space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2565
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
space
space
2 กุมภาพันธ์ 2565
space
space
space

สายตาสั้นแต่ไม่อยากใส่แว่น รักษาอย่างไรได้บ้าง?
เพราะวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้เป็นตัวเร่งให้เกิดอาการทางสายตา หรือภาวะสายตาสั้น เช่นการใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ หรือการอ่านหนังสือเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่พักสายตา ภาวะสายตาสั้นที่ไม่รุนแรงอาจไม่ใส่แว่นได้ แต่หากเริ่มมีผลกระทบอาจต้องแก้ปัญหาด้วยการใส่แว่น ใส่คอนแทคเลนส์ หรือเข้ารับการรักษา เป็นต้น

สายตาสั้น

ภาวะสายตาสั้น (Myopia)

ภาวะสายตาสั้น (Myopia หรือ Nearsightedness) หรือที่เรียกกันว่า สายตาสั้น คือการที่มองวัตถุที่อยู่ระยะไกลไม่ชัดอันเนื่องมาจากความผิดของกระบอกตาที่ยาวกว่าปกติ หรือกระจกตาที่โค้งเกินไป จนการหักเหของแสงผิดปกติ ทำให้จุดรวมแสงจะไปรวมตัวกันก่อนที่จะถึงจอประสาทตา ภาพที่เห็นจึงไม่คมชัด หรือเบลอนั่นเอง
 

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้น

ดังที่ได้กล่าวไป สายตาสั้นเกิดจากความผิดปกติของกระจกตาที่โค้งเกินไป หรือกระบอกตาที่ยาวไป ทำให้เวลาแสงกระทบไปไม่ถึงจอประสาทตา การเกิดภาพจึงไม่ชัด สายตาสั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เกิด หรือในช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโต และสามารถมีภาวะสายตาสั้นได้ทั้งข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ส่วนสาเหตุของการเกิดภาวะสายตาสั้นนั้นมีหลายปัจจัย ดังนี้

ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะสายตาสั้น

  • สายตาสั้นกรรมพันธุ์
ภาวะสายตาสั้นนั้น สามารถส่งต่อทางกรรมพันธ์ได้ ความผิดปกติจากกรรมพันธุ์ที่ส่งผลมาถึงลูกหลาน ทำให้ลูกหลานที่ได้รับความผิดปกตินี้มามีกระบอกตาที่ยาวกว่าปกติ จึงทำให้แสงไม่สามารถกระทบไปถึงจอประสาทตาได้ โดยโอกาสของลูกหลานที่เกิดมาพร้อมภาวะนี้จะมีมากขึ้นถ้าคนในครอบครัวหรือพ่อแม่สายตาสั้น
  • สายตาสั้นจากพฤติกรรม
ผู้ที่ใช้สายตามาก ๆ หรือการที่ตาได้รับแสงที่มากจนเกินไป หรือจ้องมองวัตถุโดยที่มีแสงที่น้อยเกินไป เช่น การอ่านหนังสือ การใช้คอมพิวเตอร์ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สายตาสั้นเร็วขึ้นได้
 

อาการของภาวะสายตาสั้น

สายตาสั้นอาการที่หลาย ๆ คนอาจไม่รู้ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนนี้คุณกำลังมีภาวะสายตาสั้น? หากคุณมีภาวะสายตาสั้นโดยทั่วไปจะมีปัญหาด้านการมองเห็น และปัญหาอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้
  • มองเห็นวัตถุระยะใกล้ได้ชัดเจน แต่มองวัตถุระยะไกลได้ไม่ชัด
  • ต้องเพ่งสายตาหรือหรี่ตา หรือปิดตา 1 ข้างเพื่อมองให้ชัด
  • อาการปวดศีรษะจากการเพ่งมอง
  • เมื่อใช้สายตามากเกินไป จะมีอาการปวดล้าที่ตา หรือ/และมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย
  • ในบางคนอาจมองไม่เห็นหรือ/และไม่ชัดในที่มืด
สำหรับอาการสายตาสั้นรุนแรงนั้นมักเกิดจากกรรมพันธุ์ สามารถสังเกตได้จากเด็กเล็กที่มักจะเดินชน หกล้มบ่อย ๆ หรือเวลามองจะยื่นหน้าเข้าใกล้วัตถุนั้นมาก ๆ และในบางรายที่อาการรุนแรงมาก อาจมีเลือดออกที่จอตา จอประสาทตาลอก หรืออาการตาเขร่วมด้วย หรือถ้าร้ายแรงสุดอาจถึงขั้นตาบอดได้
 

