Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
<<
กรกฏาคม 2560
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
16 กรกฏาคม 2560

ทำไม ห้ามถ่ายภาพในโรงพยาบาล ห้ามถ่ายภาพ ผู้ป่วย แพทย์ .. รวบรวมมาฝาก

 

ทำไมในโรงพยาบาล ห้ามถ่ายภาพ

https://www.psh.go.th/ทำไมในโรงพยาบาล-ห้ามถ่/

Posted On 19 May 2015 By ประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร In เรื่องเล่าจากคนทำงานสุขภาพ Tags: พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์, พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ7,780 views

 

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและรวดเร็วจนคาดไม่ถึงโดยเฉพาะเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านสุขภาพ ซึ่งถือเป็นความลับของผู้ป่วยแต่ขณะนี้มักพบเห็นการสื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่นมีการถ่ายรูปผู้ป่วยระยะสุดท้ายพร้อมเขียนข้อความขอความช่วยเหลือส่งข้อความต้องการขอรับบริจาคเลือดโดยมีการระบุชื่อผู้ป่วย การแสดงผลฟิล์มเอกซเรย์การถ่ายภาพภายในห้องของผู้ป่วย ทั้งที่เป็นเรื่องส่วนบุคคล เป็นต้น

 

ทั้งนี้เชื่อว่าผู้ที่กระทำมีเจตนาที่ดี แต่ปัญหาคือการสื่อสารเช่นนี้แบบไหนถึงจะพอดีเพราะต้องเข้าใจว่าบางโรคผู้ป่วยก็ไม่อยากเปิดเผย เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตหรือหน้าที่การงานยิ่งไปกว่านั้นท่ามกลางความขัดแย้งในปัจจุบันอาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้โจมตีฝ่ายตรงข้ามที่เห็นต่างได้อย่างสื่อมวลชนกระแสหลักก็ต้องมีความระมัดระวัง เช่น กรณีรักษาการนายกรัฐมนตรีหรืออดีตนายกรัฐมนตรีเกิดอุบัติเหตุแค่ไหนจึงพอเหมาะพอควรในฐานะที่เป็นบุคคลสาธารณะ

 

ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพทั้งข้อมูลส่วนตัว สุขภาพ และการรักษา จะมีคนเกี่ยวข้อง 2 ส่วน คือผู้ประกอบวิชาชีพต้องมีคุณธรรมจริยธรรมจรรยาบรรณมากำกับ รักษาความลับของผู้ป่วยส่วนข้อมูลผู้ป่วยที่อยู่ในระบบบริการต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยเพราะหากไม่ใส่ใจข้อมูลอาจหลุดได้และคนทั่วไปที่รู้ข้อมูลโดยการมาเยี่ยมหรือมีคนส่งต่อมาให้ย่อมมีโอกาสเอาข้อมูลไปกระจายทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจกระทบต่อคนไข้สังคม ก่อเกิดความเกลียดชัง ปัญหาขัดแย้งได้ อย่างไรก็ตาม หากต้องการช่วยเหลือผู้ป่วยสามารถทำได้แต่ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วย ไม่ระบุชื่อผู้ป่วย

 

เรื่องข้อมูลสุขภาพต้องคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล3 เรื่อง คือ

1. หลักสากลซึ่งไม่ใช่กฎหมายแต่เป็นเรื่องที่ทั่วโลกพึงปฏิบัติ

2. รัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลไว้ชัดเจนและ

3. หลักกฎหมายซึ่งมีระบุไว้หลายฉบับในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550

และปัจจุบันกำลังมีการมีการยกร่างกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลด้วยแม้แต่วิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขก็มีการออกประกาศสิทธิผู้ป่วยไว้เช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ควรคำนึงถึงหลักคุณธรรมจริยธรรม หรือจรรยาบรรณของวิชาชีพมากกว่าเพราะหากนึกว่าเราเป็นผู้ป่วยเองเราจะยินยอมหรือไม่ เป็นลักษณะของใจเขาใจเรา

 

สำหรับหลักจริยธรรมด้านสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์จะมี4 เรื่องคือ

1. อิสระของผู้ป่วย คือผู้ป่วยมีสิทธิของเขาผู้ปฏิบัติวิชาชีพต้องระวัง มิใช่ว่ามีข้อมูลของผู้ป่วยแล้วจะเอาไปทำอะไรก็ได้ผู้ป่วยมีสิทธิพิทักษ์รักษา

2. ประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย

3. ไม่ทำอันตรายต่อผู้ป่วยจากการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพและ

4. หลักการยุติธรรม ดูความเท่าเทียมเสมอภาค

 

“หากผู้ป่วยถูกละเมิดผู้ป่วยและญาติสามารถฟ้องได้ตามมาตรา 7 โดยผู้ละเมิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

 

ส่วนกฎหมายใหม่ที่กำลังยกร่างก็ต้องทำการฟ้องเช่นกันทั้งนี้ในยกร่างกฎหมายใหม่คงไม่มีการตั้งหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยเพราะสังคมมีความสลับซับซ้อน มีการกระทำเช่นนี้เป็นจำนวนมากจึงมีการเสนอว่าต้องให้ความรู้แก่ประชาชนต้องช่วยกันตรวจสอบในเรื่องนี้

