Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
29 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
ประชาคมเอเชียตะวันออก คือ อาเชียน+3 หรือ อาเซียน+6 กันแน่ (ตอนที่ 1)


สถาปัตยกรรมในภูมิภาค ที่ อาเซียน จะต้องพัฒนาไปให้ถึง



1.บทคัดย่อ (Abstract)

"ประชาคมเอเชียตะวันออก" เป็นการรวมกลุ่มทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รูปแบบหนึ่ง ที่มีระดับของความใกล้ชิด หรือการเป็นเนื้อเดียวกันในระดับหนึ่ง ตามกำหนด

แต่การจะใช้กรอบอาเซียน+3 หรือ อาเซียน+6 หรืออาเซียน+8 เป็นแกนกลางของประชาคมเอเชียตะวันออกนั้น จะต้องคำนึงถึง การจัดรูปแบบ หรือที่เรียกว่า "สถาปัตยกรรม" อย่างเหมาะสม โดยจะต้องจัดลำดับความสำคัญว่า "ใครอยู่วงนอก" และ "ใครอยู่วงใน" และต้องอธิบายเหตุผลเหล่านั้นได้ ตามคำนิยามของการรวมกลุ่ม

กล่าวคือ สถาปัตยกรรมในภูมิภาค ที่ "อาเซียน" ควรจะต้องพัฒนาไปให้ถึง มี 3 วงคือ 1.สหภาพอาเซียน 2.ประชาคมเอเชียตะวันออก และ 3.เขตการค้าเสรี และเขตความมั่นคงเอเชียแปซิฟิก ซึ่งทั้ง 3 วงที่ยกมา สามารถอธิบายได้ถึงการจัดลำดับว่าด้วย "ใครอยู่วงนอก ใครอยู่วงใน"










2.การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

ก่อนจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ประชาคมเอเชียตะวันออก ว่าด้วยเรื่อง "ใครอยู่วงนอก" และ "ใครอยู่วงใน ก็ควรต้องมาทำความเข้าใจ เกี่ยวกับคำนิยามของ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกันก่อน ซึ่งเรามักจะแยกย่อยตามลำดับ ความใกล้ชิด ซึ่งเรียงลำดับจากน้อยไปหามากดังนี้


การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับต่าง ๆ


1. การให้สิทธิพิเศษทางการค้า (Preferential Trade Arrangement)
2. เขตการค้าเสรี (Free Trade Area)
3. ตลาดร่วม (Common Market)
4. สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union)
5. สหภาพเหนือชาติ (Supernational Union)

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=chuk007&month=15-12-2010&group=5&gblog=23











3.แต่ทว่าการรวมกลุ่มทางการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคม มันแยกกันไม่ออก

แต่ทว่า เรื่อง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มันแยกกันไม่ออกจริงๆ มันเกี่ยวพันโยงใยกันหมด ดังนั้น หากมีการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ก็เลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องมีการรวมตัวกันทางด้าน สังคม และการเมืองด้วย ซึ่งสามารถแยกตามลำดับความใกล้ชิดทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จากน้อยไปหามากดังนี้





3.1 การรวมตัวกันแบบหลวมๆ


ประเทศในโลกมุสลิม มีการรวมตัวกันแบบหลวมๆ ผ่านอัตลักษณ์คือ ศาสนาอิสลาม


การรวมตัวกันแบบหลวมๆ เป็นการรวมตัว โดยมีสัญลักษณ์เชิงอัตลักษณ์ ร่วมกันภายในกลุ่ม เพื่อให้คนในกลุ่ม มีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน แต่ทว่ายังไม่มี "องค์กร" หรือ "กลุ่มองค์กร" โดยเฉพาะ มาทำหน้าที่ในการรวมกลุ่มอย่างชัดเจน ตัวอย่างของการรวมตัวแบบหลวมๆ เช่น

