มีนาคม 2555

 
 
 
 
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog
การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Targeted Cancer Therapies)
บทนำ

Targeted cancer therapy เป็นการใช้ ยา หรือ สารบางชนิดที่ยับยั้งการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

โดยไปรบกวนการทำงานของโมเลกุลที่มีความจำเพาะต่อการเจริญเติบโต และ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งนั้นๆ

สืบเนื่องมาจากนักวิทยาศาสตร์เรียกโมเลกุลที่มีความจำเพาะนี้ว่า “molecular targets” ดังนั้นการรักษาใดใดที่ใช้ “molecular

targets” นี้จึงถูกเรียกว่า “molecularly targeted drugs” หรือ “molecularly targeted therapies”

Targeted cancer therapy ที่ได้รับการยอมรับในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิดนั้นได้แก่ ยาที่ไปรบกวนการส่งสัญญาณระดับ

เซลล์ในการเจริญเติบโต (cell growth signaling) หรือ การสร้างเส้นเลือดที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็ง ซึ่งกลไกดังกล่าวจะทำให้เซลล์

มะเร็งตาย และเซลล์มะเร็งที่ตายแล้วเหล่านี้จะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้มากำจัดเซลล์มะเร็งดังกล่าว ซึ่งจะไป

ส่งเสริมให้ยาที่ทำลายเซลล์มะเร็งบางตัวนั้นสามรถเข้ามาทำลายเซลล์มะเร็งเหล่านี้ได้ดีมากขึ้น

ในปัจจุบันการวิจัยค้นคว้า และการประเมิน molecular targets ตัวอื่นๆ ของสถาบันมะเร็งสหรัฐอเมริกา (The National

Cancer Institutes (NCI)) ได้รับการสนับสนุนโดย NCI’s Chemical Biology Consortium ซึ่งองค์ดังกล่าวยังช่วยพัฒนา

ยาตัวใหม่ๆที่จะนำมารักษาโรคมะเร็งต่อไปในอนาคตอีกด้วย

1. Targeted cancer therapy คืออะไร?

Targeted cancer therapy เป็นการใช้ ยา หรือ สารบางตัวที่ไปยับยั้งการเจริญเติบโต และ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

โดยการรบกวนการทำงานของโมเลกุลที่มีความจำเพาะต่อการเจริญเติบโต และ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งนั้น เนื่องมาจากนัก

วิทยาศาสตร์เรียกโมเลกุลที่มีความจำเพาะนี้ว่า “molecular targets” ดังนั้นการรักษาใดใดที่ใช้ “molecular targets” นี้จึงถูกเรียก

ว่า “molecularly targeted drugs” หรือ “molecularly targeted therapies” เมื่อพิจารณาในระดับโมเลกุล หรือ การเปลี่ยนแปลง

ระดับเซลล์แล้วกล่าวได้ว่า targeted cancer therapy นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษามะเร็งด้วยวิธีอื่นๆ รวมไปถึงการรักษาด้วย

ยาเคมีบำบัด หรือ การฉายแสง ซึ่งนอกจากนี้การรักษาด้วยวิธีนี้ยังมีความปลอดภัยกับเซลล์ปกติในร่างกายอีกด้วย

ในปัจจุบันมี targeted cancer therapy หลายตัวที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาของประเทศอเมริกา (US FDA)

แต่ก็ยังมีอีกหลายตัวที่ยังคงอยู่ในขั้นตอนการวิจัยซึ่งมีตั้งแต่ระดับการศึกษาในสัตว์ไปจนถึงการศึกษาในคน

ในการวิจัยเหล่านี้มีทั้งการวิจัยเพื่อใช้ในการรักษาโดยใช้ยา molecularly targeted drugเพียงตัวเดียว หรือใช้รักษาควบคู่ไปกับ

ยา molecularly targeted drug ตัวอื่น หรือคู่ไปกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ยาเคมีบำบัด เป็นต้น.

