คอมอุต คอมอุต คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม เฮ้ๆๆ
Group Blog
 
 
กันยายน 2550
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
6 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
งาน วิชาจิตวิทยา



-ลูกจ้างที่ทำงานเกิน 7 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต้องมีระดับเสียงที่ได้รับติดต่อกันไม่เกิน 90 dB(A)
-ลูกจ้างที่ทำงานเกิน 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ได้รับติดต่อกันไม่เกิน 80 dB(A)
- กำหนดให้มีการควบคุมเสียงเฉลี่ย(TWA) ในการทำงาน 8 ชั่วโมงไม่เกิน 90 dB(A) และ
- กำหนดเสียงสูงสุดไม่เกิน 140 dB(A)
- มาตรการการแก้ไขให้แก้ไขที่ต้นกำเนิดเสียง ทางผ่าน และการบริหารจัดการ


แหล่งที่มาของข้อมูล
//hospital.moph.go.th/bureerum/occ/noise.ppt#262,8,Slide 8

เตือนการตรากตรำทำงานวันละหลายชั่วโมงไม่เกิดผลดี ผลการศึกษาพบพนักงานที่ทำโอทีมีแนวโน้มมากขึ้น 61% ที่จะบาดเจ็บหรือป่วยไข้ ขณะที่การทำงานเกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงกว่า 1 ใน 3
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ระบุว่า การทำงานสัปดาห์ละ 60 ชั่วโมงทำให้มีความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น 23% ทั้งนี้ จากการศึกษาประวัติของคนทำงาน 110,236 คนในสหรัฐฯ ระหว่างปี 1987-2000 โดยที่ช่วงเวลาที่ได้รับการว่าจ้างมีความเกี่ยวโยงกับเวลาที่คนคนนั้นใช้ในบริษัทที่ทำงาน เท่ากับว่าประวัติของบางคนอาจถูกศึกษาโดยนักวิจัยกลุ่มนี้มากกว่าหนึ่งครั้ง...


แหล่งที่มาของข้อมูล
//www.nsm.or.th/modules.php?name=News&file=categories&op=newindex&catid=9&pagenum=23

โดย..501104126125 - นายเสกสรรค์ พิมเขียวครับ





การทำงานที่ยาวนานกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หมายถึง ความสุขที่ถูกบั่นทอนลง


องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization - ILO) ได้ออกรายงานชื่อว่า “ชั่วโมงการทำงานรอบโลก” หรือ Working Time around the World ได้จัดอันดับประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 3 ของคนงานที่ทำงานเกินเวลามากที่สุดในโลก คือ มากกว่า 46.7% ของคนงานในไทยทำงานมากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ทำงาน 6 วัน/สัปดาห์ วันละ 8 ชั่วโมง) ... ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสมีกฎหมายอย่างชัดเจนว่า ชั่วโมงการทำงานโดยเฉลี่ยของผู้ใช้แรงงานจะต้องอยู่ที่ 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ลดลงจากเดิม 39 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ซึ่งกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้มาแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี 2000

ยิ่งไปกว่านั้น รายงานของ ILO ยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า สิทธิตามกฎหมายสำหรับผู้ใช้แรงงานในประเทศไทยในการลาหยุดพักผ่อนประจำปี (ทั้งนี้ เทียบกับประเทศกำลังพัฒนามากกว่า 50 ประเทศ ทั่วโลก) ยังถูกจัดอยู่ในอันดับที่ต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียอีกด้วย คือประมาณ 10 วันต่อปี หรือน้อยกว่านั้น

แหล่งที่มา::://gotoknow.org/blog/shibo/102974

:::::โดย นางสาวพรพรรณ ประสารศรี 5011041261118





Create Date : 06 กันยายน 2550
Last Update : 22 กันยายน 2550 14:52:17 น. 26 comments
Counter : 2963 Pageviews.

 
หวัดดีเพื่อนๆ ส่งงานกันทุกคนนะ


โดย: แล็คคูล IP: 203.113.118.4 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:9:27:32 น.  

 
ถ้าหากคุณคิดว่า “ฉันเหนื่อยล้ากับงานจังเลย” เป็นข้ออ้างของพวกไม่เอาไหนในการปัดความรับผิดชอบล่ะก็ ลองคิดดูอีกทีนะคะ ความเครียดและอาการเหนื่อยล้านั้นไม่ได้เกิดขึ้นภายในวันเดียวอย่างแน่นอน มันต้องมีการสะสมมาแล้วในระยะเวลาหนึ่ง และความเครียดก็เป็นสาเหตุสำคัญของโรคไมเกรน อาหารไม่ย่อย โรคผิวหนัง ความดันในเลือดสูง และโรคหัวใจ นอกจากนั้นก็ยังเป็นสาเหตุของอารมณ์แปรปรวนง่ายอีกด้วย

และต่อไปนี้คือ 5 สัญญาณสำคัญที่บอกว่าคุณล้าเกินไปแล้ว

สัญญาณที่ 1 หงุดหงิดกับเพื่อนร่วมงานที่เคยทำงานร่วมกันได้ดี

สัญญาณที่ 2 มาทำงานสายและอยากกลับเร็ว

สัญญาณที่ 3 ขาดความกระตือรือร้นกับโปรเจคต์งานใหม่ที่ได้รับมอบหมาย

สัญญาณที่ 4 ความเป็นมิตรที่คุณมีให้กับเพื่อนร่วมงานเสมอหายไปไหนก็ไม่รู้

สัญญาณที่ 5 สุขภาพแย่ลง ไม่สบายบ่อยมาก

แต่เมื่อมีอาการแบบนี้แล้ว เราก็ต้องหาทางแก้ไขอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้ความเครียดและการเหนื่อยล้าส่งผลให้สุขภาพกายและจิตร้ายแรงไปกว่าที่เป็นอยู่ ดิฉันไปเจอหนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “Stress Management for Busy People” โดย แครอล เอ เทอร์คิงตัน เธอบอกทางแก้อาการเหล่านี้ให้เสร็จสับเลยค่ะ

- รู้จักปฏิเสธบ้าง

- ประเมิณเป้าหมายในชีวิตของคุณใหม่

- จงอย่าสัญญาถ้าหากว่าทำไม่ได้ (ทั้งกับที่บ้านและที่ทำงาน)

- รู้จักจัดการกับความเครียด

- พักผ่อนให้เพียงพอและทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่

เพียงเท่านี้ความเครียดและการเหนื่อยล้าของคุณก็บรรเทาไปได้แล้ว เพราะคำว่า“ลาออก” คงไม่ใช่คำตอบหรือทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการบรรเทาความเครียดและการเหนื่อยล้าอย่างแน่นอน

หาทางออกให้กับปัญหาอื่นๆ ได้ในบล็อกอาชีพ Yellojobs.com เพียงคลิกที่นี่



โดย: 501104126101 ดวงพร IP: 203.113.118.4 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:9:34:56 น.  

 
1. ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกินเก้าสิบวัน
2. ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงทำงานอย่างหนึ่ง
อย่างใดดังต่อไปนี้
(๑) งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์
หรือปล่องในภูเขา เว้นแต่ลักษณะของงานไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้างนั้น
(๒) งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป
(๓) งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
(๔) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงานในระหว่าง เวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกา ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด
หรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(๑) งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
(๒) งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ
(๓) งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกินสิบห้ากิโลกรัม
(๔) งานที่ทำในเรือ
(๕) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
4. ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกินเก้าสิบวัน
5. ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ทำงานในระหว่างเวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๐๖.00 นาฬิกา
6. ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด

แหล่งที่มาของข้อมูล
//law.siamhrm.com/labour-law/law-020.php































2.













































































โดย: น.ส.ศิริรัตน์ สนสิริ รหัส 501104126102 เลขที่ 2 IP: 203.113.118.4 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:9:53:49 น.  

 
เวลาทำงาน จะเกิดความเหนื่อยล้า ในการทำงาน 1วัน
ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
งานอันตรายตามที่กำหนดในกฏกระทรวงไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์



โดย: 501104126110 จิรภา พรรณา IP: 203.113.118.4 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:9:54:31 น.  

 
การใช้แรงงานหญิง
ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้
งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00น.-06.00น. ทำงานล่วงเวลาทำงานในวันหยุดหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ
งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม
งานที่ทำในเรือ
งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างเปลี่ยนเวลาทำงานหรือชั่วโมงทำงาน ของลูกจ้างหญิงที่ทำงานในระหว่างเวลา 24.00 น.- 06.00 น. ได้ตามที่เห็น สมควร ถ้าพนักงานตรวจแรงงานเห็นว่างานนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้างหญิงนั้น
ลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีสิทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการ ชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ กรณีที่มีใบรับรองแพทย์ แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง มาแสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้
ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์
ที่มา

//www.labour.go.th/duty/index.html#9


โดย: 501104120109 สุกัญญา IP: 203.113.118.4 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:9:58:02 น.  

