Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
16 กันยายน 2553
 
All Blogs
 

ความเป็นไปได้ของโครงการสะพานและอุโมงค์ข้ามช่องแคบมะละกา เพื่อต่อทางคมนาคมไปถึงจาร์กาต้า

คนอินโดนีเซียอยากมาเที่ยวเมืองไทยมาก ภาพพจน์ของคนอินโดนีเซียต่อประเทศไทย เขามองว่า เราพัฒนากว่าเขานิดหน่อย ว่าถนนบ้านเราเป็นซูเปอร์ไฮเวย์ทั่วทั้งประเทศ แถมยังให้ใช้กันฟรีๆ ถนนในหมู่บ้านถนนเล็กๆน้อยๆก็ลาดยางหมด แถมถ้ามีการถกกันถึงประเด่นการสร้างรถไฟฟ้าในจาร์กาต้า เขาจะยกกรุงเทพมาเปรียบเทียบ

แล้วเรื่องศิลปะวัฒนธรรมของเราก็โด่งดังมาก มีเอกลักษณ์ ตลาดน้ำนี้ก็เป็นโลโก้เลย ดังนั้น ผมเองไม่อยากให้นายกไพร พัฒนาสู่สากลมากเกินไป ควรจะประยุกติความเป็นไทยๆเข้าไปด้วย เพราะคนที่อื่นเขาอยากจะมาดูมาก เช่นเสาไฟ ของเชียงรายเนี๊ยะ โอเคเลย ของหาดใหญ่ เป็นโนราห์ ก็ถือว่าผ่านนะ แต่อยากให้เพิ่มอีก



https://www.youtube.com/watch?v=Fj5UnKJdetw
หน้าตาของสาวอินโดนีเซีย เปรียบเทียบกัย คนเอเชียอื่นๆ



คนไทยรู้จักประเทศอินโดนีเซียค่อนข้างน้อย คิดว่า คนอินโดหน้าตาคงจะออกไปทางติมอร์ (เกาะสุลาเวสี เกาะนิวกินี บอร์เนียว ประชากรน้อย) แต่ความจริงแล้ว คนอินโดนีเซียส่วนใหญ่ ค่อนข้างหน้าตาดีเลยที่เดียว เพราะเป็นพวกมองโกลอยดิ์ใต้ ผสมๆกับแขกขาว ในสูตร 90-10 โดยเฉพาะ 2 เกาะหลัก คือ เกาะชวามีประชากร 127 ล้านคน และเกาะสุมาตรา 45 ล้านคน จากประชากรอินโดนีเซียทั้งหมด 222 ล้านคน ซึ่งทั้ง 2 เกาะนั้น อยู่ใกล้กับหาดใหญ่มาก และกำลัง จะมีการลงทุน สะพานและอุโมงค์เชื่อมเกาะ ชวา-สุมาตรา และคาบสมุตรมาลายู ต่อไป คนอินโด มาเลย์ สิงคโปร์ จะเข้ามาเที่ยวเยอะมาก ตลาดใหญ่ จีน อยู่ข้างบน อินโดนีเซียอยู่ข้างใต้ ตลาดใหญ่ทั้ง 2 จะมาปะทะกันที่เมืองไทย

อินโดนีเซียในปัจจุบัน การเมืองนิ่งมาหลายปี เลยพัฒนาประเทศได้เร็ว และเริ่มรวยกว่าเมื่อก่อนเยอะมาก

โครงการสะพานเชื่อมมาเลเซีย กับอินโดนีเซีย มี 4 โครงการ คือ


โครงการที่ 1
Malacca (Malaysia) - Dumai (Indonesia) Bridge‎

คาดว่า จะต้องใช้เงินราว US$12.5 billion (RM44.3 billion)



ซึ่งมีระยะทางรวม 50 กิโลเมตร และในการประชุม IMT–GT ครั้งล่าสุดที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 07 ก.ย. 2010 รัฐมะละกาได้ผลักดันเรื่องนี้ อย่างเต็มที่ และได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า จะมีการก่อสร้างในอีกไม่นี้ โดยการร่วมทุนกับจีน