 

สำหรับหน้าที่สื่อมวลชนโดยเฉพาะกรณีการตามบุคคลสำคัญบุคคลสาธาณะเข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยก็ต้องคำนึงว่ารูปควรนำไปใช้แค่ไหนเพราะเป็นการมาสื่อสารหน้าที่ของผู้นำ ไม่ใช่สื่อสารความลับของผู้ป่วยซึ่งที่จริงแล้วก็ไม่ควรเข้าไปในห้องผู้ป่วยเรื่องนี้ควรมีการทำความเข้าใจและสร้างระบบให้ชัดเจน ซึ่งจริงๆ แล้วโรงพยาบาลก็มีกฎห้ามถ่ายรูปอยู่แล้วแต่กรณีมากับบุคคลสำคัญอาจจะห้ามไม่ทัน

 

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าในเขตโรงพยาบาลทำไมต้องห้ามถ่ายภาพทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยจึงไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปผู้ป่วยหรืออาคารสถานที่ในโรงพยาบาลยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลนั้นๆก่อนและผู้ป่วยหรือผู้มีอำนาจแทนผู้ป่วยจะยินยอมเท่านั้น

 


https://www.facebook.com/easyeasydoctorp/photos/a.623304444359530.1073741828.622821611074480/842466129110026/?type=3&permPage=1

 

หมอ"รพ.ห้ามถ่ายรูปนะครับ"

มนุษย์ญาติผู้เรียนกฎหมาย"ถึงจะผิดกฎหมาย แต่เค้าดูกันที่เจตนา"

มนุษย์ญาติผู้ไม่ได้เรียนกฎหมาย"มันมีกฎหมายห้ามถ่ายรูปด้วยหรอ ไป รพ.เอกชนยังถ่ายได้"

 

เฮ้อ........อยากจะถอนหายใจให้ไปถึงดาวอังคาร

จริงๆ แล้วทุก รพ.มีป้ายห้ามครับ แทบจะแปะไว้ทั่ว รพ.

เอาเป็นว่าใครไม่เห็น วันนี้เอารูปมาให้ดูครับ แชร์ให้เห็นโดยทั่วกัน

 

อ่านกระทู้เต็มๆเชิญที่นี่ครับ

https://m.pantip.com/topic/32919872

 

บางคนอาจจะโลกสวยแค่ถ่ายรูป กลัวอะไร ถ้าไม่ได้ทำอะไรผิด

-แน่ๆ เลย คุณละเมิดสิทธิผู้ป่วยครับต่อให้เป็นญาติกัน ก็ไม่มีสิทธิ เผยแพร่ความลับของผู้ป่วย

-รบกวนการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ครับ

-การเผยแพร่ ภาพถ่าย ที่ผ่านมาเราก็เห็นกันแล้วว่า มันทำให้บุคคลในภาพ เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกประณามหยามเหยียดขนาดไหน

แม้จะไม่ได้ทำอะไรเลย

แต่เจอแค่รูป 1 รูป + คำบรรยายไปเองของญาติ

และผลเสียอื่นๆมากมาย

 

จริงๆคนไข้ส่วนใหญ่ ที่จะมีปัญหา น้อยมากกก ครับ

 

ส่วนใหญ่จะเป็นมนุษย์ญาติโดยเฉพาะญาติห่างๆ หรือญาติที่ไม่ค่อยได้ดูแล จะเยอะเป็นพิเศษ

 

หมอว่าเอาเวลาหยิบมือถือมาถ่ายรูป ถ่ายคลิป

เปลี่ยนเป็นช่วยดูแลผู้ป่วยช่วยจำประวัติ ผู้ป่วย ดีกว่ามั้ยครับ

 

บางคนผู้ป่วยแพ้ยาอะไรมั้ยครับ

"ไม่รู้ ไม่ได้อยู่ด้วย"

ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอะไรมั้ยครับ

"ไม่รู้ ไม่ได้ดูแล"

 

(เฉพาะบางคนนะครับ)

ญาติคุณเองคุณไม่เคยดูแล ไม่เคยใส่ใจ

 

แล้วคุณมาถ่ายรูปถ่ายคลิป ด่า ประจาน คนที่ช่วยเหลือ ดูแลญาติคุณ

 

คนแบบนี้...สำนึกอยู่ที่ไหนครับ

 

ถ้าช่วยอะไรไม่ได้อยู่เฉยๆ ดีที่สุดนะครับ

 

ปล.สำหรับผู้ป่วยและญาติที่ที่ให้ความร่วมมือ ดูแล ช่วยเหลือกันอย่างดีก็ขอให้ชื่นชมนะครับ

 

By Dr.P

 


 
.....................................................

