สบาย สบาย ได้ความรู้
<<
ธันวาคม 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
12 ธันวาคม 2550
 
 

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น

นางสาวรุ่งทิพย์ อินชื่นใจ
ชั้น ม.4/3 เลขที่ 20




มหาชาติคำหลวง


มหาชาติคำหลวง แปลว่า การเกิดที่ยิ่งใหญ่ เป็นหนังสือที่กล่าวถึงการบำเพ็ญ
ทานอย่างยิ่งใหญ่ ของพระเวสสันดรโพธิสัตว์ครบทั้ง ๑๐ บารมี โดยการบำเพ็ญบารมีที่ยากยิ่งก็คือทานบารมีนั่นเอง และเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่กล่าวเป็นทานบารมีที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นการบริจาคบุตรและภรรยา ซึ่งเป็นการยากหาผู้จะทำได้ พระองค์ทรงบริจาคทานทุกอย่างด้วยศรัทธาแรงกล้า มหาชาติคำหลวง ซึ่งได้กล่าวแล้วว่า ฉบับเดิมเป็นภาษามคธ แต่งเป็นปัฐยาวัตรฉันท์ มีจำนวน ๑,๐๐๐ บท หรือพันคาถาด้วยกัน

สมุทรโฆษคำฉันท์


สมุทรโฆษคำฉันท์ มีจุดประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้เป็นบทพากย์หนัง เนื้อเรื่องได้มา
จากสมุทรโฆสชาดกในปัญญาสชาดก กล่าวถึงการผจญภัยที่สนุกสนานตื่นเต้นของพระสมุทรโฆษและนางพินทุมดี ที่ได้พระขรรค์วิเศษพาเหาะไปเที่ยวยังที่ต่างๆได้ ครั้นพระขรรค์ถูกลักไป ทั้งสองก็ต้องพลัดพรากจากกัน ต่างผจญภัยต่อไปอีกจนสามารถกลับนครได้ เรื่องราวที่สนุกสนานตื่นเต้นนี้เหมาะสมกับการเล่นหนังให้คนทั่วไปชม
นอกจากนี้ จิตรกรไทยได้นำไปวาดภาพลงบนผนังโบสถ์ เช่น ที่พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม และวัดดุสิตาราม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น

ลิลิตยวนพ่าย


ตอนต้นกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าและนำหัวข้อธรรมมาแจกแจงทำนองยกย่อง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่า ทรงคุณธรรมข้อนั้น ๆ กล่าวถึงพระราชประวัติ ตั้งแต่ประสูติจนได้ราชสมบัติ ต่อมาเจ้าเมืองเชียงชื่น(เชลียง)เอาใจออกห่าง นำทัพเชียงใหม่มาตีเมืองชัยนาท แต่ถูกสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตีแตกกลับไป และยึดเมืองสุโขทัยคืนมาได้ แล้วประทับอยู่เมืองพิษณุโลก เสด็จออกบวชชั่วระยะหนึ่ง ต่อจากนั้นกล่าวถึงการทำสงครามกับเชียงใหม่อย่างละเอียดครั้งหนึ่ง แล้วบรรยายเหตุการณ์ทางเชียงใหม่ ว่าพระเจ้าติโลกราชเสียพระจริต ประหารชีวิตหนานบุญเรืองราชบุตร และหมื่นดังนครเจ้าเมืองเชียงชื่น ภรรยาหมื่นดังนครไม่พอใจ ลอยมีสารมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและขอกองทัพไปช่วย พระเจ้าติโลกราชทรงยอทัพมาป้องกันเมืองเชียงชื่น เสร็จแล้วเสด็จกลับไปรักษาเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงกรีธาทัพหลวงขึ้นไปรบตีเชียงใหม่พ่ายไปได้เมืองเชียวชื่ม ตอนสุดท้ายสรรเสริญพระบารมีสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอีกครั้งหนึ่ง

