|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
กลูตาไทโอน...อยากขาวก็ต้องเสี่ยงอันตราย
ช่วงนี้ว่างๆ เข้าเว็บนู้น ออกเว็บนี้ เจอโฆษณามากมาย แต่ไปสะดุดตากับโฆษณาขายสินค้าพวกกลูตาไทโอน ทำให้สนใจว่าทำไมมีขายกันเกลื่อนไปหมด แล้วราคาก็ไม่แพงอีกต่างหาก แล้วมันดีอย่างไร นั่งหาข้อมูลไปถึงได้รู้ว่า มันช่วยให้ขาวขึ้น แต่มันมีอันตรายอะไรแฝงอยู่หรือเปล่า ก็ไปเจอบทความจากนิตยสารหมอชาวบ้าน ที่เขียนเกี่ยวกับกลูตาไทโอน เลยเอามาฝากให้เพื่อน ๆ หรือสาวๆ ที่อยากขาว ได้อ่านกัน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์ตัวนี้
จากบทความ //www.doctor.or.th/node/10266
ผิวขาวใส... ดีจริงหรือ? ที่จริงแล้วคนมีผิวขาวน่า จะเรียกว่าเป็นผู้มีโชคไม่ดีนัก เพราะผิวขาวสามารถกลั่นกรองอันตรายจากแสงแดดได้น้อยกว่าคนผิวดำ ใต้ผิว หนังของเรามีเม็ดสีที่เรียกว่า "เมลานิน" กระจายตัวอยู่ ซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันผิวหนังจากรังสีในแสงแดดตามธรรมชาติ และทำให้สีผิวแตกต่างกันไป คนผิวขาวนั้นที่จริงน่าจะกล่าวว่าเป็นคน อาภัพ เพราะมีเม็ดสีขนาดเล็ก เวลาที่โดนแสงแดดจัดๆ ทำให้ผิวหนังไหม้แดดได้เร็ว ลองสังเกตดูคนต่างชาติที่มีผิวขาว พบว่าจะมีผิวตกกระ ผิวเหี่ยวแก่เร็วกว่า และยังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังสูงกว่าพวกเราคนไทยที่มีผิวเหลืองหรือ ผิวที่คล้ำกว่า และนับวันโลกเราจะได้รับอันตรายจากแสงแดดมากขึ้น เพราะชั้นโอโซนถูกทำลายให้บางลงจนเกิดภาวะโลกร้อนไปทั่ว เคยมีคนทำนายว่าหลายๆ พันปีต่อนี้ไป พื้นโลกจะได้รับรังสีมากขึ้นเรื่อยๆ คนผิวดำจะเป็นเพียงเผ่าพันธุ์สุดท้ายที่ยังเหลือชีวิตรอดอยู่ได้
แสงแดดมีผลเสียต่อผิวหนัง โดยผลเสียที่เกิดขึ้นทันที คือทำให้โรคผิวหนังมากกว่า 40 ชนิดกำเริบ เช่น ผิวไหม้แดด ผิวคล้ำลง โรคเอสแอลอี (SLE) ที่มีอาการปวดข้อและมีผื่นแดงรูปปีกผีเสื้อที่แก้ม สิวบางชนิดกำเริบเมื่อโดนแดด เริม ฝ้า-กระเข้มขึ้น โรคผิวด่างแดด โรคพอร์ไฟเรีย (porphyria) ที่มีอาการปวดท้อง ผิวไหม้แดดเป็นแผลและตุ่มน้ำ เชื่อว่าแดร็กคิวล่าและแวมไพร์น่าจะเป็นโรคนี้ ส่วนผลเสียของ แสงแดดที่สะสมระยะยาว ได้แก่ ผิวเหี่ยวแก่ เนื้องอกขั้นก่อนเป็นมะเร็ง และมะเร็งผิวหนัง
สมาคมโรคมะเร็งของ สหรัฐอเมริการะบุว่า คนอเมริกัน (รวมทุกสีผิว) 1 ใน 5 คนมีโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนัง แต่ถ้าดูเฉพาะคนผิวขาวโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังสูงถึง 1 ใน 3 คน ส่วนคนไทยก็พบมะเร็งผิวหนังบ่อยขึ้น เนื่องจากมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้น มีกิจกรรมกลางแดด มีการตรวจและให้ความสำคัญกับมะเร็งผิวหนังมากขึ้น และยังมีการใช้ยาและเทคนิคทำให้ผิวขาวกันมากขึ้น โดยละเลยการเลี่ยงแสงแดดจัด
กระแสคลั่งสวย คลั่งผิวขาว... อันตรายต่อสุขภาพทั้งกายและใจ ปัจจุบันมีกระแส วัยรุ่นไทยอยากมีผิวขาวใส มีการใช้ผลิตภัณฑ์และเทคนิคต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นอันตรายได้ จนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องออกมาเตือนอยู่เสมอ
