Group Blog
 
 
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
20 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 

Toxic Drugs: Case I : Paracetamol



Paracetamol ชื่อนี้ทุกคนคงจะฟังกันจนคุ้นหูใช่ไหมคะ เพราะมันเป็นยาที่เปรียบเสมือนยาสามัญประจำบ้านของพวกเรากันไปแล้ว.. ทุกบ้านต้องมีติดต้วกัน..
แต่ในขณะที่มันเป็นยาสามัญประจำบ้านของคน..
แต่สำหรับ สุนัขและแมว.. มันคือยาเม็ดชนิดหนึ่งที่อันตราย และทำให้ถึงแก่ความตายได้


เมื่อไม่กี่วันนี้เอง.. ขณะกำลังท่องไปตาม internet อ่านโน่นอ่านนี่ไปเรื่อย ก็ไปเจอเคสของน้องจอมซนขนทอง เขมือบ paracetamol เข้าไป.. ทำให้ชิสุฯ ฉุกใจคิดขึ้นมาได้ว่า บางครั้งของที่ดูเหมือนไม่อันตรายสำหรับคน มันคืออันตรายสำหรับเด็กๆ สี่ขา เพราะว่าเราไม่สามารถคาดเดาได้เลยจริงๆว่าจะเกิดอะไรได้บ้าง... กับความซน และความตะกละของเหล่าบรรดาหมาๆ แมวๆ
รวมถึงบางครั้งเจ้าของก็ไม่ได้เฉลียวใจคิดว่า หมากับแมวนั้น หลายๆส่วนของร่างกาย รวมถึงระบบอวัยวะภายใน แตกต่างกัน อะไรที่คนกินได้ หมาก็น่าจะกินได้ ก็เลยให้ยาที่มองดูว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับคนให้กับสัตว์เลี้ยงของเราไป...

เอาล่ะค่ะ เกริ่นกันมาก็เยอะแยะมากมายแล้ว.. เรามาเริ่มกันซักทีเถอะค่ะ กับยารักษาของคนแต่เป็นยาพิษของหมาตัวนี้

Paracetamol หรือ ที่ทางฝั่งอเมริกาเรียกว่า Acetaminophen เป็นยาในกลุ่ม Non-steroids-anti inflamatory-drugs (NSAIDs) หรือยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สารประกอบของ สเตอรอยด์..
สำหรับโครงสร้างและการออกฤทธิ์ของยา ขอข้ามไปนะคะ เพราะทุกท่านที่อ่าน คงไม่ได้กะจะไปสอบวิชาว่าด้วยกลไกเภสัชวิทยา/กลไกพิษวิทยาแบบเจ้าของ blog (
คิดถึงกี่ครั้งก็เจ็บหัวใจ.. ฮือๆๆ)

หลักๆแล้ว การออกฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล จะต้องผ่านระบบทางเดินอาหาร และผ่านไปจนถึงตับ(liver) ถ้าเป็นในคนเรา ยาก็จะแปรสภาพและถูกทำให้กลายเป็นไม่มีพิษในบริเวณของตับ แต่ในแมวนั้น ไม่มี enzyme ที่ใช้เปลี่ยนสภาพของพาราเซตามอล ได้ ทำให้มีการเป็นพิษเกิดขึ้นมา

ส่วนในหมาโดยเฉพาะหมาที่มีขนาดตัวเล็กๆ จะเสี่ยงต่ออันตรายของพาราเซตามอล มากกว่าหมาที่มีขนาดตัวใหญ่ หากกินในปริมาณที่เท่ากัน

โดยการกระประมาณคร่าวๆแล้ว
ยา พาราเซตามอล ขนาด 1 เม็ดปกติ เนื้อยา 500 mg/1 เม็ด ถ้าหมาน้อยขนาด 25 kg กินเข้าไป อาจจะต้องใช้ยาประมาณ 7 เม็ด ถึงจะเห็นอาการความเป็นพิษเกิดขึ้น

แต่กับน้องแมว.. เพียง ครึ่งเม็ด ( 250 mg) น้องแมวก็ไปสวรรค์ได้แล้วค่ะ acetaminophen tablet could be fatal


และในกรณีเลวร้าย ตับถูกทำลายมากไป ผลของยาพาราเซตามอล จะก่อให้เกิดภาวะต่างๆ ของร่างกายสี่ขาดังนี้

-เม็ดเลือดแดงแตก เนื่องจากยาตัวนี้จะไปทำลายเม้ดเลือดแดงโดยตรง

-เกิดภาวะ Heinz bodies หรือเม็ดเลือดแดงจะเกาะกันกับสารในเซลล์บางชนิด

-เกิด methemoglobi หรือภาวะที่ การขนถ่ายออกซิเจนของเม็ดเลือดแดงผิดปกติไป ทำให้ เซลล์ในร่างกายได้ oxygen ไม่เพียงพอ และเสี่ยงต่ออาการขาดออกซิเจนในเซลล์

อาการที่ปรากฎ
จะแบ่งระยะความเป็นพิษอันเกิดจาก พาราเซตามอลได้ เป็น 3ระยะด้วยกันคือ

ระยะที่ 1 : 0-12 ชั่วโมง หลังจากทานเข้าไป สุนัขมีอาการอาเจียน หายใจลำบาก มีจุดสีน้ำตาลอยุ่บริเวณเหงือก

ระยะที่ 2 : 12-24 ชั่วโมง จะเริ่มมีอาการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปีก และข้อต่อ เดินทรงตัวไม่ได้ อาจมีอาการขัก และ coma หรือตายอย่างฉับพลัน
ระยะที่ 3 : มากกว่า 24 ชั่วโมง จะเกิดภาวะไตวาย รวมถึงมีการเจ็บปวดอย่างรุนแรงบริเวณช่องท้อง เกิดภาวะดีซ่าน (มีสีเหลืองเกิดขึ้นที่บริเวณเหงือก ตา และผิวหนัง) รวมถึงมีภาวะทางจิตประสาท

