ให้ธรรมะนำชีวิต แล้วจะเดินไม่หลงทาง
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
3 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 
วิธีสร้างบุญบารมี

“วิธีสร้างบุญบารมี” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้บอกวิธีให้ทานที่จะให้ผลมากต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ วัตถุทาน เจตนา และ เนื้อนาบุญ ซึ่งผมขอสรุปสั้น ๆ และเพิ่มเติมความเห็นส่วนตัว ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 วัตถุทานต้องบริสุทธิ์

วัตถุ ทาน เช่น เงิน สิ่งของ ต้องได้มาด้วยความบริสุทธิ์ ดังนั้น หากฆ่าสัตว์เพื่อถวายอาหารเพลก็ย่อมได้บุญน้อยจนถึงเกือบไม่ได้อะไรเลย หรือถ้าขโมยเงินมาทำบุญ หรือโกงบ้านโกงเมืองมาแล้วทำบุญก็แทบไม่ได้บุญ หรือ หากบังคับเบียดเบียนคนอื่นมาทำบุญก็แทบไม่ได้บุญอะไรเลย รวมถึง พ่อค้าแม่ค้าที่ขายของแพง ๆ เกินควรแล้วเอาเงินมาทำบุญ


ตัวอย่างยายแฟง

สมัย รัชกาลที่ 5 มีหัวหน้าสำนักนางโลมชื่อยายแฟง เรียกเก็บส่วนแบ่งจากโสเภณีในสัดส่วน 25 สตางค์ชักไว้ 5 สตางค์และรวมจนได้เงิน 2,000 บาท แล้วนำไปสร้างวัด เมื่อนมัสการถามหลวงพ่อโต วัดระฆัง ว่าจะได้บุญบารมีอย่างไร หลวงพ่อโตตอบว่า ได้แค่ 1 สลึง เพราะวัตถุทานได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ เบียดเบียนเจ้าของ



องค์ประกอบที่ 2 เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์

จะ เห็นได้ว่าบางคนให้ทานด้วยความโลภ แต่จริง ๆ แล้วเป็นสิ่งตรงข้ามกับจุดมุ่งหมายการให้ทาน เพราะการให้ทานเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่ขี้เหนียว และเจตนาจะต้องสมบูรณ์พร้อม 3 ระยะ ก่อนให้ กำลังให้ และหลังให้ ต้องรู้สึกร่าเริง เบิกบาน ยินดีเพื่อให้คนอื่นมีความสุข และให้ได้บุญมากยิ่งกว่านี้ ก็ต้องให้ทานพร้อมมีวิปัสสนาปัญญาใคร่ครวญถึงวัตถุทานว่าเป็นวัตถุธาตุที่มี ประจำโลก เป็นสมบัติกลางไม่ใช่เป็นของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ เกิดขึ้นก่อนเราเกิดและเมื่อเราตายไปก็เอาไปไม่ได้

นอกจากนี้ ตัวอย่างของเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ ได้แก่

- เบียดเบียนตนเอง ครอบครัว หรือคนใกล้ตัว เช่น มีเงินน้อยแต่ทำเยอะ เมื่อให้แล้วก็จะมีจิตใจเศร้าหมอง

- อยากได้หน้า เรียกว่าทำทานด้วยความโลภ

- ฝืนใจทำ ทำเพราะเสียไม่ได้ เช่น พวกพ้องมาเรี่ยไร ตัวเองไม่ศรัทธาแต่ต้องจำใจทำ เรียกว่าเป็นการทำทานด้วยความตระหนี่ หรือเสียดาย และหากเสียดายมาก ๆ จนเกิดโทสจริต แทนที่จะได้บุญก็จะได้บาป

- ทำด้วยความโลภ เช่น ทำบุญ 100 บาทแต่อธิษฐานขอให้เป็นมหาเศรษฐี ขอให้ถูกหวย ขอให้สวย ทำอย่างนี้ไม่ได้บุญอะไรเลย และสิ่งที่จะพอกพูนขึ้นคือ ความโลภ

ผลของทาน

หากทานมีกำลังไม่มาก ย่อมนำให้ผู้นั้นมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง แต่หากมีกำลังแรงมาก ก็อาจจะน้อมนำให้เกิดเป็นเทวดา และเมื่อเสวยบุญหมดแล้วก็จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ที่ร่ำรวย



