ความดับลงแห่งกองทุกข์ มีได้เพราะการดับไปแห่งความเพลิน
Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
4 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
ระบบการทำงานของ ขันธ์ 5 และ การทำวิปัสนา



ระบบการทำงานของ ขันธ์ 5 และ การทำวิปัสนา

พระพุทธเจ้า ทรงสอน เรื่อง อริยสัจ 4 เรื่องแรก ของอริยสัจ 4 ก็ คือ เรื่องทุกข์ ที่ว่า ทุกข์ นี้ อะไรคือทุกข์ พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า

..........ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว … แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้พยาธิก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาสก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

พระพุทธองค์ทรงตรัสโดยสรุปก็คือ อุปาทานใน ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะความยึดมั่นถือมั่นว่าขันธ์ 5 เป็นตัวตน เป็นตัวเราของเรา แท้ที่จริง ขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา

แล้วขันธ์ 5 เป็นของใคร ทำไมจึงมีขันธ์ 5 ?

ที่จริงขันธ์ 5 เป็นสิ่งที่ เกิดจาก การรวมตัวของธาตุต่างๆๆตามธรรมชาติ แล้วอวิชชา คือ ความไม่รู้ หรือ ความหลงผิด ทำให้เราคิดว่า ขันธ์ 5 เป็นตัวเรา เป็นของเรา

สิ่งที่เราเรียกว่า ขันธ์ 5 ได้แก่อะไรบ้าง ?

ขันธ์ 5 ได้แก่ 1 รูป 2 เวทนา 3 สัญญา 4 สังขาร 5 วิญญาณ

1 รูปขันธ์ สิ่งที่เรียกว่ารูป ก็ คือ ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ นั่นเอง

1.1 ธาตุดิน ก็ หมายถึง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ปอด ตับ ไต ใส้ พุง ม้าม หัวใจ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ คือ ธาตุดิน

1.2 ธาตุน้ำ ก็ หมายถึง น้ำลาย เลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง รวมถึงสิ่งที่เป็นของเหลวง ในร่างกาย

1.3 ธาตุลม ก็ หมายถึง ลมหายใจ ลมในท้อง ลมที่เคลื่อนไหวในร่างกาย เป็นต้น

1.4 ธาตุไฟ ก็ หมายถึง อุณหภูมิ ในร่างกาย ระบบการเผาผลาญ อาหาร พลังงาน ในร่างกาย เป็นต้น

ธาตุ ทั้ง 4 ดินน้ำลมไฟ ในร่างกาย รวมเรียกว่า รูป

2 เวทนา ขันธ์ สิ่งที่เรียกว่า เวทนา ได้แก่ สุข ทุกข์ อุเบกขา ( ความวางเฉย หรือ เฉยๆ ) นี้ รวมเรียกว่า เวทนา

3 สัญญา ขันธ์ สิ่งที่เรียกว่า สัญญา ได้แก่ ความจำ หรือจำได้หมายรู้ เรื่องราวในอดีต ต่างๆๆที่เกิดขึ้นแล้ว เรา จำได้ นึกขึ้นมาได้ นี่เรียกว่า สัญญา

4 สังขารขันธ์ สิ่งที่เรียกว่า สังขาร คือ เครื่องปรุงแต่งจิต หรือ ความคิด คิดไปในเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ความฟุ้งซ่าน ความวิตกกังวล ความรู้สึกนึกคิด ไปในเรื่องของอนาคต นี้ รวมเรียกว่าสังขาร

5 วิญญาณขันธ์ สิ่งที่เรียกว่า วิญญาณ คือ ความรู้ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น ตาเห็นรูป ก็ เกิดวิญญาณทางตา คือ จักษุวิญญาณ หู ได้ยินเสียง ก็ เกิดวิญญาณทางหู คือ โสตวิญญาณ จมูก ได้กลิ่น ก็เกิด วิญญาณทางจมูก คือ ฆานวิญญาณ ลิ้น ได้ลิ้มรส ก็ เกิดชิวหาวิญญาณ กายได้สัมผัส ก็ เกิด กายวิญญาณ ใจ สัมผัสกับ อารมณ์ต่างๆๆ เกิด ธรรมมารมณ์ คือ มโนวิญญาณ สิ่งต่างๆๆเหล่านี้ รวมเรียกว่า วิญญาณ

