ความดับลงแห่งกองทุกข์ มีได้เพราะการดับไปแห่งความเพลิน
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
3 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
นรกเพราะไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทร้อนยิ่งกว่านรกไหนหมด




นรกเพราะไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทร้อนยิ่งกว่านรกไหนหมด


..........ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ! นรกชื่อว่ามหาปริฬาหะ มีอยู่. ในนรกนั้น, บุคคลยังเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยจักษุ แต่ได้เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าปราถนาเลย; เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่เลย; เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจเลย. ในนรกนั้น,

บุคคลยังฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยโสตะ แต่ได้ฟังเสียงที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่ได้ฟังเสียงที่น่าปรารถนาเลย; ฟังเสียงที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่ได้ฟังเสียงที่น่าใคร่เลย; ฟังเสียงที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่ได้ฟังเสียงที่น่าพอใจเลย. ในนรกนั้น,

บุคคลยังรู้สึกกลิ่น อย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยฆานะ แต่ได้รู้สึกกลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่ได้รู้สึกกลิ่น ที่น่าปรารถนาเลย; ได้รู้สึกกลิ่นที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่ได้รู้สึกกลิ่นที่น่าใคร่เลย; ได้รู้สึกกลิ่นที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่ได้รู้สึกกลิ่นที่น่าพอใจเลย. ในนรกนั้น,

บุคคล ยังลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยชิวหา แต่ได้ลิ้มรสที่ไม่ปรารถนาอย่างเดียว ไม่ได้ ลิ้มรสที่น่าปราถนาเลย; ได้ลิ้มรสที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่ได้ลิ้มรสที่น่าใคร่เลย; ได้ลิ้มรสที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่ได้ลิ้มรสที่น่าพอใจเลย. ในนรกนั้น,

บุคคลยังถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยกาย แต่ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะที่ไม่น่าปรารถนา อย่างเดียว ไม่ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะที่น่าปรารถนาเลย; ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะที่น่าใคร่เลย; ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะที่ไม่น่าพอใจ อย่างเดียว ไม่ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะที่น่าพอใจเลย, ในรกนั้น,

บุคคลยังรู้สึกธัมมารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยมโน แต่ได้รู้สึกธัมมารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่ได้รู้ สึกธัมมารมณ์ที่น่าปรารถนาเลย; ได้รู้สึกธัมมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่ได้รู้สึก ธัมมารมณ์ที่น่าใคร่เลย; ได้รู้สึกธัมมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่ได้รู้สึกธัมมารมณ์ที่น่าพอใจเลย

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "

..........ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ความเร่าร้อนนั้น ใหญ่หลวงหนอ
..........ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ความเร่าร้อนนั้น ใหญ่หลวงนักหนอ.

..........ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! มีไหม พระเจ้าข้า: ความร้อนอื่นที่ใหญ่หลวงกว่า น่ากลัวกว่า
กว่าความร้อนนี้?"

..........ดูก่อนภิกษุ! มีอยู่: ความเร่าร้อนอื่น ที่ใหญ่หลวงกว่า น่ากลัวกว่ากว่าความร้อนนี้.

.........."ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ความร้อนอื่นที่ใหญ่หลวงกว่า น่ากลัวกว่ากว่าความร้อนนี้ เป็นอย่างไรเล่า?"

..........ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า "ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ "; ว่า "เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ "; ว่า "ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ"; ว่า "ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ";

สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมยินดียิ่งในสังขารทั้งหลาย อันเป็นไปพร้อมเพื่อชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาส; สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นยินดียิ่งในสังขารทั้งหลาย เช่นนั้นแล้ว, ย่อมปรุงแต่งซึ่งสังขารทั้งหลายอันเป็นไปพร้อมเพื่อชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาส;

สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นปรุงแต่งซึ่งสังขารทั้งหลาย เช่นนั้นแล้ว, ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่งชาติ (ความเกิด) บ้าง; ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่งชราบ้าง, ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่งมรณะบ้าง, ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่งโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสบ้าง:

เรากล่าวว่า "สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นจากชาติชรามรณะ โสกะปริ-เทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย คือไม่พ้นจากทุกข์" ดังนี้.

..........ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสมณหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า "ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ"; ว่า "เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ"; ว่า "ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ"; ว่า " ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ";

สมณพราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลาย อันเป็นไปพร้อมเพื่อชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส;

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลาย เช่นนั้นแล้ว, ย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่งสังขารทั้งหลาย อันเป็นไปพร้อมเพื่อชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส; สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นไม่ปรุงแต่งซึ่งสังขารทั้งหลาย เช่นนั้นแล้ว, ย่อมไม่เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่งชาติ (ความเกิด) บ้าง ย่อมไม่เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่งชรา บ้าง ย่อมไม่เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่งมรณะบ้าง ย่อมไม่เร้าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่งโลกะ ปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสบ้าง:

เรากล่าวว่า "สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมหลุดพ้นจากชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย คือหลุดพ้นจากทุกข์" ดังนี้.

..........ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามที่เป็นจริงว่า "ทุกข์เป็นอย่างนี้ ๆ "; ว่า "

เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ "; ว่า "ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ";ว่า "ข้อปฏิบัติเครื่องทำ สัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ";ดังนี้เถิด.




Create Date : 03 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2553 15:53:07 น. 26 comments
Counter : 557 Pageviews.

 
1. ทำกายสังขารให้ระงับ (คือ ไม่เกร็งร่างกาย หรือ เกร็งสมอง ปล่อยร่างกายทุกส่วน ให้ผ่อนคลาย ปล่อยให้ระบบการหายใจเข้าออก ไปเป็นไปตามปกติ โดยธรรมชาติ ไม่ฝืนหรือบังคับมัน...และไม่จำเป็นต้องหลับตา...

ตอบ ถูกต้องครับ ดูลมหายหายใจธรรมดา เมื่อจิตเป็นสมาธิกายสังขารก็จะสงบรำงับไปเอง

2. ทำความรู้สึกในใจ ให้กำหนดรู้อยู่กับ ลมหายใจเข้าและออก เพ่งจิตให้เน้นอยู่กับลมหายใจ เป็นอารมณ์เดียว ไม่คิดอะไรทั้งนั้น นอกจากลม ดูลมเข้าลมออก ก็คือดูจิต ที่กำลังมีลมหายใจเป็นอารมณ์เดียว ให้นานต่อเนื่องไปๆ...แต่ต้องเน้นจริงๆ แบบทุกๆรายละเอียดและทุกๆอณู ของลมเลย...โดยไม่คิดอะไรนอกจากลมเท่านั้นจริงๆ...

ตอบ ถูกต้องครับ

3. พอจิตเริ่มสงบตั้งมั่น อยู่กับอารมณ์เดียวนานมากขึ้น ๆ ก็จะเริ่ม รู้สึก กายโยกโคลงเล็กน้อย คล้ายๆ นั่งอยู่ในเรือลำเล็ก ที่ลอยกระทบคลื่นเบาๆ อยู่ในน้ำ และรู้สึก โหวงเหวงๆ เหมือนเราอยู่ในสภาวะที่ ละเอียดมากกว่าปกติ อย่างเห็นได้ชัด...และ (กำหนดในใจเพ่งจิตให้เน้นอยู่กับลมหายใจเข้าและออกๆแบบเน้นๆ ทุกๆรายละเอียด และ ทุกๆ อณูของลม ควบคู่ ต่อไปๆ เรื่อยๆ )...

ตอบ ที่จริง กายโยกโคลง นั่น แสดงว่า ยังไม่สงบรำงับ จิตมีการปรุงแต่ง กายจึงโยกโคลง

4. จากนั้น พอจิตสงบละเอียดมากขึ้นๆ ก็จะมี (สภาวะของจิตที่ถูกดึงวูบลึกลงไป) อย่างรวดเร็ว เป็น ระยะ ๆ แต่ เกิดขึ้นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ หรือไม่กี่ วินาที แล้วก็จะหายไป พอจิตสงบถึงขั้นนึง (จิตก็จะ ดึงวูบบบบ) ลึกลงไป อีก และก็หายไป สลับกันไปแบบนี้ เป็นช่วงๆ แต่ จะไม่สามารถทรง สภาวะนั้น ให้คงอยู่ได้...และเราก็ (กำหนดในใจเพ่งจิตให้เน้น อยู่กับลมหายใจเข้าและออกๆควบคู่ ต่อไปๆ แบบทุกๆอณู และ ทุกๆรายละเอียด ของลมหายใจ เลยทีเดียว )...

ตอบ อืม ครับ ให้พลิกมาเป็นมุมปัญญา หรือ วิปัสนา ว่า มันไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลง เกิดดับ แล้ว แต่มันจะเกิดอะไรขึ้น ก็ ไม่ต้องไปสนใจ ให้ดึงจิตกลับมารู้ลมอย่างเดิม

5. พยายาม (กำหนดในใจเพ่งจิตให้เน้นอยู่กับลมหายใจเข้าและออกๆ แบบเน้นๆ แบบทุกๆอณู และ ทุกๆรายละเอียด ควบคู่ ต่อไปๆ) เพื่อ ให้จิต สงบไปถึง ระดับ ที่บอกว่า (สภาวะของจิตที่ถูกดึงวูบบบ ลึกเข้าไป) และพยายาม เพ่งจิตให้สงบมากขึ้น เพื่อให้ (สภาวะของจิตที่ถูกดึงวูบบบ ลึกลงไป) นั้น เกิดบ่อยๆ หลายครั้ง จะเป็นตัวสะสม ใว้เรื่อยๆ มันจะสะสมโดยที่เราไม่รู้ตัว...ตรงนี้เป็นตัวสำคัญ...ที่เราจะรู้สึกว่า ไม่เคยทรงใว้ได้สักที ก็จะเกิด ท้อถอย เลิกทำไปเลย เพราะรู้สึกว่าไม่ก้าวหน้า แต่ทุกครั้ง ล้วนสำคัญยิ่ง เหมือน น้ำ 1 หยด ก็สำคัญ ที่ทำไห้น้ำเต็มแก้ว...

ตอบ ถูกต้องครับ มันเป็นการสั่งสมบารมี การรู้ลมหายใจ แม้นชั่วเพียงลัดนิ้วมือเดียวก็ เป็นผู้ไม่เหินห่างจากฌาน ทำไปเถอะครับ สั่งสมไปเรื่อยๆเดี๋ยวบารมีเราเต็มเอง

6. และพอสะสม (สภาวะของจิตที่ถูกดึงวูบบบ ลึกลงไป) ซึ่งแต่ละครั้ง จะเกิดเพียงสั้นๆ วูบเดียว หรือ2-3 วินาที และ พอสะสมได้ หลายๆครั้ง ไปเรื่อยๆ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า มันทรงใว้ไม่ได้ แต่จริงๆแล้ว แต่ละครั้งมันจะสะสมใว้ โดยที่เราไม่รู้ตัว พอไปถึงจุดที่มัน อิ่มตัว หรือ แก่รอบ หรือเต็มแล้ว มันก็จะทรงและรักษา สภาวะนี้ใว้ได้ ก็จะเป็น สภาวะที่ ทรงพลังจิตนั้นใว้ได้ หรือเรียกว่า ได้ฌาณขั้นที่ 2 (ทุติยฌาน) นั่นเอง...

ตอบ เครื่องวัด ของทุติยฌาน คือ วิตกวิจาร ดับ คำพูดในใจดับ ไม่คิดพิจารณาธรรมต่างๆแล้ว ปิติ สุข อุเบกขา ยังคงเหลืออยู่

7. สภาวะ ของการ ทรงพลังจิต นี้ใว้ได้นี้ เป็นสภาวะ ที่แตกต่างกันกับการที่ไม่ได้ ทรงพลังจิต อย่างเห็นได้ชัด มันเป็น สภาวะหรือพลังบางอย่าง เกิดขึ้นมามีผลต่อจิตใจเรา คือ เป็น ( สภาวะหรือพลังบางอย่าง ที่มาหน่วงเหนี่ยวจิตใจเรา ให้ตรึงอยู่กับมันตลอด ) เป็น สภาวะ ที่เราแยกออกได้ชัดเจนว่า มันเป็นพลังที่ มามีผล ทำให้จิตเรา แข็งแรง มีกำลัง...

ตอบ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมมีกำลัง

8. ขณะที่ เรา ปราถนา และ ยินดีพอใจ ที่จะทรง พลังของสภาวะนั้น และ พยายาม ทรงมันใว้ไปเรื่อยๆ ขณะนั้น จะไม่มีความรู้สึกที่ อยากจะ ไป ดูรูปสวยๆ ฟังเสียงเพราะๆ กินอาหารอร่อยๆ หรือสำผัสอะไรทั้งนั้น...เพราะ เรามีพลังหรือสภาวะนั้น ที่มาช่วยทำไห้จิตใจเรา แข็งแรง ซึ่งจิตใจเรา กับสภาวะนั้น เราแยกออกได้อย่างชัดเจนว่า มันไม่ใช่เรา แต่มันเป้นสภาวะที่ เกิดขึ้นมาช่วยให้จิตเราแข็งแรง...

ตอบ เพราะ ในระดับ ฌานที่หนึ่ง อกุศลดับ ความคิดที่อยากจะไปดูรูปสวยๆเสียงเพราะฯลฯ จึงไม่มี

9. สภาวะนั้น เปรียบเทียบ เป็นเหมือน แม่เหล็ก ที่มีแรงดึงดูด คือ ดึงดูดจิตใจเราใว้ไห้ทรงอยู่กับมันต่อไปเรื่อยๆ แต่ ถ้าเรา เห็นรูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม ลิ้มรสของอร่อย สำผัสที่สบาย หรืออาจจะเป็น มุมตรงกันข้าม ที่เป็น (พยาบาทนิวรณ์) และ (อุธจะกุกกุจจะ) ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ นั้น จิตใจเราก็สามารถที่จะ ออกไปหานิวรณ์ธรรมได้ตลอดเวลา...แต่ (วิจิกิจฉา) ความลังเลสงสัยนั้น ตัดออกไปได้เลย เพราะเรากำลังเสวยผลอยู่ก็ จะไม่มีความสงสัยว่า ได้ผลจริงไหม และ (ถีนมิธทะ) ก็ตัดออกได้เช่นกัน เพราะ กำลังเสวยผลอยู่ ก็ยิ่งมีความเพียรทำต่อ จะไม่หดหู่ท้อถอย...

ตอบ ถูกต้องครับ

10. แต่ขณะที่ จิตใจเรา เห็นรูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม ลิ้มรสของอร่อย สำผัสที่สบาย หรือนิวรณ์5 ทั้งหมดนั้น มาเกิดในจิต เรา เราก็อาจจะออกไป คิด หรือ เพลินในนิวรณ์ธรรมได้อีก ตลอดเวลา...แต่ จะมี สภาวะหรือพลัง นั้น มาหน่วงเหนี่ยวจิตเราไห้ตรึงอยู่กับมัน ตลอด คือ นิวรณ์ธรรม เหล่านั้น จะถูกอำนาจของ สภาวะหรือพลังที่เรากำลังทรงมันใว้ได้นั้น ดึงจิตเราไห้กลับไป ตรึงอยู่กับมัน เพราะ มันเป้นเหมือนแม่เหล็กที่มีกำลังมากกว่ากำลัง ของ นิวรณ์ นั่นเอง...หรือเปรียบเหมือน เล่น ชักเย่อ คือ 2 ฝ่ายดึงเชือกกัน ฝ่ายใดมีกำลังอ่อนกว่าก็แพ้คือถูกดึงไป ถ้าฝ่ายใดมีกำลังมากกว่า ก็สามารถ มีกำลังในการ ควบคุม สิ่งนั้นใว้ได้ และไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของมัน นั่นเอง...

ตอบ ถูกต้องครับ

11. ขณะที่ทรง (สภาวะหรือพลัง) อยู่นั้น ถ้าจิตเราเผลอไปคิดเรื่องอื่น หรือเพลินไปกับ นิวรณ์ นานๆ โดยลืมนึกถึงสภาวะนั้นใว้ ไป ช่วงนึง สภาวะนั้น มันก็จะหลุด และคลาย หายไป แต่ถ้านึกถึงและควบคุมมันใว้ ตลอด มันก็จะอยู่ได้ตลอด โดยที่ ก็จะสามารถทำงาน และทำอะไรในชีวิตประจำวัน ได้ตามปกติ ถ้าไม่ลืมนึกถึงมันและพยายามทรงมันใว้ตลอด...

ตอบ ถูกต้องครับ แต่เมื่อจิตเราเผลอไป เมื่อมีสติระลึกรู้ ก็ ให้ดึงจิตกลับมาที่กาย หรือ ลมหายใจ ให้ไวที่สุดและพยายามทรง อารมณ์นั้นไว้ อย่าให้จิตหลุดไปอีก

12. ขณะที่ทรง (สภาวะหรือพลัง) อยู่นั้น เราจะรู้ได้อย่างชัดเจนว่า มัน แนบแน่น หรือเบาบาง ขนาดไหน เช่น มัน หนาแน่นกี่ เปอร์เซ็นต์ ถ้ามาก ก็ 100 % หรือน้อย เบาบางลงก็ 80% 50% 30% 10% หรือเกือบ หลุดออกแล้ว หรือ หลุดออกแล้ว เราก็จะรู้ได้ชัดเจน ว่าเรากำลังมี(สภาวะหรือพลัง) นั้น มาหน่วงจิตใจเราใว้ มากน้อยแต่ไหน...

ตอบ ก็ ดูมันว่า มันจางคลาย แล้วก็ดับ ให้เห็นโทษว่ามันดับไปได้

13. ขณะที่ทรง (สภาวะหรือพลัง) อยู่นั้น ถ้า มันเบาบางมากๆ จนรู้ได้ว่า เกือบหลุดแล้ว พลังจิตนั้น มันกำลังจะหายไปจากจิตเราแล้ว ก็แค่ กำหนดในใจให้รู้ลมเข้าลมออก แบบเน้นๆ คือ ต้องเน้นจริงๆ แบบไม่รู้อะไรเลยจริงๆ รู้แค่ลมเท่านั้น แบบทุกรายละเอียด และ ทุกอณู เลย เพียงแค่ ครั้งเดียว มันก็จะดึงให้ (สภาวะหรือพลัง) นั้น หนาแน่นขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด...แต่ถ้าให้ มั่นคง ก็จะ ต้อง กำหนดในใจให้รู้ลมเข้าลมออกแบบเน้นๆ ประมาณ 3-5 ครั้ง แค่นั้น ก็จะแนบแน่นขึ้นมาอีก ได้ถึง 80% เลย...

ตอบ ก็ ใช้ได้เหมือนกัน ไม่ได้ผิดอะไรครับ พยายามให้จิตอยู่กับลมหายใจเข้าไว้

14. หลังจากที่ออกจาก (สภาวะหรือพลัง) นั้นแล้ว และ ต้องการทำใหม่ในครั้งต่อไปจะง่ายขึ้น เช่น ครั้งแรก อาจจะใช้เวลา 30 นาที ครั้งต่อมาก็จะ ใช้เวลาน้อยลงมาเรื่อยๆ จนถึงแค่ 3 นาที เช่น (ทำความรู้สึกในใจให้รู้ลมเข้าลมออก แบบเน้นๆ คือ ต้องเน้นจริงๆ แบบไม่รู้อะไรเลยจริงๆ รู้แค่ลมเท่านั้น แบบทุกรายละเอียด และ ทุกอณู เลย) ทำแบบนี้ต่อเนื่องไป แค่ 3 นาที ก็สามารถทรงพลังนั้นใว้ได้แล้ว หรือถ้า รู้ลมแบบ ไม่ค่อยต่อเนื่อง อย่างมากก็ไม่เกิน 5 นาที ก็จะ ทรงใว้ได้...

ตอบ เมื่อ เราทำความรู้จัก กับมันแล้ว ต่อไป ก็ จะทำได้ง่าย เนื่องจาก มันเป็นสัญญา ที่เราจำได้

15. หลังจาก ใช้เวลา ประมาณ 5 นาที ในการเจริญสมาธิ เพื่อที่จะให้ได้ (สภาวะหรือพลัง) นั้น พอได้แล้ว ก็ไม่จำเป้นต้อง กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอีก ก็ให้นึกถึง หรือ เพ่งอยู่กับสภาวะที่เรียกว่า (ปีติ) นั้น และควบคุมมันใว้ ไปเรื่อยๆ และ ฌาณขั้นที่ 2 นี้ จะมีผลจิตใจ เราอย่างเห็นได้ชัด เหมือนกับมี (สภาวะหรือพลัง) อะไรบางอย่างที่บอกไม่ถูก นั้น มา แผ่ ซาบซ่าน หน่วงเหนี่ยวจิตใจเราให้ตรึงอยู่กับมัน นั่นเอง..

ตอบ แสดงว่านี่เข้าสู่ ฌานที่สองแล้วครับ วิตก วิจาร ดับไปแล้ว ส่วนอาการที่ว่ามานั้น คืออาการของปิติ ครับ.

16. และ ต่อไป พอจะขึ้น ฌาณที่ 3 ก็ให้ (ทำความรู้สึกในใจให้รู้ลมเข้าลมออกๆ ควบคู่ไปกับการทรงสภาวะหรือ(ปีติ) นั้นไปเรื่อยๆ...พอ จิตเริ่มรู้สึก หวิวๆ คล้ายๆ อาการ เปรียบเหมือนจะเผลอ คล้อยหลับ หรือเบลอๆไป แต่มีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา และ ร่างกาย เหมือน ถูกดูด หรือ เหมือน ตกจากที่สูง จากนั้น จิตจะ แนบแน่น ตั้งมั่น เป็นอย่างมาก ถึงฌาณที่ 3 (ตติยฌาน) ก็จะมี (สภาวะหรือพลัง) เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น แต่ว่า จะ แนบแน่นมากกว่า ฌาณที่ 2 ประมาณ 5 เท่าตัว และข้อแตกต่างที่เห็นชัดเจนก็คือ ระดับนี้ จะมีผลต่อร่างกายมากขึ้นมา อย่างเห็นได้ชัด คือมี (สภาวะหรือพลัง) นั้น มา แผ่ซาบซ่านอยู่ที่ร่างกายเราอย่างรู้สึกได้ชัดเจน คล้ายๆอาการชาไปทั้งตัว ละลมหายใจจะแผ่วลงมาก...

ตอบ ดูเหมือน ปิติ ยังไม่ดับ แต่ลมละเอียดมากขึ้น ถ้า ปิติยังไม่ดับ ก็น่าจะอยู่ที่ ทุติยฌานอยู่ น๊ะครับ

17. ข้อแตกต่างต่อไปคือ จะทำให้รู้สึกว่า ตัวเบา สบาย แต่เป็นการเบา ที่เป็นเหมือนมีพลัง คล้ายกับ เวลาที่เราดู (หนังจีนกำลังภายใน เวลาฝึกพลัง จะมี พลังแผ่ซ่านอยู่รอบตัว) อะไรประมาณนั้น คือ จะมีความรู้สึกว่า พลังนี้ มันมาฉาบทา หรือครอบคลุมร่างกายเราใว้ คล้ายกับว่า เราดำอยู่ในน้ำ หรือถูกฝังอยู่ในดิน อะไรประมาณนั้น มันจะมี (สภาวะหรือพลัง) นั้น มา แผ่ซาบซ่าน อยู่ในร่างกายและผิวกาย และทำให้เรามีความสุข อยู่กับสภาวะนี้ ตลอดเวลา.....

