Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2548
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
11 ธันวาคม 2548
 
All Blogs
 

เกมเศรษฐี (Monopoly) : เกมหมากกระดานที่สะท้อนความเลวร้ายของระบบทุนนิยม




เมื่อวานผมได้มีโอกาสเล่นเกมเศรษฐีแบบที่เป็นหมากกระดาน มิใช่เกมเศรษฐีของคุณไตรภพทางไอทีวีนะครับ เป็นครั้งแรกในรอบกี่สิบปีนี้ เพราะเท่าที่จำได้ ตั้งแต่ขึ้นมัธยมมา (นี้ก็ป.โทล่ะ) ไม่เคยได้แตะเกมประเภทนี้เลย

กติกาคงไม่ต้องอธิบายละกระมัง เพราะคาดว่าทุกท่านคงเคยเล่นกันมาแล้ว สรุปสั้น ๆ ก็คือ ผู้เล่นแต่ละคนก็มีบทบาทเป็นนักธุรกิจ ต้องคอยคาดการณ์ว่าทำเลที่ไหนดี ก็ซื้อเก็บไว้ แล้วก็ซื้อบ้าน ซื้อโรงแรม ใครเดินมาตกตรงที่ของตน ก็ต้องจ่ายค่าเช่าให้

กติกาหลัก ๆ มีเพียงเท่านี้

พูดง่าย ๆ ใครกว้านซื้อที่ดินทำเลดี ชาวบ้านชอบเดินมาตก ก็ยิ่งได้กำไรไปเรื่อย ๆ

ก็เป็นการดีครับ เป็นการสอนหลักการตลาดง่าย ๆ ให้กับคนเล่นที่ให้คาดการณ์ถึงความน่าจะเป็นที่จะได้กำไร แต่ทว่าหลังจากผมเล่นเมื่อวาน ผมก็ได้เห็นถึงบางสิ่งที่ซ่อนอยู่ในเกมนี้ แล้วมันสะท้อนภาพบางอย่างได้อย่างชัดเจนมาก

เกมนี้เมื่อเล่น ๆ ไปจะมีคนอยู่สองกลุ่มครับ คือกลุ่มนายทุนผู้ร่ำรวย ซึ่งเกิดจากการเก็งที่ดินดี ๆ ไว้ได้ พวกนี้ก็จะได้เงินจากคนที่เดินมาตกที่ตรงนั้น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งก็คือยาจก ผู้มักพลาดสูญเสียเงินให้แก่กลุ่มนายทุนเสมอ

ผมเองเป็นคนในกลุ่มหลังครับ เหลือเงิน (ปลอม) ทั้งเนื้อทั้งตัว 500 กว่าบาท ต้องขายโฉนดที่ดินหาเงินใช้หนี้ 5555

ถ้าสังเกตจากชื่อที่มาจากภาษาอังกฤษ คือ monopoly ก็คงรู้ถึงจุดหมายของเกมได้ไม่ยาก เพราะโมโนโพลี ก็คือการครอบครองตลาดไว้แต่เพียงผู้เดียว เป็นเจ้าตลาดรายใหญ่และรายเดียว ดังนั้น ในเกมนี้ใครที่ยึดและครอบครองที่ดินได้หมดโดยไม่มีคู่แข่งขันก็คือผู้ชนะ

ผมได้ลองเล่นเกมหลายครั้ง ผลออกมาในลักษณะเดิม ๆ คือ มีกลุ่มคนรวยล้นฟ้า กับจนซ้ำซาก คนรวยก็จะได้เงินอยู่อย่างนั้นเสมอ คนจนก็จะต้องเสียเงินซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ต่างอะไรกับสภาพสังคมจริงเลย

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ บรรดาคนรวย (ที่มันเก็งที่ได้ดีกว่าในช่วงแรก) เมื่อรอบแรก ๆ มีคนมาตกที่ดินก็จะได้เงิน พอเห็นที่ดินดี ๆ อีกก็จะซื้อใหม่ ซื้อไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ผู้เล่นที่พลาดท่าเสียเงิน ตกที่ดินชาวบ้านบ่อย ๆ ก็พลอยไร้เงินทอง จะซื้อที่ดินสู้ก็ไม่ได้

