Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
มกราคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
28 มกราคม 2549
 
All Blogs
 
Strategy Maps (2)

ผู้บริหารธุรกิจที่สนใจเรื่อง แนวคิดทางกลยุทธ์ใหม่ที่โด่งดังมาเป็น 10 ปี ปัจจุบันมีการทำกันอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาในแต่ละค่ายสำนักต่างก็พยายามศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Kaplan และ Norton (2004) ก็ได้พยายามสรุปพัฒนาการของ Balanced Scorecard ออกมาเป็นหนังสือเล่มใหม่ที่ชื่อว่า “Strategy Maps” หรือ “แผนที่กลยุทธ์” ซึ่งในธุรกิจมักจะเรียกกันว่า Kaplan (3)

ผู้เขียนได้เกริ่นไปแล้วว่า “แผนที่กลยุทธ์” หรือที่ผู้เขียนเรียกว่า “สมมติฐานทางกลยุทธ์”(Strategic Hypothesis) เป็นสิ่งเดียวกันและตาม “โมเดล BSC เวอร์ชั่น 3.0 Step-By-Step”จัดทำ BSC และ KPIs ได้อย่างลงตัวที่สุด

Strategy Maps อธิบายอะไร
สิ่งที่น่าสนใจใน Kaplan (3) ก็คือ การหาโมเดลหรือกรอบความคิดมาใช้บรรยายกลยุทธ์โดยเฉพาะ กลยุทธ์สำหรับสร้างคุณค่า

กรอบของ BSC จะมีองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้

กรอบแนวคิดของ BSC ข้างต้นที่ใช้สำหรับการบรรยายกลยุทธ์เพื่อสร้างคุณค่ามีราย- ละเอียด เช่น

ผลลัพธ์ด้านการเงิน โดยในแนวคิดก็คือ ดัชนีตาม/ดึง (Lag Indicators) จะกำหนดการนิยามความสำเร็จขององค์กรสูงสุด กลยุทธ์ที่บรรยายจะบรรยายถึงความตั้งใจขององค์กรที่จะสร้างความเติบโตอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร ในมูลค่าของผู้ถือหุ้น

ความสำเร็จที่เกิดจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สามารถกำหนดองค์ประกอบที่สำคัญในการ ปรับปรุงผลลัพธ์ด้านการเงิน

ดังนั้นการวัดความสำเร็จของลูกค้าด้วย ดัชนีผลได้ เช่น การรักษาความพึงพอใจและการเติบโต

มุมมองด้านลูกค้านิยามเกี่ยวกับ คุณสมบัติที่มีคุณค่าจากลุ่มลูกค้าเป้าหมายการเลือกลูกค้าด้วยคุณสมบัติที่มีคุณค่าเป็นองค์ประกอบร่วมของกลยุทธ์

กระบวนการภายในจะสร้างและส่งมอบคุณสมบัติที่มีคุณค่าต่อลูกค้า ดังนั้นผลลัพธ์ด้านกระบวนการภายในจะเป็นดัชนีนำ (Leading Indicators) ของการปรับปรุงผลได้ จากลูกค้าและด้านการเงิน

ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้คือ แหล่งของการสร้างคุณค่าสูงสุดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้และเติบโตที่บรรยายเกี่ยวกับ คน เทคโนโลยีและบรรยากาศองค์กรจะรวมกันได้อย่างไรเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์

การปรับปรุงในการวัดด้านการเรียนรู้และการเติบโตคือ ดัชนีนำ (Lead Indicators) สำหรับกระบวนการภายใน ลูกค้าและผลลัพธ์ด้านการเงิน

วัตถุประสงค์ในการเชื่อมมุมมองทั้ง 4 ด้านเข้าด้วยกันในโซ่ความสัมพันธ์ของเหตุ-ผล เป็นการจัดวางและสนับสนุนให้ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้เข้าไปปรับปรุงผลลัพธ์ด้านกระบวนการ จนกระทั่งผลักดันไปสู่ความสำเร็จด้านลูกค้าและผู้ถือหุ้นสาระสำคัญในส่วนนี้ นักกลยุทธ์คิดกันอย่างไร สามารถอธิบายง่ายๆ ได้ดังนี้