 
ความเหนื่อยล้าเกิดจากการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือคุณภาพของการนอนไม่ดี เช่นหลับๆ ตื่นๆ นอนหลับไม่ต่อเนื่อง นอนไม่ครบจำนวนชั่วโมงหรือน้อยกว่า 6-7 ชั่วโมง หนี้หลับเอาเงินมาใช้ทดแทนไม่ได้จำเป็นต้องนอนชดเชย เช่นปกติตำรวจเคยเข้านอนเวลา 22.00 น. แต่พอมีกลุ่มม็อบ ตำรวจก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ไปจนถึงเวลา 02:00 น. จึงจะได้นอน แบบนี้เป็นหนี้หลับ 4 ชั่วโมง วิธีแก้คือในวันรุ่งขึ้นต้องนอนก่อนเวลา 22.00 น. หรือประมาณ 18.00 น.จึงจะพอทดแทนส่วนหนี้ที่เกิดในคืนวันก่อน การไม่ได้นอนหลับพักผ่อนเป็นเวลาประมาณ 16 ชั่วโมงเท่ากับมีเบียร์หนึ่งกระป๋องในร่างกาย
แหล่งที่มา//www.bangkokbizweek.com/20060302/autobiz/index.php?news=column_20096617.html


โดย: 501104126104-วารุณี โปร่งฟ้า IP: 203.113.118.4 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:9:58:19 น.  

 
1. ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกินเก้าสิบวัน
2. ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงทำงานอย่างหนึ่ง
อย่างใดดังต่อไปนี้
(๑) งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์
หรือปล่องในภูเขา เว้นแต่ลักษณะของงานไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้างนั้น
(๒) งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป
(๓) งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
(๔) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงานในระหว่าง เวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกา ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด
หรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(๑) งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
(๒) งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ
(๓) งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกินสิบห้ากิโลกรัม
(๔) งานที่ทำในเรือ
(๕) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
4. ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกินเก้าสิบวัน
5. ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ทำงานในระหว่างเวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๐๖.00 นาฬิกา
6. ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด

แหล่งที่มาของข้อมูล
//law.siamhrm.com/labour-law/law-020.php


โดย: น.ส.ศิริรัตน์ สนสิริ รหัส 501104126102 เลขที่ 2 IP: 203.113.118.4 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:9:58:20 น.  

 
การใช้แรงงานเด็ก
ห้ามนายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้าง
กรณีที่มีการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นลูกจ้าง นายจ้างต้องแจ้งต่อพนักงาน ตรวจแรงงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่ เด็กเข้าทำงาน และแจ้งการสิ้นสุดการ จ้างเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน นายจ้างต้องจัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมงต่อวันภายใน 4 ชั่วโมงแรกของ การทำงาน และให้มีเวลาพักย่อยได้ตามที่นายจ้างกำหนด
ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 - 06.00 น. เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี
ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานล่วงเวลา
ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานต่อไปนี้
งานหลอม เป่า หล่อ หรือรีดโลหะ
งานปั๊มโลหะ
งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียงและแสง ที่มีระดับแตกต่างจากปกติอันอาจเป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื้ออื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานในสถานี บริการที่เป็นเชื้อเพลิงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้นจั่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
งานใช้เลื่อยเดินด้วยพลังไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์
งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ, ในถ้ำ อุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา
งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
งานทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่กำลังทำงาน
งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
งานอื่นตามที่กำหนดในกระทรวง
ที่มา
//www.labour.go.th/duty/index.html#9


โดย: 501104126114พรนิภา IP: 203.113.118.4 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:10:01:37 น.  

 
ความเครียดและกระบวนการทางสังคม
Stress and Social Support Processes

ความหมายและลักษณะพิเศษเฉพาะ
Stress ( ความเครียดในที่ทำงาน )
หมายถึง ความยุ่งยากในการจัดการกับผลลัพธ์ในด้านลบที่เพิ่มพูนมาจากข้อจำกัดในการทำงาน ในรายงานนี้จะกล่าวถึงความเครียดโดยทั่วไปที่พบได้และก่อให้เกิดกระบวนการที่ทำให้เครียด (Stress Process)
กระบวนการที่ทำให้เครียด มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ (Aspects of the Environment) เราเรียกว่า ตัวก่อความเครียดหรือสาเหตุของความเครียด (Stressors) และผลกระทบจากความเครียดในแต่ละบุคคล เราเรียกว่า Burnout ซึ่งหมายถึง ผลกระทบทางด้านจิตใจ ทางด้านร่างกาย และผลทางด้านลบในการปฏิสังคมในที่ทำงาน (organizational outcomes)

Burnout (ความเหนื่อยล้าในการทำงาน)
หมายถึง การทำลายสุขภาพ การทำให้อ่อนเพลีย เนื่องมาจากการทำงานมาก ความเครียดจากการทำงาน
Herbert Freudenberger (1974) เป็นผู้บัญญัติศัพท์ Burnout ขึ้นมา หมายถึง wearing out การทำให้อ่อนเพลีย ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงาน Burnout เป็นข้อจำกัดเรื้อรังของลูกจ้าง เป็นผลมาจากความเครียดในการทำงานในแต่ละวันและสะสมไม่ได้รับการแก้ไข

Maslach (1982) อธิบายว่า Burnout มีมิติที่เกี่ยวข้อง 3 มิติ คือ
1. Emotional exhaustion คือ ความเหนื่อยอ่อนทางอารมณ์ พนักงานมักจะเกิดความเหนื่อยอ่อนทางอารมณ์ เมื่อเขารู้สึกเหนื่อยใจ ผิดหวัง หมดประโยชน์ ไม่สามารถทำงานได้
2. A lack of personal accomplishment คือ การไม่ประสบความสำเร็จในแต่ละบุคคล จะทำให้พนักงานผู้นั้นรู้สึกล้มเหลว ไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. Depersonalization คือ การขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง พนักงานจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในงาน เช่น ลูกค้า คนไข้ นักเรียน เมื่อเกิด Burnout ขึ้น พนักงานคนนั้นก็จะ “มองคนอื่นผ่านแว่นสีชา” คือ เริ่มมองคนในแง่ร้าย คาดหวังในตัวผู้อื่นในแง่ที่ไม่ดี เริ่มไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ตัวอย่าง
Rhoda เป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่ทำงานมากว่า 15 ปี เธอทำงานตามอุดมการณ์ อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี เธอเกิดอาการเหนื่อยล้าจากงานที่เธอทำเป็นประจำ เธอมีอาการทั้ง 3 อย่างดังที่กล่าวมาแล้ว เธอต้องไปพบลูกค้าเป็นการส่วนตัวที่มีปัญหาต่าง ๆ มากมาย ซึ่งบางครั้งเธอเคยเรียกลูกค้าเหล่านั้นว่า “พวกมีคุณภาพชีวิตต่ำ (Lowlifes)” เธอเบื่อหน่ายไม่อยากไปทำงาน เหนื่อยกาย เหนื่อยใจทุกครั้งเมื่อกลับบ้าน เมื่อเธอคิดกลับไปว่าเธอต้องการประสบความสำเร็จอะไรในอาชีพ เธอเริ่มซึมเศร้า เริ่มรู้สึกว่าตัวเองแตกต่างจากคนอื่น

* Burnout จะใช้กับพนักงานบริษัท
* Tedium ใช้กับข้าราชการ

แนวโน้มที่แต่ละบุคคลจะเหนื่อยล้าในการทำงาน
( Individual Predisposition to Burnout )
Friedman และ Rosenmen (1974) พบว่าคนที่มีบุคลิกภาพแบบ A จะมีแนวโน้มว่าจะเกิดอาการเหนื่อยล้าในการทำงานได้ง่าย
บุคลิกภาพของรูปแบบพฤติกรรมของคนชนิด A มีดังนี้
1. ชอบที่จะทำงานด่วนตลอดเวลา (อะไร ๆ ก็ด่วน)
2. ต้องการเป็นที่รู้จักและต้องการมีความก้าวหน้าในการทำงาน
3. ละเลยด้านอื่น ๆ ของชีวิต มุ่งมั่นกับงานอาชีพอย่างเดียว
4. งานในหน้าที่มีหลายงานมีเส้นตายของระยะเวลาการทำงาน (deadline)
5. มีนิสัยรีบเร่งทั้งในชีวิตส่วนตัวและการทำงาน (รีบฝ่าไฟแดง ไม่ชอบรอ)
6. มีแรงขับในการแข่งขัน ชอบแข่งขันมาก
7. มีความรู้สึกว่า “ ฉันเท่านั้นที่ทำได้ ”
8. ชอบพูด ชอบสั่ง
9. ชอบเคลื่อนไหวร่างกายอยู่นิ่งไม่ได้
10. มีนิสัยชอบพูดแซงในการสนทนา (ขณะที่คู่สนทนาพูดอยู่เขาเดาใจและตัดสินคู่สนทนาแล้ว)

