Group Blog
 
 
มิถุนายน 2551
 
 
19 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 

เทศกาลใบไม้ในหัวใจดีดี^^♥ มองใบไม้มุมพี่สิน : yyswim




กระซิบความในใจจากดีดี :
วันนี้เป็นวันที่ 11 ของ "เทศกาลใบไม้ในหัวใจดีดี" ทุกวันที่ผ่านมา ได้รับการต้อนรับที่อบอุ่นมากๆเลย ดี.ขอบคุณพี่ๆเพื่อนๆทุกท่านที่ช่วยมาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลครั้งนี้
ขอบคุณพี่ๆทีมงานบล็อกแกงค์ที่แนะนำบล็อกในหน้าหลัก SomeBlog ให้ด้วยค่ะ
วันนี้ขอคุยนิดนึง เพราะอยากจะบอกว่า เรื่องราวในบล็อกนี้ยาวกว่าทุกบล็อก บางท่านอาจจะไม่มีเวลามากพอที่จะอ่านในวันนี้ เพราะบล็อกนี้กับทุกๆบล็อก ตลอดเทศกาล จะอยู่ที่หน้าบล็อกหลัก "มัชชาร"เพียงแค่วันเดียว ดังนั้นจะน่าเสียดายมาก ถ้าอ่านเรื่องนี้ไม่จบ
เพราะพี่สิน ใช้เวลารวบรวม และเรียบเรียงนานทีเดียว
สำหรับวันนี้...
ดี.จึงอยากบอกว่า อ่านจบ หรือเพียงแค่จะแวะมาทักทายกันก่อน
ก็ลงชื่อไว้ให้ดี.สักนิดนะคะ ว่างเมื่อไหร่ก็ค่อยแวะมาอ่านกันอีก
หรือบางครั้ง ถ้าต้องไปหาข้อมูลจาก google ในหัวข้อ "ใบไม้"เมื่อไหร่
google จะนำกลับมาที่บล็อกนี้อย่างแน่นอนค่ะ
นอกจากนี้ พี่สินยังอัพบล็อกหัวข้อ "ใบไม้ " โดยบอกว่า"บล็อกวันนี้ ทำขึ้นเพื่อเป็น ‘ทัพหนุน’ ให้บล็อกของคุณดีดี มัชชาร"
บล็อก "ใบไม้" ของพี่สิน เต็มไปด้วยภาพใบไม้มากมาย
แวะเข้าไปชมกันได้เลยค่ะ
คลิ๊กจากชื่อพี่สินตรง รวบรวมและเรียบเรียงโดย yyswim นะคะ

ดี.ขอบคุณพี่สินมากๆค่ะ

อ่ะค่ะ ไม่รบกวนเวลาแล้ว
ไปอ่านเรื่องราวของ "ใบไม้" จากการรวบรวม และเรียบเรียงของพี่สิน ได้เลยค่ะ







มหัศจรรย์ของใบไม้


รวมรวม-เรียบเรียงโดย : yyswim







ใบเดี่ยว
หมายถึง มีใบเพียงใบเดียวติดกับก้านที่แตกออกจากกิ่งหรือลำต้น
เช่น ใบตอง แต่มีใบเดี่ยวบางชนิด
ที่ขอบใบเว้าเข้าไปมาก ทำให้ดูคล้ายเป็นใบประกอบ
เช่น มะละกอ มันสำปะหลัง

ใบประกอบ
หมายถึง มีใบย่อยตั้งแต่ 2 ใบอยู่ติดกับก้านใบ 1 ก้าน

ใบประกอบแบบนิ้วมือ
มีใบย่อยตั้งแต่ 2 ใบ เช่น มะขามเทศ
ใบย่อย 3 ใบ เช่น ยางพารา ถั่ว
และใบย่อย 4 ใบ เช่น ใบนุ่น หนวดปลาหมึก

ใบประกอบแบบขนนก
โดยใบย่อยแต่ละใบ
จะแยกออกจากก้าน 2 ข้างของแกนกลาง คล้ายขนนก

ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว
เป็นใบประกอบที่มีใบย่อย
แยกออกจากแกนกลางเพียงครั้งเดียว
เช่น กุหลาบ มะขาม ขี้เหล็ก

ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
เป็นใบประกอบแบบขนนก ที่แยกออกจากก้าน
เป็นครั้งที่ 2 จึงมีใบย่อย
เช่น จามจุรี หางนกยูง

ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น
เป็นใบประกอบแบบขนนก ที่แตกแขนงออกจากก้าน
เป็นครั้งที่ 3 จึงมีใบย่อย
เช่น ปีบ มะรุม