ลิลิตโองการแข่งน้ำ


ลิลิตโองการแช่งน้ำ จึงเป็นวรรณกรรมทางการเมืองที่เก่าแก่เรื่องหนึ่ง
สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณ ในการที่จะพิทักษ์พระราชอำนาจและเป็นวรรณกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมือง ในอีกแง่หนึ่ง พระมหากษัตริย์อาจมุ่งให้ผู้ถือน้ำเกิดความเกรงกลัวและยึดมั่นในคำสัตย์สาบานของตนอีกประมาณหนึ่ง เป็นเสมือนการตรวจสอบอำนาจและความจงรักภักดีของข้าราชการในสมัยของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสวยน้ำสาบานด้วย ทำให้มุ่งหมายขอบเขตของการแช่งน้ำจากการแสดงความจงรักภักดี เป็นประกาศตัวเป็นพวก พระมหากษัตริย์ทรงลดฐานะลงมา กระทำ สัญญาประชาคมทางใจกับข้าราชการ เป็นทำนองต่างฝ่ายจะซื่อตรงต่อกัน




 

Create Date : 12 ธันวาคม 2550
25 comments
Last Update : 12 ธันวาคม 2550 2:04:10 น.
Counter : 2710 Pageviews.

 

อืม เนื้อหาดีนะขอบใจนะ กำลังหาอยู่พอดีเลย

 

โดย: ดุ๊ดดิ๊ก IP: 202.143.152.100 11 มกราคม 2551 9:53:44 น.  

 

ขอบใจมากนะ
ทำออกมาสวยอ่านสบายตา
แถมเนื้อหาสาระยังดีอีก
ขอบคุณมากนะจ้ะ

 

โดย: +MicKeY+ IP: 203.172.109.190 21 มกราคม 2551 23:23:40 น.  

 

ขอบคุณมากครับ

จาก เด็ก สาย วิทย์ คณิต ม.บ.

 

โดย: FOURms IP: 222.123.36.201 25 มกราคม 2551 9:53:13 น.  

 

ขอถามรัยหน่อยครับว่าคนโพสที่ชื่อรุ่งทิพย์อะอยู่โรงเรียนไหนและอยู่จ.ไรครับ
จากสาวกReTrainruM

 

โดย: ตาเต่า IP: 203.113.71.201 4 กุมภาพันธ์ 2551 21:19:39 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูล ดี-ดี

นะก๊าบบบบบบบขอบคุณสำหรับข้อมูล ดี-ดี นะก๊าบบบบบบบ

 

โดย: กุ้งเต้น IP: 117.47.170.126 21 กุมภาพันธ์ 2551 14:38:57 น.  

 

กำลังหาอยู่พอดี ขอบจัยนะ แต่ว่าทำไมไม่หามาให้มากกว่านี้ล่ะ เช่น จุดประสงค์ในการแต่ ผู้แต่งอารัยประมาณนี้ แต่ก็ดีนะเราได้ข้อมูลมากพอแต่ยังทำไม่สร็จ
ขอบจัยนะที่ช่วย

 

โดย: โรส 4/2 k.p IP: 118.173.245.164 27 กุมภาพันธ์ 2551 10:29:43 น.  

 

ขอบคุณมากที่ให้ความรู้

 

โดย: แอนนี่ IP: 118.173.244.180 28 กุมภาพันธ์ 2551 11:05:47 น.  

 

ขอขอบพระคุณยิ่ง

 

โดย: กรรณิการ์ IP: 125.25.202.226 21 มิถุนายน 2551 21:14:13 น.  

 

โหแล้วจารู้เรื่องอ่ะป่าวเนี่ยเยอะเลยง่า

 

โดย: lukbinna IP: 202.149.25.225 3 กันยายน 2551 19:10:59 น.  

 

ดีแล้วขอบคุณ

 

โดย: ปป IP: 61.19.195.28 9 กันยายน 2551 12:00:24 น.  

 

อยากได้สรุปทั้งหมดอ่ะหาให้หน่อนดิ

 

โดย: ปป IP: 61.19.195.28 11 กันยายน 2551 12:04:54 น.  

 

อยากได้สรุปทั้งหมดอ่ะหาให้หน่อย
ดิ

 

โดย: ปป IP: 61.19.195.28 11 กันยายน 2551 12:06:32 น.  

 

ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูล

เด็กด.ก.ถ้าเข้ามาหาในเว็บนี้เหมือนกัน

ก้อลงชื่อไว้ด้วยนะ

บายจ้า

 

โดย: Doughnut IP: 203.209.124.248 15 กันยายน 2551 18:17:08 น.  

 

ขอบใจที่ช่วย แต่ไม่จำเป็น

 

โดย: นัด4/2 IP: 124.157.234.24 21 ตุลาคม 2551 12:29:30 น.  

 

ขอบคุณคะ สำหรับข้อมูล
ขอเอาไปทำรายงานละกันนะคะ ^o^

 

โดย: sun sun IP: 58.10.128.2 9 ธันวาคม 2551 21:12:08 น.  

