมหานิกายในกรุงเทพเองก็พบว่า
จากการที่ท่านไม่เคยใช้ผ้าอาบแบบนี้ จนกระทั้งมีผู้มาถวายให้ท่านลองใช้ดู
ก็พบว่าท่านก็พอใจกับผ้าอาบแบบนี้มาก

สำหรับในกรุงเทพ แหล่งที่พอจะหาได้ คือ ที่มูลนิธิหลวงปู่มั่น จรัลสนิทวงศ์ซอย37
หรือที่ร้านจีวรแถวๆ วัดอโศการาม สมุทรปราการครับ ไม่รู้เป็นการเขียนโฆษณาหรือเปล่า อิอิ

การถวายสิ่งที่ถูกต้อง เท่ากับเป็นการส่งเสริมพระวินัย
ไม่ต้องให้พระเป็นกังวลขาดแคลนของอยู่ของใช้
มีกำลังใจปฏิบัติศาสนกิจได้ราบรื่น
และยังได้ของที่ทนทานมีประโยชน์สูงสุดด้วย
มีความกว้างประมาณ1หลา ยาว 2 หลา พับและเย็บริมกันผ้ายุ่ย
ซึ่งการใช้ผ้าดิบนี้ น่าจะเกิดมาจาก ชาวบ้านในภาคอีสาน
มักจะทอผ้าแบบนี้ขึ้นใช้เองเมื่อชาวบ้านถวายพระแล้วก็ได้มีการเย็บย้อม กันเอง
และเป็นที่นิยมใช้สืบต่อมา"

ความรู้เกี่ยวกับไตรจีวร โดย คุณ ภิเนษกรมณ์ ในเวปลานธรรม

"การถวายผ้าสบง จีวร หรือสังฆาฏิ หรืออังสะ ไม่มีการจำกัดเวลาครับ ถวายได้ทุกเมื่อ โดยจะถวายต่อภิกษุรูปเดียวก็ได้ หรือ ถวายเป็นสังฆทานต่อภิกษุ4รูป ขึ้นไป ก็ได้ แล้วแต่ศรัทธา(และทรัพย์)ของผู้ถวายครับ

ตามพระวินัย พระภิกษุจะมีผ้าสบง จีวร สังฆาฏิ ได้อย่างละ 1 ผืน โดยอธิษฐานเป็นผ้าครอง คือ เป็นผ้าส่วนตัวที่ต้องรักษาไว้กับตัวอยู่เสมอ หากได้รับถวายผ้าผืนที่2ที่3มา หากจะนำมาใช้เป็นผ้าครอง ต้องอธิษฐานสละผ้าครองผืนเก่าก่อน แล้วอธิษฐานผืนใหม่เป็นผ้าครองแทนได้ แต่หากประสงค์จะมีผ้าสบง หรือ จีวร ใช้ 2 หรือ 3 ผืน (เผื่อเวลานำไปซักแล้วยังตากไม่แห้ง จะได้มีอีกผืนใช้ผลัดเปลี่ยนได้ หรือ ใช้ฉลองศรัทธาให้กับผู้ถวาย)ก็สามารถมีได้ แต่จะต้องทำวิกัป คือ ทำให้เป็นผ้าที่มี 2 เจ้าของ กับภิกษุรูปอื่น แล้วนำมาใช้ได้ ผ้าสบง และจีวร ผืนที่2ที่3 (ไม่นิยมมีผ้าสังฆาฏิมากกว่า1 ผืน เพราะปกติมีโอกาสใช้น้อยอยู่แล้ว คือ ใช้พาดบ่าตอนทำสังฆกรรม หรือ ซ้อนกับจีวรเวลาไปบิณฑบาต (เฉพาะสายวัดป่าเท่านั้น)) มักเรียกกันว่า ผ้าอาศัย สำหรับผ้าสบงอาศัย การตัดเย็บอาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันกับผ้าสบงครองก็ได้ (บางทีก็เรียก ผ้าสบงขันธ์ เพราะต้องตัดเย็บให้มีขันธ์) แต่ผ้าจีวรอาศัยจะต้องมีขันธ์เหมือนผ้าจีวรครองทุกประการ

