Derivatives THAI & Overseas Trading Group //// " THAI TRADER CLUB "

<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
21 สิงหาคม 2553
 

-------เสดสาด ฉบับ อ่านข่าว ต่างประเทศ----------

(เนื่องจากนั่งเขียนตอน พันทิป ปิด ปรับปรุง เลยใช้ โปรแกรมแต่งอักษรไม่ได้ ขออภัยผู้อ่านที่จะต้องอ่านตัวอักษร เล็กๆๆ)

เนื่องจากข่าว TREASURIES-Late sell-off cools hot market before supply
จากลิ้งค์ //www.reuters.com/article/idINN2015672320100820?rpc=44
และ //www.reuters.com/article/idINN2015672320100820?rpc=44

สรุปข่าว ตลาดพันธ์บัตร์ (Treasury) ว่า ผลตอบแทนพันธบัตร์ (yield ไม่ใช่ เรียกดอกเบี้ย แบบพันธบัตร์ไทย )ของพันธบัตร์ อายุ 10ปี ต่ำสุด ในรอบ 17 เดือน
และ30ปีในรอบ 16เดือนจึงสนใจที่จะไปเปิดกราฟดู

เมื่อไปที่ //stockcharts.com/h-sc/ui
ให้ชี้ไปดูที่ Symbol Catalog แล้วหา ตัวย่อในเรื่องที่ท่านต้องการทราบกราฟ อย่างวันนี้เราทราบว่า เขาใช้ ค่าราคาพันธบัตร์ อายุ10ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างพันธบัตร์ระยะสั้น ที่เรียก บิล (Bill) ไม่ใช่ (Bond) มาเป็นตัวชี้ว่า พันธบัตร์ ราคา(Price)สูงขึ้นต่ำลงหรือ ผลตอบแทน(yield)มากขึ้นหรือน้อยลง

เราก็ได้ กราฟ ของราคา พันธบัตร์ อายุ10ปีมา ดังนี้



ก็เห็นว่าราคา พันธบัตร์ 10ปี สูงต่อเนื่องมาเรื่อยๆๆ ใน4เดือนกว่ามานี่ (เราทราบว่า เงินไหลออกจากหุ้นมาเข้าตลาดพันธบัตร์ )

เราก็หากราฟ ผลตอบแทน ของพันธบัตร์ อายุ 10ปีมาดูอีกอัน



คราวนี้ลองมาทวนความรู้เสดสาด กันหน่อย
คนออกพันธบัตร์ ดีที่สุด น่าเชื่อถือที่สุด คือ รัฐบาล หรือ ประเทศที่ มีเศรษฐกิจดีดี
ลองดูราคา เปรียบเทียบจากเวบนี้ //www.bloomberg.com/markets/
ในหัวข้อ Rates & Bonds



จากตารางดังกล่าว เราจะเห็น คูปอง (ทับศัพท์ ไทย coupon ในไทยเข้าใจว่าให้เอาเชค ไปขึ้นมากกว่าจะเรียก คูปองตามเขานะ (ไม่เคยซื้อพันธบัตร์ รัฐบาลนะ ครับ ยังไม่มีเงินเย็น ขออภัยด้วยใครมีประสพการณืเล่ามาด้วยนะ ว่าเมืองไทยเรื่องพวกนี้มีรายละเอียดอย่างไร ) ที่มักจะจ่าย ทุกหกเดือน หรือเท่าไรก็แล้วแต่ ประกาศ (สากลจะหกหรือสามก็ไม่ทราบอีกแหละ เพราะยังไม่เคยซื้อของต่างประเทศเช่นกัน )
จะเห็นการจ่ายผลตอบแทน ของบราซิลยอมให้สูงกว่าประเทศไหนๆๆเพราะประเทศเขาแย่ คนไม่อยากประมูล (Auction) จึงต้องล่อใจด้วยให้ผลตอบแทนสูงๆๆ ปรากฏว่า อังกฤษ แย่กว่า ออสเตรเลีย และเมกาแย่กว่าเยอรมัน และญี่ปุ่นเราดีที่สุด
นั่นคือ ผลตอบแทนพันธบัตร์ เป็น อินดี้ ชี้ เศรษฐกิจประเทศนั้น

