ปวดท้องเมนส์จนหมดแรง? มาดูวิธีจัดการแบบง่ายๆ
สาวๆ คนไหนที่กำลังเผชิญกับปวดท้องเมนส์อยู่บ้าง? เชื่อว่านี่เป็นปัญหาโลกแตกของผู้หญิงแทบทุกคนเลยก็ว่าได้ บางคนปวดแค่หน่วงๆ พอทนได้ แต่บางคนก็ปวดท้องประจำเดือนจนแทบจะทำอะไรไม่ได้เลยและเป็นอุปสรรคกับชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะปวดท้องประจำเดือน กินอะไรดีหรือวิธีแก้ปวดท้องเมนส์แบบไหนดี ปวดท้องเมนส์มีกี่แบบ บทความนี้จะพาไปเจาะลึกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับอาการปวดท้องประจำเดือน มาดูกันว่าเราจะรับมือกับมันยังไงดี!
ลักษณะอาการปวดท้องประจำเดือนแบบไหน? ที่บอกว่าต้องรีบพบแพทย์สำหรับสาวๆ หลายคนปวดท้องเมนส์ อาจเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นทุกเดือน บางทีก็ปวดประจำเดือนแค่ตึงๆ หน่วงๆ แต่บางทีก็ปวดหนักมากกกกกกก จนต้องหายาแก้ปวดท้องเมนส์มากิน แล้วปวดท้องประจําเดือน แก้ยังไงดีล่ะ? ก่อนอื่น เราต้องมาทำความรู้จักกับอาการนี้กันก่อนค่ะ
ปวดท้องประจําเดือน อาการเป็นยังไง? โดยทั่วไปแล้ว อาการปวดท้องเมนส์มักจะเริ่มขึ้นก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน และอาจเป็นต่อเนื่องไปอีก 2-3 วัน ความปวดก็มีตั้งแต่ปวดหน่วงๆ ปวดแบบจี๊ดๆ ไปจนถึงปวดบิด บางคนอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดหลัง ปวดขา อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน หรือแม้แต่ปวดท้องเมนส์จนนอนไม่ได้เลยทีเดียว
2 ประเภทปวดท้องประจำเดือน รู้ไว้จะได้รักษาถูกจุด!
อาการปวดท้องประจำเดือนสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทหลักๆ คือ ปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ และปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งในด้านสาเหตุและอาการ ปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea)อาการปวดท้องประจำเดือนแบบนี้มักเกิดขึ้นในสาวๆ วัยรุ่นที่เพิ่งเริ่มมีประจำเดือน และมักจะดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น หรือหลังจากคลอดลูกแล้ว สาเหตุหลักมาจากการหดตัวของมดลูก เพื่อขับเยื่อบุโพรงมดลูกออกมา ไม่มีความผิดปกติทางกายวิภาค
ลักษณะอาการปวดมักเป็นแบบปวดหน่วงๆ บริเวณท้องน้อย อาจมีอาการปวดร้าวไปยังหลังหรือต้นขาได้ และบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรืออ่อนเพลียร่วมด้วย อาการปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิมักไม่รุนแรงและไม่เป็นอันตราย และมักจะดีขึ้นตามอายุ หรือหลังจากการคลอดบุตร ปวดประจำเดือนประเภททุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea)แบบนี้จะเกิดขึ้นในผู้หญิงอายุมากกว่า และมักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น เนื้องอกในมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน การปวดท้องเมนส์ แบบนี้มักจะปวดรุนแรงกว่าแบบปฐมภูมิ และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ถ้าสงสัยว่าตัวเองเป็นประเภทนี้ ควรปรึกษาแพทย์นะคะ
ลักษณะอาการปวดอาจเป็นแบบปวดบิด ปวดตุบๆ หรือปวดรุนแรงจนทนไม่ไหว และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ประจำเดือนมามากผิดปกติ มีเลือดออกกะปริดกะปรอย ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือมีตกขาวที่ผิดปกติ
ปวดท้องประจำเดือนเกิดจากอะไร? รู้ไว้บรรเทาอาการปวดท้องประจําเดือน เกิดจากอะไรกันแน่? ส่วนใหญ่แล้วปวดท้องเมนส์เกิดจากการที่มดลูกบีบตัวเพื่อขับเลือดประจำเดือนออกมา ยิ่งมดลูกบีบตัวแรงเท่าไหร่ เราก็ยิ่งปวดมากเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้ปวดประจำเดือนมากขึ้น เช่น ความเครียด การอดนอน การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์
ปวดท้องประจำเดือน...บ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง?
ปวดท้องประจำเดือนอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางอย่างได้ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือเนื้องอกในมดลูก โดยเฉพาะถ้าปวดท้องเมนส์รุนแรงทําไง? ถ้าปวดรุนแรงผิดปกติ ประจําเดือนเป็นก้อน ปวดท้อง หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีเลือดออกกะปริบกะปรอย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ อย่าปล่อยไว้จนปวดท้องเมนส์จนนอนไม่ได้นะคะ
ปวดท้องประจำเดือนไม่ไหวแล้ว! ถึงเวลาต้องพบแพทย์หรือยัง?ถ้าปวดท้องประจำเดือนรุนแรงจนกระทบกับชีวิตประจำวัน ยาแก้ปวดประจำเดือนก็เอาไม่อยู่ หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ หนาวสั่น ตกขาวผิดปกติ หรือมีเลือดออกมากผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและ วิธีทำให้หายปวดท้องประจำเดือนที่เหมาะสม แพทย์อาจแนะนำวิธีบรรเทาอาการปวดท้องเมนส์ เช่น การใช้ยา การวางถุงน้ำร้อน หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
วิธีรับมือกับปวดท้องประจำเดือนฉบับสาวๆปวดท้องประจำเดือนเป็นเรื่องที่สาวๆ หลายคนต้องเจอ แต่เราสามารถบรรเทาอาการปวดได้ด้วยวิธีแก้ปวดท้องเมนส์ ต่างๆ เช่น การประคบร้อน การออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำ ปรับพฤติกรรมการกิน เป็นต้น ปวดท้องประจําเดือน กินอะไรดี? ลองกินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ อาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 แมกนีเซียม และแคลเซียม ซึ่งช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้ และที่สำคัญ ดื่มน้ำเยอะๆ นะคะ
คำถามสุดท้ายปวดท้องประจําเดือน กินยาพาราได้ไหม? สามารถกินได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน และไม่ควรกินยาแก้ปวดท้องเมนส์ เร่งด่วนติดต่อกันเป็นเวลานาน หากปวดท้องเมนส์มาก หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องนะคะ หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับสาวๆ ทุกคนนะคะ อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี เพื่อให้ช่วงเวลาของเดือนเป็นช่วงเวลาที่แฮปปี้ ไม่ต้องทนทุกข์กับอาการปวดอีกต่อไป!
Create Date : 11 ธันวาคม 2567 |
Last Update : 11 ธันวาคม 2567 16:47:29 น. |
|
0 comments
|
Counter : 250 Pageviews. |
 |
|