ความดับลงแห่งกองทุกข์ มีได้เพราะการดับไปแห่งความเพลิน
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
4 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 

ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับการทำสมาธิ และ วิปัสสนา




ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับการทำสมาธิ และ วิปัสสนา


..........คนเรามักจะเข้าใจผิด ว่า การทำสมาธิ จิตจะต้อง นิ่ง ไม่ขยับไปใหนเลยพอจิตไปคิด อดีต อนาคต ไม่อยู่กับลมหายใจ ก็ จะคิดว่า เราทำสมาธิไม่ได้ ก็เลยพาล ไม่ทำ ไม่ปฎิบัติ นี่คือการเข้าใจ ในเรื่องของสมาธิที่ไม่ถูกต้อง

..........ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อนว่า จุดมุ่งหมาย ของพระพุทธเจ้า ที่ให้เรามาทำสมาธิ เพื่ออะไร

..........คนส่วนมากจะเข้าใจผิดว่า ทำสมาธิ เพื่อให้ จิตนิ่ง ที่จริง มันก็ ถูกอยู่ แต่ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะการที่เรามาทำให้จิตนิ่ง ให้เป็นสมาธิ จุดประสงค์ ที่แท้จริง คือ พระพุทธเจ้า ต้องการให้เราทำสมาธิให้จิตมันนิ่ง ก็เพื่อให้เห็นว่า ที่จริงแล้ว ธรรมชาติของจิต มัน “ไม่นิ่ง” ธรรมชาติ ของจิต จะเกิดดับ เกิดดับ ตลอดเวลาไม่มีทาง ที่จะอยู่นิ่ง โดยที่ไม่ดับ ถึงจะทำสมาธิ ได้ ระดับ ฌาน สูงๆ ระดับ ฌาน ๔ ขึ้นไป จิต ก็ ยังมีการเกิดดับ เกิดดับ อยู่ตลอดเวลา ในระดับ รูปสัญญาสมาบัติ ขันธ์ทั้ง ๕ ยังทำงานอยู่ตลอดเวลา และในระดับ อรูปสัญญาสมาบัติ ขันธ์ ทั้ง ๔ ก็ยังทำงานอยู่ตลอดเวลา คือ เกิดดับ เกิดดับ อยู่ตลอด

..........สิ่งที่พระพุทธเจ้า ให้เราทำสมาธิ ก็เพื่อให้เรา เห็นการเกิดดับของจิต เรียกว่า วิปัสสนา คือ ให้เห็นสภาวะตามความเป็นจริงที่ปรากฏ คือ เห็นว่า จิต มันเกิดดับ เกิดดับ ไม่นิ่ง เรียกว่า ให้ เห็น อนิจจัง ความไม่เที่ยง ของจิต นี่คือ วัตถุประสงค์ ของการทำสมาธิ และ วิปัสสนา ให้เห็นว่า จิต มันไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา เดี๋ยวไปคิด อดีต บ้าง อนาคต บ้าง สุข บ้าง ทุกข์ บ้าง หรือ เฉยๆบ้าง กลับมาอยู่กับ ลมหายใจ บ้าง หรืออยู่กับการเคลื่อนไหวของกายบ้าง

จิต จะเกิดดับ เกิดดับ วนเวียนอยู่ใน ๔ ขันธ์ นี้ คือ


..........๑. รูป ( กาย หรือ ลมหายใจ )
..........๒. เวทนา ( สุข ทุกข์ หรือ เฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์ )
..........๓. สัญญา ( ความจำในอดีต )
..........๔. สังขาร (ความคิดฟุ้งไปในอนาคต หรือ การปรุงแต่งของจิต )

