Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2560
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
28 กรกฏาคม 2560
 
All Blogs
 
เมตตัญจะสัพะโลกัสมิงมานะ สัมภาวะเยอะปะริมาณัง คำแปล

เมตตัญจะสัพพะโลกัสมิงมานะ สัมภาวะเยอะปะริมาณัง คำแปล
...
เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
บุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณ ไปในโลกทั้งสิ้น
...
บทสวดมนต์ กรณียเมตตสูตร

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ




บทความนี้คือ กรณียเมตตสูตรพร้อมทั้งคำแปล ซึ่งเป็นบทสวดมนต์แผ่เมตตาครับ
ผมแบ่งบทความเป็น บทสวดล้วนๆ และบทสวดพร้อมคำแปลนะครับ
-ถ้าสวดบทพื้นฐานมาแล้ว ก็สวดต่อด้วยบทเมตตสูตรเลยก็ได้ สวดเสร็จแล้วก็เริ่มเดินจงกรม นั่งสมาธิได้
-ใช้สวดทั้งก่อนและหลังการนั่งสมาธิก็ได้
บทสวดพื้นฐานอยู่ในบทความก่อนหน้านี้ตาม link นะครับ บทสวดมนต์พื้นฐาน

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะนุกะถูลา
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ

ต่อไปเป็นบทสวดแทรกคำแปล

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
กิจอันใดอันพระอริยเจ้า บรรลุบท กระทำบำเพ็ญแล้ว กิจอันนั้น กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำบำเพ็ญ

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ ซื่อตรง เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจธุระน้อย ประพฤติเบากายจิต

สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้มีอินทรีย์อันสงบระงับแล้ว มีปัญญา เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย

นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
วิญญูชน ติเตียนชนอื่นทั้งหลายได้ด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย

สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ยังเป็นผู้สะดุ้ง(คือมีตัณหา) หรือเป็นผู้มั่นคง (ไม่มีตัณหา) ทั้งหมดไม่เหลือ

ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะนุกะถูลา
เหล่าใดเป็นทีฆชาติหรือโตใหญ่ หรือปานกลาง หรือต่ำเตี้ย หรือผอม หรืออ้วนพี

ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา
เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็นก็ดี

เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ดี

ภูตา วา สัมภะเวสี วา
ที่เกิดแล้ว หรือกำลังแสวงหาภพอยู่ก็ดี

สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ใดๆ เลย

พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธ หรือความคุมแค้น

มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน ด้วยยอมสละชีวิตของตนได้ ฉันใด

เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
พึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณ ในสัตว์ทั้งหลาย แม้ฉันนั้น

เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
บุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณ ไปในโลกทั้งสิ้น

อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ
ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง

อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู

ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด

เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ
ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น

พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้

ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
บุคคลผู้มีเมตตา ไม่เข้ายึดถือทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค)

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง
นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก

นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ
ย่อมไม่ถึงความนอน(เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว

ที่มาของบทสวดนี้ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก เรื่องย่อๆมีว่า ภิกษุจำนวนหนึ่งพากันไปจำพรรษาในป่าแห่งหนึ่ง เหล่ารุกขเทวดาจึงพากันลงมาอยู่บนพื้นดินเพื่อถวายความเคารพแก่พระสงฆ์ และเค้าคิดว่าพระคงพักอยู่ไม่กี่วันก็จะไป แต่เมื่อรู้ว่าพระจะอยู่ที่ป่านี้ตลอดพรรษา (อาจจะเกิดความหวงพื้นที่) จึงพร้อมใจกันหลอกหลอนภิกษุทั้งหลาย จนท่านอยู่ไม่เป็นสุข ท่านจึงตกลงกัน กลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงประทานบทแผ่เมตตาให้แก่ภิกษุเหล่านั้น เมื่อเหล่าภิกษุสวดบทแผ่เมตตานั้น บรรดาเทวดาทั้งหลายได้ยิน ก็มีจิตใจอ่อนโยน ไม่หลอกหลอนท่านอีก ท่านสามารถอยู่ในป่าได้อย่างสงบ ปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์กันหลายรูป บทแผ่เมตตาที่ว่า ก็คือกรณียเมตตสูตรนั่นเอง ลองเอาไปสวดกันดูนะครับ ตามประสบการณ์ของผม บทนี้ใช้สวดประกอบการแผ่เมตตาได้ดีมากเลยครับ สาธุครับ

Posted 31st August 2012 by Prapanpong Pongsriiam
Labels: บทสวดมนต์
...
สาธุๆๆขอบพระคุณที่มาจาก
//buddhistprapanpong.blogspot.com/2012/08/blog-post_31.html?m=1
...


...

...



Create Date : 28 กรกฎาคม 2560
Last Update : 28 กรกฎาคม 2560 13:16:36 น. 2 comments
Counter : 26004 Pageviews.

 
สาธุ สาธุ สาธุ ครับผม


โดย: นายชยกร สุชาติพงศ์ IP: 118.174.31.248 วันที่: 28 พฤษภาคม 2563 เวลา:20:11:10 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: นุ IP: 171.96.191.248 วันที่: 23 มิถุนายน 2566 เวลา:13:40:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

doraeme
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add doraeme's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.