และหากปลายสุดของใบ มีใบย่อยเพียงใบเดียว
เรียก ขนนกคี่ เช่น กุหลาบ อัญชัน ก้ามปู

หากปลายสุดของใบ มี 2 ใบ
เรียก ขนนกคู่ เช่น มะขาม ขี้เหล็ก








รูปทรงของใบไม้
เช่น รูปเข็ม รูปหัวใจ รูปลิ่ม
รูปนิ้วมือ รูปไข่ รูปเคียว
รูปพัด รูปใบหอก เป็นแฉก
เป็นพู เป็นหยัก แบบตีนเป็ด
รูปหัวใจกลับ รูปใบหอกกลับ
รูปไข่กลับ รูปไต รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด
รูปกลม รูปหัวลูกศร รูปช้อน รูปดาบ
...และมีอีกมากมาย...


ขอบใบ
เช่น เรียบ เป็นขนครุย
หยักมน หยักซี่ฟัน หยักซี่ฟัน 2 ชั้น เป็นชายครุย
จักลึก แหว่ง เป็นแฉก เป็นพู
จักซี่หวี จักฟันเลื่อย จักฟันเลื่อย 2 ชั้น เป็นคลื่นเล็กน้อย
เว้าเป็นคลื่น มีหนาม แหว่งมีหนาม จักมีหนาม
…เป็นต้น...


ปลายใบ
เช่น แหลม เว้าตื้น เป็นติ่งหนาม
รูปหัวใจกลับ ป้าน มน ปลายตัด
...เป็นต้น...


โคนใบ
.เช่น เรียวแหลม รูปติ่งใบ รูปหัวใจ รูปลิ่ม
รูปเงี่ยงใบหอก เบี้ยว รูปไต กลม รูปเงี่ยงลูกศร
...เป็นต้น...







ผิวใบ
มีหลายแบบ เช่น
มีนวลแป้ง เกลี้ยง เหนียว มีปุ่มเล็ก
ขนสั้นนุ่ม จุดโปร่งแสง
รอยย่น เป็นขุย เป็นตุ่ม...เป็นต้น

ขนใบ
มีหลากหลายแบบ เช่น
ขนคล้ายใยแมงมุม มีขนบางรูปตะขอ
มีขนเครา มีขนแข็ง มีขนหยาบ
มีขนแข็งเอน มีขนสาก มีขนคาย
มีขนสั้นสีเทา มีขนปุย เป็นขนครุย
มีขนละเอียด มีขนสั้นนุ่ม มีขนสั้นหนานุ่ม
มีขนแบบขนแกะ มีขนคล้ายไหม
มีต่อม หรือ เกลี้ยง...เป็นต้น


รายละเอียดเพิ่มเติม เชิญเปิดอ่านที่นี่


ยิ่งกว่านั้น ไม้ประดับ ดูดสารพิษได้
ดูดได้ตรงใบนี่แหละ เชิญเปิดอ่านที่นี่ครับ










ใบไม้ร่วง






หนังสือ ใบไม้ที่หายไป

โดย จิระนันท์ พิตรปรีชา
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ อ่านไทย ปีพ.ศ. 2532
91 หน้า. ราคา 35 บาท.








‘ใบไม้ที่หายไป’ เป็นหนังสือกวีนิพนธ์
ที่รวบรวมความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียน
จำนวน 35 ชิ้น เรียงร้อยตามเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาสู่ชีวิตของเธอ
โดยแบ่งออกเป็น 5 ช่วงเวลา คือ

ระหว่าง พ.ศ. 2513 - 2515
เธอ คือ สาวน้อยวัยเยาว์ ผู้มองโลกอันสวยงาม

ระหว่าง พ.ศ. 2516 - 2519
เธอ คือ ผู้พลิก ภาพลักษณ์ ของดาวจุฬาฯ
มาสู่ ผู้มีอุดมการณ์ มุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาสังคม

ระหว่าง พ.ศ. 2520 - 2522
เธอ คือ ทหารป่าที่เชื่อมั่นว่า
การตัดสินใจถูกต้องแล้ว ที่จะอุทิศตน
เพื่อต่อสู้ กับความ อยุติธรรม ต่างๆ

ระหว่าง พ.ศ. 2522 – 2523
เธอ คือ กรวดเม็ดร้าว
ที่เจ็บช้ำด้วยความพ่ายแพ้
และเธอได้รับบทบาทของการเป็นแม่

ช่วงสุดท้าย ระหว่าง พ.ศ. 2524 - 2528
เธอคือ นักศึกษาวิชาประวัติศาสตร์
ของมหาวิทยาลัยชั้นนำในอเมริกา
เป็นช่วงเวลาของ การรักษาบาดแผลชีวิตด้วยความสุขุม
พร้อมกับเข้าใจธรรมชาติและสัจจะแห่งชีวิตดีขึ้น