รูปแบบของโครงการ จะเป็นสะพานส่วนหนึ่ง และ อุโมงค์ใต้น้ำอีกส่วนหนึ่ง มีถนน และรางรถไฟ ขนาด 1.432 ม. และ 1.00 ม. ซ้อนกันในลักษณะ dual gauge ซึ่งจะทำให้ รถไฟความเร็วสูง รถยนต์ รวมถึงรถไฟ ธรรมดา เชื่อมไปถึงเกาะสุมาตรา













ข้อมูลอ้างอิง

//www.krishadiawan.co.cc/2010/03/malacca-malaysia-dumairiau-indonesia.html


......................................
โครงการที่ 2
combined length : 39.3 malaysia-indoonesiasia bridge

เป็นการผลักดันของรัฐ Johor ประเทศ มาเลเซีย ที่จะสร้างสะพานในเขตน้ำตื้น และอุโมงค์ในเขตน้ำลึก เพื่อเชื่อม เกาะเล็กเกาะน้อย ของอินโดนีเซีย ระยะทางที่ยาวที่สุดคือ 18.9 กม. และระยะที่สั้นที่สุด 0.3 กม. ซึ่งจะมีการเชื่อมต่อทั้งถนน และรางรถไฟเข้ากับแผ่นดินใหญ่




ข้อมูลอ้างอิง

//www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=340473&page=5


..............................................
โครงการที่ 3
Batam-Singapore bridges


เป็นโครงการที่ผลักดันโดยประเทศสิงคโปร์ แต่ประเทศสิงค์โปร์ ก็ยังลังเลอยู่ว่าจะทำดีหรือไม่ เพราะ ถ้าทำ เกาะ "บาทัม" ของประเทศอินโดนีเซีย ก็จะเป็นคู่แข่งด้านท่าเรือกับสิงคโปร์ได้ แต่ถ้าไม่ทำ แล้วหากอินโดนีเซียสามารถสร้างสะพาน หรืออุโมงค์ใต้น้ำเชื่อมกับมาเลเซียได้ โดยไม่ผ่านสิงคโปร์ ก็จะสร้างความเสียหายให้สิงคโปร์อย่างมากเช่นกัน (ซึ่งจุดที่ลึกที่สุดของร่องน้ำช่องแคบมะละกา จะเป็นการสร้างอุโมงค์ใต้น้ำแทนสะพาน เพื่อไม่ให้เป็นการกีดขวางการจราจรทางน้ำ และในรูปนี้ เกาะบางเกาะอาจจะไม่เห็นบนแผนที่โลก เนื่องจากเป็นบริเวณน้ำตื้น หรือสันทราย)






........................................
โครงการที่ 4
Sunda Strait Bridge [Java–Sumatera Super Bridge]


เป็นโครงการของประเทศอินโดนีเซีย ที่ต้องการจะเชื่อมเกาะชวา กับเกาะสุมาตร เข้าด้วยกัน โดยสะพานข้ามผ่านช่องแคบซุนด้า ซึ่งทั้ง 2เกาะ เป็นเกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่ที่สุดของอินโดนีเซีย โดยเกาะชวามีประชากร 127 ล้านคน และเกาะสุมาตรา 45 ล้านคน จากประชากรอินโดนีเซียทั้งหมด 222 ล้านคน

และโครงการนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนที่ชัดเจนที่สุด ที่จะสร้างในปี 2012 โดยได้แหล่งทุนจากหลายแหล่ง ที่ทั้ง จีน ญี่ปุ่น และดูไบ ปล่อยกู้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับทรัพยากรธรรมชาติของอินโดนีเซีย ซึ่งจะใช้เงินประมาณ USD 10 billion โดยสะพานจะมีความความรวม 30 กม. และแบ่งเป็น 2 ช่วง เพราะมีเกาะขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง

รูปแบบของตัวสะพานจะเป็นลักษณะสะพานแขวน มีถนน และรางรถไฟอยู่ตรงกลางสะพาน

อ้างอิงจาก

//www.indoemb.org/presentasi/
















.........................................
และหากว่า โครงการทั้งหมดเสร็จตามแผน โครงข่ายรางรถไฟ ก็จะเชื่อมไปถึงกรุงจากาต้าประเทศอินโดนีเซีย ตามรูปข้างล่าง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทย เป็นฮับทางด้านคมนาคมอย่างแท้จริง






