Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
 
กรกฏาคม 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
7 กรกฏาคม 2557

การช่วยเหลือ ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น ( ช่วยฟื้นคืนชีพ , CPR ) และ AED เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้า

 


https://www.facebook.com/photo.php?fbid=625607224171374&set=a.639349036130526.1073741830.596084673790296&type=3&src=https%3A%2F%2Ffbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net%2Fhphotos-ak-xpa1%2Ft1.0-9%2F1012947_625607224171374_1641037136_n.jpg&size=683%2C512

 
ระหว่างทางกลับบ้าน...

สถานีรถไฟฟ้าเต็มไปด้วยผู้คนมากมาย สายตาของคุณไปหยุดที่ชายวัยกลางคนกำลังยืนอยู่ในแถวหน้าของเขาดูซีดแปลกๆ เหงื่อออกเต็มตัว ทั้งที่อากาศบริเวณนั้นก็ไม่ได้ร้อนมากมาย หลังจากที่ยกมือมากุมหน้าอก อยู่ดีๆ เขาก็ลงไปนอนกองอยู่ที่พื้นชานชาลา ชักกระตุก หายใจเฮือกอยู่สองสามครั้งแล้วก็แน่นิ่งไป

เสียงรอบข้างหยุดลง ทุกคนหันมามองสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เป็นเวลาเกือบนาทีก่อนจะมีใครสักคนวิ่งมาเรียกลุงคนนั้น ท่ามกลางความสับสน นาฬิกาเดินไปอีกหลายนาทีก่อนที่ รปภ. ของสถานีจะมาถึง ท่ามกลางการจราจรที่แทบจะเป็นอัมพาตของเย็นวันธรรมดา ทีมแพทย์และพยาบาลใช้เวลาเกือบ 15 นาทีกว่าจะมาถึงที่เกิดเหตุและเริ่มให้การช่วยเหลือ

รถไฟผ่านไปหลายขบวนแล้ว
แต่คุณเลือกที่จะยืนให้กำลังใจและรอลุ้นว่าคุณลุงจะฟื้นกลับมาหรือไม่...
แต่ผลที่สุดแล้ว คุณลุงผู้โชคร้ายรายนั้นก็เสียชีวิต

ถ้าผมบอกว่า แม้จะไม่ได้เป็นหมอ แต่คุณอาจช่วยให้คุณลุงมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น

คุณคิดว่าอย่างไร???

ในสมัยก่อนการช่วยชีวิตผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นมีขั้นตอนยุ่งยาก ทำให้ประชาชนทั่วไปกังวลและไม่มั่นใจที่จะปฎิบัติตาม ต่อมามีงานวิจัยออกมาสนับสนุนว่าการการกดหน้าอกเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องผายปอดก็สามารถเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้เช่นกัน

##### ใครบ้างที่ต้องได้รับการช่วยเหลือ??? #####

1. ผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น (อันดับแรกให้เช็คว่าบริเวณโดยรอบปลอดภัย ไฟรั่วหรือไม่ ไฟไหม้หรือไม่? ถ้าคิดว่าน่าจะมีอันตราย ห้ามเข้าช่วยผู้ป่วยเด็ดขาด แต่ถ้าไม่ ให้เข้าถึงตัวผู้ป่วย จับไหล่เขย่าแรงๆ และถามชื่อ หากตอบไม่ได้ มือไม้ไม่ขยับใดๆ ให้ประเมินข้อต่อไป)

2. ผู้ป่วยไม่หายใจ (ประเมินด้วยการดูที่หน้าอกของผู้ป่วยว่ามีการกระเพื่อมขึ้นลงตามการหายใจหรือไม่ หากสังเกตยากให้ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออก)

3. ผู้ป่วยหายใจ เฮือกๆ (คือหายใจเฮือกไปครั้งนึงแล้วหยุดไปเป็นเวลานาน หลังจากนั้นก็เฮือกอีกที pattern ไม่สม่ำเสมอ ข้อนี้ประเมินยาก เอาเป็นว่าถ้าหายใจช้ามาก ดูแปลกๆ ให้เลือกที่จะช่วยไว้ก่อน)

