Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
4 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 

งาน สยามสมัย ๑๒๕ ปี ไปรษณีย์ไทย






งาน สยามสมัย ๑๒๕ ปี ไปรษณีย์ไทย

กิจการไปรษณีย์มีจุดเริ่มต้นและเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2426

จวบจนถึงปีนี้ พุทธศักราช 2551 จึงเป็นปีที่บรรจบครบรอบ 125 ปีของกิจการ “ไปรษณีย์ไทย”


ตลอดระยะเวลาอันยาวนานเกินกว่าศตวรรษของกิจการไปรษณีย์ของประเทศไทย ได้เผชิญ

ความเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย จากรัฐพาณิชย์สู่รัฐวิสาหกิจ จนมาเป็นบริษัท ไปรษณีย์ไทย

จำกัด ที่ยังคงสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจวันนี้ กิจการไปรษณีย์ไทยได้ปรับตัวและปรับปรุงการ

ดำเนินงานตลอดมา จนสามารถสร้างความเติบใหญ่ ขยายกิจการออกไปสู่ภูมิภาคทั่วถึงในทุก

พื้นที่ของประเทศไทย และมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับการไปรษณีย์ทั่วโลก


นับจากการจัดตั้งกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทยในปี 2426 ก็ได้มีการนำกิจการไปรษณีย์

สู่สากล ด้วยการเป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์ หรือยูพียู ในวันที่ 1 ก.ค. 2428 นับเป็น

ลำดับต้น ๆ และยังเป็นกลุ่มประเทศแรกๆของประเทศในทวีปเอเชีย


ดังนั้นการจัดงานในโอกาสเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 125 ปี ไปรษณีย์ไทยในครั้งนี้ จึงนับ

เป็นวาระที่มีความสำคัญและเป็นพิเศษยิ่ง เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้เห็นคุณค่าขององค์กร

ที่อยู่มานาน พิสูจน์คุณค่าผ่านกาลเวลา และวันนี้ไปรษณีย์ไทยก็เป็นหนึ่งในวิถีชีวิตเชื่อมโยง

ใกล้ชิดคนไทย


นอกจากจะเป็นการเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 125 ปี ของกิจการและดวงตราไปรษณียากร

ดวงแรกของไทยแล้ว ยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติเพื่อแสดงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแด่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานกำเนิดกิจการไปรษณีย์ใน

ประเทศไทย และเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 150 ปี สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข

เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระบิดาแห่งการไปรษณีย์ไทย ผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์

และอธิบดีกรมโทรเลขคนแรก


ในโอกาสเดียวกันนี้ ยังเป็นการสร้างพันธมิตรองค์กรที่มีประวัติศาสตร์แห่งพัฒนาการ

ยาวนานเช่นเดียวกับการไปรษณีย์


ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็นสถานที่จัดงานในครั้งนี้ ระหว่างวันที่ 1 – 10 สิงหาคม

2551 โดยจะมีรูปแแบบและบรรยากาศของการจัดงานในลักษณะ “สยามย้อนยุค”

เพื่อสร้างกลิ่นอายให้ผู้ร่วมชมงานได้มีมุมมองถึงวิถีชีวิตในอดีตหลากหลายรูปแบบ

โดยเฉพาะบรรยากาศของถนนเจริญกรุง ที่ตั้งของกรมไปรษณีย์โทรเลข ไปรษณียาคารจำลอง

ที่ทำการไปรษณีย์ที่เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในปี 2426


ผู้ร่วมชมงานจะได้รับทราบเรื่องราวอันยาวนานผ่านนิทรรศการ “บนเส้นทาง 125 ปีไปรษณีย์

ไทย” นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

พระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณูปการในการวางรากฐานกิจการไปรษณีย์ โดยมีการอัญเชิญ

“พระราชหัตถเลขาที่เกี่ยวข้องกับกิจการไปรษณีย์” มาจัดแสดง พร้อมๆ กับตราไปรษณียากร

ชุดแรกของประเทศไทย


นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์

บอกเล่าเรื่องราวไปรษณีย์ในยุคก่อตั้ง ไปรษณียาคาร โปสต์แมน และของใช้ส่วนพระองค์


นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ผ่านดวงแสตมป์

โดยเฉพาะชุดสำคัญ เช่น ชุดแสตมป์ชุดแรกในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9


นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยจะอัญเชิญ

สิ่งสะสมส่วนพระองค์เกี่ยวกับไปรษณียบัตร ซองที่ระลึก และแสตมป์นำมาจัดแสดงเป็นครั้งแรก


นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ เกี่ยวกับความสนพระทัยในการสะสมโปสการ์ด แสตมป์ และพระราชนิพนธ์ “

ไปรษณียบัตรเจ้าฟ้าฯ”


นอกจากนี้จะมีสิ่งแสดงที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับการไปรษณีย์ไทย และแสตมป์ดวงแรก

ที่มีมูลค่าของประเทศที่สำคัญๆ ในแต่ละทวีปมาจัดแสดงเป็นพิเศษ โดยได้รับความเอื้อเฟื้อจาก

สมาคมนักสะสมตราไปรษณียากรแห่งประเทศไทย


การจัดงานในแนวคิด “สยามสมัย 125 ปี ไปรษณีย์ไทย” ครั้งนี้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

ได้เชิญองค์กรพันธมิตรร่วมสมัยเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เช่น องค์กรที่เคยอยู่ภายใต้กรมไปรษณีย์

โทรเลขในยุคก่อตั้ง เช่น ธนาคารออมสิน กรมประชาสัมพันธ์ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท

กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการ

กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. รวมถึงกิจการที่ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 5 และห้าง

ร้านที่อยู่คู่สังคมไทยมายาวนาน เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ โอสถสภา ห้างเซ็นทรัล เป็นต้น


งานนี้น่าจะเรียกได้ว่าเป็นงานย้อนยุคที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะได้ตกแต่งสถานที่

ให้มีโซนจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ เพื่อการสะสมทุกประเภท เช่น ร้านแสตมป์ โปสการ์ด ร้านถ่ายรูป

