Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
25 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
ความหมายและพัฒนาการของเพลงไทยร่วมสมัยนอกกระแส (เพลงไทยอินดี้) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 - 2552 (ตอนที่ 2)

จากในส่วนของบทแรก จะเห็นได้ว่าการนิยามความหมายของเพลงอินดี้นั้นมีความลักลั่นย้อนแย้งและพล่าเลือนเต็มทีว่าอะไรกันแน่ที่คือเพลงอินดี้ เพราะหากพูดว่าเพลงอินดี้ต้องดูกันที่วิธีการทำงานและวิธีการจัดจำหน่าย ก็จะมีกรณีคลาสสิคที่ชวนให้ปวดหัวเกิดขึ้นเมื่อปี 2550 เมื่อเรดิโอเฮด วงดนตรีร๊อคชื่อดังระดับโลกหมดสัญญากับค่าย EMI ได้ผลิตผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 6 In the Rainbow ที่ทุกกระบวนการทำเอง และขายเองผ่านอินเตอร์เนตโดยไม่ผ่าน distributor ใด ๆ เลยมีคำถามว่า แล้วกรณีเช่นนี้ของเรดิโอเฮด ถือได้ว่าเป็นการทำงานแบบอินดี้หรือเปล่า

เพิ่มเติมนิดสำหรับคนไม่ทราบ เรดิโอเฮดสร้างปรากฎการณ์ครั้งสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ดนตรีโลกด้วยการให้แฟนเพลงเข้าไปโหลดเพลงได้ฟรี โดยให้ราคาเท่าใดก็ได้ (ให้ศูนย์ปอนด์ก็ได้) ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้ทดลองโหลดด้วยราคาศูนย์ปอนด์พบว่า ได้ไฟล์มาเหมือนกัน ทว่าเมื่อมีการประเมินออกมาแล้ว ปรากฎว่าจำนวนคนโหลดแบบเสียเงิน โดยมีค่าเฉพาะที่ 8 ปอนด์ มีมากกว่าคนโหลดฟรีจำนวนมาก ทำให้โมเดลเศรษฐศาสตร์สั่นคลอนทันทีเพราะงานนี้ ของฟรีมีจริง แต่ไม่เอา

ผมพยายามเสนอทางออกอีกแง่ความคิดหนึ่ง โดยปกติผมพยายามเลี่ยงการใช้คำว่าอินดี้ทุกครั้งยามพิมพ์สนทนาในอินเตอร์เนท และหันไปใช้คำว่า “ดนตรีนอกกระแส” แทน ซึ่งคำนี้พบได้ในเซคชั่นย่อยในห้องเฉลิมกรุง ชื่อเซคชั่นว่า ห้องดนตรีนอกกระแส ปัญหาสำคัญเลยคือ นอกกระแสอะไร

ในวงการเพลงทั้งระดับโลกและระดับประเทศ (และอาจจะย่อยไปถึงระดับพื้นที่ระดับจังหวัด อำเภอ) ความนิยมแนวดนตรีแนวหนึ่ง ๆ มักจะเกิดจากกระแสการโหมโฆษณาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ อย่างเช่น MTV รายการดนตรีอื่น ๆ ทางโทรทัศน์ รายการดนตรีทางคลื่นวิทยุ ซึ่งการโฆษณานี้จำเป็นจะต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมาก จึงมีแต่ค่ายเพลงขนาดใหญ่เท่านั้นที่ทำได้