และดูที่ช่องราคา
เมื่อประมูลพันธบัตร์มาแล้ว จะนำมาซื้อขายเปลี่ยนมือกันอีกในตลาดที่สอง หรือตลาดรอง ตามที่เราเห็นในเวบที่สามารถทำการซื้อขายได้
(ของไทยมีนะครับ ต้องติดตามไปที่ ธนาคารประเทศไทยเอง และพันธบัตร์ ที่ มีความน่าเชื่อถือ ลดลงไปอันดับต่อไป คือ พันธ์บัตร์ ที่ รัฐบาลค้ำประกันให้บรัิษัทใหญ๋ๆๆ และที่น่าเชื่อถือ ลดลงไปอีก คือ พันธบัตร์ ที่ บริษัทนั้นๆๆออกเอง ไม่มีรัฐบาลค้ำประกัน แต่โดยกฏหมายต้องขออนุญาต ธนาคารประเทศไทย ออกเอง เฉยๆๆไม่ได้ จะผิดกฏหมายเป็นการหลอกลวง ประชาชน นะ )
จากตารางราคา เขาคิดจากราคาหน้าพันธบัตร์ เป็น 100 แล้วการขึ้นลง จากร้อยนี้ นำไปคิดกับราคา หน้าพันธบัตร์จริงอีกที (เพราะพันธบัตร์ อาจจะออกเป็นใบละ 1000เหรียญ หรือ 10000เหรียญ แล้วแต่ว่ายอดเงินมากน้อยแค่ไหน แบ่งแบบไหนจะพอดี )
วึ่งราคานี้ จะบ่งถึงความต้องการของผู้ซื้อ
ถ้าราคาแพงขึ้นเรื่อยๆๆแสดงว่า คนต้องการมาก และปกติ ค่าผลตอบแทนมักไปในทางตรงข้าม แม้ว่าจะลดลง คนยังต้องการ
ผู้นำมาขายจะได้กำไร (ส่วนต่างของผลตอบแทนจะได้ด้วยไหม ไม่ทราบอีกละ
ถ้าราคาลดลงกว่า 100แสดงว่า คนไม่ต้องการ ยอมมาขายขาดทุน
ผู้ขายจะขาดทุนและผลตอบแทนมักสูงขึ้นด้วย (ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบส่วนต่างผลตอบแทนด้วยไหมก็ไม่ทราบอีก แหละ )

จากเหตผลทางเสดสาดดังกล่าว
จึงทดลองเอา กราฟดาว มาเทียบกับ ผลตอบแทนพันธบัตร์และราคา ดู

1 เทียบกับ ผลตอบแทน พอจะเห็นว่า ผลตอบแทน แปร ไปตามเศรษฐกิจ และ ตลาดหุ้น



แต่เทียบกับ ราคาพันธบัตร์ 10ปี กลับเจอแบบนี้



2 จากการ ซน ของผม โปรดพิจารณา เพราะผมไม่ใช่นักเสดสาด
ผมทดลอง เอากราฟ มาเทียบแล้ว ลองลากเส้น ตรงที่ผิดปกติ เนื่องจากมีข้อมูลเก่ามาก่อนว่าวอลุม ตลาด หุ้นดาวโจนส์ ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อใช้ Chaikin Money Flow แล้วปรากฏ ว่ามีการไหลออกของเงินออกจากตลาดหุ้นดาว ไปที่ตลาดเงินและพันธบัตร์ มาก่อน
จึงได้ทำกราฟย้อนไปสามปี เพื่อศึกษาย้อนหลังว่าก่อนการเกิดวิกฤ๖ถ้าเราเอาค่า ราคาพันธบัตร์ อายุ10มาดู แล้วมีความสำคัญไหม ที่พอจะบอกการจะเกิด วิกฤตชวง ไฟแนนซ์เชียลไครซิส ปลายปี 2008 และหุ้นมาตกสุด มีนา 2009 ก็พบกราฟเป็นดังนี้



