Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
18 พฤศจิกายน 2549
 
All Blogs
 
อะไรคือทัศนภาพธุรกิจ

การวางแผนกลยุทธธุรกิจมีความต้องการใหม่ในเรื่องของ "ทัศนภาพธุรกิจ"
ในขณะที่การจัดทำ BSC & KPIs มุ่งไปที่การแปลวิสัยทัศน์และภารกิจไปสู่กลยุทธ พร้อมกับระบบการวัดผลกลยุทธ (Strategic Measurement System) ขณะเดียวกันความสำเร็จของการทำ BSC & KPIs ยังมีอีก 2 ส่วนคือ ส่วนบนสุดคือ การคิดเชิงกลยุทธ (Strategic
Thinking) และส่วนสุดท้ายคือ การเชื่อมโยง KPIs (Key Performance Indicators) ไปสู่ระบบ "Total Performance & Competency Scorecard" หรือเรียกง่ายๆ ว่า การวัดผลงานและความสามารถโดยรวม
ความสนใจของผู้เขียนได้มุ่งไปสู่ "การคิดเชิงกลยุทธ" (Strategic Thinking) ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า
เป็นเรื่องราวของการวิเคราะห์ทัศนภาพ (Scenario Analysis) หรือการวางแผนทัศนภาพ (Scenario Planning)
การจัดทำหรือวิเคราะห์ทัศนภาพได้ดีจะนำไปสู่การจัดทำ วิสัยทัศน์ที่สมบูรณ์สูงมาก
ดังนั้นแนวคิดของ การวิเคราะห์ทัศนภาพเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกโดย Herman Kahn และ RAND Corporation (ในปี 1950s) ที่ได้พัฒนาเทคนิคที่เรียกว่า การคิดเกี่ยวกับอนาคต "Future-Now Thinking" และเรียกสิ่งนี้ว่า "ทัศนภาพ" (Scenario)

โดยที่ทัศนภาพนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยทางกลยุทธของกองทัพที่ทำขึ้นโดย RAND Corporation ซึ่งมีเทคนิคที่สำคัญคือ "เทคนิคเดลฟาย" (Delphi Technic)


" เดลฟาย (Delphi) หรือ "เทคนิคเดลฟาย" เป็นเครื่องมือหรือวิธีการวิจัย รูปแบบหนึ่งที่นิยมกันมากเพื่อใช้คาดการณ์เกี่ยวกับอนาคต
ในเมืองไทยโดยเฉพาะธุรกิจด้านวิจัยตลาดหรือธุรกิจคอนซูเมอร์ส่วนใหญ่
จะรู้จักกันเพียงเทคนิคกลุ่มโฟกัส (Focus Group Technic) ที่ใช้วิจัยเกี่ยวกับ
พฤติกรรมผู้บริโภค ความพึงพอใจของลูกค้า หรือการทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่ ฯลฯ
แต่เทคนิคการวิจัยที่สูงกว่า กลุ่มโฟกัสคือ เทคนิคเดลฟาย
ทั้งนี้ก็เพราะว่า เป็นการวิจัยอนาคตได้ค่อนข้างแม่นยำ ซึ่ง RAND
Corporation เป็นบริษัทแรกที่ใช้เทคนิคการวิจัยนี้ในการวิเคราะห์ทัศนภาพ
หลังจากนั้นได้เผยแพร่ออกมาสู่โลกธุรกิจและการวิจัย
บริษัท Shell ได้นำแนวคิด การวิเคราะห์ทัศนภาพ หรือการวางแผนทัศนภาพ (Scenario Planning) เข้ามาใช้ในองค์กร และได้รับการยอมรับว่าเป็น
บริษัทแรกที่ทำการวางแผนทัศนภาพ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางกลยุทธขององค์กร


ธุรกิจในบ้านเราเท่าที่ผู้เขียนได้ยินหรือจำได้จะมีก็แต่เพียงบริษัท ยูนิลีเวอร์ สมัยที่
คุณวิโรจน์ ภู่ตระกูล เป็นผู้บริหารสูงสุดอยู่และพูดเกี่ยวกับ "ทัศนภาพ" นอกนั้นยังไม่ได้รับ
ทราบว่าบริษัทที่เป็นธุรกิจชั้นนำในเมืองไทยมีการทำหรือรู้จักเรื่องของ "การวิเคราะห์ทัศนภาพ"
ซึ่งการวางแผนกลยุทธหรือที่เรียกในภาษาราชการว่า ยุทธศาสตร์ (Grand Strategy)
ยิ่งไม่เห็นพูดถึงเรื่องของทัศนภาพเลย แต่จะพบมากก็คือ การทำ SWOT Analysis หรือการวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน-โอกาส-อุปสรรค
ทัศนภาพคืออะไร ผู้เขียนจะขอสรุปให้เห็นถึงเครื่องมือใหม่ที่ผู้บริหารธุรกิจไม่คุ้นเคย
(เพราะเราคุ้นแต่ SWOT, Core Competence, Focus Group)
……..ทัศนภาพเป็นเครื่องมือสำหรับตรวจสอบความเป็นไปได้ของอนาคต
……..บริษัท Shell (อ้างจาก Gill Ringland : 2002, Scenarios in Business P.3-4)
ได้สรุปเกี่ยวกับทัศนภาพไว้ดังนี้
ทัศนภาพช่วยให้เราได้เข้าใจธุรกิจในวันนี้ได้ดีขึ้นโดยจินตนาการถึงวันพรุ่งนี้
เป็นการเพิ่มวิสัยทัศน์ให้กว้างขึ้นและส่งให้เราพบจุดที่จะต้องเปลี่ยนแปลงๆได้เร็วกว่าแต่ก่อน
การคิดเกี่ยวกับอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพนำไปสู่การลดลงในทุกระดับของ
"การจัดการวิกฤต" และปรับปรุงสมรรถภาพในการบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารการเปลี่ยนแปลง