..........จิตจะเกิดดับ เกิดดับ วนเวียนอยู่ใน ๔ ธรรมชาตินี้ ไม่ไปใหน ที่เราทำสมาธิวิปัสสนา ก็ ให้เราดูว่า มันเกิดดับ เกิดดับของมันอยู่อย่างนั้น เราไปบังคับ ให้มันนิ่ง ให้มันไม่ดับ ไม่สามารถ ที่จะทำได้ จนเกิดความรู้ ขึ้นมาว่า อ้อ!!จิต ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เพราะถ้าจิต เป็น เรา เราต้องบังคับ ไม่ให้ มันดับได้ นี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราจึงบังคับให้เป็นไปตามอำนาจของเราไม่ได้ นี่คือ การ เห็น อนัตตา ว่า มันไม่ใช่ตัวตนของเรา มัน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้ว ก็ ดับไปในที่สุด ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา นั้นมันเป็นเพียงธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ชั่วคราว แล้วก็ดับไป ไม่ควรที่จะเข้าไปยึดถือ ถ้าเราเข้าไปยึดถือ จะทำให้เกิดทุกข์

..........ถ้าจะเปรียบให้เห็นภาพชัดๆก็ เหมือนเรา ไปยึดความฝัน ว่า มันเป็นความจริง พอมันตื่นขึ้น ความฝัน มันก็หายไป ไม่มีอะไรที่เราจะเข้าไปยึดถือได้เลย พระพุทธเจ้า จึงไม่ให้เข้าไปยึดถือ สิ่งที่มันเกิดแล้วก็ดับ เพราะมันจะเหมือน เราไปยึดถือความฝันคิดว่ามันจะไม่หายไป ไม่ดับ ที่จริง มันก็ ดับไปได้ พระพุทธเจ้า จึงได้ชื่อว่า เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ไปยึดติดกับสิ่งที่จิตมันปรุงแต่ง

..........นี่คือ จุดมุ่งหมาย ของการทำสมาธิ และ วิปัสสนา ที่แท้จริง คือ พยายามทำจิตให้นิ่งเพื่อให้เห็นว่า มันไม่นิ่ง นั่นเอง อย่าไปคิดว่า เราทำสมาธิไม่ได้ เลย ไม่ทำดีกว่า

..........แล้วเราต้องทำอย่างไรบ้าง ในการทำสมาธิ และวิปัสสนา เมื่อเราทราบว่า จิต มันวนเวียน อยู่ใน ๔ ธรรมชาตินี้ ไม่ไปไหน เราก็ แค่ตามดู มันไปเรื่อยๆหรือ จริงๆแล้ว การทำสมาธิ และวิปัสสนา พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ ฝึก ทิ้ง ภพ ไปด้วย ในตัว

..........อะไรที่เรียกว่า ภพ ก็ คือ สถานที่ ที่จิต เข้าไปตั้งอาศัย คือ ภพ ขันธ์ ทั้ง ๔ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร นั่นแหละ คือ ภพ ที่จิต หรือ วิญญาณ เข้าไปตั้งอาศัย แต่ ขั้นต้น เราจะทิ้ง ภพ ทั้ง ๔ ทีเดียวไม่ได้ ต้องค่อยฝึกทิ้งทีละขั้นตอน เพราะเรายังทิ้งไม่ได้หมด จิตเรายังต้องการที่ตั้งอาศัย พระพุทธเจ้า จึง ให้เรา ตั้งจิต ไว้ กับภพปัจจุบันคือ รูป (การเคลื่อนไหวของกาย หรือ ลมหายใจ )ไม่ให้เราไปตั้งอาศัยกับ ภพที่จะพาเราไปเกิดในอนาคต คือ เวทนา ( สุข ทุกข์ ) สัญญา สังขาร ทั้ง ๓ขันธ์นี้ คือ ภพ ที่จะพาเราไปเกิดในชาติถัดไป

.......... พระพุทธเจ้าจึงให้เราฝึกทิ้งภพที่จะพาเราไปเกิด ให้เรา ตั้งจิตอยู่ในภพที่เป็นปัจจุบัน คือ ให้รู้อยู่แต่ปัจจุบัน ให้ ตั้งจิตอยู่ที่ กาย หรือ ลมหายใจ เท่านั้น เมื่อเราฝึกจิตให้อยู่กับ ภพปัจจุบัน เป็นอย่างดีแล้ว พอเราตาย จิต ก็ ไม่มีภพ ให้เป็นที่ตั้งอาศัย จิตก็จะดับไป พร้อมๆกับลมหายใจ ไม่ไปเกิดอีกต่อไป







 

Create Date : 04 สิงหาคม 2553
12 comments
Last Update : 4 สิงหาคม 2553 19:50:09 น.
Counter : 6693 Pageviews.

