Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
11 ธันวาคม 2549
 
All Blogs
 
คิดใหม่เรื่องภาวะผู้นำ (7) -Dr.DanaiT.

คิดใหม่เรื่องภาวะผู้นำ

การศึกษาเรื่องภาวะผู้นำของธุรกิจส่วนใหญ่มักจะได้รับอิทธิพลหรือแนวคิดมาจากนักคิดและธุรกิจทางตะวันตก

สำหรับกรณีภาวะผู้นำแบบไทย อาจจะมีให้ศึกษาได้ไม่มากนัก แต่ก็พอมีตัวอย่าง อาทิ จาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่กล่าวในการสัมมนาวันสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ 58 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นสพ.คม ชัด ลึก ฉบับวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2549 หน้า 15) ดังนั้นในส่วนนี้ผู้เขียนอยากชี้ให้เห็นถึงการคิดใหม่เรื่องภาวะผู้นำจากตัวอย่างในภาคปฏิบัติของธุรกิจโดยจะขอยกตัวอย่างธุรกิจจากบริษัทจีอี (General Electric : GE) และคำกล่าวสัมมนาของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่เห็นว่าจะใช้เป็นตัวแบบของหลักการภาวะผู้นำแบบไทยได้ดังนี้

1.โมเดลภาวะผู้นำแบบ 4E’s ของแจ็คเวลซ์
ภาคปฏิบัติของธุรกิจที่มาจากบริษัทตะวันตกในเรื่องภาวะผู้นำ ผู้เขียนขอนำตัวอย่างของแจ็ค เวลซ์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทจีอี หรือ General Electric ซึ่ง เครมส์ (2005) ได้สรุปไว้ในหนังสือ Jack Welch and the 4E’s of Leadership

โดยนัยสำคัญของ โมเดลภาวะผู้นำแบบ 4E’s สรุปให้เห็นถึงหัวใจ 4 อย่างใน 4Eคือ
-พลัง (Energy) เวลซ์บอกว่า คนที่มีพลังที่รักจะ “ไป ไป ไป” หรือมุ่งไปข้างหน้า อย่างที่เร็วกว่าคนอื่น เพราะในโลกใบนี้มีคนที่วิ่ง 95 ไมล์ต่อชั่วโมงในขณะที่โลกหมุนเร็วเพียง 55 ไมล์ต่อชั่วโมง
-ผู้เติมพลัง (Energizers) ผู้นำธุรกิจแบบ 4E นี้ จะรู้วิธีว่าจะจุดพลังคนอื่นให้ทำงานได้อย่างเหมาะสมให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งจะทำได้ก็โดยการวางวิสัยทัศน์และสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นทำตามวิสัยทัศน์และจะละตนเองจากรางวัลแห่งผลสำเร็จโดยให้เครดิตกับคนอื่นๆ เมื่อผลงานนั้นได้เดินมาถูกต้อง แต่จะกระโจนเข้ารับผิดชอบอย่างทันทีเมื่อสิ่งนั้นไปคนละทิศละทาง
-สุดขอบ (Edge) คือ รูปแบบของการแข่งขันกับคู่แข่งที่เข้มแข็ง ผู้นำธุรกิจแบบนี้ไม่ใช่คนที่ลังเลจะทำอะไร ซึ่งดรักเกอร์เรียกสิ่งนี้ว่า “การตัดสินใจต่อชีวิตและความตาย” (Life and Death Decisions) คือ การว่าจ้าง การเลื่อนตำแหน่งและการไล่ออก
-การปฏิบัติการ (Execution) สำหรับ E สามตัวแรกเป็นสิ่งจำเป็น แต่ถ้าขาดการวัดผลสำเร็จก็ไม่มีประโยชน์ต่อการนำเอาไปใช้ขององค์การ ผู้นำธุรกิจที่ปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจดีว่ากิจกรรมและผลิตภาพไม่ใช่สิ่งที่เหมือนกัน

ผู้นำที่ดีที่สุดจะรู้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะปรับเปลี่ยนพลังและสุดขอบไปสู่การปฏิบัติและผลลัพธ์

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants



Create Date : 11 ธันวาคม 2549
Last Update : 11 ธันวาคม 2549 20:10:01 น. 1 comments
Counter : 2892 Pageviews.