2. targeted cancer therapy ทำงานอย่างไร?

targeted cancer therapy นั้นจะไปรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง และ การกระจายของเซลล์มะเร็ง โดยเป้าหมายคือโปรตีน

ที่เกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณระดับเซลล์ ที่มีผลกระทบต่อการแบ่งตัว การเคลื่อนที่ การตอบสนองกับสิ่งกระตุ้นจากภายนอก หรือแม้แต่การ

ตายของเซลล์เอง ซึ่งผลจากกระบวนการเหล่านี้จะมีผลทำให้เกิดการหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และบางครั้งจะไปกระตุ้นให้เซลล์

มะเร็งตายโดยตัวของมันเองโดยกระบวนการที่เรียกว่า “apoptosis” นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เซลล์มะเร็งตายโดยทางอ้อมโดยไปกระตุ้น

ระบบภูมิคุ้มกันให้มาทำลาย หรือ กระตุ้นการส่งสารเคมีที่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งมาทำลายเซลล์มะเร็งนั้นเอง ดังนั้นการพัฒนา targeted

therapy นั้นจึงเป็นการหากลยุทธ์ เพื่อที่จะหาว่าเป้าหมายใดที่เป็นตัวกุญแจสำคัญต่อ การเจริญเติบโตของเซลล์ และ การอยู่รอดของเซลล์

นั่นเอง

ตัวอย่างที่จะกล่าวถึงคือ chronic myeloid leukemia (CML) ซึ่งเป็นผลมาจากการมียีน BCR-ABL ภายในร่างกายโดยยีนดังกล่าว

เกิดขึ้นเมื่อมีการแตกตัวของโครโมโซมคู่ที่ 9 และ 22 แล้วเกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนระหว่างกันในช่วงนั้น หลังจากนั้นผลที่ได้คือโครโมโซม

คู่หนึ่งที่มีทั้ง ABL gene จากโครโมโซมคู่ที่9 และ BCR gene จากโครโมโซมคู่ที่ 22 อยู่ด้วยกัน ซึ่งโดยปกตินั้นโปรตีนที่สร้างโดย ABL

gene (Abl) จะสามารถไปควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ก็ต่อเมื่อมีปฏิกิริยากับ signaling molecule อื่นๆ แต่ในกรณีที่โปรตีนชนิด

นี้ถูกสร้างออกมาในรูปของ Bcr-Abl จาก BCR-ABL fusion gene ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนโครโมโซมดังกล่าวข้างต้น โปรตีนนั้น

จะสามารถทำงานได้ทันที ดังนั้น Bcr-Abl จึงเป็น molecular target ที่ดีตัวหนึ่งเพื่อนำไปพัฒนาใน targeted cancer therapy ต่อไป

3. targeted cancer therapy ถูกพัฒนาอย่างไร?

targeted cancer therapy ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่ small-molecule drug และ monoclonal antibody

แล้ว small-molecule drug สามารถแพร่เข้าสู่เซลล์และจับกับเป้าหมายภายในเซลล์ได้โดยตรง แต่ monoclonal antibody ส่วน

ใหญ่ไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ แต่จะไปจับกับเป้าหมายที่อยู่ภายนอกเซลล์หรือบนผิวเซลล์

ในการทดลองนั้นมี small-molecule drug หลายตัวที่มีคุณสมบัติคล้ายๆกัน แต่ตัวที่มีคุณสมบัติดีที่สุดเพียงไม่กี่ตัวจะถูกนำ

มาปรับปรุงโครงสร้างทางเคมีเพื่อสร้าง small-molecule drug ที่มีความจำเพาะ ต่อเป้าหมายมากที่สุด และจะถูกนำมาศึกษาหาตัว

ที่มีประสิทธิภาพและจำเพาะต่อเป้าหมายที่สุดต่อไปอีก

ในทางตรงกันข้ามสำหรับการผลิต monoclonal antibody โดย target molecule ที่ถูกทำให้บริสุทธิ์จะถูกนำมาฉีดให้สัตว์

ทดลองซึ่งส่วนใหญ่จะใช้หนูทดลอง หลังจากนั้น antibody หลากหลายชนิดจะถูกสร้างขึ้นมาในตัวหนูทดลอง เซลล์ของม้ามซึ่งแต่ละ

เซลล์จะสร้าง antibody คนละชนิดกันจะถูกเก็บออกมาแล้วนำไปรวมกับ myeloma cell เป็น fusion cell ซึ่ง fusion cell เหล่านี้จะ

ถูกโคลนนิ่ง (กระบวนการแบ่งเซลล์ซึ่งได้เซลล์ใหม่ที่มีโครงสร้างเหมือนกับเซลล์ต้นแบบทุกประการ) ซึ่งต่อมาจะได้ antibody ของแต่