ตอนผมเรียนวิชา man and the modern world ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งวิชานี้เป็นวิชาที่มองเหรียญอีกด้าน (ด้านร้าย) ของระบบทุนนิยม ส่ิงหนึ่งที่วิชานี้ชี้ให้เห็นคือเรื่องของ "การเข้าถึงทรัพยากร"

คีย์เวิร์ดง่าย ๆ คือคำว่าโอกาส ถ้าคุณมีโอกาสในตอนแรก คุณย่อมมีโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร ทรัพยากรในที่นี้มิใช่แค่เป็นเหมืองแร่ เงินทอง อย่างที่เราคิด แต่ยังรวมถึงความรู้และอำนาจไปด้วย

คนที่ได้รับการศึกษาสูงย่อมมีโอกาสสูงที่จะทำงานได้กว้างและสูงกว่าคนที่ได้รับการศึกษามาด้อยกว่า เมื่อทำงานที่สูงกว่า ก็มีโอกาสในการคว้าเอาสิ่งต่าง ๆ มาครอบครองได้ง่ายกว่า เงินทองที่สะสมก็พลอยเพิ่มขึ้นไปตามลำดับ

แต่กลับคนที่ไร้โอกาส เขาไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร การจะเริ่มทำอะไรสักอย่างเป็นเรื่องที่ยากมาก ดังนั้นก็ต้องทนทำเดิม ๆ ซ้ำ ๆ กับสิ่งที่เป็นอยู่ทุกวัน โอกาสในการสะสมทุนให้มากเท่ากับพวกมีโอกาสก็เป็นเรื่องยาก

เกมเศรษฐีนี้ก็คือภาพสะท้อนในประเด็นการเข้าถึงทรัพยากรของมนุษย์ในระบบทุนนิยม ที่คนรวยก็ยิ่งรวยเข้าไปใหญ่เพราะเข้าถึงทรัพยากรได้มาก คนจนก็ยิ่งจนลงไปเพราะไม่มีโอกาสเข้าถึง

อาจจะมองดูว่าผมมองอะไรเป็นแง่ร้าย ใช่ครับ ผมต้องการนำเสนอมุมมองแง่ร้ายบ้าง เพราะส่วนใหญ่เราจะเห็นแต่แง่ดีของทุนนิยม

สุดท้ายแล้ว ผมมองว่าหลักการของในหลวงท่านคือหนทางของการพัฒนาที่ยั่งยืนครับ อยู่อย่างพอเพียง เหมือนกับหลักเศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ ใช้เท่าที่มีไม่ฟุ้งเฟ้อ

เพียงแต่ว่าหลักการนี้ มีใครบางคนทำหูทวนลม รับเออออไปเช่นนั้น แต่ท้ายที่สุดก็ไม่ได้ทำตาม

มีเพียงนโยบายที่สวยหรู สุดท้ายชาวบ้านที่หนี้กันกระจายตามมาอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ เห็นกันอยู่ครับ




 

Create Date : 11 ธันวาคม 2548
21 comments
Last Update : 11 ธันวาคม 2548 19:29:52 น.
Counter : 1709 Pageviews.

 

ความโลภ กับ อำนาจ ทำให้ความพอเพียงเกิดได้ยากมั้งคะ
และเมื่อคนหนึ่งขยับ ก็เป็นการกระตุ้นการแข่งขัน แย่งชิงขึ้นมา
ที่เคยพอเพียงก็เปลี่ยนเป็นมีมาก กับ มีน้อย - - เกินพอ และ ไม่พอ

 

โดย: rebel 11 ธันวาคม 2548 17:36:25 น.  