ขณะ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ได้เสด็จไปจำพรรษายังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพุทธมารดา และเหล่าเทวดาทั้งหลาย ในคราวแรกๆ มีสองเทพบุตร คือ อังกุระผู้ให้ได้มหาทานแก่ชาวเมืองตลอดทั้งชีวิต ยามเมื่อยังมีชีวิตอยู่ และอินทกะเทพบุตร ผู้ซึ่งได้ถวายข้าวเพียงทัพพีเดียวแก่พระอรหันต์ เทพบุตรทั้งสองเมื่อแรกๆ ได้นั่งคู่กัน แต่เมื่อมีเทวดามาฟังมากๆ เข้า อังกุระเทพบุตรจึงต้องนั่งห่างออกไปเรื่อยๆ ในขณะที่อินทกะเทพบุตรนั้นยังอยู่ที่เดิม

เทวดาที่มีบุญมากกว่าจะมี รัศมีสว่างกว่า ผู้ที่มีรัศมีสว่างกว่าจะอยู่ด้านหน้าเสมอ นี่คือความเป็นธรรดาของเหล่าเทวดา ส่วนเทวดาที่มีรัศมีน้อยกว่าจะทนอยู่ไม่ได้เอง ต้องถอยห่างออกไปด้วยความละอาย อังกุระเทพบุตรนั้นต้องถอยออกไปถึง 12 โยชน์

พระ พุทธองค์ทรงมีพระประสงค์ที่จะประกาศความสมบูรณ์แห่งทักขิไณยบุคคล ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญแก่ผู้มุ่งหวังบุญว่า เมื่อทำทานกับทักขิไณยบุคคลแล้ว ย่อมได้บุญมาก ให้เป็นที่ทราบแก่เทวดาในหมื่นจักรวาล จรึงตรัสถามว่า ดูก่อน อังกุระ เธอได้ให้มหาทานตลอดกาลนาน ทีเดียว แต่เมื่อเธอมาในสำนักของเรา ไฉนจึงต้องนั่งถอยออกไปอยู่ไกลนัก

อังกุระเทพบุตรทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า มหาทานที่ข้าพระองค์บริจาคเป็นอันมากต่อมากนั้น ไม่ได้มีผลไฟศาลเพราะไม่มีทักขิไณยบุคคลมารับทาน เหมือนพืชที่หว่านลงในนา ที่ไม่ดี ฉะนั้น แต่การถวายภัตตาหารแม้เพียงทัพพีเดียวของอินทกะเทพบุตรนั้น มีผลมากมายยิ่งนัก เพราะสมบูรณ์ไปด้วยทักขิไณยบุคคล เหมือนพืชที่หว่านในนาดี ฉะนั้น

เคยมีคนต่างศาสนาทูลถามพระสัมมา สัมพุทธเจ้าว่า ควรให้ทานในที่ไหนพระเจ้าข้า จำเป็นต้องให้เฉพาะในศาสนาของพระองค์หรือ ทรงตรัสตอบว่า คนให้ทานในที่ๆตนเลื่อมใส แต่ผู้นี้มีปัญญามาก จึงถามพระองค์ต่อไปว่า แล้วถ้าอยากได้บุญมากล่ะพระเจ้าข้า ทรงตรัสตอบว่า เมื่ออยากได้บุญมากก็ให้ทานในทักขิไณยบุคคลผู้มีศีลสิ

ส่วนการให้ทานที่จะให้ผลมากขึ้นไปอีก ก็มีเป็นขั้นๆ ดังที่ได้ตรัสกับพระอานนท์ดังต่อไปนี้