- ประเทศในกลุ่มโลกมุสลิม ใช้อัตลักษณ์ร่วมกันคือ ศาสนาอิสลาม

- ลาตินอเมริกา อัตลักษณ์คือ ภูมิศาสตร์ และ การพยายามสร้าง อัตลักษณ์ "วัฒนธรรมลาติน" ร่วมกัน

- กลุ่มประเทศเครือจักรภพ อัตลักษณ์ที่ใช้ร่วมกันคือ การเป็นประเทศที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ในสมัยการล่าอาณานิคม

- อเมริกาเอง ก็เคยผ่านการรวมตัวในแบบหลวมๆนี้มีแล้ว โดยการสร้างสิ่งที่ เรียกว่า "อเมริกันดรีม" (American Dream) ขึ้นมา

- หรือแม้แต่เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และเอเชียตะวันออกเชียใต้ ที่มีการรวมตัวกันหลวมๆ ผ่าน อัตลักษณ์ "คนเอเชียมองโกลอยด์" (Mongoloid) หรือคนผิวเหลือง แม้จะแยกเป็น มองโกลอยด์เหนือ และ มองโกลอยด์ใต้ ก็ตาม








3.2 การรวมตัวกันแบบ "สันนิบาต"


ประเทศในกลุ่มอาหรับ รวมตัวเป็นสันนิบาตอาหรับ โดยใช้อัตลักษณ์ร่วมกันคือ ภาษาอาหรับ และศาสนาอิสลาม


การรวมตัวกันแบบ "สันนิบาต" จะมีความเข้มข้นถัดขึ้นมาจาก "การรวมตัวแบบหลวมๆ" ซึ่งจะเริ่มมีการตั้ง "องค์กร" หรือ "หน่วยงาน" ขึ้นมาทำงาน เพื่อเป็นการเชื่อมโยงเหล่าประเทศสมาชิก ตัวอย่างเช่น

- สันนิบาตอาหรับ มีการรวมตัวกันในหมู่สมาชิกประเทศอาหรับ โดยมีอัตลักษณ์ร่วมกันคือ ศาสนาอิสลาม และ ภาษาอาหรับ โดยมีการจัดตั้งองค์กรภายใต้ชื่อ "สันนิบาตอาหรับ" ขึ้นมาทำงานแทนประเทศสมาชิก แต่ทว่ามักเกิดความขัดแย้งภายใน และตัวองค์กรมักทำงานไม่ค่อยได้ เนื่องจากมักถูกแทรกแทรงจากภายนอก





3.3 การรวมตัวในรูปแบบ "สมาคม"


อาเซียนรวมตัวกันมานานมากแล้ว แต่ปัจจุบันยังนิยามได้แค่คำว่า "สมาคม" เท่านั้น


การรวมตัวในรูปแบบ "สมาคม" เป็นการรวมตัวที่เข้มข้นกว่า "สันนิบาต" นั่นเพราะ องค์กร (อาเซียน) ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเชื่อมโยงเหล่าสมาชิก เริ่มทำงานได้ และประเทศสมาชิกในกลุ่มเริ่มเครพกฎ และกติการร่วมกันภายในกลุ่ม องค์กรในรูปแบบนี้ ตัวอย่างเช่น

-สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ "อาเซียน" ซึ่งอาเซียน เป็นองค์กรที่ทำงานได้ เริ่มมีการบังคับให้สมาชิกในกลุ่มต้องลดภาษีสินค้าระหว่างกัน (FTA) รวมถึงการกำเนิดขึ้นของ "กฎบัตรอาเซียน" ซึ่งถือเป็น กฎหมายสูงสุดของอาเซียน แม้ว่าตัวกฎบัตรเอง จะมีการเขียนไว้อย่างกว้างๆ แค่ไม่กี่ข้อก็ตาม






3.4การรวมตัวในรูปแบบ "ประชาคม"