ผลลัพธ์ของอาการเหนื่อยล้าในการทำงาน
( Outcomes of Burnout )
อาการเหนื่อยล้าในการทำงานก่อให้เกิดผลกับสภาพร่างกาย (Physiological ) ทัศนคติ (Attitudinal) และปฏิสัมพันธ์ในองค์การ (Organizational Effects)
1. อาการเหนื่อยล้าในการทำงาน ส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกาย เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหลอดเลือดในหัวใจตีบตันและโรคความดันโลหิตสูง มีงานวิจัยระบุว่าความเครียดในที่ทำงานจะส่งผลต่อสุขภาพพนักงาน
2. อาการเหนื่อยล้าในการทำงาน ส่งผลต่อทัศนคติความพอใจในงาน (Work Satisfaction) และการคงอยู่ในงานอาชีพ (Commitment) คนที่มีอาการเหนื่อยล้าในการทำงานมักจะมีความเครียดจากองค์การและในงานอาชีพ Maslach (1982) พบว่าบุรุษพยาบาลลาออกจากงานไปเป็นช่างไม้ ที่ปรึกษากฏหมายหันไปยึดอาชีพทำฟาร์มและสาบานว่าจะไม่กลับมาทำงานเดิมอีกแล้วเพราะไม่ต้องการพบปะผู้คนและไม่ต้องรองรับอารมณ์ของคนอื่น ๆ
3. อาการเหนื่อยล้าในการทำงานส่งผลต่อองค์การ คือ การโยกย้ายงานภายในองค์การหรือการลาออกจากองค์การ Shinn (1982) วิจัยว่าอาการเหนื่อยล้าในการทำงานทำให้คนย้ายงานมากขึ้น

สรุป
เราเรียนรู้ปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้เกิดความเครียดในองค์การ เข้าใจคำว่า ความเหนื่อยล้าในการทำงาน (Burnout) และตัวก่อความเครียดหรือสาเหตุของความเครียด (Stressors) นำไปสู่ความเหนื่อยล้าในการทำงานและผลลัพธ์ที่แสดงออกมาทางร่างกาย (Physiological) , ทัศนคติ (Attitudinal) , พฤติกรรม (Behavioral)

สาเหตุของความเหนื่อยล้าในการทำงานอันเนื่องมาจากการติดต่อสื่อสาร
( Communication as a cause of Burnout )
Communicative interaction คือ ปฏิสัมพันธ์ในการติดต่อสื่อสารซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด
Farace, Monge, และ Russel (1977) ระบุหน้าที่ของ Communication Load (ภาระในการติดต่อสื่อสาร) คือ การวิจารณ์กันภายในองค์การในแง่ต่าง ๆ ทำให้เข้าใจหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การนั้น มากขึ้น โดยภาระของการติดต่อสื่อสาร มีดังนี้
1 ภาระเกี่ยวกับอัตราความถี่และความซับซ้อนของข้อมูลที่ได้รับในแต่ละคน (rate and complexity of information ) ซึ่งจะส่งผลตอบสนองต่อปริมาณงานและคุณภาพงาน ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว ถ้าได้รับข้อมูลมากหรือข้อมูลข่าวสารมีความซับซ้อนยากที่จะรับรู้ จะก่อให้เกิดความเครียดต่อบุคคลนั้น ๆ
2 ภาระในการติดต่อสื่อสารขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคนในการรับรู้ข้อมูล ซึ่งบางคนรับรู้ข้อมูลแล้วก่อให้เกิดความเครียด ในขณะที่อีกคนอาจคิดว่าเป็นสิ่งท้าทาย รู้สึกสนุก
3 การติดต่อสื่อสารที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป จะก่อให้เกิดปัญหาความเหนื่อยล้าในการทำงานได้ เมื่อมีการติดต่อสื่อสารที่น้อยไป พนักงานจะเกิดความเบื่อหน่ายในการทำงานซ้ำซ้อน งานที่ออกมาก็อาจไม่ถูกใจเจ้านาย ถ้ามีการติดต่อสื่อสารที่มากไปก็จะเกิดความเหนื่อยล้าในการทำงานได้เช่นกัน เช่น อาจารย์โรงเรียนอนุบาลที่ต้องติดต่อสื่อสารกับหลาย ๆ ฝ่าย (เด็ก ผู้ปกครอง ครู และอื่น ๆ ) จะมีความเครียดมากกว่าอาจารย์ที่สื่อสารน้อยกว่า

การสื่อสารมีอิทธิพลต่อความขัดแย้งในบทบาทหน้าที่ (Role Conflict) และความคลุมเครือในบทบาทหน้าที่ (Role Ambiguity)
ผู้บริหารระดับกลางต้องเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารให้แต่ละคนเรียนรู้ในงานและองค์การได้ดี ถ้าเขามีปฏิสังคมที่ไม่ดีเพียงพอแล้ว ก็อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งในบทบาทหน้าที่ (Role Conflict) และความคลุมเครือในบทบาทหน้าที่ (Role Ambiguity) ได้

ดังนั้น การสื่อสารสามารถทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าในการทำงาน โดยมีสาเหตุมาจากความเครียดในการทำงาน เช่น ภาระของการสื่อสาร (Load) ความขัดแย้งในบทบาทหน้าที่ (Role Conflict) และความคลุมเครือในบทบาทหน้าที่ (Role Ambiguity) นอกจากนั้นยังเกิดจากอารมณ์ ความรู้สึกในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งจะทำให้เกิดความเครียดขึ้นในองค์การ


ตารางแสดงแหล่งที่มาและหน้าที่ของสังคมรอบข้างที่สามารถช่วยจัดการกับความเครียด

From
Support Supervisor
(หัวหน้างาน) Coworkers
(เพื่อนร่วมงาน) Family and Friends(ครอบครัวและเพื่อน)
Emotional Social
(การให้กำลังใจ) ไม่ได้รับ ได้รับ ได้รับ
Information Social
(การให้ข้อมูล) ได้รับ ได้รับ ไม่ได้รับ
Instrumental Social
(การให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆ) ได้รับ
ไม่ได้รับ ได้รับ


แหล่งที่มาของข้อมูล
แปลมาจากหนังสือ Organization Communication : Approaches and Process
ของ Katherine Miller เรื่อง Stress and Social Support Process

ที่มาของข้อมูล
www.google.com
ความเหนื่อยล้าในการทำงาน


โดย: 501104126107 สวรรยา แก้ววัน IP: 203.113.118.4 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:11:03:23 น.  

 
ความเหนื่อยล้าทางร่างกาย อันเกิดจากได้ผ่านการทำงานอย่างหนัก และติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งจะมีความเกี่ยวเนื่องมาจากสภาพความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายที่จะทำให้แต่ละคนมีความพร้อมในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันแตกต่างกัน
ความเหนื่อยล้าทางร่างกาย เนื่องมาจากร่างกายต้องทำงานหนักเกินไปหรือทำงานโดยขาดการพักผ่อน หรือทำงานในที่มีอากาศร้อนจัดเกินไป
แหล่งที่มา //www.crma.ac.th/cadet/training%20 manual/l/103/7.doc
//home.kku.ac.th/genedu/000131/deofile/papercontent06/wnit06/unit6_3.doc


โดย: 501104126123-เยาวบลักษณ์ ตันหลิม IP: 203.113.118.4 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:11:09:05 น.  

 
Maslach (1982) อธิบายว่า Burnout มีมิติที่เกี่ยวข้อง 3 มิติ คือ
1. Emotional exhaustion คือ ความเหนื่อยอ่อนทางอารมณ์ พนักงานมักจะเกิดความเหนื่อยอ่อนทางอารมณ์ เมื่อเขารู้สึกเหนื่อยใจ ผิดหวัง หมดประโยชน์ ไม่สามารถทำงานได้
2. A lack of personal accomplishment คือ การไม่ประสบความสำเร็จในแต่ละบุคคล จะทำให้พนักงานผู้นั้นรู้สึกล้มเหลว ไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. Depersonalization คือ การขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง พนักงานจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในงาน เช่น ลูกค้า คนไข้ นักเรียน เมื่อเกิด Burnout ขึ้น พนักงานคนนั้นก็จะ “มองคนอื่นผ่านแว่นสีชา” คือ เริ่มมองคนในแง่ร้าย คาดหวังในตัวผู้อื่นในแง่ที่ไม่ดี เริ่มไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ตัวอย่าง
Rhoda เป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่ทำงานมากว่า 15 ปี เธอทำงานตามอุดมการณ์ อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี เธอเกิดอาการเหนื่อยล้าจากงานที่เธอทำเป็นประจำ เธอมีอาการทั้ง 3 อย่างดังที่กล่าวมาแล้ว เธอต้องไปพบลูกค้าเป็นการส่วนตัวที่มีปัญหาต่าง ๆ มากมาย ซึ่งบางครั้งเธอเคยเรียกลูกค้าเหล่านั้นว่า “พวกมีคุณภาพชีวิตต่ำ (Lowlifes)” เธอเบื่อหน่ายไม่อยากไปทำงาน เหนื่อยกาย เหนื่อยใจทุกครั้งเมื่อกลับบ้าน เมื่อเธอคิดกลับไปว่าเธอต้องการประสบความสำเร็จอะไรในอาชีพ เธอเริ่มซึมเศร้า เริ่มรู้สึกว่าตัวเองแตกต่างจากคนอื่น
เวลาทำงาน จะเกิดความเหนื่อยล้า ในการทำงาน 1วัน
ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
งานอันตรายตามที่กำหนดในกฏกระทรวงไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

แหล่งที่มาของข้อมูล
www.google.com
แปลมาจากหนังสือ Organization Communication : Approaches and Process
ของ Katherine Miller เรื่อง Stress and Social Support Process


โดย: อารยา ผิวเนียม 501104126113 IP: 203.113.118.4 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:11:10:19 น.  