ข้อสรุปของผม จาก ระยะก่อนวิกฤต ราคาพันธบัตร์ ได้ึขึ้นสูงมากผิดปกติ ตอนที่ตลาดหุ้นเริ่มจะตกลง (ตรงข้ามกัน ) และเมื่อมีการยอมรับว่าบริษัทเขาเกิดปัญหา และปัญหานั้นได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ค่าเงินก็เริ่มจะเสื่อมค่า พันธบัตร์ก็จะพลอยตกตามไปด้วย ตอนนี้แหละที่ทุกอย่างจะลงทั้งหมด
การตกสุดแล้ว ตลาดหุ้นเริ่มฟื้น ทั้งสองตลาดก็เริ่มไปตามกันอีกครั้ง

และแล้ว ตลาดหุ้น เริ่มมีตัวเลข รายงานเมื่อครบปี แผนการกระตุ้น ไม่ได้ผลดีเท่าที่คิด เงินเริ่มไหลออกจากตลาดหุ้น
จากลิ้งค์ //www.reuters.com/article/idAFN2015913820100820?rpc=44
ข่าว Wall St Week Ahead - Investors defensive with data in spotlight
วอลุมการซื้อขาย อาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นสถิติ อาทิตย์ ที่มีการซื้อขายน้อยที่สุด (เดี๋ยวจะเอากราฟ S&P ให้ดู )
ดังนั้น ต่อจากนี้ไป ต้องเอาราคาพันธบัตร์ มาเป็นตัวสังเกตอีกอย่างด้วย
ชิมิ ???


แนวรับสำคัญของ S&P 500 อาทิตย์ หน้า 1070 ปิด วันวาน 1071.69 -3.94

ส่วนดาว 30 บริษัท ดังนี้




และ ยุโรป






 

Create Date : 21 สิงหาคม 2553
13 comments
Last Update : 21 สิงหาคม 2553 10:28:09 น.
Counter : 2952 Pageviews.

 
 
 
 
ขอบคุณครับพี่
 
 

โดย: กระบี่ IP: 124.120.221.217 วันที่: 21 สิงหาคม 2553 เวลา:11:21:17 น.  

 
 
 
ตามมาดูครับ พี่หมอ พื้นไม่แน่น แต่ก็ได้ความรู้แบบงูๆปลาๆครับ ตอนนี้ก็พยายามศึกษา อ่านจากคอมพ์จนต้องหยอดน้ำตาเทียมแล้วครับ555
 
 

โดย: Peter IP: 27.130.26.166 วันที่: 21 สิงหาคม 2553 เวลา:12:42:38 น.  

 
 
 
มาแล้วครับคุณหมอ แหะๆ

โดยทั่วไปแล้วหลักการของวิชาเศรษฐศาสตร์คือการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ครับผม บางครั้งทฤษฎีอาจต้องปรับปรุงเพราะพฤติกรรมมนุษย์เปลี่ยนไป

จากที่เราทราบกันดีราคาพันธบัตรหรือdebenture(ในไทยจะใช้พันธบัตรว่าbondแต่หุ้นกู้เรียกว่าdebentureครับผม) นั้นจะ
"แปรผกผันกันเสมออย่างมีนัยยะสำคัญ" ซึ่งคุณสามารถคำนวนได้จากสูตร มูลค่าเงินตามเวลา
price/(1+i)ยกกำลังn (นี่เป็นสูตรคร่าวๆนะครับ)

เมื่อเรานำเข้ามาประยุกต์กับทฤษดีของฟรีดแมนเราจะพบว่า

คนจะจัดสรรการลงทุนตลอดจนสินทรัพย์ที่ตนถือตามสภาวะทางเศรษฐกิจครับ

เราจะพบว่า คนเราจะย้ายการลงทุนจากสินทรัพย์เสี่ยงไปยังสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงกว่า(หุ้นไปพันธบัตร)

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ? ราคาทองคำและพันธบัตรจะเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นส่งผลให้ระดับราคาดีดตามไปด้วย (ตรงนี้ต้องแยกหลักการคิดกับฟิวเจอร์ให้ดีนะครับ)

สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาเมื่อเงินไปตกที่พันธบัตรและทองคำทั้งหมด(ที่คนทั่วไปคิดว่าปลอดภัยแล้ว) ก็คือ ยิลด์ที่ต่ำลงและราคา(ต้นทุน)ที่เพิ่มสูงขึ้น

แน่นอนครับว่าหากเกิดวิกฤติแบบซัพไพรม์ขึ้นอีกสิ่งที่ตามมาคือกับดักสภาพคล่องตามแนวคิดของเคนส์

คนจะไม่สนใจพันธบัตรและเน้นถือเงินสดแต่ไม่จับจ่ายและไม่ฝากธนาคารครับผม

นี่คือวงจรอุบาทย์เอ้ย วัฏจักรของเศรษฐศาสตร์โดยรวมครับผม


ผิดถูกอะไรแชร์กันได้ครับ
พอดีนี่เป็นวิชาเอกที่ผมจบมาพอดี (เน้นเกี่ยวกับวิกฤติการเงินและการลงทุนครับ)
 
 

โดย: นักสืบจิ๋ว IP: 158.108.238.134 วันที่: 21 สิงหาคม 2553 เวลา:17:39:51 น.  

 
 
 

เฮ ผมเดาถูกไปส่วนหนึ่ง
ว่าเมื่อราคาพันธบัตร์ ได้รับการสนใจเมื่อหุ้นเริ่มแย่ ราคาสูงไปถึงจุดหนึ่งเมื่อภาพโดยรวมแย่มาก คนจะทิ้งทั้งหุ้นและพันธบัตร์ มาถือเงินสด และไม่ใช้ แต่ถ้าเงินมากและราคาทองดีในคนไทยยังน่าจะแอบเอาทองก้อนไว้ด้วยนะ
เป็นความเข้าใจ ตามที่เห็นคนใก้ลตัวทำนะครับ

ขอบคุณที่มาให้ความรู้ครับ
 
 

โดย: หมอสัจจะ วันที่: 21 สิงหาคม 2553 เวลา:20:17:38 น.  

 
 
 
พี่หมอ บทเรียนยากขึ้นทุกทีเลยง่ะ นักเรียนจะตายแร้ววววว
 
 

โดย: smilesunset IP: 66.110.114.106 วันที่: 22 สิงหาคม 2553 เวลา:3:45:18 น.  

 
 
 
ครับ ขอแชร์ความเห็นนะครับ เรื่องการเคลื่อนย้ายของเงินทุน ผมมองว่ามันเป็นแบบนี้

ช่วงศก.ขาขึ้น คนจะไล่ล่ากำไรส่วนเกินกัน มูลค่าจะไหลไปสู่สินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงหรือความเสี่ยงสูง

ส่วนช่วงศก.ขาลง คนจะปกป้องการขาดทุนในสินทรัพย์ มูลค่าจะไหลไปสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงหรือความเสี่ยงต่ำ


ส่วนอะไรที่คนมองว่ามั่นคง หรือเสี่ยงนั้น สินทรัพย์นั้นมักจะเป็นkeyที่นำเทรนของศก.ไปในทิศทางขาขึ้นหรือขาลงนั้น

สำหรับตัวผมเองช่วงนี้ติดตามดูแยกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆครับคือ
ยุโรป,เมกา กับ จีน,เอเซีย
ข้อมูลอัพเดตไวๆก้ออาศัยของพี่หมอนี่แหละครับ อิอิ
 
 

โดย: nirvanine IP: 118.173.143.244 วันที่: 22 สิงหาคม 2553 เวลา:4:03:48 น.  