 

ขอเป็นเรื่องเต็มได้ไหมคะต้องการด่วนเลยคะ วันอังคารได้ก็ดีคะ

 

โดย: pa IP: 125.26.163.246 14 ธันวาคม 2551 18:28:45 น.  

 

ม่ายมีประชุมลำนำเหรอ

 

โดย: yuri IP: 118.173.14.114 22 มกราคม 2552 17:51:46 น.  

 

ขอบคุณครับกำลังหาอยู่พอดี

 

โดย: ชาย IP: 192.168.1.158, 61.19.121.130 23 มิถุนายน 2552 9:15:42 น.  

 

ขอบคุณมากกกกกกกกกกกกกกกกกกเลยค่ะ

 

โดย: ใบเตย IP: 125.26.112.204 29 พฤศจิกายน 2552 15:44:15 น.  

 

whenever you felt that your heart is going to breakdown
feel it with the love of God ask for his and then you will
find out what is the truth love in Your life as he does for me!

GOD always forgive your mistake
the one that you cant even forget,
he always does it and always being with us
to help and blesss us for us whose heart is full of him

 

โดย: da IP: 124.122.247.144 18 เมษายน 2553 23:19:13 น.  

 

สีสันสวยจังเลย

 

โดย: อร IP: 115.87.33.170 7 มิถุนายน 2553 18:27:25 น.  

 