 
1.นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานทุกประเภทไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และ ไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เว้นแต่งานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวันและไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

2. เวลาในการทำงาน เวลาที่นานเกินไป เช่น เกินกว่า 8 ชั่วโมงในวันหนึ่งวัน การให้พนักงานทำงานนอกเวลาติดต่อกันทั้งกลางวันและกลางคืน ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายงานและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

3. การจัดช่วงเวลา งานที่ติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ขับรถเป็นระยะทางไกลโดยไม่ได้พัก จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะเกิดความเหนื่อยล้า และง่วงนอนในงานที่ซ้ำซาก การจะมีการพักเป็นช่วง ๆ เช่น เวลาทำงานใน 3 – 4 ชั่วโมง ควรพัก 10 ถึง 15 นาที เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ

ที่มา
1.www.academic.cmru.ac.th/explain/10_02.htm

2.158.108.16.61/sheet/sheet/Sheet%20IS/Intelligent%20information%20systems/intelligence%20IS.doc -


โดย: 501104126126 ศศิธร สิทธิ IP: 203.113.118.4 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:11:13:45 น.  

 
เมื่อคนเกิดความเหนื่อยล้าสะสมนานๆ การนอนไม่เป็นระบบ นาฬิกาชีวภาพ (Biological clock) ในร่างกายทำงานสับสน ความเปลี่ยนแปลงก็จะเริ่มเกิดขึ้น อย่างแรกคืออารมณ์ไม่ดี อารมณ์ไม่ดีของคนอดนอนไม่ใช่อาการผิดปกติ ความคิดความอ่านก็ล่าช้า การนอนหลับไม่เพียงพอหรือหลับไม่ได้คุณภาพนำไปสู่การหลับใน

ในอเมริกาเขามีการสำรวจเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาพบว่าวัยรุ่นที่มีใบขับขี่ถึงคนอายุ 40 ปีมีอุบัติเหตุหลับในมากที่สุด เพราะว่าคนพวกนี้ชอบเที่ยวคืนวันศุกร์และวันเสาร์ ในวันศุกร์ตื่นแต่เช้าไปทำงานทั้งวันพอเย็นก็ไปเที่ยวไปดื่ม ออกจากร้านนี้ไปร้านโน้น กว่าจะเลิกราก็ปาไปเกือบรุ่งสาง เวลาสำหรับการนอนหลับพักผ่อนถูกรุกรานด้วยกิจกรรมไม่ปกติ ในเมืองไทยบ้านเราก็มีอุบัติเหตุที่เกิดจากความเหนื่อยล้า สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ขับรถไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุกหรือรถนั่งส่วนบุคคล หากนอนไม่ค่อยหลับหรือมีอาการง่วงในช่วงบ่ายๆ ให้ปรึกษาแพทย์ด้านจิตเวช ไม่ได้หมายความว่าเราบ้า แต่แพทย์ด้านนี้เขามีวิธีซักถามและหาค้นหาสาเหตุเพื่อจะรักษาแก้ไข วิทยาการที่ทันสมัยปัจจุบันนี้ทำให้ปัญหาหลายๆ อย่างถูกแก้ไข ไม่ได้ถูกกลบไว้เหมือนกับในอดีตเพราะวิทยาการยังไม่ได้รับการพัฒนา

กะการทำงานคือตัวช่วยในการหลีกเลี่ยงความเหนื่อยล้า วงการโรงพยาบาลใช้สูตร 8 คือ วันละ 3 กะ วงการบรรทุกขนส่งของพวกผมใช้สูตร 12 คือวันละ 2 กะแต่จริงๆ ก็ขับรถเพียงประมาณ 4-6 ชั่วโมง และต้องสลับกันทุกๆ สัปดาห์

สาระสำคัญของกฎกระทรวงและพระราชกฤษฎีกา

1) ลูกจ้างที่ทำงานใช้วิชาชีพหรือวิชาการ งานด้านบริการและการจัดการ งานเสมียนพนักงาน งานอาชีพด้านการค้า งานอาชีพด้านบริการ
งานที่เกี่ยวข้อง กับการผลิต หรืองานที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าว อาจตกลงกันกำหนดเวลาทำงาน ปกติเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมงได้ แต่ต้องไม่
เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ในกรณีลูกจ้าง ได้รับค่าจ้างรายวัน ให้จ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นตามส่วนสำหรับชั่วโมงทำงานเกิน 8 ชั่วโมง

2) กำหนดงานที่อาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ได้แก่ งานผลิตสารเคมีอันตราย งานเชื่อมโลหะ งานที่ต้องทำใต้ดิน
ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือในที่อับอากาศ งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี งานขนส่งวัตถุอันตราย งานที่ต้องทำด้วยเครื่องมือหรือเครื่องจักร
ซึ่งผู้ทำได้รับความสั่นสะเทือนอันอาจเป็น อันตราย งานที่ต้องทำเกี่ยวกับความร้อนจัดหรือความเย็นจัดอันอาจเป็นอันตราย

4) ในกรณีที่มีความจำเป็นนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา และทำงาน ในวันหยุด และทำงานล่วงเวลาในวันหยุดได้ไม่เกินสัปดาห์ละ 36 ชั่วโมง
5) ลูกจ้างที่ทำงานขนส่งทางบก เช่น พนักงานขับรถ กำหนดเวลาทำงานปกติ วันละไม่เกิน 8 ชั่วโมง สำหรับงานขับขี่ยานพาหนะทั่วไป
กำหนดให้ลูกจ้างมีเวลาพัก หลังจากทำงานขับขี่ยานพาหนะมาแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมง และจัดให้ลูกจ้างพักอย่างน้อย 12 ชั่วโมงก่อนให้เริ่ม
ทำงานขับขี่ยานพาหนะในวันต่อไป เพื่อให้ลูกจ้างลดความเมื่อย ล้าและอารมณ์ตึงเครียดจากการทำงาน

“สภาวะการทำงาน” หมายความว่า สภาวะแวดล้อมซึ่งปรากฏอยู่ในบริเวณที่ทำงานของ
ลูกจ้างซึ่งรวมถึงสภาพต่าง ๆ ในบริเวณที่ทำงาน เครื่องจักร อาคาร สถานที่ การระบายอากาศ ความร้อน
แสงสว่าง เสียง ตลอดจนสภาพและลักษณะการทำงานของลูกจ้างด้วย
“งานเบา” หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงน้อยหรือใช้กำลังงานที่ทำให้เกิดการเผาผลาญอาหาร
ในร่างกายไม่เกิน ๒๐๐ กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง เช่น งานเขียนหนังสือ งานพิมพ์ดีด งานบันทึกข้อมูล
งานเย็บจักร งานนั่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์ งานประกอบชิ้นงานขนาดเล็ก งานบังคับเครื่องจักรด้วยเท้า
การยืนคุมงาน หรืองานอื่นที่เทียบเคียงได้กับงานดังกล่าว
“งานปานกลาง” หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงปานกลางหรือใช้กำลังงานที่ทำให้เกิด
การเผาผลาญอาหารในร่างกายเกิน ๒๐๐ กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง ถึง ๓๕๐ กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง เช่น
งานยก ลาก ดัน หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของด้วยแรงปานกลาง งานตอกตะปู งานตะไบ งานขับรถบรรทุก
งานขับรถแทรกเตอร์ หรืองานอื่นที่เทียบเคียงได้กับงานดังกล่าว
“งานหนัก” หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงมาก หรือใช้กำลังงานที่ทำให้เกิดการเผาผลาญอาหาร
ในร่างกายเกิน ๓๕๐ กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง เช่น งานที่ใช้พลั่วหรือเสียมขุดตัก งานเลื่อยไม้ งานเจาะไม้
เนื้อแข็ง งานทุบโดยใช้ฆ้อนขนาดใหญ่ งานยกหรือเคลื่อนย้ายของหนักขึ้นที่สูงหรือที่ลาดชัน
หรืองานอื่นที่เทียบเคียงได้กับงานดังกล่าว

มาตรฐานระดับเสียงเสียง
เวลาการทำงานที่ได้รับเสียง (ชั่วโมง) /เดซิเบล
๑๒ เสียงเฉลี่ยตลอดการทำงาน ไม่เกิน ๘๗
๘ เสียงเฉลี่ยตลอดการทำงาน ไม่เกิน ๙๐
๗ เสียงเฉลี่ยตลอดการทำงาน ไม่เกิน ๙๑
๖ เสียงเฉลี่ยตลอดการทำงาน ไม่เกิน ๙๒
๕ เสียงเฉลี่ยตลอดการทำงาน ไม่เกิน ๙๓
๔ เสียงเฉลี่ยตลอดการทำงาน ไม่เกิน ๙๕
๓ เสียงเฉลี่ยตลอดการทำงาน ไม่เกิน ๙๗
๒ เสียงเฉลี่ยตลอดการทำงาน ไม่เกิน ๑๐๐
๑ เสียงเฉลี่ยตลอดการทำงาน ไม่เกิน ๑/๒ ๑๐๒
๑ เสียงเฉลี่ยตลอดการทำงาน ไม่เกิน ๑๐๕
๑/๒ เสียงเฉลี่ยตลอดการทำงาน ไม่เกิน ๑๑๐
๑/๔ เสียงเฉลี่ยตลอดการทำงาน ไม่เกิน หรือน้อยกว่า ๑๑๕