...............................................
แตทว่า ก็ยังมีข้อสงสัยที่ว่า สะพาน หรืออุโมงค์ข้ามช่องแคบมะละกา และช่องแคบซุนดาซึ่งมีทั้งถนน และระบบรางรถไฟ จะสามารถสร้างไปถึงกรุงจาร์กาต้าประเทศอินโดนีเซียได้จริงๆหรือ ซึ่งจะแยกเป็นข้อสงสัย 2 ข้อหลัก ที่จะต้องหาคำตอบ นั้นก็คือ
1. ความเป็นไปได้ทางเทคนิค และวิศวกรรม
2. ความเป็นไปได้ทางการเงินของประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย


...........................................

1. ความเป็นไปได้ทางเทคนิค และวิศวกรรม

ก็ต้องมาหาคำตอบว่า สะพาน หรืออุโมงค์ที่มีความยาวขนาดนี้ มีที่ไหนทำสำเร็จแล้วบ้าง ก็ขอยกตัวอย่าง เช่น

1.1 อุโมงค์ ข้ามช่องแคบอังกฤษ (Channel Tunnel)

เป็นอุโมงค์ที่เชื่อมระบบคมนาคมระหว่าง เกาะอังกฤษ กับประเทศฝรั่งเศษ มีความยาวทั้งสิ้น ของอุโมงค์ 50 กิโลเมตร และมีความยาวในส่วนที่เป็นทะเล 38 กิโลเมตร ดังนั้น หากดูข้อมูลนี้ อุโมงค์ ข้ามช่องแคบมะละกา หรือช่องแคบซุนดา มีความเป็นไปได้ทางวิศวกรรมอย่างแน่นอน

เอกสารอ้างอิง

//en.wikipedia.org/wiki/Channel_Tunnel


ช่องแคบอังกฤษ



ภาพตัดขวางโครงสร้างอุโมงค์ข้ามช่องแคบอังกฤษ ความยาวรวม 50 กม.



แสดงภาพอุโมงค์ข้ามช่องแคบอังกฤษ ความยาวรวม 50 กม. ที่เจาะทะลุชั้นหินใต้ทะเล



ภาพภายในอุโมงค์รถไฟข้ามช่องแคบอังกฤษ (ส่วนของรถไฟ) ความยาว 50 กม.



.................................

1.2 อุโมงค์ และสะพาน Øresund Bridge

เป็นอุโมงค์ส่วนหนึ่ง เป็นสะพานส่วนหนึ่ง เชื่อมประเทศเดนมาร์ก กับประเทศ สวีเดนเข้าด้วยกัน ซึ่งตัวสะพานมีทั้งถนน และรางรถไฟ สะพานแห่งนี้ ได้ชื่อว่า เป็นสะพานที่เปลี่ยนแปลงแผนที่ยุโรป ตัวสะพานยาว 8 กม. รวมกับเกาะกลางทะเลที่มนุษย์สร้างขึ้นใหม่อีก 5 กม. และอุโมงค์ใต้น้ำอีก 4 กม. รวม 17 กม.

เอกสารอ้างอิง

//en.wikipedia.org/wiki/%C3%98resund_Bridge



สะพาน Øresund Bridge




รูปถ่ายทางอากาศ ที่แสดงให้เห็นถึง ตัวสะพาน เกาะกลางน้ำที่มนุษย?สร้างขึ้น และส่วนที่เป็นอุโมงค์ใต้น้ำ



ภาพตัดขวางของอุโมงค์ใต้น้ำ



..........................................