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=728291233927516&id=658454437577863

ทุกวันนี้การทำงานของแพทย์เรามีประเด็นเรื่องการถ่ายภาพหรืออัดเสียงแพทย์ระหว่างการตรวจรักษาผู้ป่วยอยู่พอสมควรมีการตั้งคำถามว่าผู้ป่วยทำได้หรือไม่ แพทย์ควรทำอย่างไรโรงพยาบาลควรมีแนวทางเรื่องนี้อย่างไร การถ่ายภาพหรืออัดเสียงมีผลกระทบอย่างไรและก็มีการตีความข้อกฎหมายและแสดงความเห็นไปต่างๆ นานา

 

ผมได้รับโจทย์ให้ช่วยแสดงความเห็นและแชร์แนวทางของทางรามาธิบดีที่ผมทำงานอยู่เพื่อแลกเปลี่ยนในหมู่แพทย์ จากท่านรองเลขาธิการแพทยสภา อ. IttapornKanacharoen

 

ดังนั้นในฐานะแพทย์คนหนึ่ง และในฐานะที่เรียนจบด้านสารสนเทศสุขภาพ (healthinformatics) ซึ่งเป็นสาขาที่เน้นเรื่อง"ข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย" และการนำ ICT มาใช้ในทางการแพทย์และสาธารณสุขรวมทั้งในฐานะที่สนใจและศึกษาข้อกฎหมาย privacy laws และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นพิเศษผมขอแสดงความเห็นส่วนตัวดังนี้ครับ(ต้องขอออกตัวก่อนว่าความเห็นนี้ไม่ผูกพันหน่วยงานใดๆ ที่ผมเอ่ยถึงนะครับ)

 

1. ต้องยอมรับว่ากรณีที่ผู้ป่วยหรือญาติมีการถ่ายภาพหรืออัดเสียงแพทย์ระหว่างการตรวจรักษาย่อมสร้างความอึดอัดให้กับแพทย์ได้ง่ายๆ และทำให้เกิดความรู้สึกไม่ไว้วางใจต่อกันและอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย และการให้บริการได้ไม่ต้องเป็นแพทย์หรอกครับเป็นใครก็ตามที่รู้ว่ามีคนกำลังถ่ายภาพหรืออัดเสียงของตนอยู่ย่อมทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัดหรือรู้สึกไม่ดีได้ง่ายๆ และไม่เป็นผลดีต่อการดูแลผู้ป่วยเลยครับ

 

แต่ในทางกลับกันหากถามว่ามีกรณีใดที่การขอถ่ายภาพหรืออัดเสียงของผู้ป่วยระหว่างการตรวจรักษาจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยหรือผลการรักษาไหม ก็ต้องเรียนว่า มีครับลองนึกภาพดูว่าคนแก่ที่จำคำแนะนำของหมอไม่ได้ ฟังไม่ทัน หรือญาติที่ต้องช่วยดูแลหรืออยากsave ข้อมูลบางอย่าง (เช่น ผล lab)ไว้เพื่อทำความเข้าใจหรือเรียนรู้เพื่อการดูแลผู้ป่วยการถ่ายภาพหรืออัดเสียงระหว่างที่แพทย์ให้คำแนะนำหรือพูดคุยกับผู้ป่วยก็อาจจะเป็นประโยชน์ก็ได้

 

ผมมีประสบการณ์ตรงในฐานะญาติผู้ป่วยกรณีที่การถ่ายภาพระหว่างการตรวจ เป็นประโยชน์มากครับ คือ กรณีของคุณแม่ของผมเองซึ่งมีอาการปวดหัวไหล่ และผมพามาตรวจกับอาจารย์หมอที่เป็นเพื่อนผมเองคุณหมอแนะนำให้คุณแม่ผมบริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่ด้วยท่าบางท่า ซึ่งคุณแม่ก็กังว๊ลกังวล ว่าจะจำท่าบริหารไม่ได้ ผมเองก็ไม่ได้พักอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ จะช่วยจำให้ก็ไม่ได้(และความจำตัวเองในเรื่องนี้ก็ใช่ว่าจะดีด้วย)ก็เลยขออนุญาตคุณหมอเพื่อนผมเพื่อขอถ่ายภาพท่าบริหารในห้องตรวจคุณหมอก็อนุญาตด้วยความเต็มใจ คุณแม่ก็โล่งใจและก็นำไปบริหารที่บ้านได้

 

ดังนั้นการถ่ายภาพหรืออัดเสียงขณะตรวจรักษา มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แล้วแต่สถานการณ์และเจตนาของผู้เกี่ยวข้องครับ

 

2. สำหรับข้อกฎหมายบางคนอ้าง พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550มาตรา 7มาปฏิเสธการถ่ายภาพหรืออัดเสียงด้วยเหตุผลด้านสิทธิส่วนบุคคลในฐานะที่ผมศึกษาเรื่องมาตรา 7นี้มานานพอสมควร เพราะมันมีประเด็นข้อกฎหมายเรื่อง privacy ที่ผมสนใจ ผมต้องขอเรียนว่า มาตรา 7 นี้ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงสิทธิของแพทย์หรือผู้ให้บริการแต่อย่างใดครับ

 

"มาตรา 7 ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคลผู้ใดจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรงหรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย แต่ไม่ว่าในกรณีใด ๆผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือกฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้"

 

