ดูง่าย ทำง่าย แต่พอเพียง
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
18 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
“ดร.นิเวศน์ เหมวชิวรากร”

VI เบอร์1ของเมืองไทย
“ดร.นิเวศน์ เหมวชิวรากร”
สำหรับเซียนคนนี้ ต้องถือว่าค่อนข้างที่จะฉีกแนวไปจากชื่อคอลัมน์ เพราะ
เขาได้ประกาศจุดยืนที่ชัดเจนมากว่าจะเป็น “เต่า” ซึ่งถือได้ว่าเป็นคนละสายพันธุ์ คน
ละสปีชีส์ และคนละไฟลั่มกับ “เสือ” แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ผีมือที่ฝากไว้ได้เป็น
ที่ประจักษ์ชัดเจนแล้วของทั้งในและนอกวงการ คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากสำหรับ
Value Investor (VI) เบอร์ 1 ของเมืองไทยคนนี้..เชิญพบกับชีวิต แนวคิดการลงทุน
และวิธีคิดของ ดร. นิเวศน์ เหมวิชรวรากร ได้ ณ บัดนาว
จากวิศวกรสู่โลกการเงิน
ก่อนหน้าที่จะเข้าสู่วงการนี้ผมเป็นวิศวกรมาก่อนเพราะเรียนจบจากวิศวะจุฬาฯ ซึ่ง
ถือว่าห่างจากโลกการเงินเยอะ แต่พอเรียนจบปริญญาเอกก็เริ่มต้นทำงานที่ บรรษัทเงินทุน
อุตสาหกรรม หรือ IFCT ซึ่งเป็นสถาบันการปล่อยกู้และมีส่วนร่วมในการบุกเบิกตลาดทุน พอ
ตลาดหลักทรัพย์เริ่มบูมขึ้นมาก็ได้ย้ายมาอยู่ที่ บริษัทเงินทุนหลักทัรพย์ (บงล.) นวธนกิจ อยู่ใน
ส่วนงานวานิชธนกิจที่จะนำบริษัทจดทะเบียนเข้าตลาดฯ ระหว่างนั้นก็มีโอกาสได้เล่นหุ้นบ้าง
แบบว่าได้กำไรมาก็ขายไป แต่ก็ไม่ได้แอ็คทีฟมาก และก็ไม่ได้สั้นถึงขนาดเป็นเดย์เทรด
เป็นระยะกลาง-สั้น ถือประมาณ 1-2 เดือน ตอนนั้นราวปี 2537-2538 เป็นช่วงที่หุ้น
กำลังคึกคักและทุกคนเข้ามาเล่นกัน ซึ่งก็เป็นลักษณะของการที่เล่นเป็นงานอดิเรก
ไม่ได้อิงการวิเคราะห์ตัวหุ้นซักเท่าไหร่ อาศัยดูจากสภาพตลาดโดยรวมเป็น
หลักมากกว่าซึ่งก็จะซื้อหุ้นประเภทที่ผันผวนตามตลาด
หลบภัยกลายเป็นวีไอ
พอปี 2539-2540 เกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจจึงย้ายไปทำงาน
อยู่ดีแทคระยะหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้แอ็คทีฟงานอะไรมาก เป็นช่วงที่ค่อนข้าง
รีแลกซ์เสียมากกว่า มีเวลาทบทวนบทบาทของตัวเองเยอะ จึงกลายมาเป็น วีไอ
(Value Investor) เต็มตัว และเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นนักเขียน ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วง
ที่ตลาดหลักทรัพย์เงียบเหงามาก เป็นช่วงที่ทุกคนหยุดหมด ที่เปลี่ยนสไตล์การลงทุน
มาเป็นแบบวีไอ เพราะตอนนั้นผมเริ่มศึกษาแบบจริงๆ จังๆ จึงเห็นว่าแนวนี้เป็นอะไรที่
ค่อนข้างจะปลอดภัย และ เห็นโอกาสที่หุ้นลงมาเยอะจาก 1700 จุด อีกทั้งช่วงนั้นก็
กำลังตกงานไม่มีรายได้ประจำ ลูกก็ยังเล็ก ภรรยาก็ไม่ได้มีรายได้ประจำ จึงต้องการ
ลงทุนเพื่อหารายได้ในอนาคต
หนทางสองหมื่นลี้ต้องเริ่มที่ก้าวแรก
