กันยายน 2555

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
กระดาษชำระ หรือทิสชู

กระดาษชำระ หรือทิสชู

เราจะมาทดสอบถ่ายภาพทิสชู ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM กันค่ะ

กระดาษชำระที่เราเห็นวางจำหน่ายทั่วๆไป มีทั้งขนาดถูกมากจนไปถึงแพงมาก ความถูกหรือแพง
ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและขบวนการผลิต ของแพงส่วนใหญ่เนื้อจะนุ่มเหนียว มีกลิ่นหอม ส่วนราคาถูกเนื้อ
ค่อนข้างจะบาง และหยาบ ความรู้สึกในการใช้ของแพงย่อมดีกว่าของถูกเป็นของธรรมดา

 

หน้าตาของกระดาษชำระ ถ้าเราดูด้วยตาเปล่า ก็พอจะเดาได้บ้าง ไม่ได้บ้างว่าจะเป็นของดีหรือไม่
จนกว่าจะได้ใช้และสัมผัสจริง

เป็นภาพถ่ายด้วยกล้องดิจิตอลราคาแสนถูกของ Do SEM ค่ะ ถ่ายในระยะใกล้ๆ ดูแล้วจะเห็น
การเรียงตัวของ เยื้อกระดาษ เรียงตัวกันสวยงามแทบไม่มีช่องว่าง กระดาษที่นำมาถ่ายเป็นทิสชู
ราคาปานกลาง ไม่แพง เนื้อไม่หนา ไม่นุ่มเท่าที่ควร

 

Do SEM เลยเอาเจ้ากระดาษทิชชูนี้ มาถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์กันดีกว่า ดูซิว่าจะเห็นอะไรที่ตาเปล่า
เราไม่สามารถมองเห็นได้

ตามภาพเป็นกระดาษทิชชูที่ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM
ที่กำลังขยาย X 100 เท่า เราก็จะเห็นการเรียงตัวของเยื้อกระดาษ แล้วละซิ ว่าไม่ได้เรียงตัวหนามาก
และมีช่องว่าง ระหว่างเนื้อเยื้อกระดาษด้วย ขนาดช่องว่างถ้าเทียบกับสเกลในภาพก็ 100 um ไมครอน
หรือ 0.1 มิลลิเมตร เล็กมากๆ ทำให้ตาเรามองไม่เห็น ถ้าทิชชูยิ่งบาง รูและช่องว่างก็ยิ่งมาก

 

ตามภาพเป็นกระดาษทิชชูที่ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM
ที่กำลังขยาย X 1000 เท่า เราก็จะเห็นการเรียงตัวของเยื้อกระดาษ ขนาดเส้นเล็กและใหญ่ไม่เท่ากัน
ขนาดเส้นเนื้อเยื้อกระดาษ ถ้าเทียบกับสเกลในภาพก็ 10 um ไมครอน หรือ 0.01 มิลลิเมตร เราก็
จะประมาณขนาดความกว้างของเนื้อเยื้อของกระดาษ ขนาดที่กว้างสุดก็ประมาณ 40um หรือ 0.04
มิลลิเมตร ส่วนเส้นที่ความกว้างเล็ก ก็จะมีขนาดประมาณ 10 um หรือ 0.01 มิลลิเมตรเลยทีเดียว

 

 

เครดิตข้อมูลเพิ่มเติมจาก : วิกิพีเดีย คลิก

ขนาดของกระดาษชำระ

เดิม ขนาดมาตรฐานของกระดาษชำระ ได้แก่ กว้าง 4.5 นิ้ว ยาว 4.5 นิ้ว ซึ่งยังคงเป็นขนาดมาตรฐานของกระดาษชำระที่ใช้กันในปัจจุบัน แต่บริษัทผู้ผลิตบางรายได้ปรับลดขนาดลง โดยยังคงความยาวไว้ที่ 4.5 นิ้ว แต่ปรับลดความกว้างลงเล็กน้อย[13] โดยปกติ กระดาษชำระแบบแผ่นเดียว 1 ม้วนจะประกอบด้วยกระดาษชำระประมาณ 1,000 แผ่น ในขณะที่กระดาษชำระแบบ 2 แผ่นประกบ 1 ม้วนจะประกอบด้วยกระดาษชำระประมาณ 500 แผ่น[14] แต่ทั้งนี้ในปัจจุบัน ผู้ผลิตได้ปรับเปลี่ยนขนาดเพื่อสร้างกลไกการตลาด เช่น ทำม้วนที่มีจำนวนแผ่นมากขึ้น หรือน้อยลง เพื่อกลยุทธ์ด้านราคา

ขั้นตอนการผลิตกระดาษชำระ

วัตถุดิบ

วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตกระดาษชำระ ได้แก่เยื่อกระดาษ ซึ่งได้แก่

  • เยื่อกระดาษบริสุทธิ์ ได้แก่เยื่อกระดาษที่ได้จากกระบวนการคัดแยกเยื่อจากต้นไม้
  • เยื่อเวียนใหม่ ได้แก่เยื่อกระดาษซึ่งผลิตจากกระดาษที่นำกลับมาใช้ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีในการจัดแยกเยื่อกระดาษจากสิ่งปฏิกูล และหมึกพิมพ์ และผ่านกระบวนการฟอกสีเพื่อให้ได้เยื่อกระดาษสีขาว สำหรับเป็นวัตถุดิบการผลิตต่อไป