เราก็ ได้ เรียนรู้ ส่วนประกอบ ของขันธ์ 5 หรือ ที่เรา ยึดถือว่ามันคือตัวเรา ว่ามันประกอบด้วยอะไรบ้าง แล้ว ทีนี้ เรามาดู ระบบการทำงานของขันธ์ 5 ว่า มันทำงานอย่างไร ขันธ์ 5 บางที่ แบ่งเรียกเหลือแค่ รูป กับ นาม รูป ก็ คือ รูปธรรม สิ่งที่ อธิบายมาแล้วในเรื่องของรูป ส่วน ที่เหลือ เป็นนามหรือ นามธรรม ประกอบด้วย ขันธ์ ที่เหลือ อีก 4 ขันธ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ คือ นาม หรือนามธรรม นาม ยัง การทำงาน ออก ไปเป็นอีกสองส่วน คือ เวทนา สัญญา สังขาร ส่วน วิญญาณ มีหน้าที่ ไปรับรู้ ในขันธ์ ต่างๆๆ รวมไปถึงรูป

ทีนี้ จะอธิบาย การทำงานของวิญญาณ ซึ่ง จะ เข้าไปรับรู้ ในขันธ์ ต่างๆๆ ที่เหลือ อีก 4 ขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
การทำงานของ วิญญาณขันธ์ หรือ บางท่านเรียกว่า จิต ก็ได้.. จิต จะวนเวียน ใน 4 ธรรมธาตุนี้ ไม่ไปใหน เดี๋ยวไปรู้ รูป เช่น วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เมื่อ จิต รับรู้ อะไรแล้ว ตั้งอยู่ชั่วคราว แล้ว จะดับไป จิตจะเปลี่ยน ขันธ์ ไป จับ เวทนา คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา จากนั้น ก็ ดับ ไป อีก ไปจับ สัญญา ความจำ ในอดีต แล้วก็ ดับไป ไปจับสังขาร สิ่งที่ ปรุงแต่งจิต ความคิดไปในอนาคต ความฟุ้งซ่านในเรื่องต่างๆๆ แล้ว ก็ จะดับไป ไปจับ ในรูปต่อ จิตจะเกิดดับ เกิด ดับ อยู่ อย่างนี้ ตลอดวันตลอดคืน ไปจับ ขันธ์โน้นบ้าง ขันธ์นี้บ้าง สลับ สับเปลี่ยนกันไป แต่ไม่หนีไปจาก 4 ขันธ์นี้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร จะเกิด ดับ เกิด ดับ อยู่ แบบนี้ ตลอด

ทีนี้ ที่พระพุทธองค์ ทรงสอนให้ ทำวิปัสสนา ก็ คือ การ ให้ เห็น ว่า ขันธ์ ทั้ง 5 มันเป็นของที่เกิดดับ นั่นเอง และ จิต มัน เกิด มัน ดับ อยู่ตลอดเวลา แบบนี้ พระองค์จึงทรงให้เข้าไปสังเกตดู ในขณะที่มันเกิด และ มันดับไป แล้วมันก็เกิดอีก แล้วมันก็ ดับไปอีก พระองค์ ให้ทำอย่างไร ก็คือ พระองค์ให้ ตั้งจิต ไว้ อยู่ กับ รูป กาย หรือ ลมหายใจ เพื่อเป็นเสาเขื่อนเสาหลัก ให้จิต เป็นที่ตั้งอาศัย เมื่อ จิต ดับ ไปจาก รูป หรือ กาย หรือ ลมหายใจ ไป รับรู้ สุข ทุกข์ อดีต อนาคต ก็ ให้ ดับ มันเสีย แล้ว กลับมาตั้งจิตไว้อยู่ที่กาย หรือ ลมหายใจ ดังเดิม แล้ว ให้ เห็นว่า จิต มัน เกิด มันดับ อยู่แบบนี้ เมื่อ มันมีเกิด มีดับ มีการแปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆแสดงว่า มันไม่เที่ยง มันเป็น อนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตนอะไร มันเป็นของเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป ไม่ควรที่จะเข้าไปยึดถือว่าเป็นเรา หรือ ของเรา เมื่อเข้าไปยึดถือ ก็จะทำให้เกิดทุกข์ นี่คือ วิปัสสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ให้เห็นเการเกิดและดับ ของขันธ์ ต่างๆๆ

มีคำถามว่า แล้ว ให้ จิต ไปจับ ที่ เวทนา สัญญา สังขาร แล้วตามรู้ไปเรื่อยๆๆ แบบนี้ ได้ใหม?ทำไมต้องตั้งจิต ไว้ที่กาย หรือ ลมหายใจ ?