‘ใบไม้ที่หายไป’ เป็นหนังสือรางวัลซีไรต์ ในปีพ.ศ.2532

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ให้เกียรติเขียนคำนำให้ หน้า (9) - (13)




ไม้ดอกนี้ชื่อจิระนันท์

มีงานหนังสือของคนเขียนหนังสือบางคน
ที่เราไม่อาจปล่อยให้ผ่านไปได้
จิระนันท์ พิตรปรีชา
เป็นคนเขียนหนังสือคนหนึ่ง ที่ผม "ต้องอ่าน"

นักเลงกาพย์กลอนจะต้องไม่พลาด
กวีที่ลือลั่นสองบท คือ "ดอกไม้จะบาน" (2516)
และ "อหังการของดอกไม้" (2516)

บทขึ้นต้นของ "ดอกไม้จะบาน" ว่า

ดอกไม้ ดอกไม้จะบาน
บริสุทธิ์กล้าหาญ จะบานในใจ


และบทลงท้ายของ
"อหังการของดอกไม้" ว่า

ดอกไม้มีหนามแหลม
มิใช่แย้มคอยคนชม
บานไว้เพื่อสะสม
ความอุดมแห่งผืนดิน


สองบทนี้คือ
จิระนันท์ พิตรปรีชา
ผู้สร้างคุณค่าใหม่ให้กับ
ผู้หญิง ดอกไม้ และบทกวี


เราไม่อาจเอ่ยถึง จิระนันท์
โดยหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงขบวนการนิสิตนักศึกษา
และหนุ่มสาวรุ่นใหม่ยุค 14 ตุลาคม ได้เลย

เพราะเธอคือหนึ่งในผู้นำนั้น






เธอทำให้ภาพของนิสิตหญิง
จำพวก "ดาวจุฬา-ธิดาโดม"
เปลื่ยนจาก "ศรีจุฬาน่ารักเอย"
และ "โสภาหนักหนาน่าโลม"
มาเป็นภาพลักษณ์ใหม่ของคนหนุ่มสาว
ที่เคียงบ่าเคียงไหล่เข้าคัดต้านความอยุติธรรม
ในแผ่นดินอย่างทระนงองอาจ
กลายเป็นวีรกรรมและตำนานที่ตรึงตราตรึงใจนัก

ยุคสมัยของเธอ เป็นยุค
"เปลี่ยนมือที่อ่อนนิ่มเป็นเหล็ก"
ก่อนหน้านั้นหนุ่มสาวนิสิตนักศึกษา
ยังสนุกสนานอยู่กับกิจกรรมซ้ำซากประเภท
"จับระบำเต้นเล่น"
เป็นประเพณีในวงการกาพย์กลอนหรือวงวรรณศิลป์
ที่ยังนั่งสลักวรรคทองกันอยู่ไม่รู้แล้ว

จากนั้นมา ถึงยุคหงุดหงิดและแสวงหา
หัวเลี้ยวหัวต่อตรงนี้
มีกลุ่มหนุ่มเหน้าสาวสวยและกลุ่มพระจันทร์เสี้ยว
กาพย์กลอนอันเป็นตัวแทนของสองกลุ่มนี้
คือ บทกวีของ สุจิตต์ วงศ์เทศ ที่ชื่อ
"กูเป็นนิสิตนักศึกษา" (2511)
และบทกวีของวิทยากร เชียงกูล ที่ว่า
"ฉันจึงมาหาความหมาย"
ใน "เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน" (2511)
ผสานกับความคึกคักของกลุ่มปริทัศน์เสวนา
ของ ส. ศิวรักษ์
กระทั่งเกิดกลุ่ม สภาหน้าโดม
และ กลุ่มโซตัสใหม่
ตลอดจนสถาบันของคนหนุ่มสาวแห่งอื่น
ก็ตื่นตัวและเติบโตขึ้นอย่างหนักแน่น

และนี่แหละคือ ดอกไม้ ดอกไม้จะบาน

จิระนันท์ พิตรปรีชา
ได้สรุปยุคสมัยของเธออย่างกระชับและงดงาม


"ดอกไม้" ของเธอคือคนหนุ่มสาว
คือพลังศรัทธา บริสุทธิ์ กล้าหาญ
เป็นจิตสำนึกที่ถูกปลุกขึ้นมาในยามสังคมมืดมน
ผู้คนหมักหมม

สตรีมีดวงตา
เพื่อเสาะหาชีวิตใหม่
มองโลกอย่างกว้างไกล
มิใช่คอยชม้อยชวน


จิระนันท์ พิตรปรีชา
มีกาพย์กลอนสองบทนี้ เป็นมงกุฎกวีของเธอ
มงกุฎกวีของจิระนันท์ มิได้สวมด้วยมือใคร
ยุคสมัยเท่านั้นที่สร้างเธอมาพร้อมกับมงกุฎกวี
เพราะบทกวี คือผลึกของความรู้สึกนึกคิด
ยุคสมัยของจิระนันท์
ได้เจียระไนจิระนันท์มาอย่างนี้