 

เฮ้ย,...ดอง มึงจ้างตังค์กูไม่คบอ่ะ ขาดอีกห้าร้อย เอามาคืนด้วย

จากเจ้าของที่ดินที่มึงตก__5555555

 

โดย: `guitartalo IP: 58.136.86.2 11 ธันวาคม 2548 19:42:40 น.  

 

กูขายทรัพย์สินทอดตลาดแล้ว ไม่เห็นหรือ

กูไปเป็นอาจารย์สอนหนังสือมหาวิทยาลัยดีกว่า สบายใจดี พวกเงินขึ้นสมอง

ป.ล. กูไปทำงานรับจ้างให้เงินมึงเมื่อไรหรอ ถึงบอกว่าจ้างไม่ครบ

 

โดย: I will see U in the next life. 11 ธันวาคม 2548 19:44:29 น.  

 

อุ้ย...เขียนผิดว่ะ ที่จริงจะเขียนว่า"จ่าย"ต่างหากเล่า เออแล้วมาเล่นกันอีกนะ อิอิอิ........

 

โดย: _กีตาร์ทาโร่ IP: 58.136.86.2 11 ธันวาคม 2548 19:47:01 น.  

 

พวกทาสทุนนิยม

 

โดย: I will see U in the next life. 11 ธันวาคม 2548 19:55:07 น.  

 

อู้ว สาระเเน่นปึ้กครับผม
เกมบางทีก็สะท้อนมุมอง
ออกมาจากชีวิตจริงนั่นล่ะครับ
เห็นด้วยกับทุกมุมมองในเรื่องนี้ครับ

 

โดย: Dark Secret 11 ธันวาคม 2548 20:21:08 น.  

 

เล่นเกมนี้มาตั้งแต่เด็กๆเลย
ตอนเด็กๆชอบมากอ่ะ
ยิ่งถ้าชนะยิ่งสะใจ

ชีวิตก็แค่นี้เอง
ใครชนะก็มีความสุข แล้วก็จะเอาอีกเรื่อยๆ
เป็นกันตั้งแต่เด็กเลย

 

โดย: fakeplasticgirl 12 ธันวาคม 2548 1:10:23 น.  

 

เคยเล่นเกมเศรษฐีสมัยเด็กๆครับ น่าสนใจนะครับ เกมเศรษฐีกับเรื่องการตลาดการเงินและทุนนิยม

นอกจากโอกาสทางด้านการเงินแล้ว ผมเองมองว่า ส่วนนึงคงอยู่ที่ลักษณะบุคลิกภาพ การมองการเผชิญและแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจเลือกทางแก้ปัญหาของแต่ละคนด้วย ในเกมการเล่นก็คงเหมือน setting จำลองของชีวิตจริงอย่างนึง คนที่เลือกตัดสินใจ เลือกการกระทำแบบไหน ในชีวิตจริงก็คงคุ้นเคยในการเลือกตัดสินใจวิธีเช่นนั้นเหมือนกัน บางคนชอบเสี่ยง บางคนชอบลงทุน บางคนไม่ชอบเสี่ยง

ในชีวิตจริงก็คงเช่นกันครับ โอกาสความสำเร็จในชีวิตส่วนนึงอยู่ที่โอกาสทางด้านการเงิน คนที่มีเงินมาก มีโอกาสที่ดีกว่าในช่วงเริ่มต้นในด้านการเรียนการศึกษาที่สูงกว่า โอกาสได้เรียนต่อมากกว่า จบออกมามีงานการที่ดีกว่า

แต่คิดว่าคงไม่ทั้งหมดเสียทีเดียวครับ คงมีปัจจัยอื่นๆหรือโอกาสด้านอื่นๆร่วมด้วยเช่นกันที่ส่งผลต่อความสำเร็จของคนๆนั้น ได้แก่

1. resources ในตัวบุคคลคนั้น เช่น สติปัญญา, บุคลิกภาพ ความคิดการตัดสินใจ ความสามารถในการแก้ปัญหา การใช้ชีวิตของแต่ละคน

