ความจริง-ความดี-ความงาม.........พยายาม-ส่งมอบ-ให้ปวงชน <<<<<<<<<<<<<<<<<
Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
25 เมษายน 2554
 
All Blogs
 
หอพระสุลาลัยพิมาน : มุขกระสันแบบจีน - หอพระแบบไทย . . . ในวังหลวง


.

.

.





.

.

.



ในบรรดาบ้านไทยของผู้มีอันจะกิน มักจะนิยมมีห้องที่สำคัญอยู่ 2 ห้อง

ได้แก่ "ห้องพระ" ห้องหนึ่ง ใช้เป็นห้องสำหรับเก็บวัตถุมงคลที่เคารพบูชา

ของเจ้าของบ้าน เช่นพระพุทธรูป และยังใช้เป็นที่สวดมนต์ ไหว้พระด้วย


อีกห้องหนึ่งคือ "ห้องเก็บอัฐิ" ของบรรพบุรุษ ซึ่งบางบ้านจะเก็บไว้เคารพ

บูชาเป็นการแสดงกตัญญุตา




ในสมัยแรกสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระบรมราชโองการให้

สร้าง "หอพระเจ้า" ไว้ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งไพศาลทักษิณ

ตรงข้ามกับพระที่นั่งราชฤดี และนี่คือ "หอพระ" ของพระบรมมหาราชวัง ใช้

ประดิษฐานปูชนียวัตถุ เช่น พระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปสำคัญต่างๆแห่ง

สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า และต่อมาภายหลังได้รับการเรียกขนาน

นามว่า "หอพระสุลาลัยพิมาน" นอกจากพระบรมสารีริกธาตุแล้วยังมีพระ

พุทธรูปสำคัญ เช่น พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกตองค์น้อย)

พระชัยนวโลหะ พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล พระพุทธปฏิมากรห้ามสมุทร

พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย(พระพุทธรูปแก้วผลึกเพชรน้ำค้าง)

พระนิรันตราย เป็นต้น และในเทศกาลสงกรานต์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

และสมเด็จฯ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เคยเสด็จมาสรงน้ำพระพุทธรูป

สำคัญที่หอพระสุลาลัยพิมานแห่งนี้เป็นประจำ



ที่คู่กับหอพระสุลาลัยพิมานและอยู่ตรงข้ามกัน คืออยู่ทางทิศตะวันตกของ

พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ใช้เป็นที่เก็บพระโกศพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรม

ราชบุพการี เรียกว่า "หอพระธาตุมณเฑียร"



ลักษณะทางสถาปัตยกรรม และการตกแต่งภายในเป็นการผสมผสานของ

ศิลปะไทยกับจีน ตัวอาคารเป็นอาคารทรงไทยขนาดเล็กชั้นเดียว ยกพื้นสูง

3 เมตร ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดยาวจากทิศเหนือไปใต้ มีพระทวารทางเข้า

ทางเดียวหลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์

นาคสะดุ้ง ประดับกระจกสีทอง หน้าบันจำหลักไม้ลายกระหนก เครือวัลย์ลง

รักปิดทอง ลายพุดตาลใบเทศ ซุ้มพระทวารและพระบัญชรเป็นซุ้มทรงอย่าง

เทศ ปั้นปูนลายดอกไม้ ลงรักปิดทอง พื้นปูด้วยเสื่อหวายเนื้อละเอียดแบบ

จีน ตรงกลางปูทับด้วยพรมแดง ภายในหอพระด้านเหนือ ตั้งพระแท่นบูชาทำ

ด้วยไม้จำหลักลายประดับกระจก ประดิษฐานปูชนียวัตถุต่างๆ และมีแท่น

จำหลักลายปิดทองตั้งเขาก่อ เป็นรูปเขาไกรลาส ภายใต้แท่นตั้งนาฬิกา

แบบโบราณ





..................................................................