ในความเป็นจริง ยังมีสะพาน รวมถึงอุโมงค์ใต้น้ำที่ยาวกว่านี้อีกหลายสะพาน โดยเฉพาะที่ญี่ปุ่น (อุโมงค์ใต้น้ำ) และสะพานของประเทศจีน ที่กำลังก่อสร้าง สะพานข้ามอ่าวหางโจว มีความยาว 36 กิโลเมตร ดังนั้น ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค ในการสร้างเส้นทางคมนาคม ทั้งถนนและเส้นทางรถไฟ เพื่อเชื่อมไปถึงกรุงจาร์กาต้า ประเทศอินโดนีเซีย จึงมีความเป็นไปได้ทางเทคนิค และวิศวกรรมอย่างแน่นอน


............................................
2. ความเป็นไปได้ทางการเงิน ของประเทศทั้ง 3 คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์

ในส่วนของประเทศสิงคโปร์ ความเป็นไปได้ทางการเงินคงไม่เป็นปัญหา แต่ปัญหา อยู่ที่ความจริงใจของสิงคโปร์มากกว่า เพราะหากเชื่อม เกาะบาตัมของอินโดนีเซียก็จะแข่งขันในด้านท่าเรือกับสิงคโปร์ได้ แต่ถ้าหากมาเลเซียเชื่อมสะพานกับอินโดนีเซียโดยไม่ผ่านสิงคโปร์ได้สำเร็จ สิงค์โปร์ก็จะเสียหายเช่นกัน ดังนั้น สิงคโปร์ยัง 2 จิต 2 ใจอยู่ แต่ทว่า แนวโน้มปัจจุบัน สิงคโปร์เริ่มที่จะให้ความสำคัญกับโครงการนี้ เพราะสิงคโปร์ต้องการเป็นตัวเชื่อม ประเทศอินโดนีเซีย กับประเทศจีนเข้าด้วยกัน ซึ่งทั้ง 2 ประเทศเป็นตลาดใหญ่ด้วยกันทั้งคู่

แต่ในส่วนของอินโดนีเซีย และมาเลเซียละ ศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ และเงินลงทุนจะมีเพียงพอที่จะสร้างโครงการเหล่านนี้ไหม หากจะอธิบายก็คงจะไม่เห็นภาพ ดังนั้น จึงขอยกตัวอย่างโครงการสะพานขนาดใหญ่ ที่ทั้ง 2 ประเทศได้ก่อสร้างไปแล้ว เช่น

2.1 สะพานปีนัง Penang Bridge

เป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างคาบสมุทรมาเลเซีย กับเกาะปีนัง มีความยาวทั้งสิ้น 13.5 กม. ซึ่งปัจจุบันใช้งานได้แล้ว และกำลังมีการก่อสร้างสะพานปีนังแห่งที่ 2 ที่มีความยาวกว่า สะพานแห่งแรก โดยได้รับเงินกู้ส่วนหนึ่งจากรัฐบาลจีน จำนวน 800 ล้านเหรียญ



อ้างอิง

//en.wikipedia.org/wiki/Penang_Bridge



2.2 สะพานสูรามาดู [Surabaya - Madura Bridge]

เป็นสะพานของประเทศอินโดนีเซีย ที่เชื่อมเกาะชวา กับเกาะมาดูล่า ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะชวา มีความยาวทั้งสิ้น 5.4 กม. ซึ่งปัจจุบันสะพานแห่งนี้ก่อสร้างเสร็จแล้ว และในอินโดนีเซียยังมีการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบนเกาะบาตัม ตรงข้ามประเทศสิงคโปร์

เอกสารอ้างอิง

//en.wikipedia.org/wiki/Suramadu_Bridge




Surabaya - Madura Bridge


...............................
3. ความเป็นไปได้ของโครงการ โดยเงินทุนจากภายนอก


3.1 แหล่งเงินทุนแรก มาจากประเทศจีน
ซึ่งแหล่งเงินทุนจากจีน มีความเป็นไปได้อย่างยิ่ง เนื่องจากจีนมีเงินสำรองระหว่างประเทศจำนวนมหาศาล และจีนกำลังถูกกดดันจากนานาชาติ โดยเฉพาะจากอเมริกา ซึ่งกดดันให้จีนต้องปรับให้ค่าเงินหยวนต้องแข็งค่าขึ้น

