เรื่องเล่าจาก นศพ: ปี1 ตอน การเรียนในเทอม1
หลังจากที่ได้โม้ถึงอาหารที่มหิดลศาลายาให้ฟังแล้ว วันนี้จะมาขอเล่าเรื่องการเรียนปี 1 ให้ฟังบ้าง

ที่มหิดลนี้การเรียนในหนึงปีจะแบ่งเป็นสองเทอม โดยในแต่ละเทอมก็จะถูกแบ่งอีกเป็นครึ่งเทอมแรกหรือที่พวกเราเรียกว่ามิดเทอม(Midterm) กับ ครึ่งเทอมหลัง(เรียกว่าไฟนอล(final)) ซึ่งหลังจากจบการเรียนครึ่งเทอมก็จะมีการสอบวัดผลเก็บคะแนนด้วย รวมๆแล้วในหนึ่งปีจะมีสอบใหญ่ๆสี่ครั้ง

การเรียนของพวกเราในปี1 นั้นจะเป็นวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พื้นฐาน และวิชาศึกษาทั่วไปเช่นสังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะไม่ค่อยเกี่ยวกับวิชาชีพขอพวกเราซักเท่าไหร่ 
ในความคิดของผมนั้นผมคิดว่าปี1นั้นมีไว้ให้พวกเราปรับตัวให้เข้ากับชีวิตมหาลัยและเก็บเกี่ยวประสปการณ์มากกว่า การเรียนจึงไม่ได้เคร่งเครียดอย่างที่นึกๆเอาไว้ วิชาไหนอาจารย์สอนดีก็เข้าเรียน ถ้าอาจารย์สอนไม่รู้เรื่องก็ย้ายไปเรียนกับอาจารย์กลุ่มอื่น ถ้าไม่มีอาจารย์คนไหนสอนรู้เรื่องเลยก็เอาVDOการสอนของปีก่อนๆมาดูหรือไม่ก็อ่านเองซะ แล้วถ้าช่วงสอบอ่านหนังสือไม่ทันก็ไปขอให้พวก "เทพ" เขาช่วยติวให้ ผมจึงรอดออกมาได้อย่างไม่ลำบากมากนัก

วิชาที่เรียนในเทอมแรก

แคลคูลัส
ก็ใส่ limit ดิฟๆ อินทริเกตๆ ไปตามภาษาแคลคูลัสนั่นแหละ แต่จะมีพวกอนุกรมกับ เมทริกส์มาผสมโรงเพื่อสร้างสีสัน(เหรอ?)และเพิ่มความซับซ้อนให้สมกับความเป็นมหาวิทยาลัยมหิดล วิชาคณิตยศาสตร์เป็นวิชาที่ผมไม่ชชอบอย่างแรงวิชาหนึ่ง เรียนไม่ค่อยรู้เรื่องทั้งๆที่คนอื่นมักจะเก่งวิชานี้กันทั้งนั้น โชคดีที่แคลคูลัสเป็นอะไรที่มีรูปแบบค่อนค่างตายตัวผมจึงใช้วิธีทำโจทย์เยอะๆแล้วจำรูปแบบไปสอบเลยรอดมาได้อย่างหวุดหวิด ข้อสอบเป็นแบบแสดงวิธีทำความยากยากปานกลาง

เคมี
เรียนเกี่ยวกับหลักเคมีพื้นฐานเช่น พันธะเคมี อัตราการเกิดปฏิกริยา  ไฟฟ้าเคมี จลนศาสตร์เคมี เป็นต้น  ทีเด็ดของวิชานี้คืออาจารย์ผู้สอนของกลุ่มแพทย์รามาชื่อว่า 'อาจารย์ชู' เป็นคนที่มีสไตล์การอธิบายแปลกดี(อ.แกจะไส่แว่นดำเวลาสอนด้วย)  สอนสนุกมาก ฮาน้ำตาไหล ผมเองก็มักจะโดดจากกลุ่มเรียนของตัวเองเพื่อไปเรียนกับอ.ชูอยู่บ่อยๆ เรียนกับอาจารย์แกต้องจดกันมือหงิกเพราะไม่แจกชีท แถมยังสอนเร็วอีกต่างหาก ข้อดีคือเรียนแล้วไม่หลับเพราะถ้าหลับแล้วจะตามไม่ทันทั้งคาบ
สำหรับข้อสอบจะเป็นแบบตัวเลื่อก เป็นยังไงไม่ขอพูดถึง บอกได้แค่ว่าถ้าทำข้อสอบของปีก่อนๆเยอะๆไม่มีทางที่จะไม่ได้A
วิชานี้มีภาคปฏิบัติ(Lab)ด้วยซึ่งสอบภาคปฏิบัตินี้เขาจะให้สอบไทเทรต(titrate) ไม่ยากๆ