 
ภาวะผู้นำ (Leaders)ยุคโลกาภิวัฒน์


ภาวะผู้นำ หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่ง มีอำนาจ อิทธิพล แสดงบทบาทหน้าที่จูงใจให้คนอื่นปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ เป็นผู้ที่มีศิลปะมีอิทธิพลเหนือคนอื่น และนำบุคคลเหล่านั้นไป โดยได้รับความไว้วางใจ และเชื่อใจอย่างเต็มที่ ได้รับความเคารพนับถือ ความศรัทธา ความร่วมมือ และความมั่นใจจากผู้ใต้บังคับบัญชาเหล่านั้นอย่างจริงใจ

คำว่า “LEADERS” มีความหมายที่แตกต่างกันไป จึงสรุปคุณสมบัติในการเป็นผู้นำในยุคโลกาภิวัฒน์ ดังนี้

 L = Listening & Learning
 E = Ethic
 A = Ability
 D = Dominance
 E = Employee-center
 R = Reinforcement
 S = Stability (No bias)

นิยามคุณสมบัติแต่ละตัว ดังต่อไปนี้

L: Listening & Learning ผู้นำที่ดี ไม่ใช่ผู้ที่ชอบสั่งการให้ผู้อื่นทำงานแทนเท่านั้น แต่ผู้นำที่ดีต้องมีทักษะในการฟัง คือต้องฟังอย่างตั้งใจและเข้าอกเข้าใจ (Empathy Listening) เพราะท่านมิใช่แค่ใช้หูฟังเท่านั้นแต่ท่านต้องเอาใจของท่านฟังเพื่อรับรู้ความรู้สึกและปัญหาของผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการทำงานร่วมกันในระยะยาว อีกทักษะที่ขาดไม่ได้นั่นคือการหาความรู้ใหม่ๆ (Self-learning) ทั้งด้านการบริหารงานและคนเพื่อนำมาพัฒนาตัวท่านเองและผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะยุคนี้เป็นยุคที่ถือว่า ความรู้คืออำนาจ ความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้น หากผู้นำหยุดการเรียนรู้ ก็เท่ากับหยุดทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในการคิดสิ่งใหม่ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อธุรกิจในปัจจุบันที่แข่งขันกันที่ความแปลกใหม่ที่จะนำเสนอกับลูกค้า ดังนั้นเริ่มอ่านหนังสือดีๆที่ท่านคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเองสักวันละนิด ท่านอาจจะได้ข้อคิดดีๆที่สามารถประยุกต์ในการทำงานของท่านได้นะคะ

E: Ethic คุณธรรมที่ว่านี้เป็นความงดงามในจิตใจ (Integrity) ช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าของท่าน ผู้นำที่ประสบความสำเร็จ การยึดถือหลักคุณธรรมอย่างเดียวคงไม่พอ ยังรวมไปถึงคุณธรรม จรรยาบรรณต่างๆ ที่ท่านสามารถนำไปใช้ในการทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานได้อย่างมีความสุข ดังที่กล่าวว่า “ให้สิ่งที่ดีแก่เขา เราก็ได้สิ่งที่ดีตอบ” หากท่านสนใจหลักการบริหารแนวพุทธล่ะก็ ขอแนะนำหนังสือ “หัวใจนักบริหาร” ของพระเทพโสภณ ซึ่งท่านจะได้แง่คิดดีๆในการทำงานร่วมกับผู้อื่นให้สำเร็จและมีความสุข

A: Ability ผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถ (Competence) และมีบุคลิกลักษณะ (Characters) เป็นที่น่าเชื่อถือ มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน มีความสามารถในการมอบหมายงานให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะองค์กรในปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรง

D: Dominance ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าผู้นำที่มีคุณธรรมสามารถสร้างบารมี (Charisma) ให้กับตนเองได้ โดยบารมีในที่นี้คือ การแสดงออกให้ผู้อื่นยอมรับ และทำงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ โดยไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ ความเป็นผู้นำ ไม่ได้เกิดจากการมีอำนาจในการให้คุณให้โทษแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสั่งการหรือควบคุมลูกน้องทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิผล ยังเป็นการสร้างบรรยากาศในการทำงานให้น่าทำยิ่งขึ้นด้วย









E: Employee-center การเป็นผู้นำที่ดีต้องรู้จักซื้อใจและประสานใจระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีในการทำงาน สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ซึ่งจะเอื้อไปถึงการทำงานเป็นทีมอย่างมีความสุข หากมองภาพรวมขององค์กร คุณสมบัติของผู้นำในข้อนี้ยังส่งผลดีในแง่จิตใจของพนักงานที่อยากจะทุ่มเทการทำงานให้กับองค์กร และส่งผลมายังเม็ดเงินขององค์กรอีกด้วย