ประชาคมอาเซียนในอนาคต ปี 2558


เป็นรูปแบบการรวมตัวที่เข้มข้นกว่า "สมาคม" ซึ่งเป็นเป้าหมายที่อาเซียน 10 ประเทศในปัจจุบันจะพัฒนาไปให้ถึงภายในปี 2558 จากปัจจุบัน อาเซียนยังเป็นแค่นิยามว่า "สมาคม" เท่านั้น ระดับความเข้มข้นของการรวมตัวที่เพิ่มขึ้นมาจาก "สมาคม" คือ การเคลื่อนย้ายแรงงาน เงินทุน ทรัพยากร งานบริการ ทุกอย่างให้เคลื่อนที่ได้อย่างเสรีภายในกลุ่มประเทศสมาชิก หรืออาจพูดอีกนัยหนึ่ง คือประเทศสมาชิก พยายามทำลายกำแพงของรัฐชาติ ที่เป็นอุปสรรค์ ในการเคลื่อนย้ายเงินทุน แรงงาน และสินค้าภายในชาติสมาชิก ซึ่งแม้แต่ "สหภาพยุโรป" ก็เคยผ่านจุดนี้มาแล้ว






3.5 การรวมตัวในรูปแบบ "สหภาพ"


ยุโรปสามารถรวมตัวกันจนนิยามได้ว่า "สหภาพ"


การรวมตัวในรูปแบบ "สหภาพ"เป็นการรวมตัวที่เข้มข้นกว่า "ประชาคม" นั่นคือ องค์กรที่ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ต้น เริ่มมีอำนาจทางการเมือง และมีอำนาจทางการปกครองต่อรัฐสมาชิกมากขึ้น เริ่มมีกฎหมายบางอย่างที่บังคับใช้กับรัฐสมาชิกได้ การเดินทางของประชาชน สินค้า และบริการภายในรัฐสมาชิก เป็นไปได้อย่างเสรี ตัวอย่างเช่น

-สหภาพยุโรป ในปัจจุปันประเทศในกลุ่มยุโรปมีเงินสกุลเดียวกัน นั่นหมายถึงการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี ประชาชนเดินทางได้เกือบเสรี สินค้าบริการต่างๆก็แทบจะไร้พรมแดน และมีการรวมตัวทางการเมืองภายใต้ชื่อ นาโต้ มีสภายุโรปทำหน้าที่ออกกฎหมาย ซึ่งจุดสูงสุดที่ยุโรปตั้งเป้าหมายในการหล่อมรวมคือ จากการเป็น "สหภาพยุโรป" ไปสู่การเป็น "สหรัฐยุโรป"

-สหภาพพม่า สหภาพพม่านั้นถูกจัดนิยามให้เป็น "สหภาพ" เนื่องเพราะสหภาพพม่าเกิดจาก "สัญญาปางโหลง" ที่มีหลายๆรัฐที่มีการปกครอง ภาษา และรัฐชาติเป็นของตนเอง เช่น ไทยใหญ่ คะฉิ่น กระเหรียง ชิ่น (มีทั้งหมด 7 รัฐ) ซึ่งรัฐพม่า ซึ่งเป็นรัฐใหญ่ที่สุด (รัฐถือเป็นองค์กรในรูปแบบหนึ่ง) มีอำนาจทางการเมืองเหนือรัฐอื่นๆ แต่ก็ไม่สามารถที่จะมีอำนาจแบบเบ็จเสร็จเหนือทุกรัฐได้ เพราะหากอีก 6 รัฐรวมกันต่อสู้ กำลังจะมากกว่าทหารพม่าเสียอีก ดังนั้น พม่าจึงถูกจัดให้เป็นการปกครองแบบสหภาพ







3.6 การรวมตัวในรูปแบบ "สหรัฐ"


สหรัฐอเมริกา สามารถพูดได้ว่า เกิดจาก มีประเทศ 50 ประเทศ มารวมตัวกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม อย่างเข้มข้น