ปล. ไม่ต้องคลำชีพจรนะครับ ไม่ตื่น ไม่หายใจ ให้เริ่มการช่วยเหลือทันที



##### รู้แล้วว่าต้องช่วย จะช่วยยังไง? #####
1. โทร 1669
2. กดหน้าอกคนไข้



##### กดยังไง? #####
วางมือตรงกลางหน้าอก (มโนลากเส้นแบ่งครึ่งตัว ตัดกับราวนมคนไข้ …ถ้าผู้หญิงก็เอิ่ม เอาเป็นว่าเล็งๆ ให้มันอยู่ตรงกลางหน้าอก ประสานมือวางลงไป แขนตรง ใช้เอวเป็นจุดหมุน กดหน้าอกลงไปตรงๆ

ลึก >2 นิ้ว, เร็ว >100 ครั้ง (วินึงกดเกือบสองครั้ง เร็วนะ เหนื่อยด้วย), เวลาถอนมือให้ถอนมือให้สุดให้หน้าอกมันเด้งคืนขึ้นมาแล้วค่อยกดคราวต่อไป

เนื่องจากจะเหนื่อยมาก พลังจากข้าวเหนียวส้มตำอาจไม่พอเพียง ให้เปลี่ยนคนกดทุกๆ 2 นาที

กดไปเรื่อยๆ จนกว่าทีม 1669 จะมาถึง

ไม่ต้องผายปอดครับ แต่ถ้าอยากจะผายปอดก็ทำได้ ให้กดหน้าอกไป 30 ครั้ง แล้วผายปอด 2 ครั้งครับ เปลี่ยนคนทุก 2 นาทีเหมือนกัน

สำหรับผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นแล้ว หนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้ฟื้นได้ คือผู้ป่วยได้รับการกดหน้าอกที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ทีม 1669 กว่าจะถึงตัวผู้ป่วยก็ต้องใช้เวลา ในขณะนั้นผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นไปแล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นใครคุณมีสองทางเลือก อันแรกคือไม่ทำอะไรและผู้ป่วยก็คงลงเอยเหมือนคุณลุงบนรถไฟฟ้า อันที่สองคือคุณโทร 1669 และกดหน้าอก คุณลุงอาจจะมีโอกาสรอดมากขึ้น

บุญรักษาทุกคนครับ

###########

ผมชอบวีดีโอสอนการกดหน้าอกอันนี้ เป็นภาษาไทยนะ ลองดูกันได้ครับ ทำออกมาได้ครบถ้วน กระชับ น่ารัก
https://www.youtube.com/watch?v=ZKpmQ1WvTIE

...............................

เพิ่มเติม ความเห็น
GoofGift Wondergift ไม่ต้องมีคำว่า "และ" นะคะ เพราะจะทำให้จังหวะมันช้าเกินไป ให้นับปกติเลยค่ะ 1 2 3 4 5... คือคุณจะรู้สึกว่าจังหวะมันเร็วและเหนื่อยไว แต่มันคืออัตราการบีบตัวของหัวใจที่ดีที่สุดในผู้ป่วยที่หมดสติค่ะ แร้วก้อพยายามอย่าถอนมือค่ะ ให้มือแนบกับหน้าอกคนไข้เสมอ เพียงแต่เราผ่อนน้ำหนักที่กดลงไป เพื่อให้หัวใจมันได้คลายตัว คือเรากดหน้าอก = หัวใจบีบ , ผ่อนแรง = หัวใจคลาย เลือดจะสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างเต็มที่ค่ะ!!