เรื่องการลงทุน ผมลงไปเต็มตัว 100% ตอนดัชนีฯ อยู่ประมาณ
800 กว่าจุด ราวปลายปี 2540 (ตอนนั้นประเทศไทยประกาศลอยตัวค่า
เงินบาท) จุดหลักก็คือผมไปเห็นหุ้นบางตัวที่มีราคาลงมาเยอะมากและไม่
ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยกำไรและเงินปันผลไม่ได้ลดลงเลย ใน
ขณะที่บางตัวกลับสวนทางดีขึ้นด้วย อย่างเช่นหุ้นส่งออก เป็นต้น ซึ่งได้ผล
บวกจากการที่ค่าเงินบาทอ่อนลงการที่เข้าไปซื้อก็เน้นตัวธุรกิจจริงๆ ไม่ได้
หวังกำไรจากส่วนต่างราคาหุ้น เพราะหุ้นตัวที่ซื้อราคานิ่งมากวอลุ่มก็ไม่
ค่อยมี คนที่เล่นหุ้นตอนนั้นหวังกำไรจาก Capital Gain คงยาก หวังได้
อย่างเดียวคือเงินปันผล ก็เลยทยอยเก็บหุ้นไปเรื่อยจนเงินหมดโดยไม่
รู้ตัว..ซึ่งตอนนั้นมีเริ่มต้นประมาณ 10 ล้านบาท
เทใจให้เต็ม100
ถึงแม้ว่าจะลงทุนเต็ม 100% ตอนนั้นก็ไม่ได้มีแผนสำรอง
ว่าถ้าหากผิดพลาดขึ้นมาจะทำอย่างไร แต่เชื่อมั่นว่าหุ้นแต่ละตัวที่
ซื้อมานั้นแข็งแกร่งและโอกาสที่จะขาดทุนมีน้อยมาก แถมยังมีการ
กระจายการลงทุน 7-10 ตัว อาทิ TF, WACOL, SSC, APRINT
เป็นต้น ซึ่งทำให้โอกาสที่จะพลาดจึงต่ำลงไปอีก แต่ถ้าเกิดพลาด
ขึ้นมาก็คงจะไม่พลาดแบบหายนะ อาศัยจากปันผลก็ยังทำให้อยู่
ได้ ต้องยอมรับว่าความโดดเด่นของเครือสหพัฒน์ฯ ตอนนั้นคือ ไม่
มีหนี้ เพราะเคยเจอวิกฤติการลดค่าเงินบาทสมัยป๋าเปรม จึงไม่มี
การไปก่อหนี้ต่างประเทศ และจริงๆ คือไม่ก่อหนี้เลย ทำให้มี
กระแสเงินสดแข็งแกร่ง และตัวธุรกิจของเขาคือ คอนซูมเมอร์
โปรดักส์ การที่ถึงแม้ประชาชนจะลดการใช้จ่าย แต่จะไม่ลดพวกนี้
หรือลดน้อย เช่น มาม่า ตอนเกิดวิกฤตแล้วยอดขายกลับดีขึ้น หลัง
จากนั้นดัชนีหุ้นก็ลงต่อจาก 800 จุดมาที่ 200 กว่าจุด แต่พอร์ตของ
ผมกลับสวนทางขึ้นมีกำไร และหากเทียบกับดัชนีฯ วันนี้ก็ถือได้ว่า
ลงมาครึ่งหนึ่งของเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่พอร์ตของผมก็โตมาได้หลาย
สิบเท่า ซึ่งก็ถือว่าวิธีแบบนี้สามารถทนทานต่อภาวะตลาดได้
หัวใจหุ้นคุณค่า
ประเด็นสำคัญของหุ้นที่ผมเลือกซื้อคือ ต้องดูว่า 1) รายได้ไม่ลด 2)
กำไรไม่ลด 3) หนี้ไม่มี 4) ความเสี่ยงที่จะเกิดจากความต้องการสินค้าน้อย
ลงมีน้อยมาก 5) ราคาต่ำแต่มีเงินปันผลจ่ายสูง และ 6) ต้องมีจุดแข็งทาง
ด้านการตลาด โดยมีมาร์เก็ตแชร์เป็นอันดับ 1 และเป็นผู้นำอย่างโดดเด่นซึ่ง
ทิ้งห่างเบอร์ 2 จากหลักทั้งหมดนี้ทำให้ความเสี่ยงเฉพาะของหุ้นแต่ละตัวมี
น้อยมาก และถ้ามีเป็นพอร์ตโฟลิโอ ความเสี่ยงมันก็จะลดลงอีกหลายเท่า
เพราะฉะนั้นผมเลยรู้สึกว่าความเสี่ยงอันนี้รับได้เลย แม้กระทั่งถึงขั้นไม่มี
งานทำก็รับได้ และคิดว่าในที่สุดแล้วเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวหุ้นพวกนี้ก็จะดีขึ้น
อีก ก็เลยค่อยๆ ซื้อไป อย่างวิกฤตในปัจจุบันนี้นักลงทุนก็ต้องหาหุ้นที่ว่า ใน