โองการแช่งน้ำ เป็นวรรณคดีเก่าแก่มากที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย มีความสำคัญทั้งด้านวรรณคดี นิรุกติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และสังคมของไทย เป็นวรรณคดีที่มีความยาวเพียงไม่กี่หน้า แต่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดเรื่องหนึ่ง เป็นโองการสำหรับใช้อ่านเมื่อมีพิธีถือน้ำกระทำสัตย์สาบานต่อพระมหากษัตริย์
ชื่อ
โองการแช่งน้ำนั้น เรียกด้วยชื่อต่างๆ กัน กล่าวคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ (ใช้ในตำราหรือแบบเรียน), โองการแช่งน้ำ, ประกาศแช่งน้ำโคลงห้า หรือ โองการแช่งน้ำพระพิพัฒนสัตยา อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ ล้วนแต่หมายถึงวรรณคดีเล่มเดียวกันนี้
ประวัติ
โองการแช่งน้ำเป็นวรรณคดีที่เก่าแก่ของไทย นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นตรงกัน ว่าแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น แต่นักวิชาการบางท่าน เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ เชื่อว่าวรรณคดีเรื่องนี้น่าจะแต่งขึ้นอย่างน้อยก็ในสมัย พระเจ้าอู่ทอง ผู้ทรงสถาปนาเมืองอโยธยา (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นอยุธยา)
ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าอาจแต่งในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑ (อู่ทอง) ผู้แต่งคงจะเป็นผู้รู้พิธีพราหมณ์ และรู้วิธีประพันธ์ของไทยเป็นอย่างดี สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง)เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงอยุธยาสมเด็จฯกรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานส่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑เป็นเชื้อสายของพระเจ้าสิริชัยเชียงแสนแห่งแคว้นสิริธรรมราช จึงเป็นต้นวงศ์เชียงราย เป็นราชบุตรเขยของพระเจ้าอู่ทอง เมื่อ พ.ศ.๑๘๘๗ ได้เป็นเจ้าเมืองอู่ทอง ซึ่งขณะนั้นขึ้นต่อเมืองสุโขทัย ต่อมาเกิดโรคระบาด จึงทรงย้ายราชธานีมาตั้งตาบลหนองโสน แขวงเมืองอโยธยา เมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓ ขนานนามใหม่ว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา และพระองค์ได้รับพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงตั้งพระองค์เป็นใหญ่ไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัยนับแต่สถาปนาราชธานี ในรัชกาลนี้ได้รับวัฒนธรรมขอมและพราหมณ์เป็นอันมาก ภาษาไทยจึงเริ่มมีคาเขมรเข้ามาปะปนมากขึ้นมีการประกอบพิธีถือน้าพระพิพัฒน์สัตยา หรือพิธีศรีสัจปานกาล ตามแบบเขมร ซึ่งถ่ายทอดมาจากพราหมณ์อีกต่อหนึ่ง
ลักษณะคำประพันธ์
เชื่อกันว่าโองการแช่งน้ำฉบับนี้ แต่งขึ้นด้วย โคลงห้า ที่นิยมใช้กันในอาณาจักรล้านช้างในยุคเดียวกันนั้น กล่าวคือ บาทหนึ่ง มี 5 คำ เป็นวรรคหน้า 3 คำ วรรคหลัง 2 คำ หนึ่งบทมี 4 บาท นิยมใช้เอกโท (เอกสี่ โทสาม) แต่สามารถเพิ่มสร้อยหน้า และสร้อยหลังบาทได้ ทั้งนี้ยังมีร่ายสลับ จึงนิยมเรียกว่า ลิลิต แม้จะไม่สอดคล้องกับธรรมเนียมการแต่งลิลิตทั่วไป ที่มักจะแต่งร่ายสุภาพร้อยกับโคลงสุภาพ หรือร่ายดั้นร้อยกับโคลงดั้น ก็ตาม
ตามหลักแล้ว ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า เข้าลิลิต
วรรณคดีที่แต่งตามแบบแผนลิลิต มักจะใช้ร่ายและโคลงสลับกันเป็นช่วงๆ ตามจังหวะ ลีลา และท่วงทำนอง และความเหมาะสมของเนื้อหาในช่วงนั้นๆ สำหรับโองการแช่งน้ำ แม้จะเคยเรียกกันว่า ลิลิตโองการแช่งน้ำ มาก่อน แต่ในปัจจุบันนักวรรณคดีส่วนใหญ่สมัครใจที่จะเรียกชื่อโดยไม่มีคำว่าลิลิต ทั้งๆ ที่ในโองการแช่งน้ำ ก็แต่งด้วยร่ายสลับโคลง ทว่าเป็นร่ายโบราณ สลับกับโคลงห้า ซึ่งไม่ปรากฏแบบแผนที่ไหนมาก่อน
ความมุ่งหมายของการแต่ง ใช้อ่านในพิธีถือพระพิพัฒน์สัตยาหรือพิธีศรีสัจปานกาล ซึ่งกระทำตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอู่ทองสึบต่อกันมาจนเลิกไปเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตย ใน พ.ศ.๒๔๗๕
สาระสำคัญ เนื้อหาเริ่มแรกเป็นการกล่าวถึงพระนารายณ์พระอิศวรและพระพรหมซึ่งเป็นเทพเจ้าของอินเดียต่อไปกล่าวถึงเมื่อโลกหมดอายุสิ้นกัปกัลป์ก็จะมีไฟมาไหม้เผาโลกให้สิ้นหมดไป
พระพรหมจะสร้างโลกข้นมาใหม่แทนโลกเก่าสิ่งมีชีวิตอย่างมนุษย์เกิดขึ้นมาเกิดดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มีวันเดือนปีมีพระราชาซึ่งแปลว่าผู้ยังความชอบใจพอใจให้เกิดขึ้นมีการอัญเชิญปู่เจ้าชื่อว่าพระกรรมบดีให้มาร่วมพิธีและให้พรแก่ผู้จงรักภักดีซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์ให้มีความสุขความเจริญสมบูรณ์ด้วยลาภยศศักดิ์อัครฐาน