การรวมตัวในรูปแบบ "สหรัฐ" จะมีระดับความเข้มข้น และความใกล้ชิดกว่า การรวมตัวในรูปแบบ "สหภาพ" กล่าวคือ องค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ต้น มีอำนาจเหนือกว่า รัฐสมาชิกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอำนาจทางทหาร และการเมือง ซึ่งการรวมตัวในรูปแบบ สหรัฐนั้น จะต้องผ่านการรวมตัวทางเศรษฐกิจ และทางสังคม มาแล้วอย่างเข้มข้น ประเทศที่มีการปกครองในรูปแบบนี้เช่น

- สหรัฐอเมริกา อเมริกานั้นเกิดจากการรวมตัวกัน ของรัฐสมาชิก 50 รัฐ ซึ่งทั้ง 50 รัฐดังกล่าว ผ่านการรวมตัว จากระดับความเข้มข้นต่างๆจนมาถึงจุดที่เราสามารถนิยามอเมริกาว่า "สหรัฐ" ได้แล้ว แม้จะผ่านสงคามกลางเมืองของฝ่ายเหนือฝ่ายใต้มาอย่างยาวนาน จนฝ่ายเหนือมีชัยชนะ ภายใต้การนำของรัฐวอชิงตัน ซึ่งถือเป็นรัฐหนึ่งใน 50 รัฐ และจากนั้นก็มีการสร้างกฎหมายร่วมกัน ที่ทุกรัฐต้องปฎิบัติตาม แม้ว่าในแต่ละรัฐ จะมีกฎหมายของตัวเองอยู่ก็ตาม

- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประกอบไปด้วยรัฐสมาชิก 7 รัฐ มีการสร้างกฎหมายร่วมกัน และมีการรวมตัวกันทางด้านการเมืองและการทหารอย่างเข้มข้นภายในรัฐสมาชิก







3.7 การรวมตัวกันในรูปแบบ "รัฐเดี่ยว"


สิงคโปร์นิยามได้ว่าเป็นรัฐเดียว ส่วนไทย ญี่ปุ่น เวียดนาม ฯลฯ เป็นลักษณะผสม



การรวมตัวกันในรูปแบบ "รัฐเดี่ยว" ถือได้ว่า เป็นขั้นสูงสุดของการรวมตัวกันทางการเมือง กล่าวคือ อำนาจถูกรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง ประชากรถูกหล่อมหลวมจนพูดภาษาเดี่ยวกัน มีวัฒณธรรมเดียวกัน ซึ่งการสร้าง "รัฐเดี่ยว" แบบนี้ต้องใช้เวลานานมากในการหลวมรวมผู้คนในประเทศมีความรู้สึกว่าเป็นคนชาติเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น

- สิงคโปร์ เนื่องจากประเทศเล็ก จึงมีเขตการปกครองเดียว สามารถนิยามได้เต็มปากเต็มคำว่า เป็น "รัฐเดี่ยว"

- ญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศหมู่เกาะ และมีการปกครองที่ต่อเนื่องยาวนาน จนประชากรมีความรู้สึกว่าเป็นคนญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ ญี่ปุ่นก็ยังมีการปกครองส่วนท้องถิ่น จึงอาจจะนิยามได้ว่า เป็นลักษณะ "รัฐเดี่ยวแบบผสม"

- ไทย ประเทศไทยแต่เดิม เรียกว่า สยาม และมีเมืองประเทศราช ซึ่งถือเป็นรัฐอื่นภายใต้การปกครองของสยาม เช่น ล้านนา ล้านช้าง เป็นต้น แต่เมื่อมีการยุบหัวเมืองประเทศราช และเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย ประเทศไทยจึงกลายเป็นรัฐเดี่ยวเต็มตัว จากนั้นก็เกิดการตั้ง เทศบาล สุขภิบาล อบจ. อบต. ฯลฯ จึงนิยามได้ว่า ไทยเป็นลักษณะ "รัฐเดี่ยวแบบผสม" เช่นกัน