ที่สุดมันต้องกลับมาและธุรกิจที่ซื้อก็ต้องได้ประโยชน์โดยตรงชัดเจนไม่มีใคร
มาแย่ง
จากยุ่งกลายเป็นรุ่ง
ความจริงซื้อไปใหม่ๆ ก็กำไรไม่เยอะนะ ช่วงนั้นยังอยู่ใน
ภาวะวิกฤต หุ้นยังลงต่ออยู่ จาก 800 จุด เหลือ 200 จุด แต่หุ้นที่ผม
เลือกไม่ตกเลย แต่ปรับขึ้นตลอด ช่วงแรกๆ ก็ขึ้นสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ แต่
พอเศรษฐกิจเริ่มฟื้นก็ปรับขึ้นทีละหลายสิบเปอร์เซ็นต์ตลอดเลย และ
ก็ต่อเนื่องมาเป็น 10 ปี ซึ่งถ้าเทียบแบบปีต่อปี ก็มีเพียงปี 2546 ที่
มูลค่ารวมของพอร์ตปรับลดลงจากปีก่อนหน้า ทั้งนี้เพราะปี 2545
ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นไปกว่า 100% ส่วนปีนี้ (2551) คาดว่าจะเป็นปีที่
2 ที่ทำให้ผลตอบแทนในพอร์ตของผมลดลง หมายถึงว่าไม่ขยายตัว
จากปีก่อนหน้า เพราะที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตมาโดยตลอด
ถือหุ้นแบบวีไอ
โดยเฉลี่ยหุ้นที่ถืออยู่ก็ประมาณ 4-5 ปี แม้ว่าตอนซื้อมาไม่ได้
มีเป้าหมายว่าจะถือตลอดไป แต่ก็ไม่ได้มีเป้าหมายว่าจะขายเมื่อไหร่
เหมือนกัน เมื่อซื้อมาแล้วก็ติดตามไปเรื่อยๆ อันแรกก็ติดตามฐานะ
ทางการแข่งขันและการตลาดก่อน จากนั้นก็ค่อยไปดูฐานะการเงิน
และผลการดำเนินงาน ดูพัฒนาการไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเราเห็นว่ามี
พัฒนาการตกต่ำลงจึงค่อยขายออกไปอย่างเช่น หุ้นเสริมสุข (SSC) ที่
หลังๆ ก็นิ่งมากและไม่มีอะไรใหม่ๆ ออกมา พฤติกรรมผู้บริโภคก็เริ่ม
เปลี่ยนไปหาเครื่องดื่มสุขภาพมากขึ้น ผลการดำเนินงานก็ลดลงก็เลย
ขายไป เพื่อเล่นตัวอื่นที่มาแรงกว่า ถูกกว่า ผลการดำเนินงานดีกว่า
ซึ่งก็คือการสวิช ทั้งนี้ก็ต้องมีการประเมินอยู่ตลอดเวลา และในช่วง
ตลอดเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมาไม่เคยคิดที่จะขายเพื่อเก็บเงินสด คือ
ก่อนจะขายจะต้องมีตัวใหม่มาเปรียบเทียบก่อน ถ้าตัวใหม่เปรียบ
เทียบแล้วดีกว่าจึงจะขายตัวเก่าและซื้อตัวใหม่
ต้องติดตามและจินตนาการ
จริงๆ การติดตามเกี่ยวกับข้อมูลและข่าวสาร ผมว่ามันอยู่รอบตัว
เลย อย่างเช่น พออ่านหนังสือพิมพ์แล้วก็วิเคราะห์ไปเรื่อยๆ สถานการณ์เป็น
อย่างนี้แล้วจะกระทบกับตัวบริษัทอย่างไร จากนั้นก็ลงไปดูในท้องตลาดเป็น
การวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ผม
จะติดตามดูผลิตภัณฑ์ของบริษัทสม่ำเสมอ ยอดขาย ความรับรู้ของผู้บริโภค
การขยายตัว เป็นอย่างไร ซึ่งเราไม่รู้สึกเลยว่าเป็นการทำงาน
นอกจากนี้ก็ยังอ่านหนังสือเกี่ยวกับการลงทุน หนังสือเกี่ยวกับ
ธุรกิจอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก็เป็นเท็กซ์บุค แล้วก็นำทั้งหมดมาวิเคราะห์เข้ากับ
สถานการณ์ในเมืองไทย หรือเรียกว่าจินตนาการ ซึ่งก็ถือได้ว่าทำเป็นประจำ