ส่วนที่มีอิทธิพลของศิลปะจีนเข้ามาสอดแทรก ได้แก่

1. ลายพุดตานใบเทศที่หน้าบันแกะไม้ปิดทอง ดอกพุดตานทางจีนเรียกว่า

"ฝูหรุง" (芙蓉 ) นิยมนำมาตกแต่งเป็นลายประดับ จะเห็นบ่อยๆในเครื่องลายคราม

2. ซุ้มพระทวาร (ประตู) และซุ้มพระบัญชร (หน้าต่าง) เป็นซุ้มลายปูนปั้น

"อย่างเทศ" ตอนบนเป็นรูปทรงคล้ายแจกันดอกไม้ ลงรักปิดทอง

3. บานพระบัญชรด้านนอกเขียนลายทองบนพื้นแดงเป็นลาย "นกไม้" (花鳥)

และเขาไกลาสตัดเส้นสีดำ ด้านในเขียนลายทองบนพื้นแดง เป็นรูปม่าน

แหวก 2 ข้าง แขวนเครื่องมงคลอย่างจีน

4. บานพระทวารด้านนอก เป็นรูปขุนนางจีน 2 คน ส่วนด้านในเป็นรูปม่าน

แหวกแขวนเครื่องมงคลแบบเดียวกับบานพระบัญชร

5. ภายในหอพระด้านทิศเหนือ มีพระแท่นสูงทำด้วยไม้จำหลักปิดทอง ตั้ง

"เขาก่อ" เป็นรูปเขาไกลาส ภายใต้แท่นตั้งนาฬิกาแบบโบราณ

6. พื้นหอพระปูด้วยเสื่อหวายเนื้อละเอียดแบบจีน (ในอดีตปูด้วยเสื่อที่มา

จากเมืองจีน)

7. มุขกระสัน (คือส่วนที่เชื่อมระหว่างพระที่นั่งไพศาลทักษิณ กับ หอพระ)

เป็นส่วนที่เป็น "แบบจีน" มากที่สุด ตั้งแต่หลังคา เสา ราวบันไดทางขึ้น

ตลอดจนกระถางบัวศิลาจำหลักลวดลาย เป็นแบบศาลเจ้าจีนทั้งสิ้น มีตุ๊กตา

สตรี 1 คู่ เฝ้าตอนบนเหนือบันได ราวบันไดมีมังกรคู่ เชิงบันไดเป็นสิงโตคู่

ทางเข้าหอพระจากมุขกระสัน มีตุ๊กตาชาย-หญิงเฝ้า บันไดเตี้ยๆ 3 ขั้นมีปลา

มังกรกระเบื้องเคลือบประดับอยู่ 1 คู่

ทางเข้ามุขกระสันด้านหลัง เป็นช่องประตู มีตุ๊กตาจีนผู้ชาย 1 คู่ เฝ้าอยู่

ลายเขียนบนผนังภายในมุขกระสันเป็นรูปเครื่องบูชาต่างๆบนชั้นและกี๋แบบ

จีน มีทั้งแจกันดอกไม้ พานผลไม้ กระถางธูป เต็มพื้นที่ผนัง


หอพระสุลาลัยพิมานนี้ ได้รับการปรับปรุงปฏิสังขรณ์ใหม่เกือบทั้งหมดใน

สมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งพระราชนิยมแบบจีนนี้ไม่เคยปรากฏในรัชกาลก่อน จึง

สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะอิทธิพลที่ทรงค้าสำเภากับจีนนั้นเอง






เชิญชมรูปได้เลยครับ . . . . . . .







1

ทางเข้ามุขกระสันด้านหน้าหอพระสุลาลัยพิมาน


2

ประตูด้านหลังหอพระสุลาลัยพิมาน


3

ด้านข้างของหอพระสุลาลัยพิมาน


4

ซุ้มทรง "อย่างเทศ" ที่พระบัญชร


5

พระทวารด้านในเขียนภาพเครื่องมงคลแบบจีน


6

เขาก่อและนาฬิกาด้านหลังในหอพระสุลาลัยพิมาน


7

ปลามังกรกระเบื้องเคลือบประดับหน้าทางเข้าหอพระสุลาลัยพิมาน


8

ทางเข้ามุขกระสันด้านหลังหอพระสุลาลัยพิมาน


9

ตุ๊กตาจีนผู้ชาย 1 คู่ เฝ้าเป็นทวารบาล


10

อัฒจันทร์ทางขึ้นมุขกระสันด้านหลังหอพระสุลาลัยพิมาน


11

ตุ๊กตาจีนผู้หญิง 1 คู่ ยืนตรงเหนือบันไดทางขึ้นมุกกระสันด้านหลังหอพระสุลาลัยพิมาน


12

การตกแต่งภายในมุขกระสัน (1)


