สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
แหล่งพลังงานใน AEC อนาคตพลังงานไทย(ตอนที่ 2)

Asean Energy Company

เมื่อฉบับผมก่อนได้เล่าแหล่งพลังงาน AEC (Asean Energy Company)ในประเทศเมียนมาร์, ลาว,กัมพูชา,เวียดนาม หรือกลุ่มอาเซียน ใหม่ ในวันนี้จะพาไปทัวร์แหล่ง พลังงานใน AEC ที่เหลือได้แก่  มาเลเซีย ,  บรูไน , ฟิลลิปปินอินโดนิเซียและสิงคโปร์  ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศอาเซียนเก่า

มาเลเซีย แหล่งพลังงานอาเซียน

สำหรรับมาเลเซีย นับว่าเป็นแหล่งพลังงาน AEC  ที่น่าสนใจเนื่องจากมีปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่พิสูจน์แล้ว (Proven Reserve) 4,000ล้านบาร์เรล มากที่สุดในอาเซียน  ทั้งยังมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองที่ 83 ลล.ลบ.ฟุต สูงเป็นอันดับสองในอาเซียน การลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ AEC ด้วยความที่เป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติไปขายในตลาดโลก มีรายได้จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมากมาย จนสามารถนำเงินมาอุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศให้ถูกกว่าราคาในตลาดโลกได้

ในด้านการส่งออกพลังงาน มาเลเซียติดอันดับผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของโลก โดยติดอันดับ 10 ของประเทศที่ส่งออกก๊าซมากที่สุดในปีค.ศ. 2011 ตามรายงานของทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ทำให้มาเลเซียเป็นแหล่งพลังงาน AEC ที่น่าจับตามอง

นอกจานี้มาเลเซียยังอุดมด้วยก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ค้นพบในประเทศ รัฐบาลมาเลเซียให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารจัดการพลังงานอย่างมาก เนื่องจากก๊าซธรรมชาตินั้นเป็นทรัพยากรธรรมชาติด้านปิโตรเลียมที่ทรงคุณค่ายิ่ง เอาไปทำประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้มากมาย และถ้าบริหารจัดการดีๆสามารถเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจได้หลายสิบเท่า เช่น แยกเอาก๊าซที่สามารถป้อนเป็นวัตถุดิบให้โรงงานปิโตรเคมี เอาไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลางน้ำและปลายน้ำ ตลอดจนเป็นผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น

หลังจากแยกก๊าซที่สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีออกไปแล้ว ถ้านำไปเผาเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าทั้งหมดก็ยังเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะก๊าซธรรมชาติเหล่านั้นถ้าไม่นำไปเผาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ยังสามารถนำไปอัดภายใต้ความดันสูงให้กลายเป็นก๊าซธรรมชาติอัดเหลว (LNG) และส่งออกไปขายต่างประเทศได้ราคาดีกว่าเอามาเผาเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า

ด้วยเหตุนี้มาเลเซียจึงใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้าในระดับหนึ่งเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และสงวนก๊าซธรรมชาติอีกจำนวนหนึ่งเอาไว้ส่งออกในรูป LNG ในราคาสูง เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศแล้วนำรายได้จากการส่งออกก๊าซ LNG นั้นแหละไปนำเข้าถ่านหินซึ่งมีราคาถูกกว่ามาผลิตไฟฟ้าแทนก๊าซธรรมชาติ

บรูไน กับการพัฒนาถ่านหินเพื่อความยั่งยืนด้านพลังงาน

ส่วน เนการาบรูไนดารุสซาลาม หรือ บรูไนดารุสซาลาม  ยังคงเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย  ประเทศนี้นับว่าร่ำรวยทรัพยากรน้ำมันอย่างยิ่งเพราะมีปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเยอะมากทำให้เป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงานที่พร้อมรับมือ AEC ที่มองข้ามไม่ได้

แม้บรูไนจะร่ำรวยด้วยน้ำมัน ทว่ารัฐบาลบรูไนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจพยายามสำรวจและพัฒนาพลังงานจากถ่านหินให้สูงมากขึ้นเพื่อบริหารความเสี่ยงในอนาคตเนื่องจากได้มีการสำรวจแล้วว่า น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป (exhausting natural resources) จึงมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำรองที่ยืนยันแล้ว (proven reserve) ของประเทศจะหมดลงภายใน 25 ปีและ 40 ปีตามลำดับ

