Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
21 เมษายน 2556

เทคนิคการใช้ไมโครโฟน .. สำหรับนักพูด (นำมาฝาก)




( ภาพผม ขณะฝึกพูด ในสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร )


อจ.สันติ อภัยราช ได้แนะนำว่า ผู้พูด ควรรู้จักการใช้ไมโครโฟน เพราะ ไมโครโฟน เปรียบเหมือน อาวุธ ของ นักพูด ... ผมเลยลองหาในเนต และ นำมาฝาก  ..


การใช้ไมโครโฟน

//nonixx.exteen.com/20080510/entry

· การใช้ไมโครโฟน ที่มีขาตั้ง เมื่อเดินไปถึงตำแหน่งที่ตั้งไมโครโฟนให้สังเกตอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับระดับความสูงต่ำของไมโครโฟน ว่าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วหรือยัง ถ้าสูงไปจนบังใบหน้าหรือต่ำจนต้องค้อมตัวลงไปหา ให้จับที่ข้อต่อหมุนขยับ ปรับระดับให้สูงหรือต่ำแล้วหมุนเกลียวกลับให้แน่นเหมือนเดิม หากต้องนั่งพูดใช้ไมโครโฟนตั้ง ปัญหาความสูง – ต่ำมักไม่มี เพียงแต่ขยับตัวนั่งให้เหมาะเจาะเท่านั้น

· อย่าเอามือจับไมโครโฟนตลอดเวลา

· ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรจับหรือเล่นสายไมโครโฟนเพราะผู้ฟังจะหันความสนใจไปดูสิ่งที่เคลื่อนไหว

· ไม่เคาะไม่เป่าไมโครโฟนหรือทดลองเสียงด้วยวิธีอื่นๆ ให้ระยะห่างระหว่างปากกับไมโครโฟน ห่างกันประมาณ 5-8 นิ้ว แต่ทั้งนี้ก็จะต้องขึ้นอยู่กับความไวในการรับเสียงของไมโครโฟนด้วย

· ถ้าขณะพูดจะเดินไปอธิบายไปซึ่งตัวอาจจะอยู่ห่างจากไมโครโฟน ควรถอดไมโครโฟนถือไปด้วย

· หากการพูดต้องใช้มือถือไมโครโฟนข้อศอกข้างที่ถือไมโครโฟนให้แนบข้างลำตัว

· เมื่อพูดไม่ควรใช้มือที่ถือไมโครโฟนแสดงท่าทางประกอบเพราะจะทำให้เสียงที่พูดไม่ ชัดเจนและเสียงจะขาดๆ หายๆ หรือขาดตอนตลอด

· ระวังอย่างให้เสียงอื่นๆที่เกิดจากผู้พูดเข้าสู่ไมโครโฟน เช่น เสียงไอ กระแอมหากออกไปโดยไม่รู้ตัวต้องรีบขออภัยผู้ฟัง

· อย่าจ้องไมโครโฟน ให้มองผู้ฟัง

· หากเกิดเสียงหวีดของไมโครโฟนอันเกิดจาก “การย้อนกลับของสัญญาณ” การแก้ไข ควรใช้ฝ่ามือค่อยๆวางบนไมโครโฟน หากยังมีเสียงหวีดอีกต้องปรับเครื่องขยายเสียง อย่าพูดไปทั้งๆ ที่มีเสียงหวีด

· บางครั้งจำเป็นต้องถือไมโครโฟนอย่าถือทั้งขาตั้ง ให้ถอดตัวไมโครโฟนออกจากขาตั้งเสียก่อน เวลาถืออย่ากำไมโครโฟนแน่นหรือให้กำหลวมๆ ถือให้ห่างจากปากพอสมควร ถ้าควบคุมการหายใจได้อาจถือในระยะใกล้ได้อย่าถือต่ำหรือยกแบบตั้งฉาก

· หากเป็นการพูดจากการอ่านจากต้นฉบับการถือต้นฉบับไม่ควรที่จะถืออ้อมไมโครโฟนควรถือให้อยู่ระหว่างผู้พูดกับไมโครโฟนและอย่ายกกระดาษร่างขึ้นสูงจนบังใบหน้าหรืออยู่ชิดไมโครโฟนเกินไปขณะที่พลิกกระดาษเสียงจะดังเข้าไมโครโฟน