การรักษา

โดยปกติแล้ว ยิ่งพบเห็นว่าหมามีอาการผิดปกติ หรือพบว่า กินพาราเซตามอลได้เร็วเท่าไหร่ การถอนพิษของยาจะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น
การตรวจสอบปริมาณของพาราเซตามอลในเม็ดเลือด สามารถกะประมาณคร่าวๆ ได้ถึงปริมาณที่กินเข้าไป หรือเช็คภาวะ methmoglobin จะสามารถช่วยในการกะประมาณความรุนแรงของอาการสุนัข

โดยปกติแล้ว หากสุนัขกินยาเข้าไปและยายังคงค้างอยู่ที่กระเพาะอาหาร ก็จะทำการล้างท้อง ให้สำรอกยาออกมา..
และรักษาตามอาการ
พาราเซตามอล เป็นยาเพียงไม่กี่ชนิดในโลกนี้ที่มียาถอนพิษเฉพาะค่ะ ยาดังกล่าวคือ N-acetylcystein ( NAC)
ดังนั้นในการรักษา อาจะมีการให้ยาอื่นๆ ซึ่งมีส่วนในการช่วยจับอนุมูลอิสระ ให้แก่ตัวสุนัข เช่น

-ยา acetylcysteine หรือชื่อการค้า Mucomyst® หรือ NAC นั่นล่ะ เป็นยาถอนพิษของ พาราเซตามอลโดยตรง
- activated charcoal หรือถ่านกัมมันต์ เอาไว้ช่วยดูดซับพาราเซตามอลจากระบบย่อยอาหาร ซึ่งใช้ในกรณีที่ยาถูกย่อยไปแล้วจากกระเพาะ
- ยา Cimetidine ชื่อการค้า Tagamet® เพื่อป้องกันและช่วยในเรื่องของตับ รวมถึงแผลในระบบอาหาร ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากอนุพันธ์ของ พาราเซตามอล
- Vitamin C จะช่วยเร่งการทำลายยาพาราเซตามอล ออกจากร่างกายสุนัขได้เร็วขึ้น (เพราะ Vitamin C เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ส่วน Paracetamol เป็นตัวสร้างอนุมูลอิสระ )

ในภาวะอันตราย หลังจากสุนัขกินยาไปแล้วเป็นเวลานาน อาจจจะต้องมีการถ่ายเลือด และให้ออกซิเจนร่วมด้วย

โดยปกติแล้ว ระยะเวลาที่ สุนัขจะสามารถกำจัด พาราเซตามอลออกจากตัวเองได้ ในระยะเวลา 2-4 วัน
จุดสำคัญก็คือ ปริมาณและยาเท่าไหร่ที่สุนัขทานเข้าไป และความไวในการดึงยาออกมาจากกระเพาะ โดยสุนัขยังไม่ได้ย่อยยาเข้าไปในกระแสเลือด

นอกจากนี้ ในรายที่ทานยาเป็นปริมาณสูงหรือกินยาไปเป็นเวลานาน หากรอดชีวิตก็อาจจะพบอาการเกี่ยวกับตับแทรกซ้อนออกมาได้




 

Create Date : 20 สิงหาคม 2549
5 comments
Last Update : 21 สิงหาคม 2549 12:08:28 น.
Counter : 2179 Pageviews.

 

อืม ยาชนิดหนึ่งที่ช่วยคน
ก้ออาจจะเป็นยาพิษแก่อีกชึวิต ได้อย่างไม่คาดถึงเนอะ

 

โดย: mingky 20 สิงหาคม 2549 13:30:07 น.  

 

มาช่วยเพิ่มชื่อการค้าจ้า

Acetylcysteine :
Acetin, Flemex-AC, Flucil, Fluimucil, Mucil, Mucocil, Mucotic, Mucoza, Mysoven, Nac Long

Cimetidine :
Aidar, Cencamet, Cidine, Cigamet, Cimetine, Citidine, Clinimet, Duotric, Gastrodin, Iwamet, Manomet, Milamet, Peptica, Pondarmett, Promet, Rinadine, Siamidine, Simaglen, Simex, Ulcedine, Ulcemet, Ulcimet, Umamett

 

โดย: sommie 21 สิงหาคม 2549 9:52:52 น.  

 

อืมมม มาดูคนเก่งคุยกันอ้ะ

 

โดย: แมวดื้อ 23 สิงหาคม 2549 0:00:44 น.  

 

เรื่องที่หมาตัวนั้นกินยาไปเป็นกระปุกนั้น ทำให้พี่ต้องเดินสำรวจรอบบ้านว่ามีอะไรที่น้องตาร์จะคาบถึงได้บ้าง ถ้าพี่โตสล่ะก็พี่ไม่ห่วง กินยาอะไรยังแอบคายออกมา แต่น้องตาร์ล่ะก็ชอบหาของคาบเล่นไปทั่ว และกินยาง่ายมากด้วย

 

โดย: ภ.สำเภากางใบ 23 สิงหาคม 2549 22:46:24 น.  

 

เจอมาแล้วค่ะ..แมวนะค่ะ..ใบหน้าบวมเป่ง..เหงือกคล้ำสีม่วง..อ่อนไม่มีแรง..ไม่กินอาหาร..แล้วตายในที่สุด..เสียใจจนถึงทุกวันนี้

 

โดย: chi_kn444 (chi_kn444 ) 24 สิงหาคม 2549 6:54:33 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ชิสุมุมห้อง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






Friends' blogs
[Add ชิสุมุมห้อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.