พระพุทธเจ้า ทรงให้ตั้งจิต ไว้ที่กาย ทรงเรียกว่า กายคตาสติ หรือ ตั้งจิต ไว้ที่ลมหายใจ ทรงเรียก ว่า อานาปานสติ ไม่ให้ จิตไปจับที่ สุข ทุกข์ อดีต อนาคต เพราะ เวทนา สัญญา สังขาร ขันธ์ เป็น ภพ ที่ ตั้งอาศัย ของจิต พอ มี ภพ ชาติ ชรา มรณะ ก็ จะตามมา แล้ว ภพ นี้ เวลา เราตาย จะเป็นที่ตั้งอาศัยของจิต พาให้เราไปเกิด หรือ ไปจับรูปใหม่ ซึ่ง จะเวียนว่ายตายเกิดอยู่แบบนี้ การที่จิต เข้าไปตั้งอาศัยใน เวทนา สัญญา สังขาร พระพุทธองค์ ทรงเรียกว่า มี นันทิ ( ความเพลิน ) ผู้ใดมี นันทิ ผู้นั้น มีอุปาทาน ผู้ใดมีอุปาทาน ก็ ปรินิพานไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระองค์ จึงทรงให้ละนันทิ คือ ความเพลินในภพคือ เวทนา ขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์เสีย แล้ว ให้ จิต มาตั้งอยู่กับกาย หรือ ลมหายใจ ซึ่ง พระองค์ทรงเรียกว่า เป็นผู้ที่มี สติ สัมปชัญญะ

เมื่อ เราฝึกละนันทิ ไปเรื่อยๆๆ คือ ไม่ให้จิต เข้าไปตั้งอาศัย ใน ภพ คือ เวทนา สัญญา สังขาร ขันธ์แล้ว จิตก็ จะตั้งอาศัยอยู่ที่รูป หรือ ลมหายใจ เมื่อ เราฝึกมากๆๆเข้า จิต จะไม่ไปตั้งอาศัย ในภพ เมื่อถึงตอนตาย รูปกายแตกดับ ลมหายใจดับ จิต ก็ จะดับไปพร้อมๆกับลมหายใจ เพราะ จิต ไม่มีภพเป็นที่ตั้งอาศัยให้ไปเกิดอีก นี่เราจะได้เป็นพระอรหันต์ ตอนตาย แต่ถ้า ใคร มี อินทรีย์ บารมีมากพอ เมื่อฝึก ละนันทิ ทิ้งภพไปเรื่อยๆ เมื่อ จิต มาจับอยู่กับรูป แล้ว ทำจิตให้ เป็นสมาธิ ในระดับของ ฌาน ต่างๆๆ ทั้ง 9 ระดับหรือ ตั้งแต่ ปฐมฌาน ยัน เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ ระดับใดระดับหนึ่งก็ได้ แล้วตามเห็นการเกิดดับขององค์ฌานนั้นๆหรือ ในระดับต่างๆ ก็ จะ ปล่อยวาง รูปขันธ์ หรือ ขันธ์ ทั้งหมด ได้เอง ก็ จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ หรือ นิพพาน ในชาตินั้นๆๆ

หากมีสิ่งใดสงสัย หรือมีข้อคิดเห็นที่เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ หรือ มีคำถาม ฝากไว้ในกระทู้ ได้เลยครับ






Create Date : 04 เมษายน 2553
Last Update : 4 เมษายน 2553 21:31:29 น. 25 comments
Counter : 8086 Pageviews.

 
อ้อชอบอ่านเรื่องแบบนี้ค่ะ จะแวะเข้ามาอ่านบ่อย ๆ นะคะ

จริงๆก็นั่งสมาธิเกือบทุกวันนะคะ แต่ว่าบางทีจิตก็แกว่งไปแกว่งมา บางวันก็ทำได้ บางวันก็ทำไม่ได้ค่ะ แหะ ๆ คงต้องพยายามต่อไป


โดย: thainurse@norway วันที่: 4 เมษายน 2553 เวลา:19:18:18 น.  

 
เป็นความรู้ดีมากๆ คะ เคยแต่ได้ยินคำว่าขันธ์ 5 แต่ก้อไม่เข้าใจลึกซึ้ง วันนี้ได้เข้ามาอ่าน เกิดความเข้าใจและจะได้เริ่มปฏิบัติต่ออย่างถูกต้องนะคะ ขอบคุณคะ


โดย: หนิงคะ IP: 125.25.172.218 วันที่: 4 เมษายน 2553 เวลา:20:15:47 น.  