ตอบ น่าจะยังเป็นอาการของปิติอยู่ ครับ

18. ในขณะที่อยู่ใน สภาวะที่รู้สึกว่า เป็น ( สภาวะของพลังบางอย่าง ที่มาหน่วงเหนี่ยวจิตใจเรา ให้ตรึงอยู่กับมันตลอด ) นั้น เราจะมีสติสัมปชัญญะ อยู่ตลอด และทำความรู้สึกว่า นี่คือ ประโยชน์ ในการที่ จิตเรา อยู่ในสภาวะที่ สงบตั้งมั่น และปลอดภัยจาก (หมู่มาร นิวรณ์ธรรม) แต่ก็ยังมี ความ เพลิน ยินดี พอใจ และ ปราถนา ที่จะอยู่ในสภาวะ นี่ ต่อไป ซึ่งเราก็จะมีสติรู้ได้อยู่ตลอดว่า เป็นการเพลิน อยู่ในส่วนของ ธรรมารมณ์.....นั่นเอง...

ตอบ พยายายาม ละ ความเพลิน ครับ อย่าไปยินดียินร้าย กับสภาวะต่างๆที่กำลังปรากฎ เพราะ เดี๋ยวมันก็ดับไป ให้จิตอยู่กับ อุเบกขา หรือ รู้ลมหายใจเข้าไว้

(((...และเราก็จะรู้อยู่ตลอดเวลาว่า เหตุผลในการเจริญสมถะ นี้ เบื้องต้น ก็เพื่อ เหตุผล 2 ประการ คือ...)))

1. เพื่อให้จิตตั้งมั่นมีกำลัง นำไปใช้ในการเจริญวิปัสนาได้อย่าง มีประสิทธิภาพ มากกว่า

ตอบ ถูกครับ

2. เพื่อ เป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ให้เราได้ลิ้มรสความสุข ที่ดีกว่าความสุขแบบ กามคุณอารมณ์ เพื่อ นำไปสู่การ เบื่อหน่าย และคลายความกำหนัดใน กามคุณอารมณ์ ออกเสียได้ เหมือนกับไห้เราได้ พบ สิ่งที่ปราณีตกว่า และ เริ่มเบื่อหน่ายต่อ สิ่งที่หยาบกว่า และไม่อยากกลับไปหามัน ต่อไป นั่นเอง...

ตอบ ถูกต้องครับ อนุโมทนา สาธุ ครับ


โดย: อะไรกัน IP: 118.174.190.195 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2553 เวลา:22:23:22 น.  

 
...งงต่ออีกเป็นชุดเลยคราวนี้ 55555 เฮ้อออออออ...งั้น ขอถามต่ออีก ให้ละเอียดกว่าเดิมนิดนึงนะครับ ก็คือว่า...

1. ...ข้อที่ 16 นั้น คือผมหมายความว่า ขณะที่ ผมอยู่ ฌาณ ที่ 2 นั้น และต้องการ เริ่ม เพ่งจิตให้ สงบมากขึ้นเพื่อไปสู่ ฌาณที่ 3 ไงครับ...ในขณะที่อยู่ ฌาณที่ 2 ก็รู้ลมเข้าออกต่อไป ใช่ไหม หรือ เพ่งตัวปีติ อย่างเดียว หรือ ควบคู่กันไป เพราะ มันก็น่าจะ เป็นตัวเดียวกัน หรือว่าไม่ใช่ตัวเดียวกันครับ...???

...เช่น ถ้ารู้ลมเข้าออกอย่างเดียว ก็คือมี รูปเป็นอารมณ์เดียว ถูกต้องไหมครับ แต่ถ้า รู้ (ปีติ) ด้วย ก็เป็น อีก 1 อารมณ์ เพราะ (ปีติ) ไม่ใช่ ลมหายใจ ฉะนั้น ถ้ารู้ควบคู่กันไป ก็เท่ากับ มี 2 อารมณ์ ก็คือ รูป(ลมหายใจ) และ นาม(ปีติ) งั้นก็ไม่น่าจะใช่ เอกัคคตา น่ะสิครับ เพราะ 2 อารมณ์ ใช่ไหมครับ...

...แต่ว่า ที่ผมรู้สึกว่าทำได้ และคิดว่า มันขึ้นไป ฌาณที่ 3 ตามอาการณ์ต่างๆที่ผมบอกประเมินดูใว้แล้วนั้น ...คือ ผมจะทำควบคู่กันไป คือรู้ลมหายใจกับทรง (ปีติ) ไปน่ะครับ เพราะอ่านใน หนังสือ พุทธวจณ บอกประมาณว่า...

[ ...ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า ...เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า ...ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออกยาว... ] แบบนี้ น่ะครับ แสดงว่าไห้รู้พร้อมกัน เพื่อให้แนบแน่นขึ้นไปสู่ฌาณ ที่ 3 ครับ...หรือว่าผมเข้าใจผิดครับ...????

...เอ๊ะ หรือว่า นี่เป็นการ เจริญสติปัฐฐาณ เพราะเอามาจาก หัวข้อประมาณว่า (เจริญอานาปานสติ ย่อมทำ สติปัฐฐาณให้บริบูรณ์) อะไรประมารนี้ ครับ แต่ผมคิดว่า ให้รู้ลม กับ รู้(ปีติ) ควบคู่กันไปเพื่อขึ้นไปสู่ฌาณที่ 3...ตาม พุธวจณ ข้อนี้ ใช่หรือไม่อย่างไร ครับ เพราะ งง มากอีกแล้ว ที่ งง มากกว่า คือเพราะว่า มันก็ได้ผลดีมากเลยนะครับ...

...เพราะ ว่า สภาวะที่ผมคิดว่าเป็น ฌาณที่ 3 ก้คือ ปิติจะดับไปหรือยัง ผมไม่รู้ แต่มันไม่รู้อารมณ์ปีติอีกเลย เพราะหลังจาก สภาวะหรือพลัง ระรอกใหม่ ที่จิตตั่งมั่นแนบแน่นมากกว่าเดิม อย่างเห็นได้ชัด มาหน่วงจิตเราใว้ แทน น่ะครับ ส่วนมันจะหายไป หรือเปล่า ผม คิดว่า น่าจะถูกกลืนไปกับสภาวะใหม่ ที่มาแรงกว่า น่ะครับ...มันจะเป็น อย่างนั้น...

2. ...ข้อที่ 6 ที่คุณ นนท์ ตอบว่า (เครื่องวัด ของทุติยฌาน คือ วิตกวิจาร ดับ คำพูดในใจดับ ไม่คิดพิจารณาธรรมต่างๆ ) ...ผมก็ยัง งงอยู่นะครับ ว่า ตกลง คำว่า (วิตกวิจาร) นี่ จะหมายถึง (รู้ลมและประคองลม) หรือหมายความว่า (พิจรณาใคร่ครวญธรรม) หรือทั้ง 2 ความหมายเลย เพราะ บอกว่า ยังไม่มีคำอธิบายที่ เป็น พุทธวจณ อย่างชัดเขนใช่ไหมครับ...

...และยิ่งบอกว่า (ทุติยฌาน ) นั้น คำพูดในใจดับ ไม่คิดพิจารณาธรรมต่างๆ...ยิ่ง งงที่สุด เพราะว่า สำหรับผม จะเป็นคำพูดในใจ หรือ พิจรณาใคร่ครวญธรรม ผมก็สามารถทำได้ แต่ จะทำอยู่บนพื้นฐาณของ การทรงสภาวะหรือพลังนั้น ควบคู่ไปด้วยน่ะครับ น่าจะใช่ไหมครับ 555...

##################

3. ...ข้อนี้ ขอถามใหม่ ต่อเลยนะครับว่า ...คือ วิปัสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน หรือที่คุณ นนท์กำลังทำอยู่ นั้น เรียกว่า อะไร ครับ (อานาปานสติ) หรือว่า (สติปัฐาณ๔) ครับ คือผมก็งงมาตั้งแต่แรกแล้ว ว่า มันงงๆ ว่า เอ๊ะ ตกลงจะเอายังไง ไม่อย่างใดอย่างนึง คือรวมกันไปเลย หรือครับ ระหว่าง สมาธิ กับ วิปัสนา...

...คือ อยากถาม กระบวนการ ให้ชัดเจน ที่ ผมเริ่มเข้าใจขึ้นมาแล้ว ว่า กระบวนการเป็นแบบนี้ใช่ไหมครับ คือ...คุณ นนท์ กำลัง เจริญวิปัสนา หรือ สติปัฐฐาณ นั่นแหละ และ วิธีการ ในรายละเอียด ก็คือว่า ทิ้งความเพลิน เห็นเกิดดับ ทิ้งภพ ปล่อยวางตัว วิญญาณ อะไรประมาณนี้...

...เพราะฉะนั้น ผมเข้าใจถูกไหมครับ ว่า คุณ นนท์กำลัง (ทิ้งความเพลิน เห็นเกิดดับ ทิ้งภพ ปล่อยวางตัว วิญญาณ) และขณะเดียวกัน ก็เอาลมหายใจ มาช่วยให้เป็นเสาหลัก เพื่อให้จิตมารู้ลมแทน ขณะนั้นจิตก็จะไม่ไป เพลิน มันก็เป็นเครื่องมือช่วย ซึ่งง่ายกว่า ไปอยู่ อุเบกขา...

...แต่ว่า ถ้า คุณ นนท์ ทิ้งความเพลิน พอ เวทนาเกิด ก็ ทิ้งไปเรื่อยๆ ไม่ต้องมารู้ลม ก็ได้ แต่เหมือนกับว่า คุณ นนท์ ไปโกงมัน คือ โกงจิตตัวเอง 5555 เพราะ จริงๆเรายังทิ้งไม่ได้เร็ว และ เด็ดขาด ขนาดนั้นหรอก แต่เราโกงโดย ทำไห้จิตไปรู้อย่างอื่นแทน จิตมันก็ ทิ้งโดยอัตโนมัต เพราะ จิตรู้อารมณ์ได้ทีละขณะ...แต่จริงๆเราไม่ได้ทิ้ง แต่หนีชั่วคราวต่างหาก 55555

...คือ ผมกำลังสงสัยว่า มันจะได้ผลเร็วและ มีประสิทธิภาพ หรือครับ เพราะว่า เหมือนเราไปโกง ก็คือ เอาหินทับหญ้าใว้ หญ้าก็ตายชั่วขณะ แต่พอเอาหินออก หญ้าก็เจริญเติบโต เหมือนเดิม น่ะครับ คือผมกำลังสงสัยว่า ถ้า ใช้ปัญญา ต่อสู่กับมันแบบซึ่งๆหน้าเลย จะดีกว่าไหมครับ หรือ ว่า มันยากมาก เลยต้องหนี ไปเกาะลมหายใจ ก่อน เพื่อช่วยเราได้อีกทางนึง ซึ่ง ผมก็ รู้สึก เหมือนหินทับหญ้าน่ะครับ...เหมือนกับ คำว่า (สมาธิเป็นเครื่องกั้น ปัญญาเป็นเครื่องตัด)...ตรงนี้เป็นไง ครับ 555555 เฮ้ออออออออ.....???????

4. ...ข้อนี้ก็ อยู่ในประเด็นเดิม ก็คือ อยากถามว่า ในขณะ ที่ คุณ นนท์ เจริญวิปัสนา หรือ สติปัฐฐาณ อยู่นั้น และเอาลมหายใจมาช่วยให้จิตเกาะใว้ แทนที่จะไปเพลินกับ ตัว เวทนา หรือเพลินกับตัว วิญญาณ การคิดนึกปรุงแต่ง อยู่นั้น ซึ่งผมรู้สึกว่าเป็นวิธีที่ โกง คือไม่ต่อสู่แบบซึ่งๆหน้า นั้น 55555 คือผมอยากถามว่า ขณะที่ทำแบบนี้ นั้น คุณ นนท์ ไม่ได้ คิด หรือ มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ได้ฌาณ ใช่ไหมครับ...

...หมายความว่า พอทิ้งความเพลินไปเรื่อยๆ ถ้าจิตมันจะสงบ มันก็สงบได้เอง เรื่อยๆ ตามเหตุปัจจัย ของมัน โดยที่คุณ นนท์ ไม่ได้ ไปพยายาม ตั้งเป้าหมาย ตั้งแต่แรกใช่ไหมครับว่าไห้มันสงบ เพื่อไห้ได้ฌาณขั้นสูงๆ ไปด้วย แต่คุณ นนท์ จะเจริญ วิปัสนา แต่ ดันเอา (อานาปานสติ) มาใช้ ผมก็เลย งงประเด็นตรงนี้ไงครับ เพราะว่า ถ้าพูดว่า (อานาปานสติ) ตอนแรก ผมก็จะนึกไปถึง สมถะ อย่างเดียวเลย ที่ไม่เกี่ยวกับ วิปัสนา....ไม่งั้น พระพุทธองจะเอาไปใว้ในส่วน กรรมฐาณ 40 กอง ทำไมครับ ทำไมไม่เอา(อานาปานสติ) ไปใว้ใน สติปัฐฐาณ4...ล่ะครับ...

...และ นั่นคือเหตุที่ผมบอกว่า ผมจะทำแยกกันไงครับ ถ้าเจริญสมาธิก็ทำไปอย่างเดียว เพื่อมุ่งไห้ได้ฌาณขั้นสูงๆ เลย และพอได้ฌาณขั้นสูงแล้ว ก็ค่อยมาเจริญวิปัสสนา ต่อ แบบนี้น่ะครับ แต่ก็เข้าใจแล้วว่าไม่จำเป้นต้องได้ฌาณสุงก็บรรลุได้ นะครับ...ถ้างั้นก็สนใจแค่ฌาณที่ 1 ก็พอ ไม่ต้องสนใจ ฌาณขั้น ที่ 2 หรือสูงขี้นๆไป...

...คือ ผมจะรู้สึกว่า ถ้าจะเจริญวิปัสนา อย่างเดียวผมก็จะไม่สนใจ มากไปกว่า ฌาณ ที่ 1 ไงครับ เพราะ ในขณะที่ เจริญวิปัสนาอยู่นั้น มันก็จะเป็น ฌาณที่ 1 โดยตัวของมันเอง โดยอัตโนมัติ..แต่ถ้าผมสนใจ ฌาณ ก็จะสนใจอย่างเดียว โดยที่ จะทำเน้นแบบล้วนๆ ให้ได้ฌาณ 4 ไปเลย...คือถ้าสนใจก็คือสนใจมากเลย แต่ถ้าไม่สนใจก็จะไม่สนใจเลย เหมือนกับที่ปกติก่อนหน้านี้ก็ ไม่สนใจอยู่แล้ว 555...

..เอาล่ะ แต่ตอนนี้ผมเริ่มเข้าใจแล้วครับ ว่า วิธีที่ พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนก็คือ ให้เจริญวิปัสนาโดยเอา ลมหายใจมาช่วย คือต้องเป็นแบบนี้ หรือครับ...ซึ่งนี่ ก็คือจุดที่ทำไห้ สมาธิของพระพุทธเจ้า นั้น จะแตกต่างกับ สมาธิ ของ พวก ฤษี โยคี ผมเข้าใจแบบนี้ ถูกต้องไหมครับ...???

...งั้น ถ้าคุณ นนท์ ทำแบบนี้ คือเจริญวิปัสนาโดยเอา อานาปานสติ มาช่วย แบบที่กล่าวมา นั้น ก็จะไม่ได้ฌาณขั้นสูงๆ ใช่ไหมครับ นอกจากว่า มุ่งทำสมาธิอย่างเดียวล้วนๆ ไห้ได้ ฌาณ 4 ไปเลยก็จะฟังดูน่าสมเหตุสมผลมากกว่า...เอ๊ะ หรือว่า แค่ ฝึกละความเพลิน เห็นเกิดดับ ปล่อยวางตัว วิญญาณ ไปแบบนี้ จะได้ถึงฌาณ4 ด้วย ได้ไหมครับ...555...หรือว่าคุณ นนท์คิดว่า มันจะได้หรือไม่ได้ ก็ไม่ได้ไปสนใจ ถ้าได้ก็เป็นผลพลอยได้ ที่เป็นไปตาม เหตุปัจจัย ของมันเอง แต่ไม่ได้ไปตั้งเป้า เพราะ นี่เป็นวิธีที่ พระพุทธองค์ทรงแนะนำ ใช่ไหมครับ....

...เพราะก็ปฏิเศษไม่ได้ว่า ถ้าได้คุณวิเศษต่างๆ ( แต่ไม่ได้หลงไปกับมันโดยลืม วิปัสนา อันเป็นไปเพื่อหลุดพ้น ) มันก็เป็นปัจจัยอย่างดี ในการมาช่วยเกื้อหนุนชีวิตเราในด้านต่างๆ ใช่ไหมครับ...

###############

[หมายเหตุ]

คือ เวลา คุณ นนท์ตอบ ไม่ต้องพิมพ์อธิบายเยอะก็ได้นะครับ ผมเกรงใจ หมายความว่า ถ้าคิดว่า รายละเอียดไหน ที่คุณนนท์เคยอธิบายไป จากหัวข้อก่อนๆนี้แล้ว และคิดว่า ผมน่าจะเข้าใจรายละเอียดเหล่านั้นแล้ว ก็ไม่ต้อง ละเอียดก็ได้นะครับ ผมกลัว คุณนนท์ เมื่อยมือ น่ะครับ 5555...

...แต่ถ้า คิดว่า จะพิมพ์ไห้คนอื่นที่ แวะเวียนมาอ่านด้วย ก็แล้วแต่นะครับ...ก็ดี เพราะ คุณ นนท์ ก็ไม่ได้ตอบไห้ผมอ่านคนเดียว ซะเมื่อไหร่ ใช่ไหมครับ 555...เพราะคนอื่นๆได้มาอ่าน แค่นิดเดียวก็ถือว่าได้สั่งสมธรรมะไปอีกนึดนึงแล้ว น้ำ 1 หยด ก็ถือว่าสำคัญนะครับ...คนที่อาจจะไม่ค่อยสนใจธรรมะมากนัก แต่ที่สำคัญคือ เราได้มีส่วน ช่วยให้เขาเหล่านั้นได้ สั่งสมความรู้ มากขึ้น อีกนิดนึงหรือเปล่า...

...เพราะว่า ยกตัวอย่าง หลายคน เกิดมาชาตินี้ ก็ไม่ค่อยได้สนใจธรรมะ อะไรนักหรอก แต่ได้มาฟังหรือได้อ่าน และเข้าใจธรรมะ เพียงแค่ ประโยคเดียว จะอ่านโดยที่ ไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้สนใจอะไรมาก อ่านๆไปงั้นๆ ก็ถือว่า เป็นการสั่งสมแล้ว ใช่ไหมครับ...

...คือ ตรงนี้แหละสำคัญมาก เพราะ สั่งสมไป ชาติละนิดละหน่อย ก็ถือว่า สำคัญยิ่ง เพราะในอดีตชาติ ที่ผ่านการเวียนไหว้ตายเกิดมานับชาติไม่ถ้วนนั้น ...เราก็สั่งสมมา ชาติละนิดละหน่อย เรื่อยๆ เหมือนกันทั่งนั้น พระพุทธองค์ก็ตั้ง 4 อสงขัยแสนกัปป์ แต่ผมโชคดีที่ ชาตินี้ บารมีของ ผม คุณ และ คุณ นนท์ นั้น เกือบจะเต็มหรือแก่รอบแล้วนั่นเอง ใช่ไหมครับ...!!!!

(((((((.......ขออนุโมทนา........)))))))))

##################


โดย: อะไรกัน IP: 118.174.190.195 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2553 เวลา:22:24:35 น.  

 
ตอบ คุณอะไรกัน

1....ข้อที่ 16 นั้น คือผมหมายความว่า ขณะที่ ผมอยู่ ฌาณ ที่ 2 นั้น และต้องการ เริ่ม เพ่งจิตให้ สงบมากขึ้นเพื่อไปสู่ ฌาณที่ 3 ไงครับ...ในขณะที่อยู่ ฌาณที่ 2 ก็รู้ลมเข้าออกต่อไป ใช่ไหม หรือ เพ่งตัวปีติ อย่างเดียว หรือ ควบคู่กันไป เพราะ มันก็น่าจะ เป็นตัวเดียวกัน หรือว่าไม่ใช่ตัวเดียวกันครับ...???

ตอบ ให้รู้ลมต่อไปครับ โดย ไม่ต้องไปสนใจปิติก็ได้ครับ รู้ลมไปสักพัก เดี๋ยวปิติ มันจะดับไปเองครับ ปิติ นี่ คนละขันธ์กับลมแล้วครับ ปิติ นี่เป็นเวทนาขันธ์ ลมเป็นรูปขันธ์ ก็ ถ้าเราจะเจริญ เวทนานุปัสนา สติปัฏฐาน เราก็ ดูปิติ ไป แต่ถ้าเราเจริญกายานุปัสสนาฯ เราก็รู้ลมไป ก็ ไม่ได้ผิดอะไรน๊ะครับ แต่ ถ้าดูปิติ ก็ ดูแบบ เฉยๆคือ อุเบกขากับมัน อย่าไปเพลินในปิติ แค่นั้นครับ เพราะเดี๋ยวมันก็ดับไป

1.1ถ้ารู้ลมเข้าออกอย่างเดียว ก็คือมี รูปเป็นอารมณ์เดียว ถูกต้องไหมครับ แต่ถ้า รู้ (ปีติ) ด้วย ก็เป็น อีก 1 อารมณ์ เพราะ (ปีติ) ไม่ใช่ ลมหายใจ ฉะนั้น ถ้ารู้ควบคู่กันไป ก็เท่ากับ มี 2 อารมณ์ ก็คือ รูป(ลมหายใจ) และ นาม(ปีติ) งั้นก็ไม่น่าจะใช่ เอกัคคตา น่ะสิครับ เพราะ 2 อารมณ์ ใช่ไหมครับ.

ตอบ การทำควบคู่กันไป นั่นหมายความว่า จิตเกิดดับแล้วครับ เพราะ ลมกับ ปิติ มันคนละขันธ์กัน คุณสมบัติของจิตรับรู้ได้ทีละอารมณ์ ถ้ารู้ลมคู่กับรู้ปิติ นั่นมันเกิดดับแล้ว มันเกิดดับไวมากจนเราคิดว่าจิตรับรู้ได้ทีละสองอารมณ์ ควบคู่กันไป แต่ไม่ใช่ครับ จิตเกิดดับแล้ว กลับไปกลับมาเร็วมากครับ

1.3ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า ...เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า ...ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออกยาว... ] แบบนี้ น่ะครับ แสดงว่าไห้รู้พร้อมกัน เพื่อให้แนบแน่นขึ้นไปสู่ฌาณ ที่ 3 ครับ...หรือว่าผมเข้าใจผิดครับ...????

