Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2548
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
5 ธันวาคม 2548
 
All Blogs
 

สรุปนิยามความสามารถที่ใช้ในธุรกิจ โดย ดนัย เทียนพุฒ

สรุปนิยามความสามารถที่ใช้ในธุรกิจ โดย ดนัย เทียนพุฒ (2543, 2546)
"ความสามารถ (Competency) คือ การบูรณาการความรู้ ทักษะ ทัศนคติและคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal Attributes) มาใช้ได้ดีที่สุดในบทบาทนั้นๆ จนกระทั่งเกิดผลงานที่มีคุณค่าสูงสุด (Superior Performance) หรือมีประสิทธิภาพมากที่สุด"
ดังนั้น Road Map การพัฒนาคนที่จำเป็นต้องใช้โมเดลความสามารถเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาคนนั้นมีนิยามให้เลือกใช้ตามที่นิยมกันข้างต้นจึงจะพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์สูงสุด
ในปี 2547 ผู้เขียนได้สรุปรูปแบบของความสามารถไว้ 4 รูปแบบดังนี้
ในรูปแบบแรกของมิติขององค์กรเรียกว่า "Organizational Competencies" กับ "Strategic Competencies" บางครั้งอาจจะเรียก "Organization Competency" ว่าความ-สามารถหลักของธุรกิจ (Core Competencies) เป็นอันรวมเลยก็มี
-Organizational Competencies เป็นการสร้างความสามารถหลักของธุรกิจ
(Core Competencies) และการแสดงถึงความรู้และทักษะ เทคโนโลยี นวัตกรรมที่บริษัทมีหรือต้องการเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ตัวอย่าง ความสามารถของการพัฒนาผู้นำของ GE (General Electric) หรือความสามารถด้าน Miniaturization ของ Sony
-Strategic Competencies เป็นความสามารถในการสนับสนุนกระบวนการ
ธุรกิจและสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจการปรับปรุงกระบวนการที่เป็นการริเริ่มกลยุทธ ซึ่งสามารถกำหนดแนวทางของความสามารถ
ตัวอย่าง ความสามารถในการจัดจำหน่ายของ Wal-Mart
รูปแบบที่สอง มิติของงานเรียกว่า "Job Competencies" หรือ "Technical (Skill) Competencies" หรือ Functional Competencies
-Job Competencies เป็นงานหรือกลุ่มของงานซึ่งเป็นธรรมชาติของงานย่อยๆ
ที่มีพื้นฐานเหมือนกัน แต่มีนัยที่แตกต่างกันในระดับของงานที่ทำให้เกิดขึ้นตัวอย่าง การสื่อสารอย่างเปิดเผยของหัวหน้าโครงการจนกระทั่งทุกคนในโครงการที่รับผิดชอบอยู่สามารถร่วมกันดำเนินโครงการจนสำเร็จตามเนื้อหาของการสื่อสาร

-Technical/ Functional Competencies การรวมความเชี่ยวชาญทั้งด้านลึกและกว้างของหน้าที่งาน
ตัวอย่าง ความเชี่ยวชาญด้าน IT ในการพัฒนาอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต ความเชี่ยวชาญด้านสายการผลิตอิเลคทรอนิกส์ของพนักงานในโรงงานผลิต การวิเคราะห์ด้านการเงินของพนักงานวิเคราะห์การลงทุน
HP Microsoft Intel เป็นตัวอย่างของธุรกิจที่ได้รับความได้เปรียบที่หลากหลายจากความสามารถเชิงเทคนิค
รูปแบบที่สามมิติของบทบาทเรียกว่า Role Competencies หรือบางครั้งก็มีการใช้ในรูป "Role Model"
-Role Competencies จะบรรยายถึง ผลทันที (Outputs) และความสามารถ
(Competency) สำหรับ "งาน" "ตำแหน่ง" หรือ "บทบาทในตำแหน่ง" เช่น ผู้จัดการแผนกบุคคล ตัวแทนขาย พนักงานต้อนรับ หรือผู้จัดการ IT
หรืออาจอธิบายอีกนัยหนึ่งได้ว่า สิ่งที่ต้องมีในบุคคลแบบกว้างๆ ครอบคลุมการสร้างคุณค่าของบุคคลที่ทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ บทบาทมีความยืดหยุ่นที่มากกว่าในการสะท้อนสิ่งที่ทำให้บุคคลทำงานได้แตกต่างกัน
รูปแบบที่สี่ เป็นมิติด้านบุคคล (Behavioral Competencies)
โดยปกติจะอธิบายว่า เป็นคุณลักษณะพื้นฐานที่ทุกคนใช้
ประยุกต์ในองค์กรโดยอ้างถึงบางลักษณะของพนักงานหรือผู้รู้บางท่านอธิบายว่า เป็นการสังเกตคุณลักษณะของบุคคล เช่น การสื่อสาร ทำงานเป็นทีม การบริการลูกค้า และนวัตกรรมที่ทำให้บริษัทสร้างทุนจากความสามารถขององค์กร ความสามารถเชิงกลยุทธและความสามารถด้านเทคนิคหรือทักษะวิชาชีพ ซึ่งต้องเปลี่ยนทั้งหมดนี้ให้วัดผลสำเร็จได้
Aj.Danai