ถ้าจะช่วยเป่าปากด้วย ก้อให้นับการกดหน้าอกจนครบ 30 ครั้ง แร้วหยุดเว้นจังหว่ะ เพื่อเป่าปาก 2 ครั้ง ไม่ต้องสูดลมเข้าปอดตัวเองซะเต็มที่ก่อนหรอกนะคะ เป่าลมปกติเนี่ยหล่ะค่ะ ค่าเท่ากัน...ทำซ้ำสลับกันระหว่างการกดหน้าอก 30 ครั้ง + เป่าปาก 2 ครั้ง รวมทั้งหมด 5 รอบ จะเท่ากับ 2 นาที >> จากนั้นค่อยเปลี่ยนคนช่วยสลับกดหน้าอกนะคะ เพราะถ้าคนไม่เคยทำ แค่ 2 นาทีก้อหอบแร้วหล่ะค่ะ (^ ^" )


แร้วก้อขอฝากทุกคนนิดนึงนะคะ ว่าเวลาจะช่วยชีวิตใคร อย่ากังวลว่าเราไม่ชัวร์ ไม่แม่น กลัวทำผิด ไรงี้ เลยไม่ยอมทำกัน เพราะแค่ได้ลงมือช่วย ถึงจะไม่ถูกต้อง 100% แต่ก้อยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลยนะคะ อย่างน้อย คุณก้อได้ช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้คนไข้ไปได้ 50% แร้วค่ะ ^_____^

ถ้าเราทำเต็มที่แร้ว ถึงสุดท้ายคนไข้ไม่รอด ก้อไม่มีใครโทษคุณหรอกค่ะ และก้อเอาผิดไรคุณไม่ได้ (ถ้าคุณไม่ทำอะไรที่พิสดารนอกเหนือจากนี้นะคะ) ทุกคนต้องขอบคุณ คุณ ด้วยซ้ำ!! สู้ๆนะคะ เราทุกคนทำได้ค่ะ! ^______^



อ้อ!! ข้อสำคัญ เวลาจะช่วยกดหน้าอกคนไข้ ให้วางคนไข้นอนราบบนพื้นแข็งนะคะ ไม่งั้นการกดหน้าอกจะไม่ได้ประสิทธิภาพ และอาจทำให้กระดูกซี่โครงหักได้

...................................................


เครดิต ... เพจ ผู้พลาดพลั้งแห่งวันศุกร์  

https://www.facebook.com/fridayfailureclub

.................................................

Thai BLS CPR2010 ช่วยชีวิต ขั้นพื้นฐาน
https://www.youtube.com/watch?v=ZKpmQ1WvTIE
อัปโหลดเมื่อ 20 ม.ค. 2011   สอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน โดย https://www.sukapap.tv ครับ โหลดไปฝึกกันนะครับ ถูกตามหลัก 100% คุยกันได้ที่ facebook.com/sukapap.tv ครับ

ทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน 1
https://www.youtube.com/watch?v=0i4Vm74OWVc
เผยแพร่เมื่อ 16 ธ.ค. 2012  เป็นวีดีโอสาธิตเกี่ยวกับทักษะการช่วยชีวิ­ตขั้นพื้นฐาน สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ แนะนำวีดีโอนี้ อ.กชกร ปัดภัย สาขาเวชกิจฉุกเฉิน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ขอขอบคุณวิทยากรผู้สาธิต-บรรยาย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

การปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำ สำหรับประชาชน (ฉบับสมบูรณ์) 
https://www.youtube.com/watch?v=q9dctVrL9Lg
เผยแพร่เมื่อ 13 ส.ค. 2013   มาดูวิธีการช่วยเหลือเด็กจมน้ำที่ถูกต้องกันนะคะ  https://www.Thaincd.com

เมื่อเด็กจมน้ำ
https://www.youtube.com/watch?v=M1UNjJPixTI
อัปโหลดเมื่อ 22 ต.ค. 2010   การปฐมพยาบาลเมื่อเด็กจมน้ำ ติดตามชมคลิปอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่ https://greettv.dusit.ac.th


.................................