ฟิสิกส์
ทุกอย่างเหมือนของม.ปลาย เว้นแต่ที่นี่จะมีการใช้แคลคูลัสมาประยุต์ใช้ในการเรียนด้วย เป็นวิชาที่ผมแพ้ทางอย่างแรง ทั้งคำนวณ แตกเว็กเตอร์ แก้สมการ สูตรอีกมากมายก่ายกอง เวลาเรียนวิชานี้เวลาแต่ละวินาทีจะผ่านไปอย่างทรมาณ สำหรับวิชานี้ผมประทับใจอาจารย์วิฑูรมากเพราะเป็นคนที่สอนฟิสิกส์ได้สนุก สอนแล้วผมรู้เรื่องเป็นคนแรกตั้งแต่เกิดมา  แล้วก็ยังมีอาจารย์ธวัชชัยที่สอนแบบ Hardcoreแต่สอนดีมากๆเช่นกัน(เห็นเพื่อนๆที่ไปเรียนเขาว่างั้น ส่วนผมเคยไปเรียนกับแกครั้งเดียวแล้วเข็ดไม่กล้าไปอีกเลย) ขอสอบฟิสิกส์เทอมนี้เป็นแบบหกตัวเลือกดักทุกทาง (คือต่อให้คิดผิดก็มักจะมีคำตอบดักอยู่ในตัวเลือก) ข้อสอบเป็นอาจารย์สามคนร่วมกันออก ข้อที่เด็กทำไม่ได้มักจะเป็นของอาจารย์ธวัชชัย ตอนแรกนึกว่าผมจะตกซะแล้วแต่พอผลสอบออกมากลับดีกว่าที่คิดไว้ สงสัยเป็นเพราะมันคล้ายๆกับของม.ปลายมั้ง
วิชานี้มีภาคปฏิบัติเช่นกัน แต่ข้อสอบเป็นตัวเลือกกาซึ่งไม่ง่ายนัก

ชีวะวิทยา
เป็นวิชาที่ผมเรียนอย่างมีความสุขที่สุดละ เทอมนี้เรียนความรู้ทั่วๆไปได้แก่ เซลล์ สารอาหาร การหายใจระดับเซลล์ พันธุศาสตร์  เนื้อเยื่อของพืชและสัตว์ วิวัฒนาการ และ ระบบนิเวศ อาจารย์สอนไม่ค่อยรู้เรื่อง เด็กก็ไม่ค่อยเข้าเรียน อาศัยอ่านเองเป็นหลัก ข้อสอบเป็นแบบปรนัยห้าตัวเลือกออกมาทดสอบคอนเซ็ปดีมาก ดูเหมือนจะไม่ยากตอนผมทำแต่พอเกรดออกมาทำไมดันเกินมีนมาแค่กระจึ๋งเดียวฟระ 
วิชานี้ก็มีภาคปฏิบัติเช่นกัน ส่วนมากก็จะให้ส่องกล้องจุลทัศน์เพื่อดูโครงสร้างเล็กๆต่างๆ การสอบจะเป็น "แล็บกริ๊ง" ที่ได้ชื่อนี้ก็เพราะว่าเวลาสอบเค้าจะตั้งโจทย์ไว้บนโต๊ะๆละหนึ่งชิ้น เช่น กล้องจุลทัศน์ให้ส่องอะไรซักอย่าง ให้เวลา 1นาทีต่อข้อ พอหมดเวลาก็จะมีเสียงออดแล้วพวกเราก็ต้องรีบย้ายไปทำข้ออื่นที่วางอยู่ที่โต๊ะถัดไป ฟังดูเป็นการสอบที่เฮฮาดีแต่ความจริงแล้วค่อนข้างกดดัน บางทีคิดคำตอบออกแล้วแต่เพราะตกใจเสียงออดเลยลืมคำตอบไปซะงั้น แต่สุดท้ายผมก็ผ่านมาได้ด้วยดีด้วยคะแนนที่มีนเป๊ะ

