Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2549
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
21 พฤษภาคม 2549
 
All Blogs
 
สู่ยุคผลิตภาพจากคนทำงานที่มีภูมิรู้ โดย ดนัย เทียนพุฒ




เป็นธรรมดาในแต่ละปีโดยเฉพาะในช่วงท้ายของปีและเริ่มต้นปีใหม่ มักจะชอบมีการวิเคราะห์หรือคาดคะเนกันว่าในปีต่อไปหรือปีโน้น ประเทศชาติของธุรกิจควรจะมีการเตรียมตัวกันอย่างไร ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็มีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย แต่ถ้าหากการคาดการณ์หรือวิเคราะห์เจาะกึ๋นกันนั้น อาศัยเทคนิคการวิจัยที่ดีก็จะได้ประโยชน์ต่อธุรกิจและประเทศเป็นอย่างมาก
เท่าที่เห็นจะมีเพียงการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจเท่านั้นที่พยากรณ์โดยอาศัยวิธีการศึกษาและวิเคราะห์เชิงสถิติเข้ามาช่วย ส่วนทางธุรกิจมักจะไปสำรวจความคิดเห็นหรือสัมภาษณ์บรรดาธุรกิจใหญ่ๆ เสียเป็นหลัก
สำหรับในทางธุรกิจแล้วต้องระวังเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะการฟังทิศทางจากบริษัทใหญ่ๆ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ธุรกิจในบ้านเราเป็นลักษณะของการได้สิทธิสัมปทานหรือครอบงำตลาด หรือเป็นลักษณะที่นักเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่เรียกกันว่า ธนกิจการเมือง ถ้าจะให้ดีแล้วต้องเรียนรู้จากธุรกิจที่ออกไปแข่งขันนอกบ้านเรา (ประเทศไทย) แล้วเจอะเจออะไรที่ธุรกิจต่างประเทศกำลังแข่งขันและบุกทะลวงตลาดเอเชียนั่นแหละของแท้ที่ธุรกิจและผู้บริหารองค์การต้องเจอ

ในปี 2549 อะไรมาแรงที่สุด

ไม่ว่าจะเปิดตำราหรือบทวิเคราะห์ทางธุรกิจในขณะนี้ เราจะพบว่าธุรกิจต้องการเข้าสู่ “เศรษฐกิจระดับโลก” (Global Economy) หรือเศรษฐกิจความรู้ (KE: Knowledge Economy) ซึ่งพูดกันมาหลายปีแล้วแต่ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนนัก ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้หรือมองไม่เห็น (Intangible/Invisible)
ประเด็นของเรื่องจึงกลายเป็นว่า ประเทศและธุรกิจไม่เข้าใจหรือยังศึกษากันไม่มากนักว่า “สิ่งที่จับต้องไม่ได้นั้นคืออะไรกันแน่ แต่ที่แน่ๆ และชัดเจนมากๆ ที่รู้จักกันคือ ความรู้ (Knowledge) และนวัตกรรม (Innovation)
ความรู้สามารถนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นมาได้
แต่คนที่จะสร้างความรู้ที่นำไปสู่นวัตกรรมจะเป็นคนแบบไหน