จะเห็นว่าไม่มีข้อความใดในมาตรา7 ของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550 (หรือแม้กระทั่งมาตราอื่นใดในพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550และที่แก้ไขเพิ่มเติม)กล่าวถึงการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของแพทย์หรือผู้ให้บริการเลยครับ หากจะถามว่าแล้วสิทธิส่วนบุคคลของแพทย์ในห้องตรวจ ในขณะตรวจรักษาผู้ป่วยจะถูกคุ้มครองโดยกฎหมายใด ตรงนี้เท่าที่ผมทราบไม่มีกฎหมายใดที่คุ้มครองแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในเรื่องนี้โดยตรงครับ(และหากเขียนขึ้นมาก็จะประหลาดในทางกฎหมายด้วยเพราะหลักการเรื่องกฎหมายการแพทย์จะมุ่งคุ้มครองผู้ป่วยเป็นหลัก)ตรงนี้สอดคล้องกับ case ตัวอย่างจากสหรัฐอเมริกาที่มีคำพิพากษาของศาลสูงสุดของสหรัฐฯ (U.S. Supreme Court) ในคดี Sorrell v. IMS Health Inc. ว่า ข้อมูลพฤติกรรมการสั่งยาของแพทย์แต่ละรายที่สามารถระบุตัวแพทย์ได้ (แต่ระบุตัวผู้ป่วยไม่ได้)ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลของแพทย์ แต่เป็นข้อมูลทั่วไปบริษัทยาสามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการวางแผนทางการตลาดหรือเรื่องอื่นๆได้ตามหลัก freedom of speech ซึ่งแม้คดีนี้จะไม่ใช่เรื่องการถ่ายภาพหรืออัดเสียงโดยตรงแต่ก็มีหลักการที่มองว่าข้อมูลในการให้บริการสุขภาพ ที่ระบุตัวแพทย์ได้ไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของแพทย์ครับ

 

ข้อกฎหมายที่พอจะเข้าได้ก็จะมีเพียงประเด็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลทั่วไปที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายซึ่งก็จะต้องดูว่ามีกรณีทีเข้าข่ายหมิ่นประมาทที่เป็นความผิดทางอาญาหรือกรณีที่เป็นการละเมิดสิทธิที่เป็นกรณีทางแพ่งหรือไม่แต่ลำพังเพียงการถ่ายภาพหรืออัดเสียงหากตัวภาพหรือเสียงไม่ได้ทำให้เกิดความเกลียดชังหรือดูหมิ่นแพทย์หรือทำให้เกิดความเสียหายทางแพ่งฐานละเมิดที่อาจฟ้องแพ่งได้ก็อาจจะเอาผิดอะไรไม่ได้ ซึ่งก็เหมือนกับกรณีเราทำอะไรในที่สาธารณะคนอื่นจะถ่ายภาพหรืออัดเสียงเราไว้โดยทั่วไปก็ย่อมทำได้และไม่ถือว่าเป็นความผิดครับ(อาจจะยกเว้นเฉพาะบางกรณีที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทหรือสร้างความเสียหายทางแพ่งให้เราจริงๆ)

 

3. หากถามต่อว่าแล้วถ้าเช่นนั้นเราจะทำอย่างไรดีผมมองว่าทางออกคือการออกนโยบายและแนวทางการบริหารจัดการของสถานพยาบาลเอง ซึ่งในฐานะของผู้ให้บริการย่อมสามารถกำหนดนโยบายและแนวทางการให้บริการ เป็นการภายในได้อยู่แล้วครับ

 

ผมขออนุญาตแชร์ระเบียบปฏิบัติของรามาธิบดีซึ่งมีการออกประกาศอย่างเป็นทางการ และในมุมของผมก็ได้พยายาม balance สมดุลระหว่างประโยชน์ของการถ่ายภาพหรืออัดเสียงในบางกรณีกับข้อกังวลต่างๆ ของผู้ให้บริการ ได้ดีพอสมควรโดยสำหรับการถ่ายภาพหรืออัดเสียงในการตรวจรักษามอบให้เป็นดุลพินิจของอาจารย์แพทย์เจ้าของไข้พิจารณาอนุญาต(เพราะแพทย์จะทราบได้ว่ากรณีดังกล่าวการถ่ายภาพหรืออัดเสียงจะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยหรือไม่เพียงใด) (รวมทั้งมีการเขียนแนวทางปฏิบัติถึงกรณีที่แพทย์หรือบุคลากรประสงค์จะขอถ่ายภาพผู้ป่วยเพื่อการศึกษาหรือการวิจัยด้วย)และมีแนวทางในการ monitor และdocument การถ่ายภาพหรืออัดเสียงอย่างเป็นระบบ(แม้อาจจะดูซับซ้อนอยู่บ้าง)

 

ทั้งนี้ผมแชร์ระเบียบปฏิบัติของรามาธิบดีมาเป็นตัวอย่างเฉยๆ นะครับหากท่านใดจะนำไปปรับใช้ก็ยินดีครับแต่ต้องขอเน้นย้ำให้ท่านพิจารณานำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทและ dynamic ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยใน setting ของท่านเองด้วยนะครับ อย่า copy& paste โดยไม่ได้วิเคราะห์บริบทของตัวเองนะครับ

