(づ ̄ ³ ̄)づ~~~ 凸_(¬_¬メ)
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2551
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
27 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 

สรุปวรรณคดีสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว







วรรณคดีสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น)


-นิยมแต่งกลอน ทั้งกลอนกลบทและโคลงกลบทได้รับยกย่องว่าแต่งดีที่สุด
-มีการจารึกวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) วัดนี้เป็นเสมือนมหาวิทยาลัยของประชาชน กวีที่ช่วยรวบรวมความรู้ได้แก่ 1.รัชกาลที่3 2.สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส 3.พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท 4.พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นไกรสรวิชิต 5.พระมหามนตรี(ทรัพย์) 6.ขุนธนสิทธิ์
-มีเอกสารสิ่งพิมพ์เกิดขึ้นครั้งแรก คือประกาศเรื่องห้ามสูบฝิ่น โดยหมอบรัดเลย์ และออกหนังสือพิพม์ไทยฉบับแรกชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์แต่ไม่นิยม

กวีสำคัญในสมัยนี้คือ

1.พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นโอรสองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 2 มีคำกล่าวว่า “ใครสร้างวัดก็เป็นคนโปรด” ของท่าน

ร.3 แต่ง โคลงปราบดาภิเษก แต่งก่อนครองราชย์ เพื่อสดุดี ร.2 ที่ปราบกบฎเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตสำเร็จ แต่งเป็นร่ายสุภาพและโคลงสี่สุภาพ

ร.3 แต่ง เสภาขุนช้างขุนแผน แต่ง 2 ตอนคือ ตอนขุนช้างขอนางพิม และ ตอนขุนช้างตามนางวันทอง

ร.3 แต่ง เพลงยาวกลบทและกลอักษร เพื่อจารึกวัดพระเชตุพน แต่งเป็นกลอนสุภาพ กลอนกลบทและกลอักษร 64 ชนิด แต่งเองถึง 19 ชนิด

ร.3 แต่ง บทละครนอกเรื่องสังข์ศิลป์ชัย โดยนำมาชำระใหม่ ในตอนสังข์ศิลป์ชัยตกเหว จนถึงตอนท้าวเสนากุฎเข้าเมือง นิยมนำไปแสดงละครนอกหรือละครชาตรีเสมอ เป็นเรื่องที่พระองค์แต่งได้ยาวที่สุดด้วย



2.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นโอรสของร.1 เป็นภิกษุที่วัดพระเชตุพนฯ ได้เป็นสมเด็จพระมหาสังฆปรินายกในสมัยร.3 และได้เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์ ในสมัย ร.6 และยังได้รับยกย่องจากองค์การ UNESCO ว่าเป็นกวีเอกของโลกอีกด้วย

กรมพระปรมานุชิตชิโนรส แต่ง ปฐมสมโพธิกถา โดยแต่งตามประสงค์ ร.3 เพื่อเป็นหนังสือเกี่ยวกับพุทธประวัติ เป็นร้อยแก้วมีคาถาบาลีแทรก สัมผัสคล้ายร่ายยาว มีการแบ่งเนื้อหาเป็นตอนๆที่เรียกว่า ปริเฉท เป็นตำราศึกษาพระพุทธศาสนา และปรัชญาทั้งมหายานและหีนยาน มีการกล่าวถึงพระศรีอาริยเมตไตรยด้วย

กรมพระปรมานุชิตชิโนรส แต่ง กฤษนาสอนน้องคำฉันท์ แต่งตามประสงค์ ร.3 เพื่อใช้สอนสตรีและเป็นตัวอย่างคำฉันท์ แต่งเป็นคำฉันท์ที่มีฉันท์และกาพย์ปนกัน โดยนำกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ของพระยาราชสุภาวดีและพระภิกษุอินท์สมัยกรุงธนบุรีมาปรับปรุงใหม่ เนื้อความเหมือนเดิม

กรมพระปรมานุชิตชิโนรส แต่ง ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นลิลิตสุภาพ ยอเกียรติพระนเรศวรที่ชนะสงครามยุทธหัตถี แต่งเพื่อฉลองตึกวัดพระเชตุพนฯ ตอนท้ายกล่าวถึงทศพิธราชธรรมของกษัตริย์ ให้ความรู้ด้านตำราพิชัยสงคราม เป็นแบบฉบับเทียบได้กับลิลิตพระลอและลิลิตยวนพ่าย แม้เป็นประวัติศาสตร์แต่ก็ใช้คำให้เกิดรสวรรณคดีได้

