กันยายน 2555

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
ส่องพระเครื่องพระผง แบบไฮเทค ว่าเป็นพระแท้ไม่แท้ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

ส่องพระเครื่องพระผง แบบไฮเทค ว่าเป็นพระแท้ไม่แท้ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด SEM (เซ็ม หรือ เอสอีเอ็ม) (SEM คือ Scanning Electron Microscope ภาษาไทยเรียกว่ากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด เป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ประเภทหนึ่ง )

*** บทความนี้ขอขอบคุณเซียนSEM โดย Mr.Golf มากๆค่ะ *** @มินDo SEM

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

เมื่อเซียนพระมาโคจรเจอเซียนSEMเข้าให้ งานเข้าครับพี่น้อง คือเซียนพระจะไม่รู้เรื่องSEM และเซียนSEM จะไม่รู้เรื่องพระเครื่อง งานนี้ก็ต้องมานั้งคุยที่ร้านกาแฟ " น้อง พี่อยากรู้ว่ามันเป็นของแท้ไหม " คำถามแรกที่เจอกัน อ้าวแล้วผมจะรู้ไหมละ พระเครื่องของพี่แท้ไม่แท้ พี่เป็นถึงเซียนพระ พี่ก็ยังไม่รู้ พี่มาถามผม แล้วผมจะถามใครละครับ 555555

" ปกติเวลาพี่ดูพระเครื่องว่าเป็น ของแท้ไม่แท้ดูยังไงครับ" พี่เขาอธิบายซะยืดยาววว ตัวกระผมเองฟังจบก็ สงสัยชาตินี้เราคงเป็นเซียนพระไม่ได้แน่ๆ เหอ เหอ "พี่นัดเจอผม และมาหาผมถึงที่สุรินทร์วันนี้ พี่มีอะไรให้ผมช่วยครับ" พี่เขาตอบมาซัก 1ชั่วโมง กาแฟหมดไป 2ถ้วยแล้ว

ตัวพี่เขาขับรถจากกรุงเทพมาหาผมถึงสุรินทร์ เพราะมีคนแนะนำมา (ยังตามหาตัวคนแนะนำยังไม่เจอ 55555) บอกว่าผมอาจจะช่วยเขาได้ ไอ้เราก็บอกว่าพี่ไม่ต้องขับรถมาไกลถึงสุรินทร์หรอกนะ เพราะผมไปๆมาๆกรุงเทพทุกเดือนอยู่แล้ว

ใจร้อนครับ นัดเจอกันก่อน คุยกันเสร็จ อีกวันก็เดินทางมากรุงเทพด้วยกัน หลังจากที่ได้พูดคุยกันว่ามันมีทางเป็นไปได้

ทางที่ว่าคือ ส่องพระเครื่อง แบบไฮเทค(โนโลยี) ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ และวิเคราะห์ธาตุด้วยเครื่อง EDS ปกติเหล่าเซียนพระ จะใช้ประสบการณ์ ความชำนาญ ความรอบรู้ ตาถึง จึงจะสามารถบอกได้ว่าเป็นของแท้หรือไม่แท้ ถ้าเราเคยมีโอกาสไปหรือผ่านแผงเช่าพระ ในสถานที่ต่างๆ เหล่าที่เป็นทั้งเซียนและไม่เซียน จะก้มๆเงยๆ พร้อมอาวุธ คู่กายของเขา ที่เราๆเรียกกันว่า "กล้องส่องพระ" สนนราคาหลักร้อยถึงหลักหลายพันบาท

หน้าตากล้องที่ว่า "กล้องส่องพระ" ขอบคุณภาพจากเว็บ

แต่ที่คุยกันไว้ว่าเราจะมาส่องด้วยกล้อง SEM จุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด และเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS,EDX หน้าตามันเป็นยังไงละ

หน้าตากล้องSEM ,EDS,EDX ที่ว่า และสนนราคาก็ประมาณ 14 ล้าน(สิบสี่ล้านบาท)ดูราคาไม่ผิดครับหลักสิบล้านจริงๆ ** ขอขอบคุณ ภาพเครื่องจาก Do SEM ครับ www.dosem24hr.com ** (บริการเครื่อง 24 ชั่วโมง)

จุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM

เนื่องจากเครื่องมีราคาแพง ถ้าเราจะดูพระ ส่องพระเครื่องด้วยวิธีนี้ มันก็ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงตามไปด้วย ถ้าดู แล้วให้คนเช่า หรือเรารับเช่า มั่นใจว่าแท้เมื่อเทียบกับของแท้แล้ว ก็ถือว่าผลที่ได้รับไม่แพงนะครับ ไม่รวมค่าตัวผมMr.Golf นะครับค่าขนมผมนะมันแพงนะ 5555 ซึ่งผมก็ได้บอกค่าใช้จ่ายคร่าวๆ กับพี่เขาไป เขาบอกว่าไม่มีปัญหา หลังจากคุยกันไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ตัวผมก็ติดต่อขอใช้เครื่อง SEM ที่ว่ากับ www.dosem24hr.com ที่เลือกที่นี้เพราะเขาบริการเครื่องที่ว่า ตลอด24ชั่วโมงไม่มีวันหยุด และเป็นที่ที่ผม เป็นคนติดตั้งเครื่องนี้กับมือ และดูแลรับซ่อม รวมทั้งสอบเทียบให้กับที่นี้อยู่ด้วยก็เลยง่ายที่จะนัดหมายเข้าไปดู

เมื่อเครื่องว่างก็ได้โทรนัดหมายพี่เซียนพระทันที "ไม่ว่างยังไง พี่ก็ต้องว่างวะงานนี้ ตกลงเป็นวัน..ok.แล้วเจอกัน"

อีก 2วันต่อมา ผมก็ได้ไปเจอพี่เขาที่นัดหมาย พี่เขามาพร้อมกับพระเครื่องจำนวนหนึ่ง และที่สำคัญจะต้องมี พระแท้ 100% มาด้วยเพื่อมาเทียบกับพระที่เหลือ ซึ่งวิธีการที่จะดูเครื่อง SEM ผมได้ตกลงกับพี่เขาแล้วว่า ต้องมีของแท้มาด้วย ผมจะดูของแท้ก่อนรอบหนึ่งแล้วเก็บข้อมูลไว้ เสร็จแล้วถึงจะดูพระเครื่องเป้าหมายที่ยังไม่รู้ แท้ไม่แท้เป็นลำดับต่อไป ดูเสร็จเอาข้อมูลมาเทียบ

ภาพพระเครื่องส่วนหนึ่ง ที่พี่เขานำมาวันนั้น เป็นกลุ่มพระยังไม่รู้ว่าเป็นของแท้ไม่แท้ และจะมีอีกบางส่วนที่เจ้า ของพระ ไม่อนุญาติให้นำภาพลง ในส่วนนั้นจะเป็นของแท้ และพระสมเด็จ และพระผงรุ่นต่างๆ

พระเครื่อง Do SEM

เรามาดูตัวอย่างพระเหรียญ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ที่ทำปลอมกันค่อนข้างเยอะ ตามภาพ ดูผิวเผินด้วยตาเปล่า ก็อาจแยก แยะไม่ค่อยออก ถ้าเป็นเซียนพระเก่งๆนี้ก็ส่องดูแป็บเดียวก็รู้ แท้ไม่แท้ แต่ถ้าปลอมเนียนมากๆ ก็แยกแยะออกยากเช่น กันละครับ องค์ด้านซ้ายและขวา มองด้วยตาเปล่าวัสดุที่นำมาทำคงแตกต่างกัน ทางวิทยาศาสตร์อย่าเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ มองเห็นโดยยังไม่ได้พิสูจน์ หรือทดสอบ วิเคราะห์ พระสองเหรียญนี้ผมจะไม่บอกนะครับองค์ใหนแท้ไม่แท้

