กุมภาพันธ์ 2555

 
 
 
2
3
4
5
6
9
11
12
13
14
15
19
21
22
23
24
25
26
28
 
 
All Blog
การรักษาอาการปวดจากโรคมะเร็ง cancer
การรักษาอาการปวดจากโรคมะเร็ง

ความเจ็บปวดคืออะไร ?


ความเจ็บปวดคืออาการที่มีความรู้สึกเจ็บปวด มีประโยชน์คือช่วยเตือนให้ร่างกายรับรู้ถึงการบาดเจ็บและโรคภัยต่างๆ คนเราแต่ละคนจะรับรู้ถึงความ

เจ็บปวดได้ไม่เหมือนกัน ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรอธิบายให้แพทย์ พยาบาลทราบอย่างละเอียดถึง ลักษณะของความเจ็บปวด ตำแหน่งที่ปวด เวลาที่ปวด ปวดมาก

เท่าไร ปวดเหมือนอะไร สิ่งใดทำให้ปวดมากขึ้นหรือน้อยลงความเจ็บปวดมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างไร

ความเจ็บปวด (pain) เป็นหนึ่งในอาการส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งเองจะสามารถแยกความเจ็บปวดที่เกิดจากมะเร็งออกจาก

ความเจ็บปวดที่เกิดจากสาเหตุอื่นได้ ความเจ็บปวดเกิดได้หนึ่งในสี่ของผู้ป่วยที่เพิ่งวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเกิดได้ หนึ่งในสามของผู้ป่วยที่กำลังรักษาอยู่ และเกิดได้

สามในสี่ของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายสาเหตุของอาการเจ็บปวดมีได้หลายสาเหตุ อาทิเช่น

- อาการปวดจากก้อนมะเร็ง โดยก้อนมะเร็งไปกดเบียดอวัยวะอื่น กดทับเส้นประสาท หรือกดกระดูก อาการปวดจึงแล้วแต่ว่าเกิดก้อนมะเร็งที่ตำแหน่งใด

- อาการปวดจากการรักษามะเร็ง การรักษามะเร็งมีหลายวิธีเช่น การได้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง หรือการผ่าตัด ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดได้

- อาการเจ็บปวดอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็งหรือการรักษา เช่น ความเจ็บปวดที่เกิดจากโรคทั่วไป เช่นปวดหลัง ปวดศีรษะซึ่งจะรักษาควบคู่ไปกับ

การรักษามะเร็ง

กลไกการเกิดความเจ็บปวด

ความเจ็บปวดเกิดได้จากหลายสาเหตุดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุกลไกความเจ็บปวด กลไกหลักของความเจ็บปวดแบ่งได้เป็น

สองกลไก ได้แก่

อาการปวดทางร่างกาย (Nociceptive pain) เป็นผลมาจากการบาดเจ็บของโครงสร้างกล้ามเนื้อหรืออวัยวะภายในร่างกายทำให้มีการกระตุ้นเซลล์

ประสาทรับความเจ็บที่มีตามผิวหนัง อวัยวะภายใน กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

- การปวดจากโครงสร้างกล้ามเนื้อ (Somatic pain) : อาการปวดจะบอกตำแหน่งได้ เจ็บแบบเสียดแทง เจ็บตื้อๆ หรือเจ็บเหมือนโดนกด โดยอาการเจ็บ

ลักษณะนี้พบได้บ่อยหลังผ่าตัด หรือโรคมะเร็งที่แพร่กระจายไปกระดูก

- การปวดจากอวัยวะภายใน (Visceral pain) : อธิบายอาการปวดแบบทั่วๆ ปวดบิด มักเกิดจากอวัยวะภายในในท้อง หรือ ในช่องอกถูกกดทับ มีก้อนเนื้อ

แทรกอยู่ หรือมีการโป่งพอง

อาการปวดทางระบบประสาท (Neuropathic pain) เกิดจากการบาดเจ็บของระบบประสาทส่วนปลายหรือส่วนกลาง ผู้ป่วยมักอธิบายว่ามีอาการปวด

แบบแสบร้อน เสียดแทง ซึ่งอาจเกิดจาก ช่องกระดูกสันหลังแคบ ปลายประสาทเสื่อมจากเบาหวาน หรือเป็นผลข้างเคียงจากการได้รับยาเคมีบำบัด หรือ การฉายแสง

Pain Type Example Characteristics/ Description
Nociceptive
Visceral Liver capsule Pain Sharp/ stabbin/ ache
Somatic Bone pain Deep/ aching/ "like toothache"/ "gnawing"
Muscle spasm Cramp cramp, spasm, achey, intermittent
Neuropathic
Nerve Injury