สายตาสั้นมีกี่ระดับ

สายตาสั้นเกิดจาก

ในทางการแพทย์สามารถจำแนกระดับของความผิดปกติของสายตาได้จากหน่วยวัดที่เรียกว่า ไดออปเตอร์ (D) หากค่าไดออปเตอร์นี้ติดลบ แสดงว่ามีภาวะสายตาสั้น ระดับความสายตาสั้นนั้นสามารถจำแนกคร่าว ๆ ได้ 2 ระดับ คือ
  • สายตาสั้นระดับปกติ : ผู้ที่มีสายตาสั้นในช่วง -0.25 ถึง -3.00 จะจัดอยู่ในระดับปกติ 
  • สายตาสั้นระดับมาก : ผู้ที่มีสายตาสั้นในช่วง -6.00 ขึ้นไปจะจัดอยู่ในระดับมาก อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น การเกิดต้อ จอประสาทตาหลุด เป็นต้น
 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะสายตาสั้น

เพราะสายตาสั้นนั้นไม่ใช่แค่การมองวัตถุไม่ชัดเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีผลข้างเคียงอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่น
  1. ปวดศีรษะ ปัญหาส่วนใหญ่ของผู้ที่มีสายตาสั้นคือ การเพ่งโดยไม่รู้ตัวเพื่อให้มองวัตถุได้ชัดขึ้น และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงนี้ และในบางรายอาจเป็นไมเกรนได้ 
  2. คุณภาพชีวิตแย่ลง เพราะการมองเห็นที่ไม่ชัด ทำให้การทำงานหรือการเรียนเป็นไปได้ลำบากมากขึ้น 
  3. อันตรายจากการมองไม่ชัด โดยเฉพาะการต้องควบคุมเครื่องมือที่มีอันตราย หรือการขับรถ การมองเห็นที่ไม่ดีอาจนำไปสู่อุบัติเหตุได้
  4. ปัญหาสุขภาพตาอื่นๆ ในผู้ที่มีสายตาสั้นมาก อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น โรคต้อ หรือโรคจอประสาทตาลอก เป็นต้น
 

การวินิจฉัยภาวะสายตาสั้น

ภาวะสายตาสั้น

การทดสอบสายตาสั้น นอกจากเราสามารถสังเกตเองได้คร่าว ๆ จากอาการที่เกิด การพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพตาก็เป็นอีกทางเลือกเพื่อให้การวินิจฉัยโรคเป็นไปได้อย่างถูกต้องและแม่นยำขึ้น ในทางการแพทย์นั้นจะมีหน่วยวัดระดับค่าสายตา หรือที่เรียกว่า ไดออปเตอร์ เป็นตัวบ่งชี้ว่าตาเรานั้นมีภาวะสายตาสั้นหรือยาวหรือไม่ โดยการวินิจฉัยนั้นมีหลายวิธี เช่น
  • การตรวจวัดสายตา โดยแพทย์จะให้เราอ่านตัวอักษรที่ขนาดต่าง ๆ ในระยะทางที่กำหนด เพื่อประเมินระยะการมองเห็น
  • การวัดกำลังสายตา (Phoropter) แพทย์จะใช้อุปกรณ์เพื่อวัดกำลังสายตา ว่าวัดความผิดปกติของสายตา
  • การวัดด้วยเรติโนสโคป (Retinoscopy) แพทย์จะใช้เครื่องเรดิโนสโคปในการฉายแสงเข้าที่ดวงตา และดูแสงที่สะท้อนกลับมาเพื่อประเมินความผิดปกติของสายตา
เมื่อประเมินได้ว่าเรามีปัญหาด้านสายตา แพทย์จะให้วัดสายตาอีกครั้งด้วยการใส่แว่นตาที่มีเลนส์ค่าสายตาต่าง ๆ เพื่อประเมินการมองเห็น และสามารถสั่งจ่ายแว่นที่มีค่าสายตาที่เหมาะสมกับเราได้
 

วิธีรักษาสายตาสั้น

หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า สายตาสั้นรักษาได้ไหม หรือ สายตาสั้นกลับมาปกติได้ไหม หากได้รับการแก้ปัญหา หรือการรักษาที่ถูกวิธีก็สามารถทำให้การมองเห็นกลับมาปกติได้ ตามหลักการนั้นการรักษาสายตาสั้นจะเป็นการทำให้แสงที่เข้ามานั้นสามารถไปกระทบกับจอประสาทตาได้ตรงจุด

ดังนั้นจึงมีวิธีรักษาหลายแบบ ทั้งใส่อุปกรณ์เพื่อช่วยให้แสงสามารถหักเหเข้าสู่จอประสาทตาได้ หรือการผ่าตัด

