Group Blog
 
 
กันยายน 2553
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
6 กันยายน 2553
 
All Blogs
 

การจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก

การจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก
การเขียนหนังสือสำหรับเด็ก เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ผู้เขียนจะต้องสอดแทรกทั้งความรู้ ความคิด ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรมไว้ในหนังสือสำหรับเด็ก ทั้งเป็นการส่งเสริมสติปัญญาและความสนุกเพลิดเพลินเพื่อให้เด็กสามารถนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ผู้จัดทำหนังสือควรคำนึงถึงความมุ่งหมายในการอ่านของเด็ก เพื่อจะได้จัดทำหนังสือได้ตามความมุ่งหมาย

จุดมุ่งหมายของการจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก
การจัดทำหนังสือสำหรับเด็กควรคำนึงถึงความสนใจ ความต้องการของเด็กและจุดมุ่งหมายในการเขียนให้ชัดเจน การจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายหลายประการ ดังนี้
1. สร้างเสริมทัศนคติ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้นในเด็ก
2. ให้เด็กอ่านหนังสือได้อย่างมีทักษะ มีความแตกฉานในด้านการอ่าน และความเข้าใจ
3. ปลูกฝังค่านิยมและคุณธรรมที่พึงปรารถนาแก่เด็กตั้งแต่แรกเริ่ม
4. ให้เด็กได้รับความเพลิดเพลิน สนุกสนานจากการอ่าน
5. ให้เด็กได้รับความรู้ และข่าวสารต่าง ๆ ตลอดจนวิทยาการใหม่ ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
6. ส่งเสริมเชาว์ปัญญาและการพัฒนาสติปัญญาของเด็กในทางที่เหมาะสมและสอดคล้องกับค่านิยมที่พึงปรารถนาของสังคม
7. ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และวิสัยทัศน์กว้างไกล
8. เพื่อพัฒนาทักษะในด้านภาษาที่เหมาะแก่เด็ก
9. ส่งเสริมให้เด็กใช้เวลาว่างให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด
นอกจากนี้ การจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก ควรคำนึงถึงเรื่องทักษะในด้านการอ่านให้แตกฉาน คล่องแคล่ว จนสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่าน และจับประเด็นที่สำคัญของเรื่องได้ ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มพูนความรู้และความสนุกสนานเพลิดเพลิน
“หนังสือกับชีวิตเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก คนสร้างหนังสือและหนังสือให้ประโยชน์แก่คนต่อ ๆ ไป ชีวิตคนและหนังสือจึงมีความพัวพัน และสัมพันธ์กันจนแยกไม่ออก ขาดคน หนังสือก็ไม่มีการเพิ่มพูนเพราะคนสร้างหนังสือและหนังสือสร้างคน” การจัดทำหนังสือสำหรับเด็กให้มีคุณภาพนั้น ผู้จัดทำจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ แนวทางในการจัดทำ เพื่อจะได้จัดทำหนังสือสำหรับเด็กได้เหมาะสมกับวัย ประสบการณ์ และความสนใจของเด็ก
แนวการจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก
หนังสือสำหรับเด็กที่นิยมอ่านกันในปัจจุบันนี้ ประมวลวิธีการจัดทำเป็น 4 แนว ดังนี้
1.การแต่งโดยอาศัยเค้าเรื่องเดิม
การแต่งโดยอาศัยเค้าเรื่องเดิม หมายถึง การผูกเรื่องขึ้นโดยอาศัยเค้าเรื่องจากวรรณกรรม หรือวรรณคดีที่มีอยู่แล้วมาดัดแปลงหรือตัดทอนไปบ้างตามที่เห็นสมควร การผูกเรื่องโดยวิธีนี้ ทำให้เรื่องราวในวรรณกรรมหรือวรรณคดีเดิมได้รับการนิยม และอยู่ในความทรงจำของเด็กรุ่นใหม่ การผูกเรื่องโดยวิธีนี้แบ่งเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1.1 แต่งโดยอาศัยวรรณกรรมมุขปาฐะ เป็นการผูกเรื่องราวต่าง ๆ โดยอาศัยวรรณกรรมที่ถ่ายทอดกันมาด้วยวาจาเป็นหลัก อาจนำมาจากบทกล่อมเด็ก บทปลอบเด็ก บทเล่นของเด็ก และปริศนาคำทาย เช่น เรื่องจันทร์เจ้าขา เป็นต้น
1.2 แต่งโดยอาศัยนิทาน เป็นการผูกเรื่อง โดยอาศัยเรื่องเล่าประเภทนิทานต่าง ๆ จากนิทานพื้นบ้าน ชาดก อีสป และเทพนิยาย เช่น เรื่องมโนราห์ โสนน้อยเรือนงาม ปลาบู่ทอง เป็นต้น