2. resources ภายนอกตัวบุคคล เช่น การสนับสนุนประคับประคองที่ดีจากครอบครัวหรือแหล่งสนับสนุนทางสังคม ซึ่งเรื่องเงิน ฐานะทางการเงินคงอยู่ในปัจจัยส่วนนี้ครับ

ขอบคุณนะครับที่แวะไปเยี่ยมชมและไปทักทายกันที่บล็อกผมครับ บล็อกของคุณ I will see U in the next life มีเนื้อหาข้อคิดน่าสนใจทีเดียวครับ

 

โดย: Tempting Heart 12 ธันวาคม 2548 7:32:29 น.  

 

ทุนนิยม..ทุนนิยมทุนนิยม...ทุนนิยม..
...
...
ไม่เข้าใจ ทำไมไม่ลอง สุขนิยม

 

โดย: สาหร่าย (แร้ไฟ ) 12 ธันวาคม 2548 13:51:06 น.  

 

ดิฉันเป็นพวก "เสพสมนิยม" ค่ะ

 

โดย: merveillesxx 12 ธันวาคม 2548 15:57:01 น.  

 

555 เสพสมนิยมนี้ต้องบล็อกก่อนนี้แล้วล่ะต่อ

 

โดย: I will see U in the next life. 12 ธันวาคม 2548 17:58:16 น.  

 

แวะมา อ่านข้อความดีๆ ครับ
แล้ว พวกเราจะไล่ทุนนิยม ยังไงกันดี อ่ะครับ
แม้วครองเมืองยึงประเทศ หมดแล้ว

 

โดย: gapkura3 12 ธันวาคม 2548 20:17:13 น.  

 

อิๆๆ .... เห็นด้วยที่ซู๊ดดดดดดดด!!! อยู่อย่างพอเพียงสู่การพัฒนาตัวเองและสังคมที่ยั่งยืน


"เราเชื่อในความพอดี"

 

โดย: tongdigy 12 ธันวาคม 2548 22:33:26 น.  

 

หึหึ...อย่าไปเชื่อใครเลยค่ะ
การเชื่อในองค์เหนือหัว คือสิ่งประเสริฐของชาวไทยค่ะ

 

โดย: -S n o w G i r l- 13 ธันวาคม 2548 13:11:04 น.  

 

สวัสดีวันนี้ค่ะ

 

โดย: rebel 13 ธันวาคม 2548 16:24:06 น.  

 

โหลดเล่นได้ที่ไหนคับ

 

โดย: เอ IP: 58.147.85.56 29 พฤศจิกายน 2549 1:18:51 น.  

 

ไอ้บ้า ข้างหลังเขียนอะไรก็ไม่รู้

 

โดย: มาร์ค IP: 61.90.13.170 13 ตุลาคม 2552 21:38:32 น.  

 

monopoly เคยเล่นกันไหมครับ

 

โดย: มาร์ค IP: 61.90.13.170 13 ตุลาคม 2552 21:39:20 น.  

 

จริงๆแหละครับเรื่องนี้
แต่ก็ชอบเกมแนวนี้อยู่ดี555

 

โดย: lBeer IP: 1.46.137.63 23 พฤศจิกายน 2553 19:54:33 น.  

 

Wow, fantastic blog format! How lengthy have you been running a blog for? you make blogging look easy. The total glance of your web site is wonderful, let alone the content material!
Mulberry Handbags //www.futurelex.com/

 

โดย: Mulberry Handbags IP: 94.23.252.21 3 สิงหาคม 2557 20:43:13 น.  

 

Whats Going down i'm new to this, I stumbled upon this I have discovered It absolutely useful and it has aided me out loads. I'm hoping to give a contribution & assist different users like its helped me. Good job.
Fake Mulberry Bags //www.simonboyle.info/

 

โดย: Fake Mulberry Bags IP: 94.23.252.21 3 สิงหาคม 2557 22:01:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


I will see U in the next life.
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add I will see U in the next life.'s blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.