รักษาสายตาสั้น

การใส่แว่นสายตา

เป็นวิธีแก้ไขสายตาสั้นที่นิยมมากสุดเพราะง่ายและปลอดภัย โดยเราจะต้องทำการวัดค่าสายตาเพื่อให้สามารถเลือกเลนส์ของแว่นตาที่เหมาะสมกับสายตาได้ โดยเลนส์แว่นตาที่เหมาะสมนั้นจะต้องสามารถหักเหแสงที่เข้าตาไปถึงจุดจอประสาทตาได้เพื่อให้การมองเห็นคมชัดเหมือนคนสายตาปกติ

น้ำหนักและความหนาของเลนส์นั้นจะยิ่งมากขึ้นหากค่าสายตามาก และเมื่ออายุมากขึ้นค่าสายตาจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นอาจจำเป็นต้องมีแว่นสายตาหลายแบบเพื่อรองรับกับการใช้งานนั้น ๆ และแว่นสายตายังมีข้อจำกัดอื่น ๆ คืออาจรู้สึกรำคาญ หรือไม่สะดวกเวลาเล่นกีฬา เป็นต้น

โดยปกตินั้นสายตาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นควรตรวจวัดค่าสายตาอย่างน้อยปีละครั้ง เมื่อค่าสายตาเปลี่ยนไป จำเป็นต้องเปลี่ยนแว่นสายตาเพื่อให้ค่าสายตาและแว่นสายตานั้นสัมพันธ์กัน แต่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ค่าสายตาจะเริ่มคงที่ จึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อย ๆ

การใส่คอนแทคเลนส์

    วิธีแก้ไขสายตาที่ก็เป้นที่นิยมเช่นกันคือการใส่คอนแทคเลนส์ ซึ่งจะเข้ามาแก้ปัญหาความหนักของเลนส์จากแว่นสายตา หรือความไม่สะดวกจากการใส่แว่นสายตาได้ เพราะคอนแทคเลนส์มีน้ำหนักเบา ชิ้นเล็ก สามารถใส่เข้าไปในตาได้เลย

    แต่หากใส่ติดต่อกันนานเกินไป หรือดูแลความสะอาดไม่ดี การใส่คอนแทคเลนส์อาจเป็นข้อเสียที่ร้ายแรงได้จากเกิดอาการตาล้า ตาแห้ง หรือการติดเชื้อและเกิดบาดแผล ในดวงตา หากใส่คอนแทคเลนส์และมีอาการผิดปกติ เช่น แสบตา น้ำตาไหลมาก เคืองตา ตาแดง ควรถอดคอนแทคเลนส์ออกและพบแพทย์ทันที

    การผ่าตัดรักษาสายตาสั้น

      สำหรับผู้ที่ไม่ชอบการใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ การรักษาด้วยการผ่าตัดจะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ต้องมีแว่นสายตามาบดบังใบหน้า หรือต้องคอยระวังการใส่คอนแทคเลนส์ โดยวิธีผ่าตัดรักษาสายตาสั้นมีหลายวิธี ดังนี้
      • การทำเลสิค  (LASIK)
      การทำเลสิค เป็นใช้เลเซอร์ (excimer laser) สลายเนื้อเยื่อกระจกตาเพื่อปรับความโค้งของกระจกตาให้จุดรวมแสงตกอยู่บนจอประสาทตาพอดี ช่วยให้กลับมามองชัดได้ปกติโดยไม่ต้องใส่แว่น

      แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยเลสิคจะต้องมีกระจกตาที่หนามากพอ เพราะการทำเลสิคส่งผลให้กระจกตาบางลง และอาจได้รับผลข้างเคียงจากการที่กระจกตาบางเกินไป นอกจากนี้หากสายตาสั้นลงหลังจากทำเลสิกแล้ว อาจกลับมาทำซ้ำได้ยาก ต้องกลับมาใส่แว่นสายตาเพื่อช่วยการมองเห็น
      • รีแลกซ์สมายล์ (Relex Smile)
      รีแลกซ์สมายล์เป็นเทคนิคการผ่าตัดที่พัฒนามาจากเลสิค โดยจะใช้ femtosecond laser มาแยกชั้นกระจกตาเป็นรูปเลนส์ และนำมาผ่าแผลเล็ก ๆ เพื่อปรับความโค้งของกระจกตาให้เหมาะสมกับค่าสายตา โดยวิธีนี้จะรบกวนเส้นประสาทกระจกตาน้อยกว่าเลสิคปกติ และการพักฟื้นน้อยกว่า ยิ่งไปกว่านั้นยังแก้ปัญหาที่ผู้ทำเลสิคจะต้องมีกระจกตาที่หนาอีกด้วย 
      • เฟมโตเลสิค (Femto LASIK)
      เฟมโตเลสิคเป็นการผ่าตัดแบบเลสิค แต่จะใช้ femtosecond laser ในการแยกชั้นกระจกตาก่อนที่จะใช้ excimer laser สลายเนื้อเยื่อกระจกตา ซึ่งเป็นการผ่าตัดโดยไม่ใช้ใบมีด และมีข้อได้เปรียบกว่าการทำเลสิคแบบดั้งเดิม เช่น ภาวะแทรกซ้อนในการแยกชั้นกระจกตา เช่น ฝากระจกตาทะลุ ไม่เรียบเสมอกัน การติดเชื้อหลังผ่าตัดน้อยกว่าแบบดั้งเดิม เป็นต้น
      • พีอาร์เค (Photorefractive Keratectomy หรือ PRK)
      พีอาร์เคเป็นการยิงเลเซอร์เพื่อไปทำลายเนื้อเยื่อและเปลี่ยนรูปร่างของกระจกตา หลังทำพีอาร์เคจำเป็นต้องใส่คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ และต้องพักฟื้นหลายเดือนก่อนจะกลับมามองเห็นได้ชัดปกติ
      • Implantable Collamer Lens หรือ ICL
      สำหรับผู้ที่มีปัญหากระจกตาบาง หรือมีภาวะตาแห้งจนไม่สามารถรักษาด้วยวิธีเลสิคได้ การทำเลนส์เสริม ICL จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสายตา โดยแพทย์จะเพิ่มเลนส์เสริมนี้ไปบริเวณหลังม่านตาและหน้าเลนส์แก้ว เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับเลนส์ตาธรรมชาติ และเลนส์เสริมนี้ยังสามารถถอดออกได้หากสายตาเปลี่ยน โดยไม่ทำให้กระจกตาบางลงอีกด้วย
       

      วิธีป้องกันภาวะสายตาสั้น

      ป้องกันสายตาสั้น

      ภาวะสายตาสั้นไม่สามารถป้องกันหรือมียารักษาได้อย่างแน่นอน ทำได้เพียงชะลอไม่ให้สายตาสั้นลงอย่างรวดเร็วได้ หรือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เร่งให้สายตาสั้นลงได้ เช่น
      • ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ หากเริ่มมีปัญหาสายตาจะได้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที
      • ป้องกันไม่ให้ตาได้รับแสงที่จ้าเกินไป เช่นการใส่แว่นกันแดด
      • ควรพักสายตาจากการอ่านหนังสือ หรือใช้คอมพิมเตอร์เป็นระยะ เพื่อไม่ให้ตาทำงานหนักเกินไป
      • รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น อาหารที่มีวิตามิน A เป็นต้น
      • สังเกตตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากการมองเห็นลดลงกระทันหัน ตาพร่ามัว หรือเห็นจุดสีดำ นั่นเป็นสัญญาณของโรคต้อ โรคจอประสาทตาลอก โรคหลอดเลือดสมอง ควรรีบพบแพทย์ทันที
       

      ข้อสรุป

      ภาวะสายตาสั้นเป็นอาการที่มองวัตถุระยะใกล้ได้ชัดเจน แต่การมองเห็นระยะไกลไม่ชัด อันเนื่องมาจากกระบอกตาที่ยาวกว่าปกติ หรือความโค้งของกระจกตาที่มากไปจนทำให้การหักเหของแสงกระทบไปไม่ถึงจอประสาทตา

      การแก้ปัญหาภาวะสายตาสั้นมีหลายวิธี เช่น ใส่แว่นสายตา ใส่คอนแทคเลนส์ หรือรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เราสามารถเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อเข้ารับคำแนะนำในการรักษาภาวะสายตาสั้นที่เหมาะสมแต่ละบุคคลได้


      Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2565
      Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2565 15:14:33 น. 1 comments
      Counter : 1378 Pageviews.

       
      ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ

      [url=https://g2g168p.bet/]g2g168p[/url]


      โดย: lhlhl (สมาชิกหมายเลข 6923951 ) วันที่: 4 พฤษภาคม 2565 เวลา:0:56:39 น.  

      ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
      Comment :
        *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
       
      space

      สมาชิกหมายเลข 6686951
      Location :


      [ดู Profile ทั้งหมด]

      ฝากข้อความหลังไมค์
      Rss Feed
      ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






      space
      space
      [Add สมาชิกหมายเลข 6686951's blog to your web]
      space
      space
      space
      space
      space