 
การที่จิตแกว่งไปแกว่งมา เป็นธรรมชาติของจิต ครับ อาการที่แกว่งไปแกว่งมา นั่น จริงๆๆแล้ว มันคือ การเกิดดับของจิต ซึ่งธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้นเอง หรือ ที่เรียกว่า ตถตา หรือ ตถาตา มันเป็นเช่นนั้นเอง คือมัน เกิดขึ้น แล้วมันต้องดับไป ที่เรารู้สึกว่ามันแกว่ง ที่จริง มันไม่ได้แกว่ง มัน เกิด ขึ้น แล้ว ดับไป แล้วไปเกิด อีกขันธ์หนึ่ง แล้วก็ ดับไปอีก เหมือน ไฟวิ่ง ที่เราเห็นว่ามันวิ่ง แท้จริง ไฟมันไม่ได้วิ่งไปวิ่งมา แต่ มันเกิดดับเกิดดับ ติดต่อกันเร็วมาก เราจึงนึกว่ามันวิ่งไปวิ่งมา จิตก็เหมือนกัน มันไม่ได้แกว่งไปมา ที่จริง มันเกิดแล้วดับ ครับ แต่คนไม่รู้ จึงนึกว่ามันแกว่ง ไปมา ไม่สงบซักที แต่จริงๆๆแล้ว พระพุทธเจ้า ให้เห็น การเกิดดับของจิต จึงเรียกวิปัสนา ถ้าให้จิตนิ่ง ทรงเรียกว่าสมถะ ซึ่ง การทำสมถะ ก็ เพื่อให้เห็นว่า เราจะบังคับจิต ให้มันนิ่ง ให้มันเที่ยง ให้มันอยู่กะที่ตลอด มันไม่ได้ เพราะธรรมชาติของมัน มีการเกิดและดับ เมื่อ บังคับมันไม่ได้ถึงจะบังคับให้มันนิ่งได้เป็นวัน มันก็ต้องดับไปอยู่ดี แสดงว่า มันไม่ใช่เรา เพราะถ้ามันเป็นเรา เราต้องบังคับมันได้ มันไม่เที่ยง มันตั้งอยู่ชั่วคราว แล้วดับไป ไม่ใช่ อัตตาตัวตน แต่เป็นอนัตตา คือ ตัวตนที่ตั้งอยู่ได้ชั่วคราว เท่านั้น นี่คือ วิปัสนา เพราะฉะนั้น อย่าคิดว่าทำไมเราทำวิปัสนาไม่ได้ จิตมันแกว่งไปเรื่อย ไม่นิ่งสักที ที่จริง การที่มันไม่นิ่ง นั่นเป็นวิปัสนาแล้ว พลิกมาให้เห็นเป็นมุมของปัญญา นี่คือความต่างของพระพุทธศาสนา กับ พวกศาสนาอื่น ที่เขาก็ ปฎิบัติสมาธิกันมาตั้งแต่สมัยก่อนพระพุทธเจ้าด้วยซ้ำไป แต่เขาไม่ทราบเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ ธรรมชาติของมันเป็นอย่างนี้ จึงเอามาประกาศ ธรรมะที่พระองค์ทรงค้นพบให้ ทุกคนได้ทราบ ครับ

ขอบคุณที่ให้ความสนใจน๊ะครับ ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกท่านยิ่งๆขึ้นไป


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 4 เมษายน 2553 เวลา:21:37:38 น.  

 


โดย: จีนี่ในกระจกแก้ว วันที่: 4 เมษายน 2553 เวลา:21:56:06 น.  

 
ขอบคุณน๊ะครับ ขอให้ ฝันดีทุกคืน เช่นกันน๊า จีนี่


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 4 เมษายน 2553 เวลา:23:34:27 น.  

 


ขออนุโมทนาค่ะ ขอบคุณที่นำสิ่งดีๆ มาแบ่งปันนะคะ

ตอนนี้ เกิด เวทนา ... ทุกข์ก็เกิดค่ะ คุณเจ้าของบล็อก
นอนไม่หลับเล้ยยยย แหะๆๆ

ขอฟุ้งซ่านต่ออีกนิด เด่วสวดมนต์นอนแย๊ว


โดย: บุษบาแต้เตี้ยม วันที่: 5 เมษายน 2553 เวลา:1:05:23 น.  

 


สาธุค่ะ


โดย: โซดาบ๊วย วันที่: 5 เมษายน 2553 เวลา:8:42:24 น.  