ตอบ คือขณะที่เรารู้พร้อมเฉพาะซึ่งปิติ แสดงว่า จิตเรามารับรู้ปิติ แล้ว เราเริ่มจะมาเจริญเวทนานุปัสสนาฯ แทน แต่ ถ้าเราเจริญกายานุปัสสนาฯ เราก็แค่รู้ลมโดยไม่สนใจปิติ แต่ถ้าเรารู้พร้อมเฉพาะซึ่งปิติ หายใจเข้า หายใจออก พระพุทธเจ้าต้องการสื่อว่า ในขณะที่มีปิติ ยังมีการหายใจเข้าออกอยู่ หมายความว่า ในระดับฌานที่สองยังมีลมหายใจไหลเข้าไหลออกอยู่ ครับ

ส่วน การจะขึ้นสู่ฌานที่สาม ถ้าเราไม่สนใจปิติ เดี๋ยวปิติมันก็ดับไปเอง แค่เราหายใจธรรมดาไปเรื่อยๆ ไม่ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ หรือ ดูปิติ ไปอยู่กับปิติไปก็ได้ครับ เดี๋ยวมันก็ดับไปเหมือนกัน พอปิติดับ ก็ ขึ้นสู่ฌานที่สาม

1.4 เพราะ ว่า สภาวะที่ผมคิดว่าเป็น ฌาณที่ 3 ก้คือ ปิติจะดับไปหรือยัง ผมไม่รู้ แต่มันไม่รู้อารมณ์ปีติอีกเลย เพราะหลังจาก สภาวะหรือพลัง ระรอกใหม่ ที่จิตตั่งมั่นแนบแน่นมากกว่าเดิม อย่างเห็นได้ชัด มาหน่วงจิตเราใว้ แทน น่ะครับ ส่วนมันจะหายไป หรือเปล่า ผม คิดว่า น่าจะถูกกลืนไปกับสภาวะใหม่ ที่มาแรงกว่า น่ะครับ...มันจะเป็น อย่างนั้น...

ตอบ การที่จิตไม่รับรู้อารมณ์ปิติอีกเลย แสดงว่า ปิติ ดับไปแล้ว ก็ ก้าวขึ้นสู่ ฌานที่สาม จิตเริ่มจะตั้งมั่นมากขึ้น ลมหายใจเริ่มละเอียดมากขึ้นไป

2....ข้อที่ 6 ที่คุณ นนท์ ตอบว่า (เครื่องวัด ของทุติยฌาน คือ วิตกวิจาร ดับ คำพูดในใจดับ ไม่คิดพิจารณาธรรมต่างๆ ) ...ผมก็ยัง งงอยู่นะครับ ว่า ตกลง คำว่า (วิตกวิจาร) นี่ จะหมายถึง (รู้ลมและประคองลม) หรือหมายความว่า (พิจรณาใคร่ครวญธรรม) หรือทั้ง 2 ความหมายเลย เพราะ บอกว่า ยังไม่มีคำอธิบายที่ เป็น พุทธวจณ อย่างชัดเขนใช่ไหมครับ...

ตอบ วิตก วิจาร ไม่มีคำตอบโดยพุทธวจน แต่เท่าที่ตำราต่างๆแปลกัน ก็ วิตก หมายถึงจิตจดจ่ออยู่กับอารมณ์ ส่วนวิจาร คือ การพิจารณา อารมณ์ หรือ การพิจารณาไคร่ครวญธรรม หลายสำนักก็ แปลต่างกันไป ก็ ไม่มีข้อยุติครับ เพราะในพุทธวจน ไม่ได้แปลให้ไว้ว่าหมายถึงอะไร

2.1และยิ่งบอกว่า (ทุติยฌาน ) นั้น คำพูดในใจดับ ไม่คิดพิจารณาธรรมต่างๆ...ยิ่ง งงที่สุด เพราะว่า สำหรับผม จะเป็นคำพูดในใจ หรือ พิจรณาใคร่ครวญธรรม ผมก็สามารถทำได้ แต่ จะทำอยู่บนพื้นฐาณของ การทรงสภาวะหรือพลังนั้น ควบคู่ไปด้วยน่ะครับ น่าจะใช่ไหมครับ 555...

ตอบ ถ้ากลับมามีวิตก วิจาร กลับมาพิจารณาธรรม แสดงว่าถอยกลับมาสู่ปฐมฌาณ แล้วครับ เพราะยังมีวิตกวิจารอยู่ หมายถึง ฌานหนึ่ง สอง สาม สี่ สามารถ เจริญขึ้น หรือ ลดระดับลงมา ก็ได้ ครับ ในบางครั้ง จิต เป็นสมาธิ มากมีอารมณ์อันเดียว ไม่เห็นอะไรที่เกิดดับ ก็จะใช้มุมนี้ คือการลดระดับขององค์ฌานลงมา ก็ ให้เห็นองค์ฌานเกิดดับ แทนก็ได้ ดังที่พระสารีบุตร ทำ คือการลดระดับขององค์ฌานลงมา แล้ว ก็ ดูการเกิดดับขององค์ฌานนั้นๆแทนก็สามารถทำได้ครับ

3....ข้อนี้ ขอถามใหม่ ต่อเลยนะครับว่า ...คือ วิปัสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน หรือที่คุณ นนท์กำลังทำอยู่ นั้น เรียกว่า อะไร ครับ (อานาปานสติ) หรือว่า (สติปัฐาณ๔) ครับ คือผมก็งงมาตั้งแต่แรกแล้ว ว่า มันงงๆ ว่า เอ๊ะ ตกลงจะเอายังไง ไม่อย่างใดอย่างนึง คือรวมกันไปเลย หรือครับ ระหว่าง สมาธิ กับ วิปัสนา...

ตอบ พระพุทธองค์ทรง อธิบาย การเจริญสติปัฏฐานด้วย อานาปานสติ สมาธิ และ วิปัสสนา มันก็ อันเดียวกันหมดแหละครับ อยู่ที่ใครจะเห็นหรือเปล่า ถ้า เห็นเกิดดับ มันก็เป็น วิปัสสนา แต่ถ้าไม่เห็น ก็เป็น สมถะ หรือสมาธิ มันอันเดียวกัน ครับมันอยู่ติดกัน

3.1...คือ อยากถาม กระบวนการ ให้ชัดเจน ที่ ผมเริ่มเข้าใจขึ้นมาแล้ว ว่า กระบวนการเป็นแบบนี้ใช่ไหมครับ คือ...คุณ นนท์ กำลัง เจริญวิปัสนา หรือ สติปัฐฐาณ นั่นแหละ และ วิธีการ ในรายละเอียด ก็คือว่า ทิ้งความเพลิน เห็นเกิดดับ ทิ้งภพ ปล่อยวางตัว วิญญาณ อะไรประมาณนี้

ตอบ ถูกต้องครับ ทิ้งความเพลิน เห็นเกิดดับ ทิ้งภพ ปล่อยตัววิญญาณ มันอันเดียวกันหมด และทั้งหมดนี้ คือ เจริญวิปัสสนาญาณ เพื่อ ให้เกิด อาสวะขยญาณ ทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันหมด ธรรมะของพระพุทธเจ้าจะเชื่อมโยงกันหมดครับ

3.2...เพราะฉะนั้น ผมเข้าใจถูกไหมครับ ว่า คุณ นนท์กำลัง (ทิ้งความเพลิน เห็นเกิดดับ ทิ้งภพ ปล่อยวางตัว วิญญาณ) และขณะเดียวกัน ก็เอาลมหายใจ มาช่วยให้เป็นเสาหลัก เพื่อให้จิตมารู้ลมแทน ขณะนั้นจิตก็จะไม่ไป เพลิน มันก็เป็นเครื่องมือช่วย ซึ่งง่ายกว่า ไปอยู่ อุเบกขา...

ตอบ แสดงว่า เริ่มเข้าใจ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนแล้ว เข้าใจถูกต้องแล้วครับ

3...แต่ว่า ถ้า คุณ นนท์ ทิ้งความเพลิน พอ เวทนาเกิด ก็ ทิ้งไปเรื่อยๆ ไม่ต้องมารู้ลม ก็ได้ แต่เหมือนกับว่า คุณ นนท์ ไปโกงมัน คือ โกงจิตตัวเอง 5555 เพราะ จริงๆเรายังทิ้งไม่ได้เร็ว และ เด็ดขาด ขนาดนั้นหรอก แต่เราโกงโดย ทำไห้จิตไปรู้อย่างอื่นแทน จิตมันก็ ทิ้งโดยอัตโนมัต เพราะ จิตรู้อารมณ์ได้ทีละขณะ...แต่จริงๆเราไม่ได้ทิ้ง แต่หนีชั่วคราวต่างหาก

ตอบ การทิ้ง ไปเรื่อยๆ อีกหน่อย มันจะไม่เอาเองครับ เช่น จิตไปคิดอดีต เราก็ทิ้ง ไปคิด อนาคต เราก็ทิ้งอีก ดึงกลับมารู้ลมอย่างเดียว จิตมันก็ กลับไปใหม่ เราก็ ทิ้งใหม่ แรกๆมันก็เป็นการหนีชั่วคราวก็ว่าได้ แต่เราทิ้งไปเรื่อย อีกหน่อย มันจะไม่ไปเอง มันเป็นการ ฝึกทิ้งภพ ไม่ให้จิตไปสร้างภพ ที่จะพาเราไปเกิด ให้จิต มาอยู่กับภพปัจจุบัน คือ ลมหายใจ

เมื่อเรายังทิ้งไม่ได้ ทุกขันธ์ พระพุทธเจ้า ก็ ให้ เราฝึกทิ้งทุกขันธ์ มาอยู่ที่ขันธ์ ขันธ์เดียว คือ รูปขันธ์ ซึงพอจิตอยู่ในขันธ์เดียวแล้ว เราฝึกทิ้ง ไปสามขันธ์แล้ว ( คือ เวทนา สัญญา สังขาร ) พอจิตมันดับจากขันธ์สุดท้าย คือจิตดับจากรูปขันธ์มันก็จะไม่มีภพให้เป็นที่ตั้งอาศัย มันก็ เข้าสู่นิพพานได้

3.4..คือ ผมกำลังสงสัยว่า มันจะได้ผลเร็วและ มีประสิทธิภาพ หรือครับ เพราะว่า เหมือนเราไปโกง ก็คือ เอาหินทับหญ้าใว้ หญ้าก็ตายชั่วขณะ แต่พอเอาหินออก หญ้าก็เจริญเติบโต เหมือนเดิม น่ะครับ คือผมกำลังสงสัยว่า ถ้า ใช้ปัญญา ต่อสู่กับมันแบบซึ่งๆหน้าเลย จะดีกว่าไหมครับ หรือ ว่า มันยากมาก เลยต้องหนี ไปเกาะลมหายใจ ก่อน เพื่อช่วยเราได้อีกทางนึง ซึ่ง ผมก็ รู้สึก เหมือนหินทับหญ้าน่ะครับ...เหมือนกับ คำว่า (สมาธิเป็นเครื่องกั้น ปัญญาเป็นเครื่องตัด)...ตรงนี้เป็นไง ครับ 555555 เฮ้อ

ตอบ ได้ผลสิครับ พระพุทธเจ้า เปรียบจิต เหมือนลิง ไม่อยู่นิ่ง ต้องมีเสาเขื่อเสาหลักผูกมันไว้ เสาเขื่อนเสาหลักนี้คือ ลม ให้เราใช้ สติคือเชือก ผูกมันไว้ ลิงมันก็ ดิ้นรนไปมา จะไปนั่นไปนี่ แต่เราผูกไว้ เดี๋ยวมันหมดแรงมันก็ไม่ไปใหน เอง

การที่บอกเอาปัญญาไปสู้กับมันเลยไหม ก็ ขณะที่ จิตมันไปที่อื่น แล้วเรามีสติดึงมันกลับมา นี่แหละคือปัญญาแล้ว แต่คนมองไม่เห็น จิตมันดับจากอารมณ์อื่น กลับมารู้ลม นี่คือการเห็นว่าจิตมันเกิดดับ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนจริง นี่คือ ปัญญาแล้ว พระพุทธเจ้า ต้องการให้เห็นตรงจุดนี้ นี่คือ ปัญญาเครื่องเจาะแทงกิเลส เลยหละ แต่คนไม่เห็นกัน หาว่า เป็นหินทับหญ้าไปเสียอีก มองแต่ว่ามันเป็นสมถะ เป็นแต่สมาธิหินทับหญ้า ไปเสีย พระพุทธเจ้าว่าพวกนี้ คือ ม้ากระจอก ไม่ใช่หินทับหญ้าหรอก

4...ข้อนี้ก็ อยู่ในประเด็นเดิม ก็คือ อยากถามว่า ในขณะ ที่ คุณ นนท์ เจริญวิปัสนา หรือ สติปัฐฐาณ อยู่นั้น และเอาลมหายใจมาช่วยให้จิตเกาะใว้ แทนที่จะไปเพลินกับ ตัว เวทนา หรือเพลินกับตัว วิญญาณ การคิดนึกปรุงแต่ง อยู่นั้น ซึ่งผมรู้สึกว่าเป็นวิธีที่ โกง คือไม่ต่อสู่แบบซึ่งๆหน้า นั้น 55555 คือผมอยากถามว่า ขณะที่ทำแบบนี้ นั้น คุณ นนท์ ไม่ได้ คิด หรือ มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ได้ฌาณ ใช่ไหมครับ...

ตอบ ฌานไม่ใช่เป้าหมายหลักครับ อย่างที่บอก ฌานเป็นแค่ เครื่องมือ ทำให้จิต มันเชื่องช้าลง เป้าหมายหลักของพระพุทธเจ้า คือ ให้เห็นการเกิดดับของขันธ์ทั้งห้า ตะหาก เพราะเราต้องการปล่อยวางขันธ์ห้า ถ้าเรามีแค่ฌานอย่างเดียว ไม่เห็นขันธ์ห้าเกิดดับ ก็ ปล่อยวางขันธ์ห้าไม่ได้ ก็ไม่ต่างอะไรจากพวกฤๅษี หรือ พราหม์ ของลัทธิอื่น ที่เขาได้ฌานมาก่อนพระพุทะเจ้าเกิดด้วยซ้ำ

4.1หมายความว่า พอทิ้งความเพลินไปเรื่อยๆ ถ้าจิตมันจะสงบ มันก็สงบได้เอง เรื่อยๆ ตามเหตุปัจจัย ของมัน โดยที่คุณ นนท์ ไม่ได้ ไปพยายาม ตั้งเป้าหมาย ตั้งแต่แรกใช่ไหมครับว่าไห้มันสงบ เพื่อไห้ได้ฌาณขั้นสูงๆ ไปด้วย แต่คุณ นนท์ จะเจริญ วิปัสนา แต่ ดันเอา (อานาปานสติ) มาใช้ ผมก็เลย งงประเด็นตรงนี้ไงครับ เพราะว่า ถ้าพูดว่า (อานาปานสติ) ตอนแรก ผมก็จะนึกไปถึง สมถะ อย่างเดียวเลย ที่ไม่เกี่ยวกับ วิปัสนา....ไม่งั้น พระพุทธองจะเอาไปใว้ในส่วน กรรมฐาณ 40 กอง ทำไมครับ ทำไมไม่เอา(อานาปานสติ) ไปใว้ใน สติปัฐฐาณ4...ล่ะครับ...

ตอบ ก็ คุณอะไรกัน ไปฟังอรรถกถามามาก เลยไม่เข้าใจ สมถะกับวิปัสสนามันอยู่ติดกัน แยกกันไม่ออก การเจริญ อานาปาฯ มันก็มีทั้งสมถะและวิปัสสนาอยู่ในนั้น และ พระพุทธองค์ทรงอธิบายการเจริญสติปัฏฐานสี่ด้วยอานาปานสติ ครับ

4.2และ นั่นคือเหตุที่ผมบอกว่า ผมจะทำแยกกันไงครับ ถ้าเจริญสมาธิก็ทำไปอย่างเดียว เพื่อมุ่งไห้ได้ฌาณขั้นสูงๆ เลย และพอได้ฌาณขั้นสูงแล้ว ก็ค่อยมาเจริญวิปัสสนา ต่อ แบบนี้น่ะครับ แต่ก็เข้าใจแล้วว่าไม่จำเป้นต้องได้ฌาณสุงก็บรรลุได้ นะครับ...ถ้างั้นก็สนใจแค่ฌาณที่ 1 ก็พอ ไม่ต้องสนใจ ฌาณขั้น ที่ 2 หรือสูงขี้นๆไป...

ตอบ ผมก็ได้บอกไปแล้วว่า ฌานไม่ใช่ประเด็นหลัก มันจะไปอยู่ฌานใหน ไม่ต้องไปสนใจมันก็ได้ ครับ ประเด็นสำคัญ คือ ให้จิต ตั้งอยู่ที่ลมหายใจ หรือ อยู่กับ อุเบกขา ก็ได้ ครับ เมื่อ จิตมันดับไปจากลมหรือ อุเบกขา ไปที่อื่น ก็ ให้ละนันทิ หรือ ทิ้งภพ ดึงมันกลัมา ที่ลมใหม่ ขณะที่ จิตมันดับจากลมก็ให้เห็นว่ามันดับ จิตมันไปคิดอะไรก็ดึงมันกลับมาที่ลม จิตที่รับรู้ความคิดมันก็ดับไป

นี่ ให้เห็นการเกิดดับของจิต เป็นหลัก แล้วให้จิต อยู่กับ ภพปัจจุบัน คือ ลมหายใจ หรือ อุเบกขา ประเด็นหลักมันมีเท่านี้ ส่วนมันจะเป็นฌานใหน ไม่ต้องไปสนใจมันก็ได้ครับ การที่จิตมารู้ลมหายใจ หรือ อุเบกขา จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว นานๆฌานมันจะสูงขึ้นเอง แต่ ก็อย่างที่บอกว่า เราไม่ได้สนใจว่า มันจะได้ฌานใหน เพราะไม่ใช่จุดประสงค์หลักในการภาวนา

4.3ทำแบบนี้ คือเจริญวิปัสนาโดยเอา อานาปานสติ มาช่วย แบบที่กล่าวมา นั้น ก็จะไม่ได้ฌาณขั้นสูงๆ ใช่ไหมครับ นอกจากว่า มุ่งทำสมาธิอย่างเดียวล้วนๆ ไห้ได้ ฌาณ 4 ไปเลยก็จะฟังดูน่าสมเหตุสมผลมากกว่า...เอ๊ะ หรือว่า แค่ ฝึกละความเพลิน เห็นเกิดดับ ปล่อยวางตัว วิญญาณ ไปแบบนี้ จะได้ถึงฌาณ4 ด้วย ได้ไหมครับ...555...หรือว่าคุณ นนท์คิดว่า มันจะได้หรือไม่ได้ ก็ไม่ได้ไปสนใจ ถ้าได้ก็เป็นผลพลอยได้ ที่เป็นไปตาม เหตุปัจจัย ของมันเอง แต่ไม่ได้ไปตั้งเป้า เพราะ นี่เป็นวิธีที่ พระพุทธองค์ทรงแนะนำ ใช่ไหมครับ

ตอบ ก็พระพุทธองค์ตรัสว่า ในระดับ ฌาน หนึ่ง สอง สาม สี่ ขันธ์ทั้งห้า ยังทำงานอยู่ เราก็ สามารถ ละความเพลิน เห็นเกิดดับ ได้ทุกระดับ ของฌาน ไม่ว่าจะได้ ฌานใหน ก็ เห็นเกิดดับได้ เราละความเพลิน เห็นเกิดดับ ดึงจิต กลับมาที่กาย ลมหายใจ หรือ อุเบกขา ทำแค่นี้ เดี๋ยวฌาณมันสูงขึ้นไปถึงฌานที่สี่เอง

ไม่ใช่ ต้องแยก ว่า พอวิปัสนาเห็นเกิดดับ ได้เฉพาะฌานหนึ่ง พอฌานสี่ ไม่มีวิปัสสนา มีแค่สมาธิ นั่นเป็นการเข้าใจผิดครับ การเจริญวิปัสนา เห็นเกิดดับ ละความเพลิน เจริญไปเรื่อยๆ มันไปได้ถึงฌานสี่เลย แต่มันจะได้ฌานใหน ก็ ไม่ต้องไปสนใจมันก็ได้ อย่างที่บอกแล้วว่าเป้าหมายหลักคือ การละความเพลิน ให้จิตตั้งมั่นแล้วเห็นเกิดดับ นี่คือเป้าหมายหลัก

ตอบให้หมดแล้ว ครับ ผมต้องการตอบให้ครบทุกประเด็นที่สงสัย ก็เลยต้องพิมพ์มากหน่อยไม่อยากข้ามไป อยากให้เข้าใจ สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนแล้วนำไปปฏิบัติให้ถูกต้องจะได้ ปฎิบัติแล้วได้ผลเจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆ น๊ะครับ ส่วนกลัวว่าผมจะเมื่อยมือ ก็ ไม่เป็นไรครับ

ในสิ่งที่ผมทำ ยังน้อยมาก เมื่อเที่ยบกับ พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ ท่านต้องทำงานหนัก เพื่อการเผยแพร่ พุทธวจน เพราะ สมัยนี้ คนมีความเห็นกันผิดมากมาย ไม่ให้ไปสนใจคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ไปสนใจคำสอนที่ใครไม่รู้แต่งเติมขึ้นใหม่ แล้วคนก็ ไปสนใจกันมาก แล้วศาสนา ก็จะเสื่อมไปเรื่อยๆ อีกหน่อย คำสอนของพระพุทธเจ้าก็จะสูญหายไปจากโลก เพราะคนมัวแต่ไปสนใจคำสอนของใครไม่รู้ที่แต่งเติมเข้าไปมากมาย พวกเรา อย่าเรียกร้องพระศาสดา โดยความเป็นศัตรูเลย และอย่าเป็นบุรุษคนสุดท้าย ในกัลยาณวัตรของพระองค์เลยน๊ะจ๊ะ เอ๊ย น๊ะครับ O_o






โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 4 พฤศจิกายน 2553 เวลา:1:54:58 น.  

 
สลาภํ นาติมญฺเญยย
ไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน

มีความสุขด้วยความพอใจและพอเพียง ตลอดไป..นะคะ



โมทนาบุญด้วย..ค่ะ...



โดย: พรหมญาณี วันที่: 4 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:42:47 น.  

 
[ ภาษิต ที่ คุณ พุทธโฆษนนท์ นำ พระพุทธวจณ มาอธิบาย นั้น แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือน บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า จะได้ รื้อขนสัตว์ ออกจาก สังสารวัฏ ไม่มากก็น้อย ].........

...ผมจะเอาไป พิจรณาและภวนา ให้มากครับ ในส่วนที่บอกว่า (การทิ้ง ไปเรื่อยๆ อีกหน่อย มันจะไม่เอาเองครับ) ฟัฃดูก็สมเหตุสมผลนะครับ เหมือนเรา สร้างความเคยชินแบบไหม่ไห้จิต...และพอทำไปเรื่อยๆ มันก็จะเริ่ม เป็นความสมดุลแห่งธรรมตรฃนี้ นั่นเอง...

...และที่บอกว่า (เราละความเพลิน เห็นเกิดดับ ดึงจิต กลับมาที่กาย ลมหายใจ หรือ อุเบกขา ทำแค่นี้ เดี๋ยวฌาณมันสูงขึ้นไปถึงฌานที่สี่เอง )...ฟังดู ก็มีส่วนที่ สมเหตุสมผลนะครับ เพราะว่า มันไม่มี ความปราถนาตั้งแต่แรก ซึ่งถ้าตั้งเป้าตั้งแต่แรกว่า จะทำไห้ได้ ฌาณ สูงๆ และพอไม่ได้ดังใจ หรือได้ช้า ก็เกิด ขุ่นเคือง ก็เป็นพยาบาทนิวรณ์ ขวางกั้น ไปอีก ตลอดเวลา....

...เหมือนกับ ว่า ถ้าไป สนใจมาก จะไม่ค่อยได้ หรือได้ยาก แต่ถ้า สบายๆ ไม่เพียรมากเกิน แต่ เป็นการทำเหตุไห้สมควรแก่ผล กลับได้ นั่นเอง...หรือไม่ก็อาจจะบรรลุ อรหันต์ ก่อนได้ ฌาณ 4 ด้วยซ้ำใช่ไหมครับ....