ทุกวัน ส่วนใหญ่จะทำเวลาออกกำลังกาย เช่น จอร์คกิ้งไปคิดไป รวมถึงยังมี
การเก็บข้อมูลทางการเงินจากงบที่ประกาศแล้วก็รวบรวมตัวเลขพวกนี้เก็บ
ไว้ในสมุด ตัวไหนที่น่าสนใจก็เก็บไว้ในจอเรห์ด้า จดว่าแต่ละไตรมาสข้อมูล
เป็นอย่างไร พัฒนาการเป็นอย่างไร แล้วก็จะนำพวกนี้ก็ไปใส่จินตนาการ
เหมือนกัน


ตัดสินใจซื้อหุ้น
จากที่สะสมจากจินตนาการเป็นเวลาหลายเดือนบางทีไม่ได้
ซื้อหุ้นซักตัว แล้วพอมาถึงวันหนึ่งก็สรุปว่าถึงเวลาที่จะซื้อแล้วก็ซื้อ
เก็บเอาไว้ อย่างบางปีซื้อหุ้นแค่ 1-2 ตัวแค่นั้นเอง ไม่ใช่ซื้อหลายๆ ตัว
แบบเบี้ยหัวแตก ส่วนจำนวนการซื้อตอนนี้ถ้าคิดว่าซื้อไม่ถึง 5% ของ
พอร์ตก็จะไม่อยากซื้อเพราะน้อยเกินไป เพราะถ้าหุ้นขึ้นเยอะๆ ก็ไม่
ได้เป็นเงินอะไรมาก ฉะนั้นหลังๆ จึงเน้นไปเป็นแบบ โปรพลัสอิน
เวสเมนท์ มากขึ้น คือถ้าซื้อน้อยเกินไปก็อย่าไปซื้อมันเลย มันจะดีจะ
อะไรช่างหัวมันเหอะ ต่อให้มันกำไร100% ก็ไม่ได้สร้างความแตกต่าง
ให้พอร์ตเรา สำหรับปัจจุบันในพอร์ตมีหุ้นอยู่ประมาณ 10 กว่าตัว แต่
ก็ไม่ใช่ว่าเป็นหุ้นใหญ่ทุกตัว เพราะมีเหตุผลในการซื้อที่แตกต่างกัน
สภาพคล่องมีผลต่อการตัดสินใจ
การสะสมหุ้นจาก 0% ถึง5% ใช้เวลาไม่นานมาก บางทีก็แค่
อาทิตย์หรือสองอาทิตย์ก็ซื้อเสร็จแล้ว ส่วนเรื่องของสภาพคล่องนั้น
แต่เดิมที่เป็นพอร์ตเล็กก็จะไม่ดู เพราะเราเงินนิดเดียวก็ซื้อไปได้เรื่อย
ทุกตัวมีสภาพคล่องหมดในสายตาเรา แต่ถึงวันนี้มันมีผลเพราะถ้า
สภาพคล่องน้อยเกินไป ถึงอยากซื้อก็ซื้อไม่ได้ ซื้อไปแล้วราคาก็วิ่งขึ้น
ไปก่อนที่เราจะเก็บได้เยอะๆ หรือเวลาขายก็ขายลำบาก ซึ่งไม่คุ้ม
เพราะฉะนั้นหลังๆ สภาพคล่องก็เป็นปัญหาเหมือนกัน
ไม่ต้องกลัว...ถ้าเป็นหุ้นดี
อย่าง STANLY ในตอนนั้นเป็นไปตามสตอรี่ของผมเป๊ะเลย เพราะ
สำหรับเมืองไทยรถยนต์ถือได้ว่ามีความจำเป็น ก่อนวิกฤติมียอดขาย 6-7
แสนคัน แต่พอเจอต้มยำกุ้งยอดขายมันตกลงมาเหลือแสนกว่าคัน ซึ่งผมรู้ว่า
อย่างไรมันต้องกลับมาเพราะเศรษฐกิจตอนนั้นมันวิกฤต คนจึงชะลอการซื้อ
ออกไปปี-สองปียังพอได้ และผมรู้ว่า STANLAY ผลิตแผงไฟหน้าซึ่งจำเป็น
กับทุกคัน ด้วยราคาที่ตกลงมาเยอะแต่หนี้ของบริษัทก็ไม่ได้เยอะ เป็นบริษัท
ที่ Well manage เป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งสูงมากทางด้านการผลิต ผม
ก็ซื้อไป พอเศรษฐกิจเริ่มฟื้นและในช่วงหลังมีเรื่องของการส่งออกด้วยทำให้
ได้กำไรหลายสิบเท่า ซึ่งผมก็ขายไปหลายปีแล้ว อันนี้ก็เป็นตัวอย่างว่าถ้า
สตอรี่เป็นไปตามที่คิดราคามันก็จะไป แม้ว่าตอนซื้อใหม่ๆ มันจะไม่เป็นไป
ตามที่คิด เพราะผมซื้อก่อนที่ตัวเลขมันจะเหลือแสนกว่าคันด้วยซ้ำไป...แต่
ว่าในที่สุดมันก็กลับมา
การลงทุนไม่มีอะไร100%
ส่วนใหญ่ซื้อมาตอนแรกก็ไม่ค่อยขายหรอก ต้องผ่านไป