ในการทำงานในแต่ละวันระดับเสียงที่นำมาเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน (TWA)
จะมีระดับเสียงสูงสุด (Peak) เกิน ๑๔๐ เดซิเบลเอ มิได้
มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับตลอดเวลาการทำงานในแต่ละวัน

มาตรฐานค่าเฉลี่ยความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไป
บริเวณพื้นที่ทั่วไปของอาคาร
ทางเข้า
- ทางเข้าห้องโถง หรือห้องพักรอ ๒๐๐ (ลักซ์)
- บริเวณโต๊ะประชาสัมพันธ์ หรือโต๊ะติดต่อลูกค้า ๔๐๐ (ลักซ์)
- ประตูทางเข้าใหญ่ของสถานประกอบกิจการ ๕๐ (ลักซ์)
- ป้อมยาม ๑๐๐ (ลักซ์)
- จุดขนถ่ายสินค้า ๑๐๐ (ลักซ์)


แหล่งข้อมูล
www.labour.go.th
www.LefHit.com กฎหมายความปลอดภัย
www.bangkokBiz Week.com



โดย: กรณิการ์ พิมนะวัน 501104126108 (com3/1 ) วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:12:06:08 น.  

 
ในการประเมินความเมื่อยล้าก่อนการทำงาน พนักงานที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 23 ปี มีความเมื่อยล้ามากกว่าพนักงานที่มีอายุ 23 ปีขึ้นไป เมื่อวัดกับเครื่องวัด ระยะเวลาตอบสนองแบบแสง พนักงานที่มีอายุ 23 ปีขึ้นไป ทำงานกะกลางคืน มีความเมื่อยล้ามากกว่าพนักงานที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 23 ปี พนักงานที่ทำงานเวลาปกติ เมื่อวัดกับเครื่องวัดความเมื่อยล้าทางสายตาแบบความถี่เพิ่ม พนักงานทำงานประกอบสินค้า มีความเมื่อยล้ามากกว่าพนักงานตรวจสอบควบคุมคุณภาพ เมื่อวัดโดยใช้แบบสอบถามความเมื่อยล้าทางร่างกาย และพนักงานที่มีชั่วโมงนอกมากกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป มีความเมื่อยล้ามากกว่าพนักงานที่มีชั่วโมงนอนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 ชั่วโมง เมื่อวัดกับเครื่องวัดระยะเวลาตอบสนองแบบเสียง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ในการประเมินความเมื่อยล้าหลังการทำงาน พนักงานที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 23 ปี มีความเมื่อยล้ามากกว่าพนักงานที่มีอายุ 23 ปีขึ้นไป เมื่อวัดกับเครื่องวัดระยะเวลาตอบสนองแบบเสียง พนักงานที่โสดมีความเมื่อยล้ามากกว่าพนักงานที่สมรส เมื่อวัดกับเครื่องวัดระยะเวลาตอบสนองแบบแสง พนักงานทำงานประกอบสินค้ามีความเมื่อยล้ามากกว่าพนักงานตรวจสอบควบคุมคุณภาพ เมื่อวัดกับเครื่องวัดความเมื่อยล้าทางสายตาแบบความถี่เพิ่ม พนักงานที่มีชั่วโมงนอนมากกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป มีความเมื่อยล้ามากกว่าพนักงานที่มีชั่วโมงนอนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6
ชั่วโมง เมื่อวัดกับแบบสอบถามความเมื่อยล้าทางร่างกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พนักงานทำงานกะเมื่อล้ามากกว่าพนักงานที่ทำงานเวลาปกติ เมื่อวัดกับแบบสอบถามความเมื่อยล้าทั่วไปและความเมื่อยล้าโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01-.05 ตามลำดับ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความเมื่อล้ากับผลการปฏิบัติงาน พบว่า ความเมื่อล้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับผลการปฏิบัติงาน แต่ไม่ถึงกับมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นการวัดโดยเครื่องวัดระยะเวลาตอบสนองแบบแสง
แหล่งที่มาของข้อมูล
ได้ข้อมูลมาจาก //www.google.co.th




โดย: กาญจนา ทองแล หมู่เรียน501104126116 IP: 203.113.118.4 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:12:38:11 น.  

 
ความเหนื่อยล้าในการทำงานของลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00น.-06.00น. ทำงาน ล่วงเวลา ทำงานในวันหยุดหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ - งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน - งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ - งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม - งานที่ทำในเรือ - งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 3. พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างเปลี่ยนเวลาทำงานหรือชั่วโมงทำงาน ของ ลูกจ้างหญิงที่ทำงานในระหว่างเวลา 24.00น.-06.00น. ได้ตามที่เห็น สมควร ถ้า พนักงานตรวจแรงงานเห็นว่างานนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัย ของลูกจ้างหญิงนั้น 4. ลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีสิทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการ ชั่วคราว ก่อนหรือหลังคลอดได้ กรณีที่มีใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง มาแสดงว่า ไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้ 5. ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์

ที่มา : //www.mol.go.th


โดย: เพ็ญนิภา ป้องไฝ 5011041261 IP: 203.113.118.4 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:12:42:00 น.  

 
1. ความเหนื่อยล้าในการทำงาน นายจ้างต้องจัดลูกจ้างเด็กมีเวลาพักวันละไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงติดต่อกัน หลังจากที่เด็กทำงานมาแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมง แต่ใน 4 ชั่วโมงนั้นลูกจ้างเด็กให้ลูกจ้างเด็กได้มีเวลาพักตามที่นายจ้างกำหนด
2. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด
3. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กทำงานในระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 06.00 น. เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย แต่ถ้าเป็นงานแสดง ภาพยนตร์ ละคร หรือการแสดงอย่างอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน นายจ้างอาจให้ลูกจ้างเด็กทำงานในเวลาดังกล่าวได้ โดยต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักผ่อนตามสมควร

ที่มา //law.tu.ac.th/law_center/law_document/book2/b2-7.html



โดย: ศิริพร แตงโสภา 501104126112 (com3/1 ) วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:13:40:56 น.  

 
การทำงานที่ยาวนานกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หมายถึง ความสุขที่ถูกบั่นทอนลง

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization - ILO) ได้ออกรายงานชื่อว่า “ชั่วโมงการทำงานรอบโลก” หรือ Working Time around the World ได้จัดอันดับประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 3 ของคนงานที่ทำงานเกินเวลามากที่สุดในโลก คือ มากกว่า 46.7% ของคนงานในไทยทำงานมากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ทำงาน 6 วัน/สัปดาห์ วันละ 8 ชั่วโมง) ... ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสมีกฎหมายอย่างชัดเจนว่า ชั่วโมงการทำงานโดยเฉลี่ยของผู้ใช้แรงงานจะต้องอยู่ที่ 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ลดลงจากเดิม 39 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ซึ่งกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้มาแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี 2000

ยิ่งไปกว่านั้น รายงานของ ILO ยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า สิทธิตามกฎหมายสำหรับผู้ใช้แรงงานในประเทศไทยในการลาหยุดพักผ่อนประจำปี (ทั้งนี้ เทียบกับประเทศกำลังพัฒนามากกว่า 50 ประเทศ ทั่วโลก) ยังถูกจัดอยู่ในอันดับที่ต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียอีกด้วย คือประมาณ 10 วันต่อปี หรือน้อยกว่านั้น

แหล่งที่มา::://gotoknow.org/blog/shibo/102974

โดย นางสาวพรพรรณ ประสารศรี 501104126118


โดย: com3/1 วันที่: 10 กันยายน 2550 เวลา:13:02:03 น.  

