Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
19 เมษายน 2556

บทที่ ๗ การใช้ถ้อยคำและการสร้างภาพพจน ... ร่างบทพูดของผม " การเมืองเป็นเรือ่งจริงจัง เกินกว่า ... ""


( ภาพประกอบจากหนังสือเทคนิคการพูดฯ เรียบเรียงโดย อ.สันติ อภัยราช สามารถดาวโหลดมาอ่านได้ที่  //sunti-apairach.com/book/book1pdf/booksec1_012.pdf )


การเมืองเป็นเรื่องจริงจังเกินกว่าที่เราจะปล่อยให้นักการเมืองเล่นกันเอง

การเมืองเป็นเรื่องของประชาชนทุกคนถ้าท่านไม่เล่นการเมือง การเมืองก็จะเล่นท่าน

ผู้ที่เข้ามาเล่นการเมือง มีเป้าประสงค์ ๓หลักใหญ่ ๆ คือ อำนาจ อามิส อุดมคติ

ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) ปรมาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ ชาวอเมริกัน ให้คำจำกัดความว่า “การเมือง คือ การได้มาซึ่งอำนาจ เพื่อที่จะตัดสินว่าใครจะได้อะไร เมื่อใดและอย่างไร (Politics is who gets “What”, “When”, and “How”)


๑. การเมืองเป็นเรื่องของ อำนาจ และ ผลประโยชน์

- อำนาจ : อำนาจในการตัดสินใจ ว่า ใคร จะได้อะไรเมื่อไหร่ อย่างไร

- ผลประโยชน์ : ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด

ผลประโยชน์ของส่วนรวม ไม่ใช่ของตนเอง


๒. การเมืองที่ดี ทำเพื่อคนอื่น ( เมือง ) ไม่ใช่ ทำเพื่อตนเอง และ ครอบครัว ( บ้าน )

-ถูกต้อง ถูกกฎหมาย    ถูกหลักการมีเหตุผล

-ถูกใจ ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิดตัดสินใจ(ถูกใจประชาชน)     มีความหวังมองเห็นอนาคต

- โปร่งใสตรวจสอบได้

๓. สิทธิ และ หน้าที่

- สิทธิ : สิ่งที่พึงได้รับ

- หน้าที่ : สิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้ได้สิทธิ



เงิน ๑๐ ล้านบาท ทำอะไรได้บ้าง ?

ถ้ามีเงิน ๑๐ ล้านบาท อยากจะทำอะไรให้กับ เมือง ชุมชนสังคม ?

งบประมาณของรัฐสูญเสียไปกับการร่วมมือทุจริตของนักการเมือง ข้าราชการ และ นักธุรกิจ สมัยก่อน ร้อยละ ๑๐ ปัจจุบันนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๓๐ ? ถึงขนาดมีวาทะที่ว่าถ้าไม่มีการทุจริต ถนนทุกสายของเมืองไทย คงปูด้วยทองคำได้


วิธีพิจารณาง่าย ๆ ว่า โครงการไหนของนักการเมืองที่น่าจะดี ก็คือ โครงการนั้น ถูกต้อง ถูกใจ โปร่งใสตรวจสอบได้

เช่น รถไฟความเร็วสูง ของรัฐบาลถ้าพิจารณาแยกเป็นข้อ ๆ ก็จะเห็นว่า

- ถูกต้องอย่างน้อยก็น่าจะถูกต้องตามกฎหมาย เพราะ ผ่านสภา ออกมาเป็นพรบ.กู้เงินสองล้านล้านบาท ( ๒,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐) .. แต่ ไม่แน่ใจเรื่องหลักการ และความมีเหตุผล

- ถูกใจ ข้อนี้ก็ตอบฟันธงยาก เพราะประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการคิดตัดสินใจ(นักการเมือง ถือว่า ตนเองเป็นตัวแทนของประชาชน จึงสรุปเอาว่า ความคิดของตนสามารถแทนความคิดของประชาชนที่เลือกตนเองเข้ามา ?)

- โปร่งใส ตรวจสอบได้ ข้อนี้ไม่ผ่านเพราะ ไม่มีข้อมูลอะไรที่แสดงถึงความโปร่งใส ที่จะให้ตรวจสอบได้เลย

ในความเห็นของผมสรุปว่าสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นโครงการทางการเมืองที่ “ไม่ถือว่าดี“



คุณภาพของนักการเมือง สะท้อนคุณภาพของประชาชน ด่านักการเมืองก็สะท้อนคำด่านั้นมายังประชาชนด้วยเช่นกัน

นักการเมืองทุจริต ก็เกิดจาก ประชาชนทุจริต เราอยู่ในสังคมเดียวกันเรือลำเดียวกัน เราก็ต้องร่วมรับผลกรรมนี้ด้วย แก้ที่คนอื่นไม่ได้ก็มาแก้ไขที่ตัวเรา หรือ คนใกล้ชิด เพราะสาเหตุอาจเกิดจาก

-ตัวเราไม่ทำ เช่น ไม่ไปเลือกตั้ง ไม่ให้ความสนใจ ไม่ร่วมกิจกรรมทางการเมือง ฯลฯ

-ตัวเราทำแล้วแต่ยังไม่พอ เช่น เราเลือกคนดี ไม่รับเงินซื้อเสียงแต่ไม่ได้ชักชวนไม่ได้ให้ความรู้กับคนอื่นให้คิดแบบเราฯลฯ


นักการเมือง คิดถึงการเลือกตั้งครั้งหน้า รัฐบุรุษ คิดถึง อนาคตของเยาวชนรุ่นต่อไป

น่าเสียดายที่บ้านเมืองเรามีแต่นักการเมืองนักธุรกิจการเมือง ผมเชื่อว่า ทุกคนรู้และอยากเป็นรัฐบุรุษด้วยกันทั้งนั้นแต่ผมไม่รู้ว่า ทำไมนักการเมืองบ้านเราถึงยังทำแบบนี้อยู่ ?



ผู้ใหญ่ ชอบพูดว่า อนาคต ฝากไว้กับ เยาวชน

แต่สิ่งที่น่าคิดคือ

แล้ว ผู้ใหญ่ในปัจจุบันได้ทำอะไรไว้ให้กับเยาวชนบ้าง ?




a day BULLETIN issue 217
//issuu.com/adaybulletin






Create Date : 19 เมษายน 2556
Last Update : 21 เมษายน 2556 13:39:55 น. 0 comments
Counter : 3044 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]