 
 
 

555555
เข้าใจผิดแล้ว ตั้งแต่พี่เริ่มเขียนบล๊อกช่วงหลังมานี่ ผมบอกแต่แรกแล้วว่าผมเขียนสิ่งที่ผมคิดดังๆๆเท่านั้น
และบอกเสมอว่าผมเริ่มอ่านและศึกษา ออปชั่น
แล้วเริ่มทดลองทำตามที่อ่านแล้วเข้าใจว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ทดลองแล้วได้ผลเช่นไรก็บันทึกไว้
คนที่มาอ่านจากต่างประเทศเล่นมาก่อนก้แวะมาบอกเอาโปรแกรมมาให้ทดลองใช้กัน เราใช้กันแล้วก็บอกว่าเราอยากได้แบบไหนก็ปรับปรุงกันไป (คุณไผ่ USA)เท่าที่รู้ว่ามีอีกแห่งก็ในวันคลิก ที่ผมว่าสู้ของสมาชิกเราคิดเองไม่ได้
และเมื่อเจอปัญหาว่าการเล่นออปชั่นในช่วงเวลาวิกฤตนี่มันเปลี่ยนทิศทางการเล่นไปตามข่าวไว และบ่อย ตามตัวเลขประกาศรายงานเศรษฐกิจ เปลี่ยนไปตามคนดัง ออกมาให้คำวิจารณ์
จึงได้เปลี่ยนแนวจากแค่อ่านกราฟ มาเป็นแนวใหม่ เมื่อทำไปก็บันทึกไว้อ่านเอง และให้สมาชิกที่รู้จักกันมาอ่านมาแจมกันเพราะสมาชิกมีหลากหลายสาขาวิชามากมายจริงๆๆ
เสมือนเราก็เรียนรู้ร่วมกัน ไม่ใช่มาสอนกัน
บางเรื่องแค่บอกเล่าประสพการณ์ที่มี หรือเคยเห็น
อะไรที่ไปเจอเพราะ นิสัยอยากรู้อยากเห็น อยากทำให้ได้
ก็บอกตรงๆๆไว้ ก็อาศัย การเรียนรู้ของเก่า ที่มักจะใช้วิธีประยุกต์ การคาดเดาด้วยเหตด้วยผล
เมื่อเขียนไปแล้ว ท่านอ่านแล้วก็ ต้องคิดด้วย ถ้ามีข้อมูล มีเหตผลที่แตกต่างเราก็มาช่วยกัน ขยาย
หลายคนก็เริ่มใจเย็นขึ้น มีระบบตรวจสอบจุดอ่อนตัวเองรู้จ้ก ปรับปรุงพอร์ต เิร่มมองไกลตามไปด้วย เริ่มจะแยกแยะปัญหาระดับโลก เริ่มจะมองเห็นวิธีแก้ไขปัญหาที่ประเทศอื่นใช้ เพียงแค่ให้เราเข้าใจ อ่านข่าวแล้วไม่ งง ก็น่าจะเป็นประโยชน์แล้วละ เราไม่ได้คาดหวังว่าเราจะเก่งในด้านอื่น จนไปเป็นผู้เชี่ยวชาญ เลย
จะงูๆๆปลาๆๆเล้กๆๆน้อยๆๆ ก็ขอเอามารวมจนคิดทิศทางตลาดหุ้นไทยได้ก็เข้าเป้าเราแล้วละ
ถ้ามีตลาดอื่นขึ้นมาอีก เราก็พอมีความรู้ เพื่อเป็นพื้นเข้าไปเรียนรู้ตลาดนั้นต่อได้ง่ายขึ้น แม้จะเป็นตลาดประเทศอื่น
(ผมแอบไปทดลองเล่นตลาดเงินมาสองเวบแล้ว )
อย่าท้อว่าไม่เข้าใจ เยอะและ ยากครับ
สงสัยอะไรถามมา มีสมาชิก ที่มาช่วยตอบเยอะครับ
ผมเชื่อว่ากลุ่มการเรียนรู้ที่นี่ จะไปพร้อมๆๆกันได้โตขึ้นเรื่อยๆๆ
 
 

โดย: หมอสัจจะ IP: 222.123.72.167 วันที่: 22 สิงหาคม 2553 เวลา:6:21:46 น.  