 

อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต

ทำตนนี่แหละ ให้ตั้งอยู่ในความดีอันสมควรก่อน
จากนั้น จึงค่อยพร่ำสอนผู้อื่น บัณฑิตไม่ควรมีข้อมัวหมอง

ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ด้วยการเป็นบัณฑิตที่ดี ตลอดไป..นะคะ


 

โดย: พรหมญาณี 5 สิงหาคม 2553 13:30:04 น.  

 

วาง ว่าง ว่าง....ทำยาก แต่ดีกว่าไม่ทำ สาธุ๊ด้วยคน

..แวะมาทักทายจ๊ะ..ขอให้มีความสุข สดใส..หัวใจเบิกบาน..

..HappY BrightDaY To You..

 

โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* 5 สิงหาคม 2553 13:31:18 น.  

 

(จุดมุ่งหมาย ของการทำสมาธิ และ วิปัสสนา ที่แท้จริง คือ พยายามทำจิตให้นิ่งเพื่อให้เห็นว่า มันไม่นิ่ง นั่นเอง เพื่อให้เห็น อนัตตา ว่า มันไม่ใช่ตัวตนของเรา มัน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้ว ก็ ดับไปในที่สุด )

...อ๋อ นี่เป็นจุดมุ่งหมายหลักเลยใช่ไหมครับ เพราะ ที่ผมเคยศึกษามา จุดมุ่งหมาย ของสมถะ คือ สำหรับผู้ที่เห็นโทษของกิเลส และต้องการ สงบจากกิเลส ชั่วคราว จึง เจริญ สมาธิ เพื่อ สงบจากกเลส ชั่วคราว...ไม่เกี่ยวกับ วิปัสนา แต่ หลงเข้าใจผิด และเพิ่งรู้ ว่าเป็นแบบนี้เองครับ

...แต่ พิจรณาดูแล้ว ปรากฏว่ามหัสจรรย์ นะครับ ก็คือว่า เป็นอุบาย ที่ทำให้จิตทำงานช้าลง จึงจะควรแก่การงาน

แต่ถ้า ผมทำแบบไม่ต้องใช้ อุบาย ที่เป็นเครื่องช่วย คือ เจริญ วิปัสสนา ล้วนๆ คือ กระทำในใจไห้เป็นเพียง สักแต่ว่า เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้โผฐัพะ รู้ คิดนึก แบบนี้ รู้สึกว่าเหมาะกับผม น่ะครับ

แต่ ที่พระพุทธองค์ ทรงให้เจริญสมาธิ เป็นเพราะว่า จิตใจของ ปุถุชน ส่วนใหญ่ ที่เวียนไหว้ ตาย เกิด กันมานับชาติไม่ถ้วน นั้น ส่วนใหญ่ จิตจะไหลลงต่ำ และมักไหลไปตามอารมณ์ ต่างๆ อยู่เป็นนิจ

จึงต้อง หาที่ให้จิตเกาะ ก่อน ที่จะเจริญ วิปัสนา แบบนี้ ใช่ไหมครับ ถ้าแบบนี้ สมาธิ ก็ เป็นสิ่งสำคัญ อย่างมหัสจรรย์ เลยนะครับ....................ขออนุโมทนาครับ คุณ พุทธโฆษนนท์

 

โดย: อะไรกัน o-> IP: 192.168.1.57, 61.7.189.95 5 สิงหาคม 2553 19:22:29 น.  