สร้างความกังวลให้กับรัฐบาลบรูไนอย่างเพราะนั่นหมายความว่า พื้นที่ของบรูไนจำนวนมากซึ่งเคยเป็น แหล่งพลังงาน AEC  แทบจะหมดคุณค่า  ด้วยเหตุนี้ทำให้รัฐบาลตระหนักว่าการพึ่งพาการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในระยะยาว จึงมีนโยบายลดปริมาณการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติลงเพื่อให้บรูไนคงความเป็นแหล่งพลังงาน AEC  จึงได้กำหนดแผนกระจายฐานทางเศรษฐกิจ เช่น การเกษตร ท่องเที่ยว อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล และพลังงานทางเลือก

อินโดนีเซีย ขุมน้ำมันแหล่งพลังงาน AEC

อินโดนีเซีย ประเทศที่เป็นแหล่งพลังงาน AEC ต่างจากอดีตมาก เนื่องจากอินโดนีเซียมุ่งเน้นนโยบายลดการพึ่งพาการใช้น้ำมันและก๊าซ รวมถึงถ่านหิน และให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานในรูปแบบใหม่มากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศ ทั้งก๊าซ น้ำมัน ก๊าซจากหินน้ำมัน      ถ่านหิน และพลังงานใต้พิภพ (geothermal) โดยเฉพาะในภาคตะวันออกที่ต้องสำรวจเพิ่มเติมและในแหล่งพลังงานเดิมในภาคตะวันตกที่ต้องการการปรับปรุงและใช้เทคโนโลยีเพิ่มเติม

รัฐบาลได้ร่างแผนการส่งเสริมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยใน ปี 2555 จะจัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งชาติในจังหวัดบันเต็นด้วยงบประมาณก่อสร้าง 20,000 ล้านรูเปีย และจะก่อสร้างศูนย์ดังกล่าวในจังหวัดชวาตะวันออกและจังหวัดกาลิมันตันตะวันออกให้เป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงาน AEC

สำหรับนโยบายด้านพลังงานทดแทนรัฐบาลให้ความสนใจกับพลังงานลม และมีความสนใจในการพัฒนาพลังงานชีวมวลเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งพลังงานใหม่ใน AEC

 โดยได้วางยุทธศาสตร์ 25/25 กล่าวคือ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้ได้เป็นร้อยละ 25 ภายในปี 2568 จากที่คาดว่าจะใช้อยู่ในสัดส่วนร้อยละ 5 ในปี 2555  โดยตั้งเป้าจะเพิ่มการใช้พลังงานชีวมวลด้วย ได้แก่ biothermal และ biodiesel ในภาคคมนาคม อุตสาหกรรม และการใช้ไฟฟ้าให้ได้ร้อยละ 15 และ 20 ตามลำดับภายในปี 2568

นอกจากนี้ ยังมุ่งที่จะพัฒนาน้ำมันและก๊าซสำรองในจังหวัดปาปัวให้มากขึ้น โดยกระทรวงพลังงานของอินโดนีเซียกำลังอยู่ระหว่างการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งกระบวนการ ขออนุญาตและการขุดเจาะ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากบ่อน้ำมันบริเวณชายแดนตรงจังหวัดปาปัวกับประเทศปาปัวนิวกินี ซึงบริเวณพื้นที่เหล่านี้ในอนาคตจะเป็นแหล่งพลังงานอาเซียน

นอกจากนี้นโยบายด้านพลังงานของอินโดนีเซียเน้นการตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศมากกว่าการส่งออก แม้จะมีทรัพยากรสำรองด้านพลังงานสูง  โดยรัฐบาลอินโดนีเซียรณรงค์ให้ใช้เอทานอลเป็นส่วนผสมขั้นต่ำไว้ที่ร้อยละ 3 สำหรับธุรกิจขนส่ง และร้อยละ 5 สำหรับธุรกิจนอกภาคการขนส่ง โดยกำหนดเป้าหมายการใช้เอทานอลไว้ที่ร้อยละ 15 ภายในปี 2568  อย่างไรก็ดี โดยที่ต้นทุนการผลิตเอทานอลสูงกว่าพลังงานอื่น ๆ และขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล อินโดนีเซียจึงยังไม่สามารถผลิตเอทานอลให้พอใช้เป็นส่วนผสมตามเป้าหมายที่กำหนด