 

4. ในมุมมองผมนะครับ หัวใจสำคัญคือการสื่อสารพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติ และการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันครับการเอากฎหมายหรือกฎระเบียบมาอ้างกับผู้ป่วยและญาติว่าห้ามทำอย่างนั้นห้ามทำอย่างนี้ อาจจะไม่ใช่ท่าทีที่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีหรือลดปัญหาความไม่เข้าใจหรือไม่ไว้วางใจกันครับแต่อาจะต้องให้สถานพยาบาลมีแนวทางที่สมดุล (balanced approach) โดย recognize บางกรณีที่การถ่ายภาพหรืออัดเสียงมีประโยชน์ แต่มีระบบ แนวทางและการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกับผู้รับบริการกรณีที่มองว่าการถ่ายภาพหรืออัดเสียงดังกล่าวไม่ส่งผลดีต่อการรักษาครับนอกจากนี้แล้ว ก็ต้องพยายามส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี ด้วยการพูดคุยกันดีๆและมีความเป็นมืออาชีพ (professionalism) รวมทั้งมีวุฒิภาวะในการตรวจรักษาผู้ป่วย ตั้งแต่ต้น ซึ่งผมเชื่อว่าจะช่วยลดความระแวงไม่ไว้วางใจของฝั่งผู้ป่วย และถอดสลักระเบิดเวลาของ doctor-patientrelationship ได้ครับ

 

ขอบคุณครับ

 

ป.ล.ผมได้รับอนุญาตจากคุณแม่เพื่อนำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังแล้วครับ

 

นพ.นวนรรนธีระอัมพรพันธุ์

อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

............................................

ผมชอบความเห็นนี้ เปรียบเทียบ ใจเขาใจเรา


https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1414768771

"หมอเข้าใจนะครับว่าคุณอยากถ่ายรูปคนไข้ ไม่ได้ตั้งใจจะถ่ายรูปหมอ

สมมุติว่าคุณไปกินข้าวที่ร้านอาหารแล้วมีคนอยากรู้ว่าอาหารที่คุณกินอร่อยมั้ย?

 

เค้าก็มาถ่ายรูปอาหารที่คุณกิน

ถ่ายรูปตอนคุณใช้ช้อนตัก

พอเอาช้อนใส่ปากเค้าก็ถ่ายรูปแชะ

ถ่ายรูปตอนเคี้ยวดูว่าสีหน้าท่าทางคุณอร่อยมั้ย

 

เค้าไม่ได้อยากถ่ายรูปคุณเค้าแค่อยากรู้ว่าอาหารอร่อยมั้ย

ถ่ายรูปแล้วยังเก็บรายละเอียดได้ไม่ครบถ้วนถ่ายวีดีโอเลยดีกว่า

 

เป็นคุณคุณจะยอมให้เค้าถ่ายมั้ยครับ?

 

ถ้าคุณขอร้องเค้าว่ากรุณาอย่าถ่ายหรือ ถ่ายไม่ได้

แล้วเค้าถามว่าทำไมห้ามถ่าย

คุณจะตอบเค้าว่ายังไงครับ?"

 

อันนี้เป็นเท็คนิกการตอบคำถามด้วยคำถาม

ส่งโดย: muji

 

..................................

 

โดยส่วนตัวขณะตรวจผู้ป่วย ผม “ ไม่ชอบ “ ให้มีการถ่ายภาพ ถ่ายคลิปวิดีโอ หรือ บันทึกเสียง เพราะรู้สึก ไม่มีสมาธิ ในการตรวจรักษาผู้ป่วย และ รู้สึกว่า ถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผม ... แต่ ถ้าอยากจริง ๆ ก็ขอให้บอกกันก่อนว่า จะถ่ายภาพ ถ่ายคลิปวิดีโอ หรือบันทึกเสียง ถือว่า “ให้เกียรติกัน” และเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจ เพราะ

การที่ “แอบทำ “ อะไรสักอย่าง ก็แสดงว่ารู้อยู่แก่ใจว่า สิ่งที่ทำอยู่นั้น ผิด จึงต้องแอบ ใช่หรือเปล่า ?  .. ดังนั้น การแอบถ่ายภาพ แอบบันทึกวิดีโอ แอบบันทึกเสียง ก็แสดงถึงเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ แล้วจะให้ผมสบายใจ ได้อย่างไร

หลากความคิด หลายความเห็น แต่ก็คงต้องมี "กติกา" ที่ทุกคน "ต้องยอมรับ " ...