 

ใช่ ครับ อะไรกัน จะ ทำแบบนั้น ก็ ได้ เป็น มรรควิธีหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าแนะนำ คือ รู้อะไรก็สักแต่ว่า รู้ เห็นอะไร ก็ สักแต่ว่าเห็น นี่เป็นการ ปล่อยวาง ตัววิญญาณ ขันธ์ เลย ปล่อย ขันธ์เดียว ขันธ์ อื่นดับหมด ถ้า วิญญาณ ไม่เข้าไปรับรู้ ขันธ์ ที่เหลือ ก็ มีไม่ได้ ครับ ที่มีได้ เพราะ จิต เข้าไปรับรู้ เข้าไปตั้งอาศัย

อะไรกัน ก็ ทำถูกแล้ว นี่เป็นมรรควิธีที่ ลัดสั้นง่าย ที่พระพุทธเจ้าสอน และ ไม่ต้องใช้ สมาธิมาก ก็ แล้วแต่ แต่ละบุคคล ว่าจะ มีบารมีสั่งสมมาทางใหน เพราะการหลุดพ้น จะหลุดพ้นด้วย ปัญญาวิมุติ ก็ได้ หรือ เจโตวิมุติ ก็ได้ อย่างของอะไรกัน จะใช้ วิธี แบบปัญญาวิมุติ โดยที่ไม่ต้องเจริญสมถะ เลย ก็ สามารถทำได้ ดังจะยกพระสูตร ที่พระพุทธเจ้า สอน แก่ พาหิยะ ให้ฟังดังนี้

..........พาหิยะ ! เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น ได้ฟังเสียงแล้ว สักว่า ฟัง ได้กลิ่น , ลิ้มรส , สัมผัส ทางผิวกาย ก็ สักว่า ดม ลิ้ม สัมผัส ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สักว่า ได้รู้แจ้งแล้ว เมื่อนั้น "เธอ" จักไม่มี เมื่อใด"เธอ"ไม่มี เมื่อนั้นเธอก็ ไม่ปรากฎในโลกนี้
ไม่ปรากฎในโลกอื่น,ไม่ปรากฎในระหว่างแห่งโลก
ทั้งสอง นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ...

 

โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส 5 สิงหาคม 2553 21:23:43 น.  

 

สพฺพรติง ธมฺมรติ ชินาติ
ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง

มีความสุขอยู่กับธรรม ตลอดไป..นะคะ



บทความนี้ ดีมาก..ค่ะ อยากให้คนที่ปฏิบัติภาวนาได้มาอ่านกันมาก ๆ
จะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง..

 

โดย: พรหมญาณี 6 สิงหาคม 2553 13:14:30 น.  

 

...อยากถามเรื่อง ฌาณ น่ะครับ คือ จิตแต่ละดวง ก็เกิด ดับ อยู่ตลอดเวลา อย่างรวคเร็ว และอยากรู้ว่า...

...เช่น ฌาณที่ 2 นั้น จะละ วิตก วิจาร ได้ นานเท่าไหร่ถึงจะ เป็นฌาณที่ 2 ครับ แล้วถ้าละได้ แค่ 1 หรือ 2 ขณะจิต จะเป็นการได้ ฌาณที่ 2 ไหม หรือว่าได้ คือได้แค่ แว๊บๆ...ก็คือได้เหมือนกัน...

...แต่จริงๆแล้วคือ ฌาณแต่ละขั้น ต้องละ อกุศล หรือ วิตก วิจาร ปีติ สุข นั้นๆ ได้ นานติดต่อกัน ทุกขณะจิต เลยหรือเปล่า ถึงจะบอกว่า ได้ฌาณ...

...แล้วการอธิบาย ว่าได้ฌาณ แบบไหน จะใช้คำว่าอะไร เพราะ ที่รู้กันทั่วไปคือ เช่น อุปจาระสมาธิ และ อัปนาสมาธิ อะไรประมาณนี้...

 

โดย: อะไรกัน o-> IP: 118.174.191.99 6 สิงหาคม 2553 15:12:44 น.  

