เหนื่อยก็พัก หนักก็วาง วุ่นก็ให้ว่าง แล้วทุกอย่างจะสบาย

สงวนลิขสิทธิ์งานเขียนในบล็อกนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
ห้ามคัดลอก ดัดแปลง หรือนำไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาต
ไม่ว่ากรณีใด ๆ


. . . . แวะมาเมื่อไหร่ โปรดทิ้งข้อความไว้ เพื่อให้กำลังใจกันบ้าง...นะคะ . . . ,
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2565
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
21 กุมภาพันธ์ 2565
 
All Blogs
 
ตอนที่ 2 “ภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดจากออโตแอนติบอดี้ต่อ อินเตอร์เฟอรอนแกมม่า ”

🌿ครั้งนี้
อยากกล่าวถึงรายละเอียดสังเขปของกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันบกพร่อง เนื่องจากออโตแอนติบอดีต้านอินเตอร์เฟอรอน-แกมมา (IFN-ϒ)

☘️โดยขออนุญาตนำข้อมูลจาก
❇️"คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ ของ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข”
❇️"วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี"
❇️"วิชาการ ดอท คอม"
❇️"บทความของ ศ.พญ.ยุพิน ศุพุทธมงคล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล"
❇️"ไทยรัฐฉบับพิมพ์, 30 ต.ค. 2564"
เพื่อเป็นข้อมูลในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสภาพ

🍃กล่าวโดยสรุป

กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมที่เริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่ (adult-onset immunodeficiency syndrome) เป็นชื่อเบื้องต้นของโรคภูมิคุ้มกันเสื่อมที่เพิ่งได้รับการค้นพบใหม่โรคหนึ่ง
ชื่อนี้ถูกเสนอในบทรายงานการวิจัยชิ้นแรกที่ค้นพบโรคนี้แล้วเผยแพร่ต่อสาธารณะเชื่อว่าเป็นโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ มีผู้ป่วยเป็นคนเอเชียอายุประมาณ 50 ปี เริ่มวินิจฉัยได้ตั้งแต่ ค.ศ. 2004 ส่วนมากพบในประเทศไทยและประเทศไต้หวัน

🪴สาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมในผู้ป่วยโรคนี้ยังไม่แน่ชัด

การศึกษาวิจัยที่ทำในไทยและไต้หวันพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่มีการติดเชื้อฉวยโอกาสมีการสร้างออโตแอนติบอดีต่ออินเตอร์เฟียรอนแกมมาขึ้นในร่างกาย ซึ่งอินเตอร์เฟียรอนแกมมานี้เป็นสารตัวกลางตัวสำคัญตัวหนึ่งในกระบวนการการกำจัดเชื้อโรคในร่างกาย ร่างกายของผู้ป่วยที่สร้างออโตแอนติบอดีต่อสารนี้จึงมีความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรคได้น้อยกว่าปกติ จึงเกิดเป็นภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อม

🍄กล่าวคือ โดยปกติแล้วแอนติบอดีจะต่อสู้กับอาการติดเชื้อในร่างกาย
แต่“ออโตแอนติบอดี” (autoantibodies) กลับโจมตีเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะในร่างกายตัวเอง โดยออโตแอนติบอดีไปทำลายโปรตีนอินเตอร์เฟอรอนชนิดที่ 1 (type 1 interferons) ซึ่งเป็นโปรตีนตัวที่ร่างกายสั่งการให้ต่อสู้กับอาการติดเชื้อและการเพิ่มจำนวนของไวรัส
นอกจากนี้ มีการค้นพบว่า ออโตแอนติบอดีไม่ได้ทำร้ายระบบภูมิคุ้มกันเท่านั้น แต่มันสามารถไปทำร้ายเนื้อเยื่อสมอง, เส้นเลือด, เกล็ดเลือด, ตับ และระบบทางเดินอาหารด้วย

🌾ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องดังกล่าว ทำให้มีอาการป่วยจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสชนิดต่างๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มมัยโคแบคทีเรีย การติดเชื้อราที่อาการรุนแรง เป็นต้น ผู้ป่วยป่วยด้วยอาการไข้เรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืองอักเสบหลายแห่ง ร่วมกับปอดอักเสบ ฝีตามอวัยวะต่างๆ รวมทั้งผิวหนังอักเสบเป็นหนอง

⛱ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเฉพาะโรค ส่วนใหญ่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันเพื่อควบคุมการผลิตแอนติบอดีเช่นเดียวกับการรักษาหลักของโรคภูมิต้านตนเองหลายชนิด

🍀ขณะนี้คณะผู้วิจัยซึ่งเป็นแพทย์โรคติดเชื้อจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทยได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล รวมถึงคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะผู้วิจัยจากสถาบันสุขภาพอเมริกา ได้ทำการวิจัยเพื่อให้รู้สาเหตุการก่อโรค เพื่อจะได้วางแผนการรักษาโรคนี้ให้หายขาดในอนาคต

💊💉🧪🌡🩸🩺🛏

เรามีความหวังว่า เราจะหายขาดจากโรคนี้ / โรคให้สงบ ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ....สาธุ


Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2565
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2565 9:29:58 น. 3 comments
Counter : 672 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณเริงฤดีนะ, คุณSweet_pills, คุณnewyorknurse


 
ขอให้หายป่วยหายไข้ไวไวนะคะ



โดย: หอมกร วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:9:33:08 น.  

 
น่ากลัวนะคะโรคสมัยนี้..
ขอให้ทีปาฏิหารย์ กับ จขบ.
หายจากโรคนี้ในเร็ววัน
I'll pray the Lord for you..
คุณพระคุ้มครองค่ะ




โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:13:13:54 น.  

 
ส่งใจให้คุณหน่อยขอให้หายเร็วๆนะคะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:0:35:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เดหลีสีแดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]









New Comments
Friends' blogs
[Add เดหลีสีแดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.