 
 
 
ขอบคุณครับที่ให้เครื่องมือใหม่อีกชิ้น ผมปริ้นเป็นแบบ3เดือน 6เดือน และ3ปีออกมาหัดวิเคราะห์ถ้าไม่เข้าใจ จะรบกวนถามอีกครั้ง เท่าที่อ่านมาน่าจะหมายถึงเวลานี้คนทางอเมริกากำลังวิตก ว่าจะเป็นดับเบิลดิ๊บในเร็ววันนี้ใช่ไหมครับ
 
 

โดย: Do heng IP: 118.173.116.188 วันที่: 22 สิงหาคม 2553 เวลา:10:45:19 น.  

 
 
 
Gerald Celente, founder of the Trends Research Institute
ให้สัมภาษณ์
ลิ้งค์1 //finance.yahoo.com/tech-ticker/article/535350/And-Now-Were-Headed-For-The-GREATEST-Depression%2C-Says-Gerald-Celente
เรื่องAnd Now We're Headed For The GREATEST Depression
ลิ้งค์ที่ 2//finance.yahoo.com/tech-ticker/article/535351/America-Won-the-Cold-War-But-Now-Is-Turning-Into-the-USSR%2C-Gerald-Celente-Says
เรื่องAmerica Won the Cold War But Now Is Turning Into the USSR
(เมกาเคยชนะสงครามเย็น เนื้อหาเหมือนที่ไทยกำลังวิจารณืกันในสภา ตัดงบทางทหารน่าจะมีประโยชน์กว่า และ การแก้ที่ บริษัทใหญ่ เหมือนช่วยคนรวยไม่ให้บริษัทล้มเพียงหวังให้มีการจ้างงานมากขึ้นไม่ตกงานมากขึ้น
แต่ถ้าทำให้คนปกติธรรมดา อยู่ได้น่าจะถาวรกว่า เช่น แนวคิด พอเพียง ของไทยปัจจุบัน
แสดงให้เห็นว่า แนวคิด ทำชุมชนให้อยู่ได้ หรือองค์กรเล็กน่าจะบริหารจัดการง่ายกว่า
ซึ่งต่างไปจากเดิมๆๆ ทีพยายามรวมองค์การให้ใหญ่
จริงๆๆตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้ตอนวันหยุดนี้ แต่พันทิปไม่สดวก
มาเจอคำถาม ก็เลยเอามาให้อ่านเลยละกัน
เสียงที่คิดว่า Double Dip Recession หรือ Depression เริ่มได้ยินบ่อยขึ้น จากข้อมูลหลังๆๆ จีดีพีที่ลดลง และคนว่างงานที่เพิ่มขึ้น
เขาว่ากันมาเราก็ต้องฟัง และคอยดูต่อไปครับ
 
 

โดย: หมอสัจจะ IP: 180.183.181.173 วันที่: 22 สิงหาคม 2553 เวลา:14:37:00 น.  

 
 
 
ราคาตราสารหนี้จะคิดจาก NPV ของกระแสเงินสดของตราสารหนี้ตัวนั้นๆ เมื่อกระแสเงินสดของตราสารหนี้มันคงที่เพราะกำหนดมาตั้งแต่ ราคาของตราสารหนี้ก็จะแปรผกผันกับตัวคิดลด(ซึ่งคืออัตราผลตอบแทนที่พูดถึงกัน)

เวลาซื้อขายตราสารหนี้จะพูดกันที่อัตราผลตอบแทน ถ้าซื้อที่อัตราผลตอบแทนสูง-ราคาก็จะต่ำ ถ้าซื้อที่อัตราผลตอบแทนต่ำ-ราคาก็จะสูง(ซึ่งอัตราผลตอบแทนตัวนี้ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ตราสารหนี้จ่ายครับ เช่นตราสารหนี้จ่ายดอกเบี้ย 10%ของหน้าตั๋ว อาจซื้อขายที่ผลตอบแทน 5% ก็ได้ ซึ่งกรณีนี้คนซื้อก็ต้องซื้อแพงกว่าราคาหน้าตั๋ว เรียกว่าซื้อ premium)

ผมคิดถ้าจะดูความสัมพันธ์ระหว่างตลาดหุ้นกับตลาดตราสารหนี้ น้าหมอลองใช้กราฟอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรน่าจะเห็นภาพดีกว่าใช้กราฟของราคาครับ

เวลาบริษัทจะออกตราสารหนี้หรือที่เรียกว่าหุ้นกู้ ต้องขออนุญาตกลต. ครับ แบงค์ชาติไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง
 
 

โดย: -นุ- IP: 180.210.216.74 วันที่: 22 สิงหาคม 2553 เวลา:17:44:04 น.  