 

ตอบคำถาม คุณอะไรกันน๊ะครับ

1 ที่ถามว่าได้ ฌาน ที่ 2 ละ วิตก วิจาร ได้ นั้น จะได้ นานเท่าไร ถึงจะเป็นฌานที่ 2

ตอบ... คือ ถ้าเราปฎิบัติ ไปเรื่อยๆ เราจะรู้เองน๊ะครับ ว่า อ้อ เวลานี้ นี่ ฌาน 2 แล้ว แต่ กว่าเราจะรู้ เนี่ย ต้องอาศัย การสังเกตุ พอสมควร ว่า ในสมาธิเรา มีอะไรเกิดดับบ้าง ถ้าเราสังเกตุดีดี เราก็จะเห็นเองว่า วิตก วิจาร ดับไปแล้ว คำพูดในใจ ดับ ไปแล้ว ปิติ สุข ยังคงเหลืออยู่ หัดสังเกตุดีดี ครับ ไม่ต้องไปสนใจว่า มันเกิด ทุกขณะจิตหรือเปล่า หรือ เกิดแว๊ปเดียว หรือ เกิด นานเท่าไร จึงจะเรียกว่า ฌานที่ 2

2 ฌาณแต่ละขั้น ต้องละ อกุศล หรือ วิตก วิจาร ปีติ สุข นั้นๆ ได้ นานติดต่อกัน ทุกขณะจิต เลยหรือเปล่า ถึงจะบอกว่า ได้ฌาณ...

ตอบ ...เหมือนข้อ 1 ครับ ไม่ต้องไปสนว่า มันจะ นานติดต่อกัน ทุกขณะจิตหรือเปล่า หน้าที่เรา คือ คอยดูว่า จิตเรา ไปจับอยู่ ขันธ์ใหน แล้ว ถ้าไปจับ สุข ทุกข์ หรือ ความคิด อดีต อนาคต ให้ ดึงกลับมารู้ลม หรือ ตั้งจิต ไว้ที่ อุเบกขา ส่วน มันจะเป็น ฌานที่เท่าไร เราสังเกตุดีดี เราจะรู้เองว่า ตอนนี้ อยู่ฌานใหน ที่จริง จะอยู่ ฌานใหน ก็ เข้าวิมุติ ได้เหมือนกันหมด มันจะอยู่ฌานใหน ก็ไม่ต้องสนใจก็ได้ แต่ถ้าเราอยากรู้ก็ สังเกตุ ดูว่า ในสมาธิ วิตก วิจาร ปิติ สุข มีอะไร ดับไปบ้าง เมื่อดับไป แล้ว จนเราเริ่มจับได้ เราจะรู้เองว่าอยู่ฌานใหน แต่ เรายังจับไม่ได้ว่าเราอยู่ฌานใหน หรือ มันเกิดแค่ขณะจิตเดียว ก็ ไม่ต้องสนใจ อย่างน้อย ขอแค่ อกุศลไม่เกิดในจิต ก็ ฌาน 1 แล้วครับ

3 การอธิบาย ว่าได้ฌาณ แบบไหน จะใช้คำว่าอะไร เพราะ ที่รู้กันทั่วไปคือ เช่น อุปจาระสมาธิ และ อัปนาสมาธิ อะไรประมาณนี้...

ตอบ .. คำว่า ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และ อัปนา สมาธิ เป็น คำที่สาวกแต่งขึ้นใหม่ พระพุทธเจ้า มิได้พูดถึง คำเหล่านี้เลย

ระดับ ของสมาธิ ที่พระองค์ตรัส มี 9 ระดับ คือ มีรูปฌานทั้ง 4 และ อรูปสัญญาสมาบัติ อีก 4 รวม ถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ รวมเป็น 9 ระดับ