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

เรามาเตรียมพระ ก่อนเข้าเครื่องดีกว่านะครับ เริ่มด้วยนำพระเครื่องที่เราจะวิเคราะห์ ทดสอบมาติดกับแท่นวางตัวอย่าง ที่เราเรียกว่า Specimen holder เราจะติดกาวที่นำไฟฟ้าลงไปก่อนที่ทำจากคาร์บอนเทป และก็วางพระเหรียญทับ ลงไปตามภาพ

วิเคราะห์พระเครื่อง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
วิเคราะห์พระเครื่อง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

การใช้เครื่อง SEM ทดสอบ ถ้าเป็นตัวอย่างที่นำไฟฟ้า อย่างพระเหรียญนำไฟฟ้าได้อยู่แล้ว เพราะส่วนผสมส่วนใหญ่ จะมีส่วนผสมที่เป็นโลหะนำไฟฟ้าได้อยู่แล้ว เราจึงไม่ต้องนำไปฉาบเคลือบสารให้นำไฟฟ้าได้ ปกติการฉาบเคลือบสาร นำไฟฟ้าได้กับ ตัวอย่างที่เราจะนำไปใช้ต่อ เราจะไม่ทำ เพราะจะเป็นการทำลายตัวอย่าง

เตรียมเสร็จแล้วเราก็เอาเข้าเครื่องได้เลยครับ

วิเคราะห์พระเครื่อง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ใส่เข้าพร้อมกัน 2 เหรียญ ง่ายๆแบบนี้เลยครับ

วิเคราะห์พระเครื่อง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ใส่เข้าพร้อมกัน 2 เหรียญ อีกภาพ

วิเคราะห์พระเครื่อง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

เรามาเริ่มวิเคราะห์และทดสอบ ด้วยพระเหรียญด้านซ้ายก่อนแล้วกันนะครับ ทำพร้อมกันไม่ได้

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล 1

และตามด้วยเหรียญด้านขวา

วิเคราะห์ทดสอบ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล 2

เรามาดูภาพที่ได้ จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน SEMกันนะครับว่า หน้าตาจะออกเป็นอย่างไร ปกติภาพที่ได้จากเครื่อง SEM จะเป็นภาพขาวดำเท่านั้น ยังไม่มีรุ่นและยี่ห้อใหนเป็นภาพสีได้ ที่เห็นเป็นภาพสีเขาเอาไปแต่ภาพอีกทีครับ

ตามภาพเป็นส่วนจมูก ของเหรียญด้านซ้าย ถ่ายที่กำลังขยาย x15 เท่า 20000 โวลท์

วิเคราะห์ทดสอบ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล 1 ส่วนจมูก

และเปรียบเทียบเหรียญด้านขวา ตามภาพ ถ่ายที่กำลังขยาย x15 เท่า 20000 โวลท์

วิเคราะห์ทดสอบ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล 2 ส่วนจมูก

สองภาพบน จะเห็นได้ว่า รายละเอียดส่วนตา จมูก ปากบน ของสองเหรียญจะไม่คล้ายกัน แตกต่างค่อนข้างเยอะ เราเปลี่ยนจุดดู ผมดูในส่วนที่รายละเอียดเยอะขึ้นมา ก็เลยเลือกจุดข้างใบหู ที่มีลายเส้นผม

ตามภาพเป็นส่วนจุดข้างใบหู ของเหรียญด้านซ้าย ถ่ายที่กำลังขยาย x15 เท่า 20000 โวลท์

วิเคราะห์ทดสอบ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล 1 ส่วนข้างใบหู

ตามภาพเป็นส่วนจุดข้างใบหู ของเหรียญด้านขวา ถ่ายที่กำลังขยาย x15 เท่า 20000 โวลท์

วิเคราะห์ทดสอบ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล 2 ส่วนข้างใบหู

หลังจากนั้นผมเปลี่ยนตำแหน่ง ไปหาจุดเรียบๆช่วงแก้ม และเพิ่มกำลังขยายของกล้องขึ้นเพิื่อดูรายละเอียด ของวัสดุ ที่นำมาทำ ภาพแรกเป็นเหรียญที่ 1ด้านซ้าย ถ่ายที่กำลังขยาย x 500 เท่า 20000 โวลท์