...ถ้างั้น สรุป ก็คือว่า เราจะไป ดุสิตบุรี ด้วยกัน น๊ะจ๊ะ 55555 แต่ถ้าใคร ถวายเงิน น้อย เดี๋ยวจะตกขบวน คือไม่ให้ไป น๊ะ จ๊ะ !!!.......555555555555555 เฮ้ออออออออออออออออ....0_o

............ขออนุโมทนา..........


โดย: อะไรกัน !!! IP: 192.168.1.58, 61.7.133.18 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:16:53 น.  

 
ตุฏฐี สุขา ยา อิตรีตเรน

ความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นำสุขมาให้

มีความสุขในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ และในทุกวันดี ๆ ตลอดไป..นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 5 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:28:16 น.  

 


ใช้เวลามาศึกษานานเลยค่ะ



โดย: พธู วันที่: 7 พฤศจิกายน 2553 เวลา:10:54:58 น.  

 
((( อานิสงค์ )))

(โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

1. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง๑๐๐ครั้ง ก็ยังเป็นบุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะได้ถวายสังฆทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

2. การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมีมากถึง๑๐๐ ครั้งก็ยังเป็นบุญน้อยกว่าการถวายวิหารทาน ได้แก่การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลา และสิ่งอันเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น

3. การถวายวิหารทาน ๑๐๐ ครั้ง(๑๐๐ หลัง) ก็ยังเป็นบุญน้อยกว่าการให้ธรรมทาน แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้ไม่รู้ให้ได้รู้ ที่รู้อยู่แล้วก็ให้รู้ยิ่งๆขึ้นไป ให้ได้เข้าใจในมรรคผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้อื่นให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์ การแจกหนังสือธรรมะ

4. การให้ธรรมทานแม้จะมากถึง ๑๐๐ครั้ง ก็ยังเป็นบุญน้อยกว่า การให้ “อภัยทาน” แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานคือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ “โทสะกิเลส” และเป็นการเจริญ “เมตตาพรหมวิหารธรรม” อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหารสี่ให้เกิดขึ้น เพราะการให้อภัยทานเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดว่าเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง (ทานอย่างอื่นอาจต้องเสียสละทรัพย์สินเงินทอง แต่อภัยทานนี้ไม่ต้องเสียทรัพย์สินเงินทอง เพียงเสียสละทางใจให้อภัยแม้ศัตรู)

5. อย่างไรก็ดีการให้อภัยทานแม้จะมากเพียงไร ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า “ฝ่ายศีล” เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน แม้จะได้ถือศีลแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

6 การถือศีล๕ แม้จะมาก๑๐๐ครั้ง ก็ยังเป็นบุญน้อยกว่าการถือศีล๘ แม้เพียงครั้งเดียว
การถือศีล๘แม้จะมาก๑๐๐ครั้งก็ เป็นบุญน้อยกว่าการถือศีล๑๐ แม้เพียงครั้งเดียว (แม้บวชเณรวันเดียว)
การได้บวชเป็นสามเณร
รักษาศีล๑๐ แม้รักษาไม่ให้ขาดหรือด่างพร้อย นาน๑๐๐ปี (เปรียบเทียบ) ก็ยังเป็นบุญน้อยกว่าการถือศีล๒๒๗ แม้บวชได้เพียง๑วัน

7. “แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล๒๒๗ ข้อไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมาเป็นเวลา๑๐๐ปี ก็ยังได้กุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่ว ไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู”

คำว่าจิตสงบในที่นี้ หมายถึง จิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” คือสมาธิเล็กๆน้อยๆ สมาธิแบบเด็กๆที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลง แล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ ซึ่งเป็นอารมณ์ที่จิตยังไม่ตั้งมั่น สงบลงวูบเล็กน้อย แล้ว ก็รักษาไว้ไม่ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อจิตขั้นอุปจารสมาธิและฌาน แม้กระนั้นยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ โดยหากผู้ใดจิตทรงอารมณ์อยู่ในขั้นขณิกสมาธิแล้ว บังเอิญตายลงขณะนั้น อานิสงส์จะส่งผลให้ได้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่๑(จาตุมหาราชิกา) หากจิตยึดไตรสรณคมน์ (มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสูงสุดด้วย ก็เป็นเทวดาชั้นที่๒ คือดาวดึงส์)

การทำสมาธิเป็นการบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด เพราะไม่ต้องเสียเงินทอง ไม่เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่ระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตไม่ให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่นๆ โดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น

8. “ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจนจิตเป็นฌานได้นาน ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังเป็นบุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความจริงว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม”

(เทศน์สอนโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)


โดย: อย่านะ วันที่: 7 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:26:59 น.  

 

..........ดูกร ! คฤหบดี เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อเวลามะ พราหมณ์ผู้นั้นได้ให้ทานเป็นมหาทานอย่างนี้ คือ

ได้ให้ถาดทองเต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาด

ถาดรูปิยะเต็มด้วยทอง ๘๔,๐๐๐ถาด

ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด

ให้ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก มีเครื่องประดับล้วนเป็นทองมีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง

ให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง ผ้ากัมพลเหลือง มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง

ให้แม่โคนม๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมไหลสะดวก ใช้ภาชนะเงินรองน้ำนม

ให้หญิงสาว ๘๔,๐๐๐ คนประดับด้วยแก้วมณีและแก้วกุณฑล

ให้บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดมีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชมด มีเครื่องลาดเพดาน มีหมอนข้างแดงทั้งสอง

ให้ผ้า๘๔,๐๐๐ โกฏิ เป็นผ้าเปลือกไม้ ผ้าแพร ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียด

จะป่วยกล่าวไปไยถึงข้าว น้ำ ของเคี้ยว ของบริโภค เครื่องลูบไล้ ที่นอน ไหลไปเหมือนแม่น้ำ

..........ดูกร ! คฤหบดี ก็ท่านพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า สมัยนั้น ผู้อื่นไม่ใช่เวลามะพราหมณ์ผู้ที่ให้ทานเป็นมหาทานนั้น

..........ดูกร ! คฤหบดี แต่ท่านไม่ควรเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เราเป็นเวลามะพราหมณ์ เราได้ให้ทานนั้นเป็นมหาทาน ก็ในทานนั้นไม่มีใครเป็นพระทักขิเณยยบุคคลใครๆ ไม่ชำระทักขิณานั้นให้หมดจด

..........ดูกร ! คฤหบดี ทานที่บุคคลเชื้อเชิญท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่เวลามะพราหมณ์ให้แล้ว

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิร้อยทานบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิผู้เดียวบริโภค

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิร้อยท่านบริโภค

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภคมีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีผู้เดียวบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีร้อยท่านบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยรูปบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภคมีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค

การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค

การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมาจากจาตุรทิศ

การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ

การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใส สมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ

..........ดูกร ! คฤหบดีทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่าน ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่ามหาทานที่เวลามะพราหมณ์ให้แล้ว ... การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใส สมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ... และการที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม ฯ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 8 พฤศจิกายน 2553 เวลา:18:49:14 น.  

 
ตเมว วาจํ ภาเสยย ยายตฺตานํ น ตาปเย

ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน

มีความสุขในชีวิต ด้วยการคิดดี พูดดี และทำดี ตลอดไป..นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 9 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:55:03 น.  

 
*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*



*~*~* แวะมาทักทายจ๊ะ..สุขสันต์วันสดใส ขอหัวใจเบิกบาน *~*~*

*~*~*~*~*~*~* ..HappY BrightDaY.. *~*~*~*~*~*


โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* วันที่: 11 พฤศจิกายน 2553 เวลา:10:43:24 น.  

 
อตฺตา หเว ชิตํ เสยโย

การชนะตนเองเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

มึความสุขจากความสำเร็จในการรู้อารมณ์ตนเอง ตลอดไป..นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 11 พฤศจิกายน 2553 เวลา:10:49:57 น.  

 

...คุณนนท์ ผมอยากบอกเล่า ความก้าวหน้า ในส่วนของ การเจริญสมาธิ ที่ผมทำอยู่ นิดนึง น่ะครับ ปรากฏว่า ขณะนี้นะครับ ผมสรุปได้แบบนี้ แต่ ต่อไปอาจจะผิดหรือเปลื่ยนแปลงอีก เพราะ ตอนนี้ ที่ผมเพิ่งได้ สภาวะแบบไหม่นั้น จึงทำไห้ผมเข้าใจว่า ที่ผ่านมา ที่ผมบอกว่าได้ฌาณที่ 3 ก็คือ ผมเข้าใจผิดครับ จริงๆ แล้ว ไม่ใช่ 5555...เฮ้ออออออออ...

...เพราะ ว่า ผมเพิ่งได้ฌาณที่ 3 จริงๆ ก็คราวนี้แหละ ก็เลยสรุปได้ว่า ที่ผมเข้าใจว่า ผมได้ฌาณที่ 2 จริงๆแล้ว นั่นคือ ฌาณที่ 1 ต่างหาก และที่บอกว่าเป็นฌาณที่ 3 ก็เป็นเพียง ฌาณที่ 2 นั่นเอง เพราะ สภาวะแบบไหม่ ที่ผมได้ ที่เป้น ฌาณที่ 3 นี้มีความสุขมากที่สุด เหมือนหลุดไปอีก มิตินึงเลย จริงๆ...

...คล้ายๆกับอาการวูบบบ เหมือนหลับไป และ ไม่อยากออกเลย...ทั้งๆที่เราอยากออกด้วยซ้ำ เพราะตอนนั้น นั่งนาน 2 ชั่วโมงกว่าแล้ว จะเอาเวลาไปทำอย่างอื่นบ้าง เพราะเดี๋ยวจะกลายเป็นว่าเสียเวลาไปกับสิ่งนี้สิ่งเดียว และปรากฏว่า พอเราจะออก ก็จะรู้สึกเสียดายมาก และสภาวะนั้น มันก็จะดึงเราใว้ เปรียบเหมือนเป็น พลังแม่เหล็กที่มีกำลังแรงสูงมากๆ ที่มาหน่วงจิตเราใว้ ไห้ตรึงอยู่กับมันตลอดเวลา....

...และตรงกับที่ได้ยินมาว่า คนที่ได้ฌาณที่ 3 แล้วนั้น สามารถ นั่งติดต่อกันนานๆได้เลย เพราะมันมีความสุขจริงๆ คล้ายๆกับอาการนอนหลับ แต่ไม่ใช่ เปรียบเทียบเหมือน เราทำอะไรก็แล้วแต่และเรามีความสุขคือ สภาวะ หรือพลังนั้น มันจะมาเติมไห้เราตลอดเวลาเลย...คล้ายๆกับ เช่นเวลาที่เรา ง่วงนอนมากๆ และล้มตัวลงนอน พอได้นอนแล้วก็มีความสุข แต่นิดเดียวร่างกายมันก็หลับไป...

...แต่ สภาวะหรือพลังจิต แบบนี้คือ เหมือน เราง่วงมากๆ และ อยากนอน พอได้ลงนอนและเริ่มวูบบบ มันก็จะมีความสุข และมีความสุขแบบต่อเนื่อง กับสภาวะนี้ไปตลอดเลย ที่ไม่เหมือนกับการนอนหลับ เพราะการนอนหลับ จะมีความสุขแค่ตอนกำลังวูบบบหลับแค่2-3นาที ก่อนที่จะหลับและไม่รู้ตัว...

...แต่สภาวะของฌาณที่ 3 นี่ มันจะ คล้ายๆ อาการของช่วงเวลาที่กำลัง วูบบบ หลับ แต่มีสภาวะแบบนั้น เกิดต่อเนื่อง และ เติมความสุขไห้เราตลอด แต่เราจะมี สติสัมปชัญะ อยู่ตลอด หรือคล้ายๆกับว่า ร่างกายเรา หลับ แต่ จิตไม่หลับ และจะตรึงอยู่กับสภาวะนั้น อยู่ตลอดน่ะครับ..

...คือ ผมจะแยก สภาวะของ ฌาณทั้ง 3 ขั้น นี้ได้อย่างชัดเจน...เพราะฉะนั้น ที่ผมสงสัยและเคยถามไปว่า ฌาณที่ ๑ มันแค่ละอกุศลได้ เท่านั้นหรือ ก็เข้าใจว่ามันจะไม่มีสภาวะอะไรเป็นพิเศษ แต่สำหรับผม มันมีครับ ก็ สภาวะนั้นแหละ ที่ผมเข้าใจว่าเป็น ฌาณที่ 2 แต่คือฌาณที่ 1 ต่างหาก เพราะสรุปความเข้าใจแบบไหม่ของผมตอนนี้...ก็คือว่า...

1. ( ฌาณที่ ๑ ) จะมี (((สภาวะหรือพลัง))) มาหน่วงเหนี่ยวจิตใจเราให้ตรึงอยู่กับมันตลอด และมีผลต่อร่างกายนิดหน่อย ไม่มาก คือ จะมีลักษณะเพียงแค่นี้...

2. ( ฌาณที่ ๒ ) จะมี (((สภาวะหรือพลัง))) มาหน่วงเหนี่ยวจิตใจเราให้ตรึงอยู่กับมัน มากขึ้น ประมาณ 5 เท่าตัว และมีผลต่อร่างกายแบบเต็มๆ คือ ร่างกายซาบซ่านไปทั่วตัว ขั้นนี้ก็จะเป็นแบบนี้...

3. ( ฌาณที่ ๓ ) จะมี (((สภาวะหรือพลัง))) มาหน่วงเหนี่ยวจิตใจเราให้ตรึงอยู่กับมัน มากกว่า ฌาณที่ ๒ ขี้นไปอีก 5 เท่าตัวเช่นกัน แต่ ขั้นนี้ ผลต่อร่างกายเริ่มไม่รู้สึกตัว มากเท่า ฌาณที่ ๒ เพราะ ถูกสภาวะหรือพลัง ทางจิตแบบไหม่ ที่มาแรงมาก ทำไห้เรามีความสุขอยู่กับ สภาวะนั้น ที่มาหน่วงเหนี่ยวจิตเราใว้ โดยลืมนึกถึงร่างกายไปเลย และมันเหมือนเป็นแม่เหล็กดึงดูด ไห้ตรึงอยู่กับมันไปเรื่อยๆ แบบไม่อยากออกเลย...

...และนี่คือ การอธิบาย อาการปรากฏโดยย่อๆ ของผมน่ะครับ ซึ่งฌาณแต่ละ ระดับ ผมก็จะรู้ได้ ว่า มันขนาดไหน ตามที่เคยอ่านมาคือ ว่าฌาณแต่ละขั้น ก็มี 3 ระดับ คือ แบบ ( หยาบ...กลาง...ละเอียด ) และนี่เป็นครั้งแรกเลย ที่ จิตสงบตั้งมั่น และลึกมากที่สุด และลมหายใจละเอียดที่สุด...

...และ ฌาณ ที่ 3 ที่ผมได้นั่น รู้สึกว่าเป้น แบบ กลางๆ และ พอเสวยอารมณ์สุขนั้นอยู่ และต้องการ ดูลมเข้าออกต่อไป ปรากฏว่าลมหายใจบางช่วง พยายามจับแต่ จับแทบไม่ได้เลย เพราะมันเหมือนกับจะไม่มีไห้กำหนดแล้ว แต่เราก็จะทำความรู้สึกได้ว่า มันมี คือคล้ายๆกับเรา คิดช่วยมันสร้างไปเองว่ามันมี และก็รู้ในแบบที่เราจำได้ว่ามันเป้นแบบนั้น แทนน่ะครับ เพราะ มันละเอียดจนจับได้ยากมาก แต่พยายามจับดูไห้ดีๆ ก็รู้ว่า มันมีอยู่แต่ละเอียดที่สุด ซึ่งไปกำหนด แต่ตัว สุข ต่อไปจะง่ายกว่า เพราะชัดเจนและเป็นสภาวะที่ มาแรงมาก...

######################

...และ หลังจากทำมา ก็มีข้อสรุปหลายอย่างที่ พบว่า เป็นรายละเอียดที่สำคัญมากๆ ต่อการเจริญฌาณ ให้ได้ผล นั่นคือ เช่น (((ทำกายสังขารให้ระงับ))) นี่ สำคัญมากๆ ถ้าไม่ได้ฌาณ คือ ผมดูจากการที่ผมทำมาแล้ว ในช่วงแรกๆนั้น ถ้าไม่ได้ หรือได้ช้า ก็หมาย ความว่า กาย ยังไม่ระงับ จริงๆนั่นเอง โดยเฉพาะระบบการหายใจ ตรงนี้ มันละเอียดจนเราจะลืมได้บ่อยๆ...

...เช่น พอนั่งๆไป เรามักจะไป เกร็ง ร่างกาย หรือ เกร็งสมอง โดยไม่รู้ตัว พอนึกได้ ก็ค่อยๆ ปล่อยให้ผ่อนคลายไห้หมด ทั้งร่างกาย และจุดที่สำคัญที่สุดคือ ระบบ การหายใจเข้าและออก นั้น เราจะ ชอบลืมตัว ไป บังคับลม เช่นไปบังคับท้องไห้ พอง หรือ ยุบ หรือปั้นแต่งลม ไห้เป็น ไปแบบนั้นแบบนี้ และพอนึกได้ก็ ค่อยๆปล่อยไห้เป็นหน้าที่ของร่างกายไปเอง เราเพียงแต่ไปรู้ แค่นั้น...

...คือเรื่องระบบการหายใจเข้าและออกนี่ สำหรับผม สำคัญมากๆ คือต้องปล่อยจริงๆ เพราะเราชอบเผลอไป เช่น ชอบไปปั้นแต่งลม เช่น ลมระรอกไหม่ยังไม่มา เราก็ไปพยายาม หายใจไห้มันมาเร็วๆ เพื่อที่จะไห้จิตกำหนดรู้ หรือชอบหายใจเร็วๆกระตุกบ้าง แต่จริงๆแล้ว ต้องปล่อยไห้มัน ...ช้าๆ...เนิบๆ...พอลมหายใจมา จิตก็ตามรู้...

...คือจิตตามรู้ลม ไม่ใช่ พยายามบังคับไห้ลมเข้าๆ และออกๆ และค่อยตามรู้ แต่ต้องปล่อยไห้ เป็นไปตามระบบของร่างกายจริงๆ ซึ่งตรงนี้เราจะลืมอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ตอนนี้ผมก็ยังเผลอลืมได้อยู่ตลอด เป็นช่วงๆ ซึ่งบางทีเรารู้สึกว่า ทำไมวันนี้ได้ฌาณช้าจังเลย ปรากฏว่า กายเรายังไม่ระงับจริงๆ...

...ซึ่งสำหรับผมก็ งง ว่า ปกติถ้าไม่ได้ เจริญสมาธิ มันก็ไม่เห็นได้ ไปพยายาม ปรุงแต่งลมอะไรเลย เราหรือรู้สึกอึดอัดอะไรเลย คือไม่ได้นึกถึงลมหายใจด้วยซ้ำ แต่พอมา เจริญ อานาปานสติสมาธิ ดัน รู้สึกว่า มัน ยาก ที่จะปล่อยไห้เป้นไปตามระบบโดยธรรมชาติของมันเอง ไปเสียอีก 555 กว่าจะหาความสมดุลตรงนี้ได้ เล่นเอาเหนี่อยเลย ซึ่งตอนนี้ ความสมดุล ของการรู้ลมเข้าออกของผม ก้ถือว่า ยังไม่ ราบลื่นแบบ 100% นะครับ ก็ยังมีลืมได้บ่อยๆอีก...คือชอบไป บังคับปรุงแต่งลมโดยที่เราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ...

...ก็เลยพบว่า ต้องเป็นลักษณะที่ ปล่อยให้เป็นตามธรรมชาติของร่างกายจริงๆ โดยที่เรา ต้องใช้คำว่า ตามรู้ คือ ประมาณว่า พอร่างกาย หายใจเข้าเราก็ค่อยตามรู้ หายใจออก ก็ค่อยตามรู้ โดยอาการของเรามันจะ ตามแบบ ดีเลย์ ช้ากว่า นิดนึง แต่แค่เพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น น่ะครับ แต่ไม่ใช่แบบรู้ทันที เพราะว่า ถ้าทันที มันก็มักจะชอบลืมตัวไป บังคับปั้นแต่งลม อีก มันก็จะ ทำไห้ไม่ได้สมาธิสักที หรือได้ช้า...

...เพราะคำว่า (กายสังขาร) ต้องระงับ หมายความว่า สำหรับผมที่เริ่มฝึกช่วงแรกๆนั้น ต้องระงับจริงๆ แบบทำความรู้สึกว่าเรา แยกจิตออกจากกายไปเลยทีเดียว จึงจะได้ผลเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า (กายสังขาร) คือ การปรุงแต่งทางกาย เพราะถ้าร่างกาย หรือสมอง เกร็งแม้แต่นิดเดียว !!!...

...หรือ ระบบของลมหายใจเข้าและออก ผิดจากธรรมชาติของร่างกายแม้แต่นิดเดียว ก็ คือจิตปรุงแต่งแล้ว เพราะ เกร็งอวัยวะ ส่วนใดเพียงนิดเดียว ก็คือจิตที่ มาคิดถึงกาย ซึ่ง อารมณ์ที่ 2 ควบคู่กับลมหายใจ ซึ่งเป็นอารมณ์หลักที่ 1 นั่นเอง เพราะการเกร็งโดยไม่รู้ตัวนั้น ก็คือ จิตที่ปรุงแต่งกาย ซึ่งเป็นกายสังขารที่ไม่ระงับอยู่ตลอดเวลาโดยที่เราไม่รู้ตัว และนี่คือจุดที่สำคัญมากสำหรับผมคิดว่า ถ้าเป็นผู้ที่เริ่มฝึกใหม่ๆ นั้นที่ การจะได้ฌาณหรือไม่ได้ จะขึ้นอยู่กับตรงนี้ด้วย เป็นสำคัญเลยทีเดียว...

######################

...ทุกๆวัน ผมก็ เจริญ สมถะ และ วิปัสนา ควบคู่กันไปตลอด บ่อยๆ เนืองๆ และ จะกำหนดจิต ให้รู้ควบคู่อยู่กับ สภาวะของจิต แบบ สักแต่ว่า และ อย่าเข้าไปเป็นมัน อย่ายึดว่ามันเป็นเรา และ อย่า เพลิน ไปกับจิตแต่ละดวง ที่เกิดดับๆ สืบต่อกัน อย่างรวดเร็ว เพราะ ถ้าเข้าไปเป็นมัน และ เพลิน ที่จะไปรู้มัน หรือเพลินไปกับ จิตที่มันเสวยอารมณ์ต่างๆ ต่อไปเรื่อยๆ เราก็จะเกิดๆดับๆไปกับมัน ไม่รู้จบ และ เราจง เบื่อหน่าย คลายความกำหนัด กับจิตที่ ผูกโยงต่อกัน เหมือนโซ่ตรวน ที่แต่ละอันมัน คล้องกัน ถ้าเราไปยินดีพอใจที่จะ ไปเป็นมัน ที่ มันก็เสวยอารมณ์ของมัน ต่อไปเรื่อยๆ ตามเหตุปัจจัย ของมัน ก็เหมือนเราผูกจิตเราไห้เวียนไหว้อยู่ใน วัฏสงสาร...เพราะฉะนั้น การ ตัดภพ ทำได้ทันที โดยการ อย่าเข้าไปเป็นมัน ที่จะเพลินกับอารมณ์ ของจิตดวงต่อๆไป เปรียบเหมือน การจำลองสภาวะ หรือทดลอง อยู่ในสภาวะของ อรหันต์ นั่นเอง !!!...