สิทธิ ต้องคู่หน้าที่ และ ความรับผิดชอบ .. สิทธิของตนเองก็ต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นเช่นกัน

ถ้าทำไปแล้วก็ต้องรับผิดชอบผลที่ตามมา ไม่ใช่แค่อ้างว่า รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ พูดว่า ขออภัยขอโทษ เพราะ บางครั้ง ความเสียหายมากมาย และ แก้ไขไม่ได้แล้ว



 

หมายเหตุ ... ส่วนใหญ่ เป็นเรื่อง ที่ แพทย์ ต้องระมัดระวังในการใช้สื่อออนไลน์

กฏหมายแพทย์ต้องรู้ ( ผู้ป่วยและญาติ ก็ควรรู้ )

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-10-2014&group=7&gblog=184

 

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-06-2014&group=26&gblog=3

 

การระมัดระวังการใช้SocialMedia สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข... โดย หมอแมว

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=5

 

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพ.ศ.2559

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-05-2017&group=26&gblog=1

 

แพทยสภา เตือนแพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง socialmedia

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=4

 

แพทยสภาเตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-01-2016&group=26&gblog=2

 

๓ พ.ค.๖๖
 
 
 
อาจารย์ขา อยากให้อาจารย์แนะนำ เวลาที่เกิดเหตุคนไข้ถ่ายวีดีโอขณะปฏิบัติงาน แบบเหตุการณ์ที่เป็นข่าว
ว่าแพทย์ควรทำอย่างไรค่ะ
 
ขอบคุณที่น้องถามมา
การถ่ายวิดีโอผู้ป่วย แพทย์พยาบาล ในสถานพยาบาลผิดกฎหมาย
พรบ.สุขภาพ และพรบ.คอมพิวเตอร์
ยกเว้นเจ้าตัวยินยอม
 
วิธีรับมือมีดังนี้ค่ะ
1.เป็นนโยบายของสถานพยาบาล ที่เจ้าหน้าที่ทุกคนรับทราบ ผู้บริหารเห็นความสำคัญ แจ้งเตือนทุกฝ่าย
2 สถานพยาบาลนอกจากติดประกาศสิทธิผู้ป่วยแล้ว ควรติดประกาศห้ามถ่ายภาพ วิดิโอ ในสถานพยาบาล หน้าห้องตรวจ ห้องผ่าตัด ตึกผู้ป่วย ฯลฯควบคู่กัน เพราะนี่เป็นสิทธิของผู้ปฏิบัติงาน
3. มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนไข้และญาติ
4.เห็นคนไข้และญาติ บันทึกรูปบันทึกเสียง แจ้งให้หยุดด้วยวาจาสุถาพ เพราะเป็นความผิดทางกฎหมาย
5.มีปัญหาไม่สามารถระงับเหตุได้ รายงานฝ่ายบริหาร หรือผู้ตรวจการในรพ.
6.แจ้งความกล่าวโทษร้องทุกข์หรือลงบันทึกประจำวัน
ชัญวลี ศรีสุโข หมอหวิว

https://www.facebook.com/chanwaleesrisukho/posts/pfbid0rZfVRRTVbeReg1TFzGF2pwwUdEVeF9BzFMkK6YBBoeVfJeAP5XVLnEc82Tf1vDqil

 
ทุกคน มี สิทธิ์ ที่จะปกป้องสิทธิของตนเอง โดยไม่ละเมิด สิทธิ ของผู้อื่น
กฎหมาย ให้โอกาส ผู้ที่ (คิดว่า) ตนเองถูก ละเมิด ฟ้องร้อง เพื่อปกป้องสิทธิของตน ได้ ...ส่วนจะฟ้องชนะหรือแพ้ ก็ต้องลุ้นกันต่อไป
***********************************************
 