รายละเอียดของวัสดุ ของเหรียญด้านซ้าย 1

ภาพสองเป็นเหรียญที่ 2 ด้านขวา ถ่ายที่กำลังขยาย x 500 เท่า 20000 โวลท์

รายละเอียดของวัสดุ ของเหรียญด้านขวา 2

ทั้งสองภาพด้านบน ภาพแรกเป็นเหรียญที่ 1ด้านซ้าย เกรนหรือรายละเอียดจะจับตัวได้แน่นกว่า ส่วนเหรียญสองจะมี รูพรุนค่อนข้างเยอะ แสดงว่าวัสดุที่นำมาทำอาจจะไม่เหมือนกัน จะยืนยันได้ว่าวัสดุไม่เหมือนกันได้มากกว่านี้ เกือบ 100 %ได้นั้นเราจะต้องใช้เครื่องวิเคราะห์ะาตุ EDS,EDX มาหาองค์ประกอบธาตุของวัสดุทั้งสอง ซึ่งเราจะทดสอบเป็น ขั้นตอนต่อไปจึงจะสรุปได้มากกว่านี้ครับ และอีกอย่างถ้าขบวนและขั้นตอนการหลอม และการปล่อยให้เย็นตัวของวัสดุ ไม่เหมือนกันถึงแม้ว่า ส่วนผสมเหมือนกัน ผลเกรน หรือรายละเอียดที่ได้ก็จะไม่เหมือนกันด้วยนะครับ

มาดูส่วนที่เป็นตัวหนังสือ ที่อยู่บนเหรียญกันบ้างนะครับ ถ่ายที่กำลังขยาย x35 เท่า 20000 โวลท์

ตัวหนังสือเหรียญที่ 1ด้านซ้าย

อีกภาพครับ จุดขาวๆตามตัวหนังสือ จะเป็นธาตุออกซิเจน O และซัลเฟอร์ S วิเคราะห์ด้วย EDS,EDX

ตัวหนังสือเหรียญที่ 1ด้านซ้าย

เรามาใช้เครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS,EDX ที่ติดกับเครื่อง SEM มาวิเคราะห์หาองค์ประกอบของธาตุ บนเนื้อวัสดุทั้งสอง เหรียญกัน โดยต้องเลือกตำแหน่งใกล้เคียงกัน ทั้งสองเหรียญและแต่ละเหรียญควรวิเคราะห์อย่างต่ำ 2 จุดเปรียบเทียบ เพื่อความชัวร์ของผลนะครับ แต่ที่นำมาลงบทความเอามาแค่จุดเดียว

หน้าตาเครื่องวิเคราะห์ธาตุ ตามรูปจะเป็นถังที่เรามองเห็นสีเทาเข็ม ติดสติกเกอร์สีน้ำเงิน Oxford นั้นแหละครับเป็น ตัวตรวจจับหาองค์ประกอบธาตุ ( EDS Detector/ Energy dispersive X-ray Spectrometer หรือ EDS,EDX)

เครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS,EDX

ผลของการวิเคราะห์ด้วย EDS,EDX เชิงคุณภาพ เหรียญแรกด้านซ้าย

พบว่ามีธาตุ O = ออกซิเจน , S = ซัลเฟอร์, Fe = เหล็ก, Ni= นิเกิล, Cu = ทองแดง, Zn = สังกะสี ทั้งหมดจะเป็นส่วนประกอบ ส่วนผสมเนื้อเหรียญพระ แต่เรายังไม่รู้ว่ามี ธาตุแต่ละธาตุอยู่มากน้อย เพียงใด เราต้องวิเคราะต่อด้วย EDS เชิงปริมาณต่อครับ

วิเคราะห์พระเหรียญ ด้านซ้าย1 จุดที่ 1

ผลของการวิเคราะห์ด้วย EDS,EDX เชิงปริมาณ เหรียญแรกด้านซ้าย

วิเคราะห์เชิงปริมาณ พระเหรียญ ด้านซ้าย1 จุดที่ 1
วิเคราะห์เชิงปริมาณ พระเหรียญ ด้านซ้าย1 จุดที่ 1