หลายๆท่าน อาจไม่ทราบว่า เวลาไปซื้อผ้าไตรตามร้านสังฆภัณฑ์ไปถวายพระนั้น เราต้องรู้ก่อนว่า เราต้องการถวายผ้าครอง หรือ ผ้าอาศัย เพราะราคาและการตัดเย็บจะแตกต่างกัน ผ้าไตรครองจะแพงกว่าไตรอาศัยมาก โดยเฉพาะถ้าเป็นพระธรรมยุต ผ้าสังฆาฏิเป็น2ชั้น (เหมือนใช้จีวร2ผืนเย็บติดกัน) จะแพงกว่า ผ้าสังฆาฏิของพระมหานิกายทั่วไป (ที่ไม่ใช่สายวัดป่า) ซึ่งอาจใช้ผ้าสังฆาฏิชั้นเดียว ผ้าไตรอาศัยมักจะมีแค่ผ้าสบงอาศัย ผ้าจีวร ผ้าอังสะ อยู่แค่นั้น จึงราคาถูกกว่า แต่ถ้าเป็นผ้าไตรครอง (บางทีเรียก ไตรบวช) จะต้องมีครบ ทั้ง สบง จีวร สังฆาฏิ อังสะ จะราคาแพงกว่าครับ ยิ่งถ้าตัดเย็บด้วยผ้าเนื้อดี หรือ ผ้ามัสลินที่ตัดเป็น 9 ขันธ์ แบบที่พระสายวัดป่าใช้ ราคาก็จะยิ่งแพงขึ้นไปอีก เพราะราคาของผ้า และ การตัดเย็บที่ยากกว่ามาก"

"การถวายทานด้วยผ้านั้น จะถวายผ้าเพียงผืนใดผืนหนึ่ง หรือ จะถวายทั้งไตร ก็ได้เหมือนกันครับ แล้วแต่ศรัทธาและกำลังทรัพย์ของผู้ถวายเถอะครับ อย่างผ้าอังสะนั้น เป็นผ้าที่พระ(ทั้งวัดบ้านและวัดป่า)ต้องใช้อยู่ตลอดเวลา จึงต้องเปลี่ยนบ่อยกว่าผ้าผืนอื่น ทั้งการตัดเย็บก็ง่ายกว่า ทำให้ราคาถูกกว่า ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการถวายทาน หากมีงบประมาณจำกัดครับ

เรื่องสีของผ้าที่พระท่านใช้ โดยส่วนใหญ่มีอยู่ 4 สี คือ เหลืองเจือแดง พระราชนิยม กรัก และแก่นขนุน (ถ้าเป็นพระทางสายพม่า จะใช้สีกรักออกโทนแดงอีกสีหนึ่ง) สำหรับพระธรรมยุต เท่าที่เห็น หากเป็นสายวัดป่า จะใช้สีแก่นขนุนทั้งหมด เป็นแต่มีโทนสีที่แตกต่างกันนิดหน่อย ตามแต่ว่าท่านผสมสีใดมากน้อยกว่ากัน (ปกติจะใช้สีกรัก และสีเหลืองทอง ผสมกันเป็นหลัก แต่บางองค์จะผสมสีแดงด้วยเล็กน้อย) หากเป็นพระธรรมยุตวัดบ้าน ส่วนใหญ่ก็จะใช้สีแก่นขนุนเช่นกัน มีน้อยวัดที่จะใช้สีพระราชนิยม เช่น พระวัดเทพศิรินทร์

พระมหานิกาย สายวัดป่า บางวัดก็จะใช้ผ้าสีแก่นขนุน บางวัดก็ใช้สีกรัก แต่ถ้าเป็นพระมหานิกายวัดบ้าน ทั่วไปส่วนใหญ่จะใช้สีเหลืองเจือแดง มีน้อยวัดที่จะใช้สีพระราชนิยม หรือ มีใช้กันเป็นบางองค์เท่านั้นครับ เพราะ สีพระราชนิยม เป็นสีผ้าที่พระที่ได้รับนิมนต์ไปในพระราชพิธีใช้กัน แต่ต่อมาก็มีพระบางองค์ท่านใช้สีนี้ตลอด"





 

Create Date : 21 กรกฎาคม 2553
3 comments
Last Update : 21 กรกฎาคม 2553 12:16:28 น.
Counter : 27249 Pageviews.

 

 

โดย: นาฬิกาสีชมพู 21 กรกฎาคม 2553 12:43:53 น.  

 

ไหนๆ จะทำบุญทั้งทีแล้ว ก็เลือกผ้าเนื้อดีด้วยนะครับ ผ้าโทเร เนื้อแข็ง แห้งยาก ปีเดียวขาด ราคาถูก ลองเปลี่ยนไปเลือกผ้ามัสลินหรือมิสลินแทนครับ เนื้อนุ่มกว่า แห้งง่าย ทนทาน ใช้เป็นจีวรได้ถึง 3 ปี ราคาแพงกว่า 2 เท่า แต่ใช้กันคุ้มนะครับ

 

โดย: oddy.freebird 21 กรกฎาคม 2553 17:08:35 น.  

 

 

โดย: มิสเตอร์ฮอง 29 ตุลาคม 2554 16:14:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


drstit
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ศัลยแพทย์ทั่วไป หรือหมอผ่าตัดครับ ไม่ใช่หมอผ่าตัดเสริมสวยแต่ผ่าช่องท้อง ลำไส้ ถุงน้ำดี และอื่นๆครับ
[Add drstit's blog to your web]