ผมค่อนข้างเชื่อว่า ช่วงวัยสิบกว่าขวบของคน
เป็นช่วงพื้นฐานที่ซื้ออนาคตของเด็กได้
ช่วงวัยสิบกว่าขวบของจิระนันท์ ตกราว พ.ศ.2510
ตอนนั้นเด็กหญิงจิระนันท์ ยังเป็นเด็กช่างอ่าน
ช่างเขียน และช่างเรียนรู้อยู่เมืองตรัง

ผมมีฉันทาคติว่า เด็กต่างจังหวัด คือเด็กภูธร
ไม่ใช่นครบาลนั้น ได้เปรียบเด็กเมืองหลวง
ตรงความใฝ่ฝันและทะเยอทะยาน
กอปรกับสิ่งแวดล้อมคือบ้านของจิระนันท์
เป็นร้านขายหนังสือ
และคุณแม่เป็นผู้รักในวิชาหนังสือและการศึกษา
สองสิ่งนี้คือพื้นฐานสำคัญ
ที่สร้างความใฝ่ฝันและความใส่ใจในกาพย์กลอน
ของเด็กหญิงจิระนันท์
มาเป็นจิระนันท์ พิตรปรีชา ในปัจจุบัน

รางวัลชนะกลอนประกวดของจังหวัด เมื่อพ.ศ.2511
และกาพย์กลอนได้ถูกตีพิมพ์ใน
นิตยสาร ชัยพฤกษ์ , วิทยาสาร ยุคไล่ๆกันนั้น
ย่อมเป็นประจักษ์พยานอย่างดี


ในแวดวงวรรณศิลป์เป็นช่วงสืบทอดยุคเริ่มแสวงหา
นักกลอนที่มีบทบาทนำในยุคนี้มี
สุรศักดิ์ ศรีประพันธ์ เป็นต้น

ผมเคยแบ่งช่วงยุคสมัยของกาพย์กลอน
เป็นคำให้จำง่ายๆ สั้นๆ ไว้สี่ห้ายุค คือ
ยุคความคิดใหม่ (2480-2490)
ใฝ่การเมือง (2490-2500)
เฟื่องการรัก (2500-2510)
ชักธงรบ ( 2510-2520)
และ ยังไม่พบเส้นทาง

ยุคเริ่มแสวงหา ที่ผมว่านั้น
ตกช่วงคาบลูกคาบดอก ระหว่าง
"เฟื่องการรัก' กับ "ชักธงรบ"
ยุคนี้กาพย์กลอนเล่นฉันทลักษณ์กันแม่นเปรี๊ยะ
ถึงขนาดจำหลักลายซ้อนลงในกาพย์กลอนแปด
ของสุนทรภู่ เช่น เล่นคำซ้ำอักษรในคำที่สาม
ที่ห้า ที่แปด ของแต่ละวรรค เช่น

แล้วร้อยดาวเรียงดวงเป็นรวงดาว

ด้านเนื้อหา
นักกลอนได้ผ่านการจับอารมณ์
และความรู้สึกของตัวเอง
ในเรื่องความรักอย่างลึกซึ้ง หวานหวิว เช่น

ดอกรักบานในใจใครทั้งโลก
แต่ดอกโศกบานในหัวใจฉัน

ดังนั้น เมื่อเริ่มยุคแสวงหาจึงมีนักกลอนไม่กี่คน
ที่กล้าผละพรากอารมณ์รักออกมาได้
นักกลอนไม่กี่คนนี้แหละ
ที่เป็นผู้นำในการประสานฝีมือด้านรูปแบบ
เข้ากับเนื้อหาใหม่ ได้อย่างน่าทึ่ง
สุรศักดิ์ ศรีประพันธ์ เป็นคนหนึ่งในจำนวนน้อยนี้

และจิระนันท์ ก็เริ่มจะเติบโตขึ้นภายใต้อิทธิพลนี้

กาพย์กลอนของเธอ
จึงได้รับอิทธิพลทั้งรูปแบบ
และเนื้อหาของยุคนั้น เต็มที่ เช่น

จากบท "ห้วงคำนึง" (2513)

หมอบพับเพียบเลียบริมน้ำปริ่มฝั่ง
ตะแคงฟังนิยายเพลินจากเนินหญ้า
ระบำมดคดเคี้ยวเลี้ยวลับตา
หยาดน้ำฟ้าลากทิ้งกลิ้งใบบอน