ผลของการวิเคราะห์ด้วย EDS,EDX เชิงปริมาณ เหรียญแรกด้านซ้าย ให้ดูช่อง Element % นั้นคือ %ของธาตุนั้นๆ ยกตัวอย่าง ผลที่อ่านได้จะมี Cu หรือทองแดงอยู่ 65.76 %

Elmt Spect. Element Atomic

Type % %

O K ED 1.39 5.27

S K ED 0.40 0.76

Fe K ED 0.35 0.38

Ni K ED 13.39 13.80

Cu K ED 65.76 62.60

Zn K ED 18.49 17.11

Yb L ED 0.20* 0.07*

Total 100.00 100.00

ผลของการวิเคราะห์ด้วย EDS,EDX เชิงคุณภาพ เหรียญสองด้านขวา

พบว่ามีธาตุ O = ออกซิเจน , S = ซัลเฟอร์, Fe = เหล็ก, Ni= นิเกิล, Cu = ทองแดง, Cl = ครอรีน

ที่มีมาเพิ่มและแตกต่างตัวแรกคือ Cl = ครอรีน และไม่มีเหมือนตัวแรกคือ Zn = สังกะสี ทั้งหมดจะเป็นส่วนประกอบ ส่วนผสมเนื้อเหรียญพระ แต่เรายังไม่รู้ว่ามี ธาตุแต่ละธาตุอยู่มากน้อย เพียงใด เราต้องวิเคราะต่อด้วย EDS เชิงปริมาณต่อครับ

วิเคราะห์เชิงคุณภาพ พระเหรียญ ด้านขวา จุดที่ 1
วิเคราะห์เชิงคุณภาพ พระเหรียญ ด้านขวา จุดที่ 1

ผลของการวิเคราะห์ด้วย EDS,EDX เชิงปริมาณ เหรียญสองด้านขวา

ผลของการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เหรียญสอง ด้านขวาจุดที่1
ผลของการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เหรียญสอง ด้านขวาจุดที่1

ผลของการวิเคราะห์ด้วย EDS,EDX เชิงปริมาณ เหรียญสองด้านขวา ให้ดูช่อง Element % นั้นคือ %ของธาตุนั้นๆ ยกตัวอย่าง ผลที่อ่านได้จะมี Cu หรือทองแดงอยู่ 94.88 %

Elmt Spect. Element Atomic

Type % %

O K ED 3.40 12.13

S K ED 0.89 1.59

Cl K ED 0.24 0.38

Fe K ED 0.15* 0.15*

Ni K ED 0.44 0.43

Cu K ED 94.88 85.31

Total 100.00 100.00

สรุป

ที่มีมาเพิ่มและแตกต่างตัวแรกคือ เหรียญสองมี Cl = ครอรีน และ เหรียญสอง ไม่มีเหมือนตัวแรกคือ Zn = สังกะสี ถ้าดูตามผล เหรียญแรกมีส่วนผสมหลักคือทองแดง และสังกะสี ที่จะเป็นองค์ประกอบหลักของทองเหลือง แต่เหรียญสองจะมีองค์ประกอบหลักคือทองแดง มีถึง 94.88% เกือบ 100% เลยนะครับ

หลังจากได้ผลมาเราก็จะมาเปรียบเทียบกัน ก็จะบอกได้เลยว่า สองเหรียญมวลสารไม่เท่ากัน พิมพ์ไม่ เหมือนกัน ตำหนิไม่เหมือนกัน ถ้ามีของแท้มาเทียบด้วย ฟันธงได้เลยครับ เหรียญใหนแท้ใหนปลอม

มาถึงพระเอกที่พี่เขา เอามาดูพร้อมกับคนที่ต้องการเช่า ที่มาดูด้วยกัน นั้นก็คือพระสมเด็จ แต่ที่ผมเอามาลงบทความจะไม่ใช่ผลของพระสมเด็จครับ แต่ผมเอาพระเนื้อวัสดุที่เป็นผงเหมือนกัน มาเป็นไกด์ในการทดสอบ ว่าผมทดสอบด้วยวิธีใหน