เนื้อหา
เนื้อเรื่องของลิลิตโองการแช่งน้ำแบ่งเป็น ๕ ส่วนด้วยกัน กล่าวคือ
๑. คำสดุดีเทพเจ้าทั้ง ๓ องค์ ในศาสนาพราหมณ์หรือตรีมูรติ ประกอบด้วยร่าย ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศรและพระพรหม พระผู้ประทับเหนือหลังครุฑ "สี่มือถือสังข์จักรคธาธรณี"(พระนารายณ์) พระผู้ประทับบนวัวเผือก "เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทรเปนปิ่น" (พระศิวะ) และผู้ประทับ "เหนือขุนห่าน" (พระพรหม) เป็นร่ายสามบทสั้นๆ ต่อมาเป็นเรื่องไฟล้างโลก การ สร้างโลก และการอภิเษกพระเจ้าแผ่นดิน
๒. กล่าวถึงกำเนิดโลก และสังคมมนุษย์ อัญเชิญเทพยดา พระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีต่างๆ มาเป็นพยาน ทั้งหมดนี้พรรณนาด้วยโคลงห้า การอัญเชิญพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย มาเป็นพยานในพิธีซึ่งมีคติความเชื่อเรื่องผีบ้านผีเรือน เทวดาชั้นต่าง ๆ และเทวดาอารักษณ์ ที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาจึงต้องเชิญมาเพื่อให้เป็นพยานและเป็นหูเป็นตามิให้ผู้คิดคดทรยศ ความเชื่อเรื่องเทวดา หรือเทพเจ้าต่าง ๆ นี้ เป็นคติพราหมณ์แต่มีคติทางพุทธมาเจือปนจากการอัญเชิญพระรัตนตรัยมาเป็นพยาน
๓. คำสาปแช่งผู้ทรยศ คิดไม่ซื่อต่อเจ้าแผ่นดิน ให้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ทั้งเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้ ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ทั้งจากสัตว์ร้ายจากคมหอกคมดาบ ทั้งหมดนี้พรรณนาด้วยโคลงห้า เป็นเนื้อหาที่ยาวที่สุดในบรรดา ๕ ส่วน
๔.คำอวยพรผู้ที่มีความจงรักภักดี คือเมื่อยังมีชีวิตอยู่ให้ได้รับความดีความชอบปูนบำเหน็จจากพระเจ้าแผ่นดิน ให้เจริญด้วยพร ๔ ประการ เมื่อตายไปให้เทวดานำขึ้นไปสู่สวรรค์เป็นต้น
๕. ถวายพระพรเจ้าแผ่นดิน เป็นร่ายสั้นๆ เพียง ๖ วรรค

พระราชพิธีตรีสัจจปานกาลหรือพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเป็นพิธีพราหมณ์ เกิดจากความเชื่อเรื่องคำสัตย์สาบาน และความเชื่อเรื่องเทพเจ้า การล้างโลก การสร้างโลก ตามคติทางศาสนาพราหมณ์ ประกอบกับความจำเป็นด้านการปกครองบ้านเมือง เนื่องจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นครั้งแรก ต้องการความซื่อสัตย์สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของบรรดาข้าราชบริพารทั้งหลายทำให้ต้องมีพระราชพิธีดื่มน้ำสาบานตน
การถือน้ำครั้งกรุงเก่ากระทำที่วัดศรีสรรเพชญ์ แล้วย้ายไปที่วิหารพระมงคลบพิตร เมื่อถือน้ำแล้ว นำดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปกราบถวายบังคมทูลพระรูปพระเจ้าอู่ทอง แล้วพากันเข้าไปถวายบังคมพระเจ้าแผ่นดินพร้อมกัน
พิธีเริ่มโดยพระมหาราชครูเชิญพระขันหยก มีรูปพระนารายณ์ทรงศรตั้งอยู่กลางขัน แล้วกรมแสงหอกดาบเชิญพระแสงศรพรหมาสตร์ ประลัยวาต และอัคนิวาต ถอดฝักส่งให้พระครูอ่านโองการแช่งน้ำและแทง พระแสงศรองค์ละ ๓ ครั้ง เมื่อกล่าวถึงพระนารายณ์ แทงพระแสงศรปลัยวาต เมื่อกล่าวถึงพระอิศวร แทงพระแสงศรอัคนิวาต เมื่อกล่าวถึงพระพรหม แทงพระแสงสรพรหมมาสตร์
เมื่ออ่านโองการแช่งน้ำจบแล้ว พระอาลักษณ์อ่านคำประกาศสาบานตน แล้วกรมพระแสงหอกดาบเชิญพระแสงตามลำดับ พระมหาราชครูแทงพระแสงในหม้อและขันสาคร แล้วแจกน้ำให้ข้าราชการบริพารดื่ม

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
คณะราษฎร์ นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันตรีควง อภัยวงศ์ นายร้อยโทแปลก คีตะสังคะ เป็นต้น ได้ทำการยึดพระราชอำนาจการปกครองแผ่นดินจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะราษฎร์ได้สั่งยกเลิกพระราชพิธีทั้งหมดในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาด้วย

พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาหรือพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล หมายถึง พระราชพิธีอันเป็นมงคล..แห่งความซื่อสัตย์...ที่ใช้น้ำเป็นเครื่องกำหนด เรียกอย่างย่อว่า... พระราชพิธีถือน้ำ.....
อันเป็นการดื่มน้ำที่แทงด้วย พระแสงราชศัสตรา เป็นการสาบานตน เพื่อแสดงความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของตนเอง หากตั้งอยู่ในความสัตย์..

จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญในด้านการปกครอง โบราณกำหนด ผู้ที่ถือน้ำในพิธีดื่มน้ำสาบานไว้ ได้แก่ .....
บรรดาข้าราชการประจำ ทหารที่ถืออาวุธ ศัตรู..ผู้ที่เข้ามาขอพึ่ง..พระบรมโพธิสมภาร..

นอกจากนั้นยังกำหนดโทษสำหรับ ข้าราชการ ที่ไม่มารวมพิธีถือน้ำถึง....ตาย
ยกเว้นผู้ที่เจ็บป่วย และ มีข้อห้ามไม่ให้ใส่แหวนนาก แหวนทอง ร่วมในพิธี
ห้ามกินอาหารก่อนเข้าพิธี หากผู้ใด ดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา แล้วยื่นต่อให้แก่กันหรือดื่มแล้วเททิ้ง...โดยไม่ได้เทใส่ผม.... มีโทษ ..เป็น กบฏ !!!!

การถือน้ำ ของข้าราชการประจำ ทำปีละ ๒ ครั้ง คือในเดือนห้า ขึ้น ๓ ค่ำ และ ในเดือนสิบแรม ๑๓ ค่ำ พิธีนี้กระทำต่อกันมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย......!!!

อนึ่ง ! ในการเสกทำน้ำพระพิพัฒน์สัตยานั้น พราหมณ์จะเชิญ พระแสงราชศัสตรา มาแทงน้ำรวมทั้งหมด ๑๓ พระองค์ ได้แก่...
พระแสงศร ๓ องค์
พระแสงขรรค์ชัยศรี
พระแสงดาบคาบค่าย
พระแสงราชศัสตรา ประจำรัชกาลที่ ๑ - ๗

แล้วใช้ พระแสงราชศัสตราสำหรับแผ่นดินนี้ แทงน้ำ ประกอบการอ่าน โองการ..แช่งน้ำ..ซึ่งเป็น โคลงห้าหรือโคลงแช่งน้ำ หรือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ อันเป็นวรรณกรรมศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้เกิดความน่าเกรงกลัว หากจะกระทำผิดจาก ....สัตย์สาบาน..และ ..เกิดศรัทธาที่จะกระทำความดี นับเป็นจิตวิทยาทางการปกครอง ที่ควบคุมจิตใจและความประพฤติของข้าราชการ ทหาร ให้ตั้งอยู่ใน ความซื่อสัตย์สุจริต และ จงรักภักดีต่อพระประมุขของชาติ

หลังพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี แล้ว ผู้รับจะยืนกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณตน โดย พราหมณ์จะตักน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดื่ม จากนั้นสมาชิกราชอิสริยาภรณ์รามาธิบดีถวายคำนับ เดินไปยังขันสาคร พราหมณ์จะตักน้ำให้ผู้รับฯ ดื่มต่อไป

โดยปกติ การประกอบพระราชพิธี จะกำหนดไว้ ๒ วัน วันแรกเป็นการเสกน้ำที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ ๒ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และ ดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ที่ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
คุณค่าของลิลิตโองการแช่งน้ำ
๑.คุณค่าทางภาษา เป็นลิลิตเรื่องแรกที่แต่งเป็นร้อยกรองอย่างสมบูรณ์ แต่งได้เหมาะสมกับความมุ่งหมายในพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา๑
๒.เป็นต้นแบบแห่งการสร้างวรรณกรรม
๓.คุณค่าทางการปกครอง เป็นกุศลโลบายให้ราชการรับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดในข้องอในกระดูก

 

โดย: น้ำทิพย์ IP: 223.206.55.108 15 พฤศจิกายน 2553 21:36:43 น.  

 

คณะนักปราบราชกวี แต่งวรรณคดีเรื่องอะไรบ้าง

 

โดย: ณรงค์ IP: 202.28.109.158 12 ธันวาคม 2554 18:09:49 น.  

 

พระสุนภู่โวหารแต่งวรรณคีดอะไรบ้าง

 

โดย: ณรงค์ IP: 202.28.109.158 12 ธันวาคม 2554 18:17:38 น.  

 

น่าจะมีเนื้อหามากกว่านี

 

โดย: โอปอ IP: 115.67.32.6 24 มิถุนายน 2555 18:35:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 

ลูกอินทร์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ลูกอินทร์'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com