1.3 แต่งโดยอาศัยวรรณคดี เป็นการผูกเรื่องโดยตัดทอนจากวรรณคดีที่มีผู้รู้จักกันแพร่หลาย เช่น เรื่องพระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน สามก๊ก รามเกียรติ์ เป็นต้น
1.4 แต่งโดยอาศัยประวัติศาสตร์ เป็นการผูกเรื่องจากเหตุการณ์ที่สำคัญ บางตอนในประวัติศาสตร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาแต่งใหม่ เช่น ขุนศึก ผู้ชนะสิบทิศ เรื่องชาวบ้านบางระจัน นายขนมต้ม เป็นต้น
1.5 แต่งโดยอาศัยสุภาษิตคำพังเพย เป็นการผูกเรื่องโดยอาศัยสุภาษิตหรือคำพังเพยที่มีคติสอนใจ ซึ่งปรากฎในสังคมมาผูกเป็นเรื่องขึ้นใหม่ เช่น เรื่องได้ทีขี้แพะไล่ ใจดีสู้เสือ เป็นต้น
1.6 แต่งโดยอาศัยวัฒนธรรมและประเพณี เป็นการผูกเรื่องโดยอาศัยประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่นมาผูกเป็นเรื่อง เช่น เรื่องวัฒนธรรมโบราณบ้านเชียง เมื่อคุณยายยังเด็ก เป็นต้น
2. การแต่งโดยผูกเรื่องขึ้นมาใหม่
การแต่งโดยผูกเรื่องขึ้นมาใหม่ หมายถึง การคิดแต่งเรื่องขึ้นมาใหม่ ซึ่งเกิดจากจินตนาการหรือความคิดสร้างสรรค์ของผู้แต่ง อาจแต่งเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้ การผูกเรื่องขึ้นใหม่นี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้วงการหนังสือสำหรับเด็กได้พัฒนาอย่างแพร่หลาย เช่น เรื่องเด็กน้อยกับต้นไม้ ลูกไก่แสนสวย และสามสีอยากเป็นเสือ เป็นต้น
3. การแต่งโดยดัดแปลงลักษณะคำประพันธ์
การแต่งโดยดัดแปลงลักษณะคำประพันธ์ หมายถึง การนำเรื่องเดิมที่มีผู้แต่งไว้แล้วมาดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงคำประพันธ์ใหม่จากร้อยแก้วเป็นร้อยกรองหรือจากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว ขึ้นอยู่กับรูปแบบ สาระ และจุดมุ่งหมายในการแต่งเรื่องเป็นสำคัญ เช่น สังข์ทอง พระอภัยมณี เป็นต้น
4. การแต่งโดยรับแนวคิดหรือแปลจากภาษาต่างประเทศ
การแต่งโดยรับแนวคิดหรือแปลจากภาษาต่างประเทศ หมายถึง การจัดทำหนังสือสำหรับเด็กโดยรับแนวคิดมาจากหนังสือภาษาต่างประเทศที่นิยมอ่านกันแพร่หลาย สามารถจำแนกได้ 3 ประเภท ดังนี้
4.1 รับมาเฉพาะเค้าโครงเรื่อง เป็นการจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก โดยผูกเรื่องขึ้นมาตามเค้าโครงเรื่องเดิมของต่างประเทศ แต่นำมาเรียบเรียงใหม่โดยใช้สำนวน ภาษา บรรยากาศ และตัวละครอย่างไทย รวมทั้งอาจดัดแปลงชื่อให้มีลักษะเป็นภาษาไทย เช่น เรื่องอะไรหนอ ถามว่า และสโมสรวานรลพบุรี เป็นต้น
4.2 รับมาทั้งเรื่องและรูปเล่ม เป็นการจัดทำหนังสือสำหรับเด็กที่รับเอาโครงเรื่องและรูปเล่มทั้งหมดจากหนังสือต่างประเทศ แล้วนำมาแปล หรือแปลงเป็นสำนวนภาษาไทยอย่างง่าย เช่น เรื่อง นกแก้วโชคดี หมาเจ้าปัญญา กระรอกสาวเลือกคู่ เป็นต้น
4.3 รับมาโดยตรงทั้งเล่ม เป็นการจัดทำหนังสือสำหรับเด็กที่ใช้วิธีถอดมาทั้งโครงเรื่อง เนื้อเรื่อง รูปภาพ โดยการเปลี่ยนแปลงจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย เช่น นิทานอีสป เป็นต้น
แนวในการสร้างหนังสือทั้ง 4 แนว ดังกล่าว เป็นหนังสือที่ผู้ใหญ่เขียนให้เด็กอ่าน แต่ปัจจุบันนี้เด็กอาจเขียนหนังสืออ่านเองหรือเขียนเพื่อให้เด็กอื่น ๆ อ่าน ดังจะเห็นได้ว่า ตลาดหนังสือฉบับกระเป๋าในปัจจุบันนั้น มีนักเขียนรุ่นเยาว์อยู่เป็นอันมาก หนังสือที่เด็กเขียนขึ้นนั้น โดยทั่วไปจะมี 3 ประเภท ดังนี้
1. หนังสือที่เด็กเขียนด้วยตัวเอง ด้วยความคิดสร้างสรรค์
2. หนังสือเด็กที่มีมาแต่เดิมนำมาขัดเกลาใหม่
3. หนังสือที่แฝงอยู่ในวรรณกรรมทั่วไป
แต่ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเด็กที่เขียนขึ้นในลักษณะใด การสร้างหนังสือสำหรับเด็กที่มีประสิทธิภาพผู้เขียนจะต้องมีความรู้และความเข้าใจชัดเจนในเรื่องขององค์ประกอบในการเขียน และหนังสือที่เด็กชอบ
หนังสือที่เด็กชอบอ่าน
ก่อนที่จะลงมือเขียนหนังสือสำหรับเด็ก ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กชอบในหนังสือต่าง ๆ เสียก่อน เพื่อจะได้วางโครงเรื่อง จัดรูปแบบ และหาภาพมาประกอบได้ตรงกับความสนใจของเด็กอย่างแท้จริง