ระยะหนึ่งจนเห็นว่าผลการดำเนินงานหรือว่าธุรกิจของเขาไม่
สอดคล้องความคิดของเราที่จินตนาการไว้ก่อนหน้านี้ อย่างน้อยๆ
ต้องใช้เวลาดูอยู่หลายไตรมาส แม้ราคาหุ้นจะมีการปรับตัวลงแต่
ตราบใดที่มองไปในอนาคตแล้วยังเป็นไปตามที่เราคิดก็จะไม่ขาย รอ
ว่าเมื่อไหร่จะกลับมา การลงทุนไม่มีอะไร 100% บางทีอาจจะมีอะไร
ที่เราไม่รู้แต่คนอื่นรู้ทำให้ราคาหุ้นมันลง อย่างนี้เราต้องระวัง
จริงๆ แล้วผมจะมองไม่ค่อยผิด เพราะถ้ามองผิดแล้วจะ
อันตรายมาก เพราะซื้อเยอะ แต่จะชี้ให้เห็นว่าบางครั้งสิ่งที่คุณคาด
อาจจะไม่เป็นไปอย่างที่คิด ด้วยเหตุที่สุดวิสัยก็ได้ มันไม่ใช่ว่ามองผิด
หรอก แต่ธุรกิจมันเป็นอะไรที่ Dynamic มีการเปลี่ยนแปลง
ตลอดเวลา
ธุรกิจมันเป็นอะไรที่ Dynamic
ครั้งหนึ่งผมเคยซื้อหุ้นพิซซ่า ฮัท หรือ MINT ในปัจจุบัน ตอนนั้นผม
ชอบมากเพราะกิจการเติบโตเร็วมาก บริหารดี ธุรกิจหลายอย่างก็ดี พอผม
ซื้อไปทุกอย่างที่คาดไว้ไม่ผิดหรอก แต่ที่ไม่คาดฝันก็คือบริษัทโดนฝรั่งเอา
แฟรนไชส์คืน ผมก็กลัวเลยเพราะตอนนั้น พิซซ่า ฮัท เป็นสัดส่วนรายได้ที่
ใหญ่มากของบริษัท เป็นตัวหลักและผมก็เลยคิดว่าเขาคงแย่แน่เพราะคิดว่า
สินค้าตัวนี้ต้องอาศัยชื่อ อันนั้นเป็นความเข้าใจผิดของเรา แต่หลังจากนั้น
เขาสามารถสร้างแบรนด์ใหม่เป็นเดอะพิซ่า คอมพานี ขึ้นมา แต่ผมขายหุ้น
ไปแล้วเพราะนึกว่าสตอรี่มันเปลี่ยน ซึ่งราคาหุ้นมันก็ขึ้นมาตอนหลังอีกเป็น
สิบเท่า ซึ่งผมไม่ได้อะไรเลย แต่ถ้าผมไปคิดใหม่ ถ้ามีประสบการณ์เหมือน
วันนี้ผมจะไม่ขาย เพราะแบรนด์ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะทำให้บริษัทอยู่รอด
ปลอดภัย มันยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ผสมกัน เช่น การผลิต พนักงาน
สถานที่ ผู้บริหาร แต่ว่าตอนนั้นเราค่อนข้างจะอิงกับแบรนด์
เล่นหุ้นสัมปทาน..ไม่ใช่ของกล้วยๆ
สำหรับหุ้นสัมปทานที่บางคนอาจจมองว่ามีรายได้ที่แน่นอน
นั้น พวกนี้มันมักจะมีปัญหาเรื่องตัวสัมปทานว่าถ้าหมดอายุจะทำ
อย่างไร แต่ผมจะสนใจในแง่ที่ว่าถ้าราคาถูกมากแล้วสัมปทานที่มีอยู่
เพียงพอ อันนั้นก็เป็นการลงทุนอีกแบบหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่ำและได้
ผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล แต่ไม่ใช่หุ้นที่เราตั้งใจว่าจะอยู่กับมันจน
ตาย
หุ้นพวกนี้ส่วนใหญ่จะมีสถานะทางการตลาดที่มั่นคงมาก
ทำให้รายได้สามารถคาดการณ์ได้แน่นอน ซึ่งตรงนี้ก็เป็นเงื่อนไขที่
สำคัญมากของผม ถ้าจะลงทุนรายได้และกำไรจะต้อง Very
Predictable และถ้า Growth ได้ก็จะยิ่งดี แต่ว่าสัมปทานหลายตัวก็
ไม่ได้กำไรเพราะจ่ายค่าสัมปทานเยอะ แต่ก็มีอีกหลายตัวที่สามารถ
ทำกำไรได้ดี
ทองแท้หรือตะกั่ว
การพิสูจน์ง่ายนิดเดียวที่จะรู้ว่าสัมปทานที่ได้มานั้นดีหรือไม่
