City Livingzone
<<
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
23 สิงหาคม 2550

ลดหลอดไส้ ลดความร้อน

โทมัส อัลวา เอดิสัน นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นผลิตหลอดไฟฟ้าเมื่อ 128 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีของเขามนุษยชาติยังใช้งานกันอยู่ทั่วไปจวบจนปัจจุบัน หลอดไฟที่โทมัส อัลวา เอดิสันคิดค้นนั้นเราเรียกกันง่าย ๆ ว่า “หลอดไส้” หรืออีกชื่อหนึ่งว่า “หลอดอินแคนเดสเซนต์” ส่วนหลอดไฟอื่น ๆ ที่เราพบเห็นกันอยู่ทั่วไป อีก 2 ชนิด ได้แก่ “หลอดฟลูออเรสเซนต์” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “หลอดนีออน” ส่วนหลอดไฟอีกชนิดคือ “หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์” หรือรู้จักกันในชื่อ “หลอดตะเกียบประหยัดไฟ” หลอดชนิดนี้ถูกคิดค้นโดยวิศวกรชาวเนเธอร์แลนด์ ที่นำหลอดนีออนยาว ๆ มาคดให้โค้งงอเพื่อที่จะเสียบกับขั้วไฟได้เหมือนกับหลอดไส้ เพราะเห็นว่าหลอดไส้นั้นกินไฟ สิ้นเปลืองพลังงาน

ปัจจุบันปริมาณการใช้หลอดไฟฟ้าแสงสว่างในประเทศไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 200 ล้านหลอด แบ่งเป็นหลอดนีออนมากที่สุด 155 ล้านหลอด , หลอดตะเกียบ 15 ล้านหลอด และหลอดไส้ 30 ล้านหลอด จากปริมาณการใช้หลอดไส้ 30 ล้านหลอดนี้ ทำให้เราสร้างภาระในการผลิตไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 330 ล้านหน่วยต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่าสูงถึงปีละ 1,000 ล้านบาท หากเราเปิดใช้หลอดไส้ 1 ชั่วโมง ต้องเสียค่าไฟฟ้าเป็นเงิน 3 บาท เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับการใช้หลอดตะเกียบที่ค่าไฟ 3 บาทเท่ากัน เราสามารถใช้งานได้นานถึง 12 ชั่วโมง

ยิ่งเมื่อเทียบความคุ้มค่าแล้ว หลอดไส้มีอายุการใช้งานเพียง 1,000 ชั่วโมง ขณะที่หลอดตะเกียบมีอายุการใช้งานนานถึง 6,000 ชั่วโมง และหากเทียบการใช้พลังงานกันระหว่างหลอดไส้กับหลอดตะเกียบ หลอดไส้มีประสิทธิภาพต่ำกว่าหลอดตะเกียบถึง 5 เท่า และให้แสงสว่างเพียง 10 % เพราะไฟฟ้าที่ป้อนให้หลอดไส้จะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนกว่าร้อยละ 90

โลกร้อนมากขึ้นเพราะอะไร ? นักวิทยาศาสตร์ก็มักตอบว่า เกิดจาก “ภาวะเรือนกระจก” และภาวะเรือนกระจกนี้ก็เกิดจาก มนุษย์เราที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกเอาไว้ รัฐบาลหลาย ๆ ประเทศให้ความสำคัญกับปัญหานี้ เช่น ในประเทศออสเตรเลีย รัฐบาลประกาศกฎหมายโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมของเขาห้ามใช้หลอดไส้ แม้ประเทศของเค้าจะไม่มีปัญหาเรื่องพลังงานเพราะมีถ่านหินจำนวนมากแต่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม หรือในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกามีการประกาศใช้กฎหมายห้ามขายหลอดไส้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 แล้วลองกลับมานึกถึงบ้านเรากันบ้าง เรามีหลอดไส้ใช้งานอยู่ประมาณ 30 ล้านหลอด ความร้อนจากการเปิดใช้หลอดไส้ 1 ชั่วโมงนั้นเราสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุทำให้โลกร้อนมากถึง ? กิโลกรัม หากนำมาเทียบกับปริมาณหลอดไส้ 30 ล้านหลอดในปัจจุบันแล้วเราจะสร้างปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตัวการสำคัญในการทำให้โลกร้อนมากมายขนาดไหนกัน

การเปลี่ยนจากหลอดไส้มาใช้หลอดตะเกียบไม่เพียงทำให้เราช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในความพยายามช่วยโลกเย็นลงอีกด้วย และยังช่วยประเทศของเราประหยัดงบประมาณที่ต้องเสียไปกับการซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ประเทศลาว หรือ ประเทศจีน ช่วยลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตกระแสไฟฟ้า เพราะการผลิตไฟฟ้านั้นต้องใช้เชื้อเพลิงอย่างน้ำมันซึ่งก็ต้องใช้เงินตราในการนำเข้าเช่นเดียวกัน

ปริมาณการใช้หลอดตะเกียบในประเทศไทยนั้นมีเพียงครึ่งเดียวของหลอดไส้ เพราะหลายคนมองว่าราคาของหลอดตะเกียบนั้นแพงกว่าหลอดไส้มาก ประมาณหลอดละ 120 บาท ในขณะที่หลอดไส้ราคาอยู่ที่ 12 – 15 บาท แต่หากเราพิจารณาถึงความคุ้มค่าหลาย ๆ ประการแล้วหลอดตะเกียบน่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและคุ้มค่ากว่าการใช้หลอดไส้ ยิ่งมีข่าวว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีโครงการร่วมกับบริษัทเอกชนที่จะผลิตหลอดตะเกียบที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และฉลากเบอร์ 5 ในราคาเพียง 50 – 55 บาท โดยจะเริ่มวางขายตามร้านสะดวกซื้อและห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในเดือนนี้ (สิงหาคม)แล้ว ปัจจัยเรื่องราคาก็น่าจะไม่ใช่เรื่องที่ต้องลังเลใจอีกต่อไป

การเปลี่ยนมาใช้หลอดตะเกียบแทนการใช้หลอดไส้นั้นเป็นตัวอย่างเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นได้จากตัวเราเองเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน และช่วยกันลดภาระงบประมาณในการผลิตไฟฟ้าให้แก่ประเทศของเรา แม้เป็นเพียงจุดเล็ก ๆ แต่หากเราทุก ๆ คนช่วยกันก็จะสร้างประโยชน์กับโลกใบนี้และประเทศชาติของเราได้มหาศาล และต้องดีกว่าการที่เราจะไม่เริ่มต้นทำอะไรเลย


Create Date : 23 สิงหาคม 2550
Last Update : 10 กันยายน 2550 9:39:47 น. 0 comments
Counter : 809 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

citylivingzone
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add citylivingzone's blog to your web]