 
ความเครียดและกระบวนการทางสังคม
Stress and Social Support Processes

ความหมายและลักษณะพิเศษเฉพาะ
Stress ( ความเครียดในที่ทำงาน )
หมายถึง ความยุ่งยากในการจัดการกับผลลัพธ์ในด้านลบที่เพิ่มพูนมาจากข้อจำกัดในการทำงาน ในรายงานนี้จะกล่าวถึงความเครียดโดยทั่วไปที่พบได้และก่อให้เกิดกระบวนการที่ทำให้เครียด (Stress Process)
กระบวนการที่ทำให้เครียด มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ (Aspects of the Environment) เราเรียกว่า ตัวก่อความเครียดหรือสาเหตุของความเครียด (Stressors) และผลกระทบจากความเครียดในแต่ละบุคคล เราเรียกว่า Burnout ซึ่งหมายถึง ผลกระทบทางด้านจิตใจ ทางด้านร่างกาย และผลทางด้านลบในการปฏิสังคมในที่ทำงาน (organizational outcomes)

Burnout (ความเหนื่อยล้าในการทำงาน)
หมายถึง การทำลายสุขภาพ การทำให้อ่อนเพลีย เนื่องมาจากการทำงานมาก ความเครียดจากการทำงาน
Herbert Freudenberger (1974) เป็นผู้บัญญัติศัพท์ Burnout ขึ้นมา หมายถึง wearing out การทำให้อ่อนเพลีย ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงาน Burnout เป็นข้อจำกัดเรื้อรังของลูกจ้าง เป็นผลมาจากความเครียดในการทำงานในแต่ละวันและสะสมไม่ได้รับการแก้ไข

Maslach (1982) อธิบายว่า Burnout มีมิติที่เกี่ยวข้อง 3 มิติ คือ
1. Emotional exhaustion คือ ความเหนื่อยอ่อนทางอารมณ์ พนักงานมักจะเกิดความเหนื่อยอ่อนทางอารมณ์ เมื่อเขารู้สึกเหนื่อยใจ ผิดหวัง หมดประโยชน์ ไม่สามารถทำงานได้
2. A lack of personal accomplishment คือ การไม่ประสบความสำเร็จในแต่ละบุคคล จะทำให้พนักงานผู้นั้นรู้สึกล้มเหลว ไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. Depersonalization คือ การขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง พนักงานจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในงาน เช่น ลูกค้า คนไข้ นักเรียน เมื่อเกิด Burnout ขึ้น พนักงานคนนั้นก็จะ “มองคนอื่นผ่านแว่นสีชา” คือ เริ่มมองคนในแง่ร้าย คาดหวังในตัวผู้อื่นในแง่ที่ไม่ดี เริ่มไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ตัวอย่าง
Rhoda เป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่ทำงานมากว่า 15 ปี เธอทำงานตามอุดมการณ์ อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี เธอเกิดอาการเหนื่อยล้าจากงานที่เธอทำเป็นประจำ เธอมีอาการทั้ง 3 อย่างดังที่กล่าวมาแล้ว เธอต้องไปพบลูกค้าเป็นการส่วนตัวที่มีปัญหาต่าง ๆ มากมาย ซึ่งบางครั้งเธอเคยเรียกลูกค้าเหล่านั้นว่า “พวกมีคุณภาพชีวิตต่ำ (Lowlifes)” เธอเบื่อหน่ายไม่อยากไปทำงาน เหนื่อยกาย เหนื่อยใจทุกครั้งเมื่อกลับบ้าน เมื่อเธอคิดกลับไปว่าเธอต้องการประสบความสำเร็จอะไรในอาชีพ เธอเริ่มซึมเศร้า เริ่มรู้สึกว่าตัวเองแตกต่างจากคนอื่น

Pines, Aronson และ Kafry (1981) อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างคำว่า “ Burnout ” กับคำว่า “ Tedium ” ว่าทั้ง 2 คำหมายถึง ความเบื่อหน่าย ความเฉื่อยชา แต่ต่างกันที่แหล่งกำเนิด (Origin)
* Burnout จะใช้กับพนักงานบริษัท
* Tedium ใช้กับข้าราชการ

Miller, Zook และ Ellis (1989) ชี้ชัดว่า “ อาชีพต่าง ๆ ที่ได้รับความเครียด จะเกิดเหนื่อยอ่อนทางอารมณ์ ทำให้สูญเสียบุคลิกภาพที่ดีและสูญเสียความมั่นใจในตนเอง (ที่จะทำงานให้สำเร็จ) หรือที่เรียกว่าเกิดความเหนื่อยล้าในการทำงาน ”

แบบจำลองพื้นฐานของความเครียดในที่ทำงาน (Basic Model of Stress in the Workplace)

สาเหตุของความเครียด อาการเหนื่อยล้าในการทำงาน ผลลัพธ์
ปัจจัยต่าง ๆ ทางสิ่งแวดล้อม ที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อบุคคล ทำให้บุคคลนั้น ๆ ไม่สามารถจัดการกับความยุ่งยากนั้นได้ ความเครียดที่เป็นผลมาจากปัจจัย ที่ก่อให้เกิดความเครียด ทางกาย ทางทัศนคติและทางสังคมของอาการเหนื่อยล้าในการทำงาน

สาเหตุของความเครียดที่นำไปสู่อาการเหนื่อยล้าในการทำงาน
( Stressors That Lead to Burnout )
ปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเครียดในองค์การ จะทำให้เห็นภาพการพัฒนาองค์การอย่างชัดเจนขึ้น
Miller, Ellis, Zook และ Lyles (1990) พบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในการทำงาน คือ การที่มีงานมากเกินกำลัง (Workload) ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “ ปริมาณงาน ” (Quantitatively) มีงานปริมาณมาก ( too much ) และคุณภาพ (Qualitatively) งานที่ให้ทำมีความยากมาก (too difficult) และงานต่าง ๆ ก็มาจากหลากหลายแหล่งในองค์การ ตัวอย่างเช่น อาจารย์รู้สึกว่ารับภาระงานมาก เนื่องจากมีนิสิตในชั้นมาก ต้องเป็นกรรมการอาจารย์คณะต่าง ๆ ด้วย และต้องตรวจงานเด็กเยอะมาก

Kahn, Wolfe, Quinn, Snoek และ Rosenthal (1964) พบว่า สาเหตุมาจากความขัดแย้งในบทบาทหน้าที่ (Role conflict) และความคลุมเครือในบทบาทหน้าที่ (Role ambiguity)
ความขัดแย้งในบทบาทหน้าที่ (Role conflict) คือ มีบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบสองอย่างหรือมากกว่าและเกิดความขัดแย้งกันเองในทั้งสองบทบาทนั้น
ส่วนความคลุมเครือในบทบาทหน้าที่ (Role ambiguity) คือ ไม่มีความชัดเจนแน่นอนเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบ ตัวอย่างเช่น นักโปรแกรมเมอร์ได้รับคำสั่งให้รับผิดชอบงาน ๆ หนึ่ง แต่เกิดความขัดแย้งในความต้องการของคนสั่งงาน (คนนั้นจะเอาอย่างนี้คนนี้จะเอาอย่างนั้น) นักโปรแกรมเมอร์คนนั้นก็จะเกิดการเหนื่อยล้าในการทำงานได้

นอกจากปัจจัยที่เกิดการเหนื่อยล้าในการทำงานจะเกิดจากที่ทำงานแล้ว อาจจะเกิดจากปัญหาส่วนตัวก็ได้ Holmes และ Rahe (1967) พบว่า เหตุการณ์สำคัญในชีวิต เช่น การหย่าร้าง การเกษียณอายุ การตั้งครรภ์ การตายและการโยกย้าย อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและส่งผลกระทบต่อการทำงานด้วย ผู้บังคับบัญชาทราบดีว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการเรื่องครอบครัวหรืองานส่วนตัวและงานในที่ทำงานให้แยกจากกันโดยเด็ดขาด สาเหตุของความเครียดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็มักจะส่งผลกระทบกับอีกด้านหนึ่งเสมอ


โดย: 501104126115 นางสาวกาญจนา กองเกิน (com3/1 ) วันที่: 13 กันยายน 2550 เวลา:10:11:41 น.  

 
เวลาทำงาน
ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
งานอันตรายตามที่กำหนดในกฏกระทรวงไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

เวลาพัก
ในวันที่มีการทำงานให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง ภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน
นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมง ก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่าครั้งละ 20 นาทีและเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง
กรณีงานในหน้าที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป หรือเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้ นายจ้างจะไม่จัดเวลาพักให้ลูกจ้างก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง



โดย: นางสาวเสาวนีย์ หุมอาจ รหัส 501104126103 (com3/1 ) วันที่: 17 กันยายน 2550 เวลา:13:38:06 น.  