 
ชะยะ ตุภะวัง สัพพศัตรู วินาสสันติ
ขอให้มีชัยชนะเหนือหมู่มาร อีกทั้งศัตรูภัยพาล จงวินาสสิ้นเทอญ

ขอให้ทุกวันในชีวิต เป็นวันทีดีและมีความสุขตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 5 เมษายน 2553 เวลา:10:39:41 น.  

 
สวัสดีค่ะ...

ปอป้า สบายดี...ค่ะ

ไม่ได้แวะมาทักทายกันเสียนาน วันนี้มาแล้วก็ถือโอกาสแอ้ดไว้เสียเลย จะได้ไม่ลืมกัน





โดย: พรหมญาณี วันที่: 5 เมษายน 2553 เวลา:10:40:57 น.  

 
วิปัสสนาเป็นการรู้ตัวค่ะ รู้ในทุกอย่างที่เป็นสัจธรรม คิดทุกอย่างๆเข้าใจในสัจธรรมค่ะ สิ่งที่ยากก็คืออะไรคือสัจธรรมและกินวงกว้างแค่ไหนค่ะ


โดย: Chulapinan วันที่: 5 เมษายน 2553 เวลา:11:00:06 น.  

 
ถ้าตามพุทธวัจนะ ตัวรู้ นี่คือ วิญญาณขันธ์ ครับ หรือ เรียกสั้นๆๆว่า จิต ซึ่งจะทำหน้าที่ รับรู้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ขันธ์ จะรับรู้ ใน 4 ธรรมธาตุนี้ จะไม่นอกเหนือไปจากนี้ ทีนี้ วิปัสนา ตามแบบ ที่พระผู้มีพระภาค ทรง บอกสอนก็คือ การ เห็น สรรพสิ่ง ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป แปรเปลี่ยนไปเรื่อยไปตามเหตุและปัจจัย แล้ว เห็นสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วดับไป นี่พระองค์ทรงเรียกว่า วิปัสนา คือ เห็น ความเปลี่ยนแปลง คือ อนิจจัง และ ดับ ไปในที่สุด คือ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนอะไร นี่คือ วิปัสนา ตามแบบที่พระพุทธองค์ทรงสอน ครับ ส่วน คำว่า สัจธรรม ก็ คือ อริยสัจ 4 นั่นเอง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ แล้วนำมาถ่ายทอดบอกสอน ซึ่ง ถ้า ไม่เข้าใจเรื่องใด ในอริยสัจ 4 ก็ มาสอบถามได้ครับ ถ้าผมไม่ทราบ จะไปถามจากผู้ที่ทราบ มาตอบให้ แต่เรื่องอริยสัจ อาจจะอธิบายกัน ยาว ก็ คัดเฉพาะ ตอนที่สงสัยมาสอบถามก็ได้น๊ะครับ สาธุ ครับ

ขอความเจริญในธรรม จงมีแด่ทุกท่านครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 5 เมษายน 2553 เวลา:11:52:56 น.  

 
เข้า่ใจแล้วที่ว่า "ขันธ์5ไม่ใช่กาย กายไม่ใช่ขันธ์5"

สาธุคับ


โดย: โอเล่ IP: 58.8.77.69 วันที่: 5 เมษายน 2553 เวลา:11:54:02 น.  

 
สวัสดี ครับปอป้า ขอบคุณน๊ะครับที่มาเยี่ยมเยือนกัน ขอให้มีสุขภาพ แข็งแรงน๊ะครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 5 เมษายน 2553 เวลา:11:55:15 น.  

 
สวัสดีครับ คุณโอเล่ ถูกแล้ว ครับ ขันธ์ 5 ไม่ใช่กาย ไม่ใช่ตัวตนอะไร เป็น เพียงธาตุ ตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ แล้วก็ ดับไป ครับ ทั้งรูปและนาม เป็นของเกิดและดับ ไม่ใช่ตัวตน ครับ เป็น อนัตตา
ขอบคุณน๊ะครับ ที่แวะมาเยี่ยมชม


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 5 เมษายน 2553 เวลา:12:35:50 น.  

 
กล้วยไม้... ชื่อพรรณไม้หลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Orchidaceae
ลักษณะต้น ใบ และช่อดอกต่าง ๆ กัน บางชนิดเกาะตามต้นไม้และหิน
บางชนิดขึ้นอยู่บนพื้นดิน บางชนิดมีดอกงาม บางชนิดมีกลิ่นหอม
ทางพายัพเรียก เอื้อง ปักษ์ใต้เรียก ต้นจุกโรหินี

สุข สดชื่น รื่นเริง บันเทิงใจ ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 7 เมษายน 2553 เวลา:11:36:52 น.  

