Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
 
มิถุนายน 2556
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
11 มิถุนายน 2556

ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์




 
ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
-----------------------------------------

ปัจจุบันความขัดแย้งในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จะเห็นว่ามีการฟ้องร้องเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทั้งที่เป็นคดีความหรือไม่เป็นคดีความ แม้จะมีคำประกาศของแพทยสภาเรื่องข้อเท็จจริงทางการแพทย์ ที่ 46/2549 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพกับผู้ป่วยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจอันดี และเป็นที่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน แต่ก็ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์

เพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ ผู้เขียนจึงใคร่ขอเพิ่มเติมข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์ดังนี้

1.ประชาชนเป็นเจ้าของสุขภาพ ดังนั้นการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง จึงควรเป็นหน้าที่พื้นฐานของประชาชนชาวไทยทุกคน

การทำลายสุขภาพของตนด้วยการสูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์, เที่ยวกลางคืนเป็นนิตย์, เสพยาเสพติดนั้น เมื่อเจ็บป่วยมักจะเป็นมาก การดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์นั้นอาจจะได้ผลไม่ดี ยกตัวอย่างเช่น คนไข้ป่วยเป็นโรคตับแข็งจากการดื่มสุรา มีเลือดออกจากทางเดินอาหารครั้งแรกรักษาได้ แต่คนไข้ไม่ยอมหยุดดื่ม ครั้งที่สองเลือดออกจากทางเดินอาหารรุนแรงจนแพทย์ไม่สามารถรักษาได้ คนไข้เสียชีวิต


2.เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาคือประชาชน แพทย์เป็นผู้ให้ข้อมูลรายละเอียดและคำแนะนำ

ดังนั้น ประชาชนต้องขวนขวายหาความรู้บ้างเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บที่ตนเองเป็นอยู่ หากไม่เข้าใจต้องซักถามแพทย์จนรู้เรื่อง หากแพทย์คนแรกถามแล้วยังข้องใจ ควรถามความเห็นจากแพทย์คนที่สองเพื่อให้ผลดีในการดูแลรักษา ยกตัวอย่าง เช่น หญิงตั้งครรภ์ที่สองเป็นโรคเบาหวาน เคยคลอดลูกคนแรกน้ำหนัก 4,200 กรัม ท้องนี้แพทย์คะเนน้ำหนักเด็กทารกมากกว่า 4,000 กรัม แนะนำให้ผ่าคลอด ผู้ป่วยไม่ยินยอมผลการคลอดคือ ทารกคลอดออกมา น้ำหนัก 4,500 กรัม เกิดปัญหาติดไหล่ ไหล่และแขนทารกเป็นอัมพาตไม่สามารถยกได้


3.การรักษาโรคส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของโรค แพทย์แผนปัจจุบันยังไม่ทราบความลับนี้ทั้งหมด

บางโรคแพทย์รักษาได้ เช่นโรคที่ใช้ยาและการผ่าตัด, บางโรคแพทย์เป็นผู้ช่วยธรรมชาติในการบำบัดรักษา เช่น โรคที่ติดเชื้อไวรัสต่างๆ, บางโรคหากเป็นอย่างรุนแรงแม้ทุ่มเทรักษาสุดความสามารถผู้ป่วยก็อาจเสียชีวิตได้ เช่นโรคครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรงที่มีภาวะไม่แข็งตัวของเลือด (HELLP syndrome), โรคไข้เลือดออกที่ช็อกรุนแรง, โรคสมอง โรคตับ โรคไต โรคปอด โรคมะเร็ง โรคกระดูก ฯลฯ ที่เป็นอย่างรุนแรง, บางโรคแพทย์รักษาไม่ได้ ได้แต่ประคับประคอง เช่น โรคที่เกิดจากอวัยวะเสื่อมสภาพ, โรคเอดส์, โรคมะเร็งระยะสุดท้าย ฯลฯ

4.ความผิดพลาดของแพทย์จากการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บ วารสาร American Journal of Medicine ประมาณว่ามีประมาณร้อยละ 5-15 สาเหตุความผิดพลาดของแพทย์แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ

4.1 ความผิดพลาดที่มาจากแพทย์ ได้แก่ วินิจฉัยผิดพลาด, รักษาผิดพลาด เหตุผลส่วนหนึ่งเกิดจากแพทย์ละเลย ไม่ใส่ใจไม่รับผิดชอบแต่เป็นส่วนน้อยมากๆ แพทย์ส่วนใหญ่ยังยึดมั่นจริยธรรมทางการแพทย์ และทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด แต่อาจเป็นเพราะขาดความรู้, ความชำนาญ, ประสบการณ์, ความรอบคอบ, ไม่ได้ส่งตรวจพิเศษที่จำเป็น, ไม่เชี่ยวชาญในการสื่อสาร, ทั้งโรคนั้นอาจจะซับซ้อน วินิจฉัยหรือรักษาได้ยากลำบาก

4.2 ความผิดพลาดที่มาจากผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยมาหาเมื่อเป็นมากแล้ว รักษาหลายที่จนอาการเปลี่ยนแปลงไป บอกประวัติไม่ครบทั้งเพราะความไม่รู้หรือความอาย

4.3 ความผิดพลาดที่มาจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ระบบ การรักษาพยาบาล, เครื่องมือ, เทคโนโลยี, บุคลากรผู้ช่วยแพทย์ ฯลฯ เช่น บางโรงพยาบาลอาจมีนโยบายไม่ใช้ยาบางอย่างในคนไข้บางสิทธิ, ปัญหาของระบบการส่งต่อล่าช้า,เครื่องมือในการตรวจรักษาไม่ทันสมัยไม่มีคุณภาพ เช่น อัลตราซาวด์เป็นรุ่นเก่ามองไม่ค่อยเห็น, ผู้ช่วยเหลือแพทย์ผ่าตัดนับเครื่องมือหรือผ้าซับช่องท้องว่าครบ แต่มีลืมค้างไว้ในช่องท้อง เป็นต้น


พญ.ชัญวลี ศรีสุโข
กรรมการแพทยสภา
โฆษกแพทยสภา

----------------------------------
Cr.หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2556 ปีที่ 36 ฉบับที่ 12851 หน้า 7
--------------------------------




::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
 

ข้อสังเกตคลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

๑.มีป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาต ๑๑ หลัก ติดไว้หน้าคลินิก

๒.แสดงใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

๓.แสดงใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาล

๔.แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ของปีปัจจุบัน

๕.แสดงรูปถ่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ พร้อม ชื่อและเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ

๖.แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และ สามารถสอบถามอัตราค่ารักษาได้

๗.แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ สิทธิผู้ป่วย ในที่เปิดเผยและเห็นง่าย

 

อ้างอิง:

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

โทร02 193 7000 ต่อ 18416 - 7

www.mrd.go.th

FB@สารวัตรสถานพยาบาลOnline

https://www.facebook.com/สารวัตรสถานพยาบาล-Online-1502055683387990/

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

 

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 



Create Date : 11 มิถุนายน 2556
Last Update : 10 กรกฎาคม 2563 21:34:50 น. 0 comments
Counter : 1988 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]