 

การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน นอกจากการรู้ขั้นตอนการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจแบบอัตโนมัติ หรือเครื่อง AED แล้ว
ขั้นตอนสำคัญที่จะมีส่วนทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินรอดชีวิตอีกขั้นตอนหนึ่ง คือ การช่วยฟื้นคืนชีพ หรือ CRR

ดังนั้นวันนี้ สพฉ. ขอนำเกร็ดความรู้เรื่องการ CPR มาฝากเพื่อนสมาชิกนะคะ

ทั้งนี้เมื่อพบเห็นผู้ป่วยฉุกเฉินหมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้น สิ่งที่ต้องทำมีดังนี้

1. ตั้งสติ อย่าตกใจ
2. เรียกขอความช่วยเหลือจากคนที่อยู่ใกล้ๆ บริเวณที่เกิดเหตุ
3. รีบโทรแจ้งขอความช่วยเหลือมายังสายด่วน 1669 โดยผู้แจ้งเหตุนั้นจะต้องมีสติและต้องระบุลักษณะของอาการ สถานที่เกิดเหตุและเบอร์ติดต่อกลับที่ชัดเจนให้กับเจ้าหน้าที่ได้ด้วย
4. ตรวจดูว่าผู้ป่วยหายใจหรือรู้สึกตัวหรือไม่โดยการใช้มือทั้ง 2 ข้างจับบริเวณไหล่ เขย่าให้แรงพอสมควรพร้อมเรียกผู้ป่วยดัง ๆ ลองคลำดูชีพจรโดยวัดจากตำแหน่งลูกกระเดือกไปด้านข้างประมาณ 5 เซนติเมตร ซึ่งหากผู้ป่วยไม่มีชีพจร ให้รีบทำการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
5. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นแข็งโดยผู้ช่วยเหลือนั่งคุกเข่าอยู่ทางด้านข้างของผู้ป่วย วางส้นมือลงไปตามแนวกึ่งกลางของหน้าอกหรือกึ่งกลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้างของผู้ป่วยแล้วนำมืออีกข้างมาประกบ ประสานนิ้วและทำการล๊อคนิ้ว กระดกข้อมือขึ้นลง โดยให้สันมือสัมผัสกับหน้าอกเท่านั้น
6. ในการช่วยเหลือ ผู้ให้การช่วยเหลือควรโน้มตัวให้หัวไหล่อยู่เหนือผู้หมดสติ ศอกจะต้องตั้งตรง แนวแขนตั้งฉากกับหน้าอกของผู้ป่วยและแขนต้องตรงและตึง
7. กดนวดหัวใจผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยใช้แรงจากหัวไหล่ จุดหมุนอยู่ตรงสะโพก กดให้หน้าอกยุบลงไปอย่างน้อย 5 เซนติเมตร โดยให้สันมือสัมผัสกับหน้าอกผู้ป่วยตลอดการนวดหัวใจ สันมือไม่หลุดออกจากหน้าอกผู้ป่วยด้วยความเร็ว 100 ครั้งต่อหน้าที หรืออัตราความเร็วตามจังหวัดเพลง “สุขกันเถอะเรา” หรือเพลง “จังหวะหัวใจ”

ในกรณีมีผู้ช่วยเหลือมากกว่า 1 คน เมื่อกดหน้าอกไปประมาณ 1 นาที ให้สลับกันทำ เพื่อไม่ให้ผู้ช่วยเหลือเหนื่อยจนเกินไป ทำสลับกันไปจนกว่าจะพบว่าผู้ป่วยมีอาการไอ ขยับตัว มีการหายใจ หรือทีมช่วยเหลือมาถึงเราจึงหยุดได้
ทั้งนี้การฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานนั้นจะได้ผลดีต้องกระทำภายใน 4 นาที หลังผู้ป่วยไม่มีชีพจร

เครดิต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) EMIT_1669
https://www.facebook.com/niem1669/photos/a.184197408286083.35030.149774598395031/852012768171207/?type=1