 
ขอบคุณครับ ปอป้า


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 7 เมษายน 2553 เวลา:16:21:36 น.  

 
นัตถิ โทสะ สะโม กะลิ
ไม่มีโทษใด ร้ายแรงเท่าความโกรธ

มีความสุขกับวันดี ๆ อีกหนึ่งวัน...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 8 เมษายน 2553 เวลา:9:25:08 น.  

 
ขนฺติ สาหสวารณา (ขันติ สาหะ สะวา ระณา)
ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่งความหุนหันพลันแล่น

ใช้ขันติ เพื่อชีวิตที่มีความสุขตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 9 เมษายน 2553 เวลา:10:14:14 น.  

 


สวัสดีค่ะ
มีความสุขด้วยธรรมค่ะ





โดย: พธู วันที่: 9 เมษายน 2553 เวลา:16:43:24 น.  

 
อะไรกัน o-> ; เพิ่งอ่าน หัวข้อนี้ สงสัย แน่นอนครับ 55 เพราะยังศึกษาไม่แตกฉาน จึง สงสัย 3 ข้อ ครับ ก็คือว่า...

๑. ที่ คุณ นน อธิบาย รูปขันธ์ ทำไม กล่าวแค่ ธาตุ 4 ครับ ...หรือว่า รูป เสียง กล่น รส โผธัพะ ไม่ใช่ รูปขันธ์...หรือครับ อ้าวแล้วที่บอกว่า ขันธ์ 5 บางที่ แบ่งเรียกเหลือแค่ รูป กับ นาม รูป อ้าว ก็ ถ้า (นาม รูป คือ ขันธ์ 5) ถ้างั้น รูปภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผธัพะ จะรวมอยู่ในขันธ์ 5 หรือว่า ไม่รวมครับ หรือว่ายังไง งง ครับ 555 ได้โปรดชี้แจงแถลงไข ?? เอี หรือว่า ผมอาจจะ งงไปเอง .......o_0"

๒. ...คือความต่างระหว่าง สมาธิ และ วิปัสนา อยู่ที่ สมาธิ กำหนดจิตให้นิ่งอยู่กับอารมณ์เดียวไม่คิดนึก แต่ วิปัสนา ก็คือที่คุณ นน บอกว่าให้ (((พลิกมาให้เห็นเป็นมุมของปัญญา))) คือเห็น ไตรลักษณ์ หรือเห็นเกิดดับ ก็จะเป็น วิปัสนา ใช่ไหมครับ แต่ว่า ทำร่วมกันสลับกันไปได้เลยหรือครับ เพราะว่า คุณ นน บรรยายสลับกันไป ผมงงว่า ให้ทำสลับกันไปเลยหรือครับ หรือว่า แล้วแต่ เหตุปัจจัย ของแต่ละคน ใช่ไหมครับ...??

๓. ส่วนที่อธิบายว่า...(เวลา เราตาย ภพ จะเป็นที่ตั้งอาศัยของจิต พาให้เราไปเกิด หรือ ไปจับรูปใหม่ ซึ่ง จะเวียนว่ายตายเกิดอยู่แบบนี้ ถ้าจิตไม่ไปตั้งอาศัยในภพ เมื่อถึงตอนตาย รูปกายแตกดับ ลมหายใจดับ จิต ก็ จะดับไปพร้อมๆกับลมหายใจ เพราะ จิต ไม่มีภพเป็นที่ตั้งอาศัยให้ไปเกิดอีก)

...ข้อนี้ ก็พอเข้าใจครับ แต่ยังไม่ละเอียดอยู่ดี ต้องศึกษาต่อไป แต่ก็ ไม่เป็นไร เพราะยังไงก็ ศัทธา ในการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า อย่าง แน่นแฟ้นอยู่แล้ว ก็ไม่มีปัญหา ครับ..........ขออนุโมทนาครับ..../\\....


โดย: อย่านะ วันที่: 7 พฤษภาคม 2553 เวลา:0:33:04 น.  