การที่ผู้ป่วยแอบอัดเทปเสียงการสนทนาระหว่างผู้ป่วยและญาติกับแพทย์ผู้รักษาแล้วนำมาเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีกับแพทย์ผู้รักษาและฟ้องร้องโรงพยาบาลได้หรือไม่
และบางครั้งผู้ป่วยและญาตินำคลิปเสียงที่แอบอัดเสียงแพทย์ท่านอื่นที่ให้ความเห็นการรักษาของแพทย์คนแรกที่เคยรักษาผู้ป่วยเพื่อนำมาเป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง อย่างนี้ทำได้หรือไม่
ปัจจุบันในยุคไฮเทคโนโลยีนั้นการอัดคลิปเสียงหรือ ทั้งภาพและเสียงเป็นสิ่งที่สามารถได้ไม่ยากด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ดังนั้นในการรักษาดูแลผู้ป่วยของแพทย์ย่อมต้องระลึกไว้เสมอว่าการสนทนาระหว่างทั้งสองฝ่ายจะมีโอกาสถูกบันทึกไว้ได้โดยไม่รู้ตัว แม้บางโรงพยาบาลจะมีป้ายติดไว้ว่าห้ามอัดเสียงหรือถ่ายรูปในโรงพยาบาลก็ตาม
คลิปเสียงและภาพที่อัดไว้โดยผู้ป่วยและแพทย์โดยไม่ได้มีการขออนุญาตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อนนั้นจะนำมาเป็นพยานหลักฐานในการสืบพยานในศาลได้หรือไม่
คำตอบในเรื่องนี้ มีหลากหลาย แอดมินขอนำเสนอความเห็นตามแนวคำพิพากษาฎีกาและประมวลวิธีพิจารณาความอาญาและแพ่งดังนี้
๑.ในคดีอาญา นั้นตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่๒๒๘๑/๒๕๕๕การที่จำเลยแอบบันทึกเทปขณะที่มีการสนทนากันระหว่างโจทก์กับจำเลยโดย โจทก์ไม่ทราบมาก่อน เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา๒๒๖
ดังนั้นการที่ผู้ป่วยแอบอัดเทปเสียงการสนทนาของแพทย์ผู้รักษากับผู้ป่วยโดยไม่มีการขออนุญาตแพทย์ก่อนนั้นสามารถทำได้ตามสิทธิแต่จะนำไปใช้เป็นพยานในการเอาผิดกับแพทย์ไม่ได้
ส่วนญาติเองที่เป็นบุคคลภายนอกแอบอัดเสียงสนทนาแพทย์กับตัวผู้ป่วยอันนี้ใช้ไม่ได้โดยเฉพาะการหลอกถามเพราะคลิปเสียงนี้เป็นพยานหลักฐานที่ได้แสวงหาโดยมิชอบ โจทก์หรือทางผู้ป่วยและญาติเมื่อนำไปใช้อ้างเป็นพยาน ศาลมิควรรับฟัง
แต่กฎหมายก็มียกเว้นไว้ให้ในกรณีที่จำเลย(แพทย์)จะอัดคลิปเสียงเพื่อต่อสู้คดีของตนเองตามมาตรา๒๒๖/๑อันเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรม(ตามฎีกานี้)
๒.คดีแพ่ง ศาลก็จะชั่งน้ำหนักพยานทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักมากกว่ากันโดยเฉพาะคดีแพทย์กับผู้ป่วยนั้นก็จะเป็นคดีผู้บริโภคที่ภาระการพิสูจน์ตกแก่ทางโรงพยาบาลและแพทย์ผู้ให้การรักษา การแอบอัดคลิปเสียงของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ได้ขออนุญาตแพทย์ก่อนบันทึกเสียงนั้นและทางผู้ป่วยนำคลิปเสียงนี้มาอ้างเป็นพยานในคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย
ศาลฎีกาได้ให้ความเห็นว่าการบันทึกเสียงในแถบบันทึกเสียงอาจมีการตัดต่อหรือดัดแปลงลอกเลียนเสียงได้ไม่ยากนัก ดังนั้น หากแพทย์ผู้รักษาปฏิเสธว่ามิใช่เสียงสนทนาของตนกับผู้ป่วยจริง น้ำหนักพยานคลิปเสียงก็จะหมดไป
แต่หากแพทย์ผู้รักษายอมรับว่าเป็นเสียงของแพทย์จริง คลิปเสียงนี้ศาลก็จะรับเข้าในสำนวนเป็นพยานหลักฐานของทางผู้ป่วยได้

https://www.facebook.com/thaimedlawyer/posts/1493073524235368



Create Date : 16 กรกฎาคม 2560
Last Update : 4 พฤษภาคม 2566 14:39:14 น. 5 comments
Counter : 57356 Pageviews.  

 
สวัสดีจ้ะ เราแวะมาทักทายนะ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4286561 วันที่: 22 ธันวาคม 2560 เวลา:17:58:48 น.  

 
สงสัยว่า มีสะกดผิดข้างบน ที่วลีนี้ หรือไม่?:
(อาจจะยกเว้นเฉพาะบางกรณีที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทหรือสร้างความเสียหายทางแพ่งให้เราจริงๆ)

ข้างบน '...เรา..' ควรเป็น '...เขา..' หรือไม่?


โดย: AjarnK (AjarnK ) วันที่: 20 สิงหาคม 2561 เวลา:15:29:42 น.  