Peripheral

neuroma, brachial plexus infiltration burning/ stabbing/ "pins and needles"

Central

Spinal cord compression numbness/ weakness/ tight chest pain

Mixed

post herpetic neuralgia cutting/ stabbing/ shooting/ burning
Sympathetically
maintained chronic post surgical pain burning (superficial), arterial distribution

การวัดระดับความเจ็บปวด

เราสามารถวัดระดับความเจ็บปวดได้จากการให้ผู้ป่วยลำดับความแรงของอาการ มี 2 วิธีที่นิยม

- ตัวเลข 0-10 (Nnumerical rating scale) 0 คือไม่เจ็บปวด 10 คือเจ็บปวดมาก

- รูปภาพ (The faces pain rating scale) ใช้กับผู้ป่วยที่ไม่คุ้นเคยกับตัวเลข เช่นเด็ก ผู้สูงอายุ หรือมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร




สิ่งสำคัญที่ต้องบอกแพทย์เพื่อการประเมินระดับความเจ็บปวด

- ปวดมากเท่าใด

- ปวดแบบใด (ตื้อๆ แน่นๆ เสียดๆ เหมือนโดนของแหลมแทง ชา แสบร้อน)

- เริ่มเมื่อใด หายเมื่อใด

- มีอะไรช่วยให้ดีขึ้นหรือแย่ลง

- ความเจ็บปวดเกิดจากโรคมะเร็งหรือสาเหตุอื่นๆ ด้วย

- ผู้ป่วยมีวิธีบรรเทาปวดอย่างไร

- เคยมีสิ่งกระทบกระเทือนจิตใจหรือไม่

- มีความเชื่อในเรื่องความเจ็บปวดและการบรรเทาความเจ็บปวดอย่างไร

ชนิดของยาระงับความเจ็บปวด

ยาแก้ปวดเบื้องต้น ที่ไม่ใช่กลุ่มมอร์ฟีน (Nonopioids) เช่น Acetaminophen, NSAIDS เช่น ibuprofen ซึ่งยาในกลุ่มนี้ จะระงับความเจ็บปวด

ในระดับน้อยจนถึงปานกลาง ยาในกลุ่มนี้บางตัวสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งยา แต่ยาบางตัว เช่น NSAIDS อาจก่อให้เกิดเลือด

ออกในทางเดินอาหาร ปัญหาการแข็งตัวของเลือด หรือปัญหาโรคไต Acetaminophen ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดปัญหากับตับได้

ยาแก้ปวดอย่างแรงกลุ่มมอร์ฟีนและอนุพันธ์ (Opiods)

- เป็นยาแก้ปวดที่มีประสิทธิมากที่สุดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ปวดปานกลางถึงมากที่สุด

- ยากลุ่มนี้ไม่ก่อให้เกิดปัญหาเลือดออกทางเดินอาหาร แต่อาจเกิดผลข้างเคียงเช่น

- อาการคลื่นไส้ อาเจียน สามารถให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน

- อาการท้องผูก สามารถให้ยาระบายเพื่อบรรเทาผลข้างเคียง

- อาการง่วงนอน ซึม ป้องกันและรักษาโดย

เริ่มปริมาณยาที่น้อยก่อน และค่อยๆเพิ่มปริมาณ

ประเมินผู้ป่วยถ้าจำเป็นต้องให้ปริมาณมากและเป็นเวลานาน

เพิ่มยาในกลุ่มอื่น เพื่อลดปริมาณยาในกลุ่มมอร์ฟีนและอนุพันธ์

หลีกเลี่ยงยากดระบบประมาทอื่นๆ

พิจารณายาแก้ฤทธิ์ (Naloxone) ถ้ามีการหยุดการหายใจ

- อาการทางจิตเวช เช่น สับสน หูแว่ว ประสาทหลอน

- ปัสสาวะไม่ออก ซึ่งอาจจะต้องลดปริมาณยา

- ยาแก้ปวดแบบแผ่นแปะ (Transdermal fentanyl) เป็นแผ่นปิดที่ผิวหนัง ซึ่งในแผ่นปิดผิวหนังประกอบไปด้วยยาแก้หวัดที่สามรถซึมผ่านทางผิวหนัง

สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยระดับปานกลางถึงมากอย่างต่อเนื่องที่ มักใช้ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง



ออกฤทธิ์ได้นานประมาณ 72 ชั่วโมง

คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ง่วงซึม น้อยกว่ายากลุ่มมอร์ฟีนชนิดอื่น

ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่มีไข้หรือความร้อนจากไฟ เพราะอาจทำให้การดูดซึมยาเข้าสู่ผิวหนังได้มากกว่าปกติ

ไม่เจ็บตัวเหมือนยาฉีด

ผลข้างเคียงที่ผิวหนัง ได้แก่ แดง ผื่น คัน เกิดได้น้อยและสามารถหายภายใน 24 ชั่วโมงหลังแกะออก ซึ่งเกิดจากกระบวนการระคายเคือง

มากกว่าการแพ้

- ยาแก้ซึมเศร้าสามารถรักษาอาการปวดที่เกิดจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทได้ เช่น Amitriptyline, Imipramine

- สเตียรอยด์ ช่วยบรรเทาอาการปวดจากกระดูก หรือก้อนเนื้องอกในสมอง แต่มีผลข้างเคียงคือ ระคายเคืองและเลือดออกในทางเดินอาหาร

เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การรักษาอาการปวดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดระดับรุนแรง

• ควรได้รับยากลุ่มมอร์ฟีนชนิดออกฤทธิ์สั้น

• ยารับประทาน

อาจเริ่มที่ยามอร์ฟีนแบบรับประทาน 5-15 มก. สำหรับคนที่ไม่เคยได้รับยามาก่อน

ส่วนผู้ป่วยที่เคยได้รับยากลุ่มมอร์ฟีนมาก่อน ควรจะต้องได้ยาที่ออกฤทธิ์ยาวเพื่อครอบคลุมอาการปวดตลอด 24 ชั่วโมงและให้ยาที่ออกฤทธิ์สั้นเพิ่มเมื่อ

มีอาการปวดขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน

ประเมินผลและผลข้างเคียงได้ยารับประทาน 60 นาที ถ้าอาการปวดไม่ดีขึ้นให้ปรับเพิ่มยาอีก 50-100% ซึ่งถ้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 2-3 ครั้งแล้วยังไม่เพียงพอ

อาจพิจารณาเป็นยาฉีดเข้าเส้นเลือดดำแทน

ถ้าความเจ็บปวดลดลงเป็นระดับปานกลาง สามารถใช้ยาปริมาณเท่านี้ได้และค่อยประเมินผลต่ออีกครั้ง

ถ้าความเจ็บปวดลดลงเป็นระดับเล็กน้อย สามารถใช้ยาระดับนี้เป็นเฉพาะเวลาปวดได้

• การฉีดยา

อาจเริ่มที่ยามอร์ฟีนแบบฉีด 2-5 มก. สำหรับคนที่ไม่เคยได้รับยามาก่อน

ส่วนผู้ป่วยที่เคยได้รับยามาก่อนให้เพิ่มปริมาณประมาณ 10% ต่อวัน

ประเมินผู้ป่วยหลังรับยา 15 นาที

ถ้าอาการปวดไม่ดีขึ้นสามารถปรับเพิ่มยาได้ 50-100% แต่ถ้าเพิ่มยาไป 2-3 ครั้งแล้วยังไม่สามารถควบคุมความเจ็บปวดได้พิจารณาวิธีทางอื่น

เช่น การให้ยาที่ค่อยๆออกฤทธิ์ ร่วมกับยาเฉพาะเวลามีอาการมากขึ้นในแต่ละครั้ง ร่วมกับฟื้นฟูสภาพจิตใจ

ถ้าความเจ็บปวดลดลงเป็นระดับปานกลาง สามารถใช้ยาปริมาณเท่านี้ได้และค่อยประเมินผลต่ออีกครั้ง

ถ้าความเจ็บปวดลดลงเป็นระดับเล็กน้อย สามารถใช้ยาระดับนี้เป็นเฉพาะเวลาปวดได้

• ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถทนผลข้างเคียงจากยา หรือดื้อต่อยาแล้ว มีวิธีการอื่นอีกแต่ค่อนข้างรุนแรง เช่น ฉีดยาแก้ปวดเข้าไปในน้ำไขสันหลังหรือเส้นประสาท

การรักษาอาการปวดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดระดับปานกลาง

พิจารณาการให้ยาเหมือนกับผู้ป่วยในกลุ่มที่มีระดับความเจ็บปวดแบบรุนแรง

การรักษาอาการปวดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดระดับเล็กน้อย

พิจารณาให้ยาแก้ปวดในกลุ่มยาแก้ปวดเบื้องต้น ที่ไม่ใช่กลุ่มมอร์ฟีน (Nonopioids) แบบที่ออกฤทธิ์ระยะสั้น


โดยส่วนใหญ่แล้วในผู้ป่วยโรคมะเร็งสามารถควบคุมความเจ็บปวดได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสมและมีความปลอดภัยซึ่งการรักษาความเจ็บปวดขึ้นอยู่กับ

ผู้ป่วยแต่ละคน มีการติดตามอาการผู้ป่วยเป็นระยะๆ

อุปสรรคต่อการบรรเทาปวดจากโรคมะเร็งมีอะไรบ้าง ?