กรมพระปรมานิชิตชิโนรส แต่ง สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนปลาย ทั้งเรื่องนี้มีผู้แต่ง 3 คน คือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรมหมื่นไกรสรวิชิต และ กรมหลวงวงศาธิราชสนิทได้ทรงอาราธนาให้พระองค์แต่งต่อจนจบ ดังกล่าวไว้ว่า “โดยมุมานะหฤทัย อดสูดูกษัย กวีฤาแล้งแหล่งสยาม” แต่งเป็นฉันท์ปนกาพย์ วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของคำฉันท์

กรมพระปรมานุชิตชิโนรส แต่ง สรรพสิทธิ์คำฉันท์ แต่งถวาย ร.3 เป็นฉันท์ปนกาพย์ นำเค้าเรื่องมาจากปัญญาสชาดก เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระสรรพสิทธิ์ที่มีความรู้ถอดหัวใจได้ ไปหลงรักนางสุวรรณโสภา ซึ่งกำลังเลือกคู่อยู่ นางไม่ยอมพูดกับใครเลย พระสรรพสิทธิ์ใช้วิชาถอดหัวใจไว้ที่ต่างๆแล้วเล่านิทานเป็นปริศนา นางก็พูดตอบปัญหา จนสุดท้ายก็ได้อภิเษกกัน เรื่องนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์



3.สมเด็จพระเจ้าพรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร (องค์ชายมั่ง) เป็นโอรสของ ร.2

กรมพระยาเดชาดิศร แต่ง โคลงโลกนิติ เพื่อชำระของเก่าและจารึกลงแผ่นศิลาวัดพระเชตุพน แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ และโคลงกระทู้ในบางบท

กรมพระชาเดชาดิศร แต่ง โคลงนิราศเสด็จไปทัพเวียงจันทร์ และ ฉันท์กล่อมพระเศวตและฉันท์ดุษฎีสังเวยอื่นๆ ด้วย



4.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท (องค์ชายนวม) เป็นโอรสของ ร.2

กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่ง โคลงจินดามณี แต่งเป็น โคลงสี่สุภาพ โคลงกรทู้ กาพย์สุรางคนางค์ และกาพย์ยานี ให้ความรู้ภาษาไทย จริยาวัตรของโอรส และข้อปฏิบัติในการรับราชการ เช่นโคลงกระทู้ฉิบหายวายชนม์ เป็นต้น

กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่ง โคลงนิราศพระประธม และ โคลงนิราศสุพรรณ และกลอนกลบทจารึกวัดพระเชตุพนฯด้วย คือ เพลงยาวกลบทสิงโตเล่นหาง



5.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (องค์เจ้าชายทินกร) เป็นโอรสของ ร.2 มีความสามารถทางการแต่งเพลงยาว โดยเฉพาะ สักวา ทรงโต้สักวากับคุณพุ่ม-บุษบาท่าเรือจ้าง ด้วย

กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ แต่ง เพลงยาวกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ พรรณนาถึงความรัก ชมธรรมชาติบนสวรรค์

กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ แต่ง บทละครนอกเรื่องมณีพิชัยตอนต้น เพื่อต่อกับของ ร.2 แสดงความเชื่อเรื่องกระสือ

กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ แต่ง นิราศฉะเชิงเทรา



6.พระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมหมื่นไกรสรวิชิต (องค์เจ้าชายสุทัศน์) เป็นโอรสของ ร.1 เป็นแม่กองตรวจชำระกลอนกลบทที่จารึกในแผ่นศิลาวัดพระเชตุพนฯ จนมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “กรมหมื่นไกรสรวิชิต ชำนิกิจกลกลอน”

กรมหมื่นไกรสรวิชิต แต่ง เพลงยาวกลบท 4 บท คือ กลบทมยุราฟ้อนหาง กลบทพิณประสานสาย กลบทมังกรคาบแก้ว กลบทพยัคฆ์ข้ามห้วย

กรมหมื่นไกรสรวิชิต แต่ง โคลงกลบท 2 บทคือ ดอกไม้พวงพู่ร้อย และ เมขลาโยนแก้ว โคลงฤาษีดัดตน และโคลงภาพต่างภาษา



7.คุณพุ่ม-บุษบาท่าเรือจ้าง เป็นกวีหญิง ตอนแรกได้ถวายตัวทำราชการฝ่ายใน แต่พอป่วยก็ลาออก ไปอยู่กับบิดาที่แพท่าเรือจ้างเหนือท่าพระ พอบิดาเสียชีวิต ก็ยากจนเขียนกลอนขาย สมัยร.5 ได้เข้ารับราชการอยู่กับสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร เป็นผู้บอกสักวา จนเสียชีวิต เป็นโสด ที่ได้รับฉายาบุษบาท่าเรือจ้างก็เพราะชอบแต่งบทบอกสักวาเป็นตัวบุษบาเสมอ