รูปฌาน ได้แก่

1ปฐมฌาน 2 ทุติยฌาน 3 ตติยฌาณ 4 จตุฌาน


อรูปสัญญา สมาบัติ ได้แก่

5 อากาสานัญจายตนะ 6วิญญานัญจายตนะ 7 อากิญจัญญายตนะ 8 เนวสัญญานาสัญญายตนะ

9 สัญญาเวทยิตนิโรธ

พระพุทธเจ้าตรัส ในเรื่องของสัมมาสมาธิ ว่าสมาธิมี อยู่ 4 ระดับ แต่สมาธิทั้งหมดที่มี 9 ระดับ ในทุกระดับ สามารถเข้า วิมุติ หรือ นิพพาน ได้ ทั้งหมด พระองค์ ไม่เคยพูดถึง ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และ อัปนาสมาธิเลย นั่น คนแต่งใหม่ คิดเองหมด

มีคนจำนวนมาก เข้าใจผิด ว่า ฝึกสมาธิไปแล้ว ก็ ได้ฌานสูงๆจะเข้าทำให้หลงติดในสมาธิ เข้านิพพานไม่ได้ เพราะ เห็นตัวอย่าง พวก พราหม พวกฤๅษี ก็ได้สมาธิในระดับสูง แต่ก็ไม่บรรลุ มรรคผล นิพาน นี่เป็นการเข้าใจที่ผิด

เพราะนั่น เขาไม่รู้อริยสัจสี่ คือ มีจิต เป็นสมาธิ จริง แต่ ไม่เห็น การเกิดดับ เขาสนใจแต่ จะทำให้มันนิ่ง เฉยๆๆ คิดว่า จะบังคับ มัน ไม่ให้ดับ ได้ แล้ว ก็ เลย ไม่สังเกตุว่ามีอะไรเกิดดับ

พอพระพุทธเจ้า ตรัสรู้ แล้ว สอนปัญจวัคคี นิดเดียว ก็ เกิดดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง มีการดับไปเป็นธรรมดา นี่ไง เกิดดวงตาเห็นธรรมแล้ว เพราะปัญจวัคคี มัวแต่ไปทำให้มันนิ่งให้มันไม่ดับ แต่พอรู้ว่า หากมีการเกิด ย่อม มีการดับแน่นอน สิ่งที่ต้องทำคือ อย่าให้มันเกิด แค่นั้นเอง เมื่อ ไม่มีการเกิด ก็ ไม่มีการดับ ก็นิพพาน ได้

พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ไล่สายปฎิจสมุปบาท ว่า อะไร เกิดจากอะไร แล้ว ก็ ไปไล่ดับมัน ไปดับมันตั้งแต่ต้นสาย อย่าให้มันเกิด แค่นั้นเอง

เดี่ยวจะยาวไปแล้ว ครับ เป็นว่า ที่ผมตอบ คงมีความเข้าใจมากขึ้น แต่ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็ มาถามใหม่น๊ะครับ

ขอความเจริญ ในธรรม จงมีแก่ อะไร กัน รวมทั้ง ปอป้า พรหมญาณี ด้วยครับ

 

โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส 8 สิงหาคม 2553 15:49:59 น.  

 

อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ กตปุญโญฺ อุภยตฺถ นนฺทติ
ปุญฺญํ เม กตนุติ นนฺทติ ภิยฺโย นนฺทุติ สุคตึ คโต

ผู้ทำบุญแล้วย่อมยินดีในโลกนี้ ตายแล้วย่อมยินดีชื่อว่ายินดีในโลกทั้งสอง
เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติย่อมยินดียิ่งขึ้น

มีความสุขกับการสะสมบุญในช่วงเข้าพรรษานี้ และตลอดไป..นะคะ


 

โดย: พรหมญาณี 9 สิงหาคม 2553 13:29:34 น.  

 



สวัสดีค่ะ ลุง
มาอ่าน(อีกแล้ว)
มาเรียนรู้ (ได้แค่ไหนไม่รู้)
แต่ก็..พยายามนะคะ

อ้อ พูดีขึ้นแล้วค่ะ ลุง
เมื่อเช้า เพิ่งไปตัดไหมมาค่ะ

 

โดย: พธู 10 สิงหาคม 2553 11:19:36 น.  