ทัศนภาพช่วยทำให้กลไกสำหรับประเมินกลยุทธที่มีอยู่ที่จะวางแผนรวมถึง การพัฒนาและประเมินทางเลือกของกลยุทธได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างทัศนภาพได้ช่วยปรับปรุงความสามารถ
ของทีมบริหารให้จัดการความไม่แน่นอนและความเสี่ยง
การตัดสินใจเสี่ยงจึงกลายเป็นสิ่งที่โปร่งใสมากขึ้นและอุปสรรคหรือโอกาสที่สำคัญได้ถูกนิยามอย่างชัดเจน
การวางแผนทัศนภาพ (Scenario Planning) สิ่งที่เป็นวัตถุประสงค์อันดับแรก

ในการวางแผนทัศนภาพคือ การคิดโครงการและการตัดสินใจที่เหมาะสมภายใต้อนาคตที่หลากหลาย
การคิดที่ดีกว่าเกี่ยวกับอนาคตจึงกลายเป็นวัตถุประสงค์อย่างที่สองของการวางแผนทัศนภาพ
ผู้บริหารธุรกิจคงมีคำถามว่า เราจะรู้หรือวิเคราะห์เกี่ยวกับทัศนภาพไปทำไม

สิ่งนี้น่าจะเป็นจุดเชื่อมโยงเริ่มแรกของการนำธุรกิจหรือผู้บริหารธุรกิจไปสู่การวิเคราะห์และวางแผนทัศนภาพธุรกิจ
เทคนิคการวิจัยอนาคต ช่วงที่ผู้เขียนอยู่ในระหว่างเรียนวิชาประเมินโครงการเพื่อนๆ ร่วมชั้นในขณะนั้นได้เสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ (Thesis) โดยใช้เทคนิคเดลฟายมาเป็นเครื่องมือในการวิจัย ทำให้ผู้เขียนสนใจที่อยากลองใช้เทคนิคเดลฟายมาทำวิจัยในวิทยานิพนธ์
ของผู้เขียนบ้าง
หลังจากนั้นอีกนานทีเดียวผู้เขียนได้กลับเอาเทคนิคเดลฟายมาใช้วิจัยเรื่อง "ทิศทางและบทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลในปี 2550" ซึ่งนับเป็นการวิจัยเรื่องแรกที่
ศึกษาเกี่ยวกับ อนาคตของงานและหน้าที่ฝ่าย HR หรือการบริหารทรัพยากรบุคคล"

วงจรอูดา (OODA Loop) การหยิบกลยุทธออกมาใช้ตอบโต้คู่แข่งขัน ซึ่งผู้บริหารธุรกิจได้เรียนรู้จาก "วงจรอูดา" ของ "นักบินขับไล่" (Flighter-Pilot) ของกองทัพอากาศสหรัฐ
วงจรอูดา (OODA Loop) จะประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้นตอนคือ 1) สังเกต (Observation) คือ การเห็นสิ่งต่างๆ ของสภาพแวดล้อม 2) จับทิศทาง (Orientation) เพื่อการแปลความ 3) ตัดสินใจ (Decision) คือการเลือกวิธีการตอบสนอง 4) ลงมือปฏิบัติ (Action) คือ ปฏิบัติการตอบสนอง


ซึ่งวงจรอูดานี้ นักบินรบของเครื่องบินขับไล่คิดขึ้นในโมเดลของกระบวนการทางสมอง หรือความคิดเพียง 1-2 วินาทีเท่านั้น

เกี่ยวกับวงจรอูดา ผู้เขียนโชคดีได้ทีโอกาสเรียนรู้ตอนที่ทำงานอยู่กับ บมจ.ห้างสรรพสินค้า
โรบินสัน ซึ่งในขณะนั้นกำลังนำกลยุทธ TBS (Time Based Strategy) เข้ามาปรับใช้โดยเรียกว่า
"กลยุทธการแข่งเวลา" และมีเครื่องมือสำคัญก็คือ วงจรอูดา นั่นเอง

สรุปแล้วแนวคิดของทัศนภาพหรือ ทัศนภาพธุรกิจที่จะต้องมีการวางแผนทัศนภาพ ให้ชัดเจน ปัจจุบันมีการศึกษาและขยายแนวคิดกว้างกว่าแต่เดิมเพราะการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสูงมากขึ้น

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants





Create Date : 18 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2550 12:46:45 น. 0 comments
Counter : 2426 Pageviews.

dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.