ร้านขายยา ร้านหนังสือ แผ่นเสียง และร้านขายของเพื่อการสะสม

//www.125yearsthailandpost.com/about_concept.php





เมื่อวันอาทิตย์ย่าไปเที่ยวที่ศูนย์ประชมแห่งชาติสิริกิตต์มาค่ะ

เห็นว่างานเขาจัดดีจึงอยากจะเชิญชวนให้ไปเที่ยว

เซนทรัลก็ไปออกบูท เกี่ยวกับทีมาของเซนทรัล

ภาพนี้เป็นถุงใส่ของตั้งแต่ยุคแรกของเซ็นทรัล จึงถึงปัจจุบัน





บ้านรำวงสโมสร-โรตารี-ปทุม





เก้าอี้ตัดผมสมัยเก่า





งานนี้นับว่าประสพความสำเร็จอย่างงดงาม มีคนจองบูทกันอย่างล้นหลาม

คนไปเที่ยวในวันอาทิตย์ก็นับว่าเยอะทีเดียว จะมีถึงวันที่ 10 สิงหาคมนี้





มีตู้ให้ทิ้งหนังสือที่ต้องการบริจากด้วย





ดิสเพลย์ดอกกล้วยไม้สวยๆ เก็บมาฝากค่ะ





ต้นกกและธูปฤาษีก็นำมาประดับได้เก๋ดี





มีของเล่นโบราณจำหน่าย





เซนทรัล วังบูรพา





ย่าชอบโคมไฟโบราณแบบนี้จัง





ตรงนี้ย่าอยากถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกจัง

วานให้สาวที่ผ่านมาถ่ายให้ เธอบอกชัตเตอร์กดไม่ลง

เลยอด





ภาพสวยๆที่ฝาบูท น่าไปแอคท่าถ่ายรูปจัง





บรรยากาศเก่าๆ





เซ็นทรัล ครบ 60ปี





รถโบราณในงาน คนไปแอคท่าถ่ายรูปข้างรถนี้กันเยอะเลย





ภายในงาน





โคมไฟโบราณสวยๆ





โทรศัพท์โบราณ





อีกแบบ





ร้านถ่ายรูปย้อนยุค





บูทแต่ละที่ตกแต่งสวยงาม





รถโบราณอีกรูป





ตู้ไปรษณีย์คลาสสิค





ชุดสมัยเก่า





สาธิตการละเล่นสมัยโบราณ โดยใช้ใบไม้เป็น"อีตัก" ส่วนที่ใช้เล่นเป็นเมล็ดน้อยหน่า

สมัยเด็กย่าเคยเล่นใช้หว่านแล้วก็ตักทีละเม็ด โดยไม่ให้โดนเม็ดอื่น พอครั้งที่สอง

ตักทีละ2เมล็ด โดยไม่ให้โดนเมล็ดอื่นเหมือนกัน


ครั้งที่3 ก็สามเมล็ด จนกว่าจะหมด เทคนิคอยู่ที่การหว่านเมล็ดให้กระจายมากน้อย

ตามที่ต้องการ





เมนูอาหาร คราวงานเลี้ยงราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ

ลวดลายอ่อนช้อยสวยงามมาก

ย่าไปดูงานศิลป์แผ่นดิน ของแต่ละชิ้นสวยงามอ่อนช้อยละเอียดยิบ

ถ่ายรูปไม่ได้ค่ะ มางานนี้ได้ถ่ายเมนูอาหารก็พอใจแล้วค่ะ


งานศิลป์แผ่นดินย่าเชียร์ให้ไปชมกันนะคะ คุ้มค่ามากๆค่ะ





การแสดงบนเวที





สาวน้อยถ่ายรูปกับนายไปรษณีย์





สำหรับท่านที่เป็นนักสะสมสแตมป์ ไม่ควรพลาดงานนี้นะคะ

มีสแตมป์ให้เลือกซื้อหามากมาย ถึงไทยประต่างประเทศ





รถรางเห็นแล้วทำให้นึกถึงสมัยย่าเป็นนักเรียน นั่งไปบางลำพูเพื่อซื้อกุหลาบ

มอญมาร้อยมาลัย





ถ่ายโฆษกสาวมาฝากหนุ่มๆ





เล่าถึงส่วนผสมของแป้งพวง

ได้ความรู้ดีค่ะ


------------


แป้งพวง หนึ่งในเครื่องหอมไทยที่ทำขึ้นมาจากแป้งหิน ซึ่งเป็นแป้งสมุนไพรคล้ายคลึง

กับแป้งดินสอพอง สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วไป ที่เลือก

แป้งหินมาทำเป็นแป้งพวง เนื่องจากแป้งหินสามารถแข็งตัวได้ดี เมื่อนำมาทำเป็นพวง

ซึ่งบีบไปบนเส้นด้ายเกาะตัวได้เร็วกว่า และไม่ร่วนหลุดจากเส้นด้าย แข็งเกาะเส้นด้ายได้ดี

สามารถนำมาทำเป็นพวงได้ ในขณะที่แป้งดินสอพองไม่สามารถนำมาทำได้เพราะแข็งตัวได้ช้า


ความพิเศษของแป้งพวงมีกลิ่นหอมที่เกิดขึ้นจากการอบเทียนหอม และน้ำปรุง น้ำอบไทย

ช่วยเพิ่มบรรยากาศหอมสดชื่นภายในห้อง เช่นเดียวกับน้ำหอมสังเคราะห์ หรือบุหงาใส่ผ้า

จากเดิมในอดีตแป้งพวงหรือแป้งหิน นำไปใช้ผูกกับที่ติดผมหรือกิ๊ฟติดผม ผู้หญิงสาวก็จะ

นำมาใช้ติดผมหรือทัดหู ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมแทนน้ำหอมได้ อย่างเช่น นางรำในสมัยก่อนจะ

ใช้แป้งพวงติดผมหรือทัดหู แต่ปัจจุบันหญิงสาวก็ไม่ได้นำเครื่องหอมแป้งพวงนี้กลับมาใช้อีก

เพราะมีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยาก และเป็นงานฝีมือ การแต่งตัวของผู้หญิงไทยก็เปลี่ยนไปออก

แนวแฟชั่นมากขึ้น การนำแป้งพวงมาประดับทัดหูก็คงจะดูโบราณ ไม่ทันสมัย การทำแป้งพวง

จึงไม่ได้ทำขึ้นมาอีก


ทางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ ได้นำแป้งพวงกลับขึ้นมาทำอีกครั้ง

แต่ได้เปลี่ยนรูปแบบไป โดยดัดแปลงไปเป็นรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ได้ในปัจจุบัน อย่างเช่น

ที่แขวนหน้ารถ หรือที่แขวนไว้ภายในห้องนอน แทนการใช้ผลิตภัณฑ์ปรับอากาศ หรือทำเป็น

เข็มกลัดติดเสื้อ โดยออกมาเป็นรูปแบบของชำร่วยใช้เป็นของที่ระลึกในงานพิธีต่างๆ เช่น

งานมงคลสมรส หรือจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์กิฟต์ช็อป และสามารถนำไปใช้ในวันสงกรานต์