 

คือ...แค่อยากบอกเล่าให้ฟังเท่านั้นน่ะครับ คือว่า พอผมได้เจอคุณ นนท์ บอกว่า (พระอภิธรรมไม่ใช่ พุทธวจณ ไม่ต้องให้ความสนใจ) อะไรประมาณนี้ ผม ก็งงว่า แล้วทำไม อาจารณ์ ต่างๆจึงให้ความสำคัญในการ สอนและประพฤติปฏิบัติ กันอยู่เป็นปรกติ

ผมเลยไปลอง ค้นดู ตามเวบต่างๆ ที่มีเวบบอร์ด ถกกันเรื่อง พระอภิธรรม อะไรประมาณนี้ เลยเพิ่งรู้ว่า อ๋อเป็นแบบนี้นี่เอง คือ มีฝ่ายที่ เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย กับพระอภิธรรม ก็ค่อนข้างถกเถียงกันแบบรุนแรงนะครับ มีการกล่าวถึง ท่านพุทธทาส อะไรประมาณนี้ ด้วย และพออ่านไป เนื่องจาก ข้อมูลมันเยอะน่ะครับ ผมเลยขี้เกียจอ่าน 55

แต่ก็ตกใจเพราะว่า ผมก็ศึกษาธรรมะ มาประมาณ 10 ปีแล้วนะครับ แต่ ทีละนิดละหน่อย ไม่ได้ ต่อเนื่อง แต่มาต่อเนื่อง ในช่วงหลังนี่เอง

แต่ที่สำคัญคือ ผมไม่เคยได้ข้อมูลอะไรพวกนี้ ว่า อะไรเป็นพุทธวจณ และอะไรไม่ใช่ ก็คิดว่า คัมภีร์ต่างๆ ก็ คือ การเรียบเรียงจาก พุทธวจณ นันแหละ เลย ศึกษามาอย่างเดียว โดยที่ไม่ได้ไปสนใจว่า จะเป็น อภิธรรม หรือ พุทธวจณ หรือ อะไรประมาณนี้ เพราะ ก็มีประโยคเริ่มต้นที่เห็นบ่อยๆ ก็คือ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย... ประมาณนี้ แทรกอยู่ด้วยตลอด

และการศึกษาธรรมะ ก็จะ พิจรณาสรรพสิ่ง ให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เพื่อละคลาย ความยึดมั่นถือมั่นในโลก ก็ทำมาแบบนี้ตลอด ไม่ได้ เคยรู้หรือสนใจประเด็นอะไรพวกนั้น ว่า พระอภิธรรมไม่ใช่ พุทธวจณ อะไรประมาณนี้ น่ะครับ

พอมาถึงตอนนี้ เข้าใจว่ามันเป็นแบบนี้นี่เอง ผมจึงมีความคิดเห็นว่า และมีความรูสึกว่า เนื้อหาส่วนไหน จะปลอมปนเข้ามา จะใช่ หรือไม่ใช่ พุทธวจณ ผมก็ไม่สนใจอีกนั่นแหละ ก็แค่ยึด พระพุทธพจน์ ใว้ เป็นหลักก่อน ใช่ไหมครับ ส่วน ตรงไหน จะตรงกับพุทธพจน์ ก็ไห้ ศึกษาเพิ่มเติมได้ ส่วนไหนที่ ขัดแย้ง ก็ไม่ต้อง ยึดถือปฏิบัติ

ก็แค่นั้นเอง ผมเลยงง ว่า จะไปเถียงกันทำไม ว่า อภิธรรม จะเป็น คำสอนที่มีมาใน พระพุทธพจน์ หรือเปล่า ควรศึกษา หรือไม่ หรืออะไรประมาณนี้ เพราะ ตามความรู้สึกของผม นั้น จบลงในประโยคที่ว่า...

