Group Blog
 
<<
มีนาคม 2549
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
18 มีนาคม 2549
 
All Blogs
 
ออกนอกกรอบ

โจทย์ข้อหนึ่งในข้อสอบวิชาฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนมีดังนึ้
"จงอธิบายว่าท่านจะใช้บารอมิเตอร์วัดความสูงของตึกระฟ้าได้อย่างไร?"

รู้จักกันนะครับ บาร์รอมิเตอร์นี่ก็คือเครื่องมือวัดความกดอากาศนั่นเอง
( อธิบายเพิ่มเติมก็คงต้องบอกว่า อากาศนั้นมันมีน้ำหนักหรือมีแรงกดนั่น และแรงกดของอากาศนั้นเมื่ออยู่ในระดับความสูงที่เปลี่ยนไปความกดอากาศก็ เปลี่ยนไปด้วย)
นักศึกษาคนหนึ่งเขียนคำตอบลงไปว่า
"เอาเชือกยาวๆ ผูกกับบารอมิเตอร์แล้วหย่อนลงมาจากยอดตึก แล้วก็เอาความยาวเชือกบวกความสูงบารอมิเตอร์ก็จะได้ความสูงของตึก"
ฟังดูเป็นอย่างไรครับคำตอบนี้ผมฟังครั้งแรกผมยังอมยิ้มเลยครับ
แต่อาจารย์ที่ตรวจข้อสอบไม่นึกขันอย่างผมด้วย

อาจารย์ ตัดสินให้นักศึกษาคนนั้นสอบตก นักศึกษาผู้นั้นยืนยันต่ออาจารย์ที่ปรึกษาว่า คำตอบของเขาควรจะถูกต้องอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง และคำตอบของเขาก็สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ ทางมหาวิทยาลัยจึงตั้งกรรมการชุดหนึ่งมาตัดสินเรื่องนี้ และในที่สุดคณะกรรมการก็มีความเห็นตรงกันว่า คำตอบนั้นถูกต้องอย่างแน่นอน แต่เป็นคำตอบที่ไม่แสดงถึงความรู้ความสามารถทางฟิสิกส์ดังนั้น

เพื่อ เป็นการแก้ข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทางคณะกรรมการจึงให้เรียกนักศึกษาคนนั้นมา แล้วให้สอบข้อสอบข้อนั้นอีกครั้งหนึ่งต่อหน้าโดยให้เวลาเพียง 6 นาที
เท่า กับเวลาในการสอบข้อสอบเดิม เพื่อหาคำตอบที่แสดงให้เห็นถึงความรู้ทางด้านฟิสิกส์ หลังจากผ่านไป3 นาทีนักศึกษาคนนั้นก็ยังนั่งนิ่งอยู่

กรรมการจึงเตือนว่า เวลาผ่านไปครึ่งหนึ่งแล้วจะไม่ตอบหรืออย่างไร

นักศึกษา หัวรั้นจึงตอบว่าเขามีคำตอบมากมายที่เกี่ยวกับฟิสิกส์ แต่ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้คำตอบไหนดี และเมื่อได้รับคำเตือนอีกครั้ง นักศึกษาจึงเขียนคำตอบลงไปดังนี้

ให้เอาบารอมิเตอร์ขึ้นไปบนดาดฟ้าตึกและทิ้งลงมา จับเวลาจนถึงพื้น ความสูงของตึกหาได้จากสูตร H=0.5g*t กำลัง2

หรือ ถ้าแดดแรงพอ ให้วัดความสูงบารอมิเตอร์แล้วก็วางบารอมิเตอร์ให้ตั้งฉากพื้น แล้ววัดความยาวของเงาบารอมอเตอร์ จากนั้นก็วัดความยาวของเงาตึกแล้วคิดด้วยตรีโกณมิติก็จะได้ความสูงของตึกโดย ไม่ต้องขึ้นไปบนตึกด้วยซ้ำ

หรือถ้าเกิดอยากใช้ความสามารถด้านวิทยา ศาสตร์มากกว่านี้ ก็เอาเชือกเส้นสั้นๆมาผูกกะบารอมิเตอร์แล้วแกว่งเหมือนลูกตุ้ม ตอนแรกก็แกว่งระดับพื้นดินแล้วก็ไปแกว่งอีกทีบนดาดฟ้า ความสูงของตึกจะหาได้จากความแตกต่างของคาบการแกว่ง เนื่องจากความแตกต่างของแรงดึดดูดจากจุดศูนย์กลางของมวล คำนวณจากT = 2 พายกำลัง2 รากที่2 ของl/g

ถ้าตึกมีบันไดหนีไฟก็ง่ายๆ ก็เดินขึ้นไปเอาบารอมิเตอร์ทาบแล้วก็ทำเครื่องหมายไปเรื่อยๆ จนถึงยอดตึกนับไว้คูณด้วยความสูงของบารอมิเตอร์ก็ได้ความสูงตึก

แต่ ถ้าคุณเป็นคนที่น่าเบื่อและยึดถือตามแบบแผนจำเจซ้ำซาก คุณก็เอาบารอมิเตอร์วัดความดันอากาศที่พื้นและที่ยอดตึก คำนวณความแตกต่างของความดันก็จะได้ความสูง

ส่วนวิธีสุดท้าย ง่ายและตรงไปตรงมาก็คือไปเคาะประตูห้องภารโรง แล้วบอกว่าอยากได้บารอมิเตอร์สวยๆใหม่เอี่ยมสักอันไหม ช่วยบอกความสูงของตึกให้ผมทีแล้วผมจะยกให้

นักศึกษาคนนั้นคือนีลโบร์
ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีค.ศ.1922



Create Date : 18 มีนาคม 2549
Last Update : 18 มีนาคม 2549 13:14:18 น. 2 comments
Counter : 408 Pageviews.

 
ขออนุญาต copy เอาไป post ต่อให้น้องๆ ในกลุ่มอ่านนะค่ะ เพราะรู้สึกว่าเป็นประโยชน์สำหรับคนทั่วไปค่ะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้านะค่ะ (ฮิฮิ..ยังไม่รู้เลยว่าคุณจะให้ไหม ขอทึกทักว่าคุณใจดีให้ล่ะกันนะ)


โดย: alex IP: 58.9.54.175 วันที่: 18 มีนาคม 2549 เวลา:14:21:40 น.  

 
ได้ครับ เพราะผมก็ Copy มาจาก Pantip+Web+Mail ก็เห็นกันเยอะครับ


โดย: ดินดำ (dindam ) วันที่: 20 เมษายน 2549 เวลา:13:21:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

dindam
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add dindam's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.