ละ fusion cell ออกมาในปริมาณมากซึ่งก็คือที่มาของ monoclonal antibody นั่นเอง โดยจะถูกนำไปทดสอบเพื่อหา monoclonal

antibody ที่ออกฤทธิ์ต่อ target ได้ดีที่สุดต่อไป

ก่อนที่ monoclonal antibody จะถูกนำมาใช้ในคน monoclonal antibody จะถูก“humanized” โดยการนำโมเลกุลของสาร

ที่คล้ายกับโมเลกุลในร่างกายของคนมาแทนที่ส่วนของ monoclonal antibody ที่แตกต่างจากคนให้ได้มากที่สุดก่อน โดยใช้วิธีทางพันธุ-

วิศวกรรม ซึ่งการ humanization นี้เป็นการป้องกันไม่ให้ภูมิคุ้มกันภายในร่างกายนั้นมาทำลาย monoclonal antibody ก่อนที่มันจะ

สามารถเข้าไปจับกับ target molecule ได้

4. target ใดเป็น target ตัวแรกของ target cancer therapy?

Target molecule ตัวแรกคือ ตัวรับ (receptor) สำหรับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นตัวสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของมะเร็ง

เต้านมนั่น ก็คือเมื่อเอสโตรเจนเข้าไปจับกับตัวรับฮอร์โมน (receptor) ภายในเซลล์ (Estrogen receptor) ผลที่ได้ก็คือ hormone-

receptor complex ซึ่งต่อมาจะไปกระตุ้นยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งเต้านม โดยมีงานวิจัยที่

แสดงให้เห็นว่าการยับยั้งการทำงานของเอสโตรเจนในเซลล์มะเร็งเต้านมที่มีตัวรับ (receptor) สำหรับเอสโตรเจนนี้ (ER-positive

breast cancer cell)มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งเต้านม

มียาหลายตัวในกลุ่มนี้ที่ได้รับการรับรองจาก FDA เพื่อใช้รักษามะเร็งเต้านมในกลุ่ม ER-positive breast cancer ได้แก่

selective estrogen receptor modulators(SERMs) เช่น Tamoxifen, Toremifene (Fareston®) ซึ่งจับกับ ER และป้อง

กันการจับของเอสโตรเจนกับreceptor หรือ ยาอีกตัวในกลุ่มนี้คือ Fulvestrant (Faslodex®) ซึ่งจับกับ ER และกระตุ้นการทำลาย

ER เป็นผลให้ ER ภายในเซลล์ลดลงตามมา นอกจากนี้ยังมียาอีกกลุ่มคือ aromatase inhibitors (AIs) ซึ่งอธิบายการทำงานได้จาก

aromatase นั้นปกติจะเป็นตัวสำคัญในการสร้างเอสโตรเจนในร่างกาย ดังนั้นการยับยั้งการทำงานของ aromatase จะมีผลให้ระดับ

เอสโตรเจนลดลง แล้วการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งจะลดลงตามมา แต่อย่างไรก็ตามในคนที่ยังไม่หมดประจำเดือนจะสามารถสร้าง

aromatase มาได้มากกว่าการยับยั้งการทำงานของ aromatase โดย AIs จากเหตุผลดังกล่าวจึงมีการใช้ AIs ในผู้หญิงวัยหมด

ประจำเดือนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปัจจุบันยาในกลุ่ม AIs ที่ใช้กันได้แก่ Anastrozole (Arimidex®), Exemestane (Aromasin®) และ

Letrozole (Femara®)

5. targeted cancer therapy ชนิดอื่นๆ

targeted cancer therapy ชนิดที่ไปรบกวนการทำงานของเอนไซม์ หรือ สารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

ซึ่ง targeted cancer therapy กลุ่มนี้เรียกว่า “signal transduction inhibitor” ได้แก่

1. Imatinib mesylate (Gleevec®) ใช้รักษา gastrointestinal stromal tumor ซึ่งเป็นมะเร็งลำไส้ที่พบได้น้อยชนิดหนึ่ง

และมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) โดยจะไปรบกวนการทำงานของเอนไซม์ที่ชื่อ tyrosine kinase ที่มีความสำคัญต่อการเจริญ

เติบโตของเซลล์มะเร็ง โดย Imatinib จัดเป็น small-molecule drug ที่สามารถผ่านเข้าสู่เยื่อหุ้มเซลล์ไปออกฤทธิ์ที่ target ได้

โดยตรง

2. Dasatinib (Sprycel®) ใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด chronic myeloid leukemia และ acute lymphoblastic

leukemia จัดเป็น small-molecule drug ที่ไปยับยั้งการทำงานของ tyrosine kinase หลายชนิด