เป็นแป้งปะหน้าสำหรับใช้เล่นในวันสงกรานต์ได้ด้วย เพราะความหอมที่เป็นกลิ่นเฉพาะตัว

ใช้แทนแป้งดินสอพอง หรือนำมาใช้เป็นแป้งทาหน้าได้โดยไม่เป็นอันตราย เพราะเป็นผลิต

ภัณฑ์จากสมุนไพรที่มาจากธรรมชาติทั้งหมด


สำหรับความน่าสนใจของแป้งพวงกับบุคคลทั่วไปที่ได้พบเห็น พบว่าเมื่อได้นำมาโชว์ภายใน

งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ที่ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อวันที่

1-5 กันยายน ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่ได้นำแป้งพวงแนะนำให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จัก มีผู้ให้ความสนใจ

ค่อนข้างมาก มาว่าจ้างให้ทำของชำร่วยในงานพิธีต่างๆ เพราะชอบในกลิ่นหอมของแป้งพวง

ซึ่งต่อไปคงต้องพัฒนารูปแบบให้เลือก และดูน่าสนใจมากขึ้น มีผู้ให้ความสนใจที่จะศึกษาและ

เรียนรู้เป็นจำนวนมากเช่นกัน ในงานนี้มีเครื่องหอมมาโชว์หลายตัว และได้มาสาธิตขั้นตอนการ

ทำการสอนให้กับบุคคลทั่วไป เช่น การทำน้ำปรุง การทำน้ำอบ บุหงาใส่ผ้า แป้งพวง เป็นต้น

ผู้สนใจสามารถติดต่อเรียนได้ที่สถาบันฯ และจากกระแสสมุนไพรที่มาแรง ตัวช่วยกระตุ้นให้

คนหันกลับมาให้ความสนใจกับเครื่องหอมมากขึ้น


การทำแป้งพวงเป็นงานฝีมือที่ต้องใช้เวลา เพราะเป็นงานที่ละเอียด ทำให้งานแต่ละชิ้นมีราคา

ค่อนข้างสูง โดยได้ตั้งราคาแป้งพวงแขวน และแป้งพวงเข็มกลัด ในราคาชิ้นละ 50 บาท กลิ่นหอม

จะไปได้ไกลพอสมควร กลิ่นจะขึ้นอยู่กับปริมาณด้วย ส่วนระยะเวลาของกลิ่นจะอยู่ได้ประมาณ

1 เดือน ถึง 1 เดือนครึ่ง กลิ่นจะค่อยจางหายไปเอง การพัฒนางานแป้งพวงเป็นการพัฒนารูปแบบ

ออกมาให้เลือกหลากหลายมากขึ้น และการพัฒนาแพ็กเกจจิ้งบรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน

เก็บกลิ่นได้จนกว่าลูกค้าจะได้ซื้อไปใช้งานจริง


สำหรับขั้นตอนการทำแป้งพวงเพื่อให้มีกลิ่นหอม จะต้องผ่านการอบ โดยใช้การอบเทียน ประมาณ

10-20 ครั้ง โดยความหอมที่ใช้อบจะมาจากน้ำอบไทยและน้ำปรุง ควันหอมจากการอบจะซึมเข้าไป

ในตัวแป้ง ขั้นตอนการทำยังคงใช้รูปแบบดั้งเดิมในทุกขั้นตอน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยุ่งและต้องใช้เวลา

มาก ถ้ามีการปรับการอบโดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย จะช่วยให้ขั้นตอนการทำได้ง่ายขึ้น และใช้

เวลาน้อยลง การอบครั้งหนึ่งต้องใช้เวลาครึ่งชั่วโมง และอบ 20 ครั้ง ต้องใช้เวลาเป็นวัน


นอกจากนี้ ในส่วนของการทำน้ำอบ น้ำปรุงทำขึ้นเองจากวัสดุธรรมชาติ พืช เช่น ดอกไม้ต่างๆ

เช่น กระดังงา มะลิ ชมนาด ลำเจียก ใบ เช่น ใบเนียม เตยหอม ตะไคร้หอม เมล็ด เช่น จันทร์เทศ

เปลือก และแก่น เช่น จันทน์เทศ กฤษณา อบเชยผล เช่น ส้มมือ หรือส้มโอมือ มะกรูด เป็นต้น

จากสัตว์ เช่น ชะมดเช็ดได้จากชะมด วัสดุที่ได้จากการสังเคราะห์ของหอม จากสารสังเคราะห์

ที่มีอยู่ทั่วๆ ไป ก็คือหัวน้ำมันหอมต่างๆ ที่มาในลักษณะของเพอร์ฟูม ออยล์ ซึ่งเป็นน้ำมันเหลว