ลักษณะสลักเสลาเกลากลอนของจิระนันท์เช่นนี้
น่าสนใจนัก เพราะถัดจากนี้
เมื่อถึงยุค "ชักธงรบ"เต็มที่
ก็ยิ่งมีนักกลอนน้อยคนเข้าไปอีก
ที่ยืนม้าพร้อมรบอยู่ในเกราะของรูปแบบ
และเนื้อหาได้อย่างเป็นเอกภาพทรงพลัง


ภารกิจในสถานการณ์สู้รบ
ทำให้ จิระนันท์ เติบโตเร็ว
ไม่สมกับที่จิระนันท์บอกว่า

ดอกไม้ บานให้คุณค่า
จงบานช้าช้า แต่ว่ายั่งยืน


หนุ่มสาวยุคนั้นมีส่วนผลักดันประวัติศาสตร์ให้เคลื่อนไป
เท่ากับที่กระแสธารประวัติศาสตร์
ก็ผลักดันให้หนุ่มสาวของเราเติบโตเร็วด้วย

ช่วงผ่าน "มหาวิทยาลัยคนกล้าหาญ" ในป่าเขา
ทำให้ จิระนันท์ ได้ข้อสรุปเป็นบทกวี "เศษธุลี (2524)

ปรารถนาเป็นธุลีทุรน
ดีกว่าทนกลั้นใจอยู่ใต้น้ำ


บทนี้ของ จิระนันท์ ก็ยังเป็นตัวแทนของผู้ผ่าน
"มหาวิทยาลัยคนกล้าหาญ" อีกนั่นเอง

จิระนันท์ เกิดมาในครอบครัวดี
ยุคสมัยดี เพื่อนดี เพื่อนชีวิตที่ดี เช่น
คุณเสกสรรค์ ประเสริฐกุล
ซ้ำยังมีโอกาสได้พบกับ มหากวี เช่น "นายผี"
อันสองคนนี้ คือ เสกสรรค์ และ "นายผี"
เป็นคนที่ผมเชิดชูบูชาทั้งคู่

จิระนันท์ จึงเป็นดั่งเพชรที่ได้รับการเจียระไน
จากมือแห่งยุคสมัยจนเจิดจรัส
เธอไม่ใช่ "กรวดทราย"
เธอจึงไม่อาจเป็น "กรวดเม็ดร้าว" ได้

และเธอก็มิได้เป็น
"ใบไม้ที่หายไป"
หากเธอ คือ
ใบไม้และดอกไม้ที่เติบโตไปตามลำต้น
"เพื่อสะสมความอุดมแห่งผืนดิน"
อยู่นั่นเอง

อ่าน ‘ใบไม้ที่หายไป’ เล่มนี้
นอกจากได้อ่านพัฒนาการกวีของ
จิระนันท์ พิตรปรีชา
ก็ยังได้อ่านพัฒนาการสังคมไทยในช่วงหนึ่ง
ยุคหนึ่ง ที่คนหนุ่มสาวของเรา คือ
ความภาคภูมิใจของแผ่นดิน


ด้วยบทบาทอันมิอาจบดบังได้













 

Create Date : 19 มิถุนายน 2551
43 comments
Last Update : 19 มิถุนายน 2551 8:19:25 น.
Counter : 5362 Pageviews.

 

โหยยย....สมกับเป็นบล็อกของพี่สินจริงๆครับ
ตัวจริง ชัดเจน
แน่นมากเรื่องข้อมูล
อ่านบล้อกพี่สิน (ที่บล้อกน้องดี) วันนี้
ยังไงก็ต้องได้ความรู้กลับไปแน่นอนครับ

 

โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) 19 มิถุนายน 2551 8:13:35 น.  

 

ขอบคุณข้อมูลจากคุณสินค่ะ
แล้วจะมาติดตามเทศกาลใบไม้ของดีดีต่อไปค่ะ

 

โดย: เนระพูสี IP: 202.12.73.19 19 มิถุนายน 2551 8:23:46 น.  

 

แวะมาอ่านสิ่งดีดี

ภาคใต้มียำใบไม้ทานกะน้ำพริกแห้งๆ จานหนึ่งมีใบไม้ประมาณ 30 อย่างได้

เป็นเทศกาลใบไม้ของทุกๆ มื้อ

ขอบคุณที่นำสิ่งดีดี มาฝาก จ๊ะ

 

โดย: บ้าได้ถ้วย 19 มิถุนายน 2551 9:00:22 น.  

 

วันนี้ขึ้นต้นมาแบบวิชาการ ได้ความรู้ไปอีกแบบ อิอิ

มีความสุขนะคะคุณดี

 

โดย: pataramin 19 มิถุนายน 2551 9:17:29 น.  