การรวมตัวในรูปแบบ "รัฐเดี่ยว" ซึ่งรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารประเทศ ดังนั้น ประเทศส่วนใหญ่จึงเป็นกึ่งๆนิยามสหรัฐ และ รัฐเดี่ยวรวมกัน แม้แต่ไทยเองก็ยังพูดไม่เต็มปากว่า เป็นรัฐเดี่ยว เพราะ เรามีการปกครองในรูปแบบ อบต. อบจ. อยู่ ซึ่งการปกครองในรูปแบบผสมจะมีประสิทธิภาพมากกว่า










4.สรุปความเข้มข้นของรูปแบบการรวมตัว เรียงลำดับจากน้อยไปหามากดังนี้


การรวมตัวกันแบบหลวมๆ --> สันนิบาต --> สมาคม --> ประชาคม --> สหภาพ --> สหรัฐ --> รัฐเดี่ยว

หมายเหตุ

4.1 รูปแบบการรวมตัวที่สามารถนิยามว่าเป็น "ประเทศ" คือ รัฐเดี่ยว สหรัฐ และ สหภาพ

4.2 ประเทศส่วนใหญ่บนโลกนี้มีรูปแบบการรวมตัวผสม ระหว่าง นิยามรัฐเดี่ยว และนิยามสหรัฐ เนื่องด้วยรัฐเดี่ยวมีจุดแข็งเรื่องความมั่นคง แต่ นิยามสหรัฐ มีจุดแข็งเรื่องการบริหาร แม้แต่ ประเทศไทย ยังไม่สามารถนิยามว่าเป็นรัฐเดี่ยวได้เต็มปาก เพราะเรามีการบริหารแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น








5.โครงสร้างสถาปัตยกรรมอาเซียน ณ ปัจจุบัน


สร้างสถาปัตยกรรมอาเซียน ณ เวลาปัจจุบัน ทั้งอาเซียน+1+3+6+8 ฯลฯ

ปัจจุบัน อาเซียนมีโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่สามารถดึงเอามหาอำนาจรอบๆ เข้ามาในโครงสร้างได้ โดยที่มีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง ของสถาปัตยกรรมนี้








6.สถาปัตยกรรมในภูมิภาค ที่ อาเซียน จะต้องพัฒนาไปให้ถึง


สถาปัตยกรรมในภูมิภาค ที่ อาเซียน จะต้องพัฒนาไปให้ถึง


สถาปัตยกรรมในทางการเมือง จะมีความหมายถึง "โครงสร้างองค์กร" ที่ถูกจัดตั้งขึ้น เช่น สหภาพยุโรป นาโต้ สันนิบาตอาหรับ สหประชาชาติ องค์การการค้าโลก ฯลฯ ซึ่งอาเซียนเอง ก็เป็นหนึ่งในนั้น

โครงสร้างองค์กรจะระบุถึงว่า มีใครเป็นสมาชิกบ้าง ตัวองค์กรทำหน้าที่อะไร ตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร ขอบเขตอำนาจเป็นอย่างไร เป็นต้น


ปัจจุบัน "อาเซียน" เองก็ถือเป็นองค์กรหนึ่ง ที่นิยามการรวมตัวได้แค่ระดับ "สมาคม" เท่านั้น แต่ทว่าสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศเอง ก็ได้ตั้งเป้าหมาย จะทำให้องค์กร "สมาคมอาเซียน" เพิ่มระดับความเข้มข้น จนกลายเป็น "ประชาคมอาเซียน" ในปี ค.ศ. 2015

แต่ทว่า ในปัจจุบันมีข้อเสนอมากมายจากเหล่าประเทศมหาอำนาจ ในการสร้างกรอบความร่วมมือ หรือองค์กรใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อมาแข่งกับอาเซียน จนวุ่นวายไปหมด แล้วอาเซียนจะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร

คำตอบนั้นอยู่อยู่ที่การ สร้างสถาปัตยกรรมว่าด้วยเรื่อง "ใครอยู่วงนอก" และ "ใครอยู่วงใน" ดังนี้




6.1 วงที่ 1 คือ วงของ (สหาพอาเซียน) 10 ประเทศ


วงที่ 1 คือ วงของ (สหาพอาเซียน) 10 ประเทศ



วงที่ 1 คือ วงของ (สหภาพอาเซียน) 10 ประเทศ ซึ่งจะต้องพัฒนาไปให้ถึงภายใน 20-30 ปี หลังจากนี้

วงนี้คือวงในสุด ที่อาเซียนจะต้องพัฒนา "องค์กร" ของตัวเองให้มีความเข้มข้นจนถึงระดับ "สหภาพ" หรืออย่างน้อย "กึ่งสหภาพ" ทั้งนี้เพราะอาเซียนอยู่ท่ามกลางเหล่ามหาอำนาจ ทั้ง จีน อินเดีย อเมริกา รัสเซีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย หาก อาเซียน ไม่รวมตัวกันจนถึงระดับ "สหภาพ" เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป อาเซียน จะถูกมหาอำนาจ แทรกแทรงทั้งทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจได้ รวมถึงการที่จีน และอินเดีย ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ไปเป็นจำนวนมาก


กรณีตัวอย่างคือ กรณีความขัดแย้งเรื่องหมู่เกาะสแปรตลีย์ และหมู่เกาะพาราเซล ที่ เวียดนาม บูรไน ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ซึ่งเป็นชาติสสมาชิกอาเซียน มีความขัดแย้งเรื่องเขตแดนทางทะเลกับจีน ซึ่งจีนถือเป็นชาติมหาอำนาจ เหตุการณ์เริ่มแรงขึ้นเมื่อปลายปี 2553 เมื่อจีนประกาศว่า "ทะเลจีนใต้เป็นผลประโยชน์แกนกลางของจีน" เรื่องนี้ หากไทย ไปเข้าข้างจีน แทนที่จะเข้าข้างสมาชิกอาเซียน ก็จะมีปัญหาได้ นั่นจะแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่าอาเซียน ไม่มีเอกภาพภายใน เพราะการจะได้ชื่อว่า "สหภาพอาเซียน" ได้นั้น ต้องผ่านการรวมตัวกันในเชิงการเมืองด้วย จึงจะทำให้อาเซียนมีพลังต่อรองกับมหาอำนาจได้

ติมอร์ไม่ควรเข้ามาในวงในสุด (10ประเทศ)
หลักๆ เป็นเรื่องของความมั่นคง ที่อาจจะก่อให้เกิดแรงบันดาลใจต่อกลุ่มแบ่งแยกดินแดนอื่นๆ ในหลายประเทศ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย พม่า รวมทั้ง ภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และประเทศไทย

อีกทั้ง ระบบประธานหมุนเวียน อาจจะทำให้ต้องรอกันนานขึ้น และตัวเลขฐาน 10 ก็มีความหลายในเชิงสัญลักณ์ รวมถึงการแทรกแซงของตะวันตก โดยเฉพาะออสเตรเลีย ที่ก่อให้เกิดติมอร์เลสเต้ขึ้นมา อาจสร้างปัญหาให้กับอาเซียนได้ แต่เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ลิงค์ข้างล่าง

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=chuk007&month=17-03-2011&group=3&gblog=10









6.2 วงที่ 2 คือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก" ในกรอบอาเซียน+3


วงที่ 2 คือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก" ในกรอบอาเซียน+3