13

การตกแต่งภายในมุขกระสัน (2)


14

ภาพขยายลายตกแต่งบนผนังภายในมุขกระสัน





.......................................................






จะเห็นได้ว่าพระราชนิยมในสมัยรัตนโกสินทร์ในการออกแบบสร้าง

พระบรมมหาราชวัง ตลอดจนวังของเจ้านายต่างๆ ได้มีการพัฒนาไปตาม

กระแสความนิยมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมาย การได้ศึกษาและอนุรักษ์

มรดกอันล้ำค่าเหล่านี้เพื่อให้คงดำรงสภาพที่สมบูรณ์แบบเดิมให้มากที่สุด

จะเป็นแหล่งเรียนรู้ ตลอดจนเป็นประจักษ์พยานแห่งความก้าวหน้าในด้าน

สถาปัตยกรรมที่ไทยเรามีมาแต่โบราณกาลและได้คลี่คลายวิวัฒนามาอย่าง

ไม่ได้หยุดนิ่ง


นี่คือความภาคภูมิใจในชาติไทย ในสถาบันพระมหากษัตริย์

ที่ข้องเกี่ยวผูกพันจิตใจของประชาชนไทยตลอดมา

ผูกพันราษฎรทุกชาติภาษาในแผ่นดินไทยตลอดมา

เชื่อมต่อผสานความเป็นไทย-จีนให้กลมกลืนกันอย่างน่าชื่นชมยิ่งนัก








หนังสืออ้างอิง :

1. พระบรมมหาราชวัง, สำนักพระราชวัง. พิมพ์ครั้งที่ 1 โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. 1 พย. 2547
(จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลสมัยที่ทรงดำรงสิริราชสมบัติครบ 60 พรรษา ใน พศ. 2549)

2.สถาปัตยกรรมพระบรมมหาราชวัง, สำนักราชเลขาธิการ, พิมพ์ครั้งที่ 1 โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984). เมย. 2531
(จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา เมื่อ 5 ธค. 2530 และ เนื่องในพิธีรัชมังคลาภิเษก 2 กค. 2531)

3. มรดกสถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์, สำนักราชเลขาธิการ, พิมพ์ครั้งที่ 1 โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984). สค. 2537
(จัดพิมพ์ในวโรกาสมงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อ 12 สค. 2535)




ปอลอ :

การเขียนสะกดมีปรากฏเป็น 2 แบบ คือ
มีทั้ง "สุลาลัยพิมาน" และ "สุราลัยพิมาน"




.................................................................................................................




สำหรับเพลงวันนี้ขอเสนอเพลงจีนบรรเลงโดย เซี่ยเทา (谢涛)
ด้วยกู่เจิ้ง(古筝) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ
ทรงโปรดมาก ชื่อเพลง "彜族舞曲" มีเท็คนิกการเล่นแพรวพราว
ไพเราะมากครับ







................................................




ขอเสนอฝีมือนักดนตรีชาวไทย ที่บรรเลงเครื่องดนตรีจีนคือ กู่เจิ้ง
ไพเราะไปอีกรสชาตินึงครับ เพลงจากภาพยนตร์ "เดชคัมภีร์เทวดา"
ผู้บรรเลงไม่บอกชื่อ บอกแต่ว่าเป็นมือใหม่และเล่นจะเข้มาก่อน
โลโก้ฉากหลังเป็นตรามหาวิทยาลัยมหิดล (เสียงซู่ซ่าแทรกมากตอนเริ่มเพลงครับ)






................................................