ตามรูปด้านล่างครับ พระผงนี้จะมีตำหนิอยู่บริเวณ บนไหล่ด้านซ้ายตามภาพ

วิเคราะห์และทดสอบ ลักษณะพระเนื้อผง

เราของนำพระผง มาเตรียมเข้าเครื่อง SEM เหมือนเดิม การเตรียมพระผงต้องระวังอย่างมากนะครับ เพื่อไม่ให้ชิ้นส่วนหลุดได้ ตอนติดลงไปให้ติดกับคาร์บอนเทป เวลาดูตัวอย่าง ต้องอยู่ภายใต้แรงกดของสูญญากาศ ประมาณ 9.6x10-5 Pa (พาสคาล) ในโหมดความเป็นสูญญากาศสูง(HV SEM) แต่กรณีพระผง เราจะดูในโหมดไม่ทำลายตัวอย่าง และโหมดสูญญากาศต่ำ (LV SEM /Low vacuum) ตัวอย่างก็สามารถ เตรียมแบบไม่ต้องนำไฟฟ้า เหมือนกับ HV (กรณีเกิดความเสียหายขององค์พระ ผู้วิเคราะห์จะไม่รับผิดชอบนะครับ) ตามที่ผมดูมา ยังไม่เคยเกิดกรณีองค์พระเสียหายนะครับ

ตามรูป แค่วางพระบนคาร์บอนเทปสีดำเบาๆ ที่เห็นล่างฐานพระ พอให้ติดก็พอ เวลาแกะจะได้ไม่มีรอยสึก

เตรียมวิเคราะห์พระผงด้วย SEM,EDS,EDX

เรามาดูด้วยเครื่อง SEM จุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปกันก่อนครับ

ตามภาพเป็นส่วนหน้าและเศียรพระ กำลังขยาย x 50 เท่า

ส่วนหน้าและเศียรพระผง

อีกภาพ ส่วนหน้าและช่วงคอพระผง เราจะมองเห็นตำหนิอยู่ด้านซ้าย สีดำๆ

ส่วนหน้าและคอพระผง

ส่วนภาพนี้ที่เป็นตำหนิบนไหล่ซ้าย ถ่ายที่กำลังขยาย 150 เท่า วิเคราะห์ด้วย EDS แล้วจุดนี้ส่วนใหญ่เป็นใบพืช เพราะจะมีส่วนประกอบ K โปแตสเซียม , Mg แมกนีเซียม , Ca แคลเซียม

ตำหนิพระผง บนไหล่ซ้าย

เรามาดูใกล้ๆ กับเนื้อพระกันครับ ภาพนี้ถ่ายที่กำลังขยาย x 500 เท่า สูญญากาศอยู่ที่ 7 Pa

ตามภาพบริเวณภาพเป็นสีขาวๆ เกิดจากตัวอย่าง(พระผง)ไม่นำไฟฟ้า และเกิดการคายประจุ ทำให้ถ่ายภาพ ออกมาได้ไม่สวย แต่ก็มีวิธีแก้ครับ

ภาพถ่ายพระผง Low vacuum mode 7Pa พาสคาล
ภาพถ่ายพระผง Low vacuum mode 7Pa พาสคาล

เราก็มาแก้การคายประจุ ด้วยการลดความเป็นสูญญากาศให้น้อยลง เหลือ 25 Pa พาสคาล ผลของภาพดีขึ้นครับ ตามภาพ ถ่ายด้วย BEI Detector

ภาพถ่ายพระผง Low vacuum mode 20 Pa พาสคาล (LV SEM)

ผลของการวิเคราะห์พระผงด้วย EDS,EDX เชิงคุณภาพ (Low Vacuum mode)

พบว่ามีธาตุ O = ออกซิเจน , S = ซัลเฟอร์, Mg = แมกนีเซียม ,Si = ซิลิกอน ,Ca = แคลเซียม ทั้งหมดจะเป็นส่วนประกอบ ส่วนผสมเนื้อเหรียญพระ แต่เรายังไม่รู้ว่ามี ธาตุแต่ละธาตุอยู่มากน้อย เพียงใด เราต้องวิเคราะต่อด้วย EDS เชิงปริมาณต่อครับ