 

ลิงค์ดาวโหลดแผ่นพับ การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน สำหรับประชาชน  ( เวบ สพฉ. )
https://www.niems.go.th/th/DownloadFile.aspx?CateType=DataService&ContentId=25560731101133557
 
 
 
 
 
 
 
สรุปขั้นตอนการทำCPRในแผ่นเดียว
1.ปลุก : ไม่ตอบสนองและไม่หายใจ
2.โทร : เบอร์ 1669 และให้นำเครื่อง AED มาด้วย
3. ปั๊ม : ลึก 5 cm. เร็ว 100-120 ครั้ง/นาที
4. แปะ : ติดแผ่นอิเลคโตรดของเครื่อง AED ตามตำแหน่ง
5. ช๊อก : กดปุ๊มช๊อกโดยห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย
6. ส่ง : ทำข้อ 3-5 จนกว่ารถพยาบาลจะมารับ


FB @Street Hero Project
https://www.facebook.com/streetheroproject/photos/a.895699987200686.1073741828.838203756283643/1223872267716788/?type=3&theater









🙌🏼ช่วยชีวิตคนข้างๆด้วยมือทั้งสองข้างของคุณเอง ทุกคนสามารถทำได้🙌🏼

🚑เหตุการณ์หัวใจหยุดเต้นกระทันหัน มากว่า 70%มักเกิดขึ้นที่บ้าน ผู้ที่จะช่วยให้คนที่เรารักมากที่สุดรอดชีวิต ก็คงจะมีแต่ตัวเราเองเท่านั้น ฉนั้นหากเราไม่มีความรู้พื้นฐานการช่วยชีวิตเลย รอรถพยาบาลอย่างเดียว จะทำให้การช่วยเหลือชีวิตล้าภายใน 4 นาที จะทำให้สมองขาดเลือดและจะไม่กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกเลย ซึ่งน่าเสียดายเขาอาจกลลับมามีชีวิตและลมหายใจต่อได้ เพียงแค่ปั๊มหัวใจด้วยมือทั้งสองข้างของคุณเอง ภายใน 4 นาทีแรก
🫀ขั้นตอนการช่วยชีวิตพื้นฐานในผู้ใหญ่สำหรับประชาชนทั่วไป
1. ตรวจดูคาวมปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุ
2. ตรวจยืนยันว่าผู้ป่วยหมดสติจริง และตะโกนขอความช่วยเหลือทันที
3. โทรเบอร์ฉุกเฉิน 1669 และรีบนำเครื่อง AED มา และให้ทำตามคำแนะนำทางโทรศัพท์
4. ดูการหายใจ ถ้าหายใจปกติให้เฝ้าสังเกตอาการผู้ป่วยรอทีมช่วยชีวิตมาถึง ถ้าหายใจผิดปกติ (หายใจเฮือก) หรือไม่หายใจ ถ้าไม่แน่ใจว่าหายใจหรือไม่ ให้เริ่มกดหน้าอกทันที
5. เริ่มกดหน้าอกทันทีบริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก กดลึก(มากกว่า 5 ซม.) ,กดเร็ว (100-120ครั้ง/นาที),ขัดจังหวะการกดหน้าอกให้น้อยที่สุด ,ปล่อยหน้าอกคืนตัวสุดก่อนกดครั้งถัดไป ตำแหน่งการกดหน้าอก ให้กดตรงกึ่งกลางท่อนล่างของกระดูกหน้าอกโดยใช้สันมือกด
6. กดหน้าอก 30 ครั้ง ช่วยหายใจ 2 ครั้ง
7. เมื่อ AED มาถึง ให้ใช้ AED วิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจต้องช็อกฟ้าหรือไม่ กรณีให้ช็อกไฟฟ้า ช็อกไฟฟ้าแล้วทำCPR โดยเริ่มกดหน้าอกทันที ,กรณีไม่แนะนำให้ช็อกไฟฟ้า ให้ทำ CPR ต่อโดยเริ่มกดหน้าอกทันที ทำ CPR ต่อเนื่องจนกว่าทีมช่วยชีวิตมาถึงหรือเมื่อเห็นผู้ป่วยเคลื่อนไหวหรือหายใจปกติ