3. Nilotinib (Tasigna®) ใช้รักษา chronic myeloid leukemia จัดเป็น small-molecule drug ที่ไปยับยั้งการทำงาน

ของ tyrosine kinase หลายชนิดเช่นเดียวกัน

4. Trastuzumab (Herceptin®) ใช้รักษาโรคมะเร็งเต้านมบางกลุ่ม จัดเป็น monoclonal antibody ที่ไปจับกับ human

epidermoid growth factor receptor 2 (HER-2) ซึ่งreceptor ชนิดนี้เกี่ยวข้องกับ tyrosine kinase ซึ่งมีมากในมะเร็งเต้านม

บางกลุ่ม และโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ บางชนิด อย่างไรก็ตามกลไกการออกฤทธิ์ของ trastuzumab ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างถ่องแท้นัก แต่

คาดว่าน่าจะไปจับกับ HER-2 บนผิวเซลล์ที่มีระดับของ HER-2 อยู่สูง ซึ่งจะป้องกันไม่ให้ HER-2 มีการส่งสัญญาณไปกระตุ้นการเจริญ

เติบโตต่อไป นอกจากนี้ยังอาจจะมีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้ามาทำลายเซลล์มะเร็งที่มีระดับ HER-2 อยู่สูงด้วย

5. Gefitinib (Iressa®) ใช้รักษาโรคมะเร็งปอดชนิด non-small cell ในระยะแพร่กระจาย ซึ่งมีการใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยกำลัง

ได้รับหรือเคยได้รับยาเคมีแล้ว ยา Gefitinib จัดเป็น small-molecule drug ที่ยับยั้งการทำงานของ tyrosine kinase ที่ epidermal

growth factor receptor (EGFR) ซึ่งได้ในเซลล์มะเร็งชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด

6. Erlotinib (Tarceva®) ใช้รักษาโรคมะเร็งปอดชนิด non-small cell ในระยะแพร่กระจาย และยังใช้ในโรคมะเร็งตับอ่อน

ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือ มีการลุกลามแล้วเช่นเดียวกัน จัดเป็น small-molecule drug ที่ยับยั้งการทำงานของ tyrosine kinase

ที่ EGFR

7. Cetuximab (Erbitux®) ใช้รักษา มะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ และมะเร็งลำไส้ส่วนล่าง(colorectal cancer) ชนิด

squamous cell carcinoma จัดเป็น monoclonal antibody ซึ่งไปจับที่ EGFR ทำให้ไม่สามารถรับสัญญาณที่จะไปกระตุ้น

การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้

8. Lapatinib (Tykerb®) ใช้รักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะลุกลามเฉพาะที่และระยะแพร่กระจาย จัดเป็น small-molecule

drug ที่ไปยับยั้งการทำงานของ tyrosine kinase ที่ HER-2

9. Panitumumab (Vectibix®) ใช้รักษามะเร็งลำไส้ส่วนล่าง (colon cancer)ที่มีการแพร่กระจาย จัดเป็น monoclonal

antibody ที่ไปจับกับ EGFR

10. Temsirolimus (Torisel®) ใช้ในมะเร็งที่ไตระยะแพร่กระจาย จัดเป็น small-molecule drug ซึ่งไปยับยั้งการทำงาน

ของเอนไซม์ที่ชื่อ mTOR ซึ่งเป็นเอนไซม์อีกตัวที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการเจริญเติบโต และการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง

targeted cancer therapy ชนิดที่กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตาย (apoptosis)

1. Bortezomib (Velcade®) ใช้รักษามะเร็งของระบบไหลเวียนโลหิตชนิดหนึ่งชื่อว่า multiple myeloma และ mantle

cell lymphoma ทำงานโดยการไปรบกวนการทำงานของโครงสร้างภายในเซลล์ที่ชื่อว่า proteasome ซึ่งมีหน้าที่สลายโปรตีนที่

มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ผลที่ตามมาทำให้เซลล์มะเร็งตาย อย่างไรก็ตามเซลล์ปกติในร่างกายก็ได้รับผลกระทบ

ด้วยแต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

targeted cancer therapy ชนิดที่ไปขัดขวางไม่ให้มีการเติบโตของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็ง ซึ่งเซลล์มะเร็งจะ