วิริยะ สิริสิงห์ ได้สรุปลักษณะของหนังสือที่เด็กชอบดังนี้
1.ชื่อเรื่อง
หนังสือที่เด็กชอบส่วนใหญ่ชื่อเรื่องจะเป็นสัตว์ และจะใช้คำว่า วิเศษ ลูก รวมอยู่ในชื่อเรื่องด้วย เช่น เรื่องลูกหมีเป็นหวัด ลูกไก่แสนสวย กระต่ายน้อยกับหินวิเศษ แต่เด็กไม่ชอบคำว่าน้อยรวมอยู่ในชื่อเรื่องเพราะธรรมชาติของเด็กคิดว่าตัวเองโตแล้ว
2. ปก
เด็กชอบหนังสือที่มีปกสีสดสวย ชอบปกมัน ๆ เช่น อาบพลาสติก หรืออาบมันมากกว่าปกที่พิมพ์สีแล้วไม่อาบมันหรืออาบพลาสติก
3. ราคา
หนังสือที่เด็กชอบมักมีราคาอยู่ระหว่าง 10 – 15 บาท ถ้าหนังสือมีราคาสูงขึ้น ผู้ปกครองก็มักไม่ยอมซื้อให้เด็ก มีหนังสือราคากว่า 25 บาท ที่เด็กชอบซื้ออ่านอยู่บ้าง เช่น เรื่องช้างเผือก เงือกน้อย เป็นต้น แต่ในปัจจุบันหนังสือจะมีราคาสูงขึ้น
4. ชื่อผู้แต่ง
ชื่อผู้แต่งไม่มีความหมายสำหรับเด็กเล็กเลย เด็กสนใจเรื่องและภาพประกอบในหนังสือมากกว่า แต่สำหรับเด็กโตชื่อผู้แต่งอาจมีความหมายในกรณีที่เด็กเคยอ่านเรื่องของผู้แต่งมาก่อน และเป็นที่ชอบพอของเด็ก
5. ภาพประกอบ
เด็กชอบภาพสีมากกว่าภาพขาวดำ ชอบภาพที่ระบายสีสวยงาม ชัดเจน ดึงดูดความสนใจ มีการเคลื่อนไหวเหมือนมีชีวิต และเด็กชอบฝันว่าสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ สามารถทำอะไรได้เหมือนคน เช่น เรื่องแมวพูดได้กระต่ายนุ่งกางเกงได้ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะความรู้สึกของเด็กกับผู้ใหญ่ไม่ตรงกัน ผู้ใหญ่คิดว่าเป็นนิทานโกหก ผิดธรรมชาติ นอกจากนี้เด็กชอบภาพที่ดูง่าย ไม่ซับซ้อน ชอบภาพลูกสัตว์เกือบทุกชนิด ยกเว้นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกหนอน งู ไส้เดือน
6. ตัวอักษรและภาษา
เด็กเล็กชอบหนังสือที่มีตัวอักษรธรรมดา ชัดเจน เด็กวัยรุ่นชอบตัวอักษรประดิษฐ์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาง่าย ชอบคำซ้อน คำคล้องจอง ที่มีจังหวะ
7. เนื้อเรื่อง
เด็กชอบเรื่องอ่านแล้วสนุก ตื่นเต้น ขบขัน ชวนหัวเราะ และชอบนิทาน เด็กเล็กชอบเรื่องที่มีตัวเอกเป็นสัตว์ สามารถเดิน วิ่ง เคลื่อนไหวอิริยาบท และพูดภาษาคนได้
8. กระดาษที่ใช้พิมพ์
เด็กชอบหนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษที่มีคุณภาพดี มีความหนามากกว่ากระดาษบาง และกระดาษปอนด์มากกว่ากระดาษปรู๊ฟ
9. ขนาดรูปเล่ม
หนังสือสำหรับเด็กที่นิยมมี 2 ขนาด คือ 8 หน้ายก และ 16 หน้ายก
10. ความหนาของหนังสือ
เนื่องจากเด็กชอบอ่านเรื่องไม่ยาวเกินไป ความหนาของหนังสือสำหรับเด็ก ควรมีขนาด 16 – 24 หน้า
ข้อควรคำนึงสำหรับการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก มีหลายประการดังนี้
1. บทนำต้องเร้าใจผู้อ่าน อยากให้อ่านเรื่อง
2. ตัวละครต้องมีชีวิตชีวา มีคำพูดที่เป็นธรรมชาติ
3. ต้องมีการกระทำที่จะดำเนินเรื่องไปสู่เป้าหมาย โดยมีเหตุการณ์ตามลำดับไปสู่จุดสุดยอด ซึ่งตรงกับเป้าหมายนั้น
4. ต้องมีความขัดแย้งหรือเกิดปัญหาที่ตัวเอกต้องประสบ ตัวเอกจะแก้ปัญหาด้วยการต่อสู้กับสิ่งหนึ่งสิ่งใด คนหนึ่งคนใด ด้วยการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
5. ต้องสร้างความตื่นเต้นระทึกใจให้แก่ผู้อ่านตลอดเวลาว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นหรือจะจบลงอย่างไร
6. ต้องถึงจุดสุดยอด คือ จุดเด่นที่สุด แล้วต้องจบทันที เพราะผู้อ่านพอใจแล้ว
เมื่อรู้จักลักษณะของหนังสือที่เด็กชอบตามสมควรแล้วผู้จัดทำหนังสือสำหรับเด็ก ควรได้รู้จักลักษณะและองค์ประกอบของหนังสือสำหรับเด็ก ซึ่งก็คล้ายกับหนังสือบันเทิงคดี โดยทั่วไปที่ต้องมีลักษณะสมเหตุสมผล เนื้อเรื่องสนุกสนาน ตื่นเต้น เหมาะสมกับวัยและควรสร้างความรู้สึกชื่นชม ยินดี สงสาร เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมให้เกิดขึ้นกับผู้อ่าน ตัวละครถึงจะมีคุณลักษณะเด่นพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง และที่สำคัญหากมีการเสนอปัญหาให้ขบคิด หนังสือนั้นจะเป็นที่ชื่นชมของเด็กมาก