(ยึดพระพุทธพจน์ ใว้ เป็นหลักก่อน ส่วน ตรงไหน จะตรงกับพุทธพจน์ ก็ไห้ ศึกษาเพิ่มเติมได้ ส่วนไหนที่ ขัดแย้ง ก็ไม่ต้อง ยึดถือปฏิบัติ) ก็แค่นี้เอง จบ ใช่ไหมครับ ???

เพราะว่า ธรรมะ ไม่เหมือน วงการณ์ อื่น ในทางโลกทั่วไป เพราะจุดประสงค์ คือการละคลาย ความยึดมั่นถือมั่นในโลกออกเสียได้ เพราะฉะนั้น พระอภิธรรม จะเป็น คำสอนที่มีมาในพุทธบัญญัติ หรือไม่ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องไป ต่อต้าน อะไรแบบนั้น ไม่ใช่หรือครับ

เพราะ มีผู้คนจำนวนมาก รวมทั้งผมด้วย ที่ สนใจเข้ามาศึกษาธรรม เราะเห็นความน่า ดึงดูด ของ พระอภิธรรม ส่วนจะใช่ พระพุทธบัญญัติ หรือเปล่า ไม่น่าไปสนใจ เพราะ ก็มี พุทธวจณ รอมอยู่ด้วย แต่อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด

แต่มีผลดี ในการช่วย เปิดประตู มาสู่ ธรรมะที่ถูกต้องมากขึ้น ไม่ใช่หรือครับ ถ้าเทียบกับคนที่ ไม่ได้สนใจใฝ่ธรรมะ เลย หรือไม่เข้าใจธรรมะเลย ตรงนั้น น่าสงสารที่สุด ผมว่า เข้าใจถูกบ้างผิดบ้าง ก็ดีกว่า ไม่เข้าใจเลย และไม่เคยคิดที่จะเริ่มต้นศึกษาธรรมะเลย นั่นสิ น่ากลัวที่สุด......

ดังนั้น ผมจึงอยากแสดงความคิดเห็น ว่า ไม่เห็น ต้องไป สนใจ ที่จะ ถกเถียงกัน ประเด็นนี้เลย ครับ 555 ทำไห้เครียด และจิตเป็นอกุศลเปล่าๆ 5555 เฮ้อออออ.......จบ

 

โดย: อะไรกัน o-> IP: 118.174.190.169 10 สิงหาคม 2553 15:59:38 น.  

 

ถูกครับ แต่คนที่เรียน อภิธรรม ส่วนมาก เขาไม่ยึด พุทธวจน นี่ครับ เขาเอาแต่อภิธรรมล้วนๆๆ ทีนี้ ก็ เลย ไปจำสิ่งที่ผิดบ้างถูกบ้าง ก็ เลย ปฎิบัติ ผิด บ้างถูกบ้าง แล้ว ไม่สนใจ ส่วนที่เป็น พุทธวัจน เลย ก็ เลย เป็นปัญหา ถ้า สนใจ พุทธวัจน เป็นหลัก แล้ว ศึกษา อภิธรรมไป ส่วนที่พูดไม่ตรง พูด เกิน พูดขัด กับ พุทธวจน ก็ ไม่ต้องไปสนใจ ก็ จบ ง่ายๆๆแค่นี้เอง ให้สนใจแต่พุทธวจน แล้วจะรู้ ในสิ่งที่ถูกต้องทั้งหมด ไม่ดีกว่าหรือ จะไปสนใจ สิ่งที่มันผิดทำไม ใช่ใหมครับ

 

โดย: ขอทานใหญ่ IP: 125.25.210.0 16 สิงหาคม 2553 22:17:08 น.  

 

ผมยิ่งศึกษามากๆ ก็เริ่มงงครับ เพราะแต่ละที่ก็ว่าตนเองเป็นวิธีที่ถูกต้อง อยากให้พระพุทธองค์มาเมตตาชี้แนะเองจังครับ

 

โดย: เล็ก IP: 203.146.51.129 15 กุมภาพันธ์ 2556 2:58:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ดูกรภิกษุทั้งหลาย : บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
Friends' blogs
[Add จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.