🕹การปั๊มหัวใจที่เหมาะสม ควรปั๊มคนละ 2 นาที หรือปั๊ม 200 ครั้ง แล้วจึงสลับคนปั๊มเปลี่ยน ให้คนอื่นมาปั๊มต่อ เพื่อเป็นการพักให้มีแรงปั๊มในรอบต่อไป จนกว่าผู้ป่วยจะฟื้น การตัดสินใจทำ CPR ช่วยเหลือชีวิตคนไม่ถือว่าเป็นความผิด มีกฎหมายคุ้มครองผู้ช่วยชีวิต การปั๊มหัวใจและการใช้เครื่องช็อกหัวใจถือเป็นการปฐมพยาบาลตามกฎหมาย เราสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัยโดยไม่ต้องกลัวความผิด ทำดีกว่าไม่ทำ ไม่จำเป็นต้องได้รับการฝึกการช่วยชีวิตพื้นฐานมาก่อน แค่ปั๊มสมองก็จะรอดกลับมาเป็นปกติ

👨🏻‍⚕️ข้อมูลโดย ผศ.ดร.นพ.บวร วิทยชำนาญกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคู่มือช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวอัตโนมัติ(เออีดี:AED)สำหรับประชาชน พศ.2561

ที่มา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (official)  28มีนาคม2564
https://www.facebook.com/medcmuth/posts/3913463295358664


 

การช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น และ AED เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-07-2014&group=4&gblog=102

FW Mail สุขภาพที่หลายคนเข้าใจผิด(หมอแมว) แถมเรื่อง การช่วยชีวิตเบื้องต้น https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-10-2009&group=7&gblog=36

นักกีฬาเสียชีวิตคาสนามเกิดจากอะไร ? .... เขียนโดย 1412 เวบไทยคลินิก https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-02-2015&group=4&gblog=106

 




Create Date : 07 กรกฎาคม 2557
Last Update : 28 มีนาคม 2564 13:24:16 น. 2 comments
Counter : 5547 Pageviews.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ
เพิ่งอ่านกระทู้นึงในพันทิปที่ว่า
คนเล่นฟิตเนสอยู่แล้วก็หัวใจวาย ตาย
แต่ไม่มีใครช่วยปั๊มหัวใจ อะไรซักอย่างพอคิดว่าถ้าตัวเองอยู่ในเหตการณ์นั้นก็ อาจจะไม่กล้าลงมือทำอะไรอยู่
เพราะทำไม่เป็นและ ไม่รู้หลักเลย
ตอนนี้คงต้องอ่่านอะไรแบบนี้บ้างแล้วล่ะ
เพราะถ้าเกิดกับคนใกล้ตัว จะได้ช่วยเค้าทัน

บอคุณอีกครั้งนะคะ


โดย: สมาชิกหมายเลข 743948 วันที่: 8 กรกฎาคม 2557 เวลา:0:27:04 น.  

 