######################


โดย: อะไรกัน IP: 118.174.190.193 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2553 เวลา:0:40:02 น.  

 
ตอบ คุณอะไรกัน

ผมก็ ได้เคยบอกเครื่องวัด ระดับของ ฌาน ไปแล้วว่า เราได้ ฌานไหน ก็ ต้องใช้เครื่องวัดตามแบบที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ ครับ อย่าไปบัญญัติเองว่า เราได้ อาการแบบนั้นแบบนี้ คือ ฌานนั้นฌานนี้ ต้องใช้ เครื่องวัดตามแบบที่พระพุทธเจ้าบอกเท่านั้น ไม่งั้นเราก็ อาจจะเข้าใจผิดได้ แต่ก็อย่างที่บอก ไม่ต้องสนใจ มันก็ได้ ว่าได้ ฌานไหน ก็ ทำไปเรื่อยๆจะดีกว่า

ส่วนที่บอกว่ารู้สึกว่ามีความสุข มาก มัน ก็ อาจจะเป็นปิติ ก็ได้ ครับ เพราะ สุข จะ สงบรำงับกว่าปิติ ซึ่ง การที่ คุณอะไรกัน ยินดีพอใจในความสุขที่ได้รับ นั่น คือ จิต เกิดดับแล้ว จิตที่กำลังรู้ลมหายใจอยู่ แต่ อีกดวงไปรับรู้ ว่ามีความสุข แถมไปพอใจ ในความสุขนั้น แสดงว่า จิต ดับจากลม ไป รับรู้ สุข เวทนาแล้ว นี่ให้มองว่าจิตมันเกิดดับ เดี๋ยว เราดึงกลับมารู้ลม จิตที่รับรู้สุขเวทนาก็ดับ นี่ให้เห็นความไม่เที่ยงของจิต

แล้วจริงๆแล้วอย่าไปยินดีพอใจ กับสุขเวทนานั้นๆ เพราะ เดี๋ยวมันก็ดับ สิ่งที่เป็นความรู้ปรากฏขึ้นมาในจิต มันมีเกิดเดี๋ยวมันก็ดับ ฉะนั้น อย่าไปสนใจมันมาก ให้ วางเป็นอุเบกขา ซ๊ะมองว่า มันเกิดได้ มันก็ดับได้

ส่วน ที่ว่า เราได้ ฌานไหน เราก็จะทราบได้จากเราทำมากทำบ่อยทำนาน จนชำนาญ หรือ เรียกว่า วสี เราทำความรู้จักกับมันเดี๋ยวเราก็ทราบเองว่านี่มันฌานไหน

ส่วนเครื่องวัดที่ คุณอะไรกัน บัญญัติ ก็ อาจจะยังไม่ใช่ ตามนั้นก็ได้ครับ เพราะมันไม่เป็นมาตรฐาน ตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ บางอย่างที่คุณอะไรกัน รู้สึกได้แบบนั้นคนอื่นอาจจะไม่ได้อย่างนั้น ซึ่งอาจจะได้ ฌานระดับเดียวกัน แต่ความรู้สึก ไม่เหมือนกัน ก็เป็นได้ ฉะนั้น เราบัญญัติ อะไรไมได้เลย เพราะ มันจะผิด จึงต้องใช้ มาตรฐานตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติเท่านั้น เพราะมันจะเป็นมาตรฐาน เหมือนกันหมดนั่นเอง

แต่เท่าที่ฟังดู ก็น่าจะได้ ระดับ ฌานสามแล้วครับ เพราะลมหายใจจะละเอียดมากจนแทบจับลมหายใจไม่ได้แล้ว ส่วนเรื่องที่พอ มารู้ลมเหมือนเราตั้งใจเกินไป จะเกร็งบ้าง จะหายใจไม่เป็นธรรมชาติบ้าง ก็ ไม่เป็นไร ลองปรับหาความสมดุลย์แห่งธรรมทำด้วยความพอดี พอเราทำจนชำนาญแล้ว มันก็ ได้เอง ในระดับ ฌานแรกๆ ก็ เป็นแบบนี้ครับ เหมือนเรา ปรุงแต่ง ลม จะเรียกอันนั้นว่า วิตก วิจาร ก็ ได้ ปรุงแต่งกาย ปรุงแต่งลม หายใจแรง ไม่เป็นธรรมชาติ นี่คือการปรุงแต่ง

แต่พอทำไปๆ เราเริ่ม ไม่มีการปรุงแต่งแล้ว วิตก วิจารดับไป มันก็จะหายใจเป็นธรรมชาติเอง กายสังขารก็ สงบรำงับมากขึ้น จนเหลือแต่ ปิติ สุข อุเบกขา ก็ คือ เข้าสู่ ทุติยฌาน

ส่วน การปฎิบัติ ก็ ทำมาถูกต้องแล้ว พยายามอย่าไปเพลินกับความสุขในสมาธิ ที่เราได้รับ ให้ วางเฉยกับมัน อย่าไปรับรู้และรู้สึกว่า เป็นมัน หรือ เป็นเราที่กำลังมีความสุขนั้นๆ อย่าไปสนใจมัน จิตไปรับรู้อะไร บอกกับตัวเองว่าเดี๋ยวมันก็ดับ แค่นั้น อย่าไปหลงใหลในสุข

หรือ แม้นแต่ไม่ทุกข์ ไม่สุข อุเบกขานี่ ก็ ตัวยากเลย ที่เราจะปล่อยวางมัน เพราะ เราวางสุข แล้ว ก็ เหมือนเราปล่อยวาง หมดแล้ว แต่ยังไม่ใช่ ไอ้ที่รู้สึกว่าเฉยๆว่า ว่าง ว่านิ่ง มันก็ เป็นการยาก ที่เราจะปล่อยวาง นี่คือตัวที่ยากที่สุด ฉะนั้น ขนาด อุเบกขา คือ ไม่รับรู้สุข ทุกข์ อะไร เรายังต้อง ปล่อยวางมันเลย นับประสาอะไร กับ สุข ที่เราได้รับ ในการปฏิบัติ

สุดท้าย ขออนุโมทนากับการที่ได้ตั้งใจปฏิบัติน๊ะครับ ขอให้ ความตั้งใจนี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เป็นการที่จิตตกกระแสไหลไปสู่พระนิพพาน ในอนาคตกาลอันใกล้นี้ อนุโมทนา ครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 12 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:20:58 น.  

 
...โอ้โห...!!!...คุณ พุทธโฆษนนท์ ผมลองปรับเปลื่ยน การเจริญสติ ดูใหม่แล้วครับ ปรากฏว่าดีมาก เลยครับ...ก็คือว่า จากที่เจริญสมาธิอย่างเดียวแบบล้วนๆเลย แยกกัน โดยไม่เกี่ยวกับวิปัสนา คือผมจะลองทำดูก่อน ก็ได้ผลดีครับ...และที่คุณนนท์ตอบทุกครั้งจะสำคัญมาก ผมอ่านแล้ว แต่อาจจะไม่ได้ โพสต์ตอบอะไรมาก แต่ผมจะพิจรณาละเอียดทุกตัวอักษรเลยน่ะครับ...


...ปรากฏว่า วันนี้เพิ่งลองเปลื่ยนมา ทำแบบที่ คุณนนท์แนะนำ ก็เลยลองดู เพราะรู้สึกว่า เจริญสมถะอย่างเดียว ให้จิตสงบตั้งมั่นและเพลินอยู่กับ ปีติ อย่างเดียวนั้น มันก็ดีนะครับ แต่คิดว่า ถ้าพลิกจิตมาเห็นไตรลักษณ์ แล้วกลัวว่า ฌาณมันจะค่อยๆหายไป เพราะต้องเพ่งอยู่กับฌาณมันจึงจะแนบแน่นอยู่กับเรา...

...แต่ กลัวว่ามันจะหลงเพลินมากไป ยังไงไม่รู้ คือมันเหมือนกับว่า เราไปหลงติดอยู่ กับฌาณและต้องการแค่จะทำไห้ได้ฌาณ4 ไปอย่างเดียว จนลืมวิปัสนา 555 คือลืมไปชั่วขณะนึงเลยจริงๆด้วย 55555 เฮ้ออออ..เลยคิดว่าจะเปลื่ยนมาทำแบบที่ควรจะเป็นดีกว่า..เพราะฌาณ คงไม่เสื่อมถอยหรอก วันนี้เลยลองทำดู...

...ปรากฏว่า พอเจริญ สมาธิ และอยู่ใน ฌาณที่ 1 ซึ่งก็ง่ายใช่ไหมครับ ไม่มีอะไรมาก แค่ละอกุศล ...และผมก็จะนั่งคิดพิจรณา เกี่ยวกับหลักการ ที่คุณนนท์ตอบอธิบายหลักการเจริญสติ อะไรประมาณนี้ เหมือนกับเป็น ธรรมะวิจัยสัมโพชงค์ อะไรประมาณนี้น่ะครับ ...

...คือผมจะพิจรณาว่า ถ้าจะเริ่มทำวิปัสนาและสมถะ ควบคู่กันไป จะเริ่มตรงไหนยังไง ก็พิจรณาหลักการ ที่เรารู้แล้วนั่นแหละ ก็เอามาเรียบเรียงความคิด ปะติดปะต่อไปเรื่อยๆ ก็ปรากฏว่าเริ่มเข้าใจ ในสิ่งที่คุณ นนท์ อธิบาย มากขึ้นไปโดยบังเอิญเลยครับ สุดยอดมากๆๆๆ....

...และสิ่งที่เริ่มเข้าใจประเด็นหลักการ แจ่มแจ้งมากขึ้นก็คือว่า...ก็คือพอเราคิดว่า คราวนี้แหละ จะเน้นวิปัสนาและเอาสมาธิเป็นบาทฐาณไปด้วย ก็มาคิดเรียบเรียง ฐาณข้อมูลของตัวเองขึ้นมาใหม่ แต่ส่วนใหญ่ก็หลักการเดิมนั่นแหละครับ แต่ว่ามันจะเปลื่ยนแค่ รายละเอียด ที่พลิกไปพลิกมา เรื่อยๆครับ 5555....

...ตอนนี้ ก็เลยสรุปได้แบบนี้ ก็คือว่า...การปฏิบัติ ก็จะเริ่มที่...( กระทำในใจ ให้รู้ควบคู่อยู่กับ [สภาวะของจิต] แบบ [สักแต่ว่า] คือ [อย่าเข้าไปเป็นมัน] และ [อย่ายึดว่ามันเป็นเรา] ต้องปล่อยวางให้หมด สภาพธรรมทั้งหลาย ก็เป็นเพียง ธาตุ แต่ละอย่าง ที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหตุหนุนเนืองกันไป จงอย่ายินดีพอใจ ที่จะไปเกิดดับกับมัน หมายความว่า อย่าเพลินที่จะไปรู้จิตดวงต่อๆไป เพราะนั่นคือ การเกิดของจิตที่สร้างภพ อันเป็นเหตุให้จิตเราผูกติดอยู่ใน วัฏสงสาร ต่อไปไม่รู้จบ เพราะการเกิดนั้นเป็นทุกข์ นั่นคือ โทษ อาทีนวะ )......

...และ พอพิจรณาไปแค่นี้ และ รู้ลมเพียงแค่ 1 ครั้ง แบบเน้นๆเท่านั้น...ปีติก็เกิดแล้วครับ อาจจะเป็นเพราะ ผมชำนาญ คือมี วสี ของ ฌาณ ที่ 2 แล้วจึง ไม่ต้องใช้เวลามาก ก็สงบได้(ทุติยฌาณ)ได้ แต่ ว่า ฌาณที่ 3 (ตติญฌาณ)ยังถือว่า ยากอยู่นะครับ ยังไม่ง่ายเหมือน ฌาณที่ 2 เพราะเคยได้แค่ 2-3 ครั้งเท่านั้น 555...

...แต่ผมรู้สึกได้ชัดเจน ว่ามันเหมือนเป็นอะไรที่ มีอยู่แล้วน่ะครับ คือพอต้องการได้สภาวะนั้น แค่สูดลมหายใจแบบเน้นๆ ไม่กี่ครั้ง ก็ได้ปีติเลย แต่ถ้าไม่รู้ลมดันไม่ได้นะครับ ก็แปลกเหมือนกัน คือผมจะทดลองดูหมด สงสัยตรงไหนทดลองดูไห้รู้ไปเลย พอลองทำจิตไห้ว่างๆ กำหนด ปิติ ไปเลย ดูซิมันจะได้ไหม โดยไม่ต้องสนใจรู้ลมหายใจ ก็ปรากฏว่า ไม่สามารถทำไห้ได้ฌาณที่ 2 ครับ แต่แปลกตรงที่ พอไปรู้ลมแบบเน้นๆ แค่ 2-3 รอบ มันกลับได้ขึ้นมาทันทีเลย แปลกจริงๆ เพราะมันเหมือนกับว่า การสูดลมเป็นการช่วยดึงสภาวะนั้นมา ได้อย่างมหัสจรรย์เลยทีเดียวครับ....

...คือมันเหมือนเป็นผล ที่รอเราอยู่แล้วยังไงไม่รู้ คือไม่เหมือนเข้า ฌาณสมาบัติ แบบปกติ แบบที่เคยได้ตั้งแต่แรก แต่ตอนนี้รู้สึกว่า เป็นการเข้า ผลสมาบัติ อะไรประมาณนี้มากกว่าน่ะครับ ตรงนี้ ผมยังไม่สรุปนะครับ เดี๋ยวจะหาว่า เวอร์เกินไป 555 แต่ถ้าผมไม่แน่ใจ ก็จะไม่กล้าพิมพ์หรอกครับ !!!......เพราะมันเป้นแบบนั้นจริงๆ ทุกๆครั้งที่กำหนดรู้ลมหายใจ จะมีประสิทธิภาพมาก พอหายใจเข้า จิตก็จะ (((...วูบบบ เคลิ้มมมม...))) หายใจออก ก็จะ (((...วูบบบ เคลิ้มมมม...)))...คือพออยู่ปกติและเริ่มทำก็จะได้แบบนี้เลย...

...ซึ่งไม่เหมือนกับ ครั้งแรก ประมาณ 2 เดือนก่อนที่ เริ่มทำ กว่าจะได้ อาการ (((...วูบบบ เคลิ้มมมม...))) หมายถึง (จิตที่ถูกดึงวูบบบ ลึกลงไป) แบบนี้ ก็เล่นเอา เป็นชั่วโมง จะได้ แต่ก็แค่ นิดๆหน่อยๆไม่กี่วูบบบ ..แต่ตอนนี้ สูดลมหายใจครั้งเดียวก็ เสวยผลเลย พอรู้ลมต่อไป ไม่กี่ครั้ง ปีติก็แนบแน่น เราก็ คงสภาวะนี้ใว้ได้แบบแนบแน่น เลยทีเดียว ดีใจมากๆ !!!...

...เอ๊ ลืมประเด็นที่ผมกำลัง บอกไปว่า แบบใหม่ที่ผมกำลังปรับเปลื่ยนมาทำก็คือว่า...ผมจะเริ่มที่ ...
( กระทำในใจ ให้รู้ควบคู่อยู่กับ [สภาวะของจิต] แบบ [สักแต่ว่า] คือ [อย่าเข้าไปเป็นมัน] และ [อย่ายึดว่ามันเป็นเรา] ต้องปล่อยวางให้หมด สภาพธรรมทั้งหลาย ก็เป็นเพียง ธาตุ แต่ละอย่าง ที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหตุหนุนเนืองกันไป...

...พอพิจรณาไป ก็คิดว่า แล้ว ไอ้ตัว [สักแต่ว่า] นี้ มันคืออะไร ก็เลยคิดออกว่า อ๋อ มันก็คือ [อุเบกขา] ไงล่ะ ใช่ไหมครับ...และคิดต่อว่า เรากำลัง ( กระทำในใจ ให้รู้ควบคู่อยู่กับ [สภาวะของจิต] แบบ [สักแต่ว่า] นั่นก็คือ เรากำลัง กำหนดจิตไห้อยู่กับ [อุเบกขา] ไปเรื่อยๆ นั่นเอง และก็คิดต่อว่า แล้วอานาปานสติ นี่ มันจะเอามาเชื่อมโยงกันในลักษณะไหน...คือว่า ตรงนี้ คุณนนท์อาจจะคิดว่าผมเข้าใจแล้ว ทำไมมาพิจรณาตรงนี้ แต่จริงๆแล้ว ก็เข้าใจแต่ยังไม่แจ่มแจ้งน่ะครับ...

...และพอคิดพิจรณาไป ปรากฏว่า แจ่มแจ้งขึ้นมาแล้วครับ ก็คือว่า มันเอาเชื่อมกันตรงนี้ก็คือ ถ้าเรา กระทำในใจแบบ [สักแต่ว่า] นั้น ก็คือเป้นตัวเดียวกับ [อุเบกขา] นั่นเอง ก็เลยแจ่มแจ้งขึ้นมาว่า [สักแต่ว่า] ก็คือ [อุเบกขา] ตัวเดียวกันเลย...แล้วก็คิดต่อไปว่า ก็กำหนดจิตไห้เป็น [อุเบกขา] เลยสิ ปรากฏว่า ลองทำไปก็พอได้ครับ แต่ ยากมาก เพราะ จิตก็น้อมไปหาอารมณ์เรื่อยๆ มันดึงไห้อยู่อุเบกขายากครับ มันเหมือน ว่างๆ ไม่มีอะไรเกาะ...

...ก็เลยเข้าใจว่า เราต้อง เอา อานาปานสติ มาเป็นเครื่องมือช่วยตรงนี้นี่เอง ก็คือช่วยไห้จิต เป้นสภาวะ [สักแต่ว่า] หรือ [อุเบกขา] นั่นเอง คือ ถ้าเราไป ทำในใจไห้เป็นเพียง [สักแต่ว่า] หรือ [อุเบกขา] มันก็ยากนั่นเอง ต้องเอา ลมมาไห้จิตเกาะนั่นเอง...รู้ลมก็ คือรู้จิต และในขณะที่เรารู้ ลมเข้าออกๆ ก็คือรู้ สภาวะของจิตที่เป็นเพียง [สักแต่ว่า] หรือ [อุเบกขา] นั่นเอง...ก็เลยเชื่อมโยงตรงนี้ได้มากขึ้นครับ...

...คือ ผมก็จะไม่ไปสนใจ ว่าเป็นลมหรือเป็นรูป อะไรยังไง ก็แค่เป้นเครื่องมือ ที่ไห้จิตไปเกาะ เพื่อเป็นอุบายทำไห้ จิต เป้นสภาวะแบบ [สักแต่ว่า] หรือ [อุเบกขา] ไห้ติดต่อกันเป็นอารมณ์เดียว เท่านี้จิตก็ไม่ไปหาอารมณ์อื่นแล้ว ง่ายดีจัง !!! และถ้ากำหนดต่อเนื่องไปตลอด จะเกิดสมาธิ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว นั่นเอง คือผมจะไม่คิดว่า จิตกำลังรู้ลมอะไรแบบนั้นหรอกนะครับ แต่ผมจะคิดว่า พอรู้ลมก็เท่ากับกำลังรู้ [อุเบกขา] หรือ [สักแต่ว่า] นั่นเอง ก็เชื่อมโยงกันตรงนี้เปะเลยใช่ไหมครับ...

...และพอทำไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกว่าดี และอย่างที่ว่าคือ พอปีติเกิด เราก็ไม่สนใจ ผมก็ไม่ไปเพลิน เพราะจุดหมายไหม่ของเราคือ รู้เพียง [สักแต่ว่า] นั่นเอง และที่สำคัญ ก็คือ พยายามปล่อย ตัว [อุเบกขา] ไปด้วยถ้าทำได้ แต่เราจะใช้ [อุเบกขา] เป็นเครื่องมือก่อน ค่อยปล่อยมันทีหลัง เพราะ มันสำคัญ ไม่งั้น จะอยู่ใน โพชชงค์ หรือ เและต้องใช้เป็นตัวที่ช่วยเรา ไห้ ละจาก กิเลสอย่างหยาบ เสียก่อน ก็คือเรากำลัง เจริญ สติสัมโพชงค์ไปด้วย นั่นเอง เพราะเป็น 1 ใน องค์ตรัสรู้ แสดงว่าเราต้อง ค่อยๆทำไป อย่าเพิ่งไปปล่อยวาง [อุเบกขา] เลย ต้องเอามาเป้นตัวช่วยก่อน...

(คุณนนท์ คิดในใจ พูดเหมือนจะปล่อย อุเบกขา ได้ง่ายๆ 5555555)...0_o...

...และพอเจริญสติไปเรื่อยๆ ผมก็จะทำความรู้สึกแบบไหม่ว่า เราจะเน้น วิปัสนา แต่จะเอา สมาธิเป็นบาทฐาณ พอลองทำไป ปรากฏว่า ไม่เป็นอย่างที่ผมคิดว่า ถ้าไม่เน้นฌาณ เหมือนที่ถามคุณ นนท์ไปว่า แค่ละความเพลิน เห็นเกิดดับ ปล่อยวางวิญญาณ ไปเรื่อยๆอย่างเดียว มันจะได้ถึงฌาณ4 เองไหม คุณ นนท์บอกได้...

...ปรากฏว่าผมลองทำดูแล้ว ก็ได้ถึง ฌาณที่ 2 ได้ ปิติ อย่างละเอียด แนบแน่นเลยครับ โดยที่ผม รู้เพียง [สักแต่ว่า] และ รู้ลมไปด้วย แต่ไม่ได้เน้นไห้ได้ฌาณ เหมือนเดม คือสบายๆ แต่เน้นที่ จิตจะต้อง ปล่อยวางไห้หมด แม้ตัว อุเบกขา ก็ต้องทำจิตไห้ปล่อยใว้ก่อน...คือ ไม่คิดแม้แต่ว่า จะมีเราที่กำลัง นั่งเจริญสติ แต่ทำความรู้สึกว่า มันเป็นเพียงรูปธาตุและนามธาตุ ที่กำลัง ผลักดันเหตุปัจจัย ซึ่งกันและกันอยู่ ซึ่งไม่ใช่เราที่กำลัง ทำอยู่ ....

...ไม่งั้นก็ไปยึดอยู่ตลอดเวลาสิว่า เรากำลังเจริญสติ อยู่ เรากำลัง เจริญโลกุตรกุศล หรือเรากำลังเจริญสมาธิกำลังได้ฌาณ มีความสุข ภูมิใจเหลือเกิน ที่เราทำได้ อะไรประมาณนี้ ไปยึดทันทีเลย !!! เพราะ ยึดเป็นเราอยู่ตลอดเวลา ใช่ไหมครับ 555555 ต้องปล่อยไห้หมดเลย อย่าคิดว่ามีเรา มีแต่ ธาตุแต่ละอย่าง ที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหตุหนุนเนืองกันไปเท่านั้น ผมเลยคิดในใจว่า (อย่าเข้าไปเป็นมัน ๆ ปล่อยให้หมด ๆ)...(อย่าเข้าไปเป็นมัน ๆ ปล่อยให้หมด ๆ)...(อย่าเข้าไปเป็นมัน ๆ ปล่อยให้หมด ๆ)...!!!!!!!!!.......0_o!...