วิเคราะห์ EDS เชิงคุณภาพ ของพระผง
วิเคราะห์ EDS เชิงคุณภาพ ของพระผง

ผลของการวิเคราะห์ด้วย EDS,EDX เชิงปริมาณ ของพระผง

วิเคราะห์ EDS เชิงปริมาณ ของพระผง

ผลของการวิเคราะห์ด้วย EDS,EDX เชิงปริมาณ ของพระผง ให้ดูช่อง Element % นั้นคือ %ของธาตุนั้นๆ ยกตัวอย่าง ผลที่อ่านได้จะมี Ca หรือแคลเซียม 43.41 %

Elmt Spect. Element Atomic

Type % %

O K ED 55.79 75.81

Mg K ED 0.23 0.21

Si K ED 0.41 0.32

S K ED 0.16 0.11

Ca K ED 43.41 23.55

Total 100.00 100.00

องค์ประกอบมวลสารของพระผง ก็จะมี ออกซิเจนมากสุดรองลงมาก็เป็นแคลเซียม เมื่อเราได้ % ของธาตุนี้ ถ้าองค์นี้เป็นของแท้ เราก็เอาข้อมูลนี้เทียบกับพระผงอื่น ที่เราต้อง นำมาเข้าเครื่อง และวิเคราะห์ตามขั้นตอนเดียวกันครับ

สรุปแล้วพี่เซียนพระ ที่นำมาวิเคราะห์และทดสอบหลากหลาย หลวงปู่ดุลย์จะปลอมเยอะ แต่ ก็โชคดีที่ได้พระสมเด็จ ที่ดูเทียบกับของเซียนพระที่บอกว่าแท้ ผลมวลสารใกล้เคียงกันมาก ผิดพลาด คลาดเคลื่อนไม่เกิน 3% พี่เซียนเลยสรุปเอาเองเลยว่า ของแท้ชัวร์ล้าน %

"ครับพี่แท้ก็แท้ 55555555555 โอกาสหน้ามาใหม่นะครับพี่ เผื่อผมจะ ได้เรียนรู้ จากพี่เซียนพระจนผมอาจ อัพเกรดเป็นเซียนพระไฮเทคคนแรกของประเทศไทย ได้บ้าง 55555"

ขอบคุณพี่เซียนพระ และเพื่อนพี่เซียน ที่ไม่ประสงค์ออกนาม ที่อนุญาติให้นำข้อมูลดิบ บางส่วนลง เพื่อเป็นแนวทาง และไกด์ การให้ความรู้อีกแขนงหนึ่งกับเหล่าเซียน

Mr.GOLF คนสุรินทร์เหลา
manatsanan2007@hotmail.com

....................................................ขอบคุณครับ..........................................................

บทความน่าสนใจอื่นๆ

ที่มา : //www.dosem24hr.com/index.php

สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์

Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด

พระ,พระเครื่อง,พระสมเด็จ,พระผง,วิเคราะห์พระเครื่อง,ทดสอบพระเครื่อง,ดูพระ,ส่องพระ,พระแท้ไม่แท้,ส่องพระ,เซียนพระไฮเทค,ทดสอบพระเก๊, พระเครื่องแท้,พระผงแท้,ภาพถ่ายพระด้วยกล้องจุลทรรศน์,วิเคราะห์พระด้วย SEM,วิเคราะห์พระด้วย eds,วิเคราะห์พระด้วย edx,รับทดสอบพระด้วย SEM,รับทดสอบพระด้วย EDS,รับทดสอบพระด้วย EDX,หลวงปู่ดูลย์ อตุโล,ทดสอบพระสมเด็จ,วิเคราะห์พระสมเด็จv




Create Date : 21 กันยายน 2555
Last Update : 21 กันยายน 2555 13:34:52 น.
Counter : 1868 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DoSEM
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



รับงานบริการ SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป และเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต คลองสาม ปทุมธานี
เว็บไชต์ :http://www.dosem24hr.com
site stat