ความรู้เกี่ยวกับการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก
ปัจจัยที่สำคัญในการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก คือ การศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ เช่น หนังสือ วิทยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต ที่เต็มไปด้วยข่าวสารข้อมูลที่ทันสมัย และหลากหลาย สามารถค้นคว้าได้อย่างรวดเร็ว สิ่งสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก มี 6 ประเภท ดังนี้
1. คุณสมบัติของผู้เขียน
คุณสมบัติของผู้เขียน หมายถึง คุณสมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญของผู้เขียน มีหลายประการ ดังนี้
1.1 ชอบอ่านหนังสือ ความรู้ที่ได้สะสมจากการอ่านหนังสือจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่เลือกชนิดของหนังสือที่อ่าน จะทำให้ผู้อ่านเป็นผู้มีความรู้กว้างขวาง และได้เห็นแบบอย่างการใช้สำนวนภาษา การเขียนที่ดี ๆ ของนักเขียนที่มีชื่อเสียง ซึ่งกลายเป็นวัตถุดิบอันสำคัญที่จะนำความรู้ ความคิด และวิธีการมาปรับใช้ ให้เหมาะสมกับงานเขียนของตน เพราะหนังสือนั้นเป็นคลังแห่งความรู้อันมีค่ายิ่ง
1.2 ช่างสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นการใช้วิจารณญาณอันเหมาะสม ในการที่จะเก็บรายละเอียดต่าง ๆ จากสิ่งที่ได้อ่าน ได้พบ ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง มาประมวลเป็นเรื่องราวเพื่อนำไปพัฒนาการเขียน ทำให้เพิ่มคุณค่าในงานเขียนของตนมากยิ่งขึ้น การเป็นคนช่างสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วนจะได้ประโยชน์มากที่สุด หากมีการบันทึกข้อความความคิดสำคัญ และอุปมาอุปไมยต่าง ๆ เพื่อจะได้นำไปใส่ในเรื่องที่ตนเขียนได้อย่างเหมาะสม
1.3 ความรู้จักคิด เป็นพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งของการเขียน เมื่อมนุษย์มีความรู้ มีความคิด ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มักอยากจะถ่ายทอดความรู้ ความคิด ไปให้ผู้อื่นได้รับรู้ ได้รับทราบความคิดของตน การถ่ายทอดนั้นอาจทำโดยวิธีเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือวาดภาพประกอบ หรือใช้สัญลักษณ์อื่น ๆ แทนความคิดและจินตนาการของตน ตามโครงเรื่องที่วางไว้อย่างสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ
1.4 ความขยันและความสม่ำเสมอ ความรู้ ความคิด การช่างสังเกต จะไม่มีประโยชน์อันใดหากผู้รู้ไม่มีความสม่ำเสมอในการเขียน และไม่ขยันเขียน ทุกสิ่งที่รู้ที่เห็นมาควรจะได้รับการถ่ายทอดเป็นตัวหนังสืออย่างสม่ำเสมอ การเขียนบ่อย ๆ เป็นการสร้างทักษะที่ดีที่สุด ทำให้เขียนคล่องขึ้น ง่ายขึ้น จนกลายเป็นนิสัย
2. หลักทั่วไปในการเขียน
หลักทั่วไปในการเขียน หมายถึง ศิลปะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร และถ่ายทอดความรู้ ความคิด ตลอดจนทัศนคติและอารมณ์ต่าง ๆ จากผู้เขียนไปสู่ผู้อ่าน การเขียน
น่ากลัว เพราะจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกหวาดผวา ผลสุดท้ายจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จะทำอะไรก็ขลาดกลัวตลอดเวลา
2.6 ถ้าเขียนเรื่องเป็นร้อยกรอง ควรใช้คำประพันธ์ง่าย ๆ เช่น กลอนสี่ กลอนหก กลอนแปด หรือกาพย์ยานี เป็นต้น ไม่ควรแต่งด้วยฉันท์ หรือโคลงดั้น เพราะเด็กอ่านเข้าใจได้ยาก