...สรุปก็คือว่า เริ่มได้ความสมดุลแล้วครับ และผมจะทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็คือ เริ่ม ( กระทำในใจ ให้รู้ควบคู่อยู่กับ [สภาวะของจิต] แบบ [สักแต่ว่า] นั่นก็คือ เรากำลัง กำหนดจิตไห้อยู่กับ [อุเบกขา] ไปเรื่อยๆ โดยเอา ลมหายใจมาช่วยไห้จิต เกาะ เพื่อเป็น [อุเบกขา] หรือ [สักแต่ว่า] นั่นเอง ทำต่อเนื่องแบบนี้ไป นานๆ ปรากฏว่า ดีกว่า ทำสมาธิอย่างเดียวอีกครับ...

...เพราะว่า ทำสมาธิอย่างเดียว และไปเพลิน อยู่กับ ฌาณ โดยไม่ ทำในใจเป็นแบบ [สักแต่ว่า] นอกจากจะเป็น มิจฉาสมาธิแล้ว ถึงแม้ได้ฌาณเหมือนกัน แต่ว่าได้ยากกว่าครับ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว เพราะว่า เราพยายาม ไปเครียดคัด อยู่ตลอด พอได้ช้า หรือไม่ได้ (หมายถึง จะพยายามไห้ได้ถึงฌาณที่ 4 เร็วๆ น่ะครับ) ก็เกิด พยาบาท ขุ่นเคืองใจอยู่ตลอด ก็ยิ่ง ไม่ได้เข้าไปไหญ่เลยครับ เอ๊ แต่ตรงนี้ไม่แน่ใจนะครับ ที่บอกว่า เจริญวิปัสนาไปด้วยได้ฌาณ ง่ายกว่า อาจจะเป็นเพราะว่า ผมได้ก่อนแล้ว จากการเจริญสมาธิล้วนๆแบบเน้นๆ มันเลยเป็นผลที่มีอยู่แล้วก็ได้นะครับ...

...คือผมเลยเปรียบเทียบได้ อย่างนึงคือ ปล่อยวางตัว วิญญาณ ก็คือ เปรียบเหมือนเรา ไปงานวัด ยืนดูอยู่หน้า ชิงช้าสวรรค์ แต่ไม่ขึ้นชิงช้าสวรรค์ เพื่อไปนั่งเล่นชมวิวทิวทัศน์ บน ตู้ชิงช้าสวรรค์ ก็เหมือนเรา ดูจิตแบบไม่เข้าไปเป็นมัน แค่เห็น จิตแต่ละดวงที่เกิดดับ ก็คือ เห็นชิงช้าสวรรค์ แต่ละตู้ ที่มีคน ที่ ขึ้นไปนั่งเพลิดเพลิน บน นั้น ก็จะถูก ชิงช้าสวรรค์ พาวนเวียนไหว้ตายเกิด อยู่ในวัฏสงสาร นั่นเอง....ที่หมุน เป้น วัฏทุกข์ ไปเรื่อยๆ นั่นเอง...ดูชิงช้าสวรรค์ก็บรรลุได้นะครับ 555555555...

...และที่พิมพ์มาทั้งหมดนี่ อาจจะ ยืดเยื้อ เย่นเย้อเกินไป สักหน่อย แต่เป้นการเรียบเรียงความคิดของผมไปด้วยน่ะครับ และ คุณนนท์อ่านดูแล้ว มีอะไรตรงจุดไหนที่ ยังไม่ถูกต้อง ช่วยบอกด้วยนะครับ จะได้ ปรับเปลื่ยนต่อไป ครับ แต่ผมว่านี่แหละครับ เข้าที่แล้ว...!!!...0_o...
################

(((และมีที่สงสัยอยู่นิดนึงคือ)))...

1. เรื่องกาย นี่ผมก็ยังสงสัยอยู่นิดนึงนะครับ คือ ลมหายใจนี่ก็คือกาย ก็พอเข้าใจ และร่างกาย นี่ก็คือกาย แต่มันงงตรงนี้ว่า คือ กายคตาสติ นี้ ที่บอกว่า ถ้าไม่รู้ลมก็มารู้ กาย คือร่างกายเราที่กำลังเป็นไปในอริยาบทต่างๆ ก็ทำไห้จิต ตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว ซึ่งก็เป็น [อุเบกขา] หรือ [สักแต่ว่า] และทำไห้ได้ฌาณ ได้เหมือนการรู้ลม ใช่ไหมครับ เพราะยังไม่เคยทำ 55 ...

...แต่ผมงง ตรงที่ คำว่า กาย นี่ เราควจจะเข้าใจว่า กาย หมายถึง (ที่ประชุมแห่งรูป) ใช่ไหมครับ ไม่ได้หมายถึงร่างกาย ที่เป็น มนุษย์ เป็นคน มี หัว ตา จมูก ปาก ลำตัว แขน ขา ตับ ไต ใส้ พุง อะไรพวกนี้ ...เพราะถ้าบอกว่า ไห้ เจริญกายคตาสติ ถ้าไม่รู้ลมก็มารู้กาย ดูอริยาบท ว่าเรากำลังเคลื่อนไหวแบบไหน ก็เหมือนกับว่า เราไปยึดร่างกายนี้ใว้ตลอดเวลา มันก็ขัดกับที่บอกว่า ไห้ละคลายจากการยึดมั่นถือมั่นในตัวตนว่าเป็นเรา แต่นี่ไห้ไปเฝ้าดูว่าเป็นเราที่กำลังมีอริยาบทแบบนั้นแบบนี้ มันก็หมือนไปยึดมั่นถือมั่นในตัวเรา ใว้ตลอดเวลา ใช่ไหมครับ...ต้องคิดว่าไม่มีเรา หรือ ถอนความรู้สึกว่าเป้นเรา ถึงจะถูกไม่ใช่หรือครับ...แล้วไปยึดถือกายใว้ทำไม ???...

2. ถามเรื่อง อาการที่ผมบอกว่า (((...วูบบบ เคลิ้มมมม...))) ที่จิตถูกวูบบบดึงลึกลง เป็นสมาธิ นั้น ของผมมันจะเป็นหนัก อยากรู้ว่ามันเป้นสภาวะปกติไหมครับ คือ ปกติ เวลา เจริญสมาธิ ผมก็จะ ลืมตา ใช่ไหมครับ แต่เดี๋ยวนี้ พอ สภาวะแบบนี้ เกิดขึ้น มันจะทำไห้ตาลืมแทบไม่ได้เลย จึงต้องหลับตา เวลา รู้ลมน่ะครับ...

...คืออาการจะเป็นแบบว่า ลองคิดดูเหมือนเวลา เราตื่นนอนไหม่ๆ ตายังไม่ชินกับแสง ก็จะทำไห้ตา แสบๆ หน่วงๆ หนักๆ ลืมยังไม่ได้เต็มที่ หรือ เวลาเราเอา ขนไก่ หรืออะไร มาแหย่ปั่นที่รูหู เราก้จะรู้สึกเสียวๆ หรือเวลาเรากิน ของเปรี้ยวมากๆ เช่น มะยมเปรี้ยว หรือ มะขาม หรือ มะม่วงที่เปร้ยว มากๆ แล้วตามันจะหยี๋ๆ คือมันจะบังคับไห้ตาหลับไป เพราะความ เสียว หรือเปรี้ยวมากๆ น่ะครับ...

...คือ เวลาผมกำหนดรู้ลมหายใจ ตอนนี้มันจะเป็นแบบนี้เลยครับ พอรู้ลมเข้าและออก จิตมันก็จะ (((...วูบบบ เคลิ้มมมม...))) และขณะเดียวกันจิตถูกวูบบบลึกลง และที่ สำคัญคือ มันมีผลทำไห้ ตา ของผม เป็นเหมือนกับ กินของเปรี้ยว แล้วทำไห้ตา หยี๋ๆ แบบนั้นเลยครับ จะเป็นหนักมาก เลยทำไห้พักหลังนี้ เวลาจะรู้ลม ผมจะลืมตาไม่ค่อยได้ เพราะเท่ากับไปฝืนมัน เหมือนเรากินมะม่วงเปรี้ยวแล้วไปฝืนไม่ไห้ตา หยี๋หรือหลับตาปี๋ นั่นแหละครับ...

...ผมเลยต้องหลับตาเวลา รู้ลมเข้าลมออก เพราะมันลืมไม่ได้ครับ แต่ผมไม่อยากหลับตา อยากลืมตามากกว่า แต่ สภาวะนั้น มันเหมือนเป็นมะม่วงเปรี้ยว ทำไห้ตาเราหยี๋ แบบสุดๆ ที่ยิ่งกว่ากินของเปรี้ยวอีกครับ กินมะขามเปรี้ยวยังไม่ขนาดนี้เลยครับ อันนี้ สุดๆ ผมเลยงงว่า มันปกติใช่ไหมครับ แต่ว่าไม่ได้เป็นปัญหานะครับ เพราะว่า ก็ดี แค่ไม่กี่ครั้งได้ ปีติเลย ดีมาก และพอเจริญวิปัสนาไปด้วย และ มารู้อยู่กับ อุเบกขา ก็ลืมตาได้ปกติครับตอนแรกไม่เคยเป็นมาเป็นตอนได้ (ทุติยฌาณ) เป็น วสี น่ะครับ...

#################

...!!! อ๋อ ลืมไป อีกนิดนึง คือผมสรุป เหตุผล และประโยชน์ ในการที่ผมจะ เจริญสมถะ ควบคู่ไปกับการเจริญวิปัสนา น่ะครับ ว่ามีดังนี้ คือ...

๑. ช่วยทำให้จิต กำหนดข่ม กามคุณอารมณ์ทั้ง5 ได้ทันที (ขอย้ำว่าทันที)...เปรียบเหมือนเป็นผู้ช่วยเราส่วนนึงแล้ว ให้เราทำต่อไปคือ ปล่อยวางในส่วนของ ธรรมารมณ์ หรือ อุเบกขา หรือ วิญญาณ คือเจริญวิปัสนาต่อยอดไปนั่นเอง (ก็เป็นไปเพื่อกระแสแห่งพระนิพพานต่อไป)))))))

๒. ช่วยทำให้จิต สงบ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่ซัดส่ายมาก เพราะถ้า จิตส่งออกมาก ก็เท่ากับ มีการมาการไปมาก ภพ ก็เกิดมาก หลายอารมณ์เต็มไปหมด เพราะเรากำลัง ละคลาย ถ่ายถอน สละคืน จากทุกสิ่งทั้งหมด เราก็ควรจะ สร้างความเคยชินแบบไหม่ไห้จิต ไม่ไปสร้างภพ เยอะเกินไป...เป็นการสร้างความเคยชินแบบไหม่ไห้จิต และทำไห้ควรแก่การงาน เป็นสภาวะที่ พร้อมต่อการ บรรลุธรรม นั่นเอง...(ก็เป็นไปเพื่อกระแสแห่งพระนิพพานต่อไป)))))))

๓. ทำให้จิตได้พบความสุขที่ดีกว่า ความสุขกามคุณ แบบหยาบๆ เพื่อไห้เราละคลาย ออกจากสิ่งหยาบๆได้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่การ ปล่อยวางได้ (ก็เป็นไปเพื่อกระแสแห่งพระนิพพานต่อไป)))))))

๔. เพื่อเป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะอยู่แบบนี้ ถึงจะเพลิน ก็ดีกว่า เพลินกับ กามคุณอารมณ์อย่างหยาบแน่นอน เป็นการเพลินที่มีกิเลสน้อยมาก เป้นความสุขที่ไม่ควรกลัว เป็นปัจจัยไห้ ละคลายออกจาก กิเลสอย่างละเอียด เช่น อุเบกขา ต่อไป (ก็เป็นไปเพื่อกระแสแห่งพระนิพพานต่อไป))))))

๕. เพื่อนำคุณวิเศษ(ถ้าได้)ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษของจิต มาใช้เป็นเหตุปัจจัย เพื่อเกื้อกูลต่อชีวิตเพื่อเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อ สิ่งที่ควรเป็นและถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรมและ (ก็เป็นไปเพื่อกระแสแห่งพระนิพพานต่อไป))))))

################

...เอ๊ะ อีกนิดนึง คือตรงนี้ต้องขอบอกก่อนว่า ความคิดผมอาจจะ ผิดเพื้ยนๆ ไปหน่อยนะครับ 5555 ก็คือว่า...

...ที่ผมเคยบอกว่า รู้สึกไม่ค่อยอยาก พิจรณา[ไตรลักษณ์] หรือ เห็นเกิดดับ อะไรแบบนั้นน่ะครับ ตอนนี้ ก็ยังคงรู้สึกแบบนี้อยู่ดี ไม่รู้เป็นอะไรครับ 5555555555 คือ มันจะเกิด หรือจะดับ ก็แล้วไงล่ะ !!! ไม่เห็นมีอะไรเลย ถ้าจะไห้เห็นเกิดดับ เพื่อไถ่ถอนความยึดมั่นในขันธ์5 ผมก็รู้สึกเฉยๆน่ะครับ ไม่รู้สึกว่าจะเป็นเหตุเป็นผลตรงนี้เลย...

...คือมันจะเกิด หรือจะดับ ผมก็ไม่สนใจหรอก เพราะตอนนี้ผมก็เห็นภัยในวัฏสงสารแล้ว เห็นโทษแล้ว ว่าการเกิดเป็นทุกข์ คือจะเกิดหรือจะดับ ผมไม่สนใจ แต่จะปล่อยวางให้หมดเลย แบบนี้ จะรู้สึกว่า ดีกว่าใหมครับ หรือแล้วแต่ละคน ว่า ปฏิบัติแบบไหนแล้วได้ผล ใช่ไหมครับ...

...และประโยต ที่คุณนนท์ บอกบ่อยๆว่า ปิติ หรือ สุข เกิด ก็ไม่ต้องไปสนใจมัน เพราะเดี๋ยวมันก็ดับ...หรือบอกว่า นี่เห็นไหม พอเรามารู้ลม ทำไห้เราเห็นว่า อารมณ์นั้นดับไปแล้วเห็นไหม หรือจิตออกไปรู้อารมณ์อีก ก็ได้เราเห็นว่า นี่ไง รูปหรือจิตที่รู้ลม ดับไปแล้วเห็นไหม...คำถามคือแล้วไงล่ะ !!! ดับไปก็ไม่เห้นจะยังไงเลย 555555...งงติ๊บ !!!คือจะไปยุ่งกับมันทำไม ก็ปล่อยวางตัววิญญาณไปเลย ไม่ต้องไปดูว่า มันเกิด หรือมันดับ อะไรแบบนั้น....มันจะเกิดหรือจะดับ แล้วยังไงล่ะ ก็ไม่เห็นจะยังไงเลย 5555555555

...คือ เห็นว่ามันดับไป เพราะเรา ดึงจิตมารู้ลมแทน ทำไห้เราเห็นว่า จิตที่ไปรู้อารมณ์นั้นมันดับไปแล้ว อ้าว !!! ...ดับไปแล้วไงต่อล่ะครับ จะไปยุ่งกับมันทำไม ผมก็ไม่เห็นมีความสำคัญอะไรตรงนี้น่ะครับ แต่ผมก็จะพิจรณาตรงประเด็นนี้ต่อไปน่ะครับ ว่า มันจะทำไห้เราละคลาย อภิชาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้ในลักษณะไหนนะครับ ...เพราะว่า เป้นความ คิดที่ ค่อนข้าง วิปลาส ผิดแผก แปลก จากหลักการปฏิบัติ ไปหน่อยใช่ไหมครับ 5555555 เฮ้ออออออออออ...........0_o!!...

...ก็เหมือนกับ บอกว่า ไห้ หมั่นเจริญมรณานุสติ คือเราจะต้องตาย ทุกสิ่งต้องเดินไปสู่ความดับ เพราะฉะนั้นไม่ควรยึดมั่นถือมั่นใดๆในโลก อ้าว คนตายเดี๋ยวก็ต้องเกิดอีกต่อไปไม่รู้จบ แล้วไงต่อล่ะครับ ไม่ได้ตายจริงๆซะเมื่อไหร่กัน แต่โทษคือ การเกิดนั้น เป็นทุกข์ คือทุกข์ทางกายและใจ ต่างหาก ที่เป็น (อาทีนวะ) อันเป็นจุดที่ผมพิจรณาครับ...

...เพราะฉะนั้น สรุปก็คือ การเห็น (อาทีนวะ) ของผมคือการเห็นภัยในวัฏสงสารต่างหาก ไม่ใช่การ เห็นเกิดดับ ถ้าเห้นเกิดดับ อ้าว ดับ เดี๋ยวมันก็ เกิด อ้าวเกิด เดี๋ยวมันก็ดับอีก อ้าว ดับไปอีก เดี๋ยวมันก็เกิดอีก อ้าวเกิด เดี๋ยวมันก็ดับอีก อ้าว ดับไปอีกแล้ว เดี๋ยวมันก็เกิดอีกแล้ว ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ....แล้วไงต่อล่ะครับ 5555555555 เฮ้อออออออ...ไม่เห็นจะยังไงเลย 55

...แล้ว คนตายล่ะ อ้าว ตายเดี๋ยวก็เกิดอีก แล้วเกิดล่ะ เดี๋ยวก็ตายอีก มันก็อยู่อย่างนี้ สรุปคือ อะไรมัน จะเกิด หรือ จะดับ ไม่เห้นต้องไปยุ่งกับมันเลยนะครับ ก็ปล่อยวางตัววิญญาณตัวเดียวเลย อย่าเข้าไปเป็นมัน อย่ายึดว่ามันเป็นเรา จบ !!! อันนี้ จบเลยเห็นไหมครับ 555555555.....จบบบบบบบบ !!!!!!!!!...เฮ้ออออออออ....0_o!.............งงตึ๊บ !!!!!!!!

####################


โดย: อะไรกัน !!! IP: 192.168.1.192, 61.7.133.218 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:33:39 น.  

 
น มิยยฺมนํ ธนมนฺเวติ กิญจิ

ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้

มีความสุขกับอริยทรัพย์ที่พึงสะสม ตลอดไป..นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 15 พฤศจิกายน 2553 เวลา:10:58:09 น.  

 
ตอบ คุณอะไรกัน

ที่เล่ามาเรื่องการปฏิบัติ ก็ ทำได้ดีแล้วครับ ทำต่อไปเรื่อยๆ ทำซ้ำทำให้มาก ทำบ่อยๆทำให้นาน เดี๋ยวความชำนาญมันก็จะมากขึ้นตามลำดับ ส่วนประเด็นที่สงสัย และถามมา คือ

ทำไมต้องเห็นเกิดดับ เกิดดับ ไปเรื่อยๆ ไม่เห็นจะมีประโยชน์หรือได้อะไรขึ้นมาเลย สู้ปล่อยวางตัววิญญาณตัวเดียว จะง่ายกว่า โดยที่อะไรจะเกิดดับก็ไม่ต้องไปสนใจ

ตอบ ที่จริง ก็ ถูกของคุณอะไรกันครับ ไม่ได้ผิด อย่างที่คุณอะไรกันว่ามามันก็ถูก และเป็นวิธี ลัดสั้นง่าย ปล่อยตัวเดียว ดับความยึดในขันธ์ทั้งห้าได้หมด แต่ บางคนก็ ไม่สามารถ ปล่อยทั้งหมดได้ หรือ ทำมรรควิธีแบบ สักแต่ว่านี้ ทำไม่ได้ ครับ ก็ต้องใช้วิธี เห็นเกิดดับ ไปเรื่อยจน วิมุติญาณทัศนะ เริ่มเบื่อ ขันธ์ห้าเสียก่อน ให้วิมุติญาณทัศนะ มันเริ่มเข้าใจว่า สิ่งที่มันเกิดมันดับ นั้นไม่ใช่สิ่งที่ควรเข้าไปยึดถือว่า เป็นตัวมัน จึงต้องให้มันเห็นการเกิดดับอยู่เรื่อยจนมันเข้าใจ และเห็นถูกต้องตามที่เป็นจริงว่า นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา แล้วพอมันเห็น เกิดดับไปเรื่อยๆแบบนี้ บ่อยๆมันจะเริ่มรู้ชัดแล้วจะเริ่มไม่เข้าไปเป็นขันธ์ห้าเอง ก็เริ่มจะไม่เอาขันธ์ห้าเอง

เมื่อเริ่มจะเบื่อขันธ์ห้าแล้ว คือ เกิด นิพพิทาญาณ พอเกิดนิพพิทา แล้วก็ จะเริ่ม ปล่อยวาง คือ วิราคะ เริ่ม ค่อยๆปล่อยสิ่งที่ยึดแล้ว มันก็ ดับ คือ นิโรธ แล้ว จังหวะนั้นเราก็น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ คือ อย่าให้ วิมุติญาณฯ มันไปเกิดอีก ก็จะสามารถ ปล่อยวางขันธ์ห้าได้ทั้งหมด

แต่วิธีการของคุณอะไรกันที่ทำอยู่ก็คือ ตัววิญญาณ มันไปรับรู้อะไร ก็ ละนันทิ คือ ปล่อยเลย ไม่สนใจมัน ไม่รับรู้อะไร ทั้งนั้น ก็ คือ ทำในขั้น วิราคะ นิโรธ เลย คือ มันรับรู้อะไร ก็ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น ไม่สนใจ ทำให้มันดับไปเลย ก็ ทำแบบนี้ ก็ ได้ครับ มันจะไปเกิดอีก ก็ ดับมันอีก วิธีการดับ ก็คือ การไม่สนใจมัน มันก็ดับ ไปเอง

ถ้าทำแบบนี้ ไปเรื่อยๆ วิญญาณมันไปยึดอะไรก็ ดับ ไปยึดอีก ก็ ดับมันอีก ไม่ว่ามันไปยึดอะไร เราก็ละนันทิ คือ ไม่เพลิน รีบดับ มัน คือ ไม่สนใจเลย สักแต่ว่ารู้เท่านั้น ทำแบบนี้ไปเรื่อย มันไปยึดอะไรก็ ดับ ยึดอีกก็ดับอีก จนเดี๋ยวมันก็จะเกิดญาณคือ ความรู้ว่า ไม่มีอะไรที่จะให้มันยึดถือได้เลย ยึดก็ดับ ยึดก็ดับ มันก็ปล่อยวางได้ทั้งหมดเอง นี่ก็คือ การเห็นเกิดดับเหมือนกัน แต่ มันรีบดับมันให้ไว้ โดยใช้วิธีสักแต่ว่า

ถ้า ทำสติ หรือ สมาธิได้ดี หรือ ไวขนาด มันจะ เคลื่อนไปยึด ก็ ดับมัน เลย จังหวะที่มัน จะเคลื่อน ไปเราเห็น พอมันดับ ปุ๊บก็ สักแต่ว่าไปเลย ไม่สนใจ มันจะไปที่ไหนก็เรื่องของมันแล้ว เราไม่ไปกะมันด้วย นี่คือ น้อมไปเพื่อ โวสัคคะ คือ ปล่อยวางเลย แต่ถ้า มันยังปล่อยไม่ได้ มันตามไปเกิดอีกก็ ไม่เป็นไร เราก็ ปล่อยอีก ทำซ้ำๆไป เดี๋ยวสักวันมันปล่อยได้เองครับ

เราจะใช้มรรควิธีใดก็ ได้ ขอให้เดินตามมรรควิธีที่พระพุทธองค์บัญญัติเท่านั้น แล้วเราถูกกับอันไหน เราถนัดอันไหน ก็ ทำเลย หรือ จะลองเปลี่ยน หรือ ทำสลับ หรือ ทำควบคู่กันไป ก็สามารถทำได้ แต่ขอให้อยู่ในกรอบที่พระพุทธองค์บัญญัติเท่านั้น เพราะมรรควิธี ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ นั้นมันจะเกื้อหนุนกัน ทำ สลับ ทำควบคู่ หรือ จะทำอย่างหนึ่งอย่างใด ได้หมด มันเกื้อหนุนกัน ให้ได้ผล อย่างเดียวกันหมด หรือ เราถนัดอันไหน ทำอย่างนั้นไปเลยก็ได้เหมือนกัน

แต่อย่าไปทำเรื่องนอกแนว ของสาวก หรือ สมณะพราหมณ์เหล่าอื่น หรือ สิ่งที่คนอื่นคิดค้น ขึ้นใหม่ มันก็ จะทำให้ ไม่ได้ผล หรือ ทำให้เนิ่นช้า เสียเวลา นั่นเอง สิ่งที่คุณอะไรกันทำมา นับว่า ถูกต้องแล้ว ไม่ผิดอะไร ก็ ทำต่อไป เมื่อมีแผนที่ถูกแล้ว แค่เราเดินตามแผนที่ที่ถูกไปเรื่อย สักวันมันจะถึงที่หมายเอง

ส่วนที่ อุปมา เหมือน เรายืนดูชิงช้าสวรรค์นี่ เยี่ยมมากเลย อุปมา ได้ดีมาก ครับ อย่าพยายาม เข้าไปนั่งชิงช้า ก็แล้วกัน มันจะเพลิน ให้ เป็นผู้ยืนดู เฉยๆ นี่แหละ คือ ตามดูไม่ตามไป สักแต่ว่าดูมัน อย่าเข้าไปนั่งบนชิงช้า ถ้าเราพอใจมัน เดี๋ยวเราก็เข้าไปนั่งมัน เข้าไปเพลินกับมัน ก็ ไม่ยอมลงซักที ปล่อยให้มันหมุนไปเรื่อย ลงจากชิงช้าไม่ได้ซักที

สิ่งที่ทำมาและพยายามทำต่อไปนับว่า ถูกต้องแล้ว สิ่งที่ คุณอะไรกัน เริ่มเข้าใจ ระบบการทำงานต่างๆของขันธ์ห้า ก็ นับว่าถูกต้องหมด ทุกอย่างพยายาม เพียรทำต่อไป
สุดท้าย ขอจบด้วยพระสูตร ที่ว่า

……….ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความ
เพียรเพื่อละอกุศลธรรม ... ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่ากำลัง คือ วิริยะก็กำลัง คือ สติเป็นไฉน

……….ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวชั้นเยี่ยม ระลึกตามแม้สิ่งที่ทำแม้คำที่พูดไว้นานได้ นี้เรียกว่ากำลัง คือ สติ ก็กำลัง คือ สมาธิเป็นไฉน

……….ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่เพราะวิตกวิจารสงบไป บรรลุทุติยฌาน อันเป็นความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่ากำลัง คือ สมาธิ ก็กำลัง คือปัญญาเป็นไฉน

……….ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญาที่หยั่งถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสเป็นเครื่องให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่ากำลัง คือ ปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลายกำลัง ๕ ประการนี้แล ฯ

อนุโมทนา สาธุ ครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 15 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:32:37 น.  