 



ข้อมูลแน่นปึ๊ก

อ่านแบบสะกดตัวสะกดคำ

เพราะหลงใหลใบไมที่ชื่อ

........จีรนันท์ พิตรปรีชา........

เหมือนกัน

มีความสุขกับใบไม้ทุกๆใบนะคะคุณดี ดี



 

โดย: ยายกุ๊กไก่ 19 มิถุนายน 2551 9:29:05 น.  

 

หวัดดีจ้า น้องดี สบายดีนะ

โทษที หายหน้าหายตัวไปนาน

ขอให้น้องดีมีความสุขนะคะ

 

โดย: รวมการเฉพาะกิจ 19 มิถุนายน 2551 9:39:21 น.  

 

แค่เรื่องใบไม้ ก็ให้ความรู้มากมายนะคะ ขอบคุณที่เอามาให้อ่านค่ะ และรูปประกอบก็สวยมากๆค่ะ

 

โดย: วินนี่ย์หมีพูห์ 19 มิถุนายน 2551 9:57:03 น.  

 

เเวะมาลงชื่อด้วยคนค่ะ


ขอบคุณนะคะที่เเวะไปเยี่ยมกันที่บล็อค

 

โดย: มาดามอุ้ย 19 มิถุนายน 2551 10:32:35 น.  

 

แวะมาลงชื่อค่า
อ่านแล้วได้ความรู้เยอะแยะเลย
ขอบคุณมากนะคะ

 

โดย: บัวริมบึง 19 มิถุนายน 2551 10:44:48 น.  

 

ได้ความรู้เยอะเลย ขอบคุณครับ

 

โดย: REX-REX 19 มิถุนายน 2551 11:09:56 น.  

 

เป็นคนชอบสีเขียว...ใบไม้

ใบไม้

 

โดย: เหนือฟ้า พาไป 19 มิถุนายน 2551 11:11:06 น.  

 

ประทับใจในดอกไม้ที่ชื่อ "จิระนันท์" มากค่ะ

เคยอ่านใบไม้ที่หายไปตั้งแต่ตอนเป็นนักศึกษาปี 1
ชอบบท"อหังการของดอกไม้" มากเป็นพิเศษ

สวัสดีค่ะ น้อง ดี
สบายดีนะคะ

 

โดย: ม่านฟ้านาคราช 19 มิถุนายน 2551 11:34:58 น.  

 

ข้อมูลแน่นดี เข้ามาเก็บเกี่ยวใบไม้ด้วยค่ะ

ชอบ "ใบไม้ที่หายไป" มาก ๆ
พลาดไม่ได้เลยสำหรับนักเขียนซีไรท์ ญ แกร่งผู้นี้

 

โดย: บ้านดินริมสวน 19 มิถุนายน 2551 12:03:59 น.  

 



มีความสุขมาก ๆ นะคะยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

 

โดย: ธิธารา 19 มิถุนายน 2551 12:34:48 น.  

 

Image Hosted by CompGamer Image Host

อิ่มท้องแล้วก็มีแรงทำงานจ้า

 

โดย: ............ (เจ้านายหัวใจ ) 19 มิถุนายน 2551 12:56:20 น.  

 

เพิ่งสังเกตุว่า"เทศกาลใบไม้ในหัวใจดีดี" สิ้นสุดวันเดียวกับบอลยูโรเลยนะนั่น

อีกหนึ่งใบไม้เอามาฝาก

 

โดย: ลุงแอ๊ด 19 มิถุนายน 2551 13:38:53 น.  

 



******คุณสิน สุดยอด*******

ข้อมูลแน่นปึ๊กยิ่งกว่าใบไม้หลายๆต้นรวมกัน

ต้องอ่านสัก 2-3 รอบถึงจำได้ว่าชนิดไหนบ้าง

ต่อไปเดินออกกำลังกายจะได้

ทดลองตัวเองบ้างว่าจำได้แค่ไหน55+

หลากหลายชนิดเนาะดีจังเลย


ขอร่วม ขอบคุณ คุณสิน กับน้องดี ดี นะคะ

มีความสุขน๊า น้องดี ดี

 

โดย: ซอมพอแสด IP: 125.25.202.85 19 มิถุนายน 2551 13:56:39 น.  

 


ยินดีด้วยกับความสำเร็จของน้องดี...มีคนเข้ามาอ่านกันเยอะ แถมได้เป็น Someblog ของบล๊อกแก๊งค์อีกด้วย อุอุอุ เป็นยากนะนั่น


รู้ว่าน้องดีมีงานเยอะ และเหนื่อยมากในช่วงนี้


ขอส่งกำลังใจมาให้หนึ่งคันรถสิบล้อครับ บรึ๊น บรึ๊น ... บรึ๊น บรึ๊น

 

โดย: yyswim 19 มิถุนายน 2551 14:49:04 น.  