2.7 ถ้าเป็นไปได้ควรมีภาพประกอบเรื่องด้วย เพราะจะช่วยดึงดูดความสนใจจากเด็กได้มาก
หลักการเขียนดังกล่าว พอเป็นแนวทางในการเขียนเรื่องสำหรับเด็กได้พอสมควร ทั้งในรูปของการเขียนเรื่องเล่า หรือการเขียนความบรรยาย ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเรื่องราวที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก และอยู่ในความสนใจของเด็กเป็นสำคัญ ทั้งต้องคำนึงถึงการสอดแทรกข้อคิด ทัศนคติ ที่ดีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ด้วยเสมอ โดยเฉพาะค่านิยมที่เป็นนโยบายสำคัญของชาติ ที่จะต้องปลูกฝังในเยาวชนหรือเด็ก
3. ขบวนการเขียน
ขบวนการเขียน หมายถึง การเขียนเรื่องสำหรับเด็กให้ประสบผลสำเร็จ ผู้เขียนต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี มีความคิดแปลกใหม่ที่จะนำเสนอ มีกลวิธี และมีศิลปะในการใช้ภาษา ความสามารถในการจัดลำดับความคิด และความสามารถทางการประพันธ์ นอกจากนี้ผู้เขียนหนังสือสำหรับเด็กจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
3.1คิดให้เข้ากับเนื้อเรื่อง เป็นกระบวนการทางความคิดที่จะนำเรื่องราวต่าง ๆ มาเขียน โดยมีแหล่งข้อมูลและที่มาอยู่อย่างพร้อมสรรพ สามารถบอกได้ว่า จุดสำคัญของเรื่องที่จะเขียนอยู่ตรงไหน จะถ่ายทอดออกไปอย่างไร ซึ่งการคิดให้เข้ากับเนื้อเรื่องต้องประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
3.1.1 คิดในสิ่งรู้ เป็นการคิดในสิ่งที่เรามีความรู้อยู่อย่างจำเพาะเจาะจง แจ่มแจ้ง
3.1.2 คิดและเขียนในหัวข้อที่จำกัด เป็นการจำกัดวงที่จะเขียนให้แคบเฉพาะเรื่อง เท่าที่สามารถจะทำได้โดยใช้ถ้อยความที่กระชับรัดกุม
3.1.3 ให้ความกระจ่างในความคิด เป็นการถ่ายทอดความคิดของผู้เขียนไปสู่ผู้อ่านอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน เขียนถึงสิ่งที่ต้องการเขียนอย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม
3.2 การจัดระเบียบและเรียบเรียงความคิด เป็นวิธีการนำความคิดต่าง ๆ ที่ต้องการเขียนมาเรียงลำดับความสำคัญ และความสัมพันธ์ของข้อความ เนื้อเรื่อง นำมาเรียงลำดับลดหลั่นกันไป จะให้ความคิดใดเป็นความคิดหลัก ความคิดใดเป็นความคิดรอง หรือความคิดสนับสนุนเพื่อให้ความคิดหลักมีเหตุผลน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น และต้องจัดลำดับความคิดนั้นให้สอดคล้องกับลำดับของเรื่องที่จะเขียนด้วย
3.3 การกระชับเนื้อความ เป็นการเขียนเรื่องด้วยการใช้ภาษาที่สั้นกระทัดรัด ไม่เยิ่นเย้อ ตั้งประเด็นในการเขียนให้แจ่มชัดว่าจะเขียนอะไร เขียนอย่างไร ใช้องค์ประกอบอะไรบ้าง มีรายละเอียดสำคัญอย่างไร มีข้อเท็จจริงสนับสนุนมากน้อยเพียงใด
4. การเสนอความคิดใหม่
การเสนอความคิดใหม่ หมายถึง การเสนอความคิดไปสู่ผู้อ่านด้วยภาษาที่ง่ายแจ่มแจ้ง ชัดเจน สามารถถ่ายทอดความคิดให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายว่า เราคิดอะไร ต้องการจะบอกอะไรกับผู้อ่าน ทั้งนี้ความคิดที่นำเสนอนั้นต้องมีความสอดคล้องกันตลอดทุกย่อหน้า ทั้งรายละเอียด ความคิดเห็น ทัศนคติ เหตุการณ์ เรื่องราว และการยกตัวอย่างประกอบ เพื่อสนับสนุนเรื่องราวให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
5. ท่วงทำนองการเขียน