เติบโตมีขนาดใหญ่มากขึ้นได้นั้นจำเป็นต้องได้รับสารอาหาร และออกซิเจนผ่านโดยทางเส้นเลือดอย่างเพียงพอ เมื่อการสร้าง

เส้นเลือดที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็งถูกขัดขวางเซลล์มะเร็งจึงไม่สามารถเติบโตต่อไปได้

1. Bevacizumab (Avastin®) ใช้รักษามะเร็งสมองที่ชื่อว่า glioblastoma นอกจากนี้ยังมีใช้ในมะเร็งปอดชนิด non-

small cell, มะเร็งเต้านมชนิดลุกลามและมะเร็งลำไส้ส่วนล่าง (colorectal cancer)ชนิดลุกลาม จัดเป็น monoclonal antibody

ซึ่งไปจับกับปัจจัยกระตุ้นการเจริญเติบโตที่ชื่อว่า vascular endothelial growth factor (VEGF) ทำให้มันไม่สามารถไปจับกับ

receptor บนเซลล์ของผนังหลอดเลือด(endothelial cell) เพื่อกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดได้

2. Sorafenib (Nexavar®) ใช้รักษามะเร็งที่ไตระยะแพร่กระจาย หรือมะเร็งตับชนิด hepatocellular carcinoma โดยไป

ขัดขวางการทำงานของ kinase บริเวณที่ VEGF จับกับ receptor ทำให้ไม่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงที่ก้อนมะเร็ง นอกจากนี้ serofenib

ยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งได้อีก

3. Sunitinib (Sutent®) ใช้รักษามะเร็งที่ไตระยะแพร่กระจาย และมะเร็งลำไส้ชนิด gastrointestinal stromal tumor ที่

ไม่ตอบสนองต่อการักษาด้วย imatinib จัดเป็น small-molecule drug ที่ยับยั้งการทำงานของ VEGF ป้องกันการสร้างเส้นเลือดที่

จะมาเลี้ยงก้อนมะเร็ง

targeted cancer therapy ชนิดที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้มากำจัดเซลล์มะเร็ง

1. Rituximab (Rituxan®) ใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด B-cell lymphoma จัดเป็น monoclonal antibody ซึ่ง

สามารถตรวจจับ CD20 ที่ผิว B cell ได้ หลังจากที่จับกันแล้วจะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันให้มากำจัดเซลล์

มะเร็งต่อไป นอกจากนี้ rituximab ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง(apoptosis)ได้โดยตรงอีกด้วย

2. Alemtuzumab (Campath®) ใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด B-cell chronic lymphocytic leukemia จัดเป็น

monoclonal antibody ซึ่งไปจับกับ CD52ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบได้ในเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็งชนิด B cell หรือ T cell หลังจาก

ที่จับกันแล้วจะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันให้มากำจัดเซลล์มะเร็งต่อไป

targeted cancer therapy ชนิดที่เป็น monoclonal antibody ที่ช่วยนำสารที่เป็นพิษมาทำลายเซลล์มะเร็ง

1. Gemtuzumab ozogamicin (Mylotarg®) ใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด acute myeloid leukemia โดยไป

จับกับ CD33 ที่ผิวของ leukemic blast cell และเชื่อมโยงกับสารต่อต้อนมะเร็งที่เรียกว่า calcheamicin ซึ่งเป็นสารที่ป้องกัน

การสังเคราะห์สารพันธุกรรม(DNA)ภายในเซลล์

2. Tositumomab และ 131I-tositumomab (Bexxar®) ใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด B-cell non-Hodgkin

lymphoma ซึ่งไปจับกับ C20 โดย tositumomab บางส่วนที่นำมารักษาจะถูกฉลากด้วยสารกัมมันตรังสีเป็น131I-tositumomab

ซึ่งสารกัมมันตรังสีนี้จะปล่อยรังสีไปทำลายเซลล์มะเร็งขณะที่ tositumomab จับอยู่กับ C20 บนผิว B cell โดยการให้รังสีต่อเซลล์

มะเร็งแบบนี้เป็นการให้ต่อเซลล์มะเร็งบางชนิดที่จำเพาะและปลอดภัยสำหรับเซลล์ปกติข้างเคียงซึ่งแตกต่างจากการฉายรังสีรักษาที่

เซลล์ปกติข้างเคียงอาจได้รับผลกระทบไปด้วย นอกจากนี้ tositumomab ยังใช้กลไกการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้มากำจัดเซลล์