 

ถ้าหมิงหมิงไม่เป็นแบบพี่ก๋าตอนสมัยเรียน
ก็คงไม่น่าห่วงเท่าไหร่นะครับ 555555

ถ้าเป็นเหมือนพ่อตอนนี้ก็มีความสุขในการใช้ชีวิตแน่นอนครับ

 

โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) 19 มิถุนายน 2551 15:00:00 น.  

 

ชอบบทกวีของคุณจิระนันท์จัง

เมื่อก่อนพี่ก็ซื้อหนังสือใบไม้ที่หายไปมาอ่าน

แต่ให้ใครยืมไปหลายคน สุดท้าย หนังสือใบไม้ที่หายไป ก็หายไปจริงๆ

 

โดย: พจมารร้าย 19 มิถุนายน 2551 15:18:29 น.  

 

คุณสินแกสมกับเป็นนักเขียนบล๊อคด้านนำเสนอข้อมูลจริง ๆ...

อ่านจบไปหนึ่งรอบแล้วค่ะ เดี๋ยวไว้มาใหม่ยังจำได้ไม่หมด...

 

โดย: ลิตช์ (Litchi ) 19 มิถุนายน 2551 15:34:33 น.  

 

ลงชื่ออ่านด้วยคนค่ะ

 

โดย: Oops! a daisy 19 มิถุนายน 2551 15:41:53 น.  

 

ชอบอ่านบล็อกนี้ เพิ่งเข้ามาเจอตามคำแนะนำค่ะ อ่านแล้วสบายใจได้สาระดีดี ขออนุญาตแอดบล็อกนะคะ...

 

โดย: Patarawan H 19 มิถุนายน 2551 15:44:38 น.  

 

ได้ความรู้ดีคะ add เก็บไว้คะ
จะได้อ่านอีกหลายๆๆ เที่ยว

 

โดย: 2LoveYou 19 มิถุนายน 2551 16:25:18 น.  

 

แอบชอบคุณจีระนันท์ พิตรปรีชา นานแล้วค่ะ...เป็นไอดอลของดิฉันเลย

แวะมาขอบคุณที่เข้าไปเยี่ยม ไปเจิมให้ที่บล็อกค่ะ
มาบล็อกได้สาระดี ดี แบบนี้ รู้สึก ดี ดี ตามชื่อ จขบ ไปเลยค๊า

 

โดย: กลีบดอกโมก 19 มิถุนายน 2551 16:47:55 น.  

 

ดีจังเลยครับ หลากหลายเรื่องราวใบไม้จากหลายๆท่าน ^^

ตอนสมัยผมเรียนใกล้จะจบ ก็เคยทำรายงานเรื่องไม้ประดับดูดสารพิษด้วยเหมือนกันนะครับ

 

โดย: อะไรคือสิ่งหายาก แต่ไม่มีค่า 19 มิถุนายน 2551 16:58:43 น.  

 

ตามมาชมแล้ว แต่ขาดหายไปซะหลายวัน เดี๋ยวตามไปย้อนหลังอีกทีก็แล้วกัน

 

โดย: ถปรร 19 มิถุนายน 2551 17:42:30 น.  

 

รู้สึกดีมาก ๆ เลยที่ได้เห็นใบไม้..

 

โดย: อนันตลัย 19 มิถุนายน 2551 19:32:32 น.  

 

ใบไม้ที่หายไป...........ของจีระนันท์

บางทีมันไม่ได้หายไปหรอก มันล่มสลายไปแล้วต่างหาก......

มุมมองใบไม้

เฮ่อก๊อบจากบล็อกพี่สินดีมั้ยเนี่ย เพราะจุเพิ่งมาจากบล็อกพี่สิน....


มีต้นไม้อยู่ต้นหนึ่งที่จุชอบมอง

ต้นพญาไร้ใบ...... มองมันด้วยความเศร้าๆ เหงาๆ ยังงัยไม่รู้ เวลาที่เจอแล้ว ชอบไปลูบๆ คลำๆ แต่ไม่ได้มีเจตนา อนาจารแต่อย่างใดนะ จุแค่อยากสัมผัสเพื่อบอกเขาว่า...ทุกคนมีวิถีของตัวเอง ต้นไม้ก็เช่นกัน...

 

โดย: กระจ้อน 19 มิถุนายน 2551 19:47:33 น.  