ท่วงทำนองการเขียน หมายถึง ลักษณะเฉพาะของผู้เขียนแต่ละคน อันเกิดจากความคิดเห็น และความสามารถเฉพาะตัว ซึ่งสังเกตได้จากการเลือกสรรการใช้สำนวนภาษาและการใช้ถ้อยคำ ท่วงทำนองการเขียนสามารถเลียนแบบกันได้ในช่วงระยะแรกเท่านั้น เมื่อผู้เขียนมีความชำนาญมากขึ้น ก็จะเขียนตามแบบของตน ลักษณะของท่วงทำนองการเขียนที่ดี มีดังนี้
5.1 มีความชัดเจน แจ่มแจ้ง ไม่คลุมเครือ
5.2 ใช้คำเรียบ ๆ ง่าย ๆ ผูกประโยคสั้น กะทัดรัด
5.3 มีจุดมุ่งหมายแน่นอน เขียนตรงไปตรงมา
5.4 มีเนื้อหาสาระ และการสะกดการันต์ถูกต้อง ใช้ภาษาตรงกับความนิยม
5.5 รู้จักเลือกสรรถ้อยคำ และเลือกเรื่องที่จะเขียนให้เหมาะสม
5.6 มีแนวความคิดแปลกใหม่ ดึงดูดความสนใจผู้อ่านได้ดี
5.7 มีความไพเราะ เหมาะสมกลมกลืนกัน ระหว่างการใช้ถ้อยคำ ประโยค และความสอดประสานของ
เนื้อหา
5.8 ข้อความแต่ละตอนมีความสัมพันธ์กัน
5.9 ผูกประโยคและเลือกคำใช้อย่างสละสลวย ให้อารมณ์และความรู้สึก
5.10 สามารถใช้สำนวนโวหารโน้มน้าวใจผู้อ่านให้คล้อยตามได้ตามสมควรแก่กรณี
6. กลวิธีในการแต่ง
กลวิธีในการแต่ง หมายถึง วิธีการที่จะจูงใจให้ผู้อ่านติดตามงานเขียนของตนได้ตั้งแต่ต้นจนจบ กลวิธีการเขียนที่ดีที่สุดต้องอาศัยศิลปะหลายประการ ดังนี้
6.1 มีศิลปะในการเลือกสรรเรื่อง เรื่องที่จะเขียนทั้งโครงเรื่อง เนื้อเรื่อง และการจัดลำดับต้องสอดคล้องกัน ต้องเลือกเรื่องที่น่าสนใจ เรื่องราวต้องมีความสมเหตุสมผล เพื่อให้ผู้อื่นมีความเห็นคล้อยตามผู้เขียน เพราะฉะนั้น ถ้าผู้เขียนมีเหตุผลและแสดงเหตุผลนั้นออกมาได้ชัดเจน ก็จะทำให้งานเขียนนั้นน่าเชื่อถือได้มากยิ่งขึ้น ทั้งตัวละคร ฉาก บทสนทนา บรรยากาศ กาลสมัย ความรู้สึกนึกคิด มีข้อขัดแย้งที่เป็นเหตุเป็นผลกัน
6.2 มีศิลปะในการใช้ถ้อยคำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในงานเขียน ผู้เขียนจะต้องรู้ถ้อยคำมากเพียงพอ เพื่อจะได้เลือกใช้ถ้อยคำที่ลึกซึ้ง กินใจ มีคติสอนใจ ความสะเทือนอารมณ์ จินตนาการ และมีความสนุกสนานเพลิดเพลินได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
6.3 มีศิลปะในการใช้ถ้อยคำสร้างมโนภาพในใจแก่ผู้อ่าน มีความสามารถบรรยายความได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง
6.4 มีศิลปะในการใช้คำประพันธ์ได้เหมาะสมกับเนื้อความ ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
6.5 มีศิลปะในการประสานองค์ประกอบได้เหมาะสมสอดคล้องกันทั้งเนื้อหา รูปแบบ วิธีการประพันธ์ และกฎเกณฑ์สากล
6.6 มีศิลปะในการแสดงทัศนะและแนวคิด ได้อย่างแหลมคม และแนบเนียน ไม่ดูว่าเป็นการอวดรู้หรือสั่งสอนผู้อ่าน
6.7 มีศิลปะในการใช้ถ้อยคำกระทัดรัด หมดจดงดงาม ให้ความหมายตรงไปตรงมา
6.8 มีศิลปะในการเสนอเรื่องสอดใส่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ลงในงานเขียนของตน
6.9 มีศิลปะในการใช้โวหารเปรียบเทียบ มีการเล่นคำ และศิลปะในการใช้ถ้อยคำลุ่มหลง
เทคนิคการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก
การเขียนหนังสือสำหรับเด็กนั้นเป็นเรื่องยาก ต้องอาศัยทั้งหลักวิชาและศิลปะในการสร้างสรรค์งานที่ต้องสื่อความเข้าใจให้แก่เด็กอย่างตรงไปตรงมา ดังนั้นในการเตรียมการเขียนเรื่องสำหรับเด็กจึงต้องมีเทคนิคหลายประการ ดังนี้
1. การให้ความคิดที่เป็นแกนกลาง
การให้ความคิดที่เป็นแกนกลาง หมายถึง เรื่องที่จะเขียนต้องให้ความคิดที่เป็นแกนกลางว่าต้องการให้เด็กรู้อะไร และคิดว่าเด็กควรรู้อะไรบ้าง