โดยเยื่อกระดาษที่นำมาใช้ผลิตกระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า ได้แก่ส่วนผสมของเซลลูโลสแวดดิ้ง โดยแหล่งนำเข้าเยื่อกระดาษเซลูโลสแวดดิ้งสำคัญของไทย คือ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี[15] แม้กระดาษชำระจะสามารถผลิตได้จากทั้งเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ และเยื่อเวียนใหม่ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วกระดาษชำระจะผลิตมาจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์[16]

กระบวนการผลิตกระดาษชำระ

กระบวนการผลิตกระดาษชำระ[15] มีขั้นตอนดังนี้

  1. นำเยื่อกระดาษที่ได้คุณภาพตามต้องการ ในที่นี้อาจใช้เยื่อกระดาษบริสุทธิ์ เยื่อเวียนใหม่ หรือใช้ผสมผสานกัน ตามคุณภาพของกระดาษชำระที่ต้องการ
  2. นำเยื่อกระดาษที่ได้ มาตีผสมกับน้ำ โดยมีสัดส่วนน้ำร้อยละ 95 เยื่อกระดาษร้อยละ 5[17]
  3. นำน้ำผสมเยื่อกระดาษมารีดอบเป็นแผ่นกระดาษโดยผ่านเครื่องอบที่มีระดับความร้อนสูงกว่า 120 องศา C และความดัน 5 กก./ตร.ซม. ในขั้นตอนนี้ เทคโนโลยีการอบเป็นตัวช่วยทำให้กระดาษชำระมีความอ่อนนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง[17]
  4. นำกระดาษที่ผ่านการรีบอบ มาผ่านกระบวนการทำให้ย่น เป็นลอนหรือเป็นจีบ ทำลายดุน และปรุรู
  5. นำกระดาษชำระที่ได้ เข้าสู่กระบวนการม้วน เป็นม้วนกระดาษชำระ แล้วบรรจุลงหีบเพื่อจัดจำหน่ายแก่ผู้บริโภค

กระบวนการผลิตเยื่อเวียนใหม่[15] มีขั้นตอนดังนี้

  1. การรวบรวมวัตถุดิบที่เป็นเศษกระดาษ
  2. นำมาตีให้เกิดเป็นเยื่อกระดาษที่ได้มาตรฐาน ณ อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส และความดัน 2 กก./ตร.ซม.
  3. กำจัดสารเคมีและสิ่งปลอมปนโดยเครื่องคัดแยก และฟอกสี
  4. นำเยื่อกระดาษที่ผ่านการคัดแยกแล้ว ผ่านกระบวนการทำความสะอาดอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้มาตรฐาน

สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระดาษชำระ

  • กระดาษชำระโดยส่วนใหญ่ทั่วโลก เป็นสีขาว[14]
  • ไต้หวัน เป็นประเทศแรกที่ใช้กระดาษชำระแบบแผ่นป๊อปอัพ[18]
  • ในขั้นตอนการผลิตกระดาษชำระ จะผสมน้ำร้อยละ 95 ขณะที่มีเยื่อกระดาษเพียงร้อยละ 5 ก่อนที่จะนำมาทำให้น้ำระเหยออกไปจนเหลือแผ่นกระดาษบาง ๆ[17]
  • สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศผู้ผลิตกระดาษชำระรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นประเทศที่มีการใช้กระดาษชำระมากที่สุดในโลกเช่นกัน โดยเฉลี่ยชาวอเมริกา 1 คนใช้กระดาษชำระวันละ 57 แผ่น หรือประมาณปีละ 20,805 แผ่น[19]
  • พิพิธภัณฑ์กระดาษชำระ เปิดให้เข้าชมได้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1999[20]
  • ในปี ค.ศ. 1973 เกิดเหตุการณ์กระดาษชำระขาดตลาดทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลานานถึง 3 สัปดาห์[20][10]
  • ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย ช่วงปี ค.ศ. 1990 - ค.ศ. 1991 กองทัพสหรัฐอเมริกาพรางรถถังของกองทัพด้วยกระดาษชำระ[9]
  • มีเรื่องเล่าขำขันว่า ในช่วงแรกที่มีการใช้กระดาษชำระในประเทศรัสเซียนั้น ชาวรัสเซียใช้กระดาษชำระเพื่อทำความสะอาดมือ ภายหลังจากที่ใช้มือทำความสะอาดก้นของตนเอง[10]
  • กระดาษชำระ เป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งในปัจจัยหลาย ๆ ตัวที่ใช้ในการวัดระดับมาตรฐานโรงแรมไทย[21]
  • ในประเทศไทย มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก.ที่กำหนดเอาไว้ว่า สินค้าประเภทกระดาษชำระนั้นต้องมีความยาวไม่ต่ำว่า 31 เมตรต่อม้วน แต่ไม่มีผู้ผลิตกระดาษชำระรายใดที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกระดาษชำระ เราจึงไม่เห็นสัญลักษณ์ มอก.แปะอยู่ที่สินค้ายี่ห้อใดเลย[22]
  • ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย นิยมใช้น้ำในการชำระล้าง มากกว่าการใช้กระดาษชำระ[9][23
บทความน่าสนใจอื่นๆ

ที่มา : //www.dosem24hr.com/index.php

สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์




Create Date : 07 กันยายน 2555
Last Update : 7 กันยายน 2555 18:48:41 น.
Counter : 1222 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DoSEM
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



รับงานบริการ SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป และเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต คลองสาม ปทุมธานี
เว็บไชต์ :http://www.dosem24hr.com
site stat