วงที่ 2 คือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก" ในกรอบอาเซียน+3 ซึ่งปัจจุบัน ประเทศเอเชียตะวันออก ในกรอบ อาเซียน+3 คือ อาเซียน 10 ประเทศ รวมกับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ยังมีรูปแบบการรวมตัว "แบบหลวมๆ" เท่านั้น แม้ว่า จะเริ่มมีการรวมตัวกันในด้านการค้า และการเงินบ้างแล้ว โดยการจัดตั้ง กองทุนการเงินเอเชีย (AMF) โดยเป็นข้อตกลงใน "ความคิดริเริ่มเชียงใหม่"

แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังห่างไกลจากคำนิยามว่า "ประชาคม" แน่นอนว่า การรวมตัวในรูปแบบ "ประชาคม" จะต้องมีการเคลื่นย้ายแรงงาน เงินทุน บริการ อย่าง "เสรี" หรืออย่างน้อย "กึ่งเสรี" ซึ่งจะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจของรัฐสมาชิกอย่างมาก

เหตุที่ต้องรวมตัวกัน นั่นเพราะ แนวโน้มของโลกที่อาจจะเกิดขึ้น กล่าวคือ เขตเศรษฐกิจ อเมริกา และสหภาพยุโรป อาจจรวมตัวกัน อย่างหลวมๆ ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อ เอเชีย และอาเซียนได้

บทเรียนใน "วิกฤตต้มยำกุ้ง" ปี 2540 เป็นตัวอย่างของการโจมตีทางการเงิน ดังนั้นอาเซียนจึงต้องหาแนวร่วม ภายใต้กรอบความร่วมมือ ประชาคมเอเชียตะวันออก ซึ่งนั้นก็คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้นั้นเอง

มีคำถามว่า ทำไมจึงเลือกที่จะสร้าง "ประชาคมเอเชียตะวันออก" โดยใช้กรอบ "อาเซียน+3" เหตุผลนั้นเพราะ การรวมกลุ่มจำเป็นต้องมี "อัตลักษณ์" ร่วมกันภายในกลุ่มซะก่อน จึงจะทำให้ไม่เกิดความขัดแย้งภายในรัฐสมาชิก

แล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ กับ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี "อัตลักษณ์" อะไรร่วมกัน ที่พอจะสามารถนำมาใช้งานในการรวมกลุ่มได้

ซึ่งอัตลักษณ์ที่มีร่วมกัน และพอจะนำมาใช้งานได้ นั้นก็คือ การนิยามลักษณะมนุษย์ ของนักมนุษยวิทยา ที่แยกมนุษย์ ออกเป็น 3 ลักษณะหลักคือ 1.มองโกลอยด์ 2.คอเคซอยด์ และ 3.นิกรอยด์

แม้ว่า มองโกลอยด์ จะถูกแบ่งเป็น 2 จำพวก คือ มองโกลอยด์เหนือ และมองโกลอยด์ใต้ก็ตาม แต่ข้อแตกต่างก็ยังมีไม่มากนัก บวกกับการอพยบของชาวจีน กว่า 40 ล้านคน ที่ร้อยละ 80 อพยบลงมาอาเซียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ ทำให้ ทั้ง 2 กลุ่มเริ่มใกล้ชิด และหน้าตาคล้ายกันมาก จนเราอาจจะสามารถ เอาอัตลักษณ์ตรงนี้ มาใช้ในการรวมกลุ่มเป็น "ประชาคมเอเชียตะวันออก" ได้

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง "วงการบันเทิงเอเชีย กับ อัตลักษณ์ ประชาคมเอเชียตะวันออก ในกรอบ อาเซียน +3" ได้ที่ลิงค์ข้างล่าง


//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chuk007&month=11-2009&date=30&group=3&gblog=3






6.3 วงที่3 เขตการค้าเสรี และเขตความมั่นคงเอเชียแปซิฟิก


กรอบอาเซียน+8 ณ ปัจจุบัน ที่จะสามารถพัฒนาไปเป็น เขตการค้าเสรี และเขตความมั่นคงเอเชียแปซิฟิกได้