 

หวัดดียามค่ำครับน้องดีดี


พี่ก๋ากำลังว่าจะหลับ
ทำไปทำมาไม่หลับซะงั้น หุหุหุ


รูปมีเยอะครับแต่คิดว่าน้องดีได้ดูหมดแล้วครับ
เพราะพี่ก๋าเอาภาพไปลงที่มัลติพลายก่อนครับ
แล้วถึงมาลงที่บล็อกต่อ

 

โดย: ก๋า เก็กเสียง (กะว่าก๋า ) 19 มิถุนายน 2551 19:55:14 น.  

 

สวัสดีครับ เข้ามาดูใบไม้สวยๆครับ

 

โดย: มิตรรัก 19 มิถุนายน 2551 20:02:48 น.  

 

มาตามหาใบไม้ที่หายไป

คุณดีเจอไหมคะ หายไปใบหนึ่ง
ยังตามหาไม่เจอเลย

เอ่อ...ใบไม้ในที่นี้คือที่รักนั่นเอง ยังหาไม่ได้เลย 555+

ข้อมูลวันนี้แน่นเอียดเลยนะคะเนี่ย

 

โดย: fonrin 19 มิถุนายน 2551 20:19:07 น.  

 

ดีครับ

 

โดย: my in love 19 มิถุนายน 2551 20:56:24 น.  

 

คุณดีเช็คเมลนะค่ะ

ส่งไปแล้วค่ะ

 

โดย: โอน่าจอมซ่าส์ 19 มิถุนายน 2551 21:28:28 น.  

 

เส้นสายธรรมชาติสร้างสรร

ใบทุกใบไม่เหมือนเหมือนกัน

 

โดย: อนันต์ครับ 19 มิถุนายน 2551 21:33:56 น.  

 

มาลงชื่อไว้ก่อนนะคะ เดี๋ยวว่าง ๆ จะแวะมาอ่านใหม่
สบายดีนะคะ ช่วงนี้เรียนยุ่งกว่างานค่ะ

 

โดย: กระจิบหญ้าสีเรียบ 19 มิถุนายน 2551 21:58:59 น.  

 

มาชมภาพใบไม้สวยๆนะครับ

 

โดย: ปลายเทียน 19 มิถุนายน 2551 22:35:33 น.  

 

อ้อ พี่มาขอ add น้องดี ด้วยค่ะ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

 

โดย: ม่านฟ้านาคราช 19 มิถุนายน 2551 23:21:17 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณดี ใบไม้นี่มหัศจรรย์จริงๆ
ถ้าไม่มีอะไรมากระตุ้นเตือนก็นึกไม่ถึงจริงค่ะ

เยี่ยมทั้งคุณดีและคุณสินเลยค่ะ

เคยมีรุ่นพี่คนนึงเคยบอกไว้ประมาณว่าตั้งข้อสังเกตุ ว่าใบไม้ลักษณะเหมือนอะไรจะช่วยบำรุงรักษาส่วนนั้น
เช่นบัวบกคล้ายหัวใจ ก็จะช่วยบำรุงรักษาหัวใจ แต่ก็คงไม่ทุกชนิด
พอดีอ่านเรื่องใบไม้แล้วแว๊บคิดถึงพี่คนนั้นขึ้นมาอะค่ะ

ฝันดีนะคะคุณดี

 

โดย: ปางหวัน 20 มิถุนายน 2551 0:17:51 น.  

 

สวัสดี....เอ่อ...สวัสดีตีสองครึ่งครับน้องดี 55555

หมิงหมิงตื่น
พี่ก๋าก็ตื่น

หมิงหมิงหลับ
พี่ก๋าไม่หลับ 55555


 

โดย: ก๋า เก็กเสียง (กะว่าก๋า ) 20 มิถุนายน 2551 2:40:23 น.  

 

น้องดี


เรื่องรูปหมิงหมิงในมัลติพลาย...
2 บล็อกนี้ก็หลายรูปแล้วนะครับน้องดี
ก็อปไปได้เลยครับ 5555

ถ้าพี่ก๋าส่งให้ที่เมล์มันจะช้ามากเลยครับ
น้องดีกด Zoom in แล้วก็เซฟไปเลยจะง่ายกว่าครับ

ลุยได้ตามสบายเลยครับ 5555

ขายได้หัก 10 % เข้ากองทุนหมิงหมิงอินฮาวาร์ดล่ะกัน 55555

 

โดย: ก๋า เก็กเสียง (กะว่าก๋า ) 20 มิถุนายน 2551 4:09:12 น.  

 

มาลงชื่อไว้ก่อน ย่าไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไรดี ขอเก็บข้อมูลของคนเก่งไปก่อนนะคะ อิอิ

 

โดย: ดา ดา 20 มิถุนายน 2551 15:21:01 น.  

 

มารำลึก 14 ตุลากันค่ะ

 

โดย: ป้ามด 14 ตุลาคม 2558 11:00:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


มัชชาร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




Friends' blogs
[Add มัชชาร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.