DOUBLE_GOOD !!
Group Blog
 
 
เมษายน 2555
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
7 เมษายน 2555
 
All Blogs
 
เชื่อหรือไม่ น้ำตาล เป็นยานอนหลับ ด้วย~~!!

น้ำตาล

เชื่อหรือไม่ น้ำตาล เป็นยานอนหลับ ด้วย~~!!

ท่านที่เคยนอนไม่หลับ คงเคยทรมานกับอาการอ่อนเพลียจากการอดนอนมาแล้ว สาเหตุการนอนไม่หลับก็มีหลายอย่างทั้งความเครียด ผลข้างเคียงจากโรค ผลข้างเคียงจากการใช้ยา หรือความผิดปกติของสมอง การหายานอนหลับมารับประทานก็เป็นทางออกที่ดูจะอันตราย ทั้งการหาซื้อก็ไม่ง่ายนัก มักต้องให้แพทย์ออกใบสั่งยา และตรวจดูอาการกันก่อน ซึ่งก็ไม่ทันใจเรา- ท่านสักเท่าไร ยานอนหลับจะมีผลต่อประสาทส่วนกลาง และเมื่อตื่นขึ้นมาก็มักจะหลงเหลือฤทธิ์ยา เช่น ปากแห้ง คอแห้ง และเมื่อใช้ไปนานๆก็มักจะต้องเพิ่มปริมาณยาขึ้น และติดยานอนหลับค่ะ

สมัยโบราณ คนโบราณใช้สมุนไพรคือแก่นขี้เหล็ก ต้มรับประทาน ซึ่งก็ต้องมีต้น ลอกเอาแก่น ต้ม ยุ่งยากเช่นกัน ........ ตำรับโบราณจึงแนะนำ ........ น้ำตาลทรายสัก 2 ช้อนโต๊ะ.........1++++

น้ำตาลมีหลายชนิดเช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลกรวด น้ำตาลโตนด น้ำตาลปึก หรือทางวิทยาการแพทย์ จำแนกตามโมเลกุลของน้ำตาล คือ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว

(Monosaccharides = glucose, fructose and galactose)และโมเลกุลคู่ (Disaccharides = sucrose, maltose and lactose.)เป็นต้น

หลายท่านเชื่อว่าการให้เด็กกินน้ำตาลมาก จะทำให้เด็กซน ไฮเปอร์ แต่นั้นเป็นการกินจำนวนมาก จนสะสมเป็นแหล่งพลังงานแก่เด็กซน การกินน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสม จะให้ผลตรงข้าม คือ ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง เป็นยากล่อมประสาท ทำให้ไม่ฟุ้งซ่าน ในลักษณะเดียวกันกับการกิน แป้งจากข้าวเหนียว ที่เรามักจะรู้สึกหนักท้อง และง่วงนอน กันค่ะ

มีการศึกษา ผลของระดับน้ำตาล ในเลือด กับอารมณ์ คือ............................

น้ำตาลที่เราได้รับเข้าไป จะทำให้ ตับอ่อน ปล่อยอินซูลิน เข้าสู่กระแสเลือด อินซูลินส่งผลให้ ทริปโตเฟน เพิ่มตาม ผลของทริปโตเฟน จะไปทำการกระตุ้นสมองให้หลั่งสาร เซอโรโตนิน ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กล่อมประสาท และลดความเครียด แต่ปัจจัยที่สำคัญของกระบวนการคือ ปริมาณน้ำตาลที่ได้รับค่ะ

เซอโรโตนิน เป็นสารที่เรียกว่าสารสื่อประสาท หรือนิโรทรานสมิตแทนซ์ คือสารที่สมองใช้ในการสื่อสารออกคำสั่ง ส่งความรู้สึกในเซลสมอง และเซลอื่นๆ พบว่าในคนที่ฆ่าตัวตายมักจะมีสารเซอโรโตนิน น้อยกว่าคนธรรมดา มีการรักษาคนที่เป็นโรคซึมเศร้าโดยการให้ น้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรตเพิ่ม ซึ่งก็ได้ผล แต่คนไข้เหล่านี้ก็มักจะอ้วน

ปริมาณที่จะออกฤทธิ์เป็นยานอนหลับคือ ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะครึ่ง ก่อนนอน การออกฤทธิ์จะออกฤทธิ์ หลังกิน 5 นาที อาจผสมในน้ำผลไม้ก็ได้ แต่อย่ารับประทานร่วม โปรตีน หรือไขมัน เพราะ โปรตีนบางตัวยับยั้ง เซอโรโตนิน บางท่านอ่านแล้วจะไปรับประทานลำไยสักครึ่งกิโลก่อนนอน ขอบอกว่าไม่ได้ผลนะค่ะ น้ำตาลในผลไม้ ใช้ไม่ได้เหมือนน้ำตาลทรายขาวค่ะ เพราะเป็นน้ำตาลคนละชนิดกัน

ข้อควรระวัง*** การรับประทานน้ำตาลต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้น้ำหนักขึ้นได้ค่ะ เนื่องจากคุณค่าทางโภชนาการคือให้พลังงาน ควรเว้นระยะการใช้ หรือใช้เท่าที่ควร สำหรับบางท่านที่ลองแล้วไม่ได้ผล ก็ให้หยุด นั้นแสดงว่าองค์ประกอบของโครงสารในสมองท่านแตกต่างจากคนทั่วๆไป ซึ่งมักจะได้ผลค่ะ เนื่องจากท่านอาจจะมีสารที่ออกฤทธื์ต้าน เซอโรโตนิน อยู่ในเลือดได้ค่ะ

บางส่วนจาก..........หนังสือเภสัชโภชนา

Sugar, granulated

Nutritional value per 100 g (3.5 oz)

Energy

1,619 kJ (387 kcal)

Carbohydrates

99.98 g

- Sugars

99.91 g

-

Dietary fiber

0 g

Fat

0 g

Protein

0 g

Water

0.03 g

Riboflavin (vit. B2)

0.019 mg (2%)

Calcium

1 mg (0%)

Iron

0.01 mg (0%)

Potassium

2 mg (0%)

Percentages are relative to

US recommendations for adults.
USDA Nutrient Database
Source:

Sugars, brown

Nutritional value per 100 g (3.5 oz)

Energy

1,576 kJ (377 kcal)

Carbohydrates

97.33 g

- Sugars

96.21 g

-

Dietary fiber

0 g

Fat

0 g

Protein

0 g

Water

1.77 g

Thiamine (vit. B1)

0.008 mg (1%)

Riboflavin (vit. B2)

0.007 mg (1%)

Niacin (vit. B3)

0.082 mg (1%)

Vitamin B6

0.026 mg (2%)

Folate (vit. B9)

1 

μg (0%)

Calcium

85 mg (9%)

Iron

1.91 mg (15%)

Magnesium

29 mg (8%)

SmileySmileySmileySmileySmileySmiley




Create Date : 07 เมษายน 2555
Last Update : 9 กรกฎาคม 2557 23:31:37 น. 0 comments
Counter : 941 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

mingkwan@2551
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีค่ะ ทุกท่าน......




แนะนำอาหารญี่ปุ่น



Friends' blogs
[Add mingkwan@2551's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.