OUR LIFE IS SIMPLY A REFLECTION OF OUR ACTIONS. IF YOU WANT MORE LOVE IN THE WORLD, CREATE MORE LOVE IN YOUR HEART!!
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
3 พฤศจิกายน 2550
 
All Blogs
 

โรคใน OFFICE

โรคในออฟฟิศ

บทความโดย : รศ.นพ. ศุภชัย รัตนมณีฉัตร,อ. ประพันธ์ เชิดชูงาม ภ.เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม

ในปัจจุบันการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในสำนักงาน เรามักจะพบเห็นได้โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการเอกชน หรือตามบริษัท ห้างร้าน รวมทั้งการเปิดอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ก็มีให้เห็นกันอย่างแพร่หลาย แต่ทราบหรือไม่ครับว่าผลจากการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นไม่ได้มากคุณค่าเหมือนอย่างใช้คอมพิวเตอร์ เนื่องจากการนั่งอยู่หน้าจอนาน ๆ โดยไม่ได้พักผ่อนเท่าที่ควร อาจก่อให้เกิดโรคที่ไม่ถามหาขึ้นมา

1. CVS (Computer Vision Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดกับ สายตา และการมองเห็น

สาเหตุ เกิดจากการใช้สายตามองจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ รวมถึงรังสีที่แพร่ขยายออกมาที่บริเวณหน้าจอ ทำให้เกิดความเครียดของดวงตา

อาการ จะรู้สึกระคายเคืองตา แสบตา เจ็บตา ตาพร่า ตาแห้ง เหล่านี้เป็นเพียงอาการชั่วคราว แต่หากเป็นบ่อย ๆ และนานวันเข้าจะเกิดอันตรายร้ายแรงขึ้นได้ นอกจากนี้อาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย

การรักษา อาจต้องใช้ยาหยอดตาชนิดที่ยับยั้งการคั่งของเลือดบริเวณตา

การป้องกัน

1.การใช้คอมพิวเตอร์ ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ เนื่องจากจะทำให้สายตาเกิดความเมื่อยล้า
ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษด้วยการพักสายตา เช่น พักทุก 10 นาทีต่อการทำงาน 1 ชั่วโมง หรือพักทุก 15
นาทีต่อการทำงานต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง เป็นต้น
2. ควรจัดสถานที่ตั้งคอมพิวเตอร์ ในที่มีแสงสว่างพอเหมาะ โดยเฉพาะจอภาพ แป้นพิมพ์ และที่วางเอกสาร เพื่อให้เกิดความสบายของดวงตา
3. อาจใช้แผ่นกรองแสงเพื่อลดแสงจ้า แสงสะท้อน จะช่วยลดความล้าของสายตาลงได้


2. CTS (Carpal Tunnel Syndrome) เป็นกลุ่มอาการของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดความเครียด อาการของโรคคือ กระดูกข้อมือเจ็บปวด ข้อกระดูกนิ้วมือเสื่อม และชา

สาเหตุ เกิดจากการกดแป้นพิมพ์ และการใช้เมาส์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน การจับเมาส์ข้อมือจะเป็นจุดหมุน เกิดพังผืดบริเวณโพรงเส้นประสาทข้อมือ หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการชา จนไม่สามารถหยิบของได้

การรักษา หากเริ่มเป็นอาจต้องรับประทานยาแก้ปวดแล้วพักข้อมือ หยุดการเคลื่อนไหว อาการก็อาจทุเลาลงได้ และหายปวดในที่สุด หากปวดมาก ให้รับประทานยาระงับปวด และอาจต้องสวมอุปกรณ์ประคองมือเพื่อลดการเคลื่อนไหวของข้อมือ หรือฉีด corticosteroids เข้าบริเวณโพรงเส้นประสาทข้อมือ เพื่อลดการอักเสบโดยตรง ส่วนในรายที่เป็นมานาน การผ่าตัดมักได้ผลดี

การป้องกัน

1. การใช้คอมพิวเตอร์ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ เนื่องจากจะทำให้เกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ
2. การวางคอมพิวเตอร์ ต้องจัดให้ห่างจากตัวพอดีกับแขนจับเม้าส์และคีย์บอร์ดได้สบายๆ ไม่เหยียดหรืองอข้อมือ
3. ขณะปฏิบัติงาน การพิมพ์คีย์บอร์ด พยายามจัดให้ท่อนแขนวางอยู่ในแนวขนานกับพื้น
4. การใช้เม้าส์ ควรมีแผ่นรองข้อมือมาวางจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือได้อย่างมาก
5. การเคลื่อนไหวขณะนั่งปฏิบัติงานจะต้องให้ถูกลักษณะท่าทาง ไม่เอี้ยวตัวไปมามากเกินไป หากหยิบจับสิ่งของจำเป็นจะต้องออกแรงทั้งมือ และนิ้วมือ