 
1 ถูก ของ เก่งน๊ะ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ล้วน เรียกว่ารูป แต่ สิ่งที่ เราศึกษา ขันธ์ 5 นั่น หมายถึง เราศึกษาตัวเรา เพระฉนั้น รูป ภายนอก ตัวเรา ไม่ต้องไปสนใจมันก็ได้ ครับ เราจะดับทุกข์ ดับ ความยึดมั่นถือมั่น ในตัวเรา ก็ สนใจแต่ตัวเรา ไม่ต้องไปสนใจรูปภายนอก ก็ได้

2 สมาธิ คือ การ ทำจิตให้ นิ่ง อยู่ในอารมณ์เดียวเป็นเวลานานๆ ก็จะเกิดสมาธิ ส่วน วิปัสนา ก็คือ การเห็น เกิดดับ คือ เมื่อเราทำสมาธิ แล้วจะบังคับจิตให้นิ่ง แต่ ธรรมชาติของจิต คือ มัน มีการ เกิด แล้ว ก็ ต้อง มีการดับ มันจะไม่นิ่ง อยู่ตลอด การ ที่ เราบังคับจิตให้ นิ่ง แต่ มัน นิ่ง ไม่ตลอด มัน ดับไป แล้ว ไปรับรู้ อารมณ์ อื่น นี่ คือ วิปัสนา คือ การ ตามเห็น จิต เกิดดับ หรือ ตามเห็น ขันธ์ 5เกิด ดับ นั่นเอง แต่ ก่อนเราจะเห็นว่า มันเกิดดับ เราก็ ต้องพยาม ทำให้ มัน นิ่งก่อน เราถึง จะเห็น มัน ว่า มันไม่นิ่ง มันแปรเปลี่ยน ไปเรื่อย นี่คือ เห็น อนิจจัง ก็ แล้วแต่ว่า ใคร จะเห็นมากน้อยแค่ใหน ถ้านิ่งมาก ก็ เกิดดับน้อย แต่มันจะเห็นชัดเจนกว่า ว่ามันดับไปตอนใหน มันเกิดตอนใหน แต่ถ้า เกิดดับเร็ว มันก็จะเห็นเกิดดับมาก แต่ บางที มันดับไปตอนใหน เราก็เห็นไม่ทัน แล้วแต่ แต่ละคนครับ

3 ข้อนี้ ไม่ใช่ คำถาม แต่เป็นความไม่เข้าใจ ในระบบการทำงาน ของ จิต หรือ ขันธ์ 5 ที่จริง ผมว่า ผม อธิบาย ได้ ละเอียดแล้ว ขอให้ อ่านทบทวน หลายๆรอบ น่าจะเข้าใจ ได้เอง ครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 8 พฤษภาคม 2553 เวลา:1:46:16 น.  

 
.....อ๋อ ! รูป ภายนอก ตัวเรา ไม่ต้องไปสนใจมันมากก็ได้ เพราะ ความสำคัญ อยู่ที่จิต มากกว่า นั่นเอง ใช่ไหมครับ ตรงนี้ เข้าใจแล้วครับ...

...และ อีกข้อนึง ประโยคสำคัญ คือ (ก่อนเราจะเห็นว่า มันเกิดดับ เราก็ ต้องพยาม ทำให้ มัน นิ่งก่อน เราถึง จะเห็น มัน ว่า มันไม่นิ่ง มันแปรเปลี่ยน ไปเรื่อย นี่คือ เห็น อนิจจัง)

...อ๋อ พอเข้าใจแล้วครับ ตรงกับที่ฟังมาเมื่อกี้ สดๆ คือ พระอาจารณ์ โสตถิผโล ตอบคำถาม บอกประมาณว่า (พอจิตน้อมไปหาอารมณ์ก็ให้ดึงกลับมาอยู่ ที่ กาย และพอดึงจิตกลับมา อารมณ์นั้นมันก็จะดับไป เราก็จะได้เห็นว่ามันดับไป นั่นเอง) แบบนี้เองหรือครับ เอ๊ แต่จริงๆแล้ว ถึงไม่ดึง จิตมา ก็เห็นเกิดดับได้ นะครับ 555 อ่อ แต่คงหมายความว่า เห้นชัดและง่าย กว่าหรือครับ เพราะจิตเป็นสมาธิมากกว่า...

...สรุปก็คือตรงจุดนี้ ก็คือหมายความอย่างนี้เอง จุดนี้เข้าใจแล้วครับ แต่แน่นอนมีจุดอื่นนอกจากนี้อีก ที่ยังไม่เข้าใจ เพราะมีหลายอย่างที่ผมจำมา แต่ ดันไม่มีในพุทธพจน์ งง ติ๊บเลยครับ 5555 เฮ้อออออออ ต้องอ่านและฟังต่อไปอีกเรื่อยๆ.....งั้นขออนุโมทนาครับ..../\\......O_0


โดย: อย่านะ วันที่: 8 พฤษภาคม 2553 เวลา:2:36:13 น.  

 
อะนะ สงสัย ก็ ยัง ไม่เข้าใจ เรื่อง ทำไม ต้องดึงจิตกลับมาอยู่กับกาย ถ้า ไม่ดึงกลับมา จะได้ใหม ?