มะเร็งได้อีก

3. Ibritumomab tiuxetan (Zevalin®) ใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด B-cell non-Hodgkin lymphoma ซึ่งไปจับ

กับ C20 โดย Ibritumomab tiuxetan ที่ถูกฉลากด้วย indium-111 หรือ yttrium-90 สารกัมมันตรังสีเหล่านี้จะปล่อยรังสีไปทำ

ลายเซลล์มะเร็งที่ Ibritumomab tiuxetan ไปจับต่อไป

วัคซีนโรคมะเร็ง และ การรักษาด้วยยีนส์ (cancer vaccine and gene therapy) ยังจัดเป็น targeted cancer therapy

อีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากมันสามารถรบกวนการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ รายละเอียดสามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของ

สถาบันมะเร็งสหรัฐอเมริกา

6. ผลจากการใช้ targeted cancer therapy รักษาโรคมะเร็งคืออะไร?

การรักษาด้วยวิธีนี้ช่วยให้แพทย์ผู้รักษา รักษาโรคมะเร็งได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อ target นั้นมีอยู่ในก้อนเนื้องอกบาง

ชนิดแต่ไม่พบในก้อนเนื้องอกชนิดอื่นยกตัวอย่างเช่น HER-2 นั่นคือมีความจำเพาะเจาะจงของยากับมะเร็งชนิดนั้นๆ นั่นเองทำ

ให้ลดอันตรายของยาต่อเซลล์ปกติ ลดผลข้างเคียง และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในที่สุด

อย่างไรก็ตามข้อจำกัดที่สำคัญอย่างยิ่งคือการดื้อยาที่ใช้รักษา เช่นกรณีของ imatinib ซึ่งมีการกลายพันธุ์ของยีนส์ BCR-

ABL โดยมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของโปรตีนที่ตัวของมันซึ่งป้องกันไม่ให้ยาสามารถมาจับที่ตัวมันได้อีกต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว

ไม่มียาตัวอื่นที่สามารถนำมาใช้รักษาแทนได้ในเซลล์ที่มีการดื้อยาแล้ว(ในกรณีของ BCR-ACL) นั่นเป็นที่มาที่ว่าการรักษาด้วย

targeted cancer therapy ที่ดีที่สุดคือการให้ยาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการให้ร่วมกับยา targeted cancer therapy ด้วยกันเอง

หรือยาชนิดอื่นๆ ที่ใช้รักษาโรคมะเร็งนั้นๆ

สรุป

เนื่องจากการให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy) เป็นการรักษาซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมากและยังใช้เฉพาะต่อโรค

มะเร็งบางชนิด ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าตนเองเหมาะสม

ต่อยาชนิดนั้นๆ



















































































คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp คอริโอลัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp ยาช่วยบำบัดรักษาโรคมะเร็ง
ยาคอริ โอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp เป็นยาที่ได้รับการศึกษาวิจัย และการยอมรับจากหลายประเทศทั่วโลกว่า เป็นยาช่วยเพิ่มและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาด้วยรังสีรักษาและเคมีบำบัด รวมทั้งช่วยในการบำบัดรักษาโรคมะเร็งต่างๆ เช่นมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งหลอดทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia) มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนังโรคไวรัสตับอักเสบบี และโรคหอบหืด
โรคมะเร็งหลอดทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia)มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม
คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor pspรักษา มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไวรัสตับอักเสบบี โรคหอบหืดโรคมะเร็งหลอดทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia)มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม
คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไวรัสตับอักเสบบี โรคหอบหืดโรคมะเร็งหลอดทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia)มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็ง
คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไวรัสตับอักเสบบี โรคหอบหืดโรคมะเร็งหลอดทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia)มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็ง
คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไวรัสตับอักเสบบี โรคหอบหืดโรคมะเร็งหลอดทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia)มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็ง
คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไวรัสตับอักเสบบี โรคหอบหืด
โรคมะเร็งหลอดทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia)มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็ง
คอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี coriolus versicolor psp มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไวรัสตับอักเสบบี โรคหอบหืดคอริโอรัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี คอริโอลัส เวอร์ซิคัลเลอร์ พีเอสพี



Create Date : 04 มีนาคม 2555
Last Update : 8 มีนาคม 2555 22:02:59 น.
Counter : 2838 Pageviews.

0 comments

coriolus
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]