และจีนเป็นประเทศที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลอเมริกา มากที่สุดในโลก ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลอเมริกา ที่ต้องการกดค่าเงินดอลล่าร์ให้อ่อน เพื่อกระตุ้นการจ้างงานในประเทศ หลังจากที่ใช้จ่ายเกินตัวมานาน

ซึ่งนโยบาลดอลล่าร์อ่อน ของรัฐบาลอเมริกา โดยการพิมพ์ธนบัตรดอลล่าร์ออกมาอย่างมหาศาล ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ถือครองพันธบัตรสกุลดอลล่าร์ เพราะค่าของมันจะน้อยลง

จีนรู้ถึงผลกระทบข้อนี้ดี จึงได้นำเอาเงินดอลล่าร์ที่ตัวเองถือครองอยู่ ที่กำลังลดค่าลงเรื่องๆ กว้านซื้อเหมืองแร่ น้ำมัน เหมืองทอง ฯลฯ รวมถึงลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน หรือโครงการต่างๆในต่างประเทศทั่วโลก เพื่อเร่งใช้จ่ายเงินดอลล่าร์ที่จีนถืออยู่ ที่กำลังจะอ่อนค่าตามนโยบาลดอลล่าร์อ่อนของรัฐบาลอเมริกา

จึงเป็นการต่อสู้กับระหว่าง 2 มหาอำนาจทางการเงินของโลกอย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการลงทุนทั่วโลก จากการเร่งลงทุนในต่างประเทศของจีน ด้วยนโยบาย "ก้าวออกไป" ของจีน ยิ่งจีนก้าวออกไปมากเท่าไหร่ จีนกลับยิ่งรวยขึ้น และมีอิทธิพลต่อโลกมากขึ้น ดังนั้นโครงการต่างๆที่จีนมีผลประโยชน์ หรือได้ผลประโยชน์ด้วย หรือแลกกับทรัพยากรของประเทศนั้นๆ จีนในปัจจุบันจะไม่ลังเลที่จะลงทุนเลย

อีกเหตุผล ที่จีนต้องการจะลงทุนในภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะโครงการอะไรก็ตาม เพราะอาเซียน เป็นพื้นที่ๆมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และความมั่นคงของจีนอย่างมาก จีนจึงต้องการที่จะขยายอิทธิพล ทั้งทาง วัฒนธรรม การค้า การลงทุน รวมถึงด้านความมั่นคงลงมา เพราะอาเซียน เป็นทั้งตลาด และแหล่งวัตถดิบราคาถูกเพราะอยู่ใกล้จีน


และอีกเหตุผล ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า จีนจะถือเรื่อง แซ่ เรื่องตระกุล เรื่องเชื้อชาติ ว่าเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นที่ไหนมีคนจีน ที่นั่นรัฐบาลจีนจะต้องเข้าไปดูและ (ผู้ปกครองจีน คิดแบบนี้จริงๆนะ โดยเฉพาะช่วงลัทธิคอมมิวนิส์แรงๆ)


รูปแสดงชาวจีนอพยบทั้งโลก กว่าร้อยละ 80 อาศัยอยู่ในอาเซียน
อ้างอิงจากวิกิ
//en.wikipedia.org/wiki/Overseas_Chinese


ข้อมูลเพิ่มเติม ชาวจีนอพยบ ซึ่งมีการทำสถิติ พบว่ามีจำนวน 40 ล้านคน ในจำนวนนี้ ยังไม่ได้รวมลูกผสม ชาวจีนอพยบ ไม่ได้อพยบไปไหนไกลเลย จำนวนกว่า 80 เปอร์เซ็นส์ ก็อพยบ ลงมาอยู่ในย่านอาเซียนนี้แหละ


ซึ่งจีนเองมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่า จะต้องเชื่อมรถไฟไปถึงสิงคโปร์



รูปแสดงชาวจีนอพยบทั้งโลก กว่าร้อยละ 80 อาศัยอยู่ในอาเซียน โดยเฉพาะไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา และเกาะชวา)














 

Create Date : 16 กันยายน 2553
0 comments
Last Update : 11 ตุลาคม 2553 1:41:23 น.
Counter : 10027 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


chuk007
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




Friends' blogs
[Add chuk007's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.