 


เด๋วว่าง ๆ จะสรุปที่ฟังมา เขียนในเวปบล๊อกนะ


*~*~* แวะมาทักทายจ๊ะ..สุขสันต์วันสดใส ขอหัวใจเบิกบาน *~*~*

*~*~*~*~*~*~* ..HappY BrightDaY.. *~*~*~*~*~*




โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* วันที่: 15 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:24:27 น.  

 
อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุ ปรายนา

ทั้งคนมีคนจน ล้วนมีแต่ความตายเป็นเบื้องหน้า

ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ด้วยความไม่ประมาท ตลอดไป..นะคะ



เนื้อหาพระธรรม ยังคงอัดแน่นเหมือนเดิม..นะคะ



โดย: พรหมญาณี วันที่: 16 พฤศจิกายน 2553 เวลา:10:47:34 น.  

 
ตอบคุณอะไรกัน ( ต่อจากด้านบน )

1.เรื่องกาย นี่ผมก็ยังสงสัยอยู่นิดนึงนะครับ คือ ลมหายใจนี่ก็คือกาย ก็พอเข้าใจ และร่างกาย นี่ก็คือกาย แต่มันงงตรงนี้ว่า คือ กายคตาสติ นี้ ที่บอกว่า ถ้าไม่รู้ลมก็มารู้ กาย คือร่างกายเราที่กำลังเป็นไปในอริยาบทต่างๆ ก็ทำไห้จิต ตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว ซึ่งก็เป็น [อุเบกขา] หรือ [สักแต่ว่า] และทำไห้ได้ฌาณ ได้เหมือนการรู้ลม ใช่ไหมครับ เพราะยังไม่เคยทำ ...


ตอบ ใช่ครับ กายคตาสติ ทุกอย่าง ทำได้เหมือนอานาปานสติ ทั้งหมด ถ้าทำจนชำนาญ ก็ สามารถ ทรง ฌานได้

1.1 ...แต่ผมงง ตรงที่ คำว่า กาย นี่ เราควจจะเข้าใจว่า กาย หมายถึง (ที่ประชุมแห่งรูป) ใช่ไหมครับ ไม่ได้หมายถึงร่างกาย ที่เป็น มนุษย์ เป็นคน มี หัว ตา จมูก ปาก ลำตัว แขน ขา ตับ ไต ใส้ พุง อะไรพวกนี้ ...เพราะถ้าบอกว่า ไห้ เจริญกายคตาสติ ถ้าไม่รู้ลมก็มารู้กาย ดูอริยาบท ว่าเรากำลังเคลื่อนไหวแบบไหน ก็เหมือนกับว่า เราไปยึดร่างกายนี้ใว้ตลอดเวลา มันก็ขัดกับที่บอกว่า ไห้ละคลายจากการยึดมั่นถือมั่นในตัวตนว่าเป็นเรา แต่นี่ไห้ไปเฝ้าดูว่าเป็นเราที่กำลังมีอริยาบทแบบนั้นแบบนี้ มันก็หมือนไปยึดมั่นถือมั่นในตัวเรา ใว้ตลอดเวลา ใช่ไหมครับ...ต้องคิดว่าไม่มีเรา หรือ ถอนความรู้สึกว่าเป้นเรา ถึงจะถูกไม่ใช่หรือครับ...แล้วไปยึดถือกายใว้ทำไม ???...

ตอบ คือให้มีสติตั้งมั่นไว้ที่กาย แต่ อย่าไปยึดว่าเป็นเราที่ตั้งมั่นสิครับ พระพุทธเจ้า หรือ พระอรหันต์ ท่านก็ กำหนด สติ สมาธิ อยู่ที่ กาย ลมหายใจ หรือ อุเบกขา แต่ท่านก็ ไม่ได้ยึดว่า เป็นท่าน จิตตั้งมั่นอยู่ที่กาย ก็ สักแต่ว่ากาย สักแต่ว่าจิต ไม่ยึดถือว่า เป็นเรา แค่นั้น เช่น เราเดิน ก็ สักแต่ว่าเดิน กวาดบ้านก็สักแต่ว่ากวาดบ้าน โดยไม่ต้องคิดว่า เราเป็นผู้กวาด ไม่มีเรา แต่ ก็ มันสักแต่ว่าทำงานไป นี่ก็คือการกำหนดสติอยู่ที่กาย แต่อย่าไปยึดมั่นว่ามีผู้กระทำอยู่ เป็นเพียง การทำหน้าที่ของธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น แค่นั้นพอ

2. ถามเรื่อง อาการที่ผมบอกว่า (((...วูบบบ เคลิ้มมมม...))) ที่จิตถูกวูบบบดึงลึกลง เป็นสมาธิ นั้น ของผมมันจะเป็นหนัก อยากรู้ว่ามันเป้นสภาวะปกติไหมครับ คือ ปกติ เวลา เจริญสมาธิ ผมก็จะ ลืมตา ใช่ไหมครับ แต่เดี๋ยวนี้ พอ สภาวะแบบนี้ เกิดขึ้น มันจะทำไห้ตาลืมแทบไม่ได้เลย จึงต้องหลับตา เวลา รู้ลมน่ะครับ...


...ผมเลยต้องหลับตาเวลา รู้ลมเข้าลมออก เพราะมันลืมไม่ได้ครับ แต่ผมไม่อยากหลับตา อยากลืมตามากกว่า แต่ สภาวะนั้น มันเหมือนเป็นมะม่วงเปรี้ยว ทำไห้ตาเราหยี๋ แบบสุดๆ ที่ยิ่งกว่ากินของเปรี้ยวอีกครับ กินมะขามเปรี้ยวยังไม่ขนาดนี้เลยครับ อันนี้ สุดๆ ผมเลยงงว่า มันปกติใช่ไหมครับ แต่ว่าไม่ได้เป็นปัญหานะครับ เพราะว่า ก็ดี แค่ไม่กี่ครั้งได้ ปีติเลย ดีมาก และพอเจริญวิปัสนาไปด้วย และ มารู้อยู่กับ อุเบกขา ก็ลืมตาได้ปกติครับตอนแรกไม่เคยเป็นมาเป็นตอนได้ (ทุติยฌาณ) เป็น วสี น่ะครับ...

ตอบ ไม่เป็นไรครับ หลับตาหรือลืมตาก็ได้ ถ้ามันลืมไม่ได้ก็หลับไปก่อน ตรงนี้ ไม่น่าจะใช่ปัญหาอะไร คงเพราะมีความตั้งใจมากเกินไป เดี๋ยว ก็ หาความสมดุลแห่งธรรมได้เองครับ พอเราทำจนชำนาญ มันก็จะได้หมดแหละ หลับตาก็ทำได้ ลืมตาก็ทำได้ เช่นกัน ถ้าทำจนชำนาญแล้วอยู่อิริยาบถไหน ก็ ทำได้เช่นกัน ทำได้ทุกอิริยาบถเลย

น่าจะหมดคำถามแล้วมังครับถ้าผมลืมตอบตรงจุดไหน ก็ มาถามใหม่น๊ะครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 16 พฤศจิกายน 2553 เวลา:12:21:02 น.  

 
อ๋อ ก็คือ ...[ มรรควิธี ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ นั้นมันจะเกื้อหนุนกัน ทำ สลับ ทำควบคู่ หรือ จะทำอย่างหนึ่งอย่างใด ได้หมด มันเกื้อหนุนกัน ให้ได้ผล อย่างเดียวกันหมด หรือ เราถนัดอันไหน ทำอย่างนั้นไปเลยก็ได้เหมือนกัน ]...นั่นเอง

...แล้วเรื่อง สมาธิ นี่ ถ้ามี (((นิมิต))) ที่เกิดขึ้น จากจิตที่สงบมากๆ เช่น ที่ผมอ่านมา ตามเวบต่างๆ มีบอกเช่น จะเกิดเห็น นิมิต ขึ้นมาในจิต ต่างๆนาๆ เช่น (เห็นแสง สี หรือ เทวดา เปรต อสรุกาย เห็นสิ่งที่ดี หรือน่ากลัว มาหลอกเรา มาก่อกวนเรา หรือได้ยินเสียงแปลกๆ ต่างๆนาๆ หรือได้กลิ่น ต่างๆนาๆ)...

...นิมิต ต่างๆที่กล่าวมานี้ มีทั้งจริงและไม่จริง แล้ว ถ้านิมิตปลอม นั้นคือ จิตของเราเองที่ ไม่สงบจริง จึงคิดปรุงแต่งสร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาเอง เพราะถ้าสงบจริง จะต้องไม่มี นิมิตเหล่านั้น ถูกต้องไหมครับ ...เนื่องจากว่า ผมเพิ่งมาสนใจสมาธิ จึงไม่เคยรู้ตรงนี้มาก่อน เลย ถามใว้ก่อน เผื่อมันจะเกิดมีขึ้นมา แต่ตอนนี้ยังไม่เคยมี นิมิต อะไรพวกนั้น เลยครับ...คงเพราะเราทำถูกต้อง 555...ใช่ไหมครับ...

...แต่ลองไปหาข้อมูล อ่านตามเวบต่างๆเลยกลัวว่าจะมีแบบนั้นขึ้นมาในจิต เช่น พวก เปรต อสรุกาย หรือ เทวดามิจฉาทิฏฐิ จะมาก่อกวนเรา อะไรประมาณนี้ เลยรู้สึกกลัวขึ้นมา ซึ่งจำได้ว่าเคยฟังมาว่า มีใช่ไหมครับ ที่ ถิกษุปฏิบัติธรรมอยู่ในป่า ถูก อมนุษย์ แกล้งก่อกวนผู้ปฏิบัติ พระพุทธองค์จึงให้ คาถาสวด ป้องกัน อะไรประมาณนี้...หรือป้องกันสัตว์ร้ายอะไรประมาณนี้...

...คือเช่นผมต้องการหา เรื่องแบบนี้ใน ประแกรม E-Tipitaka มันก็หายากน่ะครับ ที่จะเจอเรื่องราวในพระสูตร ตรงตามที่เราต้องการศึกษา พิมพ์คำหาไปแล้วก็ไม่ค่อยเจอ พลิกคำไปมาแล้ว ก็หายาก คงต้องดูตาม สารบัญ พระไตรปิฏกด้วยใช่ไหมครับ....


โดย: อะไรกัน !!! IP: 192.168.1.58, 61.7.133.204 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:21:22 น.  

 
ตอบ คุณอะไรกัน

เรื่องนิมิตร อย่าไปสนใจเลยครับ ไร้สาระ ส่วนมาก เกิดจาก จิตตัวเองปรุงแต่งเอง แล้วก็ กลัวเอง ไม่ได้เป็นเรื่องจริงอะไร จะเห็นแสงสี ธรรมจักร เห็นพระมาสอน เทวดามาปรากฏ เห็น ผีสางนางไม้ ได้ยินเสียงสารพัด นั่น เกิดจากจิตเราปรุงแต่งเองครับ เมื่อเกิดนิมิตร เหล่านี้ขึ้น ให้ ดึงจิตกลับมาที่ลม นิมิตร ก็ ดับไปเอง ตามที่เคยบอก ธรรมชาติของจิต รับรู้ได้ทีละอารมณ์ นิมิตรเกิด แสดงว่า จิต ไม่อยู่กับลมแล้ว ดึงจิตกลับมาที่ลม นิมิตร ก็ ดับไปเอง ไม่ต้องไปสนใจ

ก็ ทำตามที่เราเคยปฏิบัติมา เห็นอะไรก็ สักแต่ว่าเห็น มันเกิดได้ มันก็ดับได้ สักแต่ว่าเห็นมันไม่สนใจมัน มันก็ดับเอง

มีกรณีเดียว ที่พอจะเป็นไปได้ แต่ก็ น้อยมาก คือ เปรตมาขอส่วนบุญ เราก็ แผ่เมตตาอุทิศให้ไป พอเค๊าได้รับบุญที่เราแผ่ให้ เดี๋ยวก็หายไปเอง แต่ เปรตส่วนมาก ก็ มาแต่เสียง วี้ๆๆ เท่านั้น ก็ ไม่มีอะไร แค่เขามาขอส่วนบุญ

ส่วนนอกนั้น ผีสางนางไม้ เจ้าป่าเจ้าเขา อะไร ทำอะไรเราไม่ได้หรอก เราอยู่สูงกว่าเขา ถ้าเราศีลดี ถ้าเรารักษาศีล ศีลก็จะรักษาเรา เรามีศีลบริสุทธิ์ ก็ เป็นที่รักของหมู่ เทวดา เขาจะช่วยปกป้องเราด้วยซ้ำ ไม่ต้องกลัวอะไรทั้งนั้น ส่วนพวก มิจฉาทิฐิ จริงๆ ก็ ไม่ต้องไปสนใจ เชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่หวั่นไหว ก็ ไม่ต้องไปสนใจอะไร พระพุทธเจ้า ของเรา เจ๋งสุดแล้ว ถึงจะโดนกลั่นแกล้งอะไร นั่น เพราะเราเคยมีบุพกรรมร่วมกันมา ถ้าเรามั่นใจว่าเราเป็นโสดาบันแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวอะไรเลย ถึง เรามีกรรม ถึงขนาด ต้องตาย ก็ แค่การเปลี่ยนขันธ์ใหม่ เราไม่ไปอบายอยู่แล้ว ถ้าเป็นโสดาบัน 7 ชาติ เราก็ ล่นระยะเวลาให้สั้นลงไปอีก1ชาติ เหลือ 6 ชาติเอง ดีซ๊ะอีก จะได้ ถึงนิพพานไวไว ใช่ไหมครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 16 พฤศจิกายน 2553 เวลา:17:05:06 น.  

 


ทำสรุปธรรมะที่ไปฟังมาให้แล้วจ๊ะ

พระพุทธองค์ ตรัสว่า

จิตของผู้ที่พ้นจากกิเลสแล้ว ย่อมไม่รับสิ่งกระทบ เช่นใบบัว




*~*~* แวะมาทักทายจ๊ะ..สุขสันต์วันสดใส ขอหัวใจเบิกบาน *~*~*

*~*~*~*~*~*~* ..HappY BrightDaY.. *~*~*~*~*~*








โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* วันที่: 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:38:32 น.  

 
ถาพสวยดีครับ คุณ *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* ดูแล้ว ช่วยประเทือง จิตใจ ให้เข้าถึง กระแสธรรมได้ดีเลย !!!

((...งั้นขอถามอีก 5 ข้อ นะครับ ก็คือว่า...))

1. อยากถามเรื่อง เปรต ประเภทนึง...เช่นคนที่ ปกติก็เป็นคนที่ ชอบทำบุญให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรมะบ้าง แต่ก็ไม่ได้ เคร่งครัด ปฏิบัติ อะไรมากนัก แค่ตามโอกาศ เรื่อยๆ แต่ตอนก่อนตาย จิตดันเศร้าหมอง เลยต้องไปเกิดเป็น เปรต ประเภทนึง แต่เปรตประเภท นี้ เป็น เปรตสัมมาทิฐิ คือ รู้จัก บุญบาป และถ้าได้อนุโมทนา บุญกับมนุษย์ ที่เป็นญาติ ที่ อุทิตบุญมาไห้แล้ว แค่นิดเดียว ก็อาจจะหลุดจาก ภาวะเป็นเปรต นั้นได้ หรืออาจจะเปลื่ยนไปเป็นเทวดาได้เลย ซึ่งเปรตนี้ เป้น ประเภทเดียวที่ เรามัก อุทิต ไปไห้ใช่ไหมครับ...

...แล้ว อยากถามว่า การอุทิต บุญไห้ แบบไม่มีประมาณ นั้น คือให้หมด ทั้ง เทวดา พรหม เปรต อสุรกาย ดิรัฉาน ทั้งหมด 31 ภพภูมิเลย เป็นไปได้ใช่ไหม ถ้างั้น ก็ขัดกับที่บอกว่า ถ้าอุทิตบุญไปแล้ว ผู้ที่จะได้รับได้ ก็ต้องเป็น เปรตประเภทเดียวที่ เป็นสัมาทิฐิ และเฉพาะที่เคยเป็นญาติเราเท่านั้น แล้วตกลง เป็นไงครับ...หรือมุ่งหมายไปที่ การทำบุญโดยการอุทิต ที่เป้นบุญ 1 ใน บุญกริยาวัตถุ 10 ...

...เอ๊ แต่มันก็ขัดกับที่บอกว่า การเวียนไหว้ตายเกิดของสัตว์โลกที่ผ่านมานั้น เราเกิดตายมานับชาติไม่ถ้วน จนกล่าวได้ว่า ไม่มีใครเลยที่ไม่เคยเกิดเป็นญาติกันมาก่อน ก็น่าจะตรงกับที่บอกว่า แผ่บุญไห้ไปไม่มีประมาณได้ เพราะ เป้นญาติกันหมด แบบนี้ ใช่ไหม หรือเป็นยังไงครับ หรือไม่ใช่คำถาม โลกุตรธรรม 555555.....

2. อยากถามว่า ฌาณที่4 ก็โน้มน้มจิตไปเพื่อ คุณวิเศษ ต่างๆโดยตรงได้เลย แล้วทำไม ต้องมีการเพ่ง กษิณ เพื่อนำ นิมิต ของกษิณ มาใช้อีกวิธีนึงครับ เช่น อธิฐาน จิตให้ อากาศแข็งเหมือนดิน แล้วเดินไปบนอากาศ หรือเดินบนน้ำ...และ กษิณ อื่นๆก็เช่นเดียวกัน อธิบายประมาณนี้...คือจะไป อธิฐาณ ไห้อากาศ หรือน้ำแข็งทำไม อีก ก็ ฌาณที่4 ก็ทำได้โดยตรงอยู่แล้ว...?

...หรือผมลองคิดเองแบบนี้ถูกไหมครับ ก็คือว่า ฌาณที่4 ที่ไม่เกี่ยวกับ การใช้กษิณนิมิต นั้น จะไปได้เฉพาะ จิต แต่ร่างกายนั่งอยู่กับที่ แต่ ถ้าใช้ กษิณนิมิต เป็นตัว อธิฐาณ นั้น จะไปได้จริงๆเลย ใช่ไหม ก็คือ จะเป็นไปได้แบบ สำผัสทาง อายตนะ 5 จริงๆเลย ที่ไม่ใช่ แค่สัมผัสทางใจ คือร่างกายไปจริงๆเลย ไม่ใช่ไปแต่ใจ ใช่ไหมครับ...หรือความจริงเป็นยังไงกันแน่ครับ....??

3. ... อยากถาม เนื้อความในพระไตรปิฏกที่ว่า ...

####################
[ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา]

[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์ แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อม.....] .....คือคัดมาแค่นี้เพราะว่ามีเยอะน่ะครับ...
####################

...คืออยากถามว่า ประโยคที่ว่า [ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้] แล้วต่อด้วยเนื้อความอธิบายข้อธรรมต่างๆ เป็น พระพุทธวจณ ไหมครับ หรือ เป็นคำพูดของ สาวก คือ ท่านพระอานนท์ หรือว่า เป้นของ อรรถกถา หรือเปล่าครับ ?

4. อยากถามเนื้อหาในสูตรเดียวกับข้อที่ 3 นี้ คือ เนื้อหา บรรยายเกี่ยวกับ การอธิบายเรื่อง...

๑. [เจริญวิปัสสนา อันมี สมถะ เป็นเบื้องต้น]
๒. [เจริญสมถะ มี วิปัสสนา เป็นเบื้องต้น]
๓. [เจริญสมถะ และ วิปัสสนา คู่กันไป]

...อยากถามว่า แบบไหนดีที่สุดครับ แล้ว พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า อย่างไหนดีที่สุด หรือว่า ดีทั้ง ๓ แบบ แล้วแต่ เราจะทำ ใช่ไหมครับ หรือว่า แบบที่ ๓ ดีที่สุด ครับ ...???

5. ...ขอถาม เนื้อความ ในพระสูตรนึง ซึ่งตัดตอนมาเฉพาะครึ่งหลังนี้นะครับ เพราะมันเยอะเกิน ก็คือว่า...