อีกคลิปเป็นกู่เจิ้งบรรเลงเพลง "เกาซานหลิวสุ่ย"
เป็นเวอร์ชั่นสำเนียงทางซานตุงโดยอาจารย์เกาจื้อเฉิง
ไพเราะไปอีกแบบ นักดนตรีฝีมือฉกาจฉกรรจ์มาก







ขอบคุณ You Tube ที่นำเพลงไพเราะมาสู่เราเสมอมา

................................................




สวัสดีครับ








Create Date : 25 เมษายน 2554
Last Update : 31 มกราคม 2555 23:26:15 น. 35 comments
Counter : 7160 Pageviews.

 
สวัสดียามเช้าครับพี่









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:6:49:03 น.  

 
แวะมาขอบคุณคำอวยพรวันเกิดดีๆ ค่ะ


โดย: Summer Flower วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:8:59:10 น.  

 
ขอบคุณคุณพี่ดิ่ง
ที่ได้นำเรื่องราวที่ผมและหลายๆคนไม่เคยทราบ
มานำเสนอครับ


โดย: panwat วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:9:33:48 น.  

 
ซุ้มทรง "อย่างเทศ" ที่พระบัญชร

สวยมากๆครับเลย
โห..
แต่ละรูปเห็นแล้วอยากไปเที่ยวเลยครับ ^^

สวัสดียามเช้านะครับพี่ดิ่ง ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:9:47:58 น.  

 
วาบิ ซาบิ


พี่ดิ่งพูดขึ้นมา
ผมนึกถึงการ์ตูนที่ตัวเองเขียนค้างไว้เลยครับ

เดี๋ยวเขียนต่อให้จบดีกว่าครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:14:24:53 น.  

 
หวัดดีค่ะคุณพี่..

ตุ๊กตาจีนผู้ชายนี่ หน้าจะดุกว่าผู้ิหญิงนิ ตุ๊กตาผู้หญิงดูหน้าตาใจดีกว่า

จีนไทยโยงกันมานานเหลือเกินนะคะ ศิลปะไม่มีขอบเขตพรมแดนจริงๆ สามารถนำมาเืชื่อมโยงเข้ากันได้อย่างไม่ขัดตา

บล็อกนี้ใ้ห้ความรู้อีกแล้ว ชอบตรงไม่ต้องไปนั่งหามาอ่านเองนี่แหละค่ะ ครูดิ่งป้อนให้ถึงปาก

อีกคำที่ได้จากบล็อกคุณพี่วันนี้.. "มุขกระสัน" อายุอานามป้าโซก็ไม่ใช่้น้อยๆแล้ว ไหงเพิ่งเคยได้ยินศัพท์คำนี้หว่า? หรือจะแก่แต่อายุ แต่ความรู้ยังเด็กนัก



คุณพี่อวยซะเขิลลล.. แก้วเสียงป้าโซมันประเภทแปร๋นแปร๋เป็นเีสียงช้างตกมันน่ะค่ะ คลิปที่ว่านั่นมันไม่ค่อยชัดนักค่ะคุณพี่ เพราะถ่ายแบบมือไม่นิ่ง วาดกล้องไปมาตามคนเต้น แล้วอีกคลิปที่แม่ร้องเพลงนั่นก็ร้องพร้อมๆกันหลายคน ไม่ได้ยินเสียงป้าโซหรอกค่ะ เจ้าตัวเล็กที่หัวเราะนั่นก็เพราะป้าโซแหย่ทำปากพะงาบๆให้เขาเห็น แหย่ลูกแล้วมีความสุข..อิอิ..

เชิญคุณพี่สดับความระห่ำค่ะ.. จัดให้ตามคำขอ แต่ไม่ใ่ช่คลิปในบล็อกที่เล่าถึงนะคะ .. อ่านถึงบรรทัดนี้คุณพี่ยังมีเวลาตัดสินใจก่อนที่จะคลิกค่ะ


อันนี้ฟังแล้ว Hopeless ค่ะ


อันนี้แบบหืดขึ้นคอ ..ขวัญใจเจ้าทุย..