ดูก่อนอานนท์ การให้ทานเฉพาะเจาะจงนั้นมี 14 ประการคือ
1. ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลได้ร้อยเท่า
2. ให้ทานให้ปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลได้พันเท่า
3. ให้ทานให้ปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลได้แสนเท่า
4. ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม (ได้ฌานสมาบัติ) พึงหวังผลได้แสนโกฎิเท่า
5. ให้ทานในบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลเป็นอสงไขย (คือนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้)
6. ให้ทานในพระโสดาบัน พึงหวังผลเป็นอสงไขย ทับทวียิ่งขึ้นไป
7. ให้ทานในบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง พึงหวังผลเป็นอสงไขย ทับทวียิ่งขึ้นไปอีก
8. ให้ทานในพระสกทาคามิ พึงหวัง ...
9. ให้ทานในบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง พึงหวัง ...
10. ให้ทานในพระอนาคามิ พึงหวัง ...
11. ให้ทานในบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหันตผลให้แจ้ง พึงหวัง...
12. ให้ทานในพระอรหันต์ พึงหวัง ...
13. ให้ทานในพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ...
14. ให้ทานในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีผลสูงสุดของการให้ทานเฉพาะเจาะจง

ทรง ตรัสกับพระอานนท์ต่ออีกว่า ในอนาคตกาล จะมีแต่เหล่าภิกษุผู้มีเพียงผ้ากาสาวะพันคอ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก แม้คนทั้งหลาย ถวายทานมุ่งต่อสงฆ์หมู่นี้ ไม่ได้มุ่งภวายแต่เฉพาะรูปใด ทานที่ถวายแต่สงฆ์ในกาลนั้น ยังมากกว่าการให้ที่เฉพาะเจาะจงเสียอีก

ทานสูตร
1. ทำทานโดย มีความหวัง คือ มีจิตผูกพันว่าจะไปใช้ผลในทานที่ทำไว้แล้ว
คิดอย่างนี้เมื่อตายไปจะไปเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นแรก
2. ระดับที่2 ทำทานเพราะมีความเห็นว่า ทานเป็นของดีควรทำ นี่ตายแล้วไปอยู่ดาวดึงส์ สวรรค์ชั้นที่2
3. ระดับที่3 ทำเพราะเห็นว่าบรรพบุรุษของตนเคยทำอยู่เป็นประเพณี ไม่ควรทอดทิ้ง นี่ตายแล้วอยู่ ยามา สวรรค์ชั้นที่3 คือทำเพราะกตัญญู
4. ระดับที่4 ทำทานเพราะเห็นว่า เราหุงหากินได้ แต่สมณพราหมณ์ไม่ได้หุงหากิน เราควรให้ทานต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้น อย่างนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาชั้นดุสิต ชั้นที่4 เป็นการให้ทานด้วยใจที่มีเมตตา เรียกว่าใจมีคุณธรรมสูงขึ้นกว่าเรื่องกตัญญู
5. ระดับที่5 ทำทานเพราะเห็นว่า แม้บัณฑิตในสมัยก่อนๆทุกยุคทุกสมัยมาก็ทำ เช่น ฤาษี นักปราชญ์ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีฤทธิ์ มีคุณวิเศษต่างๆยังนิยมการทำทาน เราก็ควรกระทำอย่างนี้ ตายไปแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นที่5 นิมมานรดี
6. ระดับที่6 ทำทานเพราะมีความคิดเห็นว่า เมื่อทำแล้งจิตใจเราจะเกิดความเลื่อมใส เกิดความปลาบปลื้มใจ มีโสมนัส เห็นดีอย่างนี้แล้วจึงทำ พวกนี้ตายแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นที่6 ชื่อ ปรนิมมิตสวัสดี ทำเพื่อให้ได้ความสุขเกิดขึ้น อานิสงส์จึงมาก

ทานจะสมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก คือ
1. ก่อนทาน อยากให้ ศัทธา ็ปีติใจในทานนี้
2. ขณะให้ทาน เปี่ยมสุข ซาบซ่าน ก็ปีติใจในทานนี้
3. หลังให้ทานแล้ว ก็ปีติใจ เรียกว่าอิ่มบุญในทานนี้


ความคิดเห็นที่ 1 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]

พิธีถวายทานต่าง ๆ เรียกว่า ทานพิธี ในที่นี้จะกว่าเฉพาะทานพิธีสามัญ ที่จำเป็น และนิยมบำเพ็ญกันอยู่ทั่วไป และจะกล่าวเฉพาะระเบียบปฏิบัติกับคำถวาย ของฝ่ายทายกเท่านั้น