🙌🏼ช่วยชีวิตคนข้างๆด้วยมือทั้งสองข้างของคุณเอง ทุกคนสามารถทำได้🙌🏼

🚑เหตุการณ์หัวใจหยุดเต้นกระทันหัน มากว่า 70%มักเกิดขึ้นที่บ้าน ผู้ที่จะช่วยให้คนที่เรารักมากที่สุดรอดชีวิต ก็คงจะมีแต่ตัวเราเองเท่านั้น ฉนั้นหากเราไม่มีความรู้พื้นฐานการช่วยชีวิตเลย รอรถพยาบาลอย่างเดียว จะทำให้การช่วยเหลือชีวิตล้าภายใน 4 นาที จะทำให้สมองขาดเลือดและจะไม่กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกเลย ซึ่งน่าเสียดายเขาอาจกลลับมามีชีวิตและลมหายใจต่อได้ เพียงแค่ปั๊มหัวใจด้วยมือทั้งสองข้างของคุณเอง ภายใน 4 นาทีแรก
🫀ขั้นตอนการช่วยชีวิตพื้นฐานในผู้ใหญ่สำหรับประชาชนทั่วไป
1. ตรวจดูคาวมปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุ
2. ตรวจยืนยันว่าผู้ป่วยหมดสติจริง และตะโกนขอความช่วยเหลือทันที
3. โทรเบอร์ฉุกเฉิน 1669 และรีบนำเครื่อง AED มา และให้ทำตามคำแนะนำทางโทรศัพท์
4. ดูการหายใจ ถ้าหายใจปกติให้เฝ้าสังเกตอาการผู้ป่วยรอทีมช่วยชีวิตมาถึง ถ้าหายใจผิดปกติ (หายใจเฮือก) หรือไม่หายใจ ถ้าไม่แน่ใจว่าหายใจหรือไม่ ให้เริ่มกดหน้าอกทันที
5. เริ่มกดหน้าอกทันทีบริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก กดลึก(มากกว่า 5 ซม.) ,กดเร็ว (100-120ครั้ง/นาที),ขัดจังหวะการกดหน้าอกให้น้อยที่สุด ,ปล่อยหน้าอกคืนตัวสุดก่อนกดครั้งถัดไป ตำแหน่งการกดหน้าอก ให้กดตรงกึ่งกลางท่อนล่างของกระดูกหน้าอกโดยใช้สันมือกด
6. กดหน้าอก 30 ครั้ง ช่วยหายใจ 2 ครั้ง
7. เมื่อ AED มาถึง ให้ใช้ AED วิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจต้องช็อกฟ้าหรือไม่ กรณีให้ช็อกไฟฟ้า ช็อกไฟฟ้าแล้วทำCPR โดยเริ่มกดหน้าอกทันที ,กรณีไม่แนะนำให้ช็อกไฟฟ้า ให้ทำ CPR ต่อโดยเริ่มกดหน้าอกทันที ทำ CPR ต่อเนื่องจนกว่าทีมช่วยชีวิตมาถึงหรือเมื่อเห็นผู้ป่วยเคลื่อนไหวหรือหายใจปกติ

🕹การปั๊มหัวใจที่เหมาะสม ควรปั๊มคนละ 2 นาที หรือปั๊ม 200 ครั้ง แล้วจึงสลับคนปั๊มเปลี่ยน ให้คนอื่นมาปั๊มต่อ เพื่อเป็นการพักให้มีแรงปั๊มในรอบต่อไป จนกว่าผู้ป่วยจะฟื้น การตัดสินใจทำ CPR ช่วยเหลือชีวิตคนไม่ถือว่าเป็นความผิด มีกฎหมายคุ้มครองผู้ช่วยชีวิต การปั๊มหัวใจและการใช้เครื่องช็อกหัวใจถือเป็นการปฐมพยาบาลตามกฎหมาย เราสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัยโดยไม่ต้องกลัวความผิด ทำดีกว่าไม่ทำ ไม่จำเป็นต้องได้รับการฝึกการช่วยชีวิตพื้นฐานมาก่อน แค่ปั๊มสมองก็จะรอดกลับมาเป็นปกติ

👨🏻‍⚕️ข้อมูลโดย ผศ.ดร.นพ.บวร วิทยชำนาญกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคู่มือช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวอัตโนมัติ(เออีดี:AED)สำหรับประชาชน พศ.2561

ที่มา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (official) 28มีนาคม2564
https://www.facebook.com/medcmuth/posts/3913463295358664


โดย: หมอหมู วันที่: 28 มีนาคม 2564 เวลา:13:24:54 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]