ไม่มีวันเลยที่ศิลปินคนหนึ่ง ๆ จะเป็นที่รู้จักได้เลยถ้าเขาไม่เคยออกสื่อ (คุณจินตนาการออกบ้างไหมว่ามีวงใดบ้างที่ไม่เคยออกสื่อแต่ ก็ดัง วงที่อายทีวีมาก ๆ อย่าง Portishead ก็ไม่ออกทีวี แต่ก็ยังมีสื่อเช่น แมกกาซีน ให้ใช้สื่อสารแทน) ทุกวันนี้อาจจะง่ายกว่าเก่าในการพรีเซนต์ตัวเองคือ ผ่านทางสื่ออินเตอร์เนท อาทิเช่น youtube, myspace และหลายศิลปินก็ดังมาได้จากการพรีเซนต์ผลงานผ่านทางเวบเหล่านี้ ทว่าในที่สุด พวกเขาก็ดังในวงกว้าง เป็นที่รู้จักระดับประเทศได้ก็เพราะเขาเคยปรากฎตัวผ่านสื่อ (ซึ่งความถี่แปรผันตรงอย่างยิ่งยวดกับการเป็นที่รู้จัก ยิ่งออกผ่านสื่อมากเพียงใด คนก็จะรู้จักมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีโอกาสดังเช่นกัน)

ดังนั้นหากสรุปแล้วดนตรีกระแสหลักก็คือดนตรีที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง (วงกว้างในที่นี้คือกลุ่มคนฟังที่มีลักษณะเป็น mass คือมีจำนวนมากจนนับไม่ได้ ในทีนี้คือคนฟังระดับประเทศ) ณ ขณะนั้น มีการเผยแพร่ผ่านสื่อผลิตซ้ำไปเรื่อย ๆ จนเป็นที่รู้จักแก่บุคคคลทั่วไป ดนตรีนอกกระแสอยู่ตรงข้ามกับนิยามนั้น งานของพวกเขาอาจจะไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างนัก ไม่ค่อยได้ออกสื่อมากนัก (และอาจมีบางวงที่ไม่เคยออกสื่อเลย) ความนิยมก็อยู่ในวงจำกัดแฟนเพลงหน้าเดิม ๆ ที่โดยมากปวารณาตัวเป็นสาวก

ทำไมศิลปินเหล่านี้ถึงต้องผลิตผลงานตรงข้ามกับเมนสตรีม เรื่องนี้อธิบายได้ไม่ยากคือ แนวดนตรีที่คนสนใจนั้นมีหลากหลาย ทว่าที่มันขายได้ในช่วงเวลานั้นมีเพียงไม่กี่แนว ซึ่งค่ายเพลงที่ทำเพลงกระแสหลักย่อมต้องดูทิศทางลมเสมอว่าเพลงใด “ขายได้” หรือ “ขายไม่ได้” เหตุจากปัจจัยด้านธุรกิจกำไร ค่ายเพลงเหล่านี้จึงเลือกที่จะนำเสนอแนวเพลงที่คนทั่วไปคุ้นชินและเป็นเพลงที่ทำแล้ว “ไม่เจ็บตัว” ซึ่งเมื่อลองพลิกดูในวงการไทยแล้วก็มีจะมีอยู่สองสามแนว คือ ป๊อป เนื้อหารักหวาน ๆ อกหักช้ำ ๆ ไม่ก็ ร๊อค คร่ำครวญ เนื้อหาโดนใจกลุ่มเป้าหมายที่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น (ในอเมริกา ดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างยาว นานมาเสมอคือดนตรีแนว Black Contemporary หรือ เพลงคนผิวสีร่วมสมัย ทั้งแนว โซล อาร์แอนบี ในช่วงกลางทศวรรษที่แล้ว (งานอย่าง Boyz II Men, TLC, All 4 One, Whitney Houstonฯลฯ เรื่อยมาปัจจุบันที่เป็นดนตรีฮิปฮอปครองบิลบอร์ตชาร์ต เช่น Kenye West, Eminem ฯลฯ))