 
 
 

เรื่อง พันธบัตร
//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3
เรื่องตราสารหนี้
//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89
น้องนุ ครับ พี่หมอคงเข้าใจถูกแล้วละนะครับ พี่หมอเอ่ยถึงตลาดพันธบัตรครับ( น่าจะระดับประเทศ ถ้า ตราสารหนี้ในไทยเราแยกไป เป็นระดับที่ ผู้กู้ออกให้ ถ้าระดับชาวบ้าน น่าจะเรียกสัญญาเงินกู้ พอระดับบริษัทใหญ่ขึ้นมา และมีการรับรอง ความน่าเชื่อถือ น่าจะเรียกเป็นตราสารหนี้ แต่พอ ออกโดยรัฐบาล หรือธนาคาร ที่ฝรั่งเรียก Bill Bond ไทยเราเรียกพันธบัตร (เอกสารที่ใช้แทนเงิน ธนบัตร ได้เลย ???)
นอกจากนี้ยังมีตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินอีก
พี่เอาแค่พอ อ่านข่าวรู้เรื่อง และเข้าใจวิธีคิด ราคา ผลตอบแทน และอ่าน รายงานตามเวบเขาเข้าใจก็พอแล้วครับ
 
 

โดย: หมอสัจจะ วันที่: 22 สิงหาคม 2553 เวลา:20:18:11 น.  

 
 
 
ขอบคุณครับ พยายามอ่านแล้วคิดตามนี้เป็นครั้งแรกที่ผมมีโอกาสมาดู กราฟพันธ์บัตรแบบจริงจัง อ่านแล้วพยายามคิดตามที่พี่หมอเขียน ผมว่ามันคล้ายนิยายสืบสวนนะครับ พอมีหลักฐานมีสัญญาณปรากฏขึ้นมาในตอนต่างๆ ผู้อ่านอย่างเราต้อง ติดตามเพื่อให้ไปถึงตอนจบ

แต่นิยายเรื่องนี้สนุกกว่าตรงที่เราเข้าไปมีส่วนร่วม ในเชิงผลกระทบด้วย ทำให้ความน่าติดตามมากยิ่งขึ้น

ผมเองมีเพื่อนที่เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกาผมรู้สึกว่า เขาไม่ชินหรือรู้จักกับคำว่าพอเพียงนะครับ แต่เขาชอบคำว่าแมส มากกว่า ชอบทำอะไรแล้วต้องใหญ่ไว้ก่อนเพราะเขาคิดว่าถ้าไม่ใหญ่จะไม่เกิดจนบางครั้งต้องเจ็บมาก็เยอะ ผมเคยคุยกับเขาในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เขาบอกว่ามันทำได้แต่ไม่รวย ขี้เกียจเถียง เลยได้แต่ปล่อยให้เขาเชื่อและทำในแบบเขาไป



 
 

โดย: coffee4you วันที่: 22 สิงหาคม 2553 เวลา:21:35:56 น.  

 
 
 
ที่น่าสนใจสำหรับประเด็นเรื่องของการโยกย้ายเงินทุนอีกสิ่งก็คือ "การประเมินมูลค่าตราสารชนิดใหม่ๆ"

สิ่งเรานี้ประเมินได้ยากครับ (อย่างเช่นCDO)

สิ่งเหล่านี้เองมักจะเป็นเหตุของความผันผวนทางเศรษฐกิจและกลายเป็นวิกฤติในที่สุด
 
 

โดย: นักสืบจิ๋ว IP: 58.64.59.61 วันที่: 23 สิงหาคม 2553 เวลา:9:18:25 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หมอสัจจะ
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 185 คน [?]




[Add หมอสัจจะ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com