ภาษาอังกฤษ
เค้าบอกว่าเป็นภาษาอังกฤษพื้นฐานเพื่อการสื่อสาร แต่ไม่เห็นเด็กได้พูดอังกฤษสื่อสารกันในห้องเลย มีแต่อาจารย์พูดอยู่คนเดียว แถมที่เรียนนี่แกรมม่าล้วนๆ วิชานี้มีการแบ่งนักศึกษาเป็นระดับชั้นด้วย(มีตั้งแต่ level1ซึ่งง่ายสุดไปจนถึง level4ซึ่งยากสุด) โดยอาจารย์ของแต่ละกลุ่มก็โหดไม่เท่ากัน บางคนเจออาจารย์ใจดีก็ดีไป บางคนเจออาจารย์กดเกรดก็มีเฮ แต่โชคดีที่อาจารย์ที่สอนกลุ่มผมทั้งสองเทอมใจดีทั้งคู่  
ขอสอบมีทั้งปรนัยห้าตัวเลือก เติมคำ หาที่ผิด ต่อประโยค เขียนคำตอบแบบสั้นๆ และเขียนessay ไม่ยากมากแต่ก็ไม่ง่ายจนเกินไป ดีที่คะแนนเก็บวิชานี้ของผมค่อนข้างสูงผมเลยผ่านวิชานี้มาแบบชิลๆ

ภาษาไทย
วิชานี้อาจารย์ที่สอนส่วนมากจะเป็นอาจารย์วัยรุ่นๆ ฮาๆ มุขเยอะสอนสนุก เรียนแล้วเพลินดี ที่มหิดลนี้เราจะเรียนหลักการใช้ภาษาอย่างถูกต้องโดยที่เรียนนั้นจะเป็นสิ่งที่ใช้บ่อยๆเช่น การเขียนจดหมายและรายงานต่างๆและ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเป็นต้น จะเห็นว่าไม่ค่อยจะมีหลักภาษาไทยที่แสนซับซ้อน ชวนง่วง แถมเยอะแยะให้ท่องจำเหมือนตอน ม.ปลายอีกเพราะเน้นเรียนสิ่งที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ข้อสอบเป็นปรนัยห้าตัวเลือกไม่ยากมากนัก

Mahidol University General Education(MUGE)
พวกเรามักเรียกว่าวิชา "มูเก้" เป็นวิชาสังคมศึกษาดีๆนี่เอง วิชานี้จะแบ่งเป็นสามวิชาคือ MUGE101 MUGE102 และ MUGE103 
MUGE102 และ MUGE103นั้นเราเรียนประวัติศาสตร์ของอารยธรรมต่างๆ ทั้ง กรีก โรมัน อียิป ไทย การปฏิวัติต่างๆในประวัติศาสตร์ เศรฐศาสตร์ ศาสนา และอีกมากหลายยุบยับ เรียกได้ว่าเรียนทุกอย่างในสามโลก ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเรียนไปทำไมเยอะขนาดนี้ แถมยังมีให้ทำรายงานบ่อยมาก(ขอบ่นหน่อย)ซึ่งพวกผมก็มักจะตำข้าวสารกรอกหม้อกัน คือทำวันสองวัน ก่อนถึงกำหนดส่ง
ส่วน MUGE101 นั้นจะสอนเรื่องจริยธรรม และก็จะมีให้ทำโครงงาน เช่นอย่างของกลุ่มผมได้ทำการลงชุมชน ไปสอนภาษาอังกฤษ น้อง ป.3ผ่านการเล่นเกม การทำโครงงานครั้งนี้นอกจากทำให้พวกเราได้ทักษะในการทำงานเป็นทีมแล้ว พวกเรายังได้ไปสัมผัสกับพวกเด็กๆน่ารักๆ ซึ่งทำให้พวกเราหลายๆคนได้ระลึกถึง "ความเป็นเด็ก" ที่หลายๆคนอาจลืมมันไปแล้วก็ได้ 
ข้อสอบสำหรับ 102 103 เป็นปรนัย ห้าตัวเลือกเนื้อหาเน้นท่องจำ ซึ่งออกกว้างและละเอียดมาก ต่อให้อ่านหนังสือมาดีก็อาจไม่ตรงจุด ผมและเพื่อนผมอีกหลายคนเลยตัดสินใจไม่อ่านวิชานี้กัน อาศัยตั้งใจเก็บคะแนนในห้องเรียนเลยรอดมาแบบสบายๆ ส่วน 101ไม่มีการสอบ



Create Date : 06 เมษายน 2556
Last Update : 6 เมษายน 2556 20:36:01 น.
Counter : 10901 Pageviews.

2 comments
  
แวะมาทักทายว่าที่หมอน้อยจ้า
โดย: คมไผ่ วันที่: 6 เมษายน 2556 เวลา:23:01:19 น.
  
อยู่ใกล้บ้านเลย ^^
โดย: paiforme วันที่: 7 เมษายน 2556 เวลา:18:08:29 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

PS YerDua
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



It's no use knowing a lot if you can't master what you know.

มันแทบจะไม่มีประโยชน์เลยที่จะรู้สิ่งต่างๆมากมายถ้าสิ่งที่คุณรู้นั้นไม่ได้รู้ลึก หรือรู้จริง
เมษายน 2556

 
1
2
3
5
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
25
27
29
30