· กรณีที่ใช้โมโครโฟนแบบตั้งโต๊ะเวลาพูดเสร็จและต้องการเลื่อนไปให้ผู้ร่วมอภิปรายคนต่อไปอย่าลากไมโครโฟน ให้ยกไปวาง เพราะการลากไมโครโฟนจะทำให้เกิดเสียงดังมาก

(เอกสารเผยแพร่โดยสวท.ตราด)


เทคนิคเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับการใช้ไมโครโฟน

//www.oknation.net/blog/Reggae/2010/11/18/entry-1

1. ควรไปถึงก่อนสถานที่มีงานหรือกิจกรรมก่อนเวลาสัก 1 ชั่วโมงแล้วลองพูดผ่านไมโครโฟนดูว่าเสียงเป็นอย่างไร ชัดเจนแค่ไหน ตามปกติจะมีตำราว่าการใช้ไมค์โครโฟนให้ห่างจากปากประมาณ 10 นิ้ว แต่ไมค์โครโฟนสมัยนี้มีหลายแบบ หลายรุ่น บางรุ่นอยู่ห่างจากปากพูดเบาๆๆก็ได้ยินบางรุ่นต้องจ่อไว้เกือบติดปากจึงจะชัดเจน

2. ขณะที่พูดควรสังเกตเสียงจากไมค์โครโฟนด้วยว่าชัดเจนแค่ไหนท่านต้องปรับระยะการใช้ไมค์โครโฟนให้เหมาะสมเสมอบางทีพูดๆไปเสียงลมจากการเปิดปากพูด หรือเสียงลมหายใจจะออกมาชัดเจนต้องใช้วิธีดึงไมค์โครโฟนออกห่างจากปากสักหน่อยแล้วพูดหรือถ้าเป็นไมค์ลอยลักษณะการถือมักจะต้องจับไมค์โครโฟนเกือบขนานกับพื้นเสียงจึงจะออกมาชัดเจน

3. ต้องสังเกตว่าสวิชท์เปิด ปิดไมค์โครโฟนอยู่ตรงไหนก่อนพูดต้องเปิดให้เรียบร้อยและพูดจบต้องปิดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันเสียงอื่นๆแทรกขณะไม่ได้ใช้ไมค์โครโฟนนอกจากนี้ขาตั้งไมค์จะมีหลายแบบท่านต้องศึกษาจากผู้ควบคุมเสียงว่าจะเลื่อนขึ้นลงอย่างไร บางรุ่นจะใช้วิธีหมุนเกลียว บริเวณขาไมค์บางรุ่นจะใช้วิธียกที่ข้อต่อ

4. เมื่อเริ่มต้นพูดอย่าทดลองเสียงด้วยคำว่า “ฮัลโหล...ฮัลโหล” เคาะ หรือ เป่าลมใส่ไมค์โครโฟนเป็นอันขาด ควรพูดออกไปเลยว่า “สวัสดีคะ(ครับ)”และนี่คือเหตุผลทำไมท่านจะต้องไปถึงงานก่อนเวลาเริ่มงานเพื่อทดสอบความพร้อมของไมค์โครโฟน นั่นเอง

5. เมื่อพูดจบแต่ละช่วงหากท่านจำเป็นต้องยืนอยู่บนเวทีและต้องถือไมโครโฟนไว้ ควรถือไว้ระดับเอว อย่ายืนถือแบบตามสบายโดยแนบข้างลำตัวเพราะจะทำให้ดูบุคลิกภาพไม่ดี

<<<ขอขอบคุณหนังสือคู่มือการพัฒนาตนเองโดยสำนักงานเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย; เทคนิค การเป็นพิธีกร โดยวรรณภา วรรณศรี หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์สำนักการศึกษา เมืองพัทยา >>>




ข้อมูลทั่วไป สโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร (พ.ศ.๒๕๒๓)
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-09-2012&group=20&gblog=1




Create Date : 21 เมษายน 2556
Last Update : 21 เมษายน 2556 13:48:51 น. 0 comments
Counter : 11111 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]