2. การถ่ายทอดความคิด
การถ่ายทอดความคิด หมายถึง การรวบรวมความคิดจากการอ่าน การฟัง การสังเกต และประสบการณ์ให้ได้มากที่สุดและแสดงออกในโอกาสต่างกัน เพื่อสามารถถ่ายทอดงานเขียนได้อย่างเหมาะสม
3. การแสดงพฤติกรรมในวัยเด็ก
การแสดงพฤติกรรมในวัยเด็ก หมายถึง การทำใจให้อยู่ในวัยเด็ก เพื่อจะได้มองย้อนกลับไปว่าชอบเรื่องประเภทใด และพฤติกรรมที่แสดงออก ต้องเป็นพฤติกรรมของเด็ก ๆ และไม่นำผู้เขียนเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องเพราะเด็กไม่สนใจ
4. การเขียนตัวละครให้สมจริง
การเขียนตัวละครให้สมจริง หมายถึง การเขียนตัวละครให้มีชีวิตสมจริง คิด และทำอะไรคล้ายคนจริง ๆ และมีชื่อตัวละครร่วมสมัย
5. การใช้ภาษา
การใช้ภาษา หมายถึง การเลือกใช้ภาษาง่าย ๆ ตรงไปตรงมา ถูกต้อง และตรงกับความรู้สึกนึกคิด ใช้คำที่มีน้ำหนักและมีพลังในการโน้มน้าวผู้อ่านให้มีอารมณ์คล้อยตามไปกับตน และรู้จักพลิกแพลงถ้อยคำ สำนวน ให้สละสลวย น่าอ่าน เหมาะสมกับวัยของเด็ก บทสนทนาในบางครั้งต้องใช้ภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน หรือถ้าจะใช้ภาษาเขียนก็ควรเป็นภาษากึ่งแบบแผนมากกว่าภาษาแบบแผนและการผูกประโยคควรเป็นประโยคความเดียวไม่ซับซ้อน เพื่อทำให้เกิดภาพพจน์ติดตา ตรึงใจ แก่ผู้อ่านทั้งเด็กและผู้ใหญ่
6. การเขียนเนื้อเรื่อง
การเขียนเนื้อเรื่อง หมายถึง การเขียนเนื้อเรื่องให้สนุกสนาน เร้าใจ มีสาระ และใช้บทสนทนาที่สั้น กะทัดรัด
7. การเขียนพฤติกรรมของตัวละคร
การเขียนพฤติกรรมของตัวละคร หมายถึง การเขียนพฤติกรรมของตัวละคร เนื่องในโอกาสและสถานการณ์ต่าง ๆ กัน ได้อย่างถูกต้อง สมจริง ตามบทบาทและหน้าที่ของตน และการกระทำของตัวละครในโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างสมจริง
8. การใช้สำนวนโวหาร
การใช้สำนวนโวหาร หมายถึง การเลือกใช้สำนวนโวหารให้เหมาะสมกับตัวละคร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาถิ่น ศัพท์สแลง และภาษาต่างประเทศ ตลอดจนใช้สำนวนเปรียบเทียบและโวหารต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด
9. การใช้ภาษาร้อยกรอง
การใช้ภาษาร้อยกรอง หมายถึง การเลือกสรรใช้ภาษาที่ประณีต ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
9.1 ใช้คำง่าย คำไพเราะ
9.2 ใช้คำที่มีความหมายชัดเจน ไม่กำกวม เพื่อความเข้าใจง่าย
9.3 ใช้คำที่มีความหมายใกล้ตัวเด็ก แต่งเข้ากับทำนองเพลงไทย ทำให้เด็กจำง่าย
9.4 ต้องสอดแทรกข้อคิด คติธรรมที่มีคุณค่า และมีอารมณ์ขัน เพื่อให้เด็กประพฤติและปฏิบัติตามในทางที่ถูกต้อง เช่น ความมีน้ำใจ ความเสียสละ ความกล้าหาญ และความกตัญญู เป็นต้น
การจัดทำหนังสือสำหรับเด็กที่กล่าวมาแล้ว เป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการจัดทำ ส่วนรายละเอียดที่จะส่งเสริมทักษะด้านความรู้ จินตนาการ ความมั่นใจ และให้ความบันเทิงเพื่อเพิ่มสีสันให้กับหนังสือสำหรับเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้เขียนหนังสือสำหรับเด็กต้องศึกษาหนังสือที่เด็กชอบ หลักการเขียนทั่วไป เทคนิคการเขียน และต้องเป็นผู้ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ ตามภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน เพื่อให้การจัดทำหนังสือสำหรับเด็กประสบความสำเร็จ

