Group Blog
 
 
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
21 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
การขอให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย

มาเเล้วค่ะสำหรับคุณสาวๆ ที่อยากจะพาสามีไปตั้งรกราก ในเมืองไทย หรือ อยากให้ มีถิ่นที่อยู่ในไทยเหมือน สาวๆ ที่อยู่ต่างเเเดนบ้าง แปลกนะค่ะ การเป็น ภรรยา ตามสามีง่ายกว่า แต่เป็นสามีนะ อาจจะยากนิดนึง นิคกี้รวบรวม เอาเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวข้องการ ขอถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร์ให้คร่าวๆ ค่ะ ถ้าจะโดยละเอียดลงลึก คงต้องเข้าไปเจาะใน เวบไซค์ด้านล่างนะค่ะ เอาค่ะ จะได้ ไม่เสียดุลการค้า :)

การขอให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย

ข้อ 1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับการพิจารณาให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
1.1 คนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ ต้องถือหนังสือเดินทางที่ได้รับการตรวจลงตราประเภท
คนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปีมาแล้ว
โดยมีรอบเวลาการพำนักไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจนถึงวันยื่นคำขอ
1.2 คนต่างด้าวที่มีอายุสิบสี่ปีขึน้ ไป ต้องได้รับการตรวจสอบประวัติดังต่อไปนี ้
1.2.1 พิมพ์ลายนิว้ มือ และกรอกประวัติลงในแบบพิมพ์ลายนิว้ มือคนต่างด้าว
ดังกล่าวส่งไปตรวจประวัติที่กองทะเบียนประวัติอาชญากรเพื่อ
ตรวจสอบว่ามีประวัติกระทำผิดหรือไม่
1.2.2 ตรวจสอบหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมที่คนต่างด้าวนำมาแสดง
1.2.3 ตรวจสอบว่าคนต่างด้าวดังกล่าวเป็นบุคคลต้องห้าม ตามพระราช-
บัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 หรือไม่ โดยตรวจสอบจากระบบบัญชี
เฝ้าดูของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
1.2.4 ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับของตำรวจสากล จากกองการ
ต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หน้าที่ 2
1.3 คนต่างด้าวต้องแสดงข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ สินทรัพย์ ความรู้ ความสามารถใน
ด้านวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวของคนต่างด้าวดังกล่าวกับบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย หรือเงื่อนไขอื่น
ตามความเหมาะสม เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุญาต
1.4 คนต่างด้าวต้องพูดและฟังภาษาไทยได้เข้าใจ
ข้อ 2. ประเภทการยื่นคำขอ
2.1 ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน
2.2 ประเภทเข้ามาเพื่อทำงาน
2.3 ประเภทเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม แบ่งเป็น 6 กรณี ดังนี ้
2.3.1 กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่
ในความอุปการะของคู่สมรสผู้มีสัญชาติไทย
2.3.2 กรณีบุตร ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ใน
ความอุปการะของบิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทย
2.3.3 กรณีบิดาหรือมารดา ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ
หรืออยู่ในความอุปการะของบุตรผู้มีสัญชาติไทย
2.3.4 กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่
ในความอุปการะของคู่สมรสที่ได้รับอนุญาตให้ มีถิ่นที่อยู่ในราช-
อาณาจักรแล้ว
2.3.5 กรณีบุตร ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ใน
ความอุปการะของบิดาหรือมารดาที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราช-
อาณาจักรแล้ว
2.3.6 กรณีบิดาหรือมารดา ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ
หรืออยู่ในความอุปการะของบุตรที่ได้รับอนุญาตให้ มีถิ่นที่อยู่ใน
ราชอาณาจักรแล้ว
2.4 ประเภทเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ
2.5 ประเภทกรณีพิเศษเฉพาะราย

3.3.4 กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ
หรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ใน
ราชอาณาจักรแล้ว มีดังต่อไปนี ้
1) เป็ นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยต้องจดทะเบียนสมรสตาม
กฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ และ
2) คู่สมรสที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว แสดงความประสงค์ที่จะให้
ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ และ
3) ผู้ให้ความอุปการะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ยื่นคำขอ ประเภทเข้ามา
เพื่อการลงทุน หรือเข้ามาเพื่อทำงาน