การถวายทาน คือ การถวายวัตถุที่ควรให้เป็นทาน ในพระพุทธศาสนา เรียกวัตถุที่ควร ให้เป็นทานนี้ว่า “ทานวัตถุ” ท่านจำแนกไว้ ๑๐ ประการ คือ (๑) ภัตตาหาร (๒) น้ำรวม ทั้งเครื่องดื่มอันควรแก่สมณบริโภค (๓) ผ้าเครื่องนุ่งห่ม (๔) ยานพาหนะ สงเคราะห์ ปัจจัยค่าโดยสารเข้าด้วย (๕) มาลัยและดอกไม้เครื่องบูชาชนิด ต่าง ๆ (๖) ของหอม หมายถึง ธูปเทียนบูชาพระ (๗) เครื่องลูบไล้ หมายถึง เครื่อง สุขภัณฑ์สำหรับชำระร่างกายให้สะอาด มีสบู่ถูกตัว เป็นต้น (๘) เครื่องที่นอนอันควรแก่สมณะ (๙) ที่อยู่อาศัย มีกุฏิเสนาสนะ และ เครื่องสำหรับเสนาสนะเช่น เตียง ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น (๑๐) เครื่องตามประทีป มีเทียน จุดใช้แสงตะเกียง น้ำมันตะเกียงและไฟฟ้า เป็นต้น ทั้ง ๑๐ ประการนี้ควรแก่การถวายเป็นทาน แก่ภิกษุสามเณร เพื่อใช้สอย หรือบูชาพระตามสมควร แต่การถวายทานนี้มีนิยม ๒ อย่าง คือ

๑. ถวายเจาะจงเฉพาะรูปนั้นรูปนี้อย่างหนึ่ง เรียกว่า ปาฏิบุคลิกทาน

๒. ถวายไม่เจาะจงรูปใด มอบเป็นของกลางให้สงฆ์จัดเฉลี่ยกันใช้สอยเอง อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า สังฆทาน

สำหรับปาฏิบุคลิกทานไม่จำต้องมีพิธีกรรมอะไรในการถวาย เพราะผู้ถวายเกิดศรัทธา จะถวายสิ่งไร แก่ภิกษุหรือสามเณรรูปใด ก็จัดสิ่งนั้นมอบถวายเฉพาะรูปนั้น เป็นรายบุคคล สำเร็จเป็นทานแล้ว และผู้รับปาฏิบุคคลทาน จะอนุโมทนาอย่างไรนั้น ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลเช่นกัน

แต่สำหรับสังฆทาน เป็นการถวายสงฆ์เกี่ยวกับพระสงฆ์ส่วนรวมในวัด จัดเป็น การสงฆ์ไม่ใช่การบุคคลดังกล่าว จึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องด้วยพิธีกรรม โดยเฉพาะการถวาย และการอนุโมทนาของสงฆ์ย่อมมีพิธีปฏิบัติ ฉะนั้นในหมวดนี้ จึงจะกล่าวทานพิธีเฉพาะส่วน ที่ถวายเป็นการสงฆ์อย่างเดียว และทานที่ถวายสงฆ์นั้น แม้มีกำหนดวัตถุเป็น ๑๐ ชนิดแล้ว ก็มีนิยมถวายวัตถุใน ๑๐ ชนิดนั้นเป็นรายการ ๆ แยกคำถวายต่างกันออกไปอีกมากมาย แต่จะเป็นถวายอะไรก็ตาม เมื่อสงเคราะห์ก็อยู่ในปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช ทั้งนั้น และการถวายก็มีนิยมเป็น ๒ คือ ถวายในกาลที่ควรถวายสิ่งนั้น ๆ เรียกว่า กาลทาน ๑ ถวายไม่เนื่องด้วยกาลหรือนอกกาลอีก ๑

ที่มา : //www.kunkroo.com/discuz/viewthread.php?tid=8


Create Date : 03 สิงหาคม 2553
Last Update : 3 สิงหาคม 2553 14:52:14 น. 2 comments
Counter : 554 Pageviews.

 
อนุโมทนาบุญค่ะ


โดย: นาฬิกาสีชมพู วันที่: 3 สิงหาคม 2553 เวลา:17:36:17 น.  

 
สาธุ...ค่ะ


โดย: bigcat@nek วันที่: 4 สิงหาคม 2553 เวลา:22:12:51 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ศาลาลอยน้ำ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ศาลาลอยน้ำ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.