ที่จริงแล้วค่านิยมอยากมีผิวขาวนั้นไม่เหมาะ สมสำหรับคนไทยที่อยู่ในภูมิประเทศที่มีแสงแดดจัดทั้งปี คนไทยเรานับว่าเป็นชาติพันธุ์ที่มีผิวสวย และเหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่แล้ว จึงพบเสมอว่าเวลาคนไทยอายุเกิน 30 ปีจะเข้าบาร์ที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในต่างประเทศ มักจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้า เพราะใบหน้าดูเด็กกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของฝรั่ง
กระแส คลั่งอยากมีผิวขาวนั้นส่วนหนึ่งน่าจะเป็นจากค่านิยมที่จะต้องเป็นเจ้าคนนาย คน ต้องนั่งทำงานในห้องแอร์ และการตีความสำนวนไทย "คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ" ผิดพลาด โดยเข้าใจว่าเน้นที่หน้าตา ทั้งที่ความหมายจริงนั้นเน้นจิตใจมากกว่า
ส่วนหนึ่งมาจากกระแสคลั่ง ดาราเกาหลี และอีกส่วนหนึ่งมาจากการโหมโฆษณาเครื่องสำอางทำให้ผิวขาวที่มีงบโฆษณาสูงมาก
บริษัท เครื่องสำอางจึงควรแสดงความรับผิดชอบโดยการพิมพ์ผลเสียของแสงแดดไว้ที่กล่อง บรรจุว่า "ผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาวอาจทำให้เป็นมะเร็งผิวหนัง และทำให้ผิวเหี่ยวแก่เร็ว" เช่นเดียวกับที่ซองบุหรี่มีคำเตือนว่า "การ สูบบุหรี่อาจทำให้เป็นมะเร็งปอด และทำให้แก่เร็ว"
วัย รุ่นที่หมกหมุ่นครุ่นคิดแต่เรื่องความสวยความหล่อ บางคนกังวลเรื่องผมบาง ขนดก รูขุมขนโต ผิวไม่ขาว... เหล่านี้ถ้ามากเกินไปอาจเข้าข่ายความผิดปกติทางจิตใจที่เรียกว่า body dysmorphic disorder (BDD หรือ "บีดีดี")
นอกจากนั้น การตกแต่งร่างกายแบบถาวร เช่น การสัก การเจาะ การใส่ห่วง การฝังหมุด การผ่าลิ้น ๒ แฉก ก็อาจเข้าข่ายความเจ็บป่วยทางจิตชนิดนี้เช่นกัน บางคนเสพติดศัลยกรรมจนใบหน้าเสียโฉม ในรายที่สงสัยความเจ็บป่วยทางจิต ชนิดนี้ ผู้ปกครองควรพาวัยรุ่นไปปรึกษาจิตแพทย์ เพราะที่น่าเป็นห่วงคือพบอาการซึมเศร้ารุนแรงของผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้บ่อย และมีแนวโน้มจะฆ่าตัวตายสูง
โรค "บีดีดี" นี้ถ้าพบในผู้ใหญ่อาจแสดงอาการออกมาในรูปความกลัวความแก่อย่างสุดๆ ที่ภาษาหมอเรียกว่ากลุ่มอาการโดเรียน เกรย์ (Dorian Gray syndrome) โรคนี้ตั้งชื่อตามชื่อของตัวละครในนวนิยาย "ภาพวาดโดเรียน เกรย์" (The Picture of Dorian Gray) แต่งโดย Oscar Wilde ว่าด้วยเรื่องราวของหนุ่มรูปงามนามเพราะว่าโดเรียน เกรย์ ซึ่งหลงใหลกับรูปลักษณ์ของตนเอง จนไม่อยากสูญเสียมันไป และยินดีแลกกับทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อคงความอมตะของตนเองไว้
โรค "บีดีดี" พบบ่อยขึ้นทั้งในไทยและทั่วโลก น่าจะมาจากค่านิยมที่เปลี่ยนมาเน้นความงามความขาว เชื่อว่าดาราและหนุ่มสาวเกาหลีหลายคนที่ฆ่าตัวตาย ส่วนหนึ่งอาจเป็นโรค "บีดีดี" ร่วมด้วย
แม้แต่ราชาเพลงป๊อปที่ล่วงลับเมื่อปีที่ผ่านมาก็ น่าจะเข้าข่ายเป็นโรค "บีดีดี" ผู้เชี่ยวชาญบางท่านเชื่อว่าไมเคิล แจ็คสันเป็นโรค "บีดีดี" ชนิด "โดเรียน เกรย์" ชัดเจน และถึงจะเป็นโรคนี้จริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร และไม่ใช่เรื่องที่จะมาทำลายอัจฉริยภาพทางดนตรีและการแสดงของเขา