หลักการพิจารณา
4.1 คนต่างด้าวต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ในประกาศ
คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองฉบับนี ้ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของการยื่นคำขอแต่ละประเภทนับ
จนถึงวันที่ยื่นคำขอ
4.2 ในกรณีที่คนต่างด้าวสัญชาติใดสัญชาติหนึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตาม 4.1 และ
มีจำนวนเกินกว่าที่กำหนด ให้แบ่งสัดส่วนจำนวนการอนุญาตตามประเภทการยื่นคำขอกับจำนวนของผู้
ที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ทัง้ หมดของคนต่างด้าวสัญชาตินัน้ ๆ
อนึ่ง คนต่างด้าวรายใดแม้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
ไว้ แต่เมื่อพิจารณาถึงความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมของประเทศโดยรวมแล้ว
คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจที่จะพิจารณาไม่
อนุญาต หรือ ไม่ให้ความเห็นชอบให้คนต่างด้าวผู้นัน้ เข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรได้ และให้ถือเป็น
ที่สุด และถือเป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผยตามมาตรา 15 (1) (2) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร
พ.ศ. 2540
บรรดาหลักเกณฑ์ มติ หรือคำสั่งอื่นใด ซึ่งใช้ในการประกอบการพิจารณาอนุญาตให้
คนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรที่ใช้อยู่เดิม หรือ ซึ่งขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ฉบับนีใ้ ห้ยกเลิก
และให้ใช้หลักเกณฑ์ฉบับนีแ้ ทน

3.3 คุณสมบัติของการยื่นคำขอประเภทเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรมแต่ละ
กรณี มีดังนี้
3.3.1 กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ
หรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสผู้มีสัญชาติไทย มีคุณสมบัติดังต่อไปนี ้
1) ประเภทผู้ให้ความอุปการะทำงานในประเทศไทย
(1) เป็ นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจดทะเบียนสมรสตาม
กฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ
และมีบุตรด้วยกันจริง ในกรณีที่ไม่สามารถมีบุตรได้ ต้องนำ
ใบรับรองแพทย์ซึ่งแสดงเหตุผลการไม่สามารถมีบุตร จาก
โรงพยาบาลมาแสดง ส่วนในกรณีที่ไม่มีบุตร และไม่สามารถนำ
ใบรับรองแพทย์มาแสดงถึงเหตุผลการไม่สามารถมีบุตรได้ จะต้อง
จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
และ
(2) คู่สมรสคนใดคนหนึ่ง หรือทัง้ สองคนรวมกัน มีรายได้เพียงพอต่อ
การให้ความอุปการะ โดยมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ
30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกันนับจนถึงวันที่
ยื่นคำขอ และแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง และ
(3) บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะ หรือ
อยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ

2) ประเภทผู้ให้ความอุปการะเป็นผู้สูงอายุ
(1) คนต่างด้าวต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึน้ ไปนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ
และ
(2) เป็ นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจดทะเบียนสมรสตาม
กฎหมายมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ
หน้าที่ 6
และ
(3) ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 65,000
บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกันนับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ
และ
(4) บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะให้ความอุปการะ หรือ
อยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคำขอ

//www.immigration.go.th/nov2004/doc/residence/26122546_regulation_notice_th.pdf




Create Date : 21 กันยายน 2555
Last Update : 21 กันยายน 2555 0:05:24 น. 2 comments
Counter : 4118 Pageviews.

 
ขอถามหน่อยค่ะ แล้วการที่เราขอมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย แล้วมันดีอย่างไรค่ะ คือ ไม่ต้องต่อวีซ่าทุกปีใช่ไหมค่ะ
เมื่อเราได้รับสิทธิการขอมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยจ่ายค่าใบสิทธิครั้งเดียวแล้วอยู่ได้ตอดชีวิต มีสิทธิเท่ากับคนไทยใช่ไหมค่ะ


โดย: apple IP: 1.2.191.181 วันที่: 30 ธันวาคม 2556 เวลา:20:01:08 น.  

 
1. การมีถิ่นที่อยู่ถาวร มีค่าเท่ากับการเอาชื่อต่างด้าวเข้าในทะเบียนบ้านหรือไม่คะ...ถ้าไม่ใช่, แล้วการได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ถาวร จะมีการระบุที่อยู่ไว้ที่ไหนเหรอคะ (ทะเบียนบ้าน..ที่อยู่ถาวร)

2. การได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ถาวรเนื่องจากคู่สมรสไทย (ภรรยา) , ต่อมาภายหลัง เวลาภรรยาไทยต้องการซื้อขายที่ดิน จะยุ่งยากหรือไม่คะ


โดย: อาภรณ์ IP: 171.100.174.152 วันที่: 7 มกราคม 2559 เวลา:13:19:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

PinePh
Location :
Rome Italy, Bangkok Thailand, AMS Netherlands

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




I dont have anything to say much about myself...if you want to know more please check it out!!!
Friends' blogs
[Add PinePh's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.