ต่อบริษัท ก็ให้ไปดูกำไร ดูรายได้ที่ผ่านมาในช่วงหลายปี ตรงนี้จะ
ชัดเจนเลย ถ้าเขากำไรต่อเนื่องมาตลอดแสดงว่า สัมปทานตัวนี้ทำ
กำไร แต่ถ้าขาดทุนมายาวนานก็แสดงว่าสัมปทานนั้นเป็นสัมปทานที่
ไม่มีค่า แล้วค่อยมาดูกันอีกทีว่าจะให้ค่าหรือราคามันเท่าไหร่
ไม่ดูอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน
ในการลงทุนโดยปกติผมไม่ดูอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) เลย แต่
จะไปดูที่ยอดหนี้เลยว่ามีกี่ล้าน แล้วมาดูเปรียบเทียบว่าหนี้ตรงนั้นมันสูงเกิน
ฐานะทางธุรกิจหรือเปล่า มันจะมีความเสี่ยงที่จะล้มละลายมากน้อยแค่ไหน
อย่างเช่น ธุรกิจโรงไฟฟ้าพวกนี้ถึงจะมีหนี้แต่ก็ไม่ใช่ปัญหามาก เพราะมี
กระแสเงินสดแน่นอนเข้ามาหล่อเลี้ยง แต่บางบริษัทรายได้ไม่แน่นอนถึงจะ
มี D/E แค่ 1 เท่า แต่ถ้าเกิดพลาดขึ้นมามันหมายความว่าอาจจะเป็นอะไรไป
หรือมีปัญหาก็ได้ เพราะฉะนั้นหนี้ของแต่ละบริษัทมีผลกระทบไม่เท่ากัน
ดังนั้นการมองจึงต้องเทียบหนี้กับความมั่นคงของกระแสเงินสด
ไม่สนบทวิเคราะห์
บอกตามตรง แทบจะไม่ได้ดูเลย แม้บทวิเคราะห์จะมีรายละเอียด
เยอะเพราะเขาทำงานแบบเต็มเวลา แต่ว่าส่วนใหญ่จะเป็นการวิเคราะห์แบบ
ระยะสั้น เน้นแค่ไตรมาสหน้าหรือปีหน้าเท่านั้น ซึ่งเขาจะไม่สนใจเรื่องจุดแข็ง
ของผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทำให้ผมรู้สึกว่าอันนี้ไม่ตรงกับวิธีการของผม
เพราะเรามองระยะยาว 4-5 ปีข้างหน้าและมองความเสี่ยงเยอะ เช่น
ความเสี่ยงที่คู่แข่งจะเข้ามาแย่ง ความเสี่ยงที่จะไม่เป็นไปตามเป้า
และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย แต่โบรกเกอร์จะมองสั้นและไม่ค่อยสน
ใจเรื่องความเสี่ยง


ลงทุนหุ้นก็ปลอดภัยได้..ถ้าเลือกให้ถูก
การฝากเงินมันปลอดภัยในแง่ของการรักษาเงินต้นเท่านั้น
เอง แต่ว่าการลงทุนหุ้นถ้าเราเลือกถูกมันก็ปลอดภัยเหมือนกัน..แต่
ผลตอบแทนจะได้มากกว่า หลังจากที่ได้เริ่มลงทุนวันนั้นแล้ว ผมก็ยัง
มีเงินเติมเข้าไปตลอดเวลา ทำงานมีรายได้อะไรมาก็ลงกลับเข้าไป
เพราะเรารู้สึกว่าต้องใช้มันไปทำงาน มีเงินเป็นไม่ได้ต้องลงทุน โดย
ไม่สนใจคำว่า Market Timeing ผมลงทุนในหุ้นเกือบ100% เก็บเป็น
เงินสดไม่ถึง1% จากจุดเริ่มต้นถึงวันนี้พอร์ตผมเพิ่มขึ้นมาแล้วเกือบ
20 เท่า
ในรอบระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมาดัชนีมีลงอยู่ 5 ปี ในปีที่
ดัชนีลงเราก็ไม่ลง แต่ดัชนีขึ้นเราก็ขึ้นด้วย เพราะเราก็พยามเลือกตัว
ที่ Out perform หมายความว่าในช่วงที่ตลาดลงของเราไม่ลดด้วย
แต่เวลาขึ้นของเราต้องขึ้นดีกว่าตลาด
นอร์มินีชื่อ “เพาพิลาส”
หุ้นผมเกือบทั้งหมดอยู่ในชื่อภรรยา (เพาพิลาส) เพราะมีสมัยหนึ่ง
ที่ตกงานไม่อยู่เป็นที่ต้องไปโน่นไปนี่ และสมัยก่อนต้องมีการตัดเงินชำระ
บัญชี ต้องมีคนคอนเฟิร์ม โบรกเกอร์ต้องมาให้เซ็นอะไรก็จะยุ่งยาก เพราะ