ตำตอบคือ นั่น จิตไปสร้างภพ ไง ถ้า จิต อยู่กับ กาย หรือ ลมหายใจ พระพุทธเจ้า เรียก เป็นผู้มีสติ สัมปะชัญญะ แต่ พอจิต ไปรับรู้ อารมณ์ สุข ทุกข์ อดีต อนาคต พระพุทธองค์เรียก มีนันทิ (ความเพลิน) ผู้ใด มีนันทิ ผู้นั้นมีอุปาทาน ผู้ใด มีอุปาทาน ก็ ปรินิพพานไม่ได้ แล้ว การที่จิต เข้าไปรับรู้ในอารมณ์ ต่างๆๆ คือ จิต เข้าไปสร้างภพ ถ้าตาย ในขณะนั้น ก็ ไปเกิดตามที่จิต ตั้งอาศัยอยู่ เช่น จิต รู้สึก เป็นทุกข์ ก็ ไป นรก ถ้าจิต รู้สึกเป็นสุข ตายไป ก็ สวรรค์ หรือ จิต ไปคิด ถึง กุศล อกุสล ก็จะได้ อัตตภาพ ไปตามจิตตอนที่ตาย แต่ ถ้า เราฝึก ทิ้ง ภพ เรื่อยๆๆ ให้ จิต มาต้งอาศัยอยู่กับ กาย หรือ ลมหายใจ พอลมดับ จิต ก็ จะดับตามไปด้วย เพราะ ไม่มี ภพ ให้เป็นที่ตั้งอาศัยอีก ก็ หลุดพ้นได้เลย นี่ คือ คำตอบว่า ทำไม ต้องดึงจิต กลับมา ตั้งอาศัยอยู่ที่กาย แล้ว การดึงจิตกลับมา เราสามารถเห็นจิตมันดับ ในขณะนั้นเลย แต่ถ้า เราปล่อยให้ มันดับเอง บางที เรา ก็ ไม่รู้ ว่ามันดับตอนใหน เพราะเรา ไม่ได้ สังเกตุมัน มันจะเพลินไปเรื่อยๆ นั่นเอง เหมือน คุณขับรถกลับบ้าน แต่เลยบ้านตัวเองนั้นแหละ มันเพลิน จนไม่รู้ว่า ถึงบ้านตอนใหน หรือ คุณ ขึ้นบันไดบ้านจะไปหยิบของ พอขึ้นไปถึง ก็ ไม่รู้ว่า เราจะขึ้นมาหยิบอะไร เคยเปนแบบนี้ใหม มันเพลิน ก็ คือ ขาด สติ จิตก็เหมือนกันถ้า จับอยู่กับอารมณ์ไปเรื่อยๆ คุณจะไม่เห็นหรอกว่ามันดับไปตอนใหน มันจะเพลินไปเรื่อย ๆ แล้ว ก็ ไม่เห็นการเกิดดับอะไร หรือ ถ้าคุณบอกว่า เห็น แต่ คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าคุณจะตายตอนใหน เกิด คุณ คิด เป็นหมู หมา กา ไก่ ไปเรื่อยๆ จะรอดูว่ามันดับตอนใหน เกิด คุณตายตอนที่คิดละ ไปเกิดเป็นหมู หมา กาไก่เลย แล้วจะกลับมาเกิด เป็นคน นั้น ยาก เหมือนเต่าตาบอดอยู่ในทะเลเลยหละ 100 ปี จะผุดขึ้นมาครั้ง 1 แล้วต้องเอาหัวเข้าไปในแอกไม้ไผ่ด้วยน๊ะ นี่คือคำเปรียบเที่ยบ ว่ามันยาก ขนาดใหน ที่จะได้เป็นมนุษย์


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 8 พฤษภาคม 2553 เวลา:13:46:44 น.  

 
อนุโมทนาค่ะ

ทำให้เข้าใจเรื่อง ขันธ์ 5 ขึ้นอีกเยอะ
แล้วก็เข้าใจเรื่อง จิต เกิด ดับ มากขึ้นด้วยค่ะ


โดย: พ่อระนาด วันที่: 24 มิถุนายน 2553 เวลา:23:18:47 น.  

 
เขียนอธิบายได้เข้าใจดีมากค่ะ


โดย: จันทร์เพ็ญ IP: 159.192.217.139 วันที่: 18 กันยายน 2561 เวลา:7:21:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ดูกรภิกษุทั้งหลาย : บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
Friends' blogs
[Add จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.