ปีเตอร์ ดรักเกอร์ พูดไว้หลายปีมาแล้วว่า คนที่มีความรู้และสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้นี้จะเป็นบุคคลที่เรียกว่า “คนทำงานที่มีภูมิรู้” (Knowledge Worker)
ดังนั้นประเทศบิ๊กโฟร์ หรือกลุ่ม BRIC ที่ประกอบด้วย บราซิล (B) รัสเซีย (R) อินเดีย (I) และจีน (C) ต่างเร่งสร้างคนทำงานที่มีภูมิรู้กันอย่างขนานใหญ่ ขณะเดียวกันทุกคนต่างก็จับตาดูเป็นพิเศษโดยเฉพาะเกาหลีใต้ที่มาแรงมากจริงๆ ในกลุ่ม Non-BRIC (ไม่ใช่กลุ่มบิ๊กโฟร์)
สิ่งที่ธุรกิจและประเทศเกิดใหม่และเร่งพัฒนาคือ ทั้งบิ๊กโฟร์และ Non-BRICs สนใจกันมากๆ เรียกว่า “ผลิตภาพจากคนทำงานที่ภูมิรู้” (Knowledge Worker-Productivity)
ผู้เขียนขอขยายความในคำว่า คนทำงานที่มีภูมิรู้ (Knowledge Worker) เป็นอันดับแรกก่อนโดยสรุปย่อๆ ได้ว่า
คนทำงานที่มีภูมิรู้จะเป็นทั้ง “พนักงาน” ที่มี “เจ้านาย” และ “เจ้านาย” ที่มี “พนักงาน”
คนทำงานที่มีภูมิรู้ส่วนใหญ่จะใช้เวลาเกือบทั้งหมดแม้ว่าจะไม่ใช่ชีวิตการทำงานทั้งหมดเป็น “พนักงาน” โดยที่แต่ละบุคคลจะขึ้นอยู่กับงาน ได้รับค่าจ้างหรือเงินเดือนทั้งยังกำลังว่าจ้างหรือสามารถถูกไล่ออกก็ได้
ในทางกฎหมาย มีสภาพเป็นพนักงาน (Employee)
ในทางปฏิบัติ มีสภาพเป็น ทุน (Capital)
คนทำงานที่มีภูมิรู้ไม่ใช่ลูกน้อง แต่เป็นแอซโซซิเอทส์ (Associates) โดยที่เขาจะรู้เกี่ยวกับงานมากกว่าที่หัวหน้าเขารู้ (แม้ว่าอาจจะไม่ดีทั้งหมด)
และในความเป็นจริง คนทำงานที่มีภูมิรู้จะต้องรู้เกี่ยวกับงานมากกว่าทุกๆ คนในองค์กร
คนทำงานที่มีภูมิรู้ จะมีวิธีการสร้างผลงานของเขาเอง ซึ่งก็คือ ความรู้ (Knowledge)
สำหรับงานที่ถูกนิยามให้กับคนทำงานที่มีภูมิรู้ ซึ่งจะนำไปสู่ผลิตภาพ (Pro-ductivity) จะมีอาทิ เทอมของคุณภาพ เคารพในเวลา เคารพในค่าใช้จ่าย และมีอิสระในหน่วยงานและรับผิดชอบด้วยตนเอง
คนทำงานที่มีภูมิรู้จะสร้างให้มีนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการสอนอย่างต่อเนื่องจะต้องถูกออกแบบไว้ในงานของคนทำงานที่มีภูมิรู้
งานที่ใช้ความรู้ต้องมีการสร้างไว้อย่างให้เป็นระบบ
ดรักเกอร์ได้พูดครั้งสุดท้ายในวาระที่อายุจะครบรอบ 94 ปี เกี่ยวกับการวัดผลิตภาพของคนทำงานที่มีภูมิรู้
ไม่มีใครให้ความสนใจจริงๆที่จะพิจารณาผลิตภาพของคนทำงานสำนักงานหรือ White-Collar Workern ในวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์
ความไม่มีประสิทธิภาพของคนทำงานที่มีภูมิรู้คือ ส่วนที่เป็นตำนานในศตวรรษที่ 19 โดยเชื่อว่า บริษัทที่ทันสมัยจะต้องทำอะไรทุกสิ่งด้วยตนเอง

แต่บริษัทที่ทันสมัยในปัจจุบันใช้บริการจากภายนอก (Outsourcing) ซึ่งสิ่งนี้ดรักเกอร์เห็นว่าเป็น “ภาพลวงตา” เนื่องจาก
-บริษัทบริการจากภายนอก ไม่ได้ทำอะไรเพื่อการปรับปรุงคุณภาพของคนที่ทำงานให้บริษัท เพราะพิจารณาสิ่งที่เป็นการลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย
-ทุกบริษัทจะใช้บริการจากภายนอกที่เป็นงานซึ่งไม่มีทางก้าวหน้าในอาชีพ ที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูง
สิ่งนี้จึงเป็นที่มาของเหตุผลว่า ทำไมค่าใช้จ่ายจึงเพิ่มขึ้นเมื่อใช้บริการจากภายนอก

ในส่วนดีมีเสีย ในส่วนเสียก็มีดี อย่างไรก็ตามธุรกิจในปี 2549 หรือนับจากปีนี้เป็นต้นไปจะต้องจริงจังและทำความเข้าใจในสิ่งที่เรียกว่า “ผลิตภาพจากคนทำงานที่มีภูมิรู้” เพราะสิ่งนี้สำคัญมากเนื่องจากเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อความสำเร็จและชัยชนะของธุรกิจที่ยั่งยืน

ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ บจก.ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์

DNT Consultants



Create Date : 21 พฤษภาคม 2549
Last Update : 23 กรกฎาคม 2550 22:26:26 น. 2 comments
Counter : 926 Pageviews.

 
เรียน อาจารย์ ดนัย ครับ

ในมุมมองของอาจารย์ องค์กรแบบเสมือนจริง Virtual Organization จะต้องใช้บุคลกรที่เป็น Knowledge Worker ประมาณกี่เปอร์เซนต์ครับ จึงถือว่ามีประสิทธิภาพสูง


โดย: อนันดา IP: 58.9.170.216 วันที่: 26 ธันวาคม 2549 เวลา:13:04:15 น.  

 
ทรรศนะผม 40% เป้นอย่างน้อย
ยิ่งเป็นองค์กรที่เป็น Innovative Organization ผมให้น้ำหนักที่ 75% เลยครับ

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants


โดย: Dr.Danai IP: 58.8.123.127 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:23:34:34 น.  

dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.