การผ่าตัดหมอนรองกระดูก ช่วยให้คนพิการกลับมาเดินได้อีกครั้ง

การผ่าตัดหมอนรองกระดูก

หมอนรองกระดูกเป็นอวัยวะที่คั่นอยู่ระหว่างข้อของกระดูกสันหลังแต่ละข้อมีลักษณะเหนียวและยืดหยุ่น โดยหมอนรองกระดูกนั้นมีหน้าที่รองรับแรงกระแทกและรับน้ำหนักของร่างกาย ซึ่งหากหมอนรองกระดูกเกิดเสื่อม ปริ แตก นูนหรือปลิ้น ไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลังหรือตำแหน่งใกล้เคียงก็จะทำให้เกิดอาการปวดตามมาได้

สาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อม

สาเหตุของการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังมี 2 สาเหตุหลักๆ ซึ่งได้แก่

  1. การเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังตามกาลเวลา
  2. การเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังอันเกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรง

การตรวจวินิจฉัยหมอนรองกระดูกสันหลัง

การตรวจวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทนั้น ส่วนใหญ่แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยวิธีการทำเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เนื่องจากมีการแสดงผลที่ค่อนข้างชัดเจนสะดวกต่อการวินิจฉัย แต่การทำเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นคนไข้จะอยู่ในอริยาบทท่านอน ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลให้ผลการตวรจออกมาไม่พบความผิดปกติเพราะว่าคนไข้มักจะมีอาการในท่าอื่นๆ นอกจากท่านอนทางโรงพยาบาลพญาไท 1 ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวเราจึงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีการวินิจฉัยสมัยใหม่ที่ใช้สำหรับการวินิจฉัยโรคหมองรองกระดูกทับเส้นประสาทโดยเฉพาะเข้ามาใช้เพื่อในการวินิจฉัย ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ คือ การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับอุปกรณ์เสริมไดนาเวล (Dynawell) โดยการตรวจแบบนี้สามารถจำลองคนไข้ให้เสมือนอยู่ในอริยาบทในท่ายืน ดังนั้นจึงทำให้ผลการตรวจออกมาชัดเจนและสะดวกต่อการวินิจฉัยที่แม่นยำมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลัง

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยการผ่าตัดของโรงพยาบาลพญาไท 1 นั้น เราได้คำนึงถึงผลลัพธ์หลังการรักษาของคนไข้เป็นอย่างมากเราจึงเน้นการรักษาคนไข้ด้วยวิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็ก โดยการรักษาคนไข้โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยวิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็กของโรงพยาบาลพญาไท 1 นั้น ได้แก่

1. นวัตกรรมการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแบบแผลเล็กด้วยกล้องขยายกำลังสูง (Microscopic Discectomy)

การรักษาด้วยวิธีนี้แพทย์จะทำการผ่าตัดหมอนรองกระดูกคนไข้ร่วมกับการใช้กล้องขยาย Microscopic ซึ่งเป็นกล้องที่มีกำลังการขยายสูง แพทย์จึงสามารถมองเห็นระบบประสาทภายในร่างกายของคนไข้ได้อย่างชัดเจน ส่งผลทำให้รักษาคนไข้ได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิผลสูงสุด แผลมีขนาดเล็กเพียงแค่ 2.5 เซนติเมตรเท่านั้น การรักษาด้วยวิธีนี้คนไข้จะใช้เวลาในการพักฟื้นอยู่ที่ รพ.เพียงแค่ 1 คืนเท่านั้น

2. นวัตกรรมการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแบบผ่านกล้อง (Endroscopic Discectomy)

การรักษาด้วยวิธีนี้แพทย์จะทำการผ่าตัดหมอนรองกระดูกเพื่อเปิดแผลที่ข้างลำตัวของคนไข้ใกล้ๆ กับบริเวณจุดที่เป็นสาเหตุของอาการปวด โดยแผลที่เปิดนั้นจะมีขนาดประมาณ 8 มิลลิเมตร จากนั้นแพทย์จะนำกล้อง Endroscopic ซึ่งมีลักษณะเป็นทรงกระบอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดประมาณ 6 มิลลิเมตรสอดผ่านปากแผลเข้าไปยังจุดที่เป็นสาเหตุของอาการปวดและทำการผ่าตัดรักษาโดยมองผ่านจอภาพที่แสดงผลมาจากกล้อง Endroscopic วิธีการผ่าตัดในรูปแบบนี้คนไข้จะใช้เวลาในการพักฟื้นอยู่ที่ รพ.เพียงแค่ 1 เท่านั้น

3. วิธีการผ่าตัดที่กล่าวมาข้างต้นทั้ง 2 วิธีนี้ จะรักษาได้ผลดีมากเมื่อใช้เลเซอร์เข้ามาช่วยในการทำผ่าตัด แต่เลเซอร์นี้ต้องเป็นชนิดเฉพาะที่ใช้สำหรับการรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังเท่านั้น

เลเซอร์ คือ รังสีที่สามารถให้พลังงานความร้อนสูง การใช้เลเซอร์ในการผ่าตัดรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น แพทย์จะทำการใช้เลเซอร์ยิงไปยังหมอนรองกระดูกที่เสื่อมและปลิ้นออกมากดทับที่เส้นประสาทไขสันหลัง ความร้อนจากเลเซอร์จะค่อยๆ สลายหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมาให้หดกลับเข้าไปยังข้อกระดูกสันหลัง วิธีการผ่าตัดรักษาด้วยเลเซอร์นี้จะช่วยลดความเสี่ยงในระหว่างการผ่าตัดได้เป็นอย่างดี

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด

เนื่องจากทางโรงพยาบาลพญาไท 1 ของเรานั้นมีความเชี่ยวชาญในด้านการรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยวิธีการผ่าตัดหมอนรองกระดูกแบบแผลเล็กเป็นอย่างมาก ดังนั้นคนไข้ที่ได้รับการรักษาเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะสามารถลุกขึ้นเดินได้ภายใน 24 ชั่วโมง และสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายได้อย่างรวดเร็ว

อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์

  1. ปวดคอร้าวลงแขน
  2. ปวดหลังร้าวลงขา
  3. ปวดคอหรือหลังเรื้อรัง




Create Date : 25 พฤษภาคม 2558
Last Update : 25 พฤษภาคม 2558 15:48:07 น.
Counter : 364 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อ้วนไม่กลัว กลัวไม่อิ่ม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤษภาคม 2558

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31