สำหรับเมืองไทย เพลงแนวอื่น ๆ ที่อยู่บนโลกใบนี้จึงกลายสภาพเป็นลูกเมียน้อยที่ไม่เคยถูกชายตามอง แต่ทว่าคนมันมีฝัน ใยจะต้องง้อค่ายใหญ่ด้วย จึงเกิดการผลิตผลงานกันออกมาภายใต้งบประมาณของตนเอง โดยปั้มออกมาขายไม่มากนัก (1,000 copies ถือเป็นปริมาณที่จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว) ดนตรีที่พวกเขาทำจึงมีหลากหลาย ทั้งเพลงเต้นรำ แดนซ์ ชิบุยาเกะ ชูเกส เดธ เมทัล โพสต์ร๊อค ทริปฮอป ฮิปฮอป แร็ป แอมเบียนซ์ อิเลคโทรนิกา ซินธ์ร๊อค ซินธ์ป๊อป แจ๊ซ โซล อาร์แอนบี ฟังค์ ฯลฯ แล้วแต่ว่าใครจะศรัทธาตามหนทางไหน

ดนตรีเหล่านี้ผลิตออกมาส่วนสำคัญเท่าที่ได้คุยกับเพื่อนพี่น้อง คือการสนองตัณหาความปรารถนาอันรุ่มร้อนในใจตน อาจจะมีบ้างที่ทำเพราะอยากดังและหวังเชื่อมต่อไปสู่การได้อยู่ค่ายใหญ่ (แมวมองมาเจอ) ตามมาด้วยชื่อเสียงเงินทอง แต่ถ้าอยากดังจริง ๆ พวกเขาเหล่านี้คงเลือกที่จะทำเพลงที่ตลาดต้องการและเป็นที่นิยมมากกว่า

ดังนั้นเพลงอินดี้ที่มีมิติของเพลงนอกกระแส จึงดำรงสถานะอยู่ในรูปแบบของเพลงที่ได้รับความนิยมในวงแคบ ๆ รู้จักกันนับหัวได้ โดยมีแนวเพลงที่หลากหลายตามแต่ว่าศิลปินคนนั้น ๆ สนใจแนวใด

คำถามที่ถามว่าแล้วเรดิโอเฮดทำเอง ขายเอง นี่เป็นอินดี้ไหม ก็คงบอกได้เลยว่า ไม่ เพราะแค่ขยับตัวพวกเขาก็เป็นข่าวดังระดับโลกแล้ว


Create Date : 25 ธันวาคม 2552
Last Update : 25 ธันวาคม 2552 16:00:39 น. 6 comments
Counter : 1175 Pageviews.

 
สุขสันต์ หรรษา บรรดาโชค
หมดโรค หมดภัย สดใสซ่า
เปี่ยมทรัพย์ เปี่ยมหวัง คลังปัญญา
แฮปปี้นิวเยียร์กันละหนา...สถาพร ^^


โดย: โสดในซอย วันที่: 25 ธันวาคม 2552 เวลา:16:41:25 น.  

 


โดย: ดาริกามณี วันที่: 26 ธันวาคม 2552 เวลา:11:00:29 น.  

 
อ่านตอนต้นๆ แล้วเรางงกะบทความนี้อ่ะ -_-"

แต่มาติดใจตรงประโยคนี้

เพลงอินดี้ที่มีมิติของเพลงนอกกระแส

พอเห็นคำนี้ก็เกิดปิ๊งขึ้นมาว่า จริงๆ เราน่าจะนิยามอินดี้เป็นแนวเพลงประเภทหนึ่งได้ (แบบที่เราก็รู้กันนั่นแหละ) แต่มันก็จะมีทั้งอินดี้ที่เป็นอินดี้นอกกระแส กับอินดี้เมนสตรีม ซึ่งในกรณีนี้น่าจะหมายถึงการเป้นที่รู้จักในวงกว้างๆ แฮะ (หรือเปล่า)

อย่างเรดิโอเฮดนี่คงเป็นอินดี้เมนสตรีมแล้วล่ะ วงไทยก็คงโมเดิร์นด็อกมั้ง (แต่เราว่าแนวเพลงของโมเดิร์นด็อกไม่ใช่อินดี้) เสลอนี่ก็น่าจะเป็นอินดี้แฮะ (แต่มันก็คือการาจ) แต่เมนสตรีมหรือเปล่าไม่แน่ใจ เพราะถ้าเป้ไม่เล่นหนัง จะมีคนสนใจเสลอหรือเปล่าก็ไม่รู้


โดย: strawberry machine gun วันที่: 28 ธันวาคม 2552 เวลา:14:19:39 น.  