 
การใช้แรงงานเด็ก
ห้ามนายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้าง
กรณีที่มีการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นลูกจ้าง นายจ้างต้องแจ้งต่อพนักงาน ตรวจแรงงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่ เด็กเข้าทำงาน และแจ้งการสิ้นสุดการ จ้างเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน นายจ้างต้องจัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมงต่อวันภายใน 4 ชั่วโมงแรกของ การทำงาน และให้มีเวลาพักย่อยได้ตามที่นายจ้างกำหนด
ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 - 06.00 น. เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี
ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานล่วงเวลา
ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานต่อไปนี้
งานหลอม เป่า หล่อ หรือรีดโลหะ
งานปั๊มโลหะ
งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียงและแสง ที่มีระดับแตกต่างจากปกติอันอาจเป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื้ออื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานในสถานี บริการที่เป็นเชื้อเพลิงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้นจั่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
งานใช้เลื่อยเดินด้วยพลังไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์
งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ, ในถ้ำ อุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา
งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
งานทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่กำลังทำงาน
งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
งานอื่นตามที่กำหนดในกระทรวง
ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในสถานที่ต่อไปนี้
โรงฆ่าสัตว์
สถานที่เล่นการพนัน
สถานที่เต้นรำ รำวง หรือ รองเง็ง
สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่ม อย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกจ้าง หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอน หรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า
สถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ห้ามนายจ้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กแก่บุคคลอื่น
ห้ามนายจ้างเรียก/หรือรับ เงินประกันจากฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก
ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุม สัมมนา รับการอบรม รับการฝึก หรือลาเพื่อการอื่นซึ่งจัดโดยสถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่อธิบดีเห็นชอบ และให้นายจ้าง จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างเด็กเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน

หลักฐานการทำงาน
นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นภาษาไทย ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้างและ ส่งสำเนาให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อบังคับฯ ต้องระบุเรื่องต่างๆ ดังนี้ วันทำงาน เวลาทำงานปกติ เวลาพัก วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงาน ในวันหยุด วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดวันลาและหลักเกณฑ์การลา วินัยและโทษ การร้องทุกข์ และการเลิกจ้าง
ทะเบียนลูกจ้างต้องมีชื่อ เพศ สัญชาติ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ปัจจุบัน วันเริ่มจ้าง ตำแหน่งหรืองานในหน้าที่ อัตราค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ ที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างและวันสิ้นสุดการจ้าง
เอกสารเกี่ยวกับการคำนวณค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ต้องระบุ วันเวลาทำงาน ผลงานที่ทำได้สำหรับการจ้างตามผลงาน และจำนวนเงินที่จ่าย โดยมีลายมือชื่อลูกจ้างผู้รับเงิน

การควบคุม
นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป จะต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทย อย่างน้อยต้องมี รายละเอียดดังนี้
วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด
วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
วันลาและหลักเกณฑ์การลา
วินัยและโทษทางวินัย
การร้องทุกข์
การเลิกจ้าง ค่าชดเชยและชดเชยพิเศษ
นายจ้างต้องประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายใน 15 วัน นับจากวันที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
นายจ้างต้องปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ ทำงานของลูกจ้าง
ให้ประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต่อไปแม้ว่านายจ้างจะมีลูกจ้าง ลดต่ำกว่า 10 คนก็ตาม



โดย: สมฤดี ลาคำ 501104126121 IP: 125.27.251.228 วันที่: 24 กันยายน 2550 เวลา:15:05:33 น.  

 
พักสายตาหน้าคอม คล้ายความเหนื่อยล้า
มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ การที่จะต้องนั่งหน้าคอมดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงซะไม่ได้ แต่การที่นั่งหน้าคอมนานเกินไป อาจทำให้เกิดการเหนื่อยล้าของสายตาได้ ซึ่งวันนี้เราก็มีเคล็ดลับในการช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้าทางสายตามาฝากกันค่ะ
1. หลับตาลง หลังจากนั้นใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างปิดที่ดวงตา ความอบอุ่นจากฝ่ามือจะช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าดังกล่าวลงได้
2. หลับตาลง ปล่อยแขนลงข้างลำตัว อาจทำในระหว่างที่ยังนั่งอยุ่ที่เก้าอี้หน้าคอมได้นะคะ หลังจากนั้นก็สูดหายใจเข้าลึกๆ หลายๆ ครั้ง
3. หลังจากที่หลับตาแล้ว เมื่อลืมตาขึ้นมาก็ควรค่อยๆ มองจอคอมพิวเตอร์อย่างกว้างๆ ทั่วทั้งจอก่อน หรือบริเวณที่เป็นพื้นที่สีขาว
4. ปิดตาลงอีกครั้ง หายใจเข้าลึกๆ แล้วค่อยๆ ลืมตา
ทำแบบนี้ซ้ำๆ กันไปมาอีกสัก 3 ครั้ง คุณก็จะรู้สึกผ่อนคลายขึ้นค่ะ.


โดย: น.ส.สฤดี ลาคำ 501104126121 IP: 125.27.251.228 วันที่: 24 กันยายน 2550 เวลา:15:17:29 น.  

 
เรื่อง ความเหนื่อยล้าต่อการใช้เวลาว่างและคุณภาพชีวิตทางสุขภาพในหญิงที่เจ็บป่วยเรื้อรัง

ความเหนื่อยล้าอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการใช้เวลาว่างและคุณภาพชีวิตทางสุขภาพในหญิงที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ปัจจุบันไม่มีงานวิจัยสืบค้นความสัมพันธ์ระหว่างความเหนื่อยล้า การใช้เวลาว่าง และคุณภาพชีวิตทางสุขภาพในประชากรดังกล่าววัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ว่าความเหนื่อยล้าน่าจะเป็นปัจจัยควบคุมหรือเชื่อมโยงในความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการใช้เวลาว่างและคุณภาพชีวิตทางสุขภาพวิธีการวิจัย เป็นการเก็บข้อมูลครั้งเดียว โดยคัดเลือกหญิงชาวออสเตรเลียตะวันตกที่เจ็บป่วยเรื้อรังจำนวน 102 คน มาตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความเหนื่อยล้า คุณภาพชีวิตทางสุขภาพ และการใช้เวลาว่าง แล้วเปรียบเทียบข้อมูลกับประชากรหญิงชาวออสเตรเลียตะวันตก เปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ตัวแปร ระหว่างกลุ่มที่เหนื่อยล้าสูงและต่ำ ผลการวิจัย ผู้เข้าร่วมวิจัยมีระดับคุณภาพชีวิตทางสุขภาพที่ต่ำกว่าประชากรหญิงชาวออสเตรเลียตะวันตก กลุ่มที่เหนื่อยล้าสูงมีคุณภาพชีวิตทางสุขภาพและมีการใช้เวลาว่างที่ต่ำกว่ากลุ่มที่เหนื่อยล้าต่ำ กลุ่มที่เหนื่อยล้าสูงพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการใช้เวลาว่างและคุณภาพชีวิตทางสุขภาพ ขณะที่กลุ่มที่เหนื่อยล้าต่ำไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว ทั้งสองกลุ่มพบความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างความเหนื่อยล้าและคุณภาพชีวิตทางสุขภาพสรุป กลุ่มที่เหนื่อยล้าสูงมีพบความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างความเหนื่อยล้าและคุณภาพชีวิตทางสุขภาพ แต่ระดับความสัมพันธ์น้อยกว่ากลุ่มที่เหนื่อยล้าต่ำ ดังนั้นความเหนื่อยล้าอาจจะเป็นปัจจัยเชื่อมโยงในความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการใช้เวลาว่างและคุณภาพชีวิตทางสุขภาพ “หากเราคิดอะไรซักอย่าง เพื่อทางสู่ความสำเร็จ

หากเราคิดจะทำให้เสร็จ อย่าพูดเท็จกับตัวของเรา

อย่างน้อยเราควรต้องดู เพื่อจะรู้ว่าดีหรือไม่

หากต้องทำแล้วเบียดเบียนใคร....ไม่ทำ

เมื่อชีวิตคือการก้าวเดิน เรื่องสรรเสริญคือความยิ่งใหญ่

เมื่อชีวิตคือการก้าวไป ประดับไว้...ทำดีได้ดี

ตอกย้ำ..ทำดีได้ดี....สิ่งนี้ที่เป็นศักดิ์ศรี

รู้แล้วทำดีเข้าไป ถึงไหนก็ไม่มีโง่

เกิดเป็นคนทนโท่..ทำดี..โอ้โห..ได้ดี

หากปัญหายังมาสุมอยู่ เท่ากับรู้ความดีนั้นห่าง

หากไม่คิดจะทำเสียบ้าง ก็ไม่มีทางทำดีได้ดี”





โดย: นางสาวเบญจวรรณ ทองวัน รหัส 501104126119 IP: 125.27.251.228 วันที่: 24 กันยายน 2550 เวลา:15:27:13 น.  