(1) Kaplan (3) พยายามใช้แผนที่กลยุทธ์เป็นสิ่งที่ช่วยธุรกิจในการสร้างคุณค่าสำหรับองค์กร

(2) การพิจารณาที่ความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล (Cause-Effect Relationship) อธิบายไว้ใน ลักษณะของมิติเดียวคือ ความสัมพันธ์ระหว่าง การเรียนรู้—> กระบวนการภายใน —> ลูกค้า—> การเงิน

Strategy Maps สร้างคุณค่าให้กับองค์กร
ประเด็นสำคัญของ แผนที่กลยุทธ์หรือ Strategy Maps ที่จะใช้สร้างคุณค่าให้กับองค์กร ซึ่ง Kaplan (3) อธิบายไว้ว่า

“คุณค่าจะถูกสร้างผ่านกระบวนการภายในของธุรกิจ” (Value is created through internal business processes)

โดยที่มุมมองด้านการเงินและลูกค้าในแผนที่กลยุทธ์และ BSC จะบรรยายผลได้ (Outcome) ซึ่งมีสมมติฐานมาจาก สิ่งที่องค์กรคาดหวังที่จะบรรลุความสำเร็จคือ

> การเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นโดยผ่านการเติบโตและการปรับปรุงผลิตภาพ

> การเพิ่มในส่วนของการใช้จ่ายด้านลูกค้าของบริษัทผ่านการได้มาซึ่งลูกค้าความพึงพอใจ การรักษา ความจงรักภักดีและการเติบโต

กระบวนการในมุมมองด้านกระบวนการภายในและการเติบโตเป็นสิ่งผลักดันกลยุทธ์ เช่น

> บรรยายว่าองค์กรจะปฏิบัติแต่ละกลยุทธ์อย่างไร

> ประสิทธิภาพและการจัดวางกระบวนการภายในเป็นสิ่งกำหนดว่า คุณค่าจะถูกสร้างและทำให้มีอย่างต่อเนื่องอย่างไร

บริษัทควรมุ่งที่กระบวนการภายในที่สำคัญ ซึ่งสามารถนำไปสู่คุณสมบัติที่มีคุณค่าที่หลากหลายและเป็นหัวใจสำคัญต่อการสนับสนุนผลิตภาพและรักษาไว้ซึ่งสาขาหรือตัวแทนเครือข่ายด้านการปฏิบัติการ

ซึ่งในกระบวนการภายในจะพิจารณาออกเป็นสารบบได้ 4 กลุ่มคือ การจัดการด้านปฏิบัติการ การจัดการด้านลูกค้า นวัตกรรมและกฎระเบียบกับสังคม

สุดท้ายการจัดวางกลยุทธ์กับคุณค่าของทรัพย์-สินที่จับต้องไม่ได้ในด้านที่สี่ของแผนที่กลยุทธ์ใน BSC ซึ่งก็คือ การเรียนรู้และการเติบโต ซึ่งเป็นการบรรยายทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ขององค์กรและบทบาทของกลยุทธ์ โดยทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้นี้ประกอบด้วย ทุนมนุษย์ (ทักษะพนักงาน ความเก่งและความรู้)<ทุนสารสนเทศ (ฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศ เครือข่ายและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี) กับทุนองค์กร (วัฒนธรรม ภาวะผู้นำ จัดวางคน ทีมงานและการจัดการความรู้)

ทั้งหมดนี้คือ สิ่งที่ Kaplan (3) พยายามเสนอในอีกแง่มุมของ BSC และ KPIsในรูปแบบของ แผนที่กลยุทธ์กับการสร้างคุณค่าในองค์กร โดยพยายามแปลงทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ให้กลายเป็นผลได้ที่จับต้องได้ (Tangible Outcome)
Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants


Create Date : 28 มกราคม 2549
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2550 12:55:40 น. 0 comments
Counter : 782 Pageviews.

dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.