 

Create Date : 05 ธันวาคม 2548
4 comments
Last Update : 23 กรกฎาคม 2550 22:19:15 น.
Counter : 1587 Pageviews.

 

ผู้เขียนจึงให้ความหมายในปัจจุบันของความสามารถ (Competency) ไว้ว่า
เป็นการบูรณาการความรู้ ทักษะ ทัศนคติและคุณลักษณะส่วนบุคคลจนทำให้ผลงานนั้นมีคุณค่าสูงสุดหรือมีประสิทธิภาพ

ความสามารถที่ดี ต้องมาจากความเข้าใจในแนวคิดธุรกิจกลยุทธธุรกิจ และ การแปลปัจจัยนำเข้าจากลูกค้าไม่ใช่จากแคทตาลอคของความสามารถ หรือความ สามารถที่มาจากฐานข้อมูลความสามารถ (Competency Library)

ความสามารถ ไม่ใช่เพียงสิ่งที่สัมพันธ์กับผลงานในปัจจุบัน แต่ยังทำนายผลงานในอนาคตหรืออธิบายง่ายๆ ว่าเป็นความสามารถของบุคคลที่จะบรรลุถึงบทบาท (Role) ทั้งปัจจุบันและอนาคต

ความสามารถ ควรจะใช้เพื่ออ้างอิงถึงขอบเขตของงานที่ซึ่งบุคคลทำได้อย่างเหมาะสม และควรจะใช้เพื่ออ้างอิงถึงมิติของพฤติกรรมที่อยู่เบื้องหลังของผลงานที่ทำได้อย่างเหมาะสม

ความสามารถ ไม่ใช่ ความรู้และทักษะในตัวของมันเอง แต่เป็นประสิทธิภาพของการใช้ความรู้และทักษะ

เมื่อธุรกิจได้เข้าใจสิ่งที่ถูกต้องเกี่ยวกับความสามารถและนำมาสู่การที่ธุรกิจจะสร้างกลยุทธโดยนำความสามารถมาเป็นพื้นฐานในการจัดการมิติต่างๆ ของธุรกิจ จะทำให้ธุรกิจมีความแตกต่างไปจากธุรกิจที่เข้าใจได้อย่างไม่ลุ่มลึก และในโอกาสต่อไปผู้เขียนจะนำเสนอในเชิงลึกของกลยุทธธุรกิจที่ว่าด้วยความสามารถ โปรดอดใจติดตามต่อไปครับ

 

โดย: Aj.Danai (dnt ) 5 ธันวาคม 2548 22:59:29 น.  

 

อ้างอิง

1. ดนัย เทียนพุฒ (2543) จะสร้างแบบวัดความสามารถธุรกิจ &คนได้อย่างไร โครงการ
HUMAN CAPITAL ชุดความสามารถธุรกิจและคน : กรุงเทพ
2. ดนัย เทียนพุฒ (2546) ความสามารถปัจจัยชนะของธุรกิจและคน โครงการ HUMAN
CAPITAL ชุดความสามารถธุรกิจและคน : กรุงเทพ
3. ดนัย เทียนพุฒ (2548) ค่าตอบแทนตามผลสำเร็จ (ธุรกิจของ HR (4) : The Innovation P4R:
Pay for Result) โครงการ HUMAN CAPITAL ชุดธุรกิจและกลยุทธ HR : กรุงเทพ
4. ดนัย เทียนพุฒ (2548) 4 กลยุทธขั้นสูง Balanced Scorecard โครงการ HUMAN
CAPITAL ชุดวิสัยทัศน์และกลยุทธ : กรุงเทพ
5. Spencer, L. and Spencer, S.M. (1993) Competence at Work NY: John Wiley & Sons,
Inc.

 

โดย: Aj.Danai (dnt ) 5 ธันวาคม 2548 23:00:14 น.  

 




ไม่สันทัดเอาซะเลยค่ะ

 

โดย: p_tham 5 ธันวาคม 2548 23:11:32 น.  

 


ยากจัง

 

โดย: EO IP: 203.113.61.167 19 เมษายน 2549 18:09:50 น.  


dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.