มีกลิ่นแรง ส่วนมากจะมีสีเหลืองเข้ม สีเขียว หรืออาจไม่มีสี ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์

หรือแอลกอฮอล์ ไม่ละลายน้ำ เช่น กลีบกุหลาบ กลิ่นกุหลาบทำจากน้ำมันดำ จากถ่านหิน

แอลกอฮอล์ และน้ำมันกลิ่นดอกหญ้าผสมกัน ซึ่งต้องการให้วัยรุ่นคนไทยหันมาใช้เครื่องหอม

น้ำปรุง จากวัสดุตามธรรมชาติที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมจะดีกว่า เพราะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตราย


การทำเครื่องหอมไทย ภูมิปัญญาไทยกลับมาอีกครั้ง เมื่อถูกนำมาดัดแปลงให้สามารถนำไป

ใช้งานได้จริง และสร้างบรรยากาศกลิ่นหอมสดชื่นในอดีต จากพืชพรรณธรรมชาติเป็นอีกทาง

เลือกหนึ่งในการสร้างอาชีพได้ เพราะในตลาดของชำร่วยในงานมงคลสมรส มีมูลค่ามหาศาล

และแป้งพวงของชำร่วยที่จะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค ผู้สนใจเรื่องราวของเครื่องหอม

ติดต่อกลับไปได้ที่ศูนย์วัฒนธรรมราชมงคคล เทคนิคกรุงเทพ ที่อาจารย์นันทวัน

โทร. 0-2287-3211-25 ต่อ 334, 0-1981-1960.


//www.thaipost.net/index.asp?bk=xcite&post_date=6/Sep/2547&news_id=94404&cat_id=200700





ของเล่นโบราณมีให้ซื้อหา





งานนี้มีฉากเก๋ๆให้ถ่ายรูปเพียบ ใครชอบถ่ายรูปกับฉากสวยๆเก๋ๆ ก็พลาดไม่ได้อีกเช่นกัน





สาวงามกับบริษัทย่าเก่าแก่





ไปชมวิดิทัศน์-๑๒๕ปีไปรษณีย์ไทย

น่าชมมาก ย่านั่งชมอยู่สองรอบ

จะกล่าวถึงยุคแต่ละยุคของไปรษณีย์ไทย จวบจนปัจจุบัน





ตรงนี้ไม่ควรพลาด สุดยอดสแตมป์โลก ไปดูแสตมป์ดวงแรกของแต่ละประเทศกัน





แอคชั่นมันๆ ที่รถสามล้อ





นอกจากนี้ยังมีงาน Pet shop expo จัดอยู่อีกโซนหนึ่ง สามารถพาคุณมะหมา

มาเที่ยวงานได้ค่ะ โซนนี้เสียเงินนะคะ





และก็งานหนังสือของอัมรินทร์ ย่าโฉบไปสำรวจ ตบท้ายรายการ


เจอคุณเบิร์ด ธงชัยยิ้มแฉ่งอยู่ขอถ่ายรูปสักหน่อย วานคนแถวนั้นถ่ายให้

อิอิ สังขารย่าไม่น่ามองนัก หากไม่ชอบก็ข้ามๆไปนะคะ 555





สั่งซื้อสมุดมด

สั่งซื้อสมุดสร้างสุข




 

Create Date : 04 สิงหาคม 2551
4 comments
Last Update : 14 พฤษภาคม 2559 20:40:46 น.
Counter : 5535 Pageviews.

 

อยากไปเที่ยงถ่ายรูปมั่งจังเยยค้าบ

ขอบคุณที่นำบรรยากาศมาฝาก

 

โดย: chalawanman 4 สิงหาคม 2551 21:50:44 น.  

 

หูยยยย ย่าดาค่ะ .. เอาภาพบรรยากาศมาฝาก
เราเต็มๆ เลยนะค่ะเนี่ย ดีจังสำหรับคนไม่ได้ไป
ก็มีโอกาสได้มาเที่ยวกับย่าด้วยภาพนี่ล่ะค่ะ

 

โดย: JewNid 5 สิงหาคม 2551 2:01:05 น.  

 



สวัสดีจ้าหนูนิด และคุณชาละวันแมน

 

โดย: ดา ดา 5 สิงหาคม 2551 15:40:20 น.  

 

เสียดายกรมไปรษณีย์ที่ถูกเลิกไป
ขอขอบคุณที่นำภาพมาให้ชมครับ

 

โดย: julapolb IP: 124.121.206.217 5 สิงหาคม 2551 21:52:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ดา ดา
Location :
1 Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Friends' blogs
[Add ดา ดา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.