อันนี้้บ้าดีเดือดจนได้รางวัล


พอขี้หูีร่วงนิคุณพี่ กร๊ากกก..





โดย: ป้าโซ วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:14:52:13 น.  

 

หวัดดีค่ะ..คุณ Dingtech
มาขอชมการบรรเลง"กู่เจิ้ง" เพราะๆสักเพลง 2 เพลงค่ะ

และขออนุญาตแวะมาแปะประกาศคณะปฏิวัติ
เอ๊ย!!!ประกาศกิจกรรมเพื่อนบล็อคด้วยค่ะ





ได้หยิบมา 5 ชื่อ เป็นดังนี้ค่ะ

1."ขยับตัวโน้ต มากระโดดบนแผ่นฟิล์ม"
(โดยคุณ MeMom) เพราะเก๋ดี

2."เพลงที่ใช่ กับหนังที่ชอบ"
(โดยคุณ i'm not superman) เพราะเก๋และsimple

3."เพลงดังหนังเด่นประเด็นเด็ด"
(โดยคุณหอมกร) ตรงชัด

4."หนัง+เพลง บรรเลงปากกา"
(โดย คุณ"ณ มน") เพราะตรง conceptและเข้าใจในทันที

5."ค้นหนังคว้าเพลง"
(โดยคุณ tuk-tuk@korat) เพราะแอบลึกเล็กๆและชัด




แถมด้วยคะแนนยอดนิยมพิเศษ 2 ท่านได้แก่
Popular 1.“เพลงไม่ดัง...หนังก็เงียบ”
(โดยคุณPanwat)
เพราะฮามากมาย

terbahak bahak



Popular2. "บันเทิงเริงฤดี"
(โดยคุณอุ้มสี)
ในกรณีที่จะเป็นคอลัมน์ของตัวเองในโอกาสต่อไป
(ใครจะรู้???)เราอาจจะได้เขียน
ในหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง คริ คริ

heart eye glass



โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:17:46:15 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณลุงดิ่ง^^


โดย: namfaseefoon วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:20:54:30 น.  

 

ขอบคุณที่นำภาพงามๆ มาฝากค่ะ



โดย: อุ้มสี วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:22:25:38 น.  

 
ครูดิ่งเล่าเรื่องอะไรก็น่าฟัง น่ารู้ไปหมดเลยค่ะ

ความรู้เท่าหางอึ่งจริง ๆ เรา อ่านบล็อคนี้ด้วยความตื่นตาตื่นใจ สถาปัตยกรรมของไทยนี่งดงามมหัศจรรย์จริง ๆ นะคะ ขอบพระคุณมากที่หาสิ่งดี ๆ มาฝากกันเสมอ


โดย: haiku วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:22:48:45 น.  

 
น่าทึ่งในความกล้าผสมผสานศิลปะสองชาติเข้าด้วยกันนะขอรับ แสดงความแนบแน่นของวัฒนธรรมทั้งสองฟากที่มีมาช้านาน ขนาดพระมหากษัตริย์ยังทรงนิยมนำมาฟิวชั่นเข้าด้วยกาน ..เกร๋ๆๆ

สมัยนี้ซะอีก หาความกล้า(ที่กลมกลืน)แบบนี้ไม่ค่อยได้ มักจะหัวมงกุดท้ายมังกือไปซ้า พยายามนึกถึงสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย(กับศิลปะจีน)ที่ทำได้มีรสนิยม นึกไม่ออกเอาจริงๆ นะขอรับ


โดย: น้องหมี (Bkkbear ) วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:22:56:29 น.  

 
พี่ดิ่งชมแล้วเขินเลยครับ
5555+


ขอบคุณนะครับพี่ดิ่ง ^^




อรุณสวัสดิ์นะครับ ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 26 เมษายน 2554 เวลา:8:30:55 น.  