ฟิลิปปินส์ กับการพัฒนาพลังงานชีวมวล

ในบรรดาชาติต่างๆในอาเซียน ดูเหมือนว่าฟิลิปปินส์จะมีปัญหาเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานเหมือนกับประเทศไทย ยิ่งเมื่อวิกฤตการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นที่เกิดระเบิดหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในญี่ปุ่น

ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์ผลิตกระแสไฟฟ้าเกิดความวิตกกังวลถึงความปลอดภัยรวมไปถึงประเทศนี้ เนื่องจากฟิลิปปินส์มีโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์(สร้างเสร็จตั้งแต่ยุคของประธานาธิบดีเฟอร์ดินัล มาร์กอส) ที่หวังจะให้เป็นแหล่งพลังงาน AEC  แต่ก็ไม่สามารถที่จะเปิดใช้งานเนื่องจากหวั่นเรื่องผลกระทบ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ฟิลิปปินส์ต้องกลับมาทบทวนนโยบายการใช้พลังงานนิวเคลียร์ รวมไปถึงการหันมาพัฒนาพลังงานทางเลือก

สำหรับพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวล ปัจจุบันฟิลิปปินส์มีขีดความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลราว 57.2 เมกะวัตต์ (MW) และมีเป้าหมายเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตอีก 200 MW ภายในปี 2573  ขณะนี้มีนักลงทุนฟิลิปปินส์เริ่มเข้ามาลงทุนในสาขานี้อยู่บ้าง อาทิ โครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะที่เมือง Laguna ของ Bacavalley Energy มูลค่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหวังจะให้เป็นแหล่งพลังงานในอาเซียน

นอกจากนี้ มีบริษัทต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในด้านนี้เช่นกัน อาทิ โครงการโรงงานชีวมวล 3 โรง ของกลุ่ม Global Green Power Corp. จากสหราชอาณาจักร ที่เมือง Iloilo เกาะปาไน เมือง Nueva Ecija เกาะลูซอน และเมือง Bukidnon เกาะมินดาเนา มูลค่ากว่า 2.3 พันล้านเปโซ โครงการโรงงานก๊าซชีวภาพ/ชีวมวลจากมูลสุกร 4 โรง ของ Solution Using Renewable Energy Inc. ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่น มูลค่ากว่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การลงทุนจากต่างประเทศทำให้ฟิลิปปินส์มีแหล่งพลังงานเพิ่มมากขึ้นซึ่งส่งผลให้แหล่งพลังงาน AEC มีมากยิ่งขึ้น

สิงค์โปร  ตลาดพลังงานระดับโลก

สำหรับสิงคโปร์ แม้จะไม่มีแหล่งทรัพยากรด้านพลังงานเหมือนกับชาติอื่นๆใน แต่ก็เป็น Energy Market ที่สำคัญระดับโลกเช่นน้ำมัน ตลาดกลางสิงคโปรซึ่งเป็นศูนย์กลางซื้อขายน้ำมันระหว่างประเทศที่สําคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกไกล

นอกจากนี้ สิงคโปรยังเป็นที่ตั้งของสํานักงานตัวแทนบริษัทน้ำมันรายใหญ่ทั่วโลกประมาณ 325 บริษัท มีปริมาณการซื้อขายสูงเช่นเดียวกับตลาดในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทําให้ยากต่อการปั่นราคาโดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย และราคาที่ตกลงจะสะท้อน จากดีมานด์และ ซัพพลายของน้ำมันในภูมิภาคนี้ อีกทั้งเป็นตลาดการส่งออกน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย

ขณะนี้ยังมีความพร้อมที่จะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการค้าพลังงานชีวมวล (biomass) และนี่คือศักยภาพของสิงค์โปรประเทศเล็กๆที่ไม่มีแหล่งพลังงานแต่สามารถก้าวขึ้นมาเป็นตลาดค้าพลังงานระดับโลกได้สำเร็จ




Create Date : 05 สิงหาคม 2557
Last Update : 5 สิงหาคม 2557 10:09:58 น.
Counter : 1786 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 713615
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



เราเป็นคนง่ายๆ ใช้ชีวิตไม่มีแบบแผนอะไรมาก คิดอะไรได้ก็เขียนก็ระบาย ขอบคุณที่แวะมา และขอบคุณที่เข้ามารับฟัง