ความเข้าใจผิด กลัวว่าจะติดยาแก้ปวด โดยเฉพาะพวกมอร์ฟีน ซึ่งความจริงแล้วโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากผู้ป่วยกลัวว่าจะเกิดผลข้างเคียงจากยา

ซึ่งความจริงมีไม่มากและยังสามารถป้องกันและรักษาได้ การมองข้ามความเจ็บปวดคิดว่าไม่สำคัญ หรือควรทนให้ได้ ซึ่งไม่จำเป็น ปัจจุบันมีวิธีบรรเทาความ

เจ็บปวดที่หลากหลาย

สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยและครอบครัวควรทราบ

แพทย์คำนึงถึงเรื่องความปวดของผู้ป่วยมาก ดั้งนั้นควรแจ้งให้ทราบทุกครั้งเมื่อมีอาการปวดบอกโดยละเอียดถึงลักษณะความปวด โดยไม่จำเป็นต้อง

อดทนเจ็บปวด ส่วนมากความเจ็บปวดสามารถบรรเทาได้ด้วยยาชนิดรับประทานซึ่งมีให้เลือกหลากหลายชนิด โอกาสดื้อยา ติดยาน้อยมาก ต้องบอกแพทย์ถึงปัญหา

จากการใช้ยา ซึ่งปัญหาต่างๆ สามารถแก้ไขได้ด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ผลข้างเคียงของยาบรรเทาปวดมีอะไรบ้าง ? และเมื่อเกิดผลข้างเคียงรักษาอย่างไร ?

ผลข้างเคียงของยาในกลุ่ม opioid เช่น มอร์ฟีนที่เกิดขึ้น เช่น

- คลื่นไส้ อาเจียน รักษาด้วยยาแก้คลื่นไส้ ซึ่งสามารถรักษาได้ภายใน 1-3 วัน

- ง่วงซึม ป้องกันได้โดยเริ่มให้ยาทีละน้อยๆ ค่อยๆเพิ่มระดับจนได้ระดับที่เหมาะสมที่มากที่สุดที่บรรเทาปวดได้โดยไม่ง่วงซึม หากเกิดอาการ

ง่วงซึมมากให้หยุดยาในครั้งต่อไป รอประมาณ ½ - 1 วันแล้วเริ่มยาใหม่

- ท้องผูก ป้องกันแก้ไขได้โดย ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารที่มีกากใยมาก ออกกำลังกาย ใช้ยาระบายตามแพทย์สั่ง

















































































คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp คอริโอลัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp ยาช่วยบำบัดรักษาโรคมะเร็ง
ยาคอริ โอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp เป็นยาที่ได้รับการศึกษาวิจัย และการยอมรับจากหลายประเทศทั่วโลกว่า เป็นยาช่วยเพิ่มและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาด้วยรังสีรักษาและเคมีบำบัด รวมทั้งช่วยในการบำบัดรักษาโรคมะเร็งต่างๆ เช่นมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งหลอดทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia) มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนังโรคไวรัสตับอักเสบบี และโรคหอบหืด
โรคมะเร็งหลอดทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia)มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม
คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor pspรักษา มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไวรัสตับอักเสบบี โรคหอบหืดโรคมะเร็งหลอดทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia)มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม
คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไวรัสตับอักเสบบี โรคหอบหืดโรคมะเร็งหลอดทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia)มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็ง
คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไวรัสตับอักเสบบี โรคหอบหืดโรคมะเร็งหลอดทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia)มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็ง
คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไวรัสตับอักเสบบี โรคหอบหืดโรคมะเร็งหลอดทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia)มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็ง
คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไวรัสตับอักเสบบี โรคหอบหืด
โรคมะเร็งหลอดทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia)มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็ง
คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไวรัสตับอักเสบบี โรคหอบหืดคอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี คอริโอลัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี



Create Date : 29 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 8 มีนาคม 2555 22:03:25 น.
Counter : 2306 Pageviews.

0 comments

coriolus
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]