 
ชอบอ่านเรื่องราวสถาปัตยกรรมไทยมาแต่ไหนแต่ไร

จึงอ่านด้วยความปลาบปลื้ม

งาม งาม และงามค่ะ :)


โดย: matabamania วันที่: 26 เมษายน 2554 เวลา:15:27:46 น.  

 
ตามมาอ่านครับ


โดย: Polarbee วันที่: 26 เมษายน 2554 เวลา:20:08:04 น.  

 
แวะมาเซฟลงเฟรนลิงค์อุ้มค่ะ
ขออนุญาตนะคะ
แหล่มค่ะแหล่ม


โดย: อุ้มสี วันที่: 26 เมษายน 2554 เวลา:22:17:32 น.  

 
เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและเปี่ยมคุณค่ามากๆเลยค่ะ ขอบคุณครูดิ่งที่นำมาฝาก


โดย: sawkitty วันที่: 27 เมษายน 2554 เวลา:20:38:47 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แวะมาเยี่ยมจร้า จะสิ้นเดือนงานเยอะจัง :)


โดย: สาวสะตอใต้ วันที่: 27 เมษายน 2554 เวลา:21:03:40 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แวะมาเยี่ยมจร้า จะสิ้นเดือนงานเยอะจัง :)


โดย: สาวสะตอใต้ วันที่: 27 เมษายน 2554 เวลา:21:05:41 น.  

 
...ขอบพระคุณค่ะ...

- - ทั้งความรู้...และดนตรี
- - ฟาร์เพลินอยู่ บล๊อคครูดิ่ง...เกิน ครึ่ง ช.ม.
- - อ่านทุก comment ด้วยค่ะ

....สุดยอดค่ะ..คุณครู....(ขอโทษที่มาช้าค่ะ)


โดย: go far far วันที่: 27 เมษายน 2554 เวลา:22:15:32 น.  

 



ผมเขียนผิด ลึมดูครับ 5555+
ปล่อยไก่ตั้งค่อนวัน
อายจัง อิอิ



อรุณสวัสดิ์นะครับพี่ดิ่ง ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 28 เมษายน 2554 เวลา:8:08:48 น.  

 
ผมก็พยายามโอ่งทำให้เป็นเหมือนแผ่นหินครับ 555555+

แต่สุดท้ายก็ไม่รอดสายตาพี่ดิ่ง 555+


" In the presence of eternity,

the mountains are as transient as the clouds "


ประโยคนี้ผมชอบมากๆเลยครับ
เทียบกับอนัตกาลแล้วจิ๊บๆจริงๆครับ^^





อรุณสวัสดิ์นะครับพี่ดิ่ง ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 29 เมษายน 2554 เวลา:8:23:12 น.  

 
หวัดดีค่ะคุณพี่..

อ้าว.. เม้นท์แนะนำนักร้องแก่ๆหายไปไหน?

ไม่ได้เข้ามาบอกคุณพี่ว่ามิได้รังเกียจรังงอนอะไรหรอกค้าาา.. เป็นพระคุณด้วยซ้ำ เข้าใจทำซะน่าร้ากกก เพียงแต่สังขารน้องป้ามันไม่อำนวย กลับจากงานเป็นพับหลับทู้กวัน คลิกเข้ามาอ่านๆแล้วสมองไม่อำนวยในการเม้นท์ เลยว่างๆการเยี่ยมเยียนไปบ้าง ได้เข้ามาเต็มที่ก็วันหยุดอย่างนี้แหละค่ะ แต่ขาโม้ในการเม้นท์อย่างป้าโซมันก็ใช้เวลานานในการเม้นท์แต่ละบ้าน เลยได้จำกัดเฉพาะที่เหมือนกานนน..


"เดินทางไกล" .. ขอให้ไปต่างจังหวัดนะคะ อย่าเดินทางไกลเรื่องอื่นเลย น้องนุ่งเป็นห่วง..

ขอให้ทริปนี้ของคุณพี่ปรอดโปร่งสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างดีนะคะ ไม่ว่าเป็นการเดินทางอย่างไหนก็เหอะ ขอส่งกำลังใจอย่างเพียบๆให้พี่ดิ่งเช่นเคยค่ะ เอ้า..ฮึ้บบบบบ..