 
ลักษณะทั่วไป และ ปัจจัยต่างๆ ของการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถ
พนักงานส่วนใหญ่มีอายุการทำงานค่อนข้างนาน (8.8 ± 6.37 ปี) และระยะเวลาการขับรถเฉลี่ย ประมาณ 5 ชั่วโมงซึ่งแต่ละคนส่วนใหญ่จะขับรถประมาณ 300 กิโลเมตรต่อวัน และจะได้หยุดพักโดยมีการสับเปลี่ยนคนขับรถระหว่างทางและในการขับรถสายยาวที่มีคนสับเปลี่ยนส่วนใหญ่ จะเป็นการขับรถในเวลากลางคืน
พนักงานขับรถ มีจำนวนชั่วโมงในการนอนหลับเฉลี่ย ค่อนข้างน้อย คือน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อคืน
อัตราความชุกของการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถเป็น ร้อยละ 59.1 ซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหลายการศึกษาในต่างประเทศ เช่น ในประเทศอังกฤษ มีอัตราชุกการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถประมาณร้อยละ 8 – 29 ในประเทศนิวซีแลนด์ พบอัตราชุกของการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถ ประมาณร้อยละ 25 สาเหตุที่พบอัตราชุกการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถในพนักงานขับรถโดยสารมีค่าสูง ผู้วิจัยคิดว่าเป็นเพราะนโยบายและกฏหมายในประเทศไทย ยังไม่มีการกำหนดจำนวนชั่วโมงการขับรถและการพักผ่อนที่แน่นอนในพนักงานขับรถ และไม่มีมาตรการห้ามขับรถเกินกว่าจำนวนชั่วโมงที่กำหนด อีกทั้งไม่มีบทลงโทษถ้าฝ่าฝืน และจากการวิจัยสอบถามผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ในช่วงเทศกาล หรือ ช่วงที่มีวันหยุดต่อเนื่องเป็นเวลานาน พนักงานขับรถโดยสาร จะต้องขับรถต่อเนื่องเป็นเวลานาน และ จะต้องขับจำนวนเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่าวันปกติ ซึ่งมีโอกาสเพิ่มความอ่อนล้ามาก
ในเรื่องปัจจัยลักษณะงานพบว่า เส้นทางการเดินรถภาคเหนือ พบการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถน้อยกว่าเส้นทางภาคกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อาจเนื่องมาจากมีภาระงานน้อยกว่าเส้นทางภาคกลาง เพราะเส้นทางภาคกลางถึงแม้จะขับรถเป็นระยะทางสั้นในแต่ละเที่ยวแต่ต้องขับหลายเที่ยวต่อวันและไม่มีการสับเปลี่ยนพนักงานขับรถเนื่องจากเป็นระยะทางสั้น ในขณะที่เส้นทางภาคเหนือ ส่วนใหญ่จะเป็นระยะทางยาว และมีพนักงานสับเปลี่ยนระหว่างทาง ทำให้พนักงานขับรถมีภาระงานน้อยกว่า เรื่องการหยุดพักระหว่างทางอย่างน้อย 30 นาที เป็นปัจจัยป้องกันต่อการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถ เนื่องจากการได้หยุดพัก หรือได้เปลี่ยนอิริยาบถ เช่นในการขับรถระยะทางไกล จะมีการหยุดพักประมาณ 30 นาที เพื่อให้พักรับประทานอาหาร จะช่วยให้พนักงานขับรถ ลดการเกิดความอ่อนล้าได้ โดยมีการศึกษาในประเทศออสเตรเลีย พบว่า การขับรถเป็นระยะเวลานานๆ ควรจะต้องหยุดพัก ทุกๆ 2 ชั่วโมง และ ในประเทศอังกฤษมีการศึกษา พบว่า การขับรถเป็นระยะทางไกล ควรนอนพักประมาณ 15 – 20 นาทีของทุกๆ 6 ชั่วโมงการขับรถ

แหล่งที่มา //www.google.co.th


โดย: นางสาวจุติพร นาคเกลี้ยง รหัส 501104126120 IP: 125.27.251.228 วันที่: 24 กันยายน 2550 เวลา:15:28:07 น.  

 
งานวิจัยเรื่อง THE EFFECT OF SYMPTOM MANAGEMENT WITH AROMATHERAPY MASSAGE PROGRAM ON FATIGUE IN BREAST CANCER PATIENTS AFTER MASTECTOMY UNDERGOING CHEMOTHERAPY
หลักการและเหตุผล

ความเหนื่อยล้า (Fatigue) เป็นอาการหลักที่เกิดขึ้นได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยมะเร็ง (Aistars, 1987; Schwartz, 2000; Gregory, 2001; Jong et al., 2002: 283) ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานได้มากกว่าอาการอื่นๆ ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดพบว่าเกิดความเหนื่อยล้าได้สูงถึงร้อยละ 69 - 100 (Richardson & Ream, 1997: Ream et al., 2002: 301) และร้อยละ 60 เป็นความเหนื่อยล้าในระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง (Bower et al., 2000: 743) ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา/อารมณ์ และพฤติกรรม (Piper et al., 1987:19) และจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในที่สุด (Aaronson et al., 1999: 45)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยต่อความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัดที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัดที่ได้รับเคมีบำบัด เพศหญิง ที่เข้ารับการรักษาที่สถาบันมะเร็งเเห่งชาติจำนวน 40 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มควบคุม จนครบ 20 รายแล้วจึงเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มทดลองอีก 20 ราย โดยคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันในเรื่องของอายุที่แตกต่างกันไม่เกิน 5 ปีและได้รับเคมีบำบัดสูตรเดียวกัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยและการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแบบจำลองการจัดการกับอาการของ Dodd et al. (2001) และแนวคิดเกี่ยวกับการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพยาบาลแบบผสมผสานโปรแกรมประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1)การประเมินความต้องการและประสบการณ์การรับรู้ของผู้ป่วย 2) การให้ความรู้ 3) การนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ 4) การประเมินผล โดยมีแผนการสอนและคู่มือการดูแลตนเองเพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้าสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเป็นสื่อที่ใช้ในโปรแกรม โปรแกรมและสื่อผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความเหนื่อยล้า วิเคราะห์หาความเที่ยงของเครื่องมือโดยหาค่าสัมประสิทธิอัลฟาของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติบรรยาย และสถิติทดสอบที

ผลการวิจัย

พบว่าคะแนนความเหนื่อยล้าภายหลังเข้าร่วมการทดลองของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( Xกลุ่มทดลอง = 45.95 ; X กลุ่มควบคุม = 125.10 ; t-test = 8.88; p< .05) เนื่องจากโปรแกรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมการพยาบาลที่เน้นการจัดการกับความเหนื่อยล้าจากสาเหตุและอาการที่เกิดขึ้นพร้อมกันโดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างผู้ป่วยและพยาบาล พยาบาลมีบทบาทในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยจัดการกับความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยจัดการกับความเหนื่อยล้าที่รุนแรงและไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยตนเองด้วยวิธีการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหย ซึ่งเป็นการบำบัดด้วยกลิ่นหอมโดยส่งผ่านการนวด ผู้ป่วยได้รับโมเลกุลของน้ำมันหอมระเหยได้ 2 ทางคือจากการสูดดมและการซึมผ่านเข้าทางผิวหนังในขณะนวดซึ่งมีผลโดยตรงต่อระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อช่วยในการขจัดกรดแลคติกและของเสียจากการทำลายเซลล์มะเร็ง กล้ามเนื้อคลายความตึงตัว จึงมีแรงในการหดรัดตัวมากขึ้น ความเหนื่อยล้าจึงลดลง ขณะเดียวกันโมเลกุลของน้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์จะถูกแปรเป็นสัญญาณไฟฟ้าเคมีไปยังสมองส่วนลิมบิค(Limbic system)ให้หลั่งสาร Endorphin, Encephalin และ Serotonin ออกมาจึงสามารถบำบัดอาการต่างๆเช่น ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า ความเครียด หรือความเจ็บปวดและความเหนื่อยล้าได้ ( Voltaire, 2000:157, Stevensen, 2001:133)

ข้อเสนอแนะ

1. ควรสนับสนุนและเผยแพร่ให้เจ้าหน้าที่พยาบาลตระหนักถึงความสำคัญและผลดีที่ผู้ป่วยจะได้รับจากการนำโปรแกรมการจัดการกับอาการและการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการพยาบาล หรือสนับสนุนให้มีการฝึกทักษะการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยให้แก่เจ้าหน้าที่พยาบาลเพื่อนำไปใช้ในการบรรเทาความเหนื่อยล้าให้กับผู้ป่วยขณะอยู่ในโรงพยาบาล และนำทักษะเหล่านี้ไปเผยแพร่ให้ญาติหรือผู้ดูแลนำไปใช้ในการบรรเทาความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยขณะอยู่ที่บ้านได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งนอกจากจะช่วยในการบรรเทาความเหนื่อยล้าได้แล้วยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดผลดีด้านจิตใจต่อตัวผู้ป่วยได้อีกด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้
2. ควรศึกษาติดตามความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัดที่ได้รับเคมีบำบัดภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยในระยะ 1 เดือน 3 เดือน หรืออีก 6 เดือนต่อมา
3. ควรมีการศึกษาในลักษณะของการขยายองค์ความรู้ของผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในการบำบัดรักษาในกลุ่มอาการอื่นๆ เช่น อาการปวด ความเครียด ความวิตกกังวล หรืออาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมะเร็งชนิดอื่นๆ ในผู้ป่วยโรคอื่นๆ หรือในผู้ป่วยวัยอื่นๆเช่นวัยผู้สูงอายุเป็นต้น

ที่มาwww.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=442 - 12k


โดย: นางสาววัลลี กุลดวง IP: 125.27.251.228 วันที่: 24 กันยายน 2550 เวลา:15:31:49 น.  

 
สวัสดี เข้ามาทักทายเฉยๆ*



โดย: เนยอิ๊นน์ IP: 118.173.81.121 วันที่: 31 ตุลาคม 2551 เวลา:19:57:22 น.  

 
You will be pleasantly surprised to learn about our generous offer.
The link to our offer is valid for only one day https://tinysrc.me/go/hg0PJIWng


โดย: https://tinysrc.me/go/hg0PJIWng IP: 94.103.234.217 วันที่: 22 กรกฎาคม 2564 เวลา:17:57:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

com3/1
Location :
เพชรบูรณ์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ตัวแทนจากห้อง 3/1
เฮ้ๆ คอมฯ อุตสาหกรรม
Friends' blogs
[Add com3/1's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.