ต้องเจอตัว ต้องเขียนเช็คต้องสั่งจ่าย ดังนั้นเพื่อความสะดวกเพราะภรรยา
ผมก็อยู่บ้านอยู่แล้วมันก็ง่าย ซึ่งมันก็โตมาเรื่อยๆไม่ได้มีปัญหาอะไร ถึงจะ
เป็นชื่อภรรยาแต่ผมก็สั่งซื้อสั่งขายเองโดยใช้วิธีมอบอำนาจ
แนะนำมือใหม่หัดเทรด
หุ้นตอนนี้ถูกๆ มีเยอะ แต่ควรเลือกกิจการประเภทที่เป็นผู้
นำที่โดดเด่นในตลาด มีรายได้เกิดซ้ำ รักษากำไรไว้ได้ มีเงินสดดี
อย่างน้อยก็ควรจะเท่ากับกำไร และราคาหุ้นถูก ซึ่งอย่างงี้คุณก็เลือก
ได้เลย ซึ่งก็จะช่วยให้เลือกหุ้นที่ปลอดภัยได้ อย่างกลุ่มโมเดิร์นเทรด
ทุกตัวเป็นแบบนี้ แม้บางตัวอาจจะมียอดขายลดลงแต่ถ้ามีโปรดักส์
อยู่ในเทรนด์มีความต้องการใช้ ในที่สุดยอดขายก็จะกลับมาเท่าเดิม
ได้
สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ถือเป็นโอกาสทองในชีวิต เพราะมี
หุ้นที่ปลอดภัยและมีโอกาสที่จะได้กำไรสูงๆเยอะ ในระยะ 3-5 ปี
ข้างหน้า สมัยตอนที่ผมเข้าไปตอนนั้นโหดร้ายกว่าเยอะ เพราะมีหุ้น
เล็กๆ บางตัวที่รอดมาได้ แต่ตอนนี้มีบูลชิพที่มีความแข็งแกร่งสูงแต่
ถูกๆ มากมาย แต่ก็ต้องศึกษาหน่อย ซึ่งก็ไม่ได้ยากหรอก
หุ้นดีเพราะตัวเอง แต่แย่เพราะการเมือง
การเมืองในประเทศไทยไม่ได้ทำให้หุ้นดีหรอก แต่มันจะทำให้หุ้น
เสียหายได้และก็คิดว่าในที่สุดแล้วการเมืองก็จะกลับมาที่เดิมในสภาพที่ไม่
ค่อยดี ไม่รุนแรง แต่ก็ไม่เลวร้ายดำดิ่ง เป็นการเมืองแบบไทยๆ ถ้าการเมือง
ทำให้หุ้นตกส่วนใหญ่ถ้าได้ซื้อไปก็จะเป็นโอกาสเพราะมันจะเป็นแค่วิกฤต
สั้นๆ และเดี๋ยวมันก็กลับมาเอง
สำหรับรอบนี้ที่มีการยึดสนามบินก็ต้องถือว่ารุนแรงกว่าที่คิดเอาไว้
เยอะ เพราะแต่เดิมทีเรื่องการเมืองจะเป็นของนักการเมืองเล่นกันเองแต่ตอน
หลังดูเหมือนจะลุกลามเข้ามาที่ภาคเศรษฐกิจโดยตรงและลุกลามมาก ซึ่งก็
น่ากลัวเพราะมันมากระทบของจริง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการเมืองไม่เคยทำให้ผม
ขายหุ้น แต่เราก็ต้องระวังเพราะถ้าบ้านเมืองไร้ระเบียบกฎเกณฑ์ก็จะกระทบ
แรงและนาน ในเมื่อตอนนี้มันกลับขึ้นมาแล้วขั้นนี้ก็ต้องถือว่าพอรับได้
เศรษฐกิจโลกน่ากลัวกว่าการเมือง
สำหรับพิษเศรษฐกิจโลกตอนนี้ซึ่งทำให้ดัชนีลงมาครึ่งหนึ่ง
แล้ว ขายตอนนี้ก็ไม่คุ้ม มันคงบอกได้ยากว่าจะดำดิ่งไปสิบปีหรือเป็น
แค่ปีสองปีแล้วมันจะหวนกลับมา มันก็ไม่มีใครรู้ แต่ด้วยราคาหุ้น
ขนาดนี้ผมก็คิดว่ามันคุ้มที่จะเสี่ยงต่อ ก็ต้องถือว่าเป็นอะไรที่น่ากลัว
เหมือนกัน แน่นอนว่าน่ากลัวกว่าปัจจัยการเมือง
มาเร็ว เคลมเร็ว ไปเร็ว
ถึงตลาดจะวูบวาบขึ้นเพราะมีเฮดจ์ฟันด์ทำให้เปลี่ยนแปลง
รวดเร็ว ผมก็ไม่ได้ปรับอะไรมาก เพราะถ้าเป็น วีไอ มองระยะยาวก็
จะเน้นที่ตัวบริษัทส่วนใครที่จะมาเล่นหรือซื้อขายหุ้นก็เป็นอีกเรื่อง
หนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้วสิ่งที่จะบอกว่าราคา
หุ้นจะอยู่ที่ไหนคือตัวบริษัทไม่ใช่นักลงทุนหรือเฮดจ์ฟันด์ เราไปกังวล
ว่าฝรั่งจะขายหรือซื้ออันนั้นมันระยะสั้น ผมยังไม่เคยเห็นเลยว่ามี
บริษัทที่ดีเหลือเกินแล้วระยะยาวราคาตกเอาๆ มันต้องดีแต่ตอนนี้
ระยะสั้นมันเป็นโอกาส บริษัทดีๆ ราคาหุ้นลดลงมาครึ่งหนึ่ง
ชีวิตประจำวันทำอะไรก็สนุก
ชีวิตประจำวันของผมก็มีทั้งการไป บรรยายที่นิด้า เขียนหนังสือ จัด
รายการวิทยุ 96.5 FM ออกรายการมันนี่ทอล์ค ของมันนี่ชันแนล ตอนนี้
enjoy ทุกอย่างจะออกกำลังกายหรือทำอะไรก็สนุก ขึ้นอยู่กับว่าเลือกทำอะไร
ที่สนุกแล้วได้ประโยชน์ ดีกว่าที่เคยทำงานประจำที่มี 8 ชั่วโมงที่ไม่ค่อยสนุก
ต้องหาเวลาว่างไปทำอะไรที่สนุกอีก การเป็นนักลงทุนไม่ต้องการอะไรเลย
คุณต้องการแค่ความคิด ความกล้าและอารมณ์ เพราะมันเป็นการสู้รบใน
สมองจริงๆ ดูอย่างวอร์เรนต์ บัฟเฟต์ ก็ไม่ได้มีตำแหน่งอะไรสำคัญ แต่สำหรับ
ชื่อของเขา ประธานาธิบดีอเมริกาบางคนยังสู้ไม่ได้เลย
ดวง..เรื่องจำเป็น
สำหรับเรื่องดวง (แม็ททิว เอฟเฟ็กซ์) ผมว่ามันคือความ
จำเป็นประการหนึ่งเหมือนกัน แม้จะไม่ใช่เงื่อนไขที่ทำให้สำเร็จ แต่
ดวงนี่จำเป็นพอสมควร ประมาณ 80-90% คือถ้าคุณไม่มีดวงแล้ว
โอกาสจะประสบความสำเร็จจะยากมาก แต่การมีดวงแล้วก็ไม่ใช่
ประสบความสำเร็จเพราะต้องมีเงื่อนไขอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น ไอคิว
เพราะฉะนั้นดวงเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นเหมือนกัน
ยังไม่สายที่จะตัดสินใจเปลี่ยนสไตล์การลงทุนมาเป็น
แบบ Value Investor (VI) แบบ “ดร.นิเวศน์ เหมวชิวรากร” แต่
ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำเช่นกัน..เพราะก่อนจะก้าวไปถึงจุดนั้น
ต้องเรียนรู้ให้รอบด้าน โดยหัวใจสำคัญคือการเลือกหุ้นที่มีหัว
ใจสำคัญๆ ไม่กี่อย่างที่ต้องดูคือ 1) รายได้ไม่ลด 2) กำไรไม่ลด
3) หนี้ไม่มี 4) ความเสี่ยงที่จะเกิดจากความต้องการสินค้าน้อย
ลงมีน้อยมาก 5) ราคาต่ำแต่มีเงินปันผลจ่ายสูง และ 6) ต้องมี
จุดแข็งทางด้านการตลาด โดยมีมาร์เก็ตแชร์เป็นอันดับ 1 และ
เป็นผู้นำอย่างโดดเด่น..นักลงทุนจะก้าวไปถึงเป้าหมายหรือไม่
คงต้องวัดกันที่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ก็เท่านั้นเอง

ขอบคุณที่มา //www.efinancethai.com



Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2552 18:11:56 น. 1 comments
Counter : 454 Pageviews.

 
ขอบคุณคับ


โดย: Huntingdon วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:10:11:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ศีล5
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ศีล5's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.