เชื่อ กันว่ามีคนอเมริกันถึง 9 ล้านคนที่ป่วยเป็นโรค "บีดีดี" เช่นเดียวกับราชาเพลงป๊อปผู้นี้ ผู้ป่วยโรค "บีดีดี" นี้จะไม่พอใจในรูปลักษณ์ของตนเอง พบว่าร้อยละ 75 ของผู้ป่วย "บีดีดี" จะไปพบแพทย์ศัลยกรรมตกแต่ง หรือแพทย์ผิวหนัง เพื่อแก้ไขให้รูปลักษณ์ของตัวเองเป็นดังฝัน ปัจจุบันพบวัยรุ่นไทยจำนวนไม่น้อยที่น่าจะเข้าข่ายเป็นโรค "บีดีดี" และยังพบผู้ใหญ่ของไทยหลายรายที่น่าจะเป็นโรค "โดเรียน เกรย์"
กลูตา ไทโอนที่ใช้ทำให้ผิวขาว... เป็นสารอันตรายหรือไม่? กลูตา ไทโอน (glutathione) เป็น tripeptides ของกรดอะมิโน 3 ตัว คือ ซิสทีน (cysteine) กรดกลูตามิก (glutamic acid) และไกลซีน (glycine) ปกติร่างกายสามารถผลิตได้เองตามธรรมชาติ และยังได้จากอาหารหลายอย่าง เช่น โปรตีน นม ไข่ ผลอะโวคาโด สตรอเบอร์รี มะเขือเทศ ผักบรอกโคลี ส้มเกรปฟรุต และผักโขม
หน้าที่หลักของกลูตาไทโอนมีอยู่ 3 ประการคือ ต้าน อนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย และขจัดสารพิษ
กลูตา ไทโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงช่วยในแง่ชะลอความเสื่อมของร่างกาย เพราะอนุมูลอิสระจะวิ่งสะเปะสะปะไปชนเซลล์ต่างๆ ทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสื่อมสภาพ มีผลในแง่เสริมภูมิต้านทานและยังช่วยให้ตับขจัดสารพิษออกจากร่างกาย
กำลัง มีงานวิจัยที่จะนำสารกลูตาไทโอนตัวนี้มารักษาโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ข้ออักเสบ โรคพาร์กินสัน (ที่มีอาการมือสั่น ควบคุมการทรงตัวลำบาก) โรคตับ โรคไต โรคเอดส์ ภาวะเป็นหมันในเพศชาย และภาวะหูตึงจากเสียงดัง ยังไม่แนะนำให้ สตรีมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรรับสารตัวนี้โดยไม่ปรึกษาแพทย์
สมาคม แพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยให้ข้อมูลว่า ปัญหาของกลูตาไทโอนที่ควรระวังคือ การฉีดยาตัวนี้เข้าหลอดเลือดดำมีโอกาสแพ้ได้ มีรายงานในต่างประเทศว่าผู้ที่ได้รับการฉีดกลูตาไทโอนขนาดสูงที่ใช้กันอยู่ มีอาการช็อก ความดันต่ำ หายใจไม่ออก จนถึงขั้นเสียชีวิต และการฉีดนั้นมักให้วิตามินซีในขนาดสูงร่วมด้วย ซึ่งการฉีดวิตามินซีขนาดที่สูงและเร็วเกินไปอาจทำให้เกิดอาการมึนศีรษะคล้าย จะเป็นลมได้
พบว่าการได้รับสารกลูตาไทโอนเป็นเวลานานๆ ทำให้เม็ดสีที่จอตาลดลงเสี่ยงต่อการมองเห็นได้ในอนาคต จึงจัดว่า เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงทางตา และการใช้สารกลูตาไทโอนในผู้ป่วยมะเร็งทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาทางเคมีลดลง
Create Date : 26 มีนาคม 2553 |
Last Update : 26 มีนาคม 2553 9:48:35 น. |
|
5 comments
|
Counter : 1113 Pageviews. |
|
|
|
โดย: Nilz วันที่: 26 มีนาคม 2553 เวลา:10:32:36 น. |
|
|
|
โดย: thanitsita วันที่: 26 มีนาคม 2553 เวลา:16:33:03 น. |
|
|
|
โดย: onlineshop (loveyoupantip ) วันที่: 21 กรกฎาคม 2554 เวลา:21:43:29 น. |
|
|
|
โดย: pest (loveyoupantip ) วันที่: 15 สิงหาคม 2554 เวลา:3:32:32 น. |
|
|
|
โดย: register (loveyoupantip ) วันที่: 16 สิงหาคม 2554 เวลา:3:37:17 น. |
|
|
|
|
|
|
|