Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
3 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
ประเพณีวันเข้าพรรษา

ประเพณีวันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หรือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง ในปีที่มีอธิกมาส เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษา คืออยู่ประจำที่โดยจะไปพักแรมค้างคืนที่อื่นไม่ได้ ตลอด ๓ เดือน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ยกเว้นมีกรณีพิเศษ
เมื่อครั้งพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ทรงจาริกไปในบ้าน นิคม ชนบท ราชธานี น้อยใหญ่เพื่อประกาศพระศาสนา ในกาลเริ่มต้นภิกษุยังมีน้อย เมื่อถึงฤดูฝนพระองค์พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายทรงหยุดพัก ณ เมืองใดเมืองหนึ่งตลอดฤดูฝน เมื่อฤดูฝนผ่านพ้นไปแล้ว จึงได้เสด็จจาริกประกาศพระศาสนาต่อไป และพระองค์ยังมิได้บัญญัติให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษา ความติฉินนินทาอันใดก็มิได้เกิดมี ครั้นจำเนียรกาลผ่านมากุลบุตรทั้งหลายผู้ทีได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์และเกิดศรัทธาเลื่อมใสได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทมากขึ้น ภิกษุก็มีปริมาณมากขึ้นโดยลำดับ
สมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ (ภิกษุ ๖ รูป) เมื่อถึงฤดูฝนแล้วก็มิได้หยุดพัก ยังเทียวสัญจรไปมาในบ้าน นิคม ชนบท และราชธานีน้อยใหญ่ เหยียบข้าวกล้าระบัดเขียวให้เกิดความเสียหาย ทำให้สัตว์ตัวเล็กน้อยตาย เพราะการไม่รู้จักกาลเทศะของท่านเหล่านั้น ประชาชนจึงพากันติเตียนว่า “ไฉนเล่า พระสมณศากยบุตรจึงเที่ยวไปมาอยู่ทุกฤดูกาล เหยียบข้าวกล้าและติณชาติให้ได้รับความเสียหาย ทำให้สัตว์เล็กน้อยตาย พวกเดียรถีย์และปริพพาชกเสียอีกยังพากันหยุดพักในฤดูฝน ถึงนกยังรู้จักทำรังที่กำบังฝนของตน”
พระพุทธองค์ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงทรงบัญญัติเป็นธรรมเนียมให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงกลางเดือน ๑๑ ห้ามมิให้เที่ยวสัญจรไปมา ต้องอยู่ประจำที่
ภิกษุเข้าพรรษาแล้ว หากมีกิจธุระจำเป็นอันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ แต่จะต้องกลับมายังสถานที่เดิมภายใน ๗ วัน พรรษาไม่ขาด ที่เรียกว่า “สัตตาหกรณียะ” เหตุที่ทรงอนุญาตให้ไปได้ด้วยสัตตาหกรณียะนั้นมี ๔ อย่างดังต่อไปนี้
๑.สหธรรมิกหรือมารดาบิดาเจ็บไข้ รู้เข้าไปเพื่อรักษาพยาบาล
๒.สหธรรมิกกระสันจะสึก รู้เข้าไปเพื่อห้ามปราม
๓.มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น เช่น วิหารชำรุดลงในเวลานั้น ไปเพื่อหาเครื่องทัพพสัมภาระมาปฏิสังขรณ์
๔.ทายกต้องการบำเพ็ญบุญกุศลส่งคนมานิมนต์ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของเขาได้แม้ธุระอื่นนอกจากนี้ที่เป็นกิจลักษณะอนุโลมเข้าในข้อนี้ด้วย
อนึ่ง วันเข้าพรรษานี้ ถือกันว่าเป็นกรณีพิเศษสำหรับภิกษุสงฆ์ เมื่อใกล้วันเข้าพรรษาควรปัดกวาดเสนาสนะสำหรับจะอยู่จำพรรษาให้ดี ในวันเข้าพรรษา พึงประชุมกันในโรงอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาต่อกันและกัน หลังจากนั้นก็ประกอบพิธีอธิษฐานพรรษา ภิกษุควรอธิษฐานใจของตนเองคือตั้งใจเอาไว้ว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า
“อิมสฺมึ อาวาเส อิมัง เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ แปลว่า ข้าพเจ้าจะอยู่จำพรรษาในอาวาสนี้ตลอด ๓ เดือน”
หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้ว ก็นำดอกไม้ธูปเทียนไปนมัสการบูชาปูชนียวัตถุที่สำคัญในวัดนั้น ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์และพระเถระผู้ที่ตนเองเคารพนับถือๆ
การปฏิบัติตนในวันเข้าพรรษา
สำหรับประชาชนอำเภอเคียนซา พุทธศาสนิกชน จะนิยมบำเพ็ญกุศลเป็นพิเศษ เช่น
๑. ถวายผ้าอาบน้ำฝน พร้อมทั้งสิ่งที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุสามเณร เช่น สบู่ ผงซักฟอก
ยารักษาโรค เป็นต้น
๒. ถวายภัตตาหาร สังฆทาน
๓. ถวายดอกไม้ธูปเทียนเพื่อใช้บูชาพระ
๔. ถวายเทียนพรรษา
นอกจากนี้การบำเพ็ญกุศลพิเศษอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน คือ ควรอธิษฐานใจตนเอง เพื่องดเว้นจากอบายมุขตลอด ๓ เดือน เช่น งดดื่มสุรา งดสูบบุหรี่ งดการเล่นการพนัน และสิ่งที่เป็นอกุศลทั้งปวง แล้วตั้งใจสมาทานในการบำเพ็ญกุศลให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยการสมาทานรักษาอุโบสถตลอด ๓ เดือน ตามการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ การปฏิบัติของคฤหัสถ์เช่นนี้ เรียกว่า “คฤหัสถ์เข้าพรรษา” จะเป็นมหากุศลอย่างยิ่งการบำเพ็ญกุศลนั้น ถ้าจะทำติดต่อกันไปโดยตลอด ไม่เลือกเฉพาะกาลแล้ว ย่อมจะเป็นสิริมงคลแก่ตนเองมากยิ่งนักแล ฯ




Create Date : 03 กรกฎาคม 2552
Last Update : 4 กรกฎาคม 2552 16:00:52 น. 8 comments
Counter : 433 Pageviews.

 
ในปีนี้ "วันเข้าพรรษา" จะตรงกับวันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา

ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา

ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร

ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล

อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่างๆ





โดย: Nunoynaruk วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:31:38 น.  

 
วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น

"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลายๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้

ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา...

อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง


นอกจากนี้ ยังมีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ "ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา" ประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้ มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า – เย็น และในการนี้จะต้องมีธูป - เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบทนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ "วันเข้าพรรษา" จะตรงกับวันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552










โดย: Nunoynaruk วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:34:21 น.  

 


โดย: zenchompoo วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:20:00:28 น.  

 
ขออนุโมทนาสาธุค่ะ


โดย: Budratsa วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:1:57:48 น.  

 
ธรรมะสวัสดี...ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแผ่พระธรรมคำสอน

ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า...ขออนุโมทนาสาธุ

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง


โดย: Nunoynaruk วันที่: 6 กรกฎาคม 2552 เวลา:13:27:41 น.  

 
สวย


โดย: คิว IP: 125.26.244.235 วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:15:00:05 น.  

 
สวยมาก


โดย: ปลา IP: 118.173.242.10 วันที่: 18 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:53:34 น.  

 
หล่อมาก


โดย: พีพี IP: 118.173.242.10 วันที่: 18 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:55:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Nunoynaruk
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Nunoynaruk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.