ธันวาคม 2561

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
8
9
10
11
14
15
16
17
22
24
25
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
ปวดต้นคอ อย่าวางใจ เพราะอาจอันตรายกว่าที่คิด



อาการปวดต้นคอ (Neck pain) นั้นเกิดได้บ่อยๆ กับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งอาจเกิดจากการก้มทำงานนานๆ บ้าง หรือนอนตกหมอนบ้าง ส่วนมากอาการปวดต้นคอที่เราคุ้นเคยจะเป็นการปวดแบบธรรมดาๆ ทำให้หันศีรษะไม่ค่อยสะดวก บางคนก็อาจมีอาการเกร็งกระตุกร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้มักค่อยๆ หายไปเองและไม่เป็นอันตรายรุนแรง แต่หากมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ชาและเสียวแปลบที่ต้นคอ คอเกร็งจนหันไม่ได้ ปวดและวิงเวียนศีรษะ ไปจนถึงขั้นกลืนอาหารลำบาก ปวดชามาถึงไหล่และแขน มีการบวมบริเวณต้นคอ และกลายเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ให้สงสัยว่าอาการปวดต้นคอนั้นอาจมีสาเหตุที่อันตราย และควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

สาเหตุของอาการปวดต้นคอ
มีการเกร็งของกล้ามเนื้อซึ่งเกิดจากกิจวัตรประจำวัน เช่น การนั่งหรือนอนผิดท่า ก้มหน้าทำงานหรือเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานาน กล้ามเนื้อเกร็งกระตุกจากการออกกำลังกาย สาเหตุนี้ถือว่าพบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดต้นคอในวัยรุ่นหนุ่มสาวเลยทีเดียว
มีการกดทับเส้นประสาทคอสาเหตุนี้มักพบในผู้สูงอายุ เนื่องจากกระดูกสันหลังเริ่มเสื่อมและขาดความยืดหยุ่น ทำให้กระดูกแยกออกมาทับเส้นประสาท ซึ่งอาการที่พบได้คือปวดและชาตามต้นคอ ลงมาถึงแขน และอาจมีอาการแขนอ่อนแรงด้วย
กระดูกสันหลังคอเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุเช่นกัน หากกระดูกสันหลังคอส่วนที่เสื่อมนั้นอยู่ใกล้เส้นประสาทก็อาจมีอาการปวดต้นคอได้ แต่บางครั้งก็ไม่มีอาการใดๆ เลย
เอ็นและข้อต่อที่คอเกิดการบาดเจ็บเสียหายสาเหตุนี้มักเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ศีรษะโดนกระชากอย่างแรง ทำให้ข้อต่อบริเวณคออักเสบ และเป็นสาเหตุของอาการปวดต้นคออย่างรุนแรง
การติดเชื้อโรคติดเชื้อหลายชนิดทำให้เกิดต่อมน้ำเหลืองที่คอโตและอักเสบ ส่งผลให้มีอาการปวดคอได้ เช่น วัณโรค รวมถึงโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและไขสันหลังอักเสบ ผู้ป่วยก็มักมีอาการปวดคอ ปวดศีรษะ และคอแข็งเกร็งได้เช่นกัน 

การรักษาอาการปวดต้นคอ
ใช้ยาบรรเทาอาการปวดโดยการให้ยาจะประเมินจากความรุนแรงของอาการเป็นหลัก หากมีอาการปวดต้นคอไม่รุนแรงมาก อาจบรรเทาได้ด้วยการทานยาพาราเซตามอล แต่หากอาการปวดนั้นมีสาเหตุจากการอักเสบรุนแรง แพทย์อาจให้ยาลดการอักเสบร่วมด้วย และหากมีอาการปวดเกร็งมากและตึงคอ ก็อาจให้ยา codeine ร่วมกับยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งยาเหล่านี้ควรทานตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น ถ้าต้องการให้อาการปวดรุนแรงหายไวขึ้น แพทย์ก็อาจใช้วิธีฉีดยาสเตียรอยด์หรือยาชาเข้าไปตรงตำแหน่งใกล้รากประสาท
ทำกายภาพบำบัดและการนวดในกรณีที่มีอาการปวดรุนแรงจนขยับคอลำบาก อาจต้องกระตุ้นกล้ามเนื้อโดยการประคบร้อน ประคบเย็น และการดึงคอ รวมถึงการบีบนวดที่ถูกวิธีก็ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อคอได้ นอกจากนี้ควรฝึกบริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรง เพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดเรื้อรังด้วย
ใส่เฝือกคอเพื่อเป็นการช่วยพยุงคอ และป้องกันไม่ให้มีการเคลื่อนไหวส่วนคอมากเกินไป การใส่เฝือกคอชั่วคราวจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้เช่นกัน
การผ่าตัดเป็นวิธีที่มีความเสี่ยง และจะใช้รักษาในผู้ที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง เนื่องจากกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผลแล้ว

การป้องกันอาการปวดต้นคอ
ควรหลีกเลี่ยงการนั่งหรือก้มในอิริยาบถเดิมนานๆ เช่น การนั่งทำงาน การเล่นโทรศัพท์ และหากจำเป็นก็ควรจัดท่าทางให้เหมาะสม โดยให้จออยู่ในระดับสายตา เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อย
การนอนควรเลือกความสูงของหมอนที่พอดี ไม่สูงหรือต่ำเกินไป และควรจัดท่านอนให้คออยู่ระดับเดียวกับศีรษะ จะช่วยป้องกันอาการคอเคล็ดและการตกหมอนได้
ควรหลีกเลี่ยงการแบกของหนักไว้บนหลังและไหล่ เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมและส่งผลต่ออาการปวดคอได้
หมั่นบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อบริเวณคอ โดยการขยับหมุนคอไปมา แต่ไม่ควรเคลื่อนไหวแรงๆ และเร็วเกินไป

ขอบคุณข้อมูลจาก : honestdocs.co

ดูบทความดีๆได้ที่ : //www.thaihomeonline.com หรือ LINE@ : @thaihomeonline  ครบเครื่องเรื่องบ้าน คอนโด การลงทุน
คลิกเลย : https://www.thaihomeonline.com



Create Date : 06 ธันวาคม 2561
Last Update : 6 ธันวาคม 2561 17:30:56 น.
Counter : 228 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 3757202
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]