 
อีกส่วนหนึ่งคือเราคิดว่าอินดี้มันก็คือวิธีการทำเพลงด้วย ทำเองขายเองไรแบบเนี่ยะ ถ้าเรานิยามด้วยความหมายแบบนี้ วงป๊อป (ที่เป็นแนวเพลงป๊อปซึ่งเราก็ว่ามันมีแนวนี้นะ) วงสกา ฮิปฮอป อาร์แอนด์บี เดธ และอะไรต่อมิอะไร ก็เรียกว่าอินดี้ได้หมด

เราคิดว่าสุดท้ายแล้วการจะนิยามคำว่าอินดี้ จึงขึ้นอยู่กับว่าเราพูดในอินดี้ในบริบทของอะไร แนวเพลงหรือวิธิทำเพลง ซึ่งเราคิดว่ามันมีทั้งสองแบบ พาราดอกซ์นี่อินดี้ในวิธีทำเพลงแน่ๆ แต่แนวเพลงเขาไม่ใช่อินดี้อ่ะ ส่วนวงอย่างเดอะมูสอันลือลั่น เราไม่รู้ว่าในแง่ตัวงานเขาทำกันเองหรือเปล่านะ (เพราะเรายังไม่ได้ซื้ออัลบั้มเขา เลยไม่เห็นเครดิต) แต่ในแง่ตัวเพลง มันก็(น่าจะ)เรียกว่าอินดี้ได้เหมือนกันนะ (หรือเปล่า)


โดย: strawberry machine gun วันที่: 28 ธันวาคม 2552 เวลา:14:24:03 น.  

 
รออ่านพาร์ตสาม (ยังมีหรือเปล่า)


โดย: strawberry machine gun วันที่: 28 ธันวาคม 2552 เวลา:14:34:47 น.  

 
"เรดิโอเฮดสร้างปรากฎการณ์ครั้งสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ดนตรีโลกด้วยการให้แฟนเพลงเข้าไปโหลดเพลงได้ฟรี โดยให้ราคาเท่าใดก็ได้ (ให้ศูนย์ปอนด์ก็ได้)"
ขอแย้งตรงนี้ไว้หน่อยละกันนะครับ ทั้งๆที่มีหลายจุดที่ตะขิตะขวงใจ แต่เอาตรงนี้ก่อนนะ เรดิโอเฮดสร้างปรากฏการณ์ตรงไหนเหรอครับในเมื่อการปล่อยเพลงให้โหลดมันมีมาก่อนหน้านั้นแล้ว เรดิโอเฮดเนี่ยถ้าจะพูดให้ถูกเขาโดนสถานการณ์บังคับนะครับ พวกที่ทำเพลงแล้วปล่อยโหลดจนสร้างเนื้อสร้างตัวได้มันคือพวกอีโมยุคต้นๆยุค2000-2005ต่างหาก
เป็นไง งงอะดิ ย้อนกลับไปหาข้อมูลแถวๆช่วงนั้นดูนะครับแถวๆเว็บ MP3.com เริ่มดัง ช่าง NuMetalกำลังครองชาร์ต ในเว็บ MP3.com มีหมวดดนตรีย่อยชื่อว่า EMO ในนั้นมีวงอย่าง taking back sunday,Alexisonfire,Hawthorne Heights ให้โหลดฟังฟรี ซึ่งตอนนั้นแผ่นมันยังไม่ออกเลยครับ และวงพวกนี้ก็เต็มใจปล่อยเพลงให้โหลดครับ อย่างน้อยๆวงนึงที่ผมโหลดมากับมือก่อนที่วงมันจะไปเซนสัญญากับ Victory record คือวง Hawthorne Heights


โดย: ่jazk IP: 124.120.205.1 วันที่: 29 พฤษภาคม 2554 เวลา:14:32:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

I will see U in the next life.
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add I will see U in the next life.'s blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.