จากกรอบอาเซียน+6 ซึ่งปัจจุบันได้ขยายกลายเป็น อาเซียน+8 (เขตการค้าเสรี (FTA) และเขตความมั่นคงเอเชียแปซิฟิก) คือวงนอกสุด ในสถาปัตยกรรมอาเซียน เหตุผลของกรอบ อาเซียน+8 เนื่องจาก อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัฐเซีย อเมริกา ถือว่า มีภูมิรัฐศาสตร์ ใกล้อาเซียน และมีการค้าขายกันมาก

ดังนั้นกรอบนี้ ในด้านเศรษฐกิจ และสังคม อาจจะมีการรวมกันในเรื่อง เขตการค้าเสรี หรือ FTA เท่านั้น เพราะ หากมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน อย่างเสรี อาจจะมีปัญหาได้ โดยเฉพาะออสเตรเลีย คงไม่ยอมแน่ๆ ดังนั้น การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกรอบนี้ อาจจะต้องใช้เวลานานพอสมควร

ซึ่งเราจะต้องไม่ลืมไปว่า อเมริกา หรือรัสเซีย เป็นประเทศที่มีบทบาททั้งทางด้านความมั่นคง และเศรษฐกิจ ในภูมิภาคเอเชีย แต่ต้องให้อยู่ในวงนอกสุด เพราะถ้าเอาเข้ามาในวงในสุด อาจจะมีปัญหาการครอบงำอาเซียนได้

โดยเฉพาะกรอบด้านความมั่นคง ที่ต้องเอามายันกับจีนเอาไว้ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในภูมิภาค เพราะถ้าไม่มีอเมริกา กับรัสเซีย ในสถาปัตยกรรมอาเซียนวงนอกสุด แนวโน้มคือ จีน จะเข้าแทรกแทรงอาเซียน 10 ประเทศ ในกรอบวงในสุดได้ โดยเฉพาะ อำนาจทางทหารของจีน ที่กำลังใหญ่โตขึ้นทุกวัน







7.สรุป

จะเห็นได้ว่า "การรวมตัว" ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม จะมีระดับ ความเข้มข้น หรือความใกล้ชิด ที่ต่างกัน ซึ่งหากว่า การรวมตัวมีความเข้มข้นมาก กลุ่มนั้นก็จะมีพลังทางการเมืองมาก ซึ่งตรงกันข้าม หากมีความเข้มข้นน้อย กลุ่มนั้นก็จะมีพลังทางการเมืองน้อย แถมยังอาจจะทะเลาะกันเองอีก

แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ ในการรวมกลุ่ม นั้นก็คือ "อัตลักษณ์" ซึ่งจะแปลอย่างง่ายๆว่า "สิ่งที่เหมือนกัน ร่วมกัน" และจะต่างกับคำว่า "เอกลักษณ์" ที่แปลว่า "สิ่งที่ไม่เหมือนใคร"

ซึ่ง กรอบอาเซียน+3 มีอัตลักษณ์ ที่พอจะพัฒนาได้ นั่นก็คือ ลักษณะของคนเอเชียมองโกลอยด์ แม้จะแยกเป็น มองโกลอยด์เหนือ และมองโกลอยด์ใต้ก็ตาม ซึ่งจะขยายความในบทความที่ 2 ในลิงค์ข้างล่าง ในบทความชื่อ



........................................

"วงการบันเทิงเอเชีย กับ อัตลักษณ์ ประชาคมเอเชียตะวันออก ในกรอบ อาเซียน +3 (ตอนที่ 2)"


//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chuk007&month=11-2009&date=30&group=3&gblog=3





Create Date : 29 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2554 4:02:52 น. 1 comments
Counter : 11660 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีๆ ครับ

Black Friday Catalytic Heater


โดย: เบบี้นะจ๊ะ วันที่: 17 กันยายน 2554 เวลา:22:44:14 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

chuk007
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




Friends' blogs
[Add chuk007's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.