 
สำนักงานทนายการแพทย์ -Thaimedlawyer
12 กันยายน เวลา 22:52 น. ·
การที่ผู้ป่วยแอบอัดเทปเสียงการสนทนาระหว่างผู้ป่วยและญาติกับแพทย์ผู้รักษาแล้วนำมาเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีกับแพทย์ผู้รักษาและฟ้องร้องโรงพยาบาลได้หรือไม่
และบางครั้งผู้ป่วยและญาตินำคลิปเสียงที่แอบอัดเสียงแพทย์ท่านอื่นที่ให้ความเห็นการรักษาของแพทย์คนแรกที่เคยรักษาผู้ป่วยเพื่อนำมาเป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง อย่างนี้ทำได้หรือไม่
ปัจจุบันในยุคไฮเทคโนโลยีนั้นการอัดคลิปเสียงหรือ ทั้งภาพและเสียงเป็นสิ่งที่สามารถได้ไม่ยากด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ดังนั้นในการรักษาดูแลผู้ป่วยของแพทย์ย่อมต้องระลึกไว้เสมอว่าการสนทนาระหว่างทั้งสองฝ่ายจะมีโอกาสถูกบันทึกไว้ได้โดยไม่รู้ตัว แม้บางโรงพยาบาลจะมีป้ายติดไว้ว่าห้ามอัดเสียงหรือถ่ายรูปในโรงพยาบาลก็ตาม
คลิปเสียงและภาพที่อัดไว้โดยผู้ป่วยและแพทย์โดยไม่ได้มีการขออนุญาตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อนนั้นจะนำมาเป็นพยานหลักฐานในการสืบพยานในศาลได้หรือไม่
คำตอบในเรื่องนี้ มีหลากหลาย แอดมินขอนำเสนอความเห็นตามแนวคำพิพากษาฎีกาและประมวลวิธีพิจารณาความอาญาและแพ่งดังนี้
๑.ในคดีอาญา นั้นตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่๒๒๘๑/๒๕๕๕การที่จำเลยแอบบันทึกเทปขณะที่มีการสนทนากันระหว่างโจทก์กับจำเลยโดย โจทก์ไม่ทราบมาก่อน เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา๒๒๖
ดังนั้นการที่ผู้ป่วยแอบอัดเทปเสียงการสนทนาของแพทย์ผู้รักษากับผู้ป่วยโดยไม่มีการขออนุญาตแพทย์ก่อนนั้นสามารถทำได้ตามสิทธิแต่จะนำไปใช้เป็นพยานในการเอาผิดกับแพทย์ไม่ได้
ส่วนญาติเองที่เป็นบุคคลภายนอกแอบอัดเสียงสนทนาแพทย์กับตัวผู้ป่วยอันนี้ใช้ไม่ได้โดยเฉพาะการหลอกถามเพราะคลิปเสียงนี้เป็นพยานหลักฐานที่ได้แสวงหาโดยมิชอบ โจทก์หรือทางผู้ป่วยและญาติเมื่อนำไปใช้อ้างเป็นพยาน ศาลมิควรรับฟัง
แต่กฎหมายก็มียกเว้นไว้ให้ในกรณีที่จำเลย(แพทย์)จะอัดคลิปเสียงเพื่อต่อสู้คดีของตนเองตามมาตรา๒๒๖/๑อันเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรม(ตามฎีกานี้)
๒.คดีแพ่ง ศาลก็จะชั่งน้ำหนักพยานทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักมากกว่ากันโดยเฉพาะคดีแพทย์กับผู้ป่วยนั้นก็จะเป็นคดีผู้บริโภคที่ภาระการพิสูจน์ตกแก่ทางโรงพยาบาลและแพทย์ผู้ให้การรักษา การแอบอัดคลิปเสียงของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ได้ขออนุญาตแพทย์ก่อนบันทึกเสียงนั้นและทางผู้ป่วยนำคลิปเสียงนี้มาอ้างเป็นพยานในคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย
ศาลฎีกาได้ให้ความเห็นว่าการบันทึกเสียงในแถบบันทึกเสียงอาจมีการตัดต่อหรือดัดแปลงลอกเลียนเสียงได้ไม่ยากนัก ดังนั้น หากแพทย์ผู้รักษาปฏิเสธว่ามิใช่เสียงสนทนาของตนกับผู้ป่วยจริง น้ำหนักพยานคลิปเสียงก็จะหมดไป
แต่หากแพทย์ผู้รักษายอมรับว่าเป็นเสียงของแพทย์จริง คลิปเสียงนี้ศาลก็จะรับเข้าในสำนวนเป็นพยานหลักฐานของทางผู้ป่วยได้

https://www.facebook.com/thaimedlawyer/posts/1493073524235368


โดย: หมอหมู วันที่: 15 กันยายน 2563 เวลา:14:20:24 น.  

 
โรงบาลรัฐแทบทุกโรงบาลมักกีดกันไล่ญาติไม่ให้ได้พบเจอเพื่อถามอาการคนป่วยจากหมอแล้วอย่างนี้ญาติจะทราบความคืบหน้าในการรักษาได้ไง เข้าใจนะว่าถ้าหมอต้องมาคอยอธิบายให้ญาติฟังทุกเตียงมันจะทำให้ช้า แต่มันก็เป็นสิทธิของญาติเช่นกันที่จะได้ทราบถึงความคืบหน้าในการรักษาไม่ใช่ให้การรักษาที่เสี่ยงต่อชีวิตแล้วไม่ขอความเห็นของญาติ แล้วไอ้ที่แปะว่าห้ามถ่ายรูปในโรงบาลมันคือการรักษาสิทธิคนป่วยนะไม่ใช่เป็นการละเมิดสิทธิในการรักษาคนป่วยของหมอ เพราะทุกโรงบาลรัฐเขียนข้อความทำนองว่าละเมิดสิทธิหมอทั้งนั้น แสดงถึงเจตนาที่ต้องการบิดเบือนข้อเท็จจริงของโรงบาลสร้างความเข้าใจผิดให้ญาติเข้าใจเป็นอีกทาง ถ้าอยากแปะป้ายห้ามถ่ายภาพทำไมไม่เขียนข้อความมาตรงๆว่าต้องการรักษาสิทธิคนป่วยละทำไมถึงเขียนข้อความว่าเป็นการละเมิดสิทธิในการรักษาของแพทย์?


โดย: Nunok IP: 1.47.98.142 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2563 เวลา:14:15:39 น.  

 
ถ่ายตามด่านตรวจ. ทำได้
ถึงเจ้าหน้าจะอึดอัดก็ตาม



โดย: ชายกลาง IP: 182.232.187.72 วันที่: 13 ธันวาคม 2563 เวลา:11:00:57 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]