คุณพุ่ม แต่ง เพลงยาวเฉลิมพระเกียรติ สนองพระประสงค์ของพระองค์เจ้านารีรัตนา เฉลิมพระเกียรติ ร.3 และร.4 มีประวัติตัวเองแทรกอยู่ด้วย ทำให้ทราบเหตุการณ์ในสมัย ร.3 และ ร.4 ความเชื่อทางโชคลาง เป็นต้น

คุณพุ่ม แต่ง กลอนสักวา เพื่อใช้เล่นถวายหน้าพระที่นั่ง

คุณพุ่ม แต่ง นิราศบางยี่ขัน และ เพลงยาวฉลองสระน้ำบางโขมด



8.คุณสุวรรณ เป็นกวีหญิง โสด เป็นบ้าด้วย

คุณสุวรรณ แต่ง เพลงยาวจดหมายเหตุ เรื่องกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพประชวร เธอเป็นคนถวายการพยาบาลให้ ในเรื่องมีการแทรกประวัติส่วนตัว และชีวิตคนวังไว้ด้วย

คุณสุวรรณ แต่ง บทละครเรื่อง พระมะเหลเถไถ แต่งตอนเป็นบ้าแล้ว โดยแต่งเพียงมุ่งเสียงสัมผัส ไม่คำนึงถึงความหมายของคำ แต่ร.6 ทรงแต่งนิราศเรื่องพระมะเหลเถไถเพื่อล้อบทละครเรื่องนี้

คุณสุวรรณ แต่ง บทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่อง เพื่ออ่านให้คนไปมาหาสู่กันฟัง เรื่องราวซับซ้อน แต่ดี แสดงความรู้เรื่องละครอย่างกว้างขวาง

คุณสุวรรณ แต่ง เพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ เพื่อเปิดโปงชีวิตในวัง



9.พระมหามนตรี (ทรัพย์) มีส่วนร่วมในการแต่งเพลงยาว กบเต้นสามตอนและโคลงฤาษีดัดตน(ของกรมหมื่นไกรสรวิชิต) ซึ่งจารึกวัดพระเชตุพนฯ

พระมหามนตรี แต่ง บทละครเรื่องระเด่นลันได เพื่อเป็นหนังสืออ่าน ล้อวรรณคดีที่มีพระเอกเป็นกษัตริย์ เช่นอิเหนา อ่านแล้วตลก พรรณนาชัดเจน

พระมหามนตรี แต่ง เพลงยาวว่ากระทบพระยามหาเทพ



10.พระเทพโมลี (ผึ้ง)

พระเทพโมลี แต่ง แบบเรียนปฐมมาลา แต่งเป็นกาพย์ยานีและกาพย์สุรางคนางค์ กล่าวถึงกฎเกณฑ์ภาษาไทย และวิธีแต่งโคลง ใช้สอนอ่านเขียน เป็นแบบเรียนสมัย ร.3 และใช้ต่อมายาวนาน



11.นายมี (หมื่นพรหมสมพัตสร) เป็นศิษย์ของสุนทรภู่

นายมี แต่ง นิราศ 4 เรื่อง คือ นิราศถลาง นิราศเดือน(คล้ายโคลงทวาทศมาส) นิราศสุพรรณ(นำชื่อบ้านตำบลมาบรรยาย ไม่กล่าวถึงความรัก ให้ความรู้เรื่องการค้าขายต่างประเทศ) และ นิราศพระแท่นดงรัง

นายมี แต่ง เพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่งเพื่อให้ ร.3 เห็นความสามารถ จะได้ย้ายไปเป็นอาลักษณ์ แต่ ร.3 ก็ไม่โปรด

นายมี แต่ง พระสุบิน ก กา และทศมูลเสือโค ด้วย











 

Create Date : 27 ธันวาคม 2551
4 comments
Last Update : 26 ธันวาคม 2552 16:52:44 น.
Counter : 18384 Pageviews.

 

เนื้อหาครบดีอ่ะค่ะ ชอบจัง
หาข้อมูลเร็วดี

 

โดย: ลีลาวดี IP: 202.29.33.202 13 มกราคม 2553 12:06:54 น.  

 

ขอบคุณค่ะ

ที่เอามาลงให้

เนื้อหาเยอะดีค่ะ

 

โดย: กานต์ IP: 182.232.16.188 18 กรกฎาคม 2553 14:55:30 น.  

 

ขอบคุณค่ะ เนื้อหาดีมากเลยค่ะ

 

โดย: gigi IP: 58.9.77.58 24 กุมภาพันธ์ 2554 13:29:22 น.  

 

ขอบคุณมั่กมากเลยนะคะ น่ารักอ่ะ หาอยู่พอดี

 

โดย: ตัวอ้วน IP: 14.207.81.62 23 เมษายน 2554 14:02:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Cuckoo's Nest
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Cuckoo's Nest's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.