####################
[๕๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ อธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง นิมิต ๓ ตลอด กาลตามกาล คือ

พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง สมาธินิมิต ๑
พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง ปัคคาหนิมิต ๑
พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ประกอบ อธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจ เฉพาะแต่ สมาธินิมิต โดยส่วนเดียวเท่านั้น พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความ เกียจคร้าน

ถ้าภิกษุผู้ประกอบ อธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ ปัคคาหนิมิต โดยส่วนเดียวเท่านั้น พึงเป็น เหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความ ฟุ้งซ่าน

ถ้าภิกษุผู้ประกอบ อธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ อุเบกขานิมิต โดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิต ไม่ตั้งมั่นเพื่อความสิ้นอาสวะโดยชอบ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบ อธิจิต

กำหนดไว้ในใจซึ่ง สมาธินิมิต ตลอดกาลตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง ปัคคาหนิมิต ตลอดกาลตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ตลอดกาลตามกาล

เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่เสียหายแน่วแน่เป็นอย่างดี เพื่อความสิ้นอาสวะ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือช่างทองตระเตรียมเบ้า แล้วติดไฟ แล้วเอาคีมคีบทองใส่ลงที่ปาเบ้า แล้วสูบเสมอๆ เอาน้ำพรมเสมอๆ เพ่งดู เสมอๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงสูบทองนั้นแต่อย่างเดียว พึงเป็น เหตุให้ทองนั้นไหม้ ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงเอาน้ำพรมแต่อย่างเดียว พึงเป็นเหตุให้ ทองนั้นเย็น ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงเพ่งดูทองนั้นแต่อย่างเดียวพึงเป็นเหตุให้ทอง นั้นสุกไม่ทั่วถึง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดช่างทองหรือลูกมือช่างทองสูบทองนั้นเสมอๆ เอาน้ำ พรมเสมอๆ เพ่งดูเสมอๆ เมื่อนั้น ทองนั้นย่อมเป็นของอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และ ไม่แตกง่าย เข้าถึงเพื่อการ ทำโดยชอบ และช่างทองหรือลูกมือช่างทอง มุ่งประสงค์สำหรับเครื่อง ประดับชนิดใดๆ คือ แผ่นทอง ต่างหู เครื่องประดับคอ หรือดอกไม้ทองก็ดี ย่อมสำเร็จ สมความประสงค์ของเขาทั้งนั้น แม้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ อธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง นิมิต ๓ ตลอดกาลตามกาล คือ

พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง สมาธินิมิต ๑
พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง ปัคคาหนิมิต ๑
พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ สมาธินิมิต โดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเครื่อง ให้จิตเป็นไปเพื่อความ เกียจคร้าน

ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ ปัคคาหนิมิต โดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความ ฟุ้งซ่าน

ถ้าภิกษุผู้ประกอบ อธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ อุเบกขานิมิต โดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตไม่ตั้งมั่นโดย ชอบเพื่อความสิ้นอาสวะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบ อธิจิต

กำหนดไว้ในใจซึ่ง สมาธินิมิต ตลอดกาลตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง ปัคคาหนิมิต ตลอดกาลตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ตลอดกาลตามกาล

เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และ ไม่เสียหาย ย่อตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นอาสวะ และภิกษุนั้น ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำ ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองใดๆ เธอย่อมสมควรเป็น พยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่

ถ้าภิกษุนั้นพึงหวังว่า เราพึงแสดงฤทธิ์หลาย ประการ ฯลฯ พึงทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ใน เมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ฯ

####################

...อยากถามว่า..คำว่า (สมาธินิมิต) หมายถึง (ฌาณ) ขั้นใดขั้นหนึ่ง ใช่ไหม

แล้วคำว่า (อุเบกขานิมิต) หมายถึง สภาวะจิตที่ เป็นเพียง (สักแต่ว่า) ใช่ไหม

แล้วคำว่า ปัคคาห แปลว่าอะไร แต่ (ปัคคาหนิมิต) ก็คือ หมายถึง การพิจรณาให้เห้นความเป็น ไตรลักษณ์ ใช่ไหมครับ ??


โดย: อย่านะ วันที่: 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา:15:58:23 น.  

 
ตอบ คุณอะไรกัน

1.อยากถามเรื่อง เปรต ประเภทนึง...เช่นคนที่ ปกติก็เป็นคนที่ ชอบทำบุญให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรมะบ้าง แต่ก็ไม่ได้ เคร่งครัด ปฏิบัติ อะไรมากนัก แค่ตามโอกาศ เรื่อยๆ แต่ตอนก่อนตาย จิตดันเศร้าหมอง เลยต้องไปเกิดเป็น เปรต ประเภทนึง

แต่เปรตประเภท นี้ เป็น เปรตสัมมาทิฐิ คือ รู้จัก บุญบาป และถ้าได้อนุโมทนา บุญกับมนุษย์ ที่เป็นญาติ ที่ อุทิตบุญมาไห้แล้ว แค่นิดเดียว ก็อาจจะหลุดจาก ภาวะเป็นเปรต นั้นได้ หรืออาจจะเปลื่ยนไปเป็นเทวดาได้เลย ซึ่งเปรตนี้ เป้น ประเภทเดียวที่ เรามัก อุทิต ไปไห้ใช่ไหมครับ..

ตอบ ที่คุณอะไรกัน กล่าวมา ไม่แน่ใจครับ ว่าเป็นพุทธวจนรึเปล่า ผมก็ ยัง อ่านไม่พบตรงจุดนี้ แต่ ถ้าตอบโดยอาศัยความเห็นของผมเอง ก็ ไม่น่าจะเป็นพุทธวจน โดยอาศัยเหตุผลว่า เท่าที่อ่านพบเรื่องเปรต มักจะเป็น คำกล่าวของ พระสารีบุตร บ้าง พระโมคคัลานะ บ้าง และสาวกท่านอื่นๆบ้าง ถ้าอาศัยหลักเหตุผลแล้ว เปรตที่เป็นสัมมาทิฐิ น่าจะไม่มี ครับ เพราะ ถ้ามีสัมมาทิฐิ ปิดอบายแน่นอน จะไม่ทำความชั่วที่หนักพอที่จะไปเกิดเป็นเปรต ฉะนั้น เปรตสัมมาทิฐิ ไม่น่าจะมี ส่วนเปรต ที่เรา อุทิศบุญไปให้แล้ว จะได้รับเท่าที่เคยได้ยินมา (แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นพุทธวจนรึเปล่า) คือ ปริทัตตุปชีวิกเปรต เพียงประเภทเดียว ที่จะได้รับ ผลบุญที่เราอุทิศไปให้ แต่ อันนี้ ไม่แน่ใจน๊ะครับ ตอบตามความรู้ที่เคยมีมา แต่ไม่แน่ใจในความถูกต้องครับ

1.1...แล้ว อยากถามว่า การอุทิต บุญไห้ แบบไม่มีประมาณ นั้น คือให้หมด ทั้ง เทวดา พรหม เปรต อสุรกาย ดิรัฉาน ทั้งหมด 31 ภพภูมิเลย เป็นไปได้ใช่ไหม ถ้างั้น ก็ขัดกับที่บอกว่า ถ้าอุทิตบุญไปแล้ว ผู้ที่จะได้รับได้ ก็ต้องเป็น เปรตประเภทเดียวที่ เป็นสัมาทิฐิ และเฉพาะที่เคยเป็นญาติเราเท่านั้น แล้วตกลง เป็นไงครับ...หรือมุ่งหมายไปที่ การทำบุญโดยการอุทิต ที่เป้นบุญ 1 ใน บุญกริยาวัตถุ 10 ...

ตอบ การอุทิศบุญ แผ่ไปทั่วทุกทิศทุกทางโดยไม่มีประมาณ พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนการที่เรามีกำลังเป่าสังข์ เรามีกำลังเป่าเท่าใด ได้ยินไปถึงสวรรค์ชั้นไหน แล้ว เกิดมีการอนุโมทนา เกิดขึ้น เขาก็ได้รับบุญนั้นๆ ส่วนในกรณีเปรต มันยาก ที่จะได้รับ หากเขากำลังเสวยทุกข์เวทนาอยู่ เขาก็สนใจแต่ เวทนาที่เขากำลังได้รับ ไม่สนใจเสียงแตรสังข์ หรือบุญที่เราอุทิศไปให้หรอก

แต่ถ้า เขาได้ยินรับรู้ แล้ว มีการอนุโมทนา เขาก็จะได้รับบุญนั้นๆ ที่บอกเป็นญาติเราเท่านั้น ก็ คงไม่ใช่หลักการ หลักการ คือ การอนุโมทนา ส่วนมาก ก็ จะเป็นญาติเรา ที่จะอนุโมทนากับเราที่เราทำบุญทำความดี แล้วอุทิศไปให้ ส่วนคนอื่น ที่ไม่ใช่ญาติ เขาก็อาจจะอนุโมทนาก็ได้ หรือ ไม่อนุโมทนากับเราก็ได้

แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสว่า ไม่มีเปรตตนไหนที่ไม่เคยเกิดเป็นญาติเรา แต่ก็อย่างที่บอก หลักการ คือ เขาจะได้รับบุญนั้นๆก็ต่อเมื่อ เขาอนุโมทนาบุญ ที่เราทำ แล้วอุทิศมาให้ ถ้าเขามัวแต่เสวยทุกข์เวทนา มันก็ ยากที่จะได้รับ


2. อยากถามว่า ฌาณที่4 ก็โน้มน้มจิตไปเพื่อ คุณวิเศษ ต่างๆโดยตรงได้เลย แล้วทำไม ต้องมีการเพ่ง กษิณ เพื่อนำ นิมิต ของกษิณ มาใช้อีกวิธีนึงครับ เช่น อธิฐาน จิตให้ อากาศแข็งเหมือนดิน แล้วเดินไปบนอากาศ หรือเดินบนน้ำ...และ กษิณ อื่นๆก็เช่นเดียวกัน อธิบายประมาณนี้...คือจะไป อธิฐาณ ไห้อากาศ หรือน้ำแข็งทำไม อีก ก็ ฌาณที่4 ก็ทำได้โดยตรงอยู่แล้ว...?

ตอบ การได้ ฌานที่สี่ ก็ ไม่แน่เสมอไปว่าจะสามารถแสดงฤทธิ์ได้ ตัวอย่างเช่นพระสารีบุตร ได้สมาธิทั้งเก้าระดับ แต่ก็ไม่สามารถทำฤทธิ์ได้ สำหรับเรื่องกสิณ ก็น่าจะเป็น เหตุให้มีความเชียวชาญในการแสดงฤทธิ์ แต่พระพุทธเจ้า ตรัสว่า ผู้ที่ได้ ฌานที่สี่ ก็สามารถ แทงตลอดซึ่งธาตุเป็นอเนกได้ ก็ น่าจะทำได้เช่นกัน แต่ความสามารถ อาจจะไม่เท่ากับพวกที่ฝึกกสิณต่างๆจนได้ฌานสี่

สำหรับ การฝึกกสิณคือการอาศัยรูปภายนอก มาเป็นอารมณ์ เช่น เพ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม แสงสว่าง สีต่าง ดวงอาทิตย์ หรือ อะไรก็แล้วแต่ที่เป็นรูปภายนอก วิธีพวกนี้ ก็ มีมาก่อนพระพุทธเจ้า แต่ มันก็ ทำให้ไปเพลินกับ นิมิตต่างๆหรือเพลินกับ การแสดงฤทธิ์ คุณวิเศษต่างๆที่ตนเองได้ แล้ว ก็ ไม่ได้เห็นว่า สิ่งที่ตนเองมีหรือได้รับมันก็เสื่อมหรือ ดับไปได้ ตายไป ไปเกิดเป็นพรหม ก็ ไม่พ้นอบายเช่นกัน จึง ไม่อยากให้ไปสนใจเรื่องนี้มาก เพราะมันจะทำให้เพลิน แล้วหลุดพ้นไม่ได้

ส่วนเรื่องความแตกต่างในการแสดงฤทธิ์ ของฌานกับกสิณ อันนี้ ไม่มีความเห็นครับ เพราะผมก็ยังทำไม่ได้ และ ยังไม่พบคำตอบโดยพุทธวจน ครับ จึงไม่ขอออกความเห็นตรงจุดนี้

3 คืออยากถามว่า ประโยคที่ว่า [ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้] แล้วต่อด้วยเนื้อความอธิบายข้อธรรมต่างๆ เป็น พระพุทธวจณ ไหมครับ

ตอบ ไม่ใช่ พุทธวจน ครับ คือ เป็นคำสาวก แต่ สาวก ในครั้งพุทธกาล ส่วนมาก ไม่มีใคร พูดคำของตนเอง จะเอาคำของพระพุทธเจ้า มาถ่ายทอด โดยไม่ใช้คำของตนเองมาถ่ายทอด ฉะนั้น คำของพระอานนท์ พระสารีบุตร หรือ คำสาวกในครั้ง พุทธกาล ก็ พอรับฟังได้อยู่

แต่ พระพุทธเจ้า ให้ฟังแล้ว อย่าพึงรับรองอย่าพึงคัดค้านว่า พระอานนท์ ทรงจำมาถูกรึเปล่า พระสารีบุตร ทรงจำมาถูกไหม ก็ ทรงวางหลักเกณฑ์โดยให้นำเนื้อความนั้นๆไปเทียบกับพระสุตรอื่น ถ้า เข้ากันได้ ก็ชื่อว่าทรงจำมาถูก พระพุทธเจ้าต้องวางหลักเกณฑ์เอาไว้ เผื่อเกิดสาวก จำไปผิด หรือ จำถูกแต่พอไปถ่ายทอดผิด หรือ ตกหล่น หรือ เพิ่มเติม เหมือนการเล่นเกมส์กระซิบ สามสิบคน คนสุดท้าย จะพูดไม่เหมือนคนแรก หรอก

พระพุทธเจ้า จึง ไม่อยากให้ไปสนใจคำของสาวก ให้สนใจแต่คำของพระองค์แล้วก็ ถ้าคำของพระองค์ขัดกันแสดงว่า มีใครจำผิดมาแน่นอน พระองค์จึงกำหนดสมาธิทุกครั้งในการพูดไม่ให้พลาด ตั้งแต่ราตรีที่พระองค์ตรัสรู้ยันปรินิพพาน เพื่อไม่ให้คำของพระองค์ขัดกันเอง ไว้เพื่อเป็นการตรวจสอบคำของพระองค์เอง ซึ่งอันนี้ เป็นความสามารถของพระพุทธเจ้า ซึ่งสาวกทำไม่ได้

4. อยากถามเนื้อหาในสูตรเดียวกับข้อที่ 3 นี้ คือ เนื้อหา บรรยายเกี่ยวกับ การอธิบายเรื่อง...

๑. [เจริญวิปัสสนา อันมี สมถะ เป็นเบื้องต้น]
๒. [เจริญสมถะ มี วิปัสสนา เป็นเบื้องต้น]
๓. [เจริญสมถะ และ วิปัสสนา คู่กันไป]

...อยากถามว่า แบบไหนดีที่สุดครับ แล้ว พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า อย่างไหนดีที่สุด หรือว่า ดีทั้ง ๓ แบบ แล้วแต่ เราจะทำ ใช่ไหมครับ หรือว่า แบบที่ ๓ ดีที่สุด ครับ ...???

ตอบ เคยมี การถกกันเรื่องนี้ แล้ว ความเห็น ของพระอรหันต์ ไม่ตรงกัน พระสารีบุตร จึงเป็นตัวแทนไปถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ ก็ทรงตอบว่า เป็นการยากที่จะพยากรณ์ ว่าวิธีไหน ดีกว่ากัน เพราะ ผู้เจริญปัญญาวิมุติ เป็นพระอรหันต์ แต่ ผู้เจริญ เจโตวิมุติ ยังเป็นโสดาฯ ก็มีหรือ ผู้ที่เจริญ เจโตวิมุติ เป็นพระอรหันต์ ฝ่ายปัญญา ยังเป็นโสดาฯก็มี หรือ ผู้เจริญศรัทธาวิมุติ เป็นพระอรหันต์ ผู้เจริญ เจโตฯยังเป็นโสดาบันอยู่ก็มี จึงเป็นการยาก ที่จะพยากรณ์ว่า วิธีไหนดีกว่ากัน

ในกรณีนี้ คือ พระพุทธเจ้าให้พึ่งตนพึ่งธรรม คือ เราถนัดแบบไหนแล้ว จิตตั้งมั่น ดี ก็ ทำแบบนั้นแหละครับ ทำเลย ดีหมด อยู่ที่เราถนัดครับ

5 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ อธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง นิมิต ๓ ตลอด กาลตามกาล คือ

พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง สมาธินิมิต ๑
พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง ปัคคาหนิมิต ๑
พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ๑

อยากถามว่า..คำว่า (สมาธินิมิต) หมายถึง (ฌาณ) ขั้นใดขั้นหนึ่ง ใช่ไหม

แล้วคำว่า (อุเบกขานิมิต) หมายถึง สภาวะจิตที่ เป็นเพียง (สักแต่ว่า) ใช่ไหม

แล้วคำว่า ปัคคาห แปลว่าอะไร แต่ (ปัคคาหนิมิต) ก็คือ หมายถึง การพิจรณาให้เห้นความเป็น ไตรลักษณ์ ใช่ไหมครับ ??

ตอบ แหม พระสูตรนี้ ช่างทองนี้ พึ่งฟังมาพอดี ครับ อิอิ
คือ พระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าจะสื่อว่า อย่าไปทำอะไรแบบ อย่างนั้นอย่างเดียว ให้ทำทุกอย่างแบบพอดี
คือ เหมือนช่างทอง ให้ สูบลมเป่าไฟ พรมน้ำ แล้วยืนดู อย่าเอาแต่สูบลมเป่าไฟอย่างเดียว ทองก็ เหลวเป็นน้ำ จนทองไหม้พรมน้ำอย่างเดียว ทองก็ แข็ง ไป เอามาทำอะไรไม่ได้ ยืนดูอย่างเดียว ก็ ไม่ได้ทอง ทีดีแน่ ก็ ต้องทำสามอย่าง ควบคู่กันไป

ในกรณีนี้ สมาธินิมิต คือ การยืนดูอย่างเดียว เป็นไปเพื่อการเกียจคร้าน คือ ทำสมาธิ รู้ลม ก็ ไม่พิจารณาอะไรเลย ว่าหลังจากรู้ลมแล้ว เกิด อะไรบ้าง มีอะไรเกิดดับบ้าง มีปิติมั๊ย มีสุขรึเปล่า สมาธิก็ไม่ก้าวหน้า จึงทำให้เบื่อทำแล้วก็ไม่ได้ผลอะไร ก็ เลย ขี้เกียจทำ



ปัคาหนิมิตคือ การพิจารณาอย่างเดียวเลย ก็ เป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน เหมือนเราพรมน้ำใส่ทอง ทองแข็งไป ทำอะไรไม่ได้อีก ยิ่งพิจารณา ก็ยิ่งฟุ้งซ่านมาก ดับทุกข์ไม่ได้ซักที

อุเบกขา นิมิต ก็ คืออยู่แต่อุเบกขา อย่างเดียวก็ สิ้นอาสวะไม่ได้

พระพุทธองค์ จึงทรงให้ ใช้ ทั้งสามนิมิต ตลอดกาล ตามกาล คือ อย่าทำอย่างใดเพียงอย่างเดียว ให้ทำทั้งสามอย่าง ตามกาลที่เหมาะสม จะทำให้สิ้นอาสวะได้

5.1 อยากถามว่า..คำว่า (สมาธินิมิต) หมายถึง (ฌาณ) ขั้นใดขั้นหนึ่ง ใช่ไหม

แล้วคำว่า (อุเบกขานิมิต) หมายถึง สภาวะจิตที่ เป็นเพียง (สักแต่ว่า) ใช่ไหม

แล้วคำว่า ปัคคาห แปลว่าอะไร แต่ (ปัคคาหนิมิต) ก็คือ หมายถึง การพิจรณาให้เห้นความเป็น ไตรลักษณ์ ใช่ไหมครับ ??

ตอบ ข้อนี้ ก็ น่าจะเข้าใจถูกแล้วครับ เพียงแต่ว่า อุเบกขานิมิต เนี่ย จะบอกว่ามันเป็น สักแต่ว่า ก็ ยังไม่ใช่นัก เพราะมัน เป็นขั้นตอน แค่เริ่มต้น ของคำว่า สักแต่ว่า

คือ มรรควิธี สักแต่ว่า เนี่ย มีหลายระดับ อยู่ที่ว่า เราสักแต่ว่าได้ เร็วขนาดไหน

ระดับแรก ผัสสะกระทบรูป เกิด เวทนา ปุ๊บ ค่อยสักแต่ว่า ตาเห็นรูปปุ๊บ อุเบกขา

ในระดับนี้ ยังมี ตัวผู้อยู่อุเบกขา เมื่อ ตายไป ก็ ยังไปเกิดเป็นอนาคามีอยู่

ระดับที่สองดับได้ เร็วขึ้น ผัสสะกระทบรูป ปุ๊บสักแต่ว่าเลย ยังมี ตัวตนอยู่นิดนึง คือดับได้ไว ก็ ยังเป็นพระอนาคามี แต่เป็นประเภท ที่สูงขึ้นไป คือ จะนิพาน เมื่อ กึ่งอายุไข ไม่ต้องรอยาวถึงสิ้นอายุไข หรือ เป็นประเภทที่นิพพานแบบ ไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรงมาก

ระดับที่ สาม สักแต่ว่า แบบนี้ คือ ดับผัสสะเลย ตาเห็นรูป ไม่สนใจในรูป ไม่เอาจิตไปรับรู้ หูได้ยินเสียง ก็ ไม่รู้ว่าเสียงอะไร จมูกได้กลิ่น ก็ไม่รับรู้ จนกระทั่ง ใจ ก็ ไม่รับรู้ธรรมารมณ์ต่างๆ คือ แยกวิมุติญาณทัศนะออกมาจากขันธ์ห้าทั้งหมดเลย ไม่รับรู้อะไรทั้งนั้น ซึ่งทำได้ ก็ จะเป็นพระอรหันต์เลย ตัวตนจะไม่มี

นี่คือ ระดับขั้นของวิธี สักแต่ว่า แต่เราจะทำได้เร็วขนาดไหนละ มันก็ไม่ง่ายหรอก ส่วนมากเราก็เพลินไปกับมัน พระพุทะเจ้าถึงให้ฝึกละนันทิ คือ ละความเพลิน ถ้าละได้ไว ดุจกระพริบตา ก็ถือว่าเป็นผู้มีอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ

สุดท้าย ขอปิดท้ายด้วยพระสูตร ที่ว่า

..........ดูกร ปุณณะ ! รูปที่เห็นด้วยตา เสียงที่ฟังด้วยหู กลิ่นที่ดมด้วยจมูก รสที่ลิ้มด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกาย ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ก็ดี อันเป็นสิ่งที่ น่าปรารถนา น่ารักใคร น่าพอใจ เป็นที่ยวนตายวนใจ ให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่ ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูป เป็นต้นนั้น นันทิ ( ความเพลิน ) ย่อมดับไป

………. ดูกร ปุณณะ ! เรากล่าวว่า ความดับไม่มีเหลือของทุกข์ มีได้เพราะความดับไม่เหลือของความเพลิน ดังนี้แล.

อนุโมทนา สาธุ ครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 18 พฤศจิกายน 2553 เวลา:12:40:36 น.  

 

นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ

ความสุขที่ยิ่งกว่าความสงบย่อมไม่มี

มีความสุขกับความสงบกายเย็นใจ ตลอดไป..นะคะ



ใกล้งานวันแต่งลูกสาวแล้ว..ค่ะ

ปอป้า ก็เลยต้องห่างหายไปจากบล็อกบ้าง

แต่ก็ยังคิดถึงเพื่อน ๆ ทุกท่านเสมอ..นะคะ





โดย: พรหมญาณี วันที่: 20 พฤศจิกายน 2553 เวลา:20:02:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ดูกรภิกษุทั้งหลาย : บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
Friends' blogs
[Add จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.