……………………………………………………………………………………




 

Create Date : 06 กันยายน 2553
9 comments
Last Update : 6 กันยายน 2553 11:41:23 น.
Counter : 29177 Pageviews.

 



*~*~*~*แวะมาทักทายจ๊ะ..ขอให้มีความสุข สดใส..หัวใจเบิกบาน*~*~*~*

..HappY BrightDaY..

 

โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* 6 กันยายน 2553 14:03:14 น.  

 

ข้อความที่ลงไว้นี้มาจากหนังสือเล่มไหนต้องการนำไปอ้างอิงในการสร้างหน้งสือสำหรับเด็กวิจัยผลงาน ขอบคุณ

 

โดย: ครูโคราช IP: 113.53.45.81 20 พฤศจิกายน 2553 20:00:17 น.  

 

ฃอบคุณมากค่ะ

 

โดย: ติ๊ก IP: 182.93.160.51 1 มกราคม 2554 16:09:43 น.  

 

เรื่องเรียนไว้ที่หลัง ขาอ่อนมาก่อน

 

โดย: Dikking room IP: 180.180.47.141 27 มกราคม 2554 20:44:12 น.  

 


กำลังทำวิจัยเรื่องนี้อยู่เข้าใจแจ่มแจ้งเลย

 

โดย: krusu IP: 61.19.67.103 17 มีนาคม 2555 21:44:11 น.  

 

เยอะจังเลยแต่ได้สาระดีมาก

 

โดย: ปลา IP: 115.87.149.23 22 พฤษภาคม 2555 17:56:32 น.  

 

อยากได้เอกสารอ้างอิงที่เขียนคะ

 

โดย: เนตรดาว ใจจันทร์ IP: 106.0.195.55 25 พฤษภาคม 2555 8:39:58 น.  

 

เป็นประโยชน์มากๆ คะ super thank you

 

โดย: ครูจิ๊บ IP: 203.114.124.58 10 กันยายน 2555 9:54:58 น.  

 

Hello,

New club music, download MP3/FLAC, Label, LIVESETS, Music Videos https://0daymusic.org


0daymusic Team

 

โดย: CraigTax IP: 51.210.176.129 11 เมษายน 2567 13:20:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


dinhin
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ผมชอบวาดรูปครับ
Friends' blogs
[Add dinhin's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.