ปล. กลับมาแล้วรบกวนแวะไปรายงานตัวที่คุณน้องด้วยนะคะคุณพี่


โดย: ป้าโซ วันที่: 1 พฤษภาคม 2554 เวลา:10:01:31 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง


มาเฝ้าบล็อกให้นะครับ อิอิอิ









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 พฤษภาคม 2554 เวลา:6:12:44 น.  

 
ขอให้พี่ดิ่งเดินทางปลอดภัยนะครับ ^^




อรุณสวัสดิ์นะครับพี่ดิ่ง ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 2 พฤษภาคม 2554 เวลา:8:52:33 น.  

 
แวะมาช้า ไม่ทันส่งครูดิ่งเลย รักษาสุขภาพด้วยนะคะ ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพค่ะ


โดย: haiku วันที่: 2 พฤษภาคม 2554 เวลา:22:29:10 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง










โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 พฤษภาคม 2554 เวลา:6:39:49 น.  

 
แวะมาดูบ้านให้ครูดิ่งค่ะ เดินทางไกลอย่างมีความสุขนะคะ


โดย: sawkitty วันที่: 3 พฤษภาคม 2554 เวลา:21:53:06 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่ดิ่ง








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 พฤษภาคม 2554 เวลา:7:24:21 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 พฤษภาคม 2554 เวลา:6:17:32 น.  

 


อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง


โดย: panwat วันที่: 6 พฤษภาคม 2554 เวลา:8:13:12 น.  

 
แวะมาดูลาดเลาว่าครูดิ่งกลับมาหรือยัง แต่นับนิ้วดูแล้ว ยังไม่ครบอาทิตย์ แต่ก็คงจะใกล้กลับมาแล้ว ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพนะคะ


โดย: haiku วันที่: 6 พฤษภาคม 2554 เวลา:16:20:59 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง










โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 พฤษภาคม 2554 เวลา:5:37:53 น.  

 
มาแอบดูพี่ดิ่ง อิอิ


กลับมารึยังน้อ ^^




อรุณสวัสดิ์นะครับพี่ ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 7 พฤษภาคม 2554 เวลา:10:05:08 น.  

 
ชะแว้บบบ.. มาเหล่ๆดูว่าผู้พี่กลับมาหรือยัง?
วันนี้บ่ายๆกะจะตะแล้บแก๊บไปทักละค่ะ แต่เกรงว่าจะเป็นการรบกวนเผื่อคุณพี่เิดินทางไปเรื่องการงานและอยู่ในระหว่างงาน เลยยั้งใจไว้.. รอพี่ดิ่งทางนี้ดีกว่านิ


ครบอาทิตย์วันนี้พอดีแล้ว(หรือเปล่า?) กลับมาไวๆนะค้าาา


โดย: ป้าโซ วันที่: 7 พฤษภาคม 2554 เวลา:16:19:38 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง

พี่ดิ่งเดาถูกครับ
ชื่อร้านจันกะผัก
ผวนมากจากท่านจักรพันธุ์นี่ล่ะครับ









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 พฤษภาคม 2554 เวลา:5:24:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Dingtech
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]









◉ ภุมราท้าโลกกว้าง . . เกินฝัน

หวังวาดสู่สวรรค์ . . . . . เวิกโพ้น

แท้คืนสู่สามัญ . . . . . . มละตื่น

ยังฉงนงวยโงกโง้น . . . .โง่ตื้นลืมตาย ฯ





Dingtech :

ผมเป็นคนธรรมดา ธรรมดา มาจากบ้านนอก
รักศิลปะทุกชนิด ทุกรูปแบบ ทุกสัญชาติ

รักชาติไทย รักประเทศไทย
รักคนไทยทุกคน จงรักภักดี และ
เคารพสักการะพระมหากษัตริย์ไทย

ยินดีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆทุกคนครับ





since 16 December 2009

New Comments
Friends' blogs
[Add Dingtech's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.