นอกจากนี้ อาจพบว่ามีอาการปวดหัวไหล่ต้นคอ และหลัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ท่านั่งไม่ถูกต้อง นั่งหลังงอ นั่งไม่ตรง นั่งเอี้ยวตัว ทำให้กล้ามหลังเกร็งตัว หรืออักเสบ และอีกสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะการออกแบบของโต๊ะ เก้าอี้คอมพิวเตอร์บางรุ่นไม่เหมาะสมกับผู้ใช้งาน ทั้งสองสาเหตุล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดกลุ่มอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ทั้งสิ้น

แนวทางเสนอแนะ

การปรับอุปกรณ์สำนักงานให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ เป็นวิธีการป้องกันอีกวิธีหนึ่ง ที่จะช่วย
ลดความเจ็บป่วย ซึ่งมีผลมาจากการเคลื่อนไหวและการวางตำแหน่งของสรีระในการทำงานไม่ถูกต้องโดยมีแนวทางการปรับอุปกรณ์ต่างๆให้ถูกต้องดังนี้คือ
1. เก้าอี้ (Chair) เก้าอี้ควรเป็นขนาดที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ขอบด้านหน้าของเบาะนั่งควรมีลักษณะโค้งเพื่อให้มีพื้นที่ว่างระหว่างด้านหน้าของเบาะกับด้านหลังของหัวเข่า ความสูงของเบาะและพนักพิงจะต้องปรับได้ สะโพก หัวเข่า ข้อเท้า ควรทำมุมอย่างน้อย 90 องศา พนักพิงจะต้องสัมผัสกับแผ่นหลังโดยสมบูรณ์และที่เท้าแขนสามารถช่วยพยุงแขนขณะใช้คีย์บอร์ด
2. มอนิเตอร์ (Monitor) ควรอยู่ตำแหน่งตรงหน้าผู้ใช้ จัดให้ห่างจากผู้ใช้อย่างน้อย 16 นิ้ว จอภาพควรอยู่ระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าระดับสายตา และสามารถปรับความสูงมอนิเตอร์ได้ด้วยแท่นวางปรับมุมเงยของมอนิเตอร์เพื่อลดแสงจ้าหรือแสงสะท้อนจากดวงไฟเหนือศีรษะหรือหน้าต่างและควรใช้จอกรองแสงเพื่อป้องกันแสงจ้าและรังสี
3. คีย์บอร์ดและเม้าส์ (Keyboard and Mouse) วางตำแหน่งของคีย์บอร์ดและเม้าส์ในระยะห่างและความสูงที่พอเหมาะ ปล่อยแขนตามธรรมชาติและให้ข้อศอกอยู่ใกล้ตัวซึ่งจะช่วยให้เกิดมุมที่เหมาะสมระหว่างข้อศอกและข้อมือ
4. ถาดวางคีย์บอร์ดและเม้าส์ (Keyboard/Mouse Trays) มั่นคงแข็งแรงและปรับได้ในหลายลักษณะของการใช้งานที่เหมาะสม แต่ยังคงรักษาให้ข้อมืออยู่ในตำแหน่งกลางและสามารถวางที่พักข้อมือได้
5. แป้นหนีบเอกสาร (Document Holder) จะต้องอยู่ระดับเดียวกันและใกล้จอคอมพิวเตอร์ให้มากที่สุด จะช่วยให้คออยู่ในตำแหน่งตั้งตรงซึ่งจะช่วยลดการเคลื่อนไหวของศีรษะและลดความเครียดของกล้ามเนื้อตา
6. ที่พักข้อมือ (Wrist Rest) จะต้องปราศจากขอบที่แข็งหรือคมหน้ากว้างเพียงพอแก่การพยุงข้อมือและฝ่ามือ
7. ที่วางเท้า (Foot Rest) มั่นคงแข็งแรงปรับได้ทั้งความสูง ไม่ลื่น และมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะให้ความสะดวกสบายขณะวางเท้า
8. โคมไฟ (Task Light) ให้แสงสว่างที่พอเพียงแก่เอกสาร โดยปราศจากแสงจ้าบนเอกสารหรือบนจอคอมพิวเตอร์
วิธีการทั้งหมดนี้ นอกจากจะช่วยให้ท่านทำงานอย่างมีความสุขแล้ว ยังเป็นการป้องกันและประหยัดเงินค่ารักษาในอนาคตด้วย





 

Create Date : 03 พฤศจิกายน 2550
2 comments
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2550 23:49:37 น.
Counter : 818 Pageviews.

 

ข้อมูลดีมาก ครับ

 

โดย: wildbirds 5 พฤศจิกายน 2550 16:37:21 น.  

 

Thanks wildbirds!

 

โดย: Destinyhurtsme 6 พฤศจิกายน 2550 23:05:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Destinyhurtsme
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add Destinyhurtsme's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.