R: Reinforcement การสร้างแรงจูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จร่วมกันซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่ท่านสามารถสร้างทีมของท่านให้แข็งแกร่ง ดังเช่นบริษัท ซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) มีนโยบายการบริหารจัดการคนโดยเน้นบทบาทของหัวหน้างานให้สามารถเป็นครูและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง หัวหน้าและลูกน้องจะใกล้ชิดและดูแลกันตลอดเวลา ถ้าหัวหน้าเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกน้องได้ แบบปฏิบัติก็จะต่อเนื่องกันเป็นทอดๆ ในทุกระดับสายบังคับบัญชา

S: Stability มาถึงข้อสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้ข้ออื่นเช่นกัน นั่นคือ ความยุติธรรม ท่านสังเกตหรือไม่ว่าแผนกใด องค์กรใด มีความลำเอียงในการตัดสินใจดำเนินการ ผู้ใต้บังคับบัญชาทำดีเท่าไร ก็เหมือนไม่ทำเสียดีกว่า ท่านอาจปล่อยคนทำงานมือดีหลุดมือไปในไม่ช้า ปัจจุบันมีโครงการ Talent Management เพื่อรักษาคนทำงานที่เก่งงาน และสามารถเอาชนะใจผู้ร่วมงาน เพื่อรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพให้อยู่ในองค์กรได้อย่างมีความสุข

สรุปได้ว่าภาวะผู้นำ เป็นความสามารถด้านอิทธิพลต่อบุคคลในกลุ่มเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย ใช้กระบวนการสั่งการ การมีอิทธิพลต่อผู้อื่น การมีปฎิสัมพันธ์ โดยถ่ายทอดแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ ดังนั้นอาจกล่าว ได้ว่าภาวะผู้นำเป็นการมีปฎิสัมพันธ์ที่ไม่หยุดนิ่งของกระบวนการ 3 อย่าง ที่มีความเกี่ยวเนื่องและมีอิทธิพลต่อกัน ได้แก่ ผู้นำ (Leaders) ผู้ตาม (Follows) และสถานการณ์ (Situations) อันนำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

ลักษณะของภาวะผู้นำ
มิทเชล และลาร์สัน จูเนียร์ (Michell and Larson, Jr., 1987 : 435-436) ได้ชี้ให้เห็นองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ในการพิจารณาว่าผู้นำใดมีภาวะผู้นำหรือไม่ ได้แก่
1.ผู้นำเป็นกระบวนการ
2.มีระดับความถูกต้องของการใช้อิทธิพล
3.มีความสำเร็จของจุด มุ่งหมายที่ตั้งไว้

1. ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการ ของการใช้อิทธิพล ผู้นำจะพยายามมีอิทธิพลเหนือผู้ตาม เพื่อให้มีพฤติกรรมการปฏิบัติงานตามต้องการ โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์กรเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เรื่องของบุคคลที่จะพึงมีภาวะผู้นำได้โดยที่ไม่ได้มีกระบวนการทำใดๆ เป็นกระบวนการ(Process) ให้เกิดอิทธิพลต่อผู้อื่น ดังนั้นผู้นำทางการแต่งตั้ง เช่นผู้อำนวยการ ผู้บัญชาการ อาจจะมีภาวะผู้นำหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่ามีลักษณะทั้ง 3 ประการหรือเปล่า ในทางตรงข้ามผู้ที่แสดงภาวะผู้นำอาจจะไม่เป็นผู้ที่เป็นแบบทางการ แต่มีองค์ประกอบ 3 ประการนั้น
2. ภาวะผู้นำนอกจากจะเป็นกระบวนการแล้ว ภาวะผู้นำจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อผู้ตามยอมให้ใช้อิทธิพลต่อตัวเขา ซึ่งโดยทั่วไปก็ต้องพิจารณาถึงระดับความถูกต้องของอิทธิพลที่ใช้ด้วยว่า ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจเข้าขู่เข็ญ หรือบีบบังคับให้ทำตาม เพราะถ้าเป็นการเช่นนั้นก็ไม่ถือว่ามีภาวะผู้นำได้
3. ภาวะผู้นำจะถูกอ้างถึงเมื่อจุดมุ่งหมายของกลุ่มหรือองค์กรประสบความสำเร็จ ดังนั้นหากผู้นำไม่สามารถนำกลุ่มไปสู่ความสำเร็จดังกล่าว ก็ ย่อมหมายถึงว่าผู้นำไม่ได้แสดงภาวะผู้นำ หรือไม่มีความสามารถในการเป็นผู้นำนั่นเอง





โดย: shi shi IP: 10.0.